เหตุผลที่ทำไม "C- Am- Dm- G7- C" จึงเป็นProgressionที่ดี  
 
ปัจจัยในการสร้างเอกลักษณ์ของการเดินไปข้างระหว่างChordๆนึงกับChordต่อไปมีดังนี้(เรียงตามความสำคัญ)
1.แนวโน้มการเกลาเข้ามาของขั้นคู่กระด้าง *พิเศษ*
2.Common Note คือNoteร่วมหรือNoteที่ซ้ำกันระหว่างChordแรก กับ Chordหลัง
3.ระยะแนวBass คือระยะห่างระหว่างNoteที่อยู่ต่ำสุดของChordทั้งสอง

1.Common Note
- ถ้าChordทั้ง2มีNoteร่วม2ตัวจะให้ความรู้สึกก้าวไปข้างหน้าไม่ดีนักจะรู้สึกอยู่กับที่
เช่น C ไป Am มีโน้ตร่วมถึง2ตัว คือ C และ E
- ถ้าChordทั้ง2มีNoteร่วม1ตัวจะให้น้ำหนักก้าวไปข้างหน้าได้ดีจะหนักแน่นกว่าอัน
แรก เช่น เช่น C ไป F มีnoteร่วมตัวเดียวคือ C
- ไม่มีNoteร่วมเลยเช่น F ไป G จะให้ความรู้สึกขนานให้การเคลื่อนทุกNoteจะโดน
เคลื่อนไปตามขั้น เช่น F-G, A-G, C-B

2.ระยะแนวBass (เกี่ยวแต่ไม่เป็นปัจจัยสำคัญเท่าCommon Note)
ยิ่งกระโดดห่างจะให้ความรู้สึกถึงการกระตุก เช่น
-ตั้งแต่คู่6ขึ้นไป จะกระตุก แต่ให้น้ำหนักไม่เท่าห่างกัน5,4
-ห่างกันคู่5,4 จะได้น้ำหนักมากเพราะแนวเป็นจะเป็นdominantของกันและกัน
-ห่างกันคู่3 จะรองลงมา
-ห่างกันคู่2 จะให้ความรู้สึกน้อย
-ตัวเดียวกัน,คู่8 จะให้ความรู้สึกเหมือนไม่เคลื่อนไปข้างหน้า

3.คอร์ดที่กระด้างจนมีขั้นคู่ที่ต้องเกลาเช่นคอร์ดV7 สมมุติ G7 ในKey C Major
กล่าวคือมีขั้นคู่Tritone นั่นคือ B และ F เจอกันจะกระด้างจนต้องรีบเกลา
B เป็นLeading Noteมีแนวโน้มเข้าหา C ซึ่งเป็นTonic
F มีแนวโน้มเกลาเข้าหา E
-ถ้าเกลาถูกจะให้ความรู้สึกไปข้างหน้าอย่างมาก

C- Am- Dm- G7- C
1.C- Am มีCommon Note 2 ตัว ทำให้รู้สึกไปข้างหน้าแบบน้ำหนักเบา แสดงว่ายังไม่
ถึงจุดไคลแมก
2.Am- Dm มีCommon Note 1 ตัวแถมแนวเป็น ห่างกันคู่4 ทำให้ได้น้ำหนักดีขึ้น
เหมือนเริ่มบิ้วอารมณ์
3.Dm- G7 อันนี้มีNoteร่วม2ตัวก็จริงแต่ระยะแนวBassห่างกันคู่4น้ำหนักจะมากขึ้นกว่า
C- Am
และG7เป็นคอร์ดที่กระด้างเตรียมส่ง และBreak Phaseได้ดีในตัวเอง และดึงความ
รู้สึกให้ชวนติดตาม จึงทำให้รู้สึกว่ามาถึงจุดไคลแมคแล้วเมื่อเล่นG7

4.G7- C เป็นการคลายควรรู้สึกตึงเครียดของG7 เพราะขั้นคู่กระด้างได้ถูกเกลาอย่าง
เหมาะสม ทำให้เหมือนกับหนังที่จุดไคลแมกได้จบอย่าง Happy Ending
เป็นการปิดCadenceอย่างPerfectตามชื่อ

*สรุปProgressionชุดนี้ มีการค่อยบิ้วอารมณ์และสร้างจุดไคลแมกเพียง1เดียวทำให้ไคลแมกนั้นเด่นชัดคือช่วงG7 จากนั้นค่อยคลายปมที่C อย่างสมบูรณ์แบบ

redwine1990      9 ต.ค. 53   เวลา 19:48:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 118.172.41.46


 


  คำตอบที่ 1  
 
ว้าวๆ ความรู้ใหม่ขอบคุณครับ

   wat135   9 ต.ค. 53   เวลา 22:29:00   IP = 125.26.37.150
 


  คำตอบที่ 2  
 

ขอบคุณครับ....อิอิ



   Easy♠♠♠Man...      12 ต.ค. 53   เวลา 17:42:00   IP = 119.46.184.2
 


  คำตอบที่ 3  
 
โอ้ว สุดยอดครับ ชอบๆ ได้แนวคิดใหม่ ขอบคุณครับ

   CL4SH      14 ต.ค. 53   เวลา 10:46:00   IP = 58.64.126.203
 


  คำตอบที่ 4  
 
เยี่ยมเลย

   sirapob       29 ต.ค. 53   เวลา 13:00:00   IP = 113.53.89.171
 


  คำตอบที่ 5  
 
ถามพี่redwine1990 พี่เอาความรู้เรื่องนี้มายังไงคับ ผมชอบมากอะคับ ไงช่วยแนะนำที่มาหรือที่พี่ศึกษาด้วยนะคับ ขอบคุณคับพี่

   sasaki kojiro      1 พ.ย. 53   เวลา 16:23:00   IP = 61.19.52.106
 


  คำตอบที่ 6  
 
จริงๆความรู้ของผมได้มาจากการอ่านหนังสือหลายเล่ม และได้มาจากการสอนของหลายอาจารย์ รวมทั้งได้มาจากการเอาScore(โน้ตเพลง)ของนักประพันธ์เก่งๆมาวิเคราะห์

ตอนนี้ผมเรียนปี3อยู่ที่ม.ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ส่วนเรื่องบทความนี้หลักๆก็ได้มาจากที่อ.ที่มหาลัยสอน กับเอามาจากหนังสือที่ชื่อว่า"การเขียนเสียงประสานสี่แนว" ของดร.ณัชชา โสคติยานุรักษ์

   redwine1990      2 พ.ย. 53   เวลา 17:57:00   IP = 125.25.8.165
 


  คำตอบที่ 7  
 
อ้อ! ผมชื่อเล่นว่า "ไวน์แดง" เรียกไวน์แดงก็ได้หรือไวน์ก็ได้จ้า

แต่ถ้าให้ดีอย่าเรียก"แดง"นะขอร้อง กลัวคนเข้าใจผิดนึกว่าเป็นอีกคน (มุข)555+

   redwine1990      2 พ.ย. 53   เวลา 18:00:00   IP = 125.25.8.165
 


  คำตอบที่ 8  
 
แจ่มครับ

   pisarize      13 พ.ย. 53   เวลา 10:14:00   IP = 223.206.142.207
 


  คำตอบที่ 9  
 
เจ๋งเลยครับ

   Kongfungshap   19 เม.ย. 54   เวลา 22:09:00   IP = 125.26.227.73
 




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 1999 - 2005


Thailand Web Stat