ได้รับความเอื้อเฟื้อแผ่น
CD จาก Universal Music, Warner Music, EMI, Sony BMG, Platinum, United Home Entertainment,Virtuoso, Smallroom, S.stack กีตาร์ไทยขอขอบพระคุณอย่างสูง
Let The Rainbow In เพลงป็อปร็อกที่ยืนอยู่บนทางคอร์ด II V I (ทางคอร์ดอมตะเล่นยังไงก็เพราะ และเจอได้แทบทุกเพลงของพวกเขา) ซึ่งวางรองรับเมโลดีไว้อย่างฉลาด เพลงจังหวะกลางๆ อินโทรจำง่ายเป็นเอกลักษณ์ มีการใส่ไลด์ประสานทำให้เพลงดูมีมิติขึ้นเยอะมาก Underneath อีกหนึ่งเพลงที่ออกเป็นอัลเทอเนทีพป็อป มีการเล่นเรื่อง chord change เล็กน้อย Party Time เพลงช้าลอยๆ ท่อนฮุคเด่นขึ้นมาค่อนข้างน่าจดจำ More ป็อปนุ่มๆ ออกบอสซ่าโนว่าเล็กน้อย ต่อด้วย The Garden’s Inside บอสซาโนว่ากึ่งๆแซมบ้า มีการใช้กลองโปรแกรมวางเป็นลูปอยู่ข้างหลังเป็นจังหวะแซมบ้า Give Me The Colors เป็นเพลงที่วางโครง เริ่มตั้งแต่อินโทรเรียกความน่าสนใจได้อย่างดี
True Love Always หากมองแค่เพียงฝีมือแล้วพวกเขาไม่ใช่วงโชว์อะไรเลย แต่ถ้ามองในความเป็นครีเอทีพตรงจุดนี้เกินร้อย ไอเดียและความทางดนตรีที่นำมาใช้คุ้มค่ามาก สไตล์เพลงและเมโลดีที่เป็นเอกลักษณ์ตรงจุดนี้น่าจะเป็นตัววัดความสำเร็จได้อย่างดี งานหลายๆอัลบั้มอาจจะเทคนิคการเล่นดีแต่ความสร้างสรรแย่ก็มี แต่สำหรับ True Love Always ผมให้คะแนนเต็มๆในเรื่องการแต่งเพลงให้ลงตัว เป็นงานอีกหนึ่งชุดที่ให้ไอเดียอย่างมหาศาลได้ดีครับ
Artist : Paul Gilbert Album : Get Out Of My Yard Style : Rock Label : Virtuoso
สิ่งที่ผมรู้สึกชอบเป็นพิเศษกับงานชุดนี้ก็คือเรื่องของการบันทึกเสียง ที่ให้รู้สึกถึงการทำงานเล็กๆ คล้ายกับการอัดเสียงมาจากห้องซ้อม มันได้ความรู้สึกของการเล่นสดจริงๆ อีกทั้งเรายังได้ฟังเพลงที่แตกต่างออกไปจากเดิมของเขาอย่าง The Echo Song เพลงนี้เล่นเรื่องเอฟเฟ็คที่ตั้งค่าของเสียงเอ็กโค่ผสมดีเลย์เล็กน้อย ที่ถูกเล่นด้วยเพลงที่เรียบเรียงแบบเพลงคลาสสิก พร้อมกับเสียงกลองสดที่ย่ำกระเดื่อง เหมือนจังหวะกลองของเพลงสไตล์อิเล็กทรอนิก้าร์ Three E’s For Edward เพลงอะคูสติกที่เล่นด้วยกีต้าร์ตัวเดียว ฟังสบายแต่ถ้าคิดเล่นคงต้องคิดหนักหละครับ เพลงนี้เขาแต่ให้กับ Edward Van Halen ผู้เป็นอีกหนึ่งแรงบัลดาลใจให้กับเขา แนวคิดในการทำงานเพลงชุดนี้ ริฟที่ถูกแต่งขึ้นให้ความเป็นฮาร์ดร็อก ผสมบลูส์ (เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ ) อีกจุดคือเรื่องของเอฟเฟ็คอย่าง Flanger ที่บอกได้เลยว่า ช่วงนี้ Paul กำลังบ้ามันอยู่ เพราะมันมีอยู่ในทุกเพลงที่เล่นพร้อมวง แต่จะถูกตั้งค่ามากน้อยก็แล้วแต่ความเหมาะสม รวมถึงการเล่นแบบ Sequence และ String Skipping มีให้เจอแน่นอน ผมเชื่อว่ามือกีต้าร์หลายๆคนในสายร็อกน่าจะรอคอยงานที่เป็นบรรเลงเต็มๆชุด ของ Paul Gilbert มานาน ดังนั้นงานชุดนี้ก็น่าจะเป็นการตกผลึกของเวลาที่พร้อมจะทำออกมาตอบสนองแฟนเพลงได้อย่างดี
Artist : Sinister Album : Diabolical Summoning /Cross the Styx Style : Death Metal Label : Platinum
Turnabout เพลงที่เปิดตัวได้อย่างหรูหราสมกับการกลับมาของวง ท่อนฮุคนั้นดูเหมือนว่าเป็นการนำรูปแบบโครงสร้างที่เร้าใจกระหน่ำด้วยเสียงคีย์บอร์ดซึ่งเป็นมุขประจำที่ Fourplay ชอบใช้ แต่ก็ยังคงได้ผลอยู่เสมอ เพลงนี้ Larry โชว์อิมโพรไวส์แบบสปีดพร้อมสำเนียงบลูส์แจ็สได้อย่างยอดเยี่ยม Cinnamon Sugar เร่งจังหวะขึ้นมาอีกนิดในแบบฟั้งกี้โยนๆ เมโลดีแต่งได้เพราะทีเดียว มีการใช้กลองโปรแกรมและซินท์เข้ามาร่วมด้วย Easten Sky เพลงช้าที่ผสมบีทแบบอิเล็กทรอนิก้าจางๆเป็นแบ็คอยู่ข้างหลัง ใช้เป็นเพลงประกอบหนังได้อย่างสบาย My Love’s Leavin เพลงช้าสไตล์สมูธแจ็ส ได้ Michael McDonald มาเป็นแขกรับเชิญรับหน้าที่ร้องเพลงนี้ เพลงออกมาคล้ายๆกับฟัง Michael Bolton ส่วน Be My Lover เพลงช้าจังหวะปานกลางอีกเพลงที่มีนักร้องขาประจำของวงอย่าง Nathan East มาร้องคลอในช่วงฮุค ยังเพราะและเป็นเอกลักษณ์ในแบบ Fourplay ใช้ประจำ Sunday Morning ปิดท้ายอัลบั้มด้วยเพลงบัลลาดเย็นๆ จากการเล่นนำของ Larry Carlton ผู้ซึ่งโชว์สำเนียงบลูส์ที่ไหร่ทำเอาคนฟังต้องประทับใจเสมอ สิ่งหนึ่งที่ผมคาดว่าทุกคนยอมรับในความเป็นโปรของพวกเขาทั้งสี่นั้นคือการทำงานและการเล่นสด ผมเชื่อว่าใครที่มีโอกาสดูพวกเขาในแจ็สเฟสติวัลที่บ้านเรา ผมเชื่อว่าความประทับใจในตอนนั้นคงไม่มีทางจางหายแน่นอน เช่นกันกับงานเพลงชุดนี้ครับ
Artist : Bob’s Ben Album : A Salute To Ben Wenster Style : Jazz Label : Hit Man
Bob Rockwell มือเทเนอร์แซ็กผู้ที่ได้อิทธิผลการเล่นจาก Ben Webster มือแซ็กที่ยกย่องให้เป็นบุคลากรที่ควรศึกษาแห่งวงการแจ็ส อัลบั้มชุดนี้ Bob Rockwell มาแบบวงควอเต็ดสี่ชิ้น ประกอบด้วยแซ็ก,เปียโน (ได้ Ben Siden มาเล่นให้) , เบส และกลอง เพลงส่วนใหญ่ดูเหมือนว่า Bob จะพยายามเล่นให้สำเนียงออกมาใกล้เคียงกับ Ben ให้มากที่สุด วิธีคิดและการเล่นออกมา ค่อนข้างจะพาให้เรานึกถึง Ben
13 เพลงในชุดนี้หนักไปที่บัลลาดและมีเดียมสวิง สำเนียงการเล่นที่นุ่มลึก ไม่หวือหวาและเร่งรีบ แต่เหมือนการที่ Bob จะเป่าออกมาแต่ละครั้งคล้ายกับการที่เขาได้คิดและกลั่นกรองร้อยเรียงตัวโน็ตมาอย่างดี ทำให้แต่ละประโยคฟังดูหนักแน่นและมั่นคง และเน้นไปที่การเล่นเรื่องเมโลดี ส่วน เปียโนได้ Ben Siden ก็เล่นเป็นลูกคู่ล้อกับวลีของ Bob ตลอด ครั้นถึงคราวที่ถึงหน้าที่ต้องโซโล่เขาก็เล่นผ่านเปียโนได้อย่างเพราะ จนอาจพาหลับเอาได้ง่ายๆ เสน่ห์อย่างหนึ่ง Bob เล่นได้อย่างดีคือการตวัดหางเสียง เมื่อสิ้นสุดวลี บวกกับเสียงต่ำของเทเนอร์ ทำให้การเล่นของเขาฟังดูเพราะอย่างยิ่ง และบทเพลงที่เขาสุดุดีให้กับ Ben Webster เป็นอัลบั้มที่น่าจะเหมาะกับคนที่อยากฟังแจ็สนุ่มๆซักชุด รวมถึงใครที่ต้องการศึกษาวลีแจ็สเพราะๆ และสามารถนั่งฟังได้ยกชุดโดยไม่ต้องคอยมานั่งเปลี่ยนแทร็คแต่อย่างใด
Artist : Lysdal Album : A Matter Of Time Style : Jazz / Pop Jazz Label : Hit Man
เพลงที่มีก็ตั้งแต่ สวิงแจ็ส ,บลูส์ และที่ขาดไม่ได้คือบอสวาโนว่า หลายครั้งในชุดนี้เราจะได้ยินเครื่องดนตรีอย่างกีต้าร์สายไนลอนและแอคคอเดียนที่เข้ามาสร้างเสน่ห์ให้เพลงอย่างมหาศาลจนเป็นเอกลักษณ์ไปซะแล้ว เช่นเพลง The Queen Of Waste Time ขณะที่ A Matter Of Time เป็นบลูส์แจ็สย้อนยุค Be My Angle ติดกลิ่นคันทรี่เล็กน้อย Still Water เพลงบัลเลงบัลลาดช้าๆ ให้ความรู้สึกของอะคูสติกได้อย่างดี Love & Quality เพลงมีเดียมสวิงน่ารักที่มีเพียงเสียงร้องและกีต้ารอะคูสติกที่ walking bass พร้อมคอร์ด งานของ Lysdal เป็นเพลงที่สามารถฟังได้อย่างเรื่อยๆ ทั้งน้ำเสียงที่ร้องผ่านเมโลดีและสไตล์ดนตรีเป็นจุดเด่นที่สร้างความแตกต่างให้กับเขา หลายอย่างเป็นการประยุกต์เพื่อความเหมาะสม แม้ว่าจะไม่ใช่แสตนดาร์ดเพียว หรือป็อปจ๋า แต่เขาก็นำมันมาผสมและหาจุดตรงกลางได้อย่างลงตัว
Artist : Chris Pershke Album : Shark Race Style : Jazz Label : Hit Man
ไม่บ่อยครั้งที่เราจะเห็นอัลบั้มแจ็สที่ใช้เครื่องทองเหลืองอย่าง “ทรอมโบน” มาเป็นเครื่องดนตรีหลัก และยิ่งเป็น ทรอมโบนห้าตัวนำมาบรรจุในอัลบั้มชุดเดียวและมีส่วนร่วมในทุกเพลงนั้น ก็คงจะเห็นได้จาก Slide O Mania ชุดนี้แหละครับ นับตั้งแต่ JJ Johnson เป็นผู้บุกเบิกเครื่องดนตรีชนิดนี้จนเป็นที่นิยม จนปัจจุบันเราก็ยังไม่มีงานที่นำเสนอจากทรอมโบนให้ฟังกันซักเท่าไหร่
Chris Pershke เป็นนักดนตรีชาวเยอรมันที่เคยร่วมงานกับ Marceo Parker กับงาน Soul Funk หรือ Maria Schneider มือเปียโนที่ขึ้นชื่อเรื่องการเรียบเรียงและแต่งเพลงประเภท Big Band และออเคสตร้า จะว่าไปแล้วงานชุดนี้ก็เปรียบเสมือนการนำสไตล์เพลงของศิลปินทั้งสองมารวมกัน Chris วางรากฐานเพลงของเขาด้วยกรู๊ฟแบบฟั้งกี้เล็กน้อย และเพลงสไตล์ละติน ,แสตนดาร์ดแบบบิ๊กแบนด์ พร้อมด้วยเสียงประสานจากเครื่องเป่า ในช่วงเมโลดี และทำหน้าที่อิมโพรไวส์สลับกันกับเปียโนเหมือนกับวง Big Band วงเล็กหนึ่งวง ไอเดียการใช้เครื่องเป่าอย่างทรอมโบนมาเป่าประสานนั้นทำให้โทนเสียงที่ออกมานั้น เป็นมวล ,นุ่มนวลและได้เนื้อเสียงเต็มอิ่ม แต่ก็แลกกันด้วยการขาดฮาร์โมนี่ที่สมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็นเช่นเสียงจากเทเนอร์และอัลโตและอื่นๆ แต่ขณะเดียวกันหลายเพลงเขาเลือกการเติมเต็มตรงจุดนี้ด้วยเสียงจากเปียโนที่เล่นเหนือขึ้นไปอีกอ็อกเต็ฟ สิ่งนี้คือไอเดียที่สร้างสรรค้นหาสิ่งที่มาทดแทนกัน งานชุดนี้อาจไม่หวือหวาในเรื่องอิมโพรไวส์เพราะด้วยขอบเขตที่จำกัดของ ทรอมโบนที่ไม่ได้มีหน้าที่เป็นตัวโซโล่ แต่ Shark Race ก็ทำให้เป็นอัลบั้มที่พยามยามนำสิ่งใหม่ๆมาสู่คนฟังที่อยากจะหนีเพลงสไตล์และรูปแบบเดิมๆ
Artist : Placido Domingo Album : Moments Of Passion Style : Classic Label : Sony BMG
หนึ่งในบรรดานักร้องโอเปร่าสายคลาสสิคที่เป็นหนึ่งในเสียงเทเนอร์นั้นนอกจาก Luciano Pavarotti ที่ขึ้นชื่อในสายนี้ ก็ยังมี Placido Domingo อีกคนหนึ่งที่ไม่ได้ด้อยกว่าเลย อัลบั้มชุดนี้ยังคงเป็นคลาสสิกเต็มร้อย ยังเป็นการร้องกับวงซิมโฟนี งานชุดนี้เป็นงานทีรวมถึงเพลงที่นำมาคัพเว่อร์ใหม่อีกครั้ง แต่ดูเหมือนว่าจุดมขายหลักๆอยู่ที่เพลง Willkommen bei und (Welcome) ซึ่งเป็นเพลงที่เขาใช้ร้องเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2006 รอบสุดท้าย เหตุผลส่วนหนึ่งที่ Placido รับงานนี้ ก็เพราะเขาชอบกีฬาฟุตบอลเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว และเพลงนี้ยังมีอีกเวอร์ชั่นที่เป็นโบนัสแทร็คแถมมาให้อีกด้วย หลาๆเพลงเราจะยังคงเห็น Placido สร้างสรรค์ความมหัศจรรย์ของตัวโน็ตที่ต่ำสุดๆและสูงสุดๆvย่างไม่น่าเชื่อ เทคนิคการร้องดีเยี่ยม เช่นเพลง Vesti La giubba เพลงนี้มีท่อนหนึ่งที่เป็นเสียงหัวเราะ เขานำเสนเสียงนั้นออกมาเป็นระดับการไล่เสียงของตัวโน็ต เพลงเด่นในชุดนี้ก็มี Willkommen bei und (Welcome) , Svegliatevi nel cor และเพลงพิเศษสุดๆ อย่าง Perhaps Love ที่เป็นเพลงป็อปธรรมดา ร้องคู่กับ John Denver แทบไม่มีคำพูดคำไหนมาบรรยาถึงความเพราะของเพลงนี้ได้ เลย อัลบั้มชุดนี้อาจจะดูฟังยากไปซักนิดสำหรับคนทั่วๆมันดูเหมือนกับฟังแล้วไม่สามารถจับอะไรได้ซักเท่าไหร่เพราะต้องใช้สมาธิอย่างมหาศาล แต่สำหรับคนคลาสสิคแล้วงานชุดนี้ไม่น่าพลาดครับ
Artist : Hank Williams Album : The Hank Williams Story Style : Country Label : S.Stack
ศินปินครหนึ่งที่สร้างเรื่องราวของเพลงคันทรี่ที่ยิ่งใหญ่ต่อชาวอเมริกัน ตำนานและชื่อเสียงของเขาช่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน แต่กลับกันนั้นชีวิตที่จะมีโอกาสดูความสำเร็จของตัวเองนั้นกลับไม่มี Hank Williams ก้าวขึ้นมาอยู่ชั้นแนวหน้าของวงการคันทรี่เพียงอายุแค่ 25 เท่านั้น แต่เขากลับมีเวลาสร้างตำนานเพียงแค่ 4 ปี ก็ได้เสียชีวิตลง อัลบั้มชุดนี้จึงเป็นงานที่รวมเอาเพลงดีๆที่เป็นที่นิยมมารวมกันไว้ถึง 20 เพลง และเป็น 20 เพลงที่บอกเล่าถึงความเป็นลูกทุ่งอเมริกันแท้ๆ เพลงของ Hank นั้นเป็นคันทรี่ในยุคแรกๆที่นิยมใช้เครื่องดนตรีอะคูสติกและพวกเครื่องดนตรีอย่างเบนโจเป็นเหลักรวมไปถึงบลูส์ เพลงดังอย่าง Your Cheatin’ Heart , Move It On Over , Wedding Bell , Love Sick Blues และเพลงอื่นๆมีให้ศึกษาและฟังกันเต็มที่ จะว่าไปแล้ว Hank William ก็เปรียบเสมือนกับสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวอเมริกัน ประวัติศาสตร์ของดนตรีอีกด้วย การเริ่มต้นที่จะฟังงานคันทรี่แบบดั้งเดิมในยุค 50 งานของ Hank Williams ชุดนี้เป็นงานที่น่าจะควรฟังอย่างยิ่งครับ
Artist : Various Artist Album : Explorations Style : Electronica Label : Universal Music
งานชุดนี้ค่อนข้างที่เป็นของแปลกสำหรับค่ายแจ็สอย่าง Concord อย่างยิ่ง เพราะเพลงในชุดนี้เป็นงานประเภทรีมิกซ์ โดยเป็นการนำเพลงจากศิลปินสายละตินอย่าง Tito Puente, Ray Barretto, Eddie Palmieri, Mongo Santamaria, Poncho Sanchez และ Cal Tjader มารีมิกซ์ใหม่โดยศิลปินรุ่นใหม่ๆแต่มากด้วยฝีมือและประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานในสาขาต่าง ทั้งโปรดิวเซอร์ ,ดีเจ และวง เช่น Thievery Corporation, Ozomatli, Dan the Automator, Los Amigos Invisibles, และ Yerba Buena เพลงทั้งหมดเน้นไปที่จังหวะละตินแต่มีการใช้บีทของอิเล็กทรอนก้าผสม อีกทั้งยังเน้นเรื่องของเพอคัสชั่นที่มากมายอีกด้วย เรื่องของการอิมโพรไวส์นั้นมีให้ฟังกันอยู่ แต่ก็เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเพลง หลายๆเพลงดั้งเดิมที่เป็นเพลงละตินและแสตนดาร์ดก็ถูกปรับโฉมใหม่ให้ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นเพลง Wave , Watermelon Man , Afro Blue ,Wave เป็นต้น หากการที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆให้เกิดขึ้นเพื่อแทนที่ของเดิมๆที่มีอยู่อัลบั้มชุดนี้ก็คงประสบความสำเร็จในความต้องการนั้นเต็มร้อยครับ
Artist : Various Artist Album : Romantic Guitars Style : Easy Listening Label : S.Stack
อัลบั้มชุดนี้เป็นงานรวมเพลงที่เป็นเพลงบรรเลงอย่างเดียว โดนเมนหลักของเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเป็นเมโลดีหลักก็คือกีต้าร์ เพลงที่นำเล่นในครั้งนี้จะเป็นเพลงเก่าที่ดังๆที่เป็นเพลงแสตนดาร์ดแจ็ส,บอสซ่าโนว่า,และป็อปผสมกันไปและเราคุ้นหูเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Fly Me To The Moon , Poor Butterfly , How Insensitive ,Moonlight In Vermont , Once In A While , Feeling , Yesterday เพลงทั้ง 18 แทร็คในชุดนี้ถูกเล่นโดย 3 ศิลปิน นั้นคือ J.C Aprile & His Orchestra (เพลงจะออกมาโบราณซักนิด อาจพบได้จากเพลงที่ชอบใช้ขั้นเวลาทางรายการวิทยุ) , Denny Wright และ Dick Abell เพลงส่วนใหญ่กว่า 70 เปอร์เซ็นต์เป็นการเล่นของ Denny Wright และเป็นคนที่นำเพลงเหล่านี้มาเล่นแล้วฟังออกมาน่าสนใจที่สุด เพราะเขาไม่ใช่แค่เล่นตามต้นฉบับ ยังมีการเล่นโชว์ในเรื่องของอิมโพรไวส์อีกด้วยและเพลงที่เขาเลือกที่จะมาเล่นนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นเพลงที่ไปทางแสตนดาร์ดและบอสซ่าโนว่า นี่คือความได้เปรียบที่เขาแซงอีกสองคนที่เน้นเมโลดีของเพลงดั่งเดิมเอาไว้ สิ่งนี้ยังเป็นการถ่วงความสมดุลย์ให้เกิดความรู้สึกไม่น่าเบื่อเกินไป แต่ค่อนข้างต้องนั่งฟังซักนิดถึงจะพบข้อแตกต่าง เพราะหากเป็นคนฟังทั่วๆไปที่ยังไม่คุ้นกับเพลงแนวบรรเลงอย่าง อาจรู้สึกว่ามันเหมือนๆกันไปหมด ซาวด์อาจจะออกมาเก่าไปซักนิดแต่ก็ฟังได้เรื่อยๆครับ และบางทีเพลงสไตล์นี้ที่นำเพลงเก่ามาเล่นเป็นบรรเลงอาจจะเป็นข้อดีให้หลายๆคนหลงรักเพลงบรรเลงเต็มๆรูปแบบเข้าซักทีก็ได้ครับ
Artist : Rudklao Amratisha Album : Ultimate Collection Style : ////// Label : Sony BMG