คุณคงเข้าใจความหมาย
เกี่ยวกับคำว่า บันไดเสียง (Scale)
กันบ้างแล้วนะครับ
ผมจึงเข้าเรื่องบันไดเสียง
เมเจอร์ สเกล
ซึ่งเป็นระบบบันไดเสียงของตะวันตกที่
เกิดขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1300
ซึ่งเป็นยุคของดนตรี Tonal Music
(ดนตรีที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานของบันไดเสียง
Major และ Minor) ก่อนหน้านี้ได้ ใช้ระบบ
Mode มาก่อน (ประมาณ ค.ศ. 1200-
1300) ปัจจุปันนี้
ได้นำกลับเอามาใช้ใหม่
ทั้งในดนตรีแนว Jazz , Rock , Progressive
เป็นตัน
โครงสร้างของบันไดเสียง
เมเจอร์ จะประกอบไปด้วย 2 tetra chord = 1
Scale ใน 1 tetra chord จะมีโน้ต
ที่เรียงกัน 4 ตัว โดยตัวแรก
กับตัวหลังห่างกันคู่ 4 Perfect 2
เสียงครึ่ง เช่นใน C Major Scale
จะประกอบด้วย
tetra 1: C D E F (1 - 2 -34)
tetra 2: G A B C (5 -6 -78)
จะสังเกตเห็นได้ว่า
ระยะห่างของโน้ตที่เรียงกันใน
แต่ละ tetra 1,2 นั้น
จะมีระยะห่างของตัวที่เหมือนกันคือ
โน้ต
C D E กับ G A B จะมีระยะห่าง 1
เสียงเต็ม (1 whole tone หรือ 2 semitone)
ในทางปฏิบัติ กีตาร์จะเท่ากับ 2 Fret
= 1 เสียงเต็ม
EF กับ BC
จะมีระยะห่าง 1/2 ครึ่งเสียง ( Half tone
หรือ 1 Semitone
ในทางปฎิบัติกีตาร์จะเท่า 1 fret = 1/2
เสียง
Ex1.

จากตัวอย่างโน้ต ได้ใช้ตัว C
เป็น Tonic (ตัวแรกของบันไดเสียง
)เมื่อนำเรียงกัน จาก Tetra1 ไป Tetra2
ก็จะได้เป็น บันไดเสียง C
เมเจอร์ (C Major Scale)
C D E^F G A B^C
ซึ่งโน้ตทุกตัวเป็น
Natrual (ไม่มี # และ b)
และมีระยะห่างของโน้ต เป็น . 1 2 34 5 6 78 สังเกตได้ว่า 3 กับ 4
และ 7 กับ 8
ห่างกัน ครึ่งเสียง อยู่ 2
จุดตามตัวอย่าง
|
การคิด และจำ Major Scale อย่างง่ายๆ
วิธีหนึ่ง
ก็คือจำลำดับโน้ตตัวที่ 3 กับ 4 กับ
ตัวที่ 7 กับ 8 ของสเกล
ให้มีระยะห่างกันครึ่งเสียง
(ดูโครงสร้าง C Major Scale เป็นหลัก )
ส่วนตัวอื่นๆห่างกัน 1 เสียง
คุณลองฝึกทีละ Tetra
บนสายกีตาร์ก่อนก็ได้เช่น
Ex2.

การจัดโน้ตเป็น 4 ตัว /
ใน1 สายกีตาร์
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ
จะเริ่มที่โครงสร้างของ Tetra 1(C Major Scale)
ในสาย 5 (ดูรูป Ex2)
เริ่มวางนิ้วชี้มือซ้าย ที่ Fret 3
(position 3) เริ่มที่โน้ตตัว C
แล้วจัดเรียงตามลำดับ Tetra1 = C D
EF
คุณอาจใช้การจำหรือนับเป็นตัวโน้ต
หรือตัวเลขก็ได้
แต่คุณควรที่จะทราบ
โครงสร้างของบันไดเสียงให้ขึ้นใจเพือการนำไปใช้
ได้สะดวก และรวดเร็ว
ต่อไปเรามาดู Tetra2 ในสาย 4
เริ่มวางนิ้วชี้มือซ้าย ที่ Fret 5
เริ่มที่โน้ตตัว G แล้วจัดเรียง
ตามลำดับ
Tetra2 = G A
BC
คุณจะเห็นว่าแนวคิดนี้ เป็น
รูปการฝึกโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์
สเกล โดยฝึกแยกทีละ Tetra Chord
/ 1 สายกีตาร์
เมื่อคุณเข้าใจโครงสร้าง ของ Major
Scale แล้ว
คุณลองคิดรูปแบบการฝึกทางนิ้วของคุณที่ชอบ
ด้วยตัวเองดูนะครับ
ถ้าจะสร้างเป็น
G Major Scale ให้เริ่มที่ตัว Tonic เป็น G
ก็จะได้
Tetra 1 = G A
BC
Tetra 2 = D
EF G
เห็นได้ว่า โน้ต BC และ EF
นั้นเป็นโน้ตที่มีระยะห่างกัน 1/2
เสียงโดยธรรมชาติ
ตามโครงสร้างของดนตรีตะวันตก
แต่ถ้าเป็นระบบเสียงของดนตรีนองระบบ
(Non Western) เช่นดนตรีไทย
เป็นดนตรีเอเซีย จะมีระยะห่าง
เป็น 7 เสียงเท่า
กันโดยการประมาณ
(แต่ยังไม่มีระบบ 7
เสียงเท่ากันที่เป็นมาตราฐานจริง
ๆ )
แต่ก็เป็นระบบเสียงที่ความงามเฉพาะของดนตรี
นั้นๆ
ซึ่งระบบของดนตรีตะวันตกก็เช่นกัน
ฉะนั้นเมื่อคุณเอา Tetra1,2
มาเรียนกัน ก็จะ เป็น G A
BC D
EF G ( 1 2 34 5 67 8)
ซึ่งยังไม่ตรงกับโครงสร้าง
ของ Major Scale
เนื่องจากระยะห่างครึ่งเสียง
ของโน้ต EF ไปอยู่ที่ 6,7
จึงต้องใช้เครื่องหมาย
แปลงเสียง (Accidental) คือ # และ b
มาช่วยทำให้ตำแหน่งตัวโน้ต
6,7
ให้เป็น 1เสียง และให้ 7,8
เป็นครึ่งเสียง และตัวอื่น
เป็น 1
เสียงตามระบบโครงสร้างของบันไดเสียง
Major Scale ก็จะได้ดังนี้
G Major Scale = G A
BC D E
F#G
F Major Scale = F G A BC D Eb F
(ใช้เครื่องหมายแปลงเสียงทาง b)
ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจโครงสร้างของ
Major scale แล้ว
เราก็สามารถใช้วิธีคิดนี้นำมาสร้าง
ระบบเสียงเมเจอร์ สเกล ใน key ต่าง
ๆได้
แต่ปัญหาที่พบบ่อยในการสร้าง
คือทราบได้อย่างไรว่า
สเกลไหนควรใช้เครื่องหมาย # หรือ b
จริง ๆ แล้ว
ก็เป็นความเหมาะสมของการจัดระบบให้ลงตัว
และใช้ได้สะดวก
ซึ่งเป็นระบบสัมพันธ์ของโครงสร้าง
Major Scale ซึ่งเป็นวิธีคิดแบบ Circle of fifths
ที่จะมีการเรียงลำดับของ ตัวที่ 5
(Dominant) เป็น Key ต่อไปของบันไดเสียงmajor
โดยเริ่มจาก C Major เป็นจุดเริ่มต้น
คือ C เป็นroot ไปหาตัวที่ 5 dominent คือ G = C D
EF G ก็จะเรียงโดยการนับวนขวา
(ดูรูป Ex1.) เป็น C - G , G - D , D - A
เป็นวงกลมจนครบ 6# ,6b
ถ้าเคลื่อนที่ไปตามเข็มนาฬิกา(วนขวา)
ให้ใช้เครื่องหมาย #
เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง
ถ้าเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกาใน
Circle of fifths ให้ใช้เครื่องหมาย b
เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง
โดยเริ่มนับย้อนจาก C ให้เป็นตัว
Dominant (5) ไปหาตัว root (1) = C B A G F
ก็จะเรียงโดยการนับย้อนวนซ้าย
(ดูรูป- Ex1.)เป็น C - F F- Bb , Bb - Eb
Ex1.

ลองดูรูปประกอบไปด้วยจะเข้าใจมากขึ้นนะครับ
คราวนี้มาเข้าเรื่องการฝึก Major Scale
ให้ครบ Circle of fifths โดยเริ่มจาก position I
ก่อน
เพื่อทำให้คุณสามารถจำโครงสร้างของตัวโน้ตในแต่ละสเกล
เพื่อใช้งานได้อย่างแม่นยำ
และจัดทางนึ้วได้ง่ายต่อการฝึกในเบื้องต้น
อีกวิธีหนึ่งที่ผมจะแนะนำคุณในการฝึก
Major Scale ควบคู่กันไปก็คือการร้อง
หรือ ฮัมเสียง ในระบบ Moving Do
ก็คือการมองตัว tonic ของ Key มาเป็นตัว
Do ฉะนั้นเวลาที่คุณไล่บันไดเสียง
major ใน Circle of fifths ตำแหน่งโน้ตตัวแรก (tonic)
ของสเกลให้คุณ Moving Do เช่น ในสเกล G major
= G -โด , A- เร ,B- มี ,C- ฟา, D -โซล ,E-ลา ,F- ที , G-
โด
การฝึกตรงนี้อาจจะทำให้คุณได้ประโยชน์หลาย
ๆเรื่องในเวลาเดียวกัน
และที่สำคัญคุณจะเข้าใจและจดจำระบบเสียงทาง
Major Scale
เพื่อนำไปใช้แนวคิดคุณได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว |