True Bypass ดีจริงหรือ โดยคุณ pawint  
 
เห็นยังมีคนถาม เรื่องนี้อยู่เรื่อยๆ
พอดีผมเซฟเก็บกระทู้ที่คุณ pawint โพสไว้
เลยขออนุญาติมารีโพสที่นี่ จะได้ไม่หายไปครับ

****************

จริงๆ ผมแสดงความเห็นแล้วไว้ในกระทู้นี้ครับ
http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=79446
ไหนๆก็พิมพ์ซะยาวเลย เลยเอามาตั้งอีกกระทู้ซะเลยลองอ่านดูครับ


ขอพูดเรื่อง True Bypass นิดนึงนะครับ ผมว่าเรื่อง True Bypass ตาม theory แล้วน่าจะดีกว่าแต่ในทางปฏิบัติแล้วข้อแตกต่างแทบจะไม่มีผล เพราะฉะนั้น **อย่าเอามาเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินใจ**
คำว่าTrue Bypass มันมีผลทางการตลาด(จิตใจ)มากกว่าทางคุณภาพครับ
เพราะจริงๆแล้วเมื่อเรามามองตามหลักการไฟฟ้า
สัญญาณกีต้าร์คือสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับแบบอ่อนๆ(Voltage)และไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนตัวของ Electron
กระแสไฟฟ้ามาก เกิดจากปริมาณของElectronจำนวนมากเคลื่อนตัวผ่านตัวกลาง
เพราะฉะนั้น ตัวกลางจะมีผลต่อกระแสไฟฟ้า ตัวกลางที่เราใช้กันอยู่ก็คือสายไฟ หรือสายสัญญาณนั่นเอง
ถ้าคุณแกะ Effect ที่เป็นTrue Bypass มาดูข้างใน คุณจะพบว่า สายไฟที่ใช้กันอยู่ จะมีขนาดไม่ใหญ่
เพราะมันมี พื้นที่จำกัด (เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้สายใหญ่) ขนาดของสายไฟมีผลต่อการเดินทางของ electron ยังมีปัจจัยอื่นๆอีก มากเช่นชนิดของโลหะใช้ทำสายไฟ ส่วนใหญ่ใช้ทองแดง ถ้าทองแดงบริสุทธิ์มากจะนำสัญญาณได้ดี (จริงๆแล้ว เงิน และทองนำไฟฟ้าได้ดีกว่า แต่มันแพงงงง ครับ)
ลองคิดดูว่า ถ้า Effect เป็น TBP แต่ใช้สายไฟแบบห่วยๆมาทำ มันจะ Drop สัญญาณหรือไม่
คำตอบคือแน่นอนที่สุด ในขณะ ที่อีกวงจรหนึ่ง ไม่ได้ใช้ switch แบบ TBPแต่ใช้อุปกรณ์ดีๆมาทำ
ถ้าให้ผมเลือกผมเลือกอย่างหลังครับ
ตัวผมเองก็ต่อ Effect เล่นเองนะครับทุกตัวเป็น TBP แต่บางตัวก็ยังมีเสียงรบกวนเข้ามาในขณะปิดอยู่
นั่นแปลว่าฝีมือในการทำ และทักษะของผมยังไม่ได้มาตรฐาน
จะเห็นได้ว่าคุณภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Switch แบบ True bypass อย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นที่สำคัญกว่ามาก

ทีนี้พอจะเข้าใจหรือยังว่า คำว่า True Bypass ไม่ได้เป็นตัวบอกเลยว่า Effect ก้อนนั้นมีคุณภาพดี
ใครที่หลงทางอยู่ ลองคิดดูครับ

สรุปว่าถ้าคุณเลือก Effect สักก้อน คุณควรเลือกที่คุณภาพเสียงเป็นสำคัญ ถ้าชอบเสียงตัวไหนก็เลือกตัวนั้นครับ ง่ายๆ แล้วถ้ามันไม่ใช่ Truebypass แล้วคุณไม่สบายใจนอนไม่หลับ ก็ไปซื้อ switch มาเปลื่ยนหรือหา Looper มาใช้ ก็เท่านั้น

ไม่จำเป็นต้องเชื่อครับ นี่คือความเห็นของคนหนึ่งคนเท่านั้นครับ

เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ มีความเห็นอย่างไรกันครับ

pawint

กำลังรอผู้กล้าอยู่ ..... ปล่อยให้รอซะตั้งนาน อิอิ
โดยส่วนตัวผมไม่สนไอ้ทรูบายพาสเลย...และก็ไม่เคยเห็นด้วยกับกระแสที่ตามๆกันไป ว่าต้องทรูบายพาส
เท่านั้นถึงจะสุดยอด.....
มันดรอปก็จริงแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมากจนน่าเกลียด..และในส่วนนี้เราก็สามารถปรับเพิ่ม gain ต่างๆได้
...ไม่อย่างนั้น Boss ก็คงไม่ยืนยงมาจนทุกวันนี้หรอกครับ ......
...ศิลปินระดับโลกยังใช้ Boss /Digitech/ Ibanez ....และอีกมากที่ไม่ใช่ทรูบายพาส



ไม้จิ้มฟัน 19 ม.ค. 50 เวลา 18:34:00 IP = 125.24.40.18
อีกอย่างครับ.....looper น่ะถ้าใครมี เอฟเฟคเยอะๆ และต้องใช้หลายๆตัวพร้อมกัน
และกลัวจะเหยียบไม่ทัน ก็ใช้เถอะครับ ...มันจำเป็น
แต่ถ้ามีแค่ แตกตัว บูสตัว คอรัส ดีเลย์ ถ้าแค่นี้...คิดว่ายังไม่น่าจำเป็นต้องใช้ครับ ( เปลืองตังค์ )
แต่ถ้ามีตังค์แล้วอยากจะมีไว้เหยียบบ้าง ก็..........ตามสะดวกครับ
....

ไม้จิ้มฟัน
เห็นด้วยจ้า..........ผมเชื่อ อย่างว่าถ้า fx ที่มาตรฐานสูง ระบบ bypass เค้าก็ควรจะมาตรฐานสูงด้วย
และอีกอย่างถ้าพ่วง fx หลายตัวต้องท่องไว้เลยว่า "เรื่อง drop เป็นเรื่องธรรมชาติ ......." ;-D

มีใครจะเชื่อมั้ยล่ะว่า Moog หรือ Klon ตัวละเป็นหมื่น แต่ ตัว sw. ก็ไม่ใช่ True bypass .....!!!

e-flat


ตามที่ท่าน pawint อธิบายมาก็ถูกครับ แต่....เอฟเฟคตัวใดก็ตามที่ไม่ได้เป็น true bypass นั่นคือเค้าใช้วงจรเป็นตัวตัดต่อสัญญาณ หรือไม่ก็ใช้ mosfet มาเป็นตัวตัดต่อสัญญาณ ซึ่งตามหลักแล้ว ในตัวไม่ว่าจะเป็น IC,transistor,mosfet ย่อมมีความต้านทานในตัวของมัน นั่นคือที่มาของคำว่าเสียงดร็อปครับ ดร็อปในที่นี้หมายถึงความดังลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผ่านกับไม่ผ่านตัวมัน โดยไม่ต้องเปิดเอฟเฟค แค่เสียบเฉย ๆ ก็มีผลต่อความดังที่ลดลงครับ อันนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ทดลองมาจากหลาย ๆ ก้อน หลาย ๆ เอฟเฟคที่ไม่ใช่ true bypass ส่วนเรื่องสายไฟที่ใช้เดินภายในเครื่อง มีผลครับ แต่...น้อยมากเพราะว่าความยาวที่ใช้ในการเดินสายภายในนั้นสั้นมาก เพราะยังไง ผู้ผลิตเอฟเฟคทุกยี่ห้อคงต้องออกแบบมาให้เดินสายให้สั้นที่สุดอยู่แล้ว เพราะเมื่อความยาวสายมากย่อมมีผลมาก ดังนั้นจึงไม่ต้องเอามาคิดก็ได้นอกจากใช้สายไฟห่วยสุด ๆ จิง ๆ แบบตัวนำเป็นสีเขียวเป็นคราบเขียวเกรอะแบบนี้ย่อมมีผลต่อวงจรมหาศาลแน่นอนครับ
เหตุผลนึงที่ผู้ผลิตเอฟเฟคดัง ๆ จึงนิยมใช้วงจรตัดต่อสัญญาณเนื่องจากไอ้เจ้าเสียงปุ้กปั้กนี่ล่ะครับ แล้วก็การเสื่อมสภาพของสวิตซ์แบบอนาล็อค กลไก ยังไงเจอ บาทาคนก็ต้องพังเข้าสักวัน ส่วนจะช้าจะเร็วก็อยู่ที่แต่ละคนใช้ ดังนั้นเค้าจึงตัดปัญหาไปใช้วงจรสวิตชิ่งเอาง่ายกว่า อย่างน้อยก็คงไม่มีใครมาบ่นว่าซื้อมาตั้งแพงทำไมเหยียบละ ปุ้ก ๆ ปั้ก ๆ ให้รำคาญหู
ส่วน Looper ก็จำเป็นสำหรับคนที่ซีเรียสกับปัญหาเสียงดรอปจิง ๆ หรือว่ามีเอฟเฟคเยอะซะจนเวลาอยู่บนเวทีเหมือนเต้นแร้งเต้นกา มากกว่าจะเล่นกีต้าร์ อันนี้ก็สำคัญครับ แต่.... อย่าลืมดูเรื่องจำนวนของ CH ที่ให้เราใช้ด้วยว่าพอกับที่เราต้องการหรือเปล่า
ปล. เป็นความเห็นส่วนตัวครับ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านคับผม ขอบคุงคับ

musicman-studio 19 ม.ค. 50 เวลา 21:23:00 IP = 58.9.116.30


จริงๆบทความที่ไม่สนับสนุน True Bypass นั้นมีอยู่พอสมควรครับ
http://www.petecornish.co.uk/case_against_true_bypass.html
http://www.tech21nyc.com/tech_notes/tech_truebypass.html
สรุปได้ว่า วงจรที่เป็น Bypass ที่ดีที่สุดน่าจะเป็นแบบ buffered bypass คือให้ Impedance คงที่ขณะที่ Effect เปิด และ ปิด ในวงจรเครื่องมือระดับโปรก็เป็น Buffered ทั้งสิ้น
นั่นคือเหตุผลว่าทำไม ก้อนของพี่ E-flat ที่ราคาเป็นหมื่น ไม่ใช่ True Bypass

pawint
เอ่อ.....จาบอกว่า ส่วนมากยี่ห้อถ้าไม่ระดับ ไฮเอนด์จิง ๆ มันไม่มี buffer ที่ตัวสวิตช์ชิ่งคับ มันเป็นแค่วงจรตัดต่อเฉย ๆ เพราะถ้ามีbuffer เข้ามาด้วยนั่นหมายถึงราคาแพงขึ้นอีก เพราะงั้นเรามาซื้อของแพง ๆ ใช้กันดีก่า อิอิ

musicman-studio 20 ม.ค. 50 เวลา 1:25:00 IP = 58.9.116.30





คำตอบที่ 17
อุอุ........ต้องเข้ามาแจมหน่อย

ถ้าสังเกตุจากทุกกระทู้ที่ผ่านมา ผมไม่เคยสนับสนุนให้ใช้ของแพงเลยนะครับ

แน่นอนว่าของที่ดีเกินมาตรฐานมากๆ ราคาสูงแน่
แต่หลังๆก็มีของที่แพงมากๆโดยการตลาดล้วนๆ ซึ่งของอาจจะดีจริง แต่มูลค่าไม่ควรแพงขนาดนั้น ... เดี๋ยวนี้มีเยอะครับ
เพราะงั้นจะซื้อหาอะไรก็ หาข้อมูลจากหลายๆแหล่งด้วยจ้า


**มีความสุขกับของที่มี อย่ามีความทุกข์กับของที่ยังไม่มี **.... นะคร๊าบบบ

e-flat 20 ม.ค. 50 เวลา 1:47:00 IP = 58.8.166.209





คำตอบที่ 18
อยากได้ของแพงแต่มะมีตัง หุหุ ผมก็มะสนับสนุนของแพงงับ เค้าเรียกประชดพวก ยี่ห้อดังขายทั่วโลกแต่ทำไมมะทำให้มันสุด ๆ ไปเลย เพิ่มอีกนิดหน่อยคงไม่เท่าไหร่ โดยส่วนตัวผมถ้าอยากได้อาราย มะเคยซื้อเลยครับเด๋วนี้ ทำเองมันเกือบหมด ทำเสร็จใช้เสร็จรื้อๆๆ เอาอะไหล่ไปใช้ทำตัวต่อไป หุหุ สบายใจดีครับ เพราะงั้นตอนนี้เลยไม่มีเอฟเฟคของตัวเองเป็นชิ้นเป็นอันซักตัว มีแต่เป็นขยุ้ม ๆ เหมือนแมงมุมเลย

musicman-studio 20 ม.ค. 50 เวลา 2:03:00 IP = 58.9.116.30





คำตอบที่ 19
มาแจมครับ นานๆจะเจอกระทู้แบบนี้สักที
เสริมอีกนิดเรื่องบัฟเฟอร์ นอกจากจะมีประโยชน์ตรงที่รักษาอินพุท-เอาท์พุท อิมพิแดนท์ของวงจรแล้ว มันยังช่วยชดเชยเรื่องของการสูญเสียสัญญาณเนื่องจากการเดินสายสัญญาณยาวเกินไปหรือสายที่มีคุณภาพต่ำ
ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับวงจรบัฟเฟอร์นี้ยังมีอะไรอีกมากมายที่น่าเรียนรู้ รวมทั้งการเลือกชนิดและเบอร์ของทรานซิสเตอร์ที่เอามาดัดแปลงใช้งาน เพื่อทำให้เสียงที่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยครับ

effectmaker 20 ม.ค. 50 เวลา 2:23:00 IP = 124.120.92.20





คำตอบที่ 20
โอ้ว super สาระ

ninai 20 ม.ค. 50 เวลา 4:49:00 IP = 58.8.133.8





คำตอบที่ 21
ยอดเยี่ยมทุกความเห็นครับ

ที่ตั้งกระทู้นี้เจตนาเพื่อจะได้รู้จักTrye bypass ว่าจริงๆมันเป็นยังไงครับ มันดีขนาดที่หลายคนคิดรึปล่าว
เพราะมีกระแสเรื่องนี้ค่อนข้างมาก รวมถึงคนใกล้ตัวผมด้วย เวลาจะซื้อ เอฟเฟคซักก้อน "ต้องซื้อที่เป็น True Bypass เท่านั้น" ผมได้ยินแล้วบอกตรงๆว่ารู้สึกไม่ดีเลยจริงๆ
เลยมาเล่าสู่กันฟังงับ

pawint 20 ม.ค. 50 เวลา 14:22:00 IP = 203.156.89.165





คำตอบที่ 22
ผมโดนกระแสของ TBP เข้าอย่างจัง
คือเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง....

ตั้งกระทู้มาเคาะกะบาลกันอย่างนี้ก็ดีเหมือนกัน

v74 20 ม.ค. 50 เวลา 22:12:00 IP = 58.136.61.189





คำตอบที่ 23
เสริมบ้าง TBP มีผลทางด้านจิตใจครับ แต่ไม่ได้เกี่ยวกับเสียงเลยตามที่พี่หลาย ๆท่านบอกไว้ การที่เอฟเฟกที่ไม่ทรูเวลาต่อแล้วเสียงดรอปเนี่ยคืองี้นะครับ เค้าทำวงจรเผื่อไว้เพื่อการเดินสายไกล ๆ ครับ ค่า Z(Impedance ค่าความต้านทางทางไฟสลับ) ที่อินพุตของเครื่องแอมป์ปลายทางที่เราจะต่อด้วยเนี่ยมันมีค่าอยู่ค่านึง (เฉลี่ยที่ 10k - 47k) หรือประมาณ -10 ถึง -20 dB ค่าติดลบที่ว่านี้ฟังเสียงจะเบาลงแต่ถ้าเอาเครื่องสโคปไปจับรูปสัญญาณจะเห็นเลยครับว่าไม่มีการลดทอนความที่ใด ๆ เพราะวงจรในเอฟเฟกชดเชยให้หมดแล้วดังนั้นตัวเอฟเฟกเองก็ต้องทำให้ค่า Z ที่ว่านี้แมทช์กับปลายทางครับ ค่า Z ที่เหมาะสมจะไม่ทำให้เราสูญเสียสัญญาณครับ ลองเอาเอฟเฟกแบบ TBP ไปเดินสายไกล ๆ ดูสิ เสียงจะทู่ลงไปทันตาเห็น

SRAM_RACING 20 ม.ค. 50 เวลา 22:46:00 IP = 203.144.187.18




   สมาชิกแบบพิเศษ   bbking2114      16 มิ.ย. 50   เวลา 8:54:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 58.147.92.154


 


  คำตอบที่ 1  
 
ความคิดผม ยิ่งต่อหลายตัวยิ่งดรอป ยิ่ง ผ่านหลายตัว ค่าความดฃต้านทานยิ่งมาก
ต่อให้เอาทรานซิสเตอร์ เอาเฟต มาขยาย มันก็ไม่ได้แบบเดิมอยู่ดี

   chaohore      19 มิ.ย. 50   เวลา 13:05:00   IP = 203.158.225.21
 


  คำตอบที่ 2  
 
บางทีผู้ผลิตเค้าก็อยากให้มันตรงไปตรงมาเลยใช้ TBP
และวงจรบางอย่างจำเป็นต้องใช้ TBP เช่นพวก ที่มีหลอด
แล้วการ เอาเฟ็คมาต่อ เป็น บัฟเฟอร์ บางกรณีมันคือตัว
ทำให้เสียงแท้ๆ ที่เค้าออกแบบมาต้องมีอันเปลี่ยนแปลง
ไปเนื่องจากตัว FET ดันไปเป็นตัวถ่วง เค้าเลยไม่อยาก
ยุ่งยากที่จะต้องมาแก้ปัญหาในส่วนนี้ ก็เลยใช้ TBP
เพื่อตัดปัญหา

   สมาชิกแบบพิเศษ      yossapong      25 มิ.ย. 50   เวลา 11:24:00   IP = 202.142.204.2
 


  คำตอบที่ 3  
 
ขอบคุณ

   สมาชิกแบบพิเศษ      baracudas      23 ก.ย. 51   เวลา 19:19:00   IP = 117.47.125.55
 


  คำตอบที่ 4  
 
แปะ

   เจเจ้      7 มิ.ย. 55   เวลา 17:14:00   IP = 101.51.6.164
 


  คำตอบที่ 5  
 
แปะ เก็บไว้อ่าน

   MentalDisease      11 มิ.ย. 55   เวลา 9:29:00   IP = 27.130.83.201
 


  คำตอบที่ 6  
 
กระทู้ข้ามปี มีความรู้

   kingkongcharoen_tor      6 ต.ค. 56   เวลา 23:49:00   IP = 223.204.7.138
 


  คำตอบที่ 7  
 
อ่านตอนไหนก็ได้ความรู้..


   สมาชิกแบบพิเศษ      Jamesbond      30 เม.ย. 63   เวลา 13:21:00   IP = 124.122.91.37
 




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 1999 - 2005


Thailand Web Stat