ขอฝากความรู้เรื่องอุปกรณ์ อิเล็คทรอนิกส์ไว้หน่อยครับ  
 
ตามลิงค์ นะครับ โทษทีตอนนั้นเอาไปลงหน้า ออริจินอล ซะงั้น

http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=162850

พายุลูกเห็บ      25 พ.ย. 51   เวลา 19:40:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 202.151.186.15


 


  คำตอบที่ 1  
 
ถ้าไม่เอาทั้งหมดมาโพสไว้ตรงนี้ ไม่มีประโยชณ์ครับ

เพราะ กระทู้ในลิ้งค์ที่คุณทำไว้ มันก็จะลบไป ภายในไม่กี่เดือน แล้วต่อจากนั้น

คนที่มากดลิ้งค์ ก็จะหาไม่เจออยู่ดี



ยังไงถ้าจะเอาฝากไว้จริงๆ เอาทั้งภาพ ทั้งตัวหนังสือ มาลงไว้ที่นี่ทั้งหมดเลยดีกว่า




   สมาชิกแบบพิเศษ      DoubleLock      13 ธ.ค. 51   เวลา 7:04:00   IP = 58.64.91.39
 


  คำตอบที่ 2  
 
ตามท่าน DoubleLock ครับ
เอามาลงหน้านี้เถอะครับ เพราะเดี๋ยวหน้านั้นเค้าก็ลบทิ้ง แล้วคนที่คลิกเข้ามาจะผิดหวังเอานะครับ


   กิเลส      20 ธ.ค. 51   เวลา 11:03:00   IP = 125.26.132.206
 


  คำตอบที่ 3  
 
ผมก๊อปปี้มาให้ละกันครับ....พอดีว่างๆ

ในฐานะที่ได้อะไรมากมาย จากบอร์ดนี้ วันนี้จึงขอมาแบ่งปันบ้าง

เอาความรู้ที่พอมีอยู่มาแบ่งปัน ขออนุญาติไม่ลงในห้าเลสซั่นบอร์ดเพราะเท่าที่ดู คนจะมาหาความรู้ถามไถ่ตรงหน้สนี้เยอะมากครับ

ก็เพราะเห็นถามกันเข้ามาบ่อยครับเรื่องของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในงานดนตรี

วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่อง ตัว C ตัว R และไดโอด
ผมจะให้ความรู้แบบชาวบ้านๆ นะครับจะไม่มีรายละเอียดยิบ หรือเชิงวิชาการแต่อย่างใด เพราะมันจะน่าเบื่อและอาจดูยากเกินไป เพราะว่าถ้าจะเอากันจริงๆ เรื่องพวกนี้ว่ากันยาวครับ จะเอาง่ายๆให้พอรู้นะครับ สำหรับคนที่รู้แล้ว ก็อย่าถือสานะครับ พยายามจะไม่ให้มีข้อผิดพลาด


   สมาชิกแบบพิเศษ      hellbeat_yo      30 ธ.ค. 51   เวลา 0:40:00   IP = 58.9.58.56
 


  คำตอบที่ 4  
 
ตัวแรกขอนำเสนอตัว R ก่อน ตัว R คือ Resister หรือตัวต้านทานนั่นเอง
ตัวต้านทานมีหน้าที่ในการต้านทานในวงจรเพื่อกำหนดค่าว่าให้กระแสไหลผ่านเท่าไหร่
ตัวต้านทานเป็นสารกึ่งตัวนำ ที่มีสองขา
มีค่าหน่วยความต้านทานเป็น โอม Ohm บางท่านที่เคยถามว่า อย่าง 23 k คืออะไร
k ตัวนี้ก็คือกิโล นั่นเองครับ

(หน่วย ยูนิต ทางพีเอสไอ ตรงกลางเรียก ยูนิต สูงขึ้นไป 10 ยกกำลัง 3 หรือหลัก 1000 ก็คือ kilo 100000 ก็คือ Mega นี่คือในทางมาก ส่วนในทางน้อย ก็เป็น มิลลิ ไมโคร นาโน ก็ว่ากันไป)

ตัวต้านทานมีหลายแบบ บางตัวก็เขียนค่าติดเลย บางตัวต้องอ่านจากแถบสี
ค่าของรหัสสีตามมาตรฐาน EIA EIA-RS-279

สี แถบ 1 แถบ 2 แถบ 3 (ตัวคูณ) แถบ 4 (ขอบเขตความเบี่ยงเบน) สัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิ
ดำ 0 0 ×100
น้ำตาล 1 1 ×101 ±1% (F) 100 ppm
แดง 2 2 ×102 ±2% (G) 50 ppm
ส้ม 3 3 ×103 15 ppm
เหลือง 4 4 ×104 25 ppm
เขียว 5 5 ×105 ±0.5% (D)
น้ำเงิน 6 6 ×106 ±0.25% (C)
ม่วง 7 7 ×107 ±0.1% (B)
เทา 8 8 ×108 ±0.05% (A)
ขาว 9 9 ×109
ทอง ×0.1 ±5% (J)
เงิน ×0.01 ±10% (K)
ไม่มีสี ±20% (M)

เช่น ตัวนี้มีสี เหลือง แดง น้ำตาล ทอง
ก็จะได้เหลือง = 4
แดง=2
น้ำตาล=1 (น้ำตาลจะเป็นตัว คูณ) (สีที่ 3 จะเป็นตัวคูณ หรือบางทีถ้ามีแค่ 3 แถบสี ตัวที่ 2 จะเป็นตัวคูณ)
ซึ่งน้ำตาล=คูณ 10
สีทองคือค่าความเบี่ยงเบน(หมายถึงค่าอาจจะผิดพลาดไป)ซึ่งสีทอง=+หรือ- 5 เปอร์เซ็น

ดังนั้น ตัวต้านทานตัวนี้จึงมีค่า 420 Ohm +- 5 เปอร์เซ็น(เครื่องหมายโอม คือเครื่องหมายโอเมกานั่นแหละโทษทีผมหาที่แป้นไม่เจอ)
นั่นแหละครับหากค่าถึง 1000 ก็จะใช้ตัวk แทนค่า

เช่นหากตัวนี้เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นแดง ตัวคูณ จะเท่ากับ100
ตัวต้านทานตัวนี้จะเท่ากับ 42 k โอมนั่นเอง

ดังนั้นเมื่อเราอ่านค่าได้แล้วหากเราจะซ่อมหรือเช็คว่าตัวต้านทานตัวนี้เสียหรือไม่ก็เอามีเตอร์มาวัดครับ

หวังว่าคงใช่มิเตอร์กันเป็นนะครับ ตัว ต้านทานจะมี 2 ขา ก็ปรับย่านมิเตอร์ ไปที่ย่านความต้านทาน
แล้ววัดทั้ง 2 ฝั่ง หากได้ค่าตรงตามค่าของตัวมันก็ปกติ

ถ้าวัดแล้วไม่ขึ้นแสดงว่าขาด(เสีย)
ถ้าวัดแล้วขึ้นแต่ค่าไม่ตรงแสดงว่าเสื่อม(เสีย)
ถ้าวัดแล้วค่าขึ้นๆลงแสดงว่าช๊อต(เสียนั่นแหละ)

ยังมีตัวR ที่ปรับค่าได้ด้วยนะครับ ก็ที่ติดตามสวิทโวลลุ่มกีตาร์นั่นแหละครับ

ตัวต้านทานไม่แพงนะครับ เคยซื้อ 4 ตัวบาทยังมี ดังนั้นหากมีอะไรเสีย เอาไปซ่อมถ้าเขาเปลี่ยนแค่ตัวต้านทาน
แล้วคิดเป็นร้อยเป็นพัน ก็คิดก่อนนะครับ


   สมาชิกแบบพิเศษ      hellbeat_yo      30 ธ.ค. 51   เวลา 0:41:00   IP = 58.9.58.56
 


  คำตอบที่ 5  
 
จากรูปนะครับ..ด้านล่างขึ้นไปเป็นขนาด 1/8w 1/4w 1/2w 1w 2w ตามลำดับครับ

ส่วนใหญ่จะ 1/8w -1/4w กันนะครับในเอฟเฟคทั้งหลายแหล่

และจะมีค่าความผิดพลาดด้วยครับจะมีใช้ส่วนใหญ่ก็ +-5 % +-1%
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาค่าผิดพลาด5% (สีฟ้า) เสียงจะออกย่านกลาง-แหลมรวมถึงมีเสียงจี่กว่าตัว1%ครับ
ส่วนตัวค่าผิดพลาด 1% เสียงรบกวนน้อยกว่า ที่สำคัญถูกกว่า..(ซะงั้น)

ความคิดเห็นของผมนะครับ..ยังไงผิดถูกชี้แนะด้วย----hellbeat_yo

   สมาชิกแบบพิเศษ      hellbeat_yo      30 ธ.ค. 51   เวลา 0:51:00   IP = 58.9.58.56
 


  คำตอบที่ 6  
 

ตัวต้านทานแบบต่างๆ


   สมาชิกแบบพิเศษ      hellbeat_yo      30 ธ.ค. 51   เวลา 0:51:00   IP = 58.9.58.56
 


  คำตอบที่ 7  
 
ตัวต่อไปตัว C หรือที่ช่างบางคนเรียกสั้นๆว่าแคป

มีค่าเป็น ฟารัส
ตัวนี้เราจะเห็นบ่อยใน ลำโพงดอกเล็กที่ให้เสียงแซก
หรืเอฟเฟค ดิสทอชั่นก็ใช้เยอะมาก
สวิทโวลลุ่มกีตาร์ด้วย

ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (capacitor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บางครั้งเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร

ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ Variable capacitor
เป็น Capacitor ชนิดที่ไม่มีค่าคงที่ ซึ่งจะมีการนำวัสดุต่างๆ มาสร้างขึ้นเป็น Capacitor โดยทั่วไปจะมีค่าความจุไม่มากนัก โดยประมาณไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด (m F) Capacitor ชนิดนี้เปลี่ยนค่าความจุได้ จึงพบเห็นอยู่ ในเครื่องรับวิทยุต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวเลือกหาสถานีวิทยุโดยมีแกนหมุน Trimmer หรือ Padder เป็น Capacitor ชนิดปรับค่าได้ ซึ่งคล้าย ๆ กับ Varible Capacitor แต่จะมีขนาดเล็กกว่า การใช้ Capacitor แบบนี้ถ้าต่อในวงจรแบบอนุกรมกับวงจรเรียกว่า Padder Capacitor ถ้านำมาต่อขนานกับวงจร เรียกว่า Trimmer


การวัดตรวจเช็คว่าดีหรือเสีย ก็วัดแบบวัดตัว ต้านทานเลยครับ

ตั้งย่านมิเตอร์เหมือนเดิม
วัดที่ขาทั้งสองข้าง

หากแต่ตัว C ที่ดี เวลาวัด หากเป็นมิเตอร์แบบเข็ม เข็มมันจะขึ้น แล้วตีกลับทันที (แสดงว่าดี)แต่หากไม่ขึ้นเลยแสดงว่าเสียครับ
หากเป็นแบบดิจิตอล ค่าจะขึ้นไปพีค แล้วกลับลงมาที่ 0

เออไม่เหมือนตัว R อยู่อย่างคือ ตัวอาร์วัดขั้วไหนก็ได้ แต่ตัว C ต้องวักให้ถูกขั้ว สายจากมิเตอร์ + เข้า ขา + ลบ เข้าขา - ถ้าวัดผิดข้างมันก็จะไม่ขึ้น (ที่ตัวC ที่ขามีเครื่องหมายบอกอยู่แล้ว


   สมาชิกแบบพิเศษ      hellbeat_yo      30 ธ.ค. 51   เวลา 0:52:00   IP = 58.9.58.56
 


  คำตอบที่ 8  
 
จริงแล้วผมเห็นหลายกระทู้เช่นนี้ที่มีประโยชน์ ไม่น่าให้ตกไปนะครับน่าเสียดาย

   smilenote      7 ธ.ค. 52   เวลา 21:05:00   IP = 111.84.76.183
 




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 1999 - 2005


Thailand Web Stat