|
 |
|
 |
|
โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ ( Moai Easter Island ) รูปปั้นลี้ลับมาได้ยังไง |
|
|
|
|
|
 |
เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยได้ยินเรื่องราวของเกาะอีสเตอร์กัน และเชื่อว่าอีกไม่น้อยเหมือนกันที่กำลังสงสัยอยู่ ว่าเจ้าเกาะชื่อประหลาดๆนี้มันคืออะไร วันนี้แอนจะนำเรื่องของเกาะอีสเตอร์มาฝาก โดยเฉพาะเจ้ารูปสลักหน้าใหญ่ ที่เรียงรายกันบนชายหาดของเกาะนี้ เรารู้จักรูปสลักนี้กันในนามของ " โมอาย "
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 13:59:00
พิมพ์
แจ้งลบ IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 1
|
|
|
 |
กาะอีสเตอร์ อยู่ห่างจากแหล่งชุมชนของตาฮิติและชิลีไปประมาณ 2,000 ไมล์ ดูในแผนที่โลกก็คงจะเห็นว่าอีสเตอร์เป็นเกาะเล็กๆและโดดเดี่ยวอย่างแท้จริง
สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับเกาะนี้แบบที่ว่าเอ่ยถึงเกาะอีสเตอร์เป็นต้องนึกถึงเจ้านี่ ก็คือแท่งหินขนาดยักษ์แกะสลักเป็นรูปหน้าคน ที่เรารู้จักกันในนามของโมอาย เมื่อก่อนเกาะนี้ไม่ได้ชื่ออีสเตอร์หรอก
มันมีชื่อพื้นเมืองว่า " Te Pito O Te Henua " ซึ่งความหมายคือ " Navel of The World " หรือ สะดือของโลก จนกระทั่งเรือของชาวตะวันตกได้มาขึ้นฝั่งที่นี่เมื่อปี 1722 อันเป็นวันอีสเตอร์พอดี เกาะนี้เลยได้ตามวันด้วย
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:00:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 2
|
|
|
 |
โมอาย (Moai) คือ รูปปั้นหินซึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์และส่วนศีรษะมีขนาดใหญ่เด่นชัด โมอายถูกพบมากกว่า 600 ตัว กระจายอยู่ทั่วเกาะอีสเตอร์ อุทยานแห่งชาติลาปานุย ประเทศชิลี โมอายเกือบทั้งหมดที่พบนั้นถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียว
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:00:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 3
|
|
|
 |
แต่ก็มีบางตัวซึ่งมี Pukau ลักษณะคล้ายหมวกเป็นชิ้นต่างหากอยู่บนศีรษะ โมอายเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากเหมืองหินที่ราโน ราราคู (Rano Raraku) ซึ่งเป็นที่ที่พบโมอายอยู่กว่า 400 ตัว อยู่ในกระบวนการแกะสลักซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:02:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 4
|
|
|
 |
จากการค้นพบรูปปั้นที่ยังแกะสลักอยู่ครึ่งๆกลางๆนั้น ทำให้มีการสันนิษฐานว่าเหมืองหินได้ถูกทิ้งร้างไปอย่างกระทันหัน นอกจากนั้นในการค้นพบโมอายเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้มนอน ซึ่งเชื่อว่าชาวพื้นเมืองบนเกาะเป็นผู้ทำให้มันล้ม
ลักษณะที่เด่นชัดของโมอาย คือส่วนหัว แต่ก็มีโมอายหลายตัวซึ่งมีส่วนหัวไหล่, แขน และลำตัว ซึ่งเป็นโมอายที่พบหลังจากถูกฝังมานานนับปี
ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมอายนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดและมีการสันนิษฐานกันไปต่างๆนานา ข้อสันนิษฐานที่แพร่หลายมากที่สุดข้อหนึ่ง
คือรูปปั้นโมอายถูกแกะสลักโดยพวกโพลิเนเชียน (Polynesian) ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะนี้เมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ข้อสันนิษฐานนี้เชื่อว่าพวกโพลิเนเชียนอาจสร้างโมอายขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรืออาจจะเป็นผู้ซึ่งมีความสำคัญ ณ สมัยนั้นหรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของครอบครัว
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:02:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 5
|
|
|
 |
เห็นได้ชัดว่าการสร้างโมอายนั้นต้องลงทุนลงแรงและใช้เวลาเป็นอย่างมาก หลังจากสร้างเสร็จแล้วยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ การขนย้ายโมอายซึ่งหนักและใหญ่นั้นทำอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดจนปัจจุบัน
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:03:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 6
|
|
|
 |
ปริศนาการสร้างและเคลื่อนย้ายโมอาย
ประติมากรรมเหล่านี้แกะสลักจากหินปูนแข็งประกอบด้วยเถ้าลาวาจากภูเขาไฟอัดตัวกันเป็นก้อน หาได้จากยอดภูเขาไฟเตี้ยๆ ชื่อว่า ราโนรารากู (Rano Raraku) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ
รูปสลักบางรูปจะมีผมจุกขนาดใหญ่สีแดงอยู่บนหัว แกะจากหินสโกเรียสีแดง (scoria) จุกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร สูง 1.8 เมตร หนัก 11.5 ตัน แต่ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่านี้มาก หินสีแดงนี้ได้จากเหมืองที่ปูนาเปา ซึ่งเป็นยอดภูเขาไฟเตี้ยๆ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
มีการพบอุปกรณ์แกะสลักที่เรียกกันว่า โตกิ (toki) ทิ้งอยู่ตามเหมืองหินที่ราโนรารากู คำว่าโตกิเป็นภาษาราปานุย (Rapa Nui) อันเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวเกาะอีสเตอร์ ใช้เรียกเครื่องมือประเภทผึ่งถากไม้หรือขวาน ทำจากหินบะซอลต์ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟ ลักษณะเป็นก้อนสีคล้ำอยู่ในหินปูนแข็ง (ที่เกิดจากเถ้าภูเขาไฟ) ซึ่งมีเนื้ออ่อนกว่า
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:07:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 7
|
|
|
 |
มีรูปสลัก 394 รูปที่ยังแกะค้างทิ้งอยู่ตามเหมืองหิน แกะสลักไปแล้วมากน้อยต่างๆ กัน บ้างก็เพิ่งจะขึ้นโครงหน้าบนผิวของก้อนหิน ที่ใกล้เสร็จมีเพียงน้อยชิ้น ซึ่งก็เหลือเพียงตอกให้รูปสลักหลุดจากหน้าผาเท่านั้น บ้างก็นอนหงายอยู่ บ้างก็ตะแคงข้างหลบลึกเข้าไปในซอกหน้าผาดังซากศพในหลุม บางชิ้นก็ใกล้จะได้เวลาเคลื่อนย้ายโดยมีหินก้อนกลมๆ รับน้ำหนักไว้
นักวิชาการหลายคนถึงกับลงมือขุดค้นเข้าไปในตำนานของชาวเกาะ เพื่อจะหาที่ไปที่มาของโมอาย
แต่ก็ไม่ค่อยจะได้เรื่องราวมากนัก พอถามชาวเกาะที่มีอายุ และมีความทรงจำเกี่ยวกับความเป็นมาของเกาะ ก็ได้รับคำตอบอย่างเป็นที่น่าพอใจว่า "มันเดินกันลงมาเอง" !?
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:08:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 8
|
|
|
 |
รูปสลักสูง 9.8 เมตร ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่พบบนอาฮูนั้น ปัจจุบันอยู่ในสภาพหักพังกองอยู่กับพื้นดินในลักษณะที่บ่งให้รู้ว่าถูกผลักหล่นลงมาจาก อาฮู ซึ่งก็ไม่มีผู้ใดทราบถึงสาเหตุ สันนิษฐานกันว่ารูปสลักแต่ละรูปนั้นคงจะต้องใช้แรงงานคนประมาณ 90 คน และใช้เวลาถึง 18 เดือนในการแกะสลักและนำไปตั้งเข้าที่
รูปสลักใหญ่โตขนาดนี้ ใครล่ะจะเชื่อว่าชาวเกาะโบราณจะใช้แรงงานของพวกเขาขนย้าย ด้วยการลากลงมาเอง อย่าว่าแต่ลากเลยอ่ะ แค่วิธีแกะสลักเนี่ยก็ลำบากมากแล้ว ขนาดแอนเองยังนึกไม่ออกเลยว่า ชาวโพลิเนเชี่ยนเหล่านี้เค้าเอาอะไรมาสลักหินภูเขาไฟก้อนใหญ่โตขนาดนี้ให้ออกมาเป็นศิลปกรรมหน้าตาประหลาดแบบนี้ได้ ลิ่มหรือ หรือว่าขวานหิน ?
ศาสตราจารย์วิลเลียม มัลลอย ผู้ล่วงลับไปแล้วแห่งมหาวิทยาลัยไวโอมิง เสนอไว้เมื่อทศวรรษ 1970 ว่าการเคลื่อนย้ายรูปสลักไปสู่ที่หมายคงใช้วิธีคว่ำหน้ารูปสลักลง และมัดติดไว้กับเครื่องโล้หรือเลื่อนรูปโค้งที่ทำจากซุง
การที่รูปแกะสลักมีพุงพลุ้ยนั้นก็น่าจะเข้ากับข้อสันนิษฐานนี้ เลื่อนหรือเครื่องโล้นี้คงจะเคลื่อนที่ไปโดยมีเสาใหญ่ตั้งขนาบอยู่ 2 ข้าง แต่บันทึกของ ดร.ฟาน ทิลเบิร์ก กลับแสดงความเห็นขัดแย้งว่า แบบของรูปสลักทำให้ไม่น่าจะใช้วิธีการดังกล่าวได้
การเคลื่อนย้ายโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับ 2 สิ่ง คือแรงงานและไม้ซุงจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลใหม่ๆ แสดงว่ามีปัจจัยทั้ง 2 อย่างเหลือเฟือในยุคที่มีการเคลื่อนย้ายรูปสลัก กล่าวคือนักโบราณคดีขุดพบว่าบ้านและหมู่บ้านหลายแห่งมีโครงเป็นไม้ซุงอยู่บนฐานหิน ในช่วงปี 1000-1500 ที่มีการสร้างรูปสลักและอาฮูนั้น เกาะนี้อาจมีประชากรถึง 10,000 คน
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:08:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 9
|
|
|
 |
และนี่เป็นข้อสันนิฐานการเคลื่อนย้ายโมอายครับ
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:10:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 10
|
|
|
 |
การเคลื่อนย้ายโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับ 2 สิ่ง คือแรงงานและไม้ซุงจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลใหม่ๆ แสดงว่ามีปัจจัยทั้ง 2 อย่างเหลือเฟือในยุคที่มีการเคลื่อนย้ายรูปสลัก กล่าวคือนักโบราณคดีขุดพบว่าบ้านและหมู่บ้านหลายแห่งมีโครงเป็นไม้ซุงอยู่บนฐานหิน ในช่วงปี 1000-1500 ที่มีการสร้างรูปสลักและอาฮูนั้น เกาะนี้อาจมีประชากรถึง 10,000 คน
ปริศนาเรื่องไม้ซุงมาจากไหน หาคำตอบได้ที่ทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟราโนรารากูนั่นเอง – จอห์น เฟลนลีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษจากมหาวิทยาลัยฮัล ได้พบฟอสซิลของเกสรดอกไม้เป็นจำนวนมากที่ก้นทะเลสาบ ซากเกสรเก่าแก่หลายร้อยปีเหล่านี้แสดงว่าครั้งหนึ่งเกาะอีสเตอร์เคยมีพืชพรรณอุดมสมบูรณ์และเคยมีป่าปาล์มมาเป็นเวลาประมาณ 30,000 ปี แต่เพิ่งหมดไปเมื่อ 1,000 ปีที่ผ่านมา ป่าไม้บนเกาะนี้คงถูกทำลายเพื่อนำที่ดินมาใช้ในการเพาะปลูกเลี้ยงประชากรที่มีมากขึ้นและคงมีสงครามแย่งที่ทำกิน ทำให้ผู้คนล้มตายลงมาก ศาสตราจารย์ชาลส์ เลิฟ แห่งวิทยาลัยเวสเทิร์นไวโอมิง เสนอทฤษฎีว่ารูปสลักเหล่านี้เคลื่อนย้ายมาในสภาพแนวตั้ง เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนี้ เขาจึงได้ลองนำรูปสลักหล่อด้วยคอนกรีตตั้งบนเลื่อนไม้และกลิ้งไปบนท่อนซุง มีอาสาสมัครช่วยกันใช้เชือกลากรูปสลักหรือบางทีก็ต้องดึงให้แรงยึดโยงระหว่างเส้นเชือกบังคับรูปสลักไว้มิให้ทิ่มลงมา วิธีการนี้ใช้ได้ผลกับรูปจำลองคอนกรีตที่ใช้ทดลอง แต่ในความเป็นจริงมีรูปสลักไม่กี่รูปที่มีฐานล่างใหญ่พอให้เคลื่อนย้ายได้ด้วยวิธีนี้ ดร.ฟาน ทิลเบิร์ก ศึกษารูปสลัก 47 รูปที่นอนอยู่ตามทางที่เตรียมไว้จากภูเขาไฟราโนรารากูไปสู่อาฮูริมฝั่งทะเลและเสนอว่าคนโบราณน่าจะเคลื่อนย้ายรูปสลักโดยจัดให้วางไปในแนวนอนอาจจะมีการห่อหุ้มรูปสลักเพื่อป้องกันรอยตำหนิก่อนบรรทุกขึ้นบนเลื่อนไม้ แล้วกลิ้งไปบนท่อนซุงมีคานงัดและเชือกช่วย วิธีนี้ดูจะใช้ได้ดีถ้ารูปสลักยาว 4-5 เมตร แต่ถ้ารูปสลักยาวสัก 10 เมตร คงเคลื่อนย้ายไปได้ไม่ไกลกว่า 1.6 กิโลเมตร จากเหมือง
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:12:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 11
|
|
|
 |
และนี่เป็นข้อสันนิฐานการเคลื่อนย้ายโมอายครับ
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:12:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 12
|
|
|
 |
และนี่เป็นข้อสันนิฐานการเคลื่อนย้ายโมอายครับ
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:13:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 13
|
|
|
 |
และนี่เป็นข้อสันนิฐานการเคลื่อนย้ายโมอายครับ
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:13:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 14
|
|
|
 |
และนี่เป็นข้อสันนิฐานการเคลื่อนย้ายโมอายครับ
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:14:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 15
|
|
|
 |
และนี่เป็นข้อสันนิฐานการเคลื่อนย้ายโมอายครับ
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:14:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 16
|
|
|
 |
และนี่เป็นข้อสันนิฐานการเคลื่อนย้ายโมอายครับ
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:15:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 17
|
|
|
 |
ศาสตราจารย์ชาลส์ เลิฟ แห่งวิทยาลัยเวสเทิร์นไวโอมิง เสนอทฤษฎีว่ารูปสลักเหล่านี้เคลื่อนย้ายมาในสภาพแนวตั้ง เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนี้ เขาจึงได้ลองนำรูปสลักหล่อด้วยคอนกรีตตั้งบนเลื่อนไม้และกลิ้งไปบนท่อนซุง มีอาสาสมัครช่วยกันใช้เชือกลากรูปสลักหรือบางทีก็ต้องดึงให้แรงยึดโยงระหว่างเส้นเชือกบังคับรูปสลักไว้มิให้ทิ่มลงมา วิธีการนี้ใช้ได้ผลกับรูปจำลองคอนกรีตที่ใช้ทดลอง แต่ในความเป็นจริงมีรูปสลักไม่กี่รูปที่มีฐานล่างใหญ่พอให้เคลื่อนย้ายได้ด้วยวิธีนี้ ดร.ฟาน ทิลเบิร์ก ศึกษารูปสลัก 47 รูปที่นอนอยู่ตามทางที่เตรียมไว้จากภูเขาไฟราโนรารากูไปสู่อาฮูริมฝั่งทะเลและเสนอว่าคนโบราณน่าจะเคลื่อนย้ายรูปสลักโดยจัดให้วางไปในแนวนอนอาจจะมีการห่อหุ้มรูปสลักเพื่อป้องกันรอยตำหนิก่อนบรรทุกขึ้นบนเลื่อนไม้ แล้วกลิ้งไปบนท่อนซุงมีคานงัดและเชือกช่วย วิธีนี้ดูจะใช้ได้ดีถ้ารูปสลักยาว 4-5 เมตร แต่ถ้ารูปสลักยาวสัก 10 เมตร คงเคลื่อนย้ายไปได้ไม่ไกลกว่า 1.6 กิโลเมตร จากเหมือง
เมื่อปี 1970 ศาสตราจารย์มัลลอยเสนอว่าการเคลื่อนย้ายรูปปาโรนั้นเขาคงจะวางรูปให้คว่ำหน้าอยู่บนเลื่อนไม้ที่เป็นง่ามสองแฉก หนักประมาณ 5 ตัน แล้วเคลื่อนย้ายไปโดยอาศัยเสา 2 ต้นที่ยอดเสาผูกติดกัน แต่ปลายล่างกางแยกจากกันเป็นง่าม แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญเสนอว่ารูปสลักส่วนใหญ่อาศัยเลื่อนชักลากไปบนลูกกลิ้งไม้ซุง
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:15:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 18
|
|
|
 |
ไขปริศนาโมอายที่แท้จริงจาก UBC ช่อง History
สรุปออกมาแล้วว่า โมอายที่พบบนเกาะที่มีอยู่กว่า 900 ตัว เป็นฝีมือการทำของมนุษย์ (ชาวโพลิเนเชียน) เอง จากการที่บนเกาะนั้นมีเหมืองหินขนาดใหญ่อยู่แล้ว การแกะสลักนั้น พวกเขาได้ใช้หินจากภูเขาไฟซึ่งมีความแข็ง คมกว่าหินภายในเหมืองหินที่มีความแข็งแรงน้อยกว่าหินที่ใช้แกะสลักนั่นเอง
ทำไมอารยธรรมของพวกเขาถึงสาปสูญไป ??
พบว่าพวกเขาได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะจนหมดสิ้น จากเดิมเป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ที่ให้ร่มเงายามแดดร้อน ทำให้พวกเขาต้องหลบแดดเข้าไปอยู่ภายในถ้ำ และนักประวัติศาสตร์ยังพบว่า เกิดสงครามแย่งอำนาจในการปกครองเกาะกัน รวมทั้งมีสิทธิขาดในการใช้ทรัพยากร แต่พวกเขาก็มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งนี้โดยให้มีการจัดการแข่งขัน 'มนุษย์นกขึ้น' (Birdman) โดยตัวแทนของแต่ละเผ่าจะต้องวิ่งลงหน้าผาที่สูงชัน 1000 ฟุต เพื่อว่ายน้ำฝ่าดงฉลามไปยังเกาะนกนางนวล และเลือกหยิบไข่นกนางนวลและต้องว่ายกลับมาน้ำไข่ให้ผู้นำของพวกเขา ก็เป็นการชนะการแข่งขันอันสุดหฤโหดเลยทีเดียวนะเนี้ย เมื่อเผ่าพวกเขาชนะ หัวหน้าเผ่าจะเป็นผู้นำใช้สิทธิขาด อำนาจในการปกครองเกาะไปอีก 1 ปี ถึงจะมีการคัดเลือกผู้นำเกาะขึ้นมาใหม่
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:16:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 19
|
|
|
 |
หตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
โมอายได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยมีเหตุผลดังนี้
1. เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด 2. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว 3. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:17:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 20
|
|
|
 |
จากภาพ รูปสลักหิน "โมไอ" ที่ฝังจมดินถึงยอดอก อยู่ทางเนินทิศตะวันตกเฉียงใต้ของราโนรารากูก็เช่นเดียวกันกับ รูปสลักหลายรูปที่ไปไม่ถึงศาลเทพเจ้าริมฝั่งมหาสมุทร หลังการแกะสลักจากเหมืองหินบนเกาะนี้แล้ว รูปสลักก็ถูกเลื่อนลงหลุมเพื่อให้ช่างแต่งด้านหลังของรูป แล้วก็ถูกทิ้งค้างเช่นนี้ตลอดมา แต่ยังมีอีกหนึ่งสมมุติฐานกล่าวว่า ไม้คือหัวใจของการเคลื่อนย้ายโมอาย ซึ่งก็มีมูลอยู่บ้าง เพราะเมื่อเกาะอีสเตอร์ถูกค้นพบ มันไม่มีต้นไม้ใหญ่หลงเหลืออยู่เลย แถมผู้คนก็ละทิ้งอพยพไปจากเกาะที่ไร้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้หมดแล้ว อาจเป็นได้ว่า ชาวราปานุยมัวแต่จะบูชาบรรพบุรุษกันจนหน้ามืดตามัว โค่นล้มต้นไม้เพื่อมาใช้ลำเลียงหินยักษ์ จนไปๆ มาๆ ป่าหายหมด เป็นเหตุให้เหล่าสรรพสัตว์ไม่มีที่พักพิง ตอนหลังเกิดสงครามเข่นฆ่ากันเอง (แถมยังมาพาลล้มโมอายจนหมด) เพื่อแย่งอาหารน้อยนิดที่เหลืออยู่ ทำให้อารยธรรมการสร้างโมอายมาถึงจุดสิ้นสุด ไปพร้อมๆ กับตำนานชนเผ่าราปานุย Pavel Pavel นักทดลองชาวเช็ก ได้ตั้งสมมุติฐานว่า การเคลื่อนย้ายแท่งหินขนาดเขื่องนี้สามารถทำได้ด้วยเชือกและคนเพียงสิบเจ็ดคน เขาไม่ได้แค่คิด เพราะเขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นในเวลาต่อมา ณ สถานที่จริง ว่าสามารถทำได้จริงๆ โดยผูกเชือกไว้ตามส่วนหัวและลำตัว จากนั้นให้คน 17 คนสลับกันดึงให้รูปปั้นโยกเยกประหนึ่งเดินได้ไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย ผู้พิทักษ์ศาลเทพเจ้าปาโรเป็นรูปสลักหินหนัก 25 ตัน ตั้งเรียงรายอยู่บนอาฮู (ศาลเทพเจ้า) ณ บริเวณชายฝั่งทางทิศเหนือของเกาะอีสเตอร์ ทุกรูปหันหน้าเข้าหาแผ่นดิน รูปสลักเคลื่อนย้ายมาถึงจุดนี้ในสภาพไร้ดวงตา เมื่อคนงานตั้งรูปขึ้นมาก็คงจะต่อนั่งร้านเพื่อแกะสลักเบ้าตา แล้วใส่ลูกตาซึ่งแกะจากปะการังสีขาวกับหินสโกเรียสีแดง ส่วนที่เป็นจุกบนศีรษะอาจจะหมายถึงผมจุกก็ได้
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:18:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 22
|
|
|
ชอบจังครับน้าทอปขอเฟสบุ๊คน้าท้อได้มั้ยครับ
deerpoison
29 พ.ย. 56
เวลา 14:29:00 IP = 223.206.250.8
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 23
|
|
|
เฟสผม พิมพ์ชื่อเลยครับ วรุตม์ ศิลารักษ์
top2513
29 พ.ย. 56
เวลา 14:30:00 IP = 125.26.21.33
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 24
|
|
|
----ตอนนี้ผมกำลังสนใจ ว่า รูปสลักเยอะขนาดถูกสร้างเพื่อวัตถุึประสงค์ได------ (แทนที่จะเป็นการสร้างที่อยู่อาศัย)
supanova
29 พ.ย. 56
เวลา 14:47:00 IP = 223.207.13.168
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 26
|
|
|
คิดเหมือนกันกับท่าน supanova ครับ
ขอบคุณท่าน top2513 ด้วยครับ
MentalDisease
29 พ.ย. 56
เวลา 17:50:00 IP = 171.6.155.203
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 27
|
|
|
เวลาอ่านเรื่องแบบนี้ผมอึ้งในความพยายามที่มากมหาศาลของคนยุคก่อนจริงๆนะ...ทำได้ไงวะนั่น?
ลองเป็นสมัยนี้ขนาดมีเครื่องมือยังไม่อยากทำอะไรกันเลย
หมากกระเด็น
29 พ.ย. 56
เวลา 19:37:00 IP = 171.101.136.17
สมาชิกแบบพิเศษ
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 28
|
|
|
เขาทำไว้ไล่นกที่จะมากินข้าวเขาหรือเปล่า เหมือนเราทำหุ่นไล่กาไง จะได้ไม่ต้องคอยเฝ้านา
kenevo4
29 พ.ย. 56
เวลา 21:09:00 IP = 110.168.183.199
|
|
|
 |
|
 |
|