 |
|
 |
|
*** ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 38-50ครับ ^-^ |
|
|
|
|
|
 |
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 38 ครับ ^_^ มาว่ากันด้วยเรื่อง Triad(8) กันต่อครับ
ห่างหายไปครึ่งเดือนนะครับผม ต้องขออภัยสำหรับผู้ติดตามทุกคนด้วยนะครับ ^_^
มาต่อกันจากตอนที่แล้วนะครับ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=86991
วันนี้เราก็จะมาขึ้น triad chord ทาง minor กันนะครับ คงไม่พ้น Key Am เป็นแน่แท้ครับ เพราะ ไม่ติด # และ b เช่นเดียวกับ Key C นั่นเอง มาทวนดูกันนะครับ ว่า Key C มี Chord อะไรบ้าง 1.C Major(C) C E G 2.D minor(Dm) D F A 3.E minor(Em) E G B 4.F Major(F) F A C 5.G Major(G) G B D 6.A minor(Am) A C E 7.B dim (Bdim) B D F
ทุกคนคงจะทราบดีดูแล้วนะครับ ว่า relative minor นั้น จะมีโครงสร้างเดียวกันกับ Major เลย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายมากๆเลยครับ ที่เราจะหา triad ของ key Am -ขั้นที่ 1 หาก่อนว่า scale A natural minor เป็น relative กับอะไรในทาง scale major คำตอบ คือ C major scale -ขั้นที่ 2 หาว่า scale นั้นๆ ติด # หรือ b หรือไม่อย่างไร คำตอบ คือ C major scale ไม่ติด # หรือ b -ขั้น 3 สร้าง scale ทั้ง 2 ขึ้นมาดู C Major Scale = C D EF G A BC A Naturalminor= A BC D EF G A -ขั้นที่ 4 สร้าง triad ของทั้ง 2 scale ขึ้นมาดู (ควรสร้าง traid ของ Major ก่อน) Key C Major 1.C Major(C) C E G 2.D minor(Dm) D F A 3.E minor(Em) E G B 4.F Major(F) F A C 5.G Major(G) G B D 6.A minor(Am) A C E 7.B dim (Bdim) B D F
Key A minor(natural) 1.A minor(Am) A C E 2.B dim (Bdim) B D F 3.C Major(C) C E G 4.D minor(Dm) D F A 5.E minor(Em) E G B 6.F Major(F) F A C 7.G Major(G) G B D
แค่นี้เราก็สามารถหา triad chord ของทั้ง Major Key และ minor Key ได้อย่างไยากเย็นแล้วนะครับ ^_^
ลองดูผังนี้เสริมความเข้าใจนะครับ C D EF G A BC D EF G A BC C E G D F A E G B F A C G B D A C E B D F C E G
A BC D EF G A BC D EF G A A C E B D F C E G D F A E G B F A C G B D A C E
จำได้มั้ยครับ ที่ผมเคยพูดเรื่องของการหา triad ว่า หัวใจของมันคือ "ตัวเว้นตัว" ดูจากผังคงกระจ่างกันเลยนะครับ ^_^
-การบ้าน ลองหา triad chord ของ Key G Major รวม relative minor ของมันด้วย ถ้าใครหาได้สำเร็จแล้วก็มา post ไว้นะครับผม เพื่อตัวคุณเอง เพราะผลสำเร็จไม่เกี่ยวกับผมเลยนะครับ ^_^
ก็จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับเรื่องการหา triad ของทั้ง Major Key และ minor Key อย่างไร ทบทวนกันมากๆนะครับ แล้วไว้เรามาต่อกันครับผม สวัสดีครับ led zeppelin
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:16:00
พิมพ์
แจ้งลบ IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 1 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 40 ครับ ++++++ triad(9) วิธีใช้ tip/trick
มาต่อกันจากตอนที่แล้วนะครับ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=89742
คราวที่แล้วเราก็ได้มาซึ่ง Triad Chord ของทั้งทาง Major และ minor ไปแล้วนะครับ ดังนี้ Key C Major 1.C Major(C) C E G 2.D minor(Dm) D F A 3.E minor(Em) E G B 4.F Major(F) F A C 5.G Major(G) G B D 6.A minor(Am) A C E 7.B dim (Bdim) B D F
Key A minor(natural) 1.A minor(Am) A C E 2.B dim (Bdim) B D F 3.C Major(C) C E G 4.D minor(Dm) D F A 5.E minor(Em) E G B 6.F Major(F) F A C 7.G Major(G) G B D
วันนี้เราจะมาว่ากันถึงวิธีใช้(เบื้องต้น) กันนะครับ
วิธีที่ 1 เล่นมันซื่อๆ สบายใจดี อิอิ -วิธีนี้คือว่าเล่นกันง่ายๆเลยน่ะนะครับ ก็คือว่าเจอคอร์ดใหนในเพลงก็เล่น note ในคอร์ดนั้นเลย เช่นโครงสร้างเพลงเป็น I vi ii V เทียบกับ key C ก็เท่ากับ C Am Dm G เราไม่ต้องคิดมากเลย(แต่ควรคิดไว้บ้างนะครับ ^_^) เราก็มานั่งดู note ใน triad chord ทั้ง 4 กันก่อนเลย ได้เป็น C =C E G Am=A C E Dm=D F A G =G B D
เวลาเราเจอคอร์ด C ก็เล่น note C,E,G เป็นตัวนำ(จังหวะแรก) เวลาเราเจอคอร์ด Am ก็เล่น note A,C,E เป็นตัวนำ(จังหวะแรก) เวลาเราเจอคอร์ด Dm ก็เล่น note D,F,A เป็นตัวนำ(จังหวะแรก) เวลาเราเจอคอร์ด G ก็เล่น note G,B,D เป็นตัวนำ(จังหวะแรก)
เท่านี้ triad chord ก็อยู่ในกำมือคุณแล้วครับ อยู่หมัดเลย เพราะถ้าคุณปฎิบัติตามนี้รับรองได้ว่า คุณจะเกาะ form เพลงได้หนึบเลยครับ เรียกว่าคอร์ดจะประหลาด อวกาศอย่างไร ถ้าเจอเราใช้ triad ซื่อๆลงไป เป็นอันสำเร็จเป็นแน่แท้ครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับ melody line ที่เราคิดด้วยนะครับ ปล.ลองฟังเพลง pop ทั่วไป แล้วแกะ melody ร้องดู ผมเชื่อว่า 100 ละ 90 ใช้ triad สร้าง melody ร้องครับ ^_^
วิธีที่ 2 แทนกันอย่างแยบยน อิอิ -วิธีนี้จะยากขึ้นมาหน่อยนะครับ ต้องคิดเยอะๆล่ะครับอันนี้ นั่นก็คือ การนำเอา triad มาซ้อน triad นั่นเอง(sub triad) สิ่งที่เราควรคำนึงในการซ้อนนั่นก็คือ note ใน triad ที่เอามาซ้อนใน chord หลักควรมี note ที่คล้ายคลึงกันบ้าง(ในเบื้องต้น) เช่นเรามี chord C อยู่ 1 อัน นั่นก็คือ C E G เราลองนำ note ลำดับที่ 3 ของ C Major Scale มาสร้าง triad ขึ้นมาใหม่ดู ก็เพื่อนำไปทับเจ้า C เดิมนั่นเอง ได้ดังนี้ E G B จากการสร้างตัวเว้นตัว จะเห็นว่า triad ที่ต่อยอดจาก note ลำดับ 3 ของ C นั่นก็คือ E minor triad ธรรมดาๆนี่เอง ลองดูกัน C Triad= C E G EmTriad= E G B จะเห็นว่ามี note ร่วมกันถึง 2 ตัว ระหว่างทั้ง 2 triad นั้นนั่นก็อ E กับ G นั่นเอง วิธีใช้ก็นำเอา triad Em เล่น solo ทับซ้อนลงไปบนคอร์ด C เลย ผลที่ได้ก็คือ เราจะได้ note ที่ไม่มีอยู่ใน triad C เพิ่มขึ้นมา 1 ตัวนั่นก็คือ Note B ซึ่งnote ตัวนี้ก็เป็น note ลำดับที่ 7 ของ C นั่นเอง การที่เรา solo note B ลงไปนั้น ส่งผลให้ chord C เดิมของเราซึ่งเป็นคอร์ด 3 เสียง กลายร่างเป็น คอร์ด 4 เสียงไปโดยอัตโนมัติ จาก C กลายเป็น CMaj7 (เราจะมาว่ากันอย่างละเอียดในเรื่องของ arpeggioe รอติดตามครับ ^_^) ทำให้เสียงที่ได้ขยายตัวขว้างขึ้น
ก็เป็นอันจบวิธีนี้แบบเบื้องต้นนะครับ ลองสร้าง sub triad ลำดับ note ที่ 3 ของ triad chord ในทุกๆคอร์ดในเพลง ดูนะครับ แล้วจะผมว่า เสียงที่คุณ solo จะขยายความไปได้อย่างไม่มีวันจบสิ้นครับ ที่จริงคุณยังสามารถ sub triad ลำดับที่ 5,7,9/#9,11/#11,13/b13 ได้อีก แต่เราจะยังไม่พูดถึงกัน ณ ตอนนี้ ไว้รอเรื่อง Arpeggioe เราค่อยมามันกันครับ
วิธีที่ 3 ไม่นะ!!!! ไม่น่าเชื่อ triad สามารถสร้าง solo ประสานได้หรือนี่ ^_^ -เฉกเช่นเดียวกับวิธีที่ 2 ครับคือ ต้องหา triad ขึ้นมา 2 triad ยกตัวอย่างอันเดิมละกันนะครับ C Triad= C E G EmTriad= E G B
วิธีสร้าง solo คู่ 3 อย่างง่ายเลยก็คือ สมมุติเพื่อนคุณเล่น note C E G คุณก็เล่น E G B ทับลงไป เท่านี้ก็สมบูรณ์แล้วครับ
อยากได้คู่ 5 ก็สร้าง triad ขึ้นมา 2 อัน อันแรก triad chord หลัก(C) อันที่สอง triad ลำดับที่ 5 (G) ได้เป็น C = C E G G = G B D
ถ้าเพื่อนคุณเล่น G E C บนคอร์ด C คุณก็เล่น D B G พร้อมกับเค้า เท่านั่นคุณก็ได้ solo ประสานคู่ 5 แล้วครับ ง่ายจริงๆเลยนะครับ ทุกอย่างขึ้นตรงกับ triad จริงๆครับ
วันนี้ฝากไว้เท่านี้ก่อนละกันนะครับ สำหรับ tip/trick เบื้องต้นทั้ง 3 วิธี ในการใช้ triad ชอให้สนุกๆทุกคนครับ และหวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับผม
สวัสดีครับ ^_^ led zeppelin
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:17:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 2 |
|
|
..ขอบคุณมากครับ..
..เด็กใหม่ครับผม..ชอบเมทับทุกแนวครับ..อยู่บางนา.กม.18..มีที่ไหนแนะนำให้ไปเรียนได้บ้างครับ..
chiphai
15 พ.ค. 50
เวลา 14:33:00 IP = 124.120.123.213
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 3 |
|
|
-----------------------------------------------------------------
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 49 ครับ ++++++ Chord+Arpeggioes(3) ต่อจากตอนที่ 47 นะครับ ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=93788
เมื่อคราวที่แล้วผมก็ได้แจกแจง chord 4 เสียงใน scale/key C ไปจนหมดแล้วนะครับ ดังนี้ CMaj7 =C E G B Dm7=D F A C Em7=E G B D FMaj7 =F A C E G7 =G B D F Am7=A C E G Bm7b5=B D F A
คราวนี้จะมาพูดถึงวิธีการนำไปใช้เบื่องต้นกันนะครับ(เบื่องต้นเนี่ยล่ะตัวยากครับ) สิ่งที่ผมอยากให้ทุกคนไปลองทำดูนะครับ นั่นก็คือ เขียนทางคอร์ดใน key C ขึ้นมาซักชุดนึงนะครับ ยกตัวอย่าง chord ชุดพื้นฐานของมือกีตาร์นั่นก็คือ CMaj7-Am7-FMaj7-G7 แล้วพอมาถึงตอนที่จะ solo หรือ สร้าง melody หรือทำอะไรก็แล้วแต่ บนคอร์ดทั้ง 4
จงพึงระลึกไว้เสมอว่า จะใช้ note เกิน 4 ตัวไม่ได้ในแต่ละคอร์ด!!! เช่นคอร์ด CMaj7 note ที่จะนำมาเล่น มาร้องได้ก็มีเพียง C E G B เท่านั้น จะเล่น note ตัวอื่นนอกเหนือจาก 4 ตัวนี้ไม่ได้เลย ลองบังคับตัวเองให้ทำตามนี้นะครับ ตอนแลกๆทำดูทีละคอร์ดก่อนนะครับ ถ้าชำนาญในแต่ละคอร์ดแล้วก็ลองเปลี่ยนไปทั้ง 4 คอร์ด จนสามารถเล่นทั้ง 4 คอร์ด วนไปมาได้ โดยใช้ แค่ arpeggioes เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ขั้นต่อไปก็เล่นทุกที่บนกีตาร์ให้ได้ทั้งแนวตั้งแนวนอนตามหลักด้านบน
ทุกคนอาจจะคิด หมูจังเลย เล่นแค่ 4 note ต่อ 1 คอร์ด ถ้าผู้ใดคิดเช่นนั้นลองเล่นดูนะครับ ^_^(ผมว่ามันยากมาก)
ประโยชน์ที่ได้คือ 1.สามารถเล่น arpeggioes ได้คล่องแคล่วทั้ง 3 ชนิดคอร์ด Maj7-m7-7 2.หูของคุณจะซึบซับเอกลักษณ์ของคอร์ดแต่ละชนิดไปโดยอัตโนมัติ(ก็แหงล่ะครับ สิ่งที่เราเล่นมันมีเพียง note ในคอร์ดนี่นา) 3.เมื่อคุณได้ยินเสียงคอร์ดใดๆ คุณจะสามารถ improvise ได้ทันที ผิด หรือ ถูก ไม่รู้ คุณไม่จำเป็นต้องรู้ชื่อคอร์ดนั้นๆเลยด้วยซ้ำ แต่คุณจะรู้สึกเอง ว่าคุณควรจะเล่น arpeggioes เช่นใด 4.เป็นการฝึกจำเสียงคอร์ดไปในตัว 5.ยังมีประโยชน์อีกเยอะมากๆ แต่ผมเหนื่อยจะพิมพ์น่ะครับ อิอิ
เอาเป็นว่า เรื่องพวกนี้ ทุกวันนี้ผมก็ยังนั่งฝึกอยู่เลย เพราะผมเห็นว่ามันมีประโยชน์ต่อผมมากเลย และผมมีความสุข เมื่อเวลา improvise เรารู้สึกได้ถึง note ในคอร์ดต่างๆ ผมจึงรู้สึกว่า arpeggioes เป็นใบเบิกทางสู่โลกของเสียงโดยส่วนตัวของผม แล้วคุณล่ะ ต้องการใบเบิกทางนี้มั้ย? ผมไม่ได้เป็นคนเล่นกีตาร์เก่ง หรืออะไรทั้งสิ้นนะครับ ผมก็เป็นแค่คนรักดนตรี และหมั่นใส่ใจกับเสียงเท่านั้นเอง ถ้าคำตอบของคุณคือมาอ่านทฤษฎีของผมแล้วจะเก่งขึ้น นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ที่แท้จริงของผมนะครับ จุดประสงค์ของผมคือขจัดความสงสัยใน ทฤษฎีให้ทุกคน เพื่อที่ทุกคนจะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้อย่างมั่นใจ มุ่งหาเสียงที่ตนพอใจต่อไป ผมไม่ได้แกะเพลงมาร่วมๆ 3 ปีแล้ว ดังนั้นผมจึงเล่นไม่เก่งเลย เพราะเล่นเพลงของใครไม่ได้ซักกะเพลงเลย ได้แต่ improvise มั่วๆไปวันๆ ลูกศิษย์ยังต่างขำขันผมเป็นยกใหญ่ พี่เล่นเพลงนี้ได้เปล่า เพลงนู้นได้เปล่า ผมได้แต่ตอบแบบสิ้นหวังไปว่า "ขอพี่แกะก่อนได้ไหม?" นั่นคือลูกศิษย์ที่ไม่เข้าใจแนวทางในแบบของผม แต่ผมไม่โทษลูกศิษย์ ได้แต่โทษตัวเองเสมอมาว่าเราคงไม่มีคุณสมบัติพอ เวลาสอนเพลง ลูกศิษย์ เฮ ชอบใจ เวลาบอกให้ แต่งเพลง improvise หน้าบูดเลย ผมเป็นอาจารย์ที่ไม่ดีจริงๆ แต่ก็ได้แต่คาดหวังว่า สิ่งที่ผมให้กับลูกศิษย์ทุกคนไป รวมถึงการนำเสนอในบอร์ดนี้ด้วย จะเกิดประโยชน์ซักน้อยนิดก็ยังดี ต่อให้เกิดกับคนๆเดียวผมว่าก็เพียงพอแล้ว
สรุปวันนี้ผมมาบ่นไรเนี่ยครับ 555+ จะลบที่พิมพ์ไป ก็เสียดาย อุตส่าห์พิมพ์ งั้นทนๆอ่านหน่อยนะครับไม่มีสาระหรอกครับ
สำหรับวันนี้ก็ทิ้งไว้ให้ไปลองทำตามที่ผมบอกนะครับ อาจจะสนุก อาจจะน่าเบื่อ แต่ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้นะครับ อย่าลืมนะครับ "ทฤษฎีมีช่องว่างสำหรับความคิดสร้างสรรค์เสมอ" ขอให้เล่นกีตาร์กันสนุกๆตามเคยนะครับ แล้วหน้ามาขึ้นเรื่อง คอร์ดประเภท 9(ninth) กัน
วันนี้ขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับผม^_^ led zeppelin
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:21:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 4 |
|
|
 |
เมื่อไหร่จะได้รวมวงกะอาจารเป๋าเอ่ย 555
Metal Is Not Fashion
9 มิ.ย. 50
เวลา 22:06:00 IP = 58.9.36.247
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 5 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 41 ครับ ++++++ triad(10)อวสานของ triad
จากตอนที่แล้วนะครับ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=90379
เราได้เรียนรู้วิธีการใช้ triad พื้นฐานทั้ง 3 แบบกันไปแล้วนะครับ ครั้งนี้เราจะมาปิดท้ายกันซักทีกับ triad นะครับ แล้วเตรียมขึ้นเรื่อง mode แต่ผมก็ดูก่อนอาจมีเรื่อง arpeggioe มาขั้น เพื่อความมันน่ะครับ ^_^
การปิดท้ายก็ย่อมไม่เครียดนะครับ อ่านกันสนุกๆละกันนะครับ(จะสนุกสำหรับผู้ที่เข้าใจ triad ตอน 1-9 แล้ว) เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยก่อนขึ้น เรื่องใหม่น่ะครับ ปล.สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ ไม่มีอะไรหลุดกรอบของ triad เลยนะครับ จะสังเกตว่าผมจะไม่สร้างอะไรโดยใช้ 7,9 etc.เพราะยังไม่ถึงเวลา แล้วไว้ผมจะกล่าวในเรื่องถัดไป เวลานี้ Triad Only!!! เริ่มเลยครับ เวลานี้เราจะลองมานั่ง หา sub triad ของ C กันนะครับ ที่น่าสนุกก็คือ เราจะหาไปเรื่อยๆจนกว่าจะจบสิ้นวงเวียนของมันเลยทีเดียว ^_^ -อันดับที่ 1 ก็คือ triad ของตัวมันเอง นั่นก็คือ C=C E G (1 3 5)
-ต่อมา อันดับที่ 2เราก็จะ sub โดยใช้ note ลำดับที่ 3 ของ C นะครับ จะได้เป็น Em=E G B (B=7 ของ C)
เอาล่ะครับ ถึงตรงนี้ทุกคนก็คงเข้าใจดีแล้วนะครับ ต่อจากนี้ผมจะลองเล่นอะไรสนุกๆดูนะครับ
-นั่นก็คือ อันดับที่ 3 sub โดยใช้ note ลำดับที่ 3 ของ Em (เวลาเล่นทั้งหมดจะถูกทับบนคอร์ด C ธรรมดา) จะได้เป็น G=G B D (D=9 ของ C)
-อันดับที่ 4 sub โดยใช้ note ลำดับที่ 3 ของ G (เวลาเล่นทั้งหมดจะถูกทับบนคอร์ด C ธรรมดา) จะได้เป็น Bdim=B D F (F=11ของC)
-อันดับที่ 5 sub โดยใช้ note ลำดับที่ 3 ของ B (เวลาเล่นทั้งหมดจะถูกทับบนคอร์ด C ธรรมดา) จะได้เป็น Dm=D F A (A=13ของC)
-อันดับที่ 6 sub โดยใช้ note ลำดับที่ 3 ของ D (เวลาเล่นทั้งหมดจะถูกทับบนคอร์ด C ธรรมดา) จะได้เป็น F=F A C (C=Tonic)
-อันดับที่ 7 sub โดยใช้ note ลำดับที่ 3 ของ F (เวลาเล่นทั้งหมดจะถูกทับบนคอร์ด C ธรรมดา) จะได้เป็น Am=A C E (E=3ของ C)
เราผ่านการ sub มาทั้งหมด 7 แบบแล้วถูกมั้ยครับ ^_^ มาดูกันครับ ทั้ง 7 อันดับนั้น ล้วนแล้วแต่สามารถเล่นบนคอร์ด C ได้ทั้งนั้นเลยนะครับ 7 แบบนั้นคือ C=C E G Em=E G B G=G B D Bdim=B D F Dm=D F A F=F A C Am=A C E แต่ละแบบส่งผลกับ chord C แตกต่างกัน แสดงความรู้สึกแตกต่างกัน
เอาล่ะครับ ลองสังเกตดูทั้ง 7 chord triad ที่สามารถเล่นบน chord C ได้นั้นสิครับ ถ้าสังเกตดีๆ มันก็คือ triad chord ใน scale C นั่นเอง!!! แต่ถูกสลับที่กันอยู่ ถ้านำมาเรียงใหม่จะได้เป็น
C=C E G Dm=D F A Em=E G B F=F A C G=G B D Am=A C E Bdim=B D F
เราเห็นดังนี้แล้ว ก็แสดงว่า triad ใน scale C ทุกอันสามารถเล่นบนคอร์ด C ได้ *_* (เป็นเรื่องของ tention โอกาศหน้าค่อยว่ากันคีบ)
ก็แสดงว่าเราเล่น scale C Major บน chord C ได้!!!! ทุกคนอาจจะคิดว่า แหงล่ะ scale C ก็ต้องเล่นบนคอร์ด C ได้สิ
แต่ผมไม่เห็นเป็นอย่างนั้นครับ มาดูเหตุผลของผมกัน ว่าทำไม scale C ถึงไม่เหมาะเล่นบน chord C ดังนี้ chord C = C E G C scale C = C D EF G A BC
เห็นมั้ยครับ ว่ามี note ที่ไม่ตรง chord อยู่ตั้ง 4 ตัวคือ D F A และ B ดังนั้น scale C จึงเกินขอบเขตของ chord C ไป
แต่เมื่อเรามาศึกษา triad ถึงจุดนี้ ก็กลายเป็นเรื่องตลกไปครับ 555+ triad ได้ให้เหตุผลที่ดี ในการที่เราจะยัด scale C ทั้งดุ้นไปใส่ใน chord C ได้ แปลกมั้ยครับ ^_^
ดังนั้นเราคงเห็นแล้วว่าการรู้เรื่อง triad นั้นสำคัญมากในการหาเหตุผลของสิ่งต่างๆนาๆ ผมมั่นใจว่า triad สามารถใช้ วิเคราะห์ทฤษฎีดนตรีโดยรวมได้เลย
สุดท้ายแล้ว triad จะนำพาเราไปสู่โลกที่ สามารถเล่นทุก note ในดนตรีทับลงบน chord C ได้ ว้าวๆๆๆๆๆ คิดดูครับ คอร์ด C มีแค่ 3 เสียงคือ C E G แต่ถ้าจับทฤษฎีต่างๆนาๆมาใส่ เราสามารถเล่น 12 เสียง บน chord C ได้ (scale 12 เสียง=Chromatic Scale)
จากวันนี้คงเห็นแล้วนะครับ ว่าทฤษฎีดนตรีนั้น ไม่ได้คับแคบและจำกัดตัวเราเลย มิหนำซ้ำยังช่วยเพิ่มขีดจำกัดให้เราได้อีก ผมขอฝากไว้ครับว่า note ทุกตัวบนโลก สามารถ เล่นได้บน chord ทุกคอร์ดบนโลกถ้าคุณพอใจ!!! ดนตรีก็คือเสียง เสียงสร้างอารมณ์ฉันใด อารมณ์ก็สร้างเสียงฉันนั้นนะครับ
จบ triad บริบูรณ์นะครับ(แต่ triad จะถุกอ้างอิงอยู่สม่ำเสมอนะครับ)
ปล.ทฤษฎีทั้งหมด ที่ผมได้ลงมาผมได้ต่อยอดโดยไม่มีแหล่งความรู้เพิ่มเติม ทุกเรื่องเป็นสิ่งที่ผมใช้วิจารณญาณ+คิด+ฝึกผน ต่อยอดจากสิ่งที่เคยศึกษามาเท่านั้น ถ้าใครอ่านแล้วรู้สึกไม่สมเหตุสมผล อย่าจำไปใช้ครับ ถ้าใครอานแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ เอาไปใช้ให้เต็มที่เลยนะครับ
แล้วพบกันใหม่เรื่องหน้าครับ ไม่ areggioe ก็ mode ล่ะนะครับ รอติดตามครับผม สวัสดีครับ ^_^ เป๋า led zeppelin
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:18:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 6 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 43 ครับ ++++++ Chord+Arpeggioes(1) เนื่องจาก http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=90448 ผมได้จบเรื่อง triad ไปแล้ว แล้วก็ห่างหายมาพักนึง ด้วยเหตุผลง่ายๆเลยครับ คือพอจะเริ่มพิมพ์ก็รู้สึกงุ่นง่านขึ้นมาตะหงิดๆ ฮ่าๆ เลยได้แต่นั่ง อ่านกระทู้ผ่านไปแต่ละวัน แต่วันนี้เราจะมาต่อกันสักทีนะครับ ในเรื่อง chord+arpeggioesตอนที่ 1 เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ผมใส่ใจ และให้เวลากับมันมากที่สุดเลยนะครับ เพราะ เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมากๆ แถมนำไปเป็นฐานความในการวิเคราะห์ ทฤษฎี+การเล่นในทุกรูปแบบ(สำหรับผม) เอาล่ะครับเสียเวลาแล้วเข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะครับ
ในความเป็นจริงแล้ว Triad,Chord และ Arpeggioes นั้น จะว่าเป็นญาติกันก็คงไม่ผิดนะครับ แต่ญาติทั้ง 3 ท่านนี้ก็มีบุคลิกและการแสดงออกต่างๆกันไป ดังผมจะยกตัวอย่างต่อไปนี้ 1.Triad=กลุ่ม note ใดๆ 3 ตัวประกอบกันขึ้น ตามหลักตัวเว้นตัว หรือ ถูกนำมาใช้ต่อเนื่องกันก็ได้เช่นกัน แต่จะมีแค่เพียง 3 ตัวเท่านั้น ไม่ขาดไม่เกินแต่อย่างใดนะครับ (C=C E G) 2.Chord=กลุ่ม note ใดๆ 3 ตัวขึ้นไป ตามหลักตัวเว้นตัว เน้นว่า 3 ตัวขึ้นไปนะครับ ^_^ จะเห็นว่าก็แตกต่างจากเจ้า triad ก็เพียงเท่านี้ล่ะครับ(C=C E G C,C E G B etc.) 3.Arpeggioes=นำเจ้า triad และ chord มาแตกแยกออกจากกัน(ไม่เล่นพร้อมกัน) หรือเรียกอีกคำได้ว่า กระจายคอร์ด นั่นเอง
จะเห็นว่าทั้ง 3 ตัวนั้นจะพูดถึงเรื่องเดียวกันเลยก็คือ ระยะประกอบ note เสียงประสานตัวเว้นตัว เพียงแต่ว่านำมาใช้ในลักษณะที่แตกต่างกันเท่นั้นเอง อย่าง triad ที่ผมเคยอธิบายไปจนหมดแล้วนั้น จะถูกจำกันขอบเขตอยู่เพียง note แค่ 3 ตัว แต่ตอกจากนี้จะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะ เรื่อง chord+arpeggioes จะมาขยายความเจ้า triad ของเรานั้นให้ติดปีก เหมาะสมแก่การใช้งาน และคิดวิเคราะห์มากขึ้น (ใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังงง แนะนำว่าให้ click ที่ชื่อผมแล้วไปอ่านเรื่อง triad ตั้งแต่ต้นใหม่นะครับ)
ดังนั้นเราจะข้ามเรื่อง triad แล้วมาพูดกันถึง chord กับ arpeggioes กัน ณ บัดนี้เลยนะครับ มีหลักเบื่องต้นให้จำง่ายๆดังนี้นะครับ Chord=กลุ่ม note ใดๆ 3 ตัวขึ้นไป ตามหลักตัวเว้นตัว "ที่ถูกเล่นพร้อมกัน" Arpeggioes=กลุ่ม note ใดๆ 3 ตัวขึ้นไป ตามหลักตัวเว้นตัว "ที่ถูกเล่นแยกกัน"
เรามือกีตาร์อาจจะมองง่ายๆก่อนก้ได้ว่า Chord ก็คอร์ด ส่วน Arpeggioes ก็คือ นำ note ใน chord มา solo เท่านั้นเองครับ ^_^
ณ วันนี้คงขึ้นเรื่องใหม่ chord+arpeggioes ไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ขอทิ้งไว้แค่ลักษณะ และ คำจำกัดความเท่านี้พอ และตอนต่อไปเรามาเข้าเรื่องจริงๆของมันกัน
หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยเช่นเคยนะครับ(คือเข้าข้างตัวเองน่ะครับใหนๆก็พิมพ์มาแล้ว 555+) สวัสดีครับ led zeppelin
ปล.ทฤษฎีทั้งหมดคือสิ่งที่ผมกลั่นกรองตามความรู้+ความเข้าใจที่ผมมี ผิดพลาดประการใดขอ อภัยมา ณ ที่นี้ครับ
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:19:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 7 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 44 ครับ ++++++ ขาจรครับ เรื่อง mode+chord
เนื่องจาก http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=93389 ผมได้เข้าไปตอบกระทู้ในเรื่องการเลือกใช้ mode กับทางเดินคอร์ด เลยนำมาฝากกันครับ เลยมัดรวมไว้ในทฤษฎีรายวันของผมซะเลยจะได้เกิดประโยชน์มากขึ้นน่ะครับ อีกอย่างสิ่งที่ผมตอบไปจะได้ไม่หายไปด้วยน่ะนะครับ
เนื้อความก็ตาม link เลยนะครับ หรือจะอ่านกันต่อที่นี่ก็ดังนี้ครับ
Question1: เอ่อ คือว่าถ้าผมเล่นคอร์ดอยู่ในคีย C อะคับ (C Dm Em F G Am Bdim)แล้วถ้าจาอิมด้วย C Locrian (C Db Eb F Gb Ab Bb)อะคับ คือว่าถ้าผมทำแบบนี้ แร้วจาต้องเปลี่ยนทางเดินคอร์ดเป่าคับ รบกวนพี่ๆทีนะคับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกความเห็นจร้า
Answer1: ผมขอถามตรงๆเลยครับว่าทำไมถึงเลือกใช้ C Locrian ล่ะครับ ถ้าเป็นเพราะชอบเสียงมันก็ ok ไม่ต้องเปลี่ยนทางคอร์ดครับ ^_^
แต่ถ้าไม่ได้ชอบเสียงของ C Locrian แต่ต้องการเล่นเพียงเพราะดูแปลกดี ควรเปลี่ยนทางคอร์ดครับ เพราะ C Locrian เป็นญาติกับ key Db Major นะครับ คิดดูแล้วคุณเล่นคอร์ดใน key C Major ลงไป มันจะเกิดอะไรขึ้นครับ???
อย่างไรลองถามตัวเองดูก่อนครับ ว่าตรงกับคำตอบด้านล่างข้อใด 1.ชอบเสียงของ C Locrian เวลาเล่นบน key C Major จริงๆ 2.ไม่ได้ชอบเสียงมันหรอกแต่ดูแปลกดี 3.ไม่เคยฟังเสียงมัน แต่อยากถามดู
ถ้าหาคำตอบได้อย่างแน่ชัดแล้ว ผมจะเข้ามาอธิบายความสัมพันธ์ทางทฤษฎี เท่าที่ผมจะอธิบายได้ให้ฟังอีกครั้งนึงครับ สวัสดีครับ ^_^
Question2:มาแร้วคับ คือมะได้ตรงกับตัวเลือกใดๆเรยคับ ก็คือชอบเสียงของโมดนี้ แระก็คิดว่ามันแปลกดีครับ(เสียงของโมดครับ)จิงๆก็คือต้องการนำมาใช้สร้างความแปลกใหม่กับเพลงครับ เพราะดูเพลงส่วนมากยังไม่ค่อยใช้โมดแปลกๆเข้ามาทำเมโลดี้กันเลย ที่เหนบ่อยๆก็มีแต่เมเจอร์สเกล กะไมเนอร์(คือผมก็พอใช้พวกเมเจอร์สเกล กับไมเนอร์สเกลได้อยู่บ้างแล้วครับ ว่าคีย์นี้ทางคอร์ดอะไรบ้าง แล้วก็อิมได้แค่สองสเกลนี้เองครับ) ผมก็เลยจะลองศึกษาเรื่องโมดอื่นและจะนำมาประยุกต์ใช้ดูครับ แต่พอลองแล้ว เอ มันไม่เข้าแฮะ ก็งงแฮะ เอหรือว่ามานต้องเปลี่ยนทางคอร์ดด้วยแฮะ ก็เรยงงอยู่ครับ ได้พี่ๆมาแนะนำว่าให้เปลี่ยนทางคอร์ดด้วย ก็เรยอยากให้พี่ led zeppelin ชี้แนะต่อด้วยครับผม ขอบคุณมากจร้า
Answer2:เอาล่ะครับ งั้นดูเป็นว่าแบบนี้ละกันนะครับ chord ใน mode C Major(ionion) =C Dm Em F G Am Bdim แต่ chord ใน mode C Locrian =Cdim Db Ebm Fm Gb Ab Bbm
จะเห็นว่าต่างกันทุกคอร์ดเลย เห็นมั้ยครับ ดังนั้นคำแนะนำของผมก็คือลืมเรื่อง การนำ C locrian ไปใช้กับ key C Major ซะ เพราะเห็นๆกันอยู่ว่าคุณชอบเสียง Locrian ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด แต่พอลองนำไปใช้ กับ Key C Major แล้วแปลกๆสำหรับคุณ ผมจึงอยากแนะนำให้คุณสร้างชุดทางเดินคอร์ดสำหรับ locrianขึ้นมาเลย ในที่นี้ก็คือ Cdim Db Ebm Fm Gb Ab Bbm
เท่านี้คุณก็สามารถแต่งแต้มจินตนาการได้ตามสะดวกแล้วน่ะครับ **แต่ระวังอยู่เรื่องนะครับ โหมดนั้นมีความหมิ่นเหม่กับ Major Scale เป็นอย่างมาก ถ้าคุณนำชุดคอร์ดมาใช้ไม่ถูกต้อง เสียงของ mode ก็จะไม่ออกมา ในทางกลับกัน เสียงของ Major จะถูกขับออกมาแทน ณ ที่นี้ Mode คุ่ขนานคือ C Locrain=Db Major ไม่ลองสร้างทางเดินคอร์ดจาก locrian ขึ้นมา แล้วลองไล่ note ใน mode ดูสิครับ คุณจะต้องรู้สึกฝืนกับการลงจบที่ตัว C เป็นอย่างมาก(รู้สึกเหมือนไม่จบ) แต่ในทางกลับกัน เมื่อคุณไล่ mode แล้วไปลง Db จะทำให้คุณรู้สึกดีกว่า(รู้สึกถึงความจบ)
ทั้งหมดก็มีเพียงเท่านี้นะครับ ขอให้มีความสุขกับ Locrian Mode ครับ สวัสดีครับ ^-^ led zeppelin
ปล.ตอนแรกผมตกใจ+ดีใจเลย นึกว่าคุณชอบเสียงเวลา solo C Locrain ทับลงบน key C Major จริงๆ เพราะมันสุดแสนจะกัดกัน แต่ก็เพราะไปอีกแบบ ถึงคุณชอบดังนั้นจริงๆก็อย่าเลี่ยงมันนะครับ ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ ทฤษฎีมีพื้นที่ว่างสำหรับ อารมณ์ เสมอ ^_^
ขอฝากไว้เท่านี้นะครับ ขอบคุณครับ ^_^
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:19:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 8 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 47 ครับ ++++++ Chord+Arpeggioes(2) ต่อจาก ตอนที่ 43 http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=93420
วันนี้เราจะมาเริ่มกันที่ chord ที่อยู่ใน key C กันเลยนะครับ ก็เช่นเดียวกับเรื่อง triad การหาคอร์ดก็คือ การจับเอาตัวเว้นตัวใน scale นั้นๆมาสร้างคอร์ดนั่นเอง scale C ของเรามีดังนี้ C D EF G A BC ทุกตัว note ใน scale C สามารถนำมาสร้างคอร์ดได้ทั้งหมดเลย ดังนี้ คอร์ด C =C E G Dm=D F A Em=E G B F =F A C G =G B D Am=A C E Bdim=B D F
คอร์ดังด้านบนนั้น ส่วนประกอบที่มาก็คือ 1 3 5 จากตัวต้นของคอร์ดนั่นเอง ถ้าเรามองเพียงจุดนี้ มันก็ไม่ต่างกับเรื่อง triad เลย จริงมั้ยครับ?
แต่ไม่ใช่เช่นนั้นแน่นอน เพราะ triad นั้นจำกัน note ไว้ที่ 3 ตัวเท่านั้น แต่ chord ที่เราพูดถึงหาเป็นเช่นนั้นไม่!! เพราะ คอร์ด สามารถเพิ่ม note ลงไปได้อีกตามความต้องการ และเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะอำนวย ^_^ อย่างกีตาร์เรา ให้มหัศจรรย์สุดยอดยังใง คอร์ด ก็มี note ประกอบได้เพียง แค่ 6 ตัวเท่านั้น(ในกรณีกีตาร์ 6 สาย) เพราะอย่างที่ผมบอกไปแล้ว ว่าคอร์ดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเปล่งเสียง note เหล่านั้น พร้อมๆกัน
เราได้พูดถึงคอร์ด เบื่องต้นไปแล้วในด้านบน คราวนี้เราจะมาดูยาวไปถึงคอร์ด 4 เสียงกันบ้าง(อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวนะครับ) นั่นก็คือคอร์ด seventh นั่นเอง !!
ชื่อคอรืดก็บอกอยู่แล้วนะครับ seventh ซึ่งก็คือ คอร์ด ที่มี note ลำดับที่ 7 ผสมเข้ามานั่นเองนะครับ เพราะจากเดิม triad chord จะมีแค่ 3 note นั่นก็คือ 1 3 5 ใช่มั้ยครับ แต่วันนี้จะกลายเป็น 1 3 5 7 นั่นเอง
ก็มาลองดูกันเลยนะครับ ว่าถ้าเพิ่มตัวที่ 7 เข้ามา ขะได้ chord อะไรขึ้นมาบ้างใน Key C Major CMaj7 =C E G B Dm7=D F A C Em7=E G B D FMaj7 =F A C E G7 =G B D F Am7=A C E G Bm7b5=B D F A
จะเห็นว่าคอร์ดทั้ง 7 คอร์ดนั้นเปลี่ยนไป แล้วสงสัยมั้ยครับ ว่าทำไมบางตัวก็เป็น Maj7 บางตัวก็ m7 ใหนจะเจ้า 7 เฉยๆอีก สงสัยมั้ยครับ? ผมไม่ปล่อยให้สงสัยแน่ๆเรามาดูกันต่อเลยนะครับ ^_^ ผมจะให้นิยามดังนี้ Maj7=การเพิ่ม note ลำดับที่ 7 โดยอิงตาม Major scale m7 =การเพิ่ม note ลำดับที่ 7 โดยอิงตาม minor scale 7 =การเพิ่ม note ลำดับที่ b7(ที่ถูกลดลงครึ่งเสียง) โดยอิงตาม Major scale m7b5=การเพิ่ม note ลำดับที่ 7 โดยอิงตาม minor scale แต่ note ลำดับที่ 5 ของคอร์ดถูกลดลงครึ่งเสียง(b5)
มาดูตัวอย่างประกอบคำนิยามกันนะครับ ผมจะยกตัวอย่างโดยใช้ 2 scale นะครับ คือ 1.C Major Scale C D EF G A BC 2.A minor scale A BC D EF G A
-มาดูกันที่ Maj 7 กันก่อนเลยนะครับ คำนิยามก็บอกอยู่แล้วนะครับ การเพิ่ม note ลำดับที่ 7 โดยอิงตาม Major scale ดังนั้น CMaj7 ก็จะได้เป็น C E G B ง่ายมั้ยครับ -ต่อกันที่ m7 คำนิยามก็บอกอยู่แล้วนะครับ การเพิ่ม note ลำดับที่ 7 โดยอิงตาม minor scale ดังนั้น Am7 ก็จะได้เป็น A C E G -ต่อกันที่ 7 คำนิยามก็บอกอยู่แล้วนะครับ การเพิ่ม note ลำดับที่ b7(ที่ถูกลดลงครึ่งเสียง) โดยอิงตาม Major scale ดังนั้น C7 ก็จะได้เป็น C E G Bb นั่นเอง -ต่อกันที่ m7b5 คำนิยามก็บอกอยู่แล้วนะครับ การเพิ่ม note ลำดับที่ 7 โดยอิงตาม minor scale แต่ note ลำดับที่ 5 ของคอร์ดถูกลดลงครึ่งเสียง(b5) ดังนั้น Am7b5 ก็จะได้เป็น A C Eb G ง่ายมากๆเลยนะครับ
จากที่ผมยกตัวอย่างไปก็จะเห็นแล้วนะครับ ว่า มีทั้ง chord ที่อิงทาง scale Major และคอร์ดที่อิงทาง scale minor ดังนั้นการที่คุณจะเข้าใจว่าคอร์ดใหนต้องอิงตาม scale ใหน ก็รบกวนย้อนกลับไปอ่านเรื่อง scale+triad โดยละเอียดอีกทีนะครับ เพื่อความเข้าใจที่สมบูรณ์ เพราะ ถ้าผมขึ้นเรื่องคอร์ด 4 เสียงนี้แล้ว แต่ผู้อ่านบางคน ยังไม่สามารถแยกแยะ chord Major และ minorออก ก็จะเป็นการยากที่จะเข้าใจคอร์ด 4 เสียงครับ ดังนั้นตัดไฟ แต่ต้นลม ไปทำควมเข้าใจตอนเก่าๆกันก่อนนะครับ
สำหรับวันนี้ฝากไว้เท่านี้ก่อนละกันครับ อย่างไรทบทวนกันมากๆนะครับผม สวัสดีครับ ^_^ led zeppelin
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:21:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 9 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 48 ครับ +++ขาจรอีกครั้งครับ harmonic minor
สวัสดีครับช่วงนี้ยุ่งๆเลยยังไม่ได้เขียนใหม่ๆออกมา พอดีผมได้มีโอกาศไปตอบกระทู้(อีกแล้ว) จึงได้โอกาศนำเอามารวมในทฤษฎีรายวันของผมน่ะครับ (ตอนแรกกะจะตั้งกระทู้ ตั้งแต่เมื่อวานแล้วแต่ลืมต้องขออภัยด้วยนะครับ) นี่ครับกระทู้ที่ผมไปตอบ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=94535
เนื้อหาที่ผมนำมาฝากก็ดังนี้เลยครับ Question:คือโดนส่วนตัวผมชอบ ฮาโมนิก ไมเนอร์ สเกล(เขียนถูกหรือเปล่านี่) มากๆ แม้ใครฟังแล้วบอกว่า อินเดียชัดๆ แต่ผมว่ามันให้ความรู้สึกโหยหวนมากๆ(ความรู้สึกส่วนตัว) ทีนี้ติดที่ว่าผมใช้มันไม่เป็น ครั้งแรกผมลองใช้ดูรู้สึกว่าคนที่ดีดคอร์ดให้ผมเค้าจะเล่นคอร์ดออกไปทาง เมเจอร์ ผมลองอิมโดยใช้ไอ้ที่บอกข้างต้นแหละคับปรากฎว่าใช้ไม่ได้ ดังนั้นผมก็ฝังใจมาเลยว่าคอร์ดต้องออกไปทางไมเนอร์จึงจะใช้ได้ จนเมื่อวานนี้เอง ผมไปเล่นร้านที่ผมประจำอยู่ ช่วงนั้นแขกเยอะเลย พอดีเพลงนั้นคอร์ดออกไปทางไมเนอร์ มี Am Dm G C ผมเลยลองพาว โซโล่ใช้ ฮาโมนิก Am สเกล ปรากฎว่าอย่างเพี๊ยน พี่มือเบสกะลังเมาได้ที่ดันพูดออกมาซะดัง "มรึงทำ ... อะไรของ มรึง วะ" โคตรอายเลยครับ ผมจึงอยากรบกวนถามพี่ๆว่า อย่างสเกลฮาโมนิก ไมเนอร์ จะเอามาใช้ยังไงคอร์ดต้องเป็นยังไงครับ หรือว่าเราไม่ควรจะใช้มันเป็นหลักใช้มันเสริมเท่านั้น
Answer: มันขึ้นอยู่กับผมคอร์ดน่ะครับผม อย่างทางคอร์ดที่ว่ามา Am Dm G C ถ้าเล่น harmonic minor ทับเข้าไปทั้งดุ้น เกรงว่า คอร์ด G จะเกินรับไหวครับ ทางที่ดีนะครับ ใช้หูตัดสินครับ ถ้าว่าทางคอร์ดนี้ใช้ Harmonic minor ได้ไหม คำตอบคือได้ครับ แต่ note G# จะมีผลกับคอร์ด G กับ C อย่างหนักหน่วงเลยครับ (G# มีผลทำให้ คอร์ด G กลายเป็น G#dim G# มีผลทำให้ คอร์ด C กลายเป็น Caug)
ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้คนอื่นฟังว่าเสียงเพี้ยนจงหลีกเลี่ยง note G# ตรงคอร์ดดังกล่าวครับ แต่ผมพูดตามความจริงนะครับ มันขึ้นอยู่กับหูจริงๆ เพราะถึงเสียงมันจะกัดยังใง มันก็ยังเป็นดนตรีล่ะครับ ซึ่งคุณเท่านั้นเป็นผู้ตัดสิน แต่ถ้าคุณรู้สึกไม่ชอบเสียงแปลกๆดังกล่าว หลีกเลี่ยงซะครับ ทฤษฎีมีไว้เข้าข้างการเล่นของตัวเราเองเสมอไม่ต้องกลัวผิดครับ เล่นไปเลย ไม่มีใครอยากฟังเรา อย่างน้อยเราก็ฟังที่ตัวเองเล่นไม่รู้เบื่อล่ะครับ
ส่วนคอร์ด Am กับ Dm ก็ไม่ใช่ว่า G# จะไม่มีผลนะครับ แต่ผลที่ได้ไม่เครียดเท่านั้นเองครับ Am กลายเป็น AmMaj7 Dm กลายเป็น Ddim,Dm(#11) ดังนั้นคุณเป็นผู้ตัดสินแล้วครับ ถ้าชอบ harmonic minor จริงๆก็ใส่ไปเลยครับ แต่สำคัญที่จังหวัง ช่วงเวลาและความเหมาะสม ถ้าทุกอย่างลงตัว ผมเชื่อว่าดนตรีของคุณต้องน่าฟังเป็นแน่แท้ครับ
เป็นกำลังใจช่วยครับผม ขอให้ค้นพบเสียงที่ตัวเองชอบมากๆนะครับ ฝากไว้สุดท้ายครับ "ทฤษฎีมีช่องว่างสำหรับความคิดสร้างสรรค์เสมอ" เป็นคำกล่าวของผมเองครับ 555+
สวัสดีครับ ^_^
สำหรับวันนี้ก็ฝากไว้เท่านี้ครับ แล้วว่างๆจะเข้ามาเขียนทฤษฎีตอนใหม่ๆให้อ่านนะครับ ตอนนี้รบกวนอ่านเกร็ดความรู้ที่ผมเคยไปตอบไปพลางๆก่อนนะครับ ผมเชื่ออยู่ในใจลึกๆว่าจะมีประโยชน?ไม่มากก็น้อยต่อผู้ที่สนใจนะครับ
สวัสดีครับ เป๋า led zeppelin
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:21:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 10 |
|
|
ขอบคุณที่ผมยังมีชีวิตแล้วได้อ่าน
sanjak
18 ก.ค. 50
เวลา 17:20:00 IP = 125.24.19.77
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 11 |
|
|
เด็กใหม่ฝากตัวกะรุ่นพี่ guitarthai ด้วยน้า ........thank you teacher
loveofwisdom
25 มิ.ย. 50
เวลา 13:50:00 IP = 202.28.27.6
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 13 |
|
|
ขอบคุณมากครับ
ryonard
24 พ.ย. 50
เวลา 13:17:00 IP = 124.120.153.206
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 14 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 39 ครับ ^_^ ขอขั้นเรื่อง chord+minor scale ครับ เนื่องจากผมได้ไปตอบกระทู้ของน้อง sobdong ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=90334 เลยคิดว่าใหนๆก็พิมพ์ไปเยอะแล้วพอสมควร เลยเอามาใส่ในทฤษฎีรายวันซะเลยน่ะนะครับ ประโยชน์ 2 ต่อ ^_^
ลุยกันเลยครับ
การใช้ scale natural+harmonic+melodic minor กับคอร์ด ถ้าเป็น การ improvise(ด้นสด) หรือเพลงตัวเอง Natural+Harmonic+Melodic minor สามารถเล่นร่วมกันได้ครับ แต่จะสื่ออารมณ์ไม่เหมือนกัน (ขึ้นอยู่กับคอร์ด) แต่ถ้าเล่นตามเพลงก็แกะเพลงเค้าก่อนน่ะครับ ดูว่าเค้าต้องการสื่ออย่างไร เราก็สื่อตามนั้น
จำไว้เสมอนะครับว่า note ที่เราเล่นทุกตัวนั้น มีผลกับ chord ที่รองรับต่างกันนะครับ ส่วนนี้ต่างหากที่ผมว่าควรจะใส่ใจน่ะนะครับ เช่นผมยกตัวอย่างคอร์ด Am ซึ่งถ้าแยกเป็น note จะได้เป็น A C E ถ้าเป็น Am7 ก็จะเป็น A C E G
เอาล่ะครับ พอเรารู้ note ใน chord แล้ว เราก็จะมาลองเล่น scale ต่างๆทับไปดูนะครับ scale ที่เราพูดถึงก็คือ scale minor ทั้ง 3 ชนิดดังนี้ -A natural minor= A BC D EF G A -A Harmonic minor=A BC D EF G#A -A melodic minor=A BC D E F# G#A (ขอพูดถึงแต่ melodic ขาขึ้นนะครับ เพราะขาลงมีผลเช่นดียวกับ natural)
เราก็มาทวนโครงสร้าง chord ของเราอีกครั้งคือ Am7=A C E G
****ถ้าเราเล่น A natural minor ทับลงไปในคอร์ด Am7 ผลที่ได้คือ A C E G A BC D EF G A จะเห็นว่า note ใน คอร์ด เมื่อโดน natural ทับลงไปยังคงเดิม แต่สีสันที่ได้ก็คือ note ที่ไม่ได้อยู่ในคอร์ด นั่นก็คือ B(9) ** ในวงเล็บหมายถึง tention นะครับลองไปหาความรู้เสริมเอานะครับ อธิบายยาวครับ** D(11) F(13) ถามว่า เมื่อมี tention เพิ่มขึ้นมาแล้วรู้สึกแตกต่างมากไหม? คำตอบคือไม่มากครับ ยังราบรื่นดี เพราะ มันก็คือ note ที่เกลี่ยเข้าหา note ในคอร์ดทั้งนั้น พื้นฐานของ note ในคอร์ด ก็ยังอยู่ครบดีน่ะนะครับ นั่นก็คือ A C E G
*** ถ้าเราเล่น A harmonic minor ทับลงไปในคอร์ด Am7 ผลที่ได้คือ A C E G A BC D EF G#A จะเห็นว่า note ใน คอร์ด เปลี่ยนไปแล้วครับ นั่นก็คือ เจ้า G# นั่นเอง จะสังเกตเห็นว่าตอนแรก note ในคอร์ด Am7=A C E G แต่เราดัน solo note G# ไปทับมัน ยุ่งแล้วสิครับ เสียงจะกัดกัน แต่ก็ฟังดูดีอีกแบบ ^_^ ถ้าไม่อยากให้ chord ไปกัดกับ solo เราก็ควรเปลี่ยน note G ใน คอร์ดให้เป็น G# ซะ ดังนี้ Am7=A C E G AmMaj7=A C E G# รับรองเมื่อเราเปลี่ยนไปเล่น chord AmMaj7 แล้ว เสียงจะไม่กัดกันแน่นอน
ถ้าเราต้องการที่จะให้คอร์ดยังคงเป็นดังเดิมคือ Am7 แต่เราอยากจะ solo G# ลงไปใครจะทำไม? G# ดังกล่าวจะเปลี่ยนสถานะตัวเองเปน leading note เพื่อเข้าหา A ทันทีเลย โดยธรรมชาติครับ เป็นการไกล่เกลี่ยนที่สมบูรณ์มากๆเลยทีเดียว
อย่างไรก็ดี เมื่อผมได้ยินคอร์ด mMaj7 ทีไรผมก็นึกถึง harmonic minor ทุกทีเลยครับ ในทางกลับกันเมื่อผมได้ยิน harmonic minor ผมก็นึกถึง mMaj7 ฉันใดฉันนั้นเลยทีเดียว อย่างไรลองเลือกใช้ดูทั้ง 2 แบบนะครับ
****ถ้าเราเล่น A melodic minor ทับลงไปในคอร์ด Am7 ผลที่ได้คือ A C E G A BC D E F# G#A
ยุ่งหนักกว่าเดิมครับ ใหนจะเรื่อง note G# ที่เราเจอกันไปแล้ว ยังต้องมาปวดหัวกับเสียงเเปลกๆของ F# อีก เจ้ากรรม -_-" ทางที่ดีทีสุดก็คือลองฟังเสียง เจ้า note F# ที่อยู่บนคอร์ด Am7 ให้ดีครับ เพราะดี ^_^ (F#=13 หรือ bb7 ของ Am ซึ่งส่งผลให้คอร์ด ใน scale แตกต่างไป)
ที่จริงยังมีความลึกลับซ้อนอยู่ระหว่าง chord กับ scale อีกเยอะมากๆเลยนะครับ เพราะ scale ใดๆก็ตาม สามารถ คอร์ด ควบคู่ได้หมด ถ้าเป็น scale ที่มี 7 note ก็จะมี คอร์ด 7 คอร์ดอยู่ในนั้น ดังนั้นค่อยๆดูไปทีละนิดครับ ติดตามทฤษฎีรายวันของผมเรื่อยๆก็ได้นะครับ
สุดท้ายนี้หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่าลืมว่า scale สร้าง chord - chord ก็สร้าง scale ทั้ง 2 สิ่งเกื้อหนุนกันครับ สวัสดีครับ led zeppelin
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:17:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 15 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 42 ครับ ++++++ ขาจรครับ ^_^ ที่เรียกตอนนี้ว่าขาจรก็เพราะผมไปตอบกระทู้น้องคนหนึ่งมาน่ะครับ ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=91372 และคิดว่าข่าจะมีประโยชน์เลยนำมาแบ่งปันกันน่ะครับ ^_^ ลุยกันเลยครับ ---น้องเค้าถามว่า คือผมอยากทราบว่าTonality มันคืออะไรหรือคับและอยากถามเรื่องโหมดว่า อย่างเช่นคอร์ดของมันเป็นDm7 กะC เราสามารถเอาD ดอเรี่ยน มาใช้ได้ใช่ไหมคับแล้วจำเป็นไหมว่าเราต้องเน้นโน้ตตรงตัวD แล้วการเล่นผสมกันหลายๆรูปแบบเช่นในคอร์ดที่ผมว่านั่นแหละคับ เราเอา Dดอเรียน มมาผสมกะF ไอออเนี่ยนจะได้ไหมคับ
---- ผมตอบว่า
กรณีจะเล่น solo กับคอร์ด Dm7 กับ C โดยใช้ mode ดังกล่าว(ยังใช้ได้อีกมาก) ดู mode ที่กล่าวมาก่อนนะครับ C ionian= C D EF G A BC D dorian= D EF G A BC D F ionian =F G ABb C D EF
ถามว่าผสมได้มั้ย คำตอบ ได้ครับ!!
มาดูกันว่าคอร์ดของคุณคือ Dm7 กับ C ถูกมั้ยครับ มาดู mode และความเหมาะสมทีละอัน -C ionian= C D EF G A BC ใช้ได้เลย เหมาะสมที่สุด เหตุเพราะถ้าเราไล่ mode ดังกล่าวตรงๆจะส่งผลดีกับคอร์ดอย่างเหลือเชื่อ ก็คือ note ตัวแรกที่ไล่คือ C ซึ่งเจ้า C เนี่ยไปเป็น 7 ของ Dm7 นั่นเอง แจ๋วเลยครับ คุณเผลอเล่น chord tone(Dm7=D F A C) ของ Dm7 โดยไม่รู้ตัวซะเเล้ว ^_^ สำหรับคอร์ด C คงไม่มี mode ใดส่งผลกลมกลืนเท่า C ionain แล้วล่ะครับ
-D dorian= D EF G A BC D ใช้ได้ผลดีเช่นกันครับ เหตุเพราะถ้าเราไล่ mode ดังกล่าวตรงๆจะส่งผลดีกับคอร์ดอย่างเหลือเชื่อ ก็คือ note ตัวแรกที่ไล่คือ D ซึ่งเจ้า D เนี่ยไปเป็น 9,sus2 ของ C นั่นเอง แจ๋วเลยครับ คุณเผลอเล่น chord toneโดยไม่รู้ตัวซะเเล้ว ^_^(Csus2=C(D) E G) ของ Csus2 (ที่เป็น Csus2 เพราะ note D ดังกล่าวมาอยู่รวมคอร์ด C triad ซึ่งถ้า D จะกลายเป็น 9 ก็ต่อเมื่อผ่านตัว 7 ก่อน 7 ในที่นี้ก็คือ B หรือ Bb นั่นเอง) สำหรับคอร์ด Dm7 คงไม่มี mode ใดส่งผลกลมกลืนเท่า D dorian แล้วล่ะครับ
F ionian =F G ABb C D EF สำหรับ mode นี้มี note แปลกตาโผล่มาแล้วครับ นั่นก็คือ Bb นั่นเอง เราก็มาดูครับว่า Bb ส่งผลกับคอร์ด Dm7 และ C อย่างไร -ถ้าอยู่ใน Dm7 Bb จะกลายเป็น b13 ทันที(tention) ส่งผลให้ คอร์ด Dm7 ธรรมดากลายเป็น Dm7(b13) -ถ้าอยู่ใน C Bb จะกลายเป็น b7 ซึ่งส่งผลให้คอร์ด C ธรรมดา กลายเป็น C7 นั่นเอง การใช้ mode นี้จะให้ความรู้สึกฉงนสนเท่ห์กับคอร์ดทั้ง 2 (ความรู้สึกผม)
อย่างไรลองใช้ดูครับ ไม่ผิดเลยครับ ใช้ได้ทั้งนั้นล่ะครับ ถ้าชอบเสียงมัน 555+
ส่วนเรื่อง Key เพลงนั้น ตอนนี้กว้างมากครับๆ กับ 2 คอร์ดดังกล่าว อาจจะเป็น Key C ก็ได้ progression ก็จะเป็น 2-1(Dm7-C) อาจจะเป็น Key F ก็ได้ progression ก็จะเป็น 6-5(Dm7-C7) อาจจะเป็น Key Dm ก็ได้ progression ก็จะเป็น 1-7(Dm7-C7) อาจจะเป็น Key D ที่สร้างจาก Dorian ก็ได้ progression ก็จะเป็น 1-7(Dm7-C) และ 2 คอร์ดนี้ยังอยู่ใน key อื่นๆได้อีกมากมาย ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ key ใหนก็เอา scale หรือ mode นั้นๆ มาใด้ ถ้าชอบเสียงมันนะครับ ย้ำ! ถ้าชอบเสียงมันใช้ได้หมด
ส่วนเวลาเอามาใช้แล้ว ชอบแล้ว อยากจะรู้เหตุผลทางทฤษฎีก็ทำเหมือนผมด้านบนน่ะครับ มองผลกระทบของ noteที่จะใช้ ว่ามีผลอย่างไร กับ คอร์ด อะไร
ขอให้มีความสุขกับบันไดเสียงครับ สวัสดีครับ ^_^
ปล.ทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์แบบของผม ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ (แต่ผมใช้วิธีคิดแบบนี้ตลอดเวลาต้องการทฤษฎีน่ะครับ 555+)
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:18:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 16 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 45 ครับ ++++++ ขาจรครับ เรื่อง mode+chord (ต่อ) เป็นตอนต่อ จากตอนที่แล้วนะครับ ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=93489
พอดีวันนี้ ผมก็มีโอกาศได้ไปตอบกระทู้ใหม่อีกแล้วครับ ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=93599 เลยไม่ลืมที่จะนำมาเก็บรวบรวมไว้อีกเช่นเคย ก่อนจะหายไปน่ะนะครับ และยังเกิดประโยชน์กว้างขวางมากขึ้นน่ะนะครับ เพราะ เดี๋ยวอีกซักพักผมก็รวบรวม ทฤษฎีตอนใหม่ๆของผมไปไว้ในหน้า lesson แล้วน่ะนะครับ เจ้าคำตอบที่ผมไปตอบไว้จะได้ไม่หายไปถ้าผมนำมาจับมัดรวมเข้ากับกระทู้ของผมเอง คงไม่เบื่อหน่ายกันเสียก่อนนะครับ เชิญชมครับผม ^_^
Question:จากความรุที่พี่ led zeppelin มอบให้ผมก็นำไปต่อยอดคับ ที่เคยถามไปแล้วเกี่ยวกับ C Lorian แระก้อทางเดินคอร์ดที่ได้มาเหมือนที่พี่บอกไว้ก็คือ chord ใน mode C Locrian =Cdim Db Ebm Fm Gb Ab Bbm ดังนี้นะครับ คือว่าถ้าเล่นเป็นพาวเวอร์คอร์ดทั้งหมดเรยก็คือพาวเวอร์คอร์ด C Db Eb F Gb Ab Bb ดังนี้นะครับ แล้วจับเอ้าเจ้า C Lorian โซโล่ทับไปเรย ในทางทฤษฎีจาถือว่า พวกโน้ตแต่ละตัวใน C Lorian จะกลายเป็น Tension ของพาวเวอร์คอร์ดมะครับ และก้ออารมณ์ของโหมดนี้จะหายไปกับทางเดินคอร์ดไหมครับ เพราะว่าเล่นพาวเวอร์คอร์ดแค่คู่ 5 มะได้เล่นคอร์ดDimแบบธรรมดาอ่าครับ ณ ที่นี้ขอถามต่ออีกนิดนะคับ คือในเพลงพวกเมทัลที่นิยมใช้ Diminish Scale ในการสร้างทำนองและเมโลดี้ มีการนำไปใช้อย่างไร รบกวนอธิบายทีนะคับ ขอบคุนมากคับผม
Answer:
Power Chord ของ C Locrian เจ้า C ก็ยังต้องเป็น dim อยู่นะครับ อย่าลืม!!(1+b5,C+Gb)
ส่วนเรื่อง จับ C Locrian ทับไปเลย ทำได้สบายเลยครับ เพราะคอร์ดที่เราวางไว้มันก็เป็นโครงสร้าง locrian อยู่แล้ว ส่วนจะเกิด tension ผมขอบอกได้คำเดียวว่าเกิดเป็นแน่แท้ครับ ถ้าคุณใช้อย่างอื่นนอกเหนือจาก triad ^_^ แต่ note ใดจะส่งผลให้เกิด tension ใดคงขึ้นอยู่กับคอร์ดแต่ละคอร์ดน่ะนะครับ
สมมุตินะครับ ผมจะโยงไปเรื่อง Scale C Major Solo บน Chord C นะครับ C Major=C D EF G A B Chord C=C E G จะสังเกตว่า D,F,A และ B ไม่ได้อยู่ใน chord C ใช่มั้ยครับ ดังนั้น D=9 F=11 A=13 B=7 เห็นมั้ยครับ ขนาด scale ง่ายๆกับคอร์ดพื้นฐาน ถ้า solo ไม่ตรงก็มีสิทธิเกิด tension ได้ทั้งนั้นครับ
นับประสาอะไรกับ locrian จริงมั้ยครับ? ดังนั้นคำตอบคือใช่ครับ โน้ตแต่ละตัวใน C Lorian จะกลายเป็น Tension ของพาวเวอร์คอร์ด แต่ก็แล้วแต่ว่า note นั้น chord นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไรด้วยนะครับ ตรงดูกันไปทีละ note ทีละจุดเลยครับ
ทางที่ดีถ้าคุณอยากหาเอกลักษณ์ของ ทางเดินคอร์ดแบบ Locrian คุณก็ควรฝึกเล่น triad ในแต่ละคอร์ด ให้คล่องก่อนนะครับ เพื่อคุณจะได้จำเอกลักษณ์เสียงของคอร์ดต่างๆได้ เฉกเช่นเดียวกับเวลาคุณเล่น scale C กับ คอร์ด C น่ะครับ คุณจะรู้สึกอัตโนมัติเลยใช่มั้ยครับว่าเสียงใหนเข้า เสียงใหนไม่เข้า เหตุเกิดมาจากคุณคุ้นหูกับ key เพลงแบบ Major นั่นเอง
ดังนั้นถ้าคุณจะเล่น Locrian ให้เป็นธรรมชาติเหมือน Major แล้วล่ะก็ คุณก็ต้องฝึก triad chord ทั้ง 7 chord ใน C Locrain ซะก่อนน่ะนะครับ
อย่างไรมีข้อสงสัยก็ถามมาอีกละกันนะครับ มีประโยชน์ดีครับผม ผมอาจจะตอบได้ไม่ดีนัก แต่ก็จะช่วยพยายามตอบให้เต็มที่ครับ
สวัสดีครับ ^_^ led zeppelin
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:19:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 17 |
|
|
++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 46 ครับ ++ขาจรครับ เรื่อง mode+chord (ตอนที่ 3 แล้ว) เป็นตอนต่อ จากตอนที่แล้วนะครับ ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=93615
ที่จริงเนื้อความก็มาจาก link น่ะครับ แต่ผมเห็นว่าจุดที่ผู้ถามสงสัยนั้น ช่างน่าคิดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการงงในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นได้ครับ และค่อนข้างต้องรีบแก้ไขครับ เพราะอาจจะสับสน ต่อไปในภายภาคหน้าได้น่ะครับ เลยขอยกกระทู้นี้ขึ้นมาอีกซักครั้ง เพื่อทั้งบันทึก และเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่งงในลักษณะเดียวกับ คุณ ด่องมะให้ยืม ไตรภาคแล้วครับ ^_^
ขอฝากไว้อีกครั้งนะครับ เชิญชมเลยครับ
Question:กำ...งงอีกนิดแล้วคับ ถ้าพาวเวอร์คอร์ดของ C Locrian ก็ยังเป็น dim อยู่(1+b5,C+Gb) งี้แสดงว่าผมสร้างคอร์ดจากโหมดได้โดยตรงเรยหรอคับ ตอนแรกนึกว่าอ้างอิงจากเมเจอร์สเกลอย่างเดียวเสียอีก พอนั่งคิดไปคิดมาว่าเฮ้ยยยย!!!! งั้น mixolydian(R 2 3 4 5 6 b7)ที่นิยมใช้ตอนอิมกับคอร์ด dominant 7 มันจะไปสร้างคอร์ด dominant 7 ได้อย่างไรกันเพราะว่าโครงสร้าง dominant 7 ก็ b7เหมือนกัน ถ้าตอนอิมอาจจาเข้าใจคับ แต่ตอนเอามาใช้สร้างคอร์ดนี่งงมั่ก เอาที่ผมงงๆเรยนะคับ อะเช่นสร้าง C7(โครงสร้าง1 3 5 b7) ก็อ้างอิงเอาจากสเกลC major(C D E F G A B C)ก่อน ซึ่งก็คือ C E G Bb ช่ายมะคับ อันนั้นโอเคคับ แต่ว่าเอ่อ ถ้าอ้างอิงจากC mixolydia(C D E F G A Bb C)เอาล่ะ สร้างC7(โครงสร้างก็ 1 3 5 b7)เหมือนกัน โครงสร้างเดวกานก็ได้ C E G B เอาล่ะ เห็นปัญหายังคับ จากBb กลายเป็น B(เพราะว่า อิงจากมิกโซลีเดียน ซึ่งตัวที่7ติดแฟลตอยู่แล้ว ไปติดแฟลตอีกครั้งจากโครงสร้างของคอร์ด) ก็เลยจาถามพี่เป๋าว่า เอ่อ ตกลงว่าเราสร้างคอร์ดจากโหมดได้ด้วยหรอคับ หรือว่าอิงจากเมเจอร์สเกลจริงๆเท่านั้นง่ะคับ เพราะงงจากพาวเวอร์คอร์ดที่สร้างเอาจากโหมดอะครับ งงมั่กๆๆๆ ขอบคุนอีกครั้งครับ หวังว่าผมจามะรบกวนพี่เกินไปนะครับ เพราะรู้ตัวว่าขี้สงสัยจังเรย เหอๆ ขอบคุนมากๆคับ
ANSWER:ตอบทีละอย่างเลยนะครับ --- ถูกต้องครับคุณสามารถสร้างคอร์ดจาก mode ได้โดยตรงครับ
ส่วนเรื่องโครงสร้างผมว่าคุณคงจะงงอะไรนิดหน่อยแล้วนะครับ จริงอยู่ที่ 1 3 5 b7 นั้น เป็นโครงสร้างของ Dominant7 ถูกมั้ยครับ พอจะสร้างคอร์ด C7 จึงกลายเป็น C E G Bb ถูกมั้ยครับ แล้วพอมาดูจุดสำคัญกันบ้างครับ ว่า พอเรามาดู Mode C Mixolydian=C D EF G ABb C ถามว่าคอร์ดC ใน Mode นี้จะเป็นคอร์ดอะไรครับ? เห็นกันอยู่ชัดเจนนะครับว่าคอร์ด C ใน mode Mixolydian มันก็ติด Bb อยู่แล้วน่ะครับ คุณจะไปแปลงมันทำไมอีกครับ? ผมคิดว่าคุณกำลังงงอยู่กับ 2เรื่อง ก็คือ 1.เรื่องโครงสร้างคอร์ด(อิงจาก Major) 2.เรื่องคอร์ดตาม mode ต่างๆ(อิงจาก mode นั้นๆ)
เข้าใจยังครับ?
ลองดูตารางดังนี้นะครับจะหายงง Chord 4เสียง ใน C Major =CMaj7-Dm7-Em7-FMaj7-G7-Am7-Bmin7b5 Chord 4เสียง ใน C Mixo =C7-Dm7-Em7b5-FMaj7-Gm7-Am7-BbMaj7
เห็นมั้ยครับว่าคอร์ดทุกคอร์ดถูกจำกัดด้วยโครงสร้างของ mode เรียบร้อยแล้ว คุณไม่สามารถไปเปลี่ยนมันได้ มันไม่เกี่ยวกับสูตรการหาคอร์ดนะครับ ที่เราต้องรู้สูตรการหาคอร์ด ก็เพื่อว่า เวลาเราเจอส่วนประกอบ note แปลกๆที่เกิดจากการบังคับโครงสร้าง ของ mode เราจะได้วิเคราะห์มันได้เท่านั้นเองครับ แต่ถึงเราวิเคราะห์มันได้ คุณก็ไม่มีสิทธิไปเปลี่ยนแปลง note ของ mode นั้นๆนะครับ เพราะจะทำให้เสียเอกลักษณ์ของ mode ไป อย่างที่คุณบอกว่า "ถ้าอ้างอิงจากC mixolydia(C D E F G A Bb C)เอาล่ะ สร้างC7(โครงสร้างก็ 1 3 5 b7)เหมือนกัน โครงสร้างเดวกานก็ได้ C E G B เอาล่ะ เห็นปัญหายังคับ จากBb กลายเป็น B(เพราะว่า อิงจากมิกโซลีเดียน ซึ่งตัวที่7ติดแฟลตอยู่แล้ว ไปติดแฟลตอีกครั้งจากโครงสร้างของคอร์ด)"
ดังด้านบนนี่ไม่ถูกต้องนะครับ คุณไม่จำเป็นต้องไปเพิ่ม flat ให้มันอีก เพราะ mode เค้าใส่ flat มาให้เป็นธรรมชาติเอกลักษณ์ของเค้าไปแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำก็คือมอง โครงสร้างที่ได้(C E G Bb) แล้วไปวิเคราะห์จาก scale C Major ก็เท่านั้นเอง แต่ผมขอเน้นว่าคุณไม่สามารถไปเติม flat เพิ่มได้นะครับ ถ้าคุณต้องการให้โครงสร้าง mode ต่างๆลงตัว
หวังว่าคงจะเข้าใจนะครับ อีกอย่างไม่ตรงเกรงใจคัรบ ผมยินดีไขปัญหาครับ คนขี้สงสัยแบบคุณเนี่ยล่ะครับดีครับ ^_^
ปล.มีจุดนึงที่คุณอาจจะเข้าใจผิดอย่างถนัดเลยนะครับ ที่บอกว่า เติม b เข้าไปอีกตัว แล้ว B จะเป็น Natural น่ะครับ ไม่ใช่นะครับ B ต้องกลายเป็น Bbb เพราะการเติม flat เข้าไปไม่ได้หมายความว่าหักล้างนะครับ แต่ทำกับทำให้เสียงต่ำลงต่างหาก
Bb จะกลายเป็น B ธรรมดาได้ก็ต่อเมื่อโดน # ครับ
ฝากไว้เท่านี้ครับผม สวัสดีครับ ^_^
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:20:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 18 |
|
|
 |
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 50 ครับ +++ ขาจรอีกครั้งครับ เรื่อง คอร์ดถ่างนิ้ว ^_^
และแล้วก็ครบ 50 ตอนแล้วนะครับ สำหรับตอนนี้ผมก็เป็นขาจรไปตอบกระทู้เค้ามาอีกแล้วนะครับ 555+ ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=94939 เป็นเรื่องการถ่างนิ้วเพื่อสร้างคอร์ดนั่นเอง ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีจึงนำมาฝากกันนะครับ กับการครบรอบ ทฤษฎีรายวันตอนที่ 50 ขาจร คอร์ดถ่างนิ้วครับ ลุยกันเลยนะครับ
Question:คอร์ดที่ต้องถ่างนิ้วให้ห่างมากๆนิคอร์ดไรหรอครับ (ไม่ใช่เพาเวอร์คอร์ดนะคับ ) คือผมเห็นพี่วินเขาใช้ในเพลง เพียงพออะคับ แบบถ่างนิ้วมากๆ แล้วก็อีกหลายๆเพลงเลยคับ รบกวนอธิบายทีครับ
Answer: ขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่รู้จักเพลงที่คุณอ้างถึง ดังนั้นผมจะวิเคราะห์วิธีสร้างคอร์ดถ่างนิ้วแบบง่ายๆให้ลองไปฟัง+คำนวณเอาเองนะครับ
ก่อนอื่นฟังเสียง note ที่เค้าถ่างให้ออกน่ะครับ ถึงจะทราบว่าเป็นคอร์ดอะไร เพราะการถ่างนิ้วก็เทียบได้กับการเล่น note ใด note นึงเพิ่มขึ้นมาเท่านั้นเองครับ ไม่มีกฎตายตัวครับ อย่างเช่นคุณลองจับตามภาพที่ผมวาดมาดูสิครับ
จะเห็นว่า note สีเทาที่เป็น F (ลำดับที่1ของคอร์ด เรียกว่า root) กับ C(ลำดับที่5ของคอร์ด) นั้นก็รวมกันคือ power chord F นั่นเอง ส่วน F สีเทาสาย 4 ก็เป็น note เดียวกับ note ลำดับแรกของคอร์ด เรียกว่า octave(คู่8) ส่วน note สีๆพวกนั้น ก็คือ note ที่เราถ่างนิ้วออกไปกดมันนั่นเองนะครับ ผมจะแจกแจงดังนี้ -สีแดงตัว G คือ note ลำดับที่ 2(9) ของคอร์ด F Major -สีส้มคือตัว C คือ note ลำดับที่ 5 ของคอร์ด F Major -สีเหลืองคือตัว E คือ note ลำดับที่ 7 ของคอร์ด F Major -สีฟ้าคือตัว A คือ note ลำดับที่ 3 ของคอร์ด F Major
ดังนั้นถ้าคุณจับคอร์ดสีเทาอยู่(power chord F) แล้วคุณเติม note สีๆลงไป แต่ละสีจะให้ต่างกันดังนี้
-สีแดง = F9,FMaj9,Fm9 หรืออาจเป็น Fsus2 ก็ได้ ที่มีทางเป็นไปได้มากก็เพราะ โครงสร้างของคอร์ดไม่เพียงพอที่จะระบุอย่างแน่ชัด ดังที่เห็นไม่มี note ลำดับที่ 3 เพื่อระบุความเป็น Maj หรือ min chord อีกอย่างไม่มี note ลำดับที่ 7 มาชี้ชัดว่าเจ้า note G ต้องเป็น 9 อาจเป็น sus2 ก็ได้ แต่ในบริบทเพลงส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็น F9 น่ะครับ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางเดินคอร์ด ณ เวลานั้นนั่นเอง
-สีส้ม = power chord F ดังเดิม ดังจะเห็นได้จาก F สาย6,C สาย5 และ F สาย4,C สาย 3 เป็นการซ้ำ note ชุดเดิม(F+C) เพิ่มเข้าไปอีกชุด โดยห่างกัน 1 octave นั่นเอง เสียงที่ได้ก็จะแน่นกังวาลขึ้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ของ power chord ไว้เช่นเดิมน่ะนะครับ
-สีเหลือง = FMaj7 หรือ FmMaj7(ตามบริบทส่วนใหญ่น่าจะเป็น FMaj7) อันนี้ก็ไม่มีอะไรครับ เพียงแค่เพิ่ม note ลำดับที่ 7 เข้าไปจึงได้เป็นคอร์ดประเภท Maj7 นั่นเอง
-สีฟ้า = คอร์ด F Major ธรรมดาๆเลยครับ เพราะ note สีฟ้าก็คือ note A= note ลำดับที่ 3 ของคอร์ด F Major ธรรมดานั่นเอง
การถ่างนิ้วแบบที่ผมว่าเป็นการถ่างนิ้วเบื่องต้นนะครับ คุณสามารถไปค้นคว้าได้เองด้วยการลองถ่างนิ้วไปที่ตำแหน่งอื่นๆดูเท่าที่จะทำได้น่ะครับ ในกรณีเพลงที่คุณอ้างขึ้นมานั้นถ้าคุณอยากรู้ว่าเค้าถ่างแบบใหน แล้วได้คอร์ดอะไร ก็ลองถ่างตามแบบที่ผมให้มาทั้งหมดดูนะครับ มันต้องเจอซักอันล่ะครับ ที่ตรงกับเพลงที่เค้าเลือกใช้ อย่างไรลองคลำดูเองนะครับ ขอฝากไว้เท่านี้ ขอให้สนุกกับเรื่อคอร์ดนะครับผม สวัสดีครับ ^_^ led zeppelin
***ครบตอนนี้ผมก็จะรวบรวมตอนที่ 38-50 ไปไว้ที่หน้า lesson น่ะครับ หลังจากเคยรวบรวมตอน 1-37 ไปไว้หน้า lesson ทีนึงแล้ว ผู้ได้สนใจติดตามก็ไปอ่านกันสนุกๆที่หน้า lesson ได้นะครับผม ^_^
led zeppelin
14 พ.ค. 50
เวลา 3:22:00 IP = 203.156.71.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 19 |
|
|
ผมชอบ ช่วงท้ายใน ทฤษฎ๊ บทที่ 49 จังเลยครับ อ่านแล้ว ซึ้ง ดี โดนใจครับ ก็อย่างว่าครับ เฟอร์กูสิน ฝีเท้าอาจจะไม่เท่ารูนี่ แต่พี่แกก็มีเทคนิค วิธีเล่นหลากหลาย ที่คอยแนะนำให้ไอ้เด็กเวน(รูนี)ได้ ขอบคุณมากเลยครับ ผมอ่านตั้งแต่ทฤษฎีที่ 1 จน ถึง 50 ช่วยให้ผมหายสงสัยในสิ่งที่ผมไม่รู้ไปได้เยอะเลยครับ มีประโยชน์จริงๆ
ปล.ทฤษฎีมีช่องว่างสำหรับความคิดสร้างสรรค์เสมอ (ผมจะจำไปจนวันตายเลยครับ หิหิ เว่อไปป่าว)
heavy311
17 พ.ค. 50
เวลา 1:46:00 IP = 58.9.139.155
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 20 |
|
|
พระเจ้า !!! ขอบคุณมากครับ ซึ้งใจ
breezer
29 มี.ค. 53
เวลา 0:38:00 IP = 124.120.243.169
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 21 |
|
|
บุญคุณนี้ ยากเกิยจะตอบแทน
breezer
29 มี.ค. 53
เวลา 13:04:00 IP = 124.120.69.18
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 22 |
|
|
บุญคุณนี้ ยากเกินจะตอบแทน
breezer
29 มี.ค. 53
เวลา 13:04:00 IP = 124.120.69.18
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 23 |
|
|
ขอบคุณค่ะ...
Hamtara52
6 พ.ค. 53
เวลา 1:37:00 IP = 124.157.187.209
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 24 |
|
|
ขอบคุณมากครับ
boatza555
11 ก.ย. 54
เวลา 19:16:00 IP = 58.9.254.107
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 25 |
|
|
ขอคารวะ 1 จอกครับ ท่านสุดยอดมากเลยครับที่สละเวลามาให้ความรู้แก่พี่น้องผู้มีดนตรีในหัวใจ
TADEJ
18 ม.ค. 55
เวลา 3:52:00 IP = 119.46.31.162
|
|
|
 |
|
 |
|
|