Thailand Web Stat
    








(เพจ: โรงเรียนกีตาร์ไทย)


(เพจ: Guitarthai.com)
  ((((((((((((( หยุด มัน ไม่ได้ ......ก็ ลด ๆ ลงหน่อย แล้วกัน ครับ ))))))))))))  
 


*** สารพัดโรคที่สิงห์อมควันต้องเผชิญ (e-magazine)

ในแต่ละปี คนไทยเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน วันละ 142 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน ขณะที่ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิต ด้วยโรคอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ปีละ 5,000,000 คน หรือวันละ 13,000 คน ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกได้คำนวณไว้ว่า ในอีกประมาณ 25 ปีข้างหน้า ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคที่มาจากการสูบบุหรี่สูงขึ้นเป็นปีละ 10 ล้านคน นับเป็นวันละ 27,000 คน หรือนาทีละ 20 คน และโรคที่เราจะกล่าวถึงกันในวันนี้จะเป็นโรคร้ายที่สิงห์อมควันอาจต้องพบปะ

โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เนื้อปอดค่อย ๆ เสื่อมสมรรถภาพจากการได้รับควันบุหรี่ ตามปกติแล้วพื้นที่ในปอดจะมีถุงลมเล็ก ๆ กระจายอยู่เต็มทั่วปอด เพื่อทำหน้าที่รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย สารไนโตรเจนไดออกไซด์ในควันบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อในปอดและถุงลมให้ฉีกขาดทีละน้อย จนรวมกันกลายเป็นถุงลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เกิดโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับโรคถุงลมโป่งพองในระยะท้าย ๆ ของโรคจะทำให้ผู้ป่วยทรมานมาก เนื่องจากจะรู้สึกเหนื่อยจนไม่สามารถทำอะไรได้ จากรายงานการศึกษาพบว่า ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยที่อาการอยู่ในระยะสุดท้ายจะตายภายใน 10 ปี โดยมีอาการเหนื่อยหอบตลอดเวลาจนกว่าจะเสียชีวิต

โรคหลอดเลือดหัวใจ

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจที่สามารถป้องกันได้ เมื่อเทียบกับสาเหตุของโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งล้วนเกิดจากกรรมพันธุ์ และการกินดีอยู่ดีเกินไปตามกระแสสังคม ขณะนี้โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ใน 3 อันดับแรกของคนไทย

โดยส่วนใหญ่ การสูบบุหรี่ถือเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ได้แก่ นิโคติน ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และสารก่ออนุมูลอิสระ เป็นตัวการทำให้เกิดโรคหัวใจ โดยการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด และเกิดก้อนเลือดในหลอดเลือดหัวใจ รูหลอดเลือดหัวใจจึงตีบลง ทำให้เลือดผ่านได้น้อยจนเป็นอุปสรรคต่อการนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ และเกิดภาวะหัวใจหลอดเลือดตีบตัน จนหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ทำให้เกิดอาการจุกเสียด เจ็บหน้าอก จนถึงขั้นทำให้หัวใจวาย หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน

โรคมะเร็งปอด

การเกิดโรคมะเร็งปอดระยะแรกจะไม่มีอาการ เมื่อมีอาการแสดงว่าโรคเป็นมากแล้ว โดยอาการที่พบคือ ไอเรื้อรัง ไอเสมหะมีเลือดปน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้เล็กน้อย เจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นอาการร่วมของโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด จึงมักทำให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์ช้าและการวินิจฉัยโรคล่าช้า

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดในระยะที่เป็นมากแล้วจะมีอาการไอเป็นเลือด น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ปวดกระดูกซี่โครงและไหปลาร้า หรือสะบัก อาจมีอาการหอบเหนื่อย บวมบริเวณหน้า คอ แขน และอกส่วนบน กลืนอาหารลำบาก ไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้ โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้หลังจากเริ่มมีอาการประมาณ 6 เดือน หรือร้อยละ 80 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี และแม้ว่าจะให้การรักษาอย่างดี ก็จะมีอัตราการรอดชีวิตเพียงร้อยละ 2–5 เท่านั้น

ร้อยละ 90 ของโรคมะเร็งปอด มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอดนั้นมีประมาณร้อยละ 30 เป็นผลจากการที่ได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบ

สารพิษในควันบุหรี่

ในบุหรี่ 1 มวนประกอบด้วย ใบยาสูบ กระดาษที่ใช้มวน และสารเคมีหลายร้อยชนิดที่ใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นและรส ถ้าเกิดการเผาไหม้จะทำให้มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด สารหลายร้อยชนิดมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และสาร 60 ชนิด เป็นสารก่อมะเร็ง สารพิษที่สำคัญได้แก่

นิโคติน มีลักษณะคล้ายน้ำมันไม่มีสี เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติดและทำให้เกิดโรคหัวใจ

ทาร์ ประกอบด้วยสารหลายชนิด เป็นละอองเหลวเหนียว สีน้ำตาลคล้ายน้ำมันดิน สารก่อมะเร็งส่วนใหญ่จะอยู่ในสารทาร์นี้

คาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นก๊าซชนิดเดียวที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ถึง 15 หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น ทำให้หัวใจวายได้

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต่าง ๆ ถึง 25 โรค และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่ลงได้ โดยมีรายงานว่า ผู้สูบบุหรี่ที่เลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 30 ปี จะลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดได้เกือบทั้งหมด ในขณะที่ถ้าเลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปี จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้ครึ่งหนึ่ง




ปล. > ดีใจจัง ผมหยุดมันได้ 1 ปี แล้ว ครับ .............Thank you.


ควันหลง      30 มี.ค. 56   เวลา 11:47:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 118.173.58.1
 


  คำตอบที่ 1  
 
อยากหยุดจัง

   สมาชิกแบบพิเศษ      Baracuda      30 มี.ค. 56   เวลา 12:03:00    IP = 58.11.201.45
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 2  
 
Baracuda ..... สวัสดี ครับ

อยู่ที่ใจ และความอดทน ครับ ผมพยายาม หยุดมา 5 - 6 ครั้งแล้ว

แต่แล้วก็ กลับมาสูบอีก ... ครั้งนี้ คงจะหยุด ยาว แล้วครับ


ขอบคุณ.......... ที่แวะ ทักทาย ครับผม

   ควันหลง      30 มี.ค. 56   เวลา 12:19:00    IP = 118.173.58.1
 


  คำตอบที่ 3  
 
หลายครั้งเหมือนกันครับ ต้องพยายามต่อไป แต่อากาศร้อนเหลือเกินช่วงนี้ 555

   สมาชิกแบบพิเศษ      Baracuda      30 มี.ค. 56   เวลา 13:53:00    IP = 58.11.201.45
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 4  
 

สวัสดีครับ ป๋า .............................. บุหรี่มันขม ดูดนม ดีกว่า ครับ ฮ่าๆๆๆๆๆ

   สมาชิกแบบพิเศษ      ชิตชัย      30 มี.ค. 56   เวลา 15:19:00    IP = 223.205.70.140
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 5  
 
เลิกบุหรี่ง่ายนิดเดียวครับแค่ไม่หยิบขึ้นมาใส่ปากดูดเท่านั้นผมใช้วิธีนี้หลังจากที่ลองด้วยวิธีอื่นๆมามากมายเป็นปีๆไม่สำเร็จสูบมาทั้งหมด25ปีเลิกมาแล้า18ปีคุณก้ทำได้ถ้าจะทำ

   Romanza  30 มี.ค. 56   เวลา 15:56:00    IP = 171.6.180.22
 


  คำตอบที่ 6  
 
สู้ๆครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      30 มี.ค. 56   เวลา 16:01:00    IP = 125.26.24.109
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 7  
 
= ชิตชัย ......... นม ไม่เลิก ครับ 555


= Romanza ........ คงไม่ไปแตะต้อง แล้ว ครับ


= top2513 ....... สวัสดี ครับ ขอบคุณ ครับผม

   ควันหลง      30 มี.ค. 56   เวลา 16:33:00    IP = 118.173.58.1
 


  คำตอบที่ 8  
 
ผมเลิกมา 27 ปีแล้วครับ

   dTT      30 มี.ค. 56   เวลา 18:02:00    IP = 58.8.188.80
 


  คำตอบที่ 9  
 
ผมเลิกมา 41 ปีแล้วครับ 555 ไม่เคยสูบเลยครับ ใครสูบใกล้ผมด่าเช็ดเลยครับ(คนรู้จัก)

   หนูเชียงใหม่      31 มี.ค. 56   เวลา 14:15:00    IP = 118.172.168.253
 
 

Bigtone.in.th Online Music Store

Yamaha



ตั้งกระทู้ Login ก่อน Click ที่นี่
ผู้ตอบ :
รูปภาพ:  ( ไม่เกิน 150 K )
ข้อความ :
 

any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket