Home | Login | คอร์ด/เนื้อเพลง | Webboard | Classifieds | Music Jobs (หางาน) | TV / Video









(เพจ: โรงเรียนกีตาร์ไทย)


(เพจ: Guitarthai.com)
  ความเป็นไปได้ของกีตาร์แบนด์ไทย....ในตลาดเครื่องดนตรี Global Brand  
 
จากที่เฝ้ามองวิวัฒนาการของกีตาร์เมื่อเกือบ 20 ปีก่อนจนมาถึงวันนี้ ได้สังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมายในวงการกีตาร์ไทย อันนี้ผมพูดถึงเฉพาะด้านอุปกรณ์เท่านั้นนะครับ ไม่ได้รวมถึงนักกีตาร์ หรือแนวเพลงอะไร

หลายๆแบนด์ที่ดังในอดีต กลับเงียบหายไปในปัจจุบัน แบนด์หน้าใหม่เข้ามาในตลาดมากมาย...
แต่มีแบนด์คนไทยที่แข็งแกร่งพอในระดับสากลมั้ย ในส่วนตัวคิดว่ายังไม่มีถึงขั้นนั้นครับ

ผู้ผลิตกีตาร์แบนด์ไทยมีอยู่หลายๆเจ้า โดยผมขอแบ่งออกเป็น

1. ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย อย่างเช่น NNG, TK, Rangka (ใครมีแบนด์อื่นช่วยเสริมได้ครับ)
ไม่นับรวมGuitar Acoustic Handmade และงานcustom ฝีมือคนไทยอีกนะครับ เพราะมีหลายเจ้ามากๆ - กลุ่มนี้มีโอกาศขยับเป็น Global Brand

2. ผู้จัดจำหน่ายภายใต้แบนด์ตัวเอง โดยจ้างผลิตจากต่างประเทศ อย่างเช่น Lavish, Mclorence (ใครมีแบนด์อื่นช่วยเสริมได้ครับ) - ผมมองว่ากลุ่มนี้น่าจะเล่นตลาดไทยเป็นหลัก ไม่ใช่ที่จะเป็น Global Brand

ประเทศไทย แรงงานพวกงานฝีมือค่อนข้างมีskillสูงกว่าเป็นในกลุ่มasianด้วยกัน เช่น อินโดเนียเซีย (ซึ่งมีโรงงานผลิตกีตาร์ยักษ์ใหญ่อยู่ที่นั้น) หรือแม้กระทั่งเกาหลีที่มีโรงงานกีตาร์มากมาย มีแบนด์ของตัวเองซึ่งขายทั่วโลก

จากที่เคยลองแบนด์ไทยมาบ้าง คุณภาพไม่ได้ด้อยเลยนะครับ ฝีมือดีมากเลย
หรือแม้แต่กลุ่มที่รับมาจากต่างประเทศโดยใช้แบนด์ไทย คุณภาพก็สมกับราคาทีเดียว

อันนี้ผมขอวิเคราะห์ในความคิดเห็นของผมละกัน ว่าทำไมแบนด์ไทยยังไม่ไปไกลซักที

1. กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีสากล ฉะนั้น ต้นทางของการผลิตกีตาร์ เลยถูกจำกัดความเป็นแบนด์จากถิ่นกำเนิดแค่เพียงไม่กี่ประเทศ เช่น อเมริกา หรือ ฝั่งยุโรป
ถ้าฺBrandมาจากไทย แบนด์ดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือ???
ผู้บริโภครู้สึกภูมิใจที่มีสินค้า BRAND ต่างประเทศมากกว่า??? ถึงแม้ brand นั้นจะ made in Indonesia / China / Korea
(แบนด์เอฟเฟคดังต่างประเทศอย่าง T.C.Electronic ยังทำในไทยเลย - แต่ด้วยแบนด์ที่แข็งแรง Made in อะไรก็ไม่มีผลมากนัก)

2. ประสบการณ์การผลิตกีตาร์ของไทยเอง ยังไม่เยอะนัก - เทียบกับประเทศผู้ผลิตในเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินโดเนียเซีย ประเทศเหล่านี้เป็นฐานการผลิตมานาน ประสบการณ์ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ยังสูงกว่า

3. จากข้อ2 พอแบนด์ไทยยังไม่นิยมมากนัก วัตถุดิบ หรือ supplier ก็หาได้ยาก ต้องสั่งจากนอก ถึงแม้ค่าแรงเราจะไม่สูง แต่วัตถุดิบที่แพงกว่า รวมทั้งค่าการตลาดที่ต้องบวกเข้าไป ทำให้กีตาร์แบนด์ไทยมีราคาต้นทุนที่สูงกว่า พอต้นทุนสูง โอกาศการทำกำไรก็ยาก (ราคาขายบ้างแบนด์ไทย สูงกว่า กีตาร์แบนด์ดัง Made in USA ซะอีก) ต้องใจรักจริงๆครับ ที่จะมาทำธุรกิจนี้

ผมในฐานะคนเล่นกีตาร์คนนึง อยากเห็นการเติบโตในระดับGlobal Brandของกีตาร์บ้านเราบ้างครับ

ท่านๆคิดว่าอะไรครับที่เป็นปัจจัย ที่เราไม่สามารถผลักดันแบนด์ไทย และ สามารถผลักดันได้บ้างครับ????



project_ดุ๋ย   18 ส.ค. 59   เวลา 14:18:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 58.97.91.26
 


  คำตอบที่ 1  
 
ขอบคุณ ที่หาข้อมูลดีๆมาเสนอ ครับ

   Solitare  18 ส.ค. 59   เวลา 20:00:00    IP = 61.91.77.222
 


  คำตอบที่ 2  
 
ผมว่า ถ้าแบรนด์ ไทย อยากไต่ระดับโลก

ต้องมีมือกีตาร์ระดับโลกนำกีตาร์แบรนด์ไทย ไปใช้เป็นกีตาร์คู่กาย

ประมาณ โกแวน ใช้เซอร์ นะครับ

   sakai  18 ส.ค. 59   เวลา 20:44:00    IP = 203.113.21.18
 


  คำตอบที่ 3  
 
ผมว่าส่วนนึงเป็นที่ราคา ที่มันทำให้สะดุด ตรงที่ของดีมากๆแต่ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเท่าที่ควรครับส่วนตัวผมก็อยากอุดหนุนของไทย แต่ว่าราคาก็สูงเหมือนกันจนเอิ่มเราไปเล่นแบรนด์ที่มีมานานและไว้ใจได้ก็จะทำให้รู้สึกดีกว่าขายต่อดีกว่า..คุณภาพก็ไม่ได้ด้อยกว่าอีกต่างหาก ครับ ถ้าราคามาแบบหลักพัน แล้วแจ่มๆผมก็ว่าก็น่าลุ้นพอคนใช้เยอะๆค่อยขยับไปมีรุ่นแพงๆแบบยี้ห้อดังๆ ก็น่าจะไปได้เหมือนกันครับ อิอิ

   suradet      18 ส.ค. 59   เวลา 22:45:00    IP = 182.232.103.212
 


  คำตอบที่ 4  
 
Angelo .. ซัก 8 ปีก่อนเคยคุยกับคนไทย
คนนึงเจ้าของแบรนด์นี้ ที่เซฟเฮ๊าแถวสุขุมวิท

แบรนด์ไทย สั่งไม้มาทำมมประกอบ มีทั้งรุ่นทำ
ขายในบ้านเราและรุ่าส่งขายต่างประเทศ ท่านเจ้าของ
แบรนด์ยังบอกว่า เคยได้สิทธิผลิตบอดี้เป็นล๊อต ๆ เพื่อ
ส่งต่อให้กับแบรนด์ชั้นนำหลายเจ้าด้วย ..

เท็จจริงเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ ..
นี่ก็เล่าสู่กันฟังนะครับ

   bbx  19 ส.ค. 59   เวลา 2:18:00    IP = 223.204.251.86
 


  คำตอบที่ 5  
 
คุณภาพผมว่าแบรนด์ handmade ไทยได้มาตรฐานเลยครับ แต่สิ่งที่ต้องพัฒนาน่าจะเป็นการสร้างมูลค่าของแบรนด์ครับ เพื่อให้เกิดการยอมรับมากขึ้น เริ่มจากการเอาให้ศิลปินไทย ยอมรับและใช้ของไทยกันก่อนเลยฮะ 5555+

   Fenderism      19 ส.ค. 59   เวลา 8:14:00    IP = 202.183.207.81
 


  คำตอบที่ 6  
 
ผมว่าสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ของไทยเราน่าจะต้องเน้นเรื่องมาตราฐาน มาตราฐานที่ผมว่าคือต้องมีความนิ่งของคุณภาพของตัวสินค้า และสร้างเอกลักษณ์และมูลค่าให้ตัวสินค้า ที่ผมเจอหลายๆสินค้าคนทำมักใช้อารมณ์ในการทำซะมาก ขาดความเป็นระบบซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เราควบคุมคุณภาพได้ดีและสามารถตอบคำถามและดูแลลูกค้าเราได้ดีมากขึ้น. อีกอย่างไทยเราถนัดใช้ภูมิปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ไม่ค่อยวางแผนเพื่อป้องกันและรับมือ ที่พูดมามันอาจจะดูเยอะ แต่ผมว่าถ้าจะทำให้มันเป็นที่ยอมรับของสากลได้ เราก็ต้องเริ่มจากทำตัวเองให้เป็นสากลก่อน

ส่วนเรื่องราคาผมว่าไม่ต้องคิดว่าขายถูกเพื่อไทยช่วยไทยอะไร ทำในราคาที่คนทำคิดว่าอยู่ได้สบายมีเหลือพอผลักดันให้มีแรงทำงานต่อได้ และคุ้มค่ากับคุณภาพ

ส่วนในแง่คนซื้อเองถ้าคิดว่าสินค้าตัวนั้นดีจริงถึงจะแพง แต่อยากได้เขาจะต้องหาทางครอบครอบมันให้ได้จนได้ และมันจะวนกลับมาที่ผู้ซื้อว่าเขาจะทำไงให้ได้มา ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะคิดไปในทำนองนี้ คือทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพยุงกันขึ้น ต้องอยู่ได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย


ปล.ผมคุยกับเพื่อนผมที่ไปเรียนต่อด้านศิลปะที่ต่างประเทศและรวมจากที่ผมเคยเจอมา
คนไทยเรามีดีที่ความคิดเราหลากหลายมีความสร้างสรรค์แต่เราขาดระบบ. ส่วนฝรั่งระบบเยอะเลยทำให้บางครั้งขาดความหลากหลาย ถ้าเราบราลานซ์สองอย่างได้เราน่าจะได้เปรียบครับ

   songamnart      19 ส.ค. 59   เวลา 9:47:00    IP = 223.24.29.163
 


  คำตอบที่ 7  
 
ต้องนำเสนอจุดแข็ง ให้เป็นจุดเด่นครับ อย่าง Rangka , Thanakorn ผมชอบนะ
พอเห็นปั๊บ รู้เลยเป็นของค่ายนั้นๆ
ทางค่ายต้องทำการตลาดให้หนักและตรงกลุ่มเป้าหมาย คงเหนื่อยหน่อยล่ะ
สินค้าดี การตลาดเข้าตรงกลุ่ม ราคาเหมาะสม น่าจะไปได้ไกลขึ้นครับ

   กีต้าร์ธน      19 ส.ค. 59   เวลา 9:51:00    IP = 115.87.48.222
 


  คำตอบที่ 8  
 
ขอบคุณความคิดเห็นทุกท่านครับ

คุณ songamnart ผมเห็นด้วยเลยนะครับว่าบ้านเราขาดระบบและการวางแผน
คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้สูงมาก แต่ไม่เคยนำองค์ความรู้นั้นพัฒนาให้เป็นระบบ

หวังว่าจะมีคนไทยซักกลุ่มช่วยผลักดันนะครับ

   project_ดุ๋ย  19 ส.ค. 59   เวลา 10:55:00    IP = 58.97.91.26
 


  คำตอบที่ 9  
 
logoชื่อยี่ห้อสำคัญมาก นิสัยคนเก่งคนไทยที่ยังติดความคิดแบบเก่าๆ คือปั๊ดโท่ววว แค่ตัวหนังสือ กรูทำเอาเองก็ได้ ไม่จำเป็นต้องจ้างนักออกแบบมาทำให้เสียเงินเปล่า

......ซึ่งแม่งโคตรจะผิด ต่อให้ทำของออกมาดีแค่ไหน ถ้ารูปลักษณ์มันเห่ย โอกาสประสบความสำเร็จก็หายไป70%แล้ว

คือโลโก้บางอันนี่แบบ ดูรู้เลย ว่าใช้ไม้บรรทัดใส กับดินสอแท่งนึง แล้วก็วาดใส่กระดาษสมุด (แบบมีเส้นบรรทัดด้วย) วาดไม่กี่อัน ก็นึกเอาเองว่าสวยแล้ว
เอาปากกามาลงเส้น ลบเส้นดินสอออก ถือไปร้านทำนามบัตร เป็นอันเสร็จสิ้น ถถถถถถ

ปล.ค่าออกแบบ 10000-15000สำหรับยี่ห้อ ที่จริงมันไม่ได้แพงเลย

   811      19 ส.ค. 59   เวลา 13:23:00    IP = 134.196.134.110
 


  คำตอบที่ 10  
 
จริงๆก็มีหลายปัจจัย เเต่ผมคิดว่าการตลาดล้วนๆ ........... ของไม่ดียังทำให้ดังได้ (เเต่ไม่ยั่งยืน) ครับ

เเบรนด์ที่จขกท. กล่าวมาล้วนเเต่มีของดี เเต่เป็นลักษณะเจ้าของคนเดียว ทำเอง ขายเอง คนๆเดียวทำอะไรไม่ได้เยอะครับ เเบรนด์ดังๆเค้าเลยคำว่าทำเพราะชอบในเสียงดนตรีไปนานเเล้ว เป็นธุรกิจเกิน 100 % เราต้องยอมรับในข้อนี้ คุณคิดว่าทำไม rangka หันมาทำ mass market ไม่รับงาน custom ......$$$$$


ถ้าเราศึกษาประวัติเเบรนด์ดังๆเช่น Fender หรือ Apple จะเห็นว่าเค้ามีการให้การขายหุ้นให้บริษัทที่เเก่งด้านการตลาด มี connection เยอะเเยะเข้าไปลงทุน จึงทำให้มีเงินทุนในการขยายธุรกิจ


ตัวอย่างง่ายๆงานพวก namm, musik messe เป็นการออกบู๊ตของบริษัทดนตรีใครจะไปออกก็ได้เเต่ก็ต้องมีการลงทุน เเต่ก็เเน่นอนยังไม่มีเเบรนด์ไทยด้วยปัจจัยตามที่กล่าวไปก่อนหน้านี้

   Guitar-Rich.com      19 ส.ค. 59   เวลา 16:03:00    IP = 58.137.164.178
 


  คำตอบที่ 11  
 
20 ปีก่อน เจอทั้งโอเคกะไม่ค่อยโอเค
ปัจจุบันดีขึ้นมากครับงานดีและมีหลายเจ้า
ราคาสมเหตุสมผลมาก

เหลือแต่ศิลปินไทยเล่นกันเยอะๆให้ภาพ
มันติดครับ

   bbling      19 ส.ค. 59   เวลา 21:36:00    IP = 27.130.82.168
 


  คำตอบที่ 12  
 
คนส่วนใหญ่สนใจสินค้า ก็จากสื่อที่มองเห็น

   GminorBb      20 ส.ค. 59   เวลา 21:06:00    IP = 180.183.114.71
 
 

Bigtone.in.th Online Music Store

Yamaha



ตั้งกระทู้ Login ก่อน Click ที่นี่
ผู้ตอบ :
รูปภาพ:  ( ไม่เกิน 150 K )
ข้อความ :
 

any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket