Blues To JazzBlues  
 
standdard blues (quick change)
F/Bb/F/F/Bb/Bb/F/F/C/Bb/F/C/
1/4/1/1/4/4/1/1/5/4/1/5/
standdard jazzblues
F/Bb/F/F/Bb/Bb/F/F/Gm/C/F D/Gm C/
1/4/1/1/4/4/1/1/2m/5/1 6/2m 5/

จะเห็นได้ว่า standdard jazzblues ต่างจาก standdard blues (quick change) ตรงห้องที่ 9 จะเป็นคอร์ด 2m(Gm) มาแทนคอร์ด5(C) และห้องที่ 11,12 จะมีคอร์ดเพิ่มเข้ามาจาก /1/5/(/F/C/) จะเป็น/1 6/2m 5/(/F D/Gm C/)

มาดูกันว่าเราใส่คอร์อะไรเพิ่มเติมเพื่อเป็นลูกเล่นและไว้สำหรับเปลี่ยนมู๊ดของการเล่นแต่ละรอบที่เราเล่น

แนวคิดแรก

จะใส่คอร์ดเพิ่มตรงช่วงที่มันย่ำอยู่คอร์ดเดิมนานๆเพื่อให้มันวิ่งไหลลื่น
มู๊ดแรก
ของเดิม /F/F/Gm/C/F D/Gm C/ จะเห็นได้ว่ามีFย่ำอยู่กับที่ถึง2ห้อง
เปลี่ยนเป็น /F/Am Abm Gm/C/F D/Gm C/ จะตัดห้องของFออกไปห้องนึงแล้วใส่คอร์ด ไล่โครเมติกจาก Am จนมาลงที่ Gm

มู๊ดสอง
ของเดิม /F/F/Gm/C/F D/Gm C/
เปลี่ยนเป็น /F/Am D/Gm/C/F D/Gm C/ จะตัดห้องของFออกไปห้องนึงแล้วใส่คอร์ดลักษณะ ทูไฟว์(เห็นชอบฝึกกันน่าจะคล่องนะอิอิ)Am D จนมาลงที่ Gm

มู๊ดที่สาม
ของเดิม /F/F/Gm/C/F D/Gm C/
เปลี่ยนเป็น /F E/Eb D/Gm/C/F D/Gm C/

แนวคิดที่สอง
จะเปลี่ยนทางคอร์ดส่งจาก/F D/Gm C/ แต่งเสริมเติมแต่งเพื่อเปลี่ยนมู๊ด

มู๊ดแรก
ของเดิม/F D/Gm C/
เปลี่ยนเป็น /F13 Ab13/G13 Cb9/ จำเป็นจะต้องใส่13เพราะว่ามันมีการหักทางคอร์ดจากเพิ่ม ซึ่งถ้าเราหักรูปแบบหรือฝึนให้มันกัด ควรจะใช้คอร์ดใหญ่ๆเช่น13(คอร์ดโปรดของผมน่ะ) และใส่b9ให้กับคอร์ดส่งเพื่อเพิ่มพลังในการส่ง(เคยพูดไว้ในครั้งก่อนแล้วว่า b9จะให้ซาวน์ส่งอย่างมาก)

มู๊ดสอง
ของเดิม/F D/Gm C/
เปลี่ยนเป็น /Fmaj7 Gbdim7/Gm9 Cb9/ เปลี่ยนมู๊ดมาเป็นเมเจอร์กันขำๆสักหน่อย ใส่9ให้Gm เพื่อดึกฟิลให้นัวเพื่อนำกลับสู่ทางdominentแล้วเพิ่มพลังให้กับคอร์ดส่ง ด้วย b9

แนวคิดที่สาม
ใส่ฮาฟเสต็ปโดยเฉพาะคอร์ดที่ย่ำอยู่กับที่เป็นเวลานานก่อนถึงห้องที่7เพื่อให้เกิดการลื่นไหลและสมู๊ท

ของเดิม/F/Bb/F/F/Bb/Bb/F/
เปลี่ยนเป็น /F/E/F/C B/Bb/Bb Gb/F/ ห้องแรกเหมือนเดิม(อันนี้คงไปเปลี่ยนมันไม่ได้อ่ะน่ะ555+)ห้องที่2ฮาฟเสต็ป มาเป็นEห้องนึงไปเลย(ฟังกัดดีชอบกล) ห้องที่3กับ4เห็นได้ว่าFย่ำอยู่กับที่ถึง2ห้องเลยเปลี่ยนห้องที่4 เป็นฮาฟเต็ปไล่เป็นโครเมติกไปที่Bb แล้วห้องที่5และ6ก็ย่ำอีกวิธีเดียวกับห้องที่3,4เลยครับ แก้ห้องที่6เป็นโครเมติกไล่ไปหาF


ลองฝึกกันดูนะครับการเปลี่ยนมู๊ดในการเล่นเพลง jazz หรือ blues เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะ เพลงพวกนี้คอร์ดมันซ้ำๆกันไปตลอดถ้าไม่เล่นแบบเดิมตามที่เขาให้มา เล่นไปหลายๆรอบมันน่าเบื่อครับ แล้วยิ่งเป็นเพลงบรรเลงแบบ jazz ด้วยแล้ว เล่นเหมือนเดิมตลอด หลับทั้งคนเล่นคนฟังเลยล่ะจ้า...

ดีกรีความฟุ้งจะมากขึ้น เริ่มจาก แนวคิดแรก แนวคิดสอง แนวคิดสาม หมายถึง แนวคิดแรก ควรอย่างยิ่งที่จะนำไปใช้ เพราะมู๊ดของการส่งไปอีกรอบสำคัญยิ่งนัก แนวคิดสองก็ สำคัญน้อยลงมา แต่ใส่ก็เพิ่มสีสันกันไป แนวคิดที่สามนี่จะฟุ้ง ถ้าใส่ตลอด ก็คงกัดน่าดูชม แล้วแต่ชอบเลยครับ ตามรสนิยมละกัน

**หมายเหตุ**
ทางเพลงแบบนี้เป็นทาง dominant seven ฉะนั้นผมไม่เขียน7นะครับ หมายความว่า ผมเขียนว่า C ก็หมายถืง C7หรือC9หรือC11หรือC13หรือCb9หรือC#9หรืออื่นๆ ซึ่งผมพูดการใส่เทนชั่นไว้แล้วในเรื่องjazzกับแนวคิดของข้าพเจ้าในช่วงแรกๆ นะครับ

ที่กล่าวมาผมยกตัวอย่าง คีย์ F นะครับ คีย์อื่นก็เปลี่ยนกันเองนะ
ควรจะเริ่มจากที่ผมเขียนไว้แรกๆก่อนนะครับไม่งั้น มาตรงนี้เลย ไม่มีทางเข้าใจครับ งงตายหล่ะ..

***ย้ำอีกเช่นเคยว่า มันไม่ได้หมายความว่าเล่นได้เท่าที่ผมแนะนำไป มันเล่นอะไรได้มากมายหรือจะเรียกได้ว่าเล่นอะไรก็ได้ พยายามทำความเข้าใจที่ผมอธิบายว่า ผมใส่ไอ้นี่ลงไปเพราะอะไรทำไมจะได้อะไรแบบไหน เพราะถ้าแค่ลอกวิธีเล่นไปใช้เฉยๆโดยที่คิดไม่เป็น มันก็จะไม่เกิดผลสูงสุด...

   สมาชิกแบบพิเศษ   ๐ป๋าเบ้น๐      9 ก.พ. 54   เวลา 7:52:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 110.168.102.210


 


  คำตอบที่ 1  
 
ดูของเก่าๆได้ที่ http://www.benzblues.blogspot.com/ นะจ๊ะ

   สมาชิกแบบพิเศษ      ๐ป๋าเบ้น๐      9 ก.พ. 54   เวลา 7:54:00   IP = 110.168.102.210
 


  คำตอบที่ 2  
 
ขอบคุณครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      FOTOBEER      10 ก.พ. 54   เวลา 11:45:00   IP = 118.172.239.109
 


  คำตอบที่ 3  
 
ขอบคุณมากครับ

   zzZ_AVATAR_Zzz      11 ก.พ. 54   เวลา 22:12:00   IP = 58.9.5.104
 


  คำตอบที่ 4  
 
ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ครับ ^__^



   Hello_Sunday   13 ก.พ. 54   เวลา 2:59:00   IP = 124.121.73.56
 


  คำตอบที่ 5  
 
ขอบคุณมาก

   พลิ้วไหวเหนือสายน้ำ   16 ม.ค. 55   เวลา 16:08:00   IP = 125.27.93.90
 




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 1999 - 2005


Thailand Web Stat