candle light blues เเสงเทียนในวันหนึ่ง  
 
candle light blues ...... เเสงเทียน

มีเพลงมาฝากครับ ไม่ทราบว่าเอามาลงตรงนี้ถูกหรือเปล่า .........เคยเอาไปลงเวปเพื่อนบ้าน
http://www.nimitguitar.com/mybb/showthread.php?tid=3504 ลองเเวะไปที่นี่ก็ได้บรรยากาศอีกเเบบครับ

บทเพลงพระราชนิพนธ์ เเสงเทียน เป็นเพลงที่ผมชอบเล่นอยู่บ่อย ไม่เคยจำกัดเทศกาล หรือ โอกาสเวลาอะไร

วันที่ผ่านมาไม่กี่วันนี้ มีรุ่นน้องเป่า sax มาร่วมบรรเลง เเละคนตีกลอง อีก 1คน เราไม่เคยเล่นกันบ่อยนัก นานๆจะเจอกันสักครั้ง เลยลองบรรเลงเพลงนี้ขึ้นมา เป็นครั้งเเรกที่เล่นเพลงนี้กัน โชคดีวันนั้นมีเครื่องอัดเล็กๆอันนึงติดมา เลยบันทึกมาฝากครับ

ความหมายเพลงนี้ดีมาก บอกให้คนทำกุศลทำดี ชีวิตนั้นเปรียบเหมือนเเสงเทียน มีการเเสดงความเชื่อในหลักการของการมีชีวิตใหม่ บุญกรรมตามหลักศาสนา

ขอบคุณเครื่องบันทึกเสียงจาก ด.ร กฤษ สุจริตกุล ครับ


เชิญโหลดไปฟังได้เลยครับ มาดูกันว่าทำอะไรในเวลา 10นาทีที่เล่นไป
http://th.upload.sanook.com/A0/4b125d839...967e4fc3d8


เเนะนำ ผลงานได้เต็มที่ครับ


หรือ โหลดได้ที่นี่ครับ

http://www.nimitguitar.com/mybb/attachment.php?aid=12047

ขอให้มีความสุขกับเสียงดนตรีครับ

--------------------------------------------------------------------------------


parradee project      21 มี.ค. 52   เวลา 10:43:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 210.86.208.28


 


  คำตอบที่ 1  
 
เเสงเทียน

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ



จุดเทียนบวงสรวง ปวงเทพเจ้า
สวดมนต์ค่ำเช้า ถึงคราวระทมทน
โอ้ชีวิตหนอ ล้วนรอความตายทุกคน
หลีกไปไม่พ้น ทุกข์ทนอาทรร้อนใจ
ต่างคนเกิดแล้ว ตายไป
ชดใช้เวรกรรมจากจร

นิจจังสังขารนั้นไม่เที่ยง เสี่ยงบุญกรรม
ทุกคนเคยทำกรรมไว้ก่อน
เชิญปวงเทวดา ข้าไหว้วอน
ขอพรคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
หนีปวงโรคาที่เบียดเบียน แสงแววชีวาเปรียบแสงเทียน

เปรียบเทียนสิ้นแสง ยามแรงลมเป่า
ชีพดับอับเฉา เหมือนเงาไร้ดวงเทียน
จุดเทียนถวาย หมายบนบูชาร้องเรียน
โรคภัยเบียดเบียน แสงเทียนทานลมพัดโบย
โรครุมเร่าร้อน แรงโรย
หวนโหยอาวรณ์อ่อนใจ

ทำบุญทำทานกันไว้เถิด เกิดเป็นคน
ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่
เคยทำบุญทำคุณ ปางก่อนใด
ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
แสงเทียนบูชาจะดับพลัน แสงเทียนบูชาดับลับไป



Candlelight Blues



เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน: Candlelight Blues
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙

ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์) นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ ที่จะทรงแก้ไขทำนอง และคอร์ดบางตอน จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้นำออกมา บรรเลงในเวลานั้น ต่อมา ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๐ และใน พ.ศ. ๒๔๙๖ นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล) ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษถวาย



ลิขสิทธิ์ในบทเพลงทั้งหมดเป็นของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลง “แสงเทียน” เป็นเพลงแรกในแนวของเพลงบลูส์ ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของดนตรีแจ๊ส นักข่าวชาวอเมริกันได้กราบบังคมทูลว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สจริงหรือไม่ และโปรดดนตรีประเภทใดมากที่สุด มีพระราชดำรัสตอบว่า



“ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจ๊สหรือไม่แจ๊สก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ในตัวคนทุกคน เป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเรา สำหรับข้าพเจ้า ดนตรีคือ สิ่งประณีตงดงามและทุกคนควรนิยมในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท เพราะว่าดนตรีแต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสมตามแต่โอกาส และอารมณ์ที่ต่างๆ กันไป

เมื่อพูดถึงการเล่นดนตรี ก็ต่างกันอีก ถ้าข้าพเจ้าเล่นเพลงคลาสสิก และมีใครทำเสียงดังอย่างงี้ก็เป็นการรบกวนเพราะว่าดนตรีคลาสสิกต้องเล่นตั้งใจจริงจัง ข้าพเจ้าไม่ได้พักผ่อนเท่าไรนักต้องคอยระวังไม่ให้ผิดโน้ต และไม่ให้มีใครมารบกวนข้าพเจ้า ถ้าหากว่าข้าพเจ้าต้องเล่นเพลงแจ๊ส ก็ดีกว่า เพราะว่าข้าพเจ้าเล่นทำนองได้ตามใจชอบตามที่รู้สึกขณะนั้น ตามแต่อารมณ์และความนึกคิดของข้าพเจ้าจะพาไป ถ้าใครจะมาทำเสียงดังเวลานั้น ข้าพเจ้าก็ถือว่าเป็นเสียงประกอบ และข้าพเจ้าเล่นผิดโน้ตก็เท่ากับว่า ข้าพเจ้าแต่งทำนองนั้นขึ้นเองในปัจจุบัน” เพลงที่พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่ขณะที่ประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอน์แลนด์ และเมื่อเสด็จฯ นิวัติพระนครใหม่ๆ นั้นเป็นเพลงแนว “บลูส์” (Blues) ซึ่งเป็นสไตล์หนึ่งของดนตรีแจ๊สที่เริ่มเป็นที่นิยมในสหรัฐตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2443 (ค.ศ.1900) เสียงโน้ตที่แปร่งหูในแนวบลูส์ และช่วงจังหวะที่ขัดธรรมชาติของเพลงในบางครั้ง ได้สร้างมิติใหม่ ให้แก่วงการเพลงในยุคนั้น ความรู้สึกของการขัดแย้งของเสียงและจังหวะนี่เองที่ทำให้ดนตรีแจ๊สมีรสชาติตื่นเต้นต่างออกไปจากแนวทางดนตรีดั้งเดิมของโลกตะวันตกอาจจะเป็นธรรมชาติที่แท้จริงขิงมนุษย์ที่ต้องการใฝ่หาประสบการณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของชีวิต จึงทำให้เพลงแจ๊สได้รับความนิยมและพัฒนาอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา และสำหรับนักดนตรีบางคนนั้น คุณค่าของดนตรีมิได้อยู่ที่ความไพเราะรื่นหูของจังหวะหรือความอ่อนหวานของท่วงทำนองอย่างเดียว แต่ที่แท้จริงแล้วคือความรู้สึกท้าทายที่เกิดจากเสียง “บลูส์” ที่แปลกใหม่ และจังหวะแจ๊สที่ขัดแย้งเร้าใจ ความขัดแย้ง ในบางครั้งก็อาจเตือนมนุษย์ให้เข้าถึงความจริงของชีวิตได้ เปรียบได้กับความทุกข์ของมนุษย์ที่บางครั้งทำให้ชีวิตมีความหมายอย่างประหลาด เพราะควาทุกข์ชุบชีวิตจิตใจเข้มแข็งและชุบวิญญาณให้แข็งแกร่งมากกว่าความสุขอันผิวเผินและไม่จีรัง เพลงบลูส์ที่รำพันถึงความโศกเศร้าและคับแค้นใจจึงแฝงด้วยคติธรรมของชีวิตจริงอยู่ด้วยเสมอ ดังเช่น บทพระราชนิพนธ์ “ชะตาชีวิต” ทรงพระราชนิพนธ์ขณะที่เสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากที่เสด็จขึ้นครองเสวยราชสมบัติแล้ว ในปี พ.ศ.2489 ทำนองเพลงอันเรียบง่ายที่อาศัยการดำเนินเสียงประสานของคอร์ดบลูส์ จำนวน 12 ห้อง ซึ่งเรียกว่า “Blues Progressions” เป็นหลักสำคัญในการพระราชนิพนธ์เพลงประเภทนี้




http://www.geocities.com/rajchasadudee/

http://www.thaiculturalcenter.com/media_...music1.htm

http://music.bsru.ac.th/songs/midi/candle.zip

หนังสือ คีตราชัน



พี่ดี๋ครับ เอามาลงเเล้วนะครับที่เคยส่งเมล์ไปบอกไว้ เเต่ไม่เเน่ใจว่าเเบบนี้ลงตรงไหนถึงจะเหมาะ ถ้าไม่ถูกที่ก็บอกนะครับ หรือ ย้ายให้ก็ตามสะดวกครับ

ขอบคุณครับพี่

ขอบคุณทีมงาน เเละ พี่น้องชาวกีตาร์ไทยด้วยครับ

   parradee project      21 มี.ค. 52   เวลา 10:53:00   IP = 210.86.208.28
 




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 1999 - 2005


Thailand Web Stat