|
 |
สวัสดีครับ พี่ - น้อง - เพื่อนพ้อง ชาวกีต้าร์ไทยทุกท่าน
และแล้ว เทศกาลบอลโลก 2010 ก็ผ่านพ้นไปเรียบร้อยโรงเรียนสเปน เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้งครับ ที่ แชมป์บอลโลก เป็นอีกหนึ่งทีมที่พึ่งคว้าแชมป์ได้เป็นครั้งแรก
เดี๋ยวอีก 4 ปี ข้างหน้า รอดูพี่ไทยเราสิ จะได้ไปโชว์ฝีเท้าที่บราซิลกับเขามั้ย ?
มาที่ Week # 20 ครับ กับ Fingerstyle guitar
Week นี้ขอนำเรื่องราว + มุมมอง ของ อ.บุญชอบ ( ที่ผมได้พูดคุยในชั่วโมง ) มาเล่าให้ฟังแบบสั้น ๆ ละกันนะครับ
cross : อ. ครับ การที่เราจะแกะเพลง เพลงหนึ่งเนี่ย จำเป็นมั้ยครับ ที่เราจะต้องเล่นให้เหมือนต้นฉบับ
อ. บุญชอบ : สำหรับผม สิ่งแรกเลยต้องให้เหมือนไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคต่าง ๆในเพลง ๆ นั้น เช่น เขาจะดันสายคึ่งเสียง หรือ 1 เสียง เราควรจะเก็บให้ได้ทุกรายละเอียด เพราะอย่างน้อยเราก็ได้ฝึกการฟังของการแกะเพลง
cross : จำเป็นต้องเหมือน ต้องได้ในทุก ๆ โน้ตเลยเหรอครับ ประมาณว่าให้ใกล้เคียงที่สุดได้มั้ยครับ
อ.บุญชอบ : ก็...อย่างน้อย ถ้าได้ใกล้เคียงก็ดี หรือ ถ้าเหมือนเลยก็จะยิ่งดี เพราะสิ่งที่ได้คือ เราจะรู้เทคนิคต่างๆ ในเพลงนั้น , ทางคอร์ด , ลูกริฟท์ , การใช้สเกลในการโซโล่ต่าง ๆ เพราะสิ่งที่ศิลปินเขาได้ทำออกมา มันเพราะอยู่แล้ว แรก ๆ ก็ควรจะเล่นแบบต้นฉบับให้ได้ก่อน จากนั้นเราจะนำมาปรับใช้หรือใส่การเล่นของตัวตนเราเข้าไปตรงไหน ทีนี้ก็แล้วแต่เราล่ะ ว่าจะดีไซน์ยังไง
cross : อ. ครับ แล้วอย่างการอิมโพรไวท์ จำเป็นมั้ยครับ ที่เราจะต้องเล่นโน้ตเยอะ ๆ ปั่นเยอะ ๆ เพราะส่วนมากที่ผมเห็น เขาจะปั่นกันแบบโน้ตเกลื่อนเลย
อ.บุญชอบ : คุณไม่ต้องไปสนใจหรอกว่า จะต้องปั่น จะต้องเล่นเร็ว เล่นโน้ตน้อย ๆ ก็เพราะได้ เอางี้ดีกว่า คุณเล่นแล้วทำให้คนมานั่งฟัง มานั่งดูคุณแล้ว เขาชอบ เล่นออกมาแล้ว ทำให้คนดูเขาฟังแล้วเพราะ แค่นี้คนดูเขาก็แฮปปี้แล้ว คนดูส่วนใหญ่เขามานั่งฟังดนตรี เขาไม่ได้มานั่งดูนิ้วของคุณเวลาเล่นหรอก
cross : อ. ครับ การจะเป็นนักดนตรีที่ดี จำเป็นหรือเปล่าครับ ที่จะต้องเล่นได้ทุ กแนว ทั้งลูกทุ่ง , หมอลำ ,สตริง ฯลฯ
อ.บุญชอบ : ถ้าได้ก็ยิ่งดีครับ อย่างลูกทุ่ง หมอลำ เราศึกษาไว้บ้างก็ดี อย่างน้อยเราก็จะรู้ว่า..เออ มันเป็นแบบนี้นะ ทางคอร์ดส่วนใหญ่จะประมาณนี้นะ โซโล่ก็ไม่หนีกันมาก สเกลก็จะใช้สเกลลักษณนะนี้ ตรงนี้มันก็ทำให้เรารู้ละ เราก็เก็บไว้เป็นข้อมูล ถึงเวลาที่เราจะใช้ เราก็งัดออกมาเล่น
cross : ลูกริฟท์ต่าง ๆ มันมาจากสเกลใช่มั้ยครับ
อ.บุญชอบ : ครับ มันก็อยู่ในนั้นแหล่ะครับ ผมถึงบอกไงว่า สเกลต้องแม่น ก่อนเล่นพยายามวอร์มนิ้วด้วยสเกล 5 แพทเทริน์ ตรงนี้มันทำให้เราจดจำไปในตัว เพราะถ้าสเกลไม่ได้ ผมบอกได้เลยครับ ว่า" ลำบาก "
สิ่งเหล่านี้มันก็จะกลับมาลิงค์ + เชื่อมต่อกับทฤษฎี มันเชื่อมโยงกันหมดแหล่ะครับ ลูกริฟท์ที่เราชอบเล่นต่างๆ มันก็อยู่ในนี้แหล่ะ เขาก็คิดจากในนี้กัน เล่นสลับกันไปมา คุณลองนั่งฝึกสร้างลูกริฟท์จากสเกลก็ได้ ลองสร้างดูสลับไป สลับมา ทั้งการอิมโพรไวท์ ก็ไม่พ้นอีกแหล่ะครับ ที่เวลาเราโซโล่ในการอิมโพรไวท์ เราก็ต้องอาศัยสเกลต่าง ๆ และสามารถเล่นได้ทุกโพซิชั่น
cross : ถ้างั้นถามต่อครับ " เราควรจะเล่นให้คนฟัง ฟังว่าเราเล่นเพราะไว้ก่อน " ใช่มั้ยครับ
อ.บุญชอบ : ครับ คุณเล่นให้เพราะไว้ก่อน คุณอย่าลืม ว่า...คนฟัง เขามาฟังดนตรี เพราะฉะนั้น คนฟังเขาไม่สนใจหรอกว่า คุณจะอิมโพรไวท์ลีลาเด็ดแค่ไหน แต่โดยรวม ถ้าคุณเล่นให้คนเขาฟัง " ต้องไพเราะ " ครับ
คุณลองหาดูกีต้าร์ไฟฟ้าถูก ๆ สักตัว เอาแบบไม่ต้องแพงหรอก สัก 2-3 พัน น่ะ เอาแค่พอให้คุณมาลองเล่นเพื่อเปลี่ยนฟิลลิ่ง ให้ดูหลากหลาย
" คุณอย่าไปยึดติดว่า คุณจะต้องเป็น Fingerstyle อย่างเดียว "
ลองศึกษาดนตรีหลายๆ สไตล์ไว้ครับ ไม่ว่าจะเป็น ร็อค , บูลส์ , แจ๊ส , ลูกทุ่ง หรืออะไรก็ตาม แต่ละแนวเขาก็จะมีจุดที่ยากของเขา ส่วนฟิงเกอร์สไตล์ มันก็ยากตรงที่เราจะต้องควบคุมนิ้วให้ได้ แต่ก็สามารถไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายๆ แนว
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมอโดยรวม ที่ผมได้คุยกับ อ.บุญชอบ ครับ
หวังว่า คงได้ประโยชน์เล็ก ๆ น้อยๆ กันไปบ้างนะครับ สำหรับ Week นี้
: )
cross
15 ก.ค. 53
เวลา 13:23:00
พิมพ์
แจ้งลบ IP = 202.28.179.4
|
|
|