เรื่องราวของ jazz music อ่านกันดูน่ะ สาระดีๆ  
 
ประวัติแจ๊ส
คอแจ๊ซหลายคน ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มสนใจฟัง หรือฟังมานานหลากหลาย อาจจะเคยสับสนกับศัพท์หรือชื่อเรียกแขนงย่อยๆของดนตรีแจ๊ซมากมาย หรือบางครั้งอาจจะไล่ไม่ถูกว่ายุคไหนใครก่อนหลังและมีอะไรต่างกัน JazzView จึงขอแนะนำเว็บที่คุณจะใช้เริ่มต้นเข้าไปค้นคว้าได้ และ JazzView ยังสรุปประวัติดนตรีแจ๊ซทั้งจากเว็บเหล่านี้ และจากหนังสือภาษาไทยดีดีหลายเล่มที่บอกไว้แล้วท้ายเรื่อง แถม chart การแบ่งแนวเพลงแจ๊ซที่ตัดมาจาก allmusic.com

รายชื่อเว็บเกี่ยวกับประวัติดนตรีแจ๊ซ

http://www.jazzhall.org/jazzhistory.html

http://members.tripod.com/~hardbop

http://www.smithsonianjazz.org

http://www.jazzatlincolncenter.org/educ/curriculum/contentsPage.html

http://www.jass.com/jazzo.html

ประวัติย่อดนตรีแจ๊ซ
"New Orleanes Jazz"
ดนตรีแจ๊สกำเนิดขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรี The Original Dixieland Jazz Band หรือ ODJB มีลีลาดนตรีและจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ได้รับความนิยมอย่างมากจนทำให้คำว่า "Jazz" ในชื่อวงดนตรีกลายมาเป็นชื่อแนวเพลงแบบนี้ แนวเพลงของ ODJB นั้นมาจากการผสมผสานกันระหว่างเพลงพื้นบ้านในแถบนิวออร์ลีนส์ ซึ่งมีรากฐานจากดนตรีในพิธีทางศาสนาของกลุ่มทาสที่เดินทางมาจากแอฟริกาเพื่อเป็นแรงงานตามไร่นา กลุ่มทาสเหล่านี้มีพื้นฐานในเรื่องจังหวะมาจากเพลงพื้นบ้านหรือดนตรีอยู่แล้ว นำมาซึมซับดนตรีของคนผิวขาวที่เรียนรู้จากการฟังแล้วเล่นลองถูกลองผิดตามความพอใจ กลายเป็นที่มาของการด้นสด (Improvisation) แจ๊สในยุคแรกดั้งเดิมนี้เรียกกันว่าเป็น นิวออร์ลีนส์แจ๊ส

"Swing & Big Band"
เมื่อสหรัฐฯร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่ย้ายมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแองเจลลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้น ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ Louis Armstrong กลายเป็นนักดนตรีและนักร้องแจ๊สชื่อดังในเวลาต่อมา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่มีลักษณะเฉพาะตัว ฉูดฉาด มีการทดลองจัดวงแบบของใหม่ๆ เช่น แซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของ James P. Johnson ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตยาวจนคนฟังเดาไม่ออกของ Louis Armstrong และการปรับแบบของจังหวะเป็น Chicago Shuffle

ต่อมาปลายทศวรรษ 1920 นิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สแทนชิคาโก ปรับแจ๊ซไปเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นบ่อเกิดของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band) ในเวลาต่อมา "สวิง" หมายถึงอิสระในการแสดงดนตรี มาจากจังหวะที่ฟังแล้วคล้ายไม่ลงตัว หรือ "แกว่ง" นั่นเอง แล้วจึงมีการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" เป็นวงใหญ่นักดนตรีมาก แบ่งวงเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง เครื่องลมไม้ และเครื่องให้จังหวะ ในยุคนี้ก็คือเริ่มมีนักร้องแจ๊สที่โด่งดังขึ้นมา เช่น Ella Fitzgerald, Billy Holiday และ Louis Armstrong ความสามารถที่โดดเด่นของนักร้องแจ๊สยุคนี้คือการ "สแกต" (Scat) หรือร้องเสียงแปลกๆแทนเครื่องดนตรี

"ราชาแห่งสวิง" คือ Benny Goodman นักคลาริเน็ตผู้ซึ่งในหลวงของเราเคยทรงดนตรีร่วมวงด้วยเมื่อครั้งเสด็จไปเยือนสหรัฐฯ Benny Goodman ก่อตั้งวงบิ๊กแบนด์ที่ต่างจากวงอื่นๆในยุคนั้นตรงที่มีนักดนตรีทั้งผิวขาวและผิวดำปะปนกัน และเปิดโอกาสให้นักดนตรีคนอื่นในวงได้เล่นโซโลแสดงความสามารถเต็มที่ จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง นอกจากวงของกู๊ดแมนแล้ว ยังมีวงของ Duke Ellington และวงของ William Count Basie ที่โด่งดังใกล้เคียงกัน

"Bebop"
เมื่อนักดนตรีแจ๊ซแนว Swing เบื่อหน่ายการจัดวงและการเรียบเรียงที่ค่อนข้างตายตัว จึงเกิดการหาแนวทางใหม่ เล่นตามความพอใจแบบที่มักทำหลังการซ้อมหรือเล่นดนตรี หรือเรียกว่า "แจม" (Jam session) Charlie "Bird" Parker นักแซ็กโซโฟน และ Dizzy Gillespie นักทรัมเป็ต เสนอแจ๊สในแนวทางใหม่ขึ้นมา เมื่อทั้งสองร่วมตั้งวงห้าชิ้นและออกอัลบั้มตามแนวทางดังกล่าว คำว่า Bebop หรือ Bop ก็กลายเป็นคำติดปากของผู้ฟัง มีสุ้มเสียง จังหวะ การสอดประสานที่ต่างไปจาก Swing เช่นจังหวะไม่ได้บังคับเป็น 4/4 เหมือนสวิง เน้นใช้คอร์ดแทน Alternate chords ในขณะที่โซโลและการแสดงด้นสดยังอยู่บนคอร์ดเดิม

ลีลาของแนว Bebop จะเน้นเป็นดนตรีตามคลับแจ๊สมากกว่าดนตรีเต้นรำ จุดเด่นคือการแสดงความเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง ไม่นานนัก Bebop ก็เป็นที่นิยม Charlie Parker, Dizzy Gillespie, และ Thelonious Monk กลายเป็นดาวผู้เปิดแนวทางใหม่ในวงการแจ๊ส

Bebop ให้กำเนิดสองกระแสใหม่ กระแสแรกคือ Cool Jazz ซึ่งเป็นการผสมแจ๊สเข้ากับเพลงคลาสสิค อีกกระแสคือ Hard Bop ซึ่งผสมเอา Bebop, R&B และเพลงในโบสถ์ (Gospel) เข้าด้วยกัน

คูลแจ๊สมีต้นกำเนิดจากงานของ Miles Davis ซึ่งใช้วง 9 ชิ้น อัดอัลบั้ม The Birth of Cool นักดนตรีแจ๊สเรียกติดปากว่า "Cool" เป็นที่มาของคำ "Cool Jazz" ซึ่งไม่ได้เร็วสนุกสนานเหมือนดนตรีแจ๊สที่ผ่านมา กลับมีท่วงทำนองช้า บรรยากาศหม่นๆ อิทธิพลด้านคลาสสิคของคูลแจ๊สส่วนใหญ่จะมาจากงานของ Igor Stravinsky และ Claude Debussy ทำให้บางคนวิจารณ์ว่า Cool Bop ทำให้แจ๊สถอยหลัง

ขณะเดียวกัน ทางฝั่งตะวันตกก็มีเพลงแจ๊สที่เรียกกันว่า เวสต์โคสต์ (West Coast Sound) ซึ่งคล้ายคลึงกับคูลแจ๊ส แต่อนุรักษ์นิยมกว่า วงดนตรีเวสต์โคสต์มักไม่มีเปียโนมารวมด้วย ผู้นำของกลุ่มนี้ได้แก่ Chet Baker, Jerry Mulligan, Stan Getz

โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 15:56:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 124.120.152.23


 


  คำตอบที่ 1  
 
Chicago ในส่วนของ Chicago นั้นก็ได้เป็นเมืองที่มีสถานท่องเที่ยวยามค่ำคืนเกิดขึ้นมา อย่างมากมาย และครั้งนี้ยังมีวง Big Band เยี่ยมๆที่อพยพตามมาเพื่อมาสร้างชื่อเสียงที่อีกทั้งยังมีนักดนตรีฝีมือดีๆมากมายเกิดขึ้น อีกทั้งยังรวมไปถึงนักร้องอีกด้วย วงดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ก็คงจะเป็น วงของ Benny Goodman , King Oliver และนักประพันธ์เพลงที่เป็นหัวหน้าวงอีกคนที่มีชื่อในยุคนี้ก็คงหนีไม่พ้น Ferdinan “ Jelly Roll ” Morton เขาเป็นนักดนตรีอีกท่านหนึ่งที่มาพร้อมกับพรสวรรค์ทางเสียงดนตรี นักดนตรีที่เรียกว่าเป็นนักปฎิวัติการเล่นอีกคนคงจะต้องให้เครดิตกับเขาผู้นี้ Louis Armstorng เดิมทีเดียวเขาเป็นลูกวงของ King Oliver และเขาก็เป็นมือโซโล่ด้วยเช่นกัน และเมื่อความหน้าเบื่อของการโซโล่ที่ไม่เคยได้สร้างความอิสระให้กับเขา เพราะทุกครั้งจะต้องโซโล่ไปพร้อมกันกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น Louis จึงเปลี่ยนระบบใหม่เมื่อถึงท่อนกลางเขาจึงยืนขึ้นเพื่อโซโล่เดี่ยวแทน เมื่อเป็นเช่นนี้การอิมโพรไวส์จึงน่าจะเป็นการอิมโพรไวส์อย่างแท้จริง Louis Armstorng นับว่าเป็นบิดาคนสำคัญอีกหนึ่งท่านสำหรับคนแจ็ส - New York New York ย้อนกลับมาอีกทีหนึ่งที่เป็นแหล่งบ่มเพาะดนตรีแจ็สที่สำคัญ คนบางส่วนก็ได้ย้ายไปอยู่ Chicago บ้างก็ไป L.A ( Los Angeles ) แต่บางส่วนก็ขอสมัครใจที่มาสร้างเนื้อสร้างตัวปักหลักที่ New York เช่นกัน จุดเริ่มต้นของกระแสดนตรีแจ็สที่นี่ก็ไม่ได้ต่างอะไรนักกับที่ Chicago แจ็สที่นี้ก็เริ่มต้นในสถานบันเทิงและตามย่านฮาร์เร็มทั้งหลาย นักดนตรีและเจ้าของวงชื่อดังใน New York คือ Duke Ellington นั่นเอง ดนตรีทั้งสองฝั่งไม่ว่าจะเป็นทั้ง New York หรือ Chicago ก็ดีต่างก็กระจายรากฐานของดนตรีแจ็สออกไปในวงกว้าง แต่หากสถานที่ที่แจ็สเริ่มตั้งรากฐานได้อย่างมั่นคงก็คงจะต้องนกให้เป็น New York อย่างแน่นอน เพราะที่นี่เริ่มที่จะเป็นเมืองหลวงของอเมริกาไปเรียบร้อยแล้ว และช่วงเวลาที่เด่นชัดในการพัฒนาของสวิงนั่นคือปี 1930 – 1940 นั่นเอง Be – Bop (1940 -1950) เมื่อเวลาแห่งความสนุกและรื่นรมย์แห่งดนตรี Big Band กำลังดำเนินมาเรื่อยๆ และเป็นกระแสหลักแห่งดนตรีในยุคนั้น ปัญหาหนึ่งที่ค้างคามานานท่ามกลางในวงดนตรี Big Band ต่างๆ นั้นคือปัญหาเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันของคนดำและคนขาวที่ต้องเล่นร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินค่าจ้างที่คนดำได้น้อยกว่าหรือการบริการที่ให้กับคนขาวมากกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นก็มีนักดนตรีกลุ่มหนึ่งที่เริ่มเบื่อระบบการทำงานในกลุ่มคนหมู่มากเช่นนี้ มันจึงเป็นเหมือนกับปัญหาที่สะสมมานานเพื่อรอวันระเบิด และเมื่อวันเวลาที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดอีกอย่างที่เริ่มแสดงให้เห็นถึงนัยยะว่าแนวดนตรี Big Band กำลังถึงจุดตกต่ำนั่นคือ สไตล์ของดนตรีนั่นเองที่เริ่มเป็นตัวทำลายตัวเอง เพราะทุกครั้งที่วง Big Band ขึ้นเล่นก็จะเล่นในรูปแบบและมีฟอร์มที่เตรียมตัวมาเป็นอย่างดีและเป็นประจำทุกครั้ง ก็เลยเป็นเรื่องที่ไม่น่าตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่สำหรับคนที่ดูมาเป็นประจำ ดังนั้นเมื่อย่างเข้าสู่ช่วงกลางปี 1940 ดนตรี Big Band ก็ก้าวมาถึงทางตัน ในขณะเดียวกันนั้นมีคลับยามค่ำคืนหลายแห่งก็มักจะเปิดช่วงเวลาพิเศษที่เรียกว่า After Hours ขึ้นมา ช่วงเวลานี้จะเป็นที่รู้กันในระหว่างนักดนตรีที่หัวก้าวหน้าทั้งหลาย ที่เบื่อกับดนตรีแจ็สในยุคปัจจุบัน ทุกคนมักจะมารวมตัวพูดคุยถึงดนตรีแจ็สและมักจะหาแนวทางใหม่ๆในการเล่น จนกระทั้งมีการปรากฎตัวของชายหนุ่มไฟแรงทั้งคู่ นั่นคือ Charlie Parker และ Dizzy Gillespie ที่มาร่วมเล่นด้วย และคลับหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ Milton 's Playhouse ซึ่งได้มีการจัด jam session ทุก ๆ วันจันทร์โดยจัดให้มีการแจมกันกับวงประจำของทางร้านซึ่งมีนักเปียโนประจำคือ Thelonious Monk และ มือกลองคือ Kenny Clarke นักดนตรีที่มาร่วมแจมเป็นประจำก็เป็นนักทรัมเป็ต Dizzy Gillespie และ มือแซ็ก Charlie Parker ลีลาและสำเนียงของทั้งคู่นั้นต่างจากนักแซ็กโซโฟนหรือมือทรัมเป็ตทั้งหลาย ทั้งคู้เต็มไปด้วยสำเนียงที่เกรียวกราดและรวดเร็ว มีโน็ตหลายๆโน็ตที่เล่นออกมามีท่วงทำนองที่เเปร่งหู เรียกว่าหากใครได้ฟังต้องหันมองอย่างทึ่งทีเดียว พวกเขาทั้งคู่มักจะชอบตั้งวงในขนาดเล็กที่ต่างจากวงอย่าง Big Band ราวฟ้ากับดิน วงดนตรีของทั้งคู่นั้นมักจะมีสมาชิกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยที่ตำแหน่งผู้เล่นจะมี แซ็กโซโฟน , ทรัมเป็ต ,เปียโน ,เบส และกลองเป็นเครื่องดนตรีหลัก ในส่วนของทางคอร์ดที่รองรับเพลงเหล่านี้ก็มักที่จะเป็นทางคอร์ดที่ซับซ้อนพอสมควรจนบางครั้งอาจจะมีการเปลี่ยนคีย์เพลงหลายคีย์ในเพลงเดียว และมักจะมีการเปลี่ยนคอร์ดที่ถี่มากๆ เช่นในหนึ่งหองมักจะมีคอร์ดที่เปลี่ยนอย่างน้อยสองคอร์ด อีกทั้งเมื่อถูกนำไปเล่นในสปีดที่ไม่ต่ำกว่า 180 – 200 ขึ้นไป (บางเพลงอาจจะถึง 240 -260 หรือมากกว่านั้นก็เป็นได้) จึงเป็นความยากที่น่าท้าทายอย่างยิ่งสำหรับนักดนตรีหัวก้าวหน้าทั้งหลาย แต่สำหรับนักดนตรีหัวโบราณต่างมองว่าเป็นดนตรีที่ไรสาระและแหกขนบธรรมเนียมอย่างยิ่ง แม้กระทั่ง Louis Armstrong เองก็เคยพูดถึงบีบ็อบว่าบีบ็อบนั้น “It had no melody to remember and no beat to dance to” แต่ดนตรีสไตล์นี้กลับได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะนักดนตรีหัวก้าวหน้าทั้งหลายและพวกนักศึกษาที่เรียนดนตรีอย่างจริงจัง และชื่อเสียงของ Thelonious Monk ,Dizzy Gillespie และ Charlie Parker จึงเป็นที่รู้กันว่าพวกเขาทั้งสามได้ปฎิวัติแนวดนตรีขึ้นมาใหม่ขึ้นมาบนโลกแล้ว ซึ่งได้ถูกขนานนามว่า Be – Bop นั้นเอง

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 15:59:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 2  
 
MIKE STERN จากหัวใจใส่เส้นลวด


ไมค์ สเติร์น นักกีตาร์รุ่นใหม่คนนี้ใช้เวลา 25 ปีในการเคี่ยวกรำสไตล์การเล่นอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งเป็นการผสมผสานฮาร์โมนิกของบีบ็อปเข้ากับอารมณ์ละมุนละไมของร็อคแอนด์โรล ด้วยส่วนผสมที่เท่าๆ กันจากจิม ฮอลและ จิมี เฮนดริกซ์ สเติร์นได้สร้างสรรค์เส้นทางอาชีพของตัวเองจากความรักในดนตรีอย่างแท้จริง



"สำหรับผมแล้ว แจ๊ซไม่ได้หมายความถึงสิ่งที่ดีกว่า เพียงเพราะมันซับซ้อนกว่าเท่านั้น ผมใช้หัวใจฟังเพลงมากขึ้น บางครั้งเพียงแค่โน้่ตคู่แปดธรรมด๊า ธรรมดา พวกเพลงคอร์ดเดียวที่มีท่วงทำนองสวยๆ ก็เอาผมอยู่หมัดได้เหมือนกันนะ" สเติร์นกล่าว

เพียงแค่วัยกระเตาะ ความดังก็มาเยือน

สเติร์นเริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่อายุยังน้อยๆ "แม่ผมเป็นนักเปียโน แต่ก็แค่เล่นสนุกๆ เท่านั้นแหละครับ" เขาบอก "แม่จะเปิดแผ่นเสียงไว้ทั่วบ้านเลยครับ แน่นอนเลย ผมฟังเพลงร็อคมาเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็น เดอะ บีเทิลส์, เฮนดริกซ์ และ เดอะ ครีม อ้า....แต่เรื่องร้องเพลงก็สำคัญไม่แพ้กันเลยนะ เพราะผมเข้าไปอยู่ในวงประสานเสียงตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่โรงเรียนสมัยนั้น คุณครูโรงเรียนนี้เต็มไปด้วยไฟแห่งดนตรีจริงๆ (แหม...ยังกะเรื่อง The School Of Rock - ผ้เขียน) พอดีว่าครูคนหน่ึงเขาบอกว่าชอบเสียงของผม ก็เลยเชียร์ให้เข้าร่วมวงประสานเสียงของโรงเรียน ซ่ึงมันได้นำพาผมไปสู่โลกแห่งโอเปราของจริงซะด้วย! แถมตอนนั้นผมเพิ่งเก้าขวบเอง มีคนมาจากวอชิงตัน โอเปรา โซไซตี ในดีซีที่เขาว่าเป็นวงประสานเสียงที่ดีที่สุดเลย เข้ามาดูพวกเรา เขาบอกเขาต้องการเด็กๆ ไปเล่นบทเด็กขอทานในโอเปราเรืื่อง Tosca นั่นแหละผมเลยได้เข้าวงโอเปราละ แล้วก็ได้ร้องสองประโยคครับ แต่ลองจินตนาการดูว่าตอนนั้นคุณอายุเก้าขวบสิ มันอัศจรรย์เลยทีเดียวแหละ"

ในตอนแรกนั้ สเติร์นฝึกฝนกีตาร์ด้วยตัวเอง "ผมเคยเรียนร็อค เรียนบลูส์ มาเยอะเหมือนกัน เมื่อก่อนผมก็ฟังเพลงบลูส์ด้วย ทั้งชิคาโกบลูส์ ฟังอัลเบิร์ต คิงเยอะเลย บี.บี.คิง, บัดดี กาย, จูเนียร์ เวลส์ แล้วก็ชาร์ลี มัสเซิลไวต์ โอ้ย สารพัด แล้วก็มาฟังจิมี เฮนดริกซ์อีกกระบุง, เดอะ ครีม, เจฟ เบ็ก แล้วก็อะไรแนวๆ นั้นอีกเพียบ ผมเริ่มเรียนรู้เรื่องกีตาร์เมื่อตอนอายุได้สิบสอง ผมก็จะฟังแล้วก็เล่นตามแผ่นเสียงพวกนั้น ผมสามารถแกะเพลงได้ดีทีเดียว เท่านั้นแหละที่ผมต้องการในตอนนั้น"



สเติร์นรำลึกความหลังต่อไปอีกถึงเรื่องการฟังเพลงของตัวเอง "เพลงของไมล์ส เดวิสไงครับที่ผมฟังเป็นเพลงแรก If I Were A Bell ทีนี้ในที่สุดเมื่อผมก็เริ่มฟังเพลงที่แม่เปิดอย่างจริงๆ จังๆ ผมก็เลยเอาแผ่นเสียงแผ่นหน่ึงของท่านขึ้นมาบนห้อง ผมไม่รู้หรอกว่าแผ่นอะไร ผมก็เปิดแล้วเล่นตาม แต่เชื่อไหมผมโคตรเล่นมั่วเลย ผมหลงคีย์ไปหมด คีย์มันเปลี่ยนและทำนองมันก็เข้าใจยากจริงๆ ผมเลยมึนสุดๆ แต่นั่นทำให้ผมรักแจ๊ซ แล้วผมก็เริ่มต้นจริงจังนับแต่นั้นมาครับ"

นักกีตาร์แจ๊ซยุคต้นๆ ที่มีอิทธิพลกับสเติร์นนั้ได้แก่ จิม ฮอล, เวส มอต์กอเมอรี, โจ แพส และ จอร์จ เบนสัน "ผลงานยุคแรกๆ ของเบนสันนั่นแหละครับที่ผมรัก เขาเป็นมือกีตาร์ฝีมือฉกาจจริงๆ แต่ผมว่าเขาได้รับการยกย่องน้อยไปนะ เพราะคนมัวแต่คิดว่าเขาไม่ใช่นักกีตาร์" นอกจากนั้นเขายังฟังงานประเภทเครื่องเป่าอีกมากมาย อาทิ จอห์น โคลเทรน, ซันนี รอลลินส์, ไมล์ส เดวิส และ แคนนอนบอล แอดเดอร์ลีย์ ส่วนงานเปียโนที่เขาชอบคือ แม็คคอย ไทเนอร์ และ บิล เอแวนส์

สู่โรงเรียนเบิร์กลี

สเติร์นเข้าเรียนในโรงเรียนดนตรีชั้นนำอย่างเบิร์กลีในบอสตัน "ผมเพิ่งจะได้เรียนรู้จากที่นี่ว่าจะอ่านโน้ตอย่างไร แล้วโน้ตตัวไหนอยู่ส่วนไหนของฟิงเกอร์บอร์ด ซ่ึงผมไม่เคยรู้เลยนะนั่น แต่ผมก็อินไปกับมัน อยู่กับมันไปเลย ตอนนั้นผมก็ทำตัวแปลกแยกกับมันเหมือนกันนะ ผมว่าผมเข้ากับมันไม่ค่อยได้อย่างไรก็ไม่รู้ ผมเลย...มันเหมือนคนขี้ขลาดน่ะ ผมก็เลยได้แต่คิดว่าเออ...เรียนเอาไว้เป็นทักษะเล่นบลูส์กับร็อคก็แล้วกัน เพราะว่าตอนนั้นผมรู้สึกแบบ...อะไรมันก็เดิมๆ ไปซะหมด แล้วผมก็อยากจะหาที่ลองของหน่อย ผมอยากจะเรียนเพิ่มๆๆ แล้วดูสิว่าจะทำอะไรต่อไปได้

"แล้วในที่สุดผมก็เข้าใจมันจนได้" สเติร์นบอกต่อ "ยิ่งผมเข้าใจมันมากเท่าไร ผมก็ยิ่งถลำลึกรักมันมากขึ้นเท่านั้น ผมรักแจ๊ซอย่างที่มันเป็นจริงๆ ฉะนั้นเมื่อมันเริ่มจูนเข้ากันได้อย่างนี้ ยิ่งผมเล่นมากขึ้น ผมก็ยิ่งหลงใหลเป็นทวีคูณ แต่ผมเป็นคนที่เล่นถ่ายทอดออกมาได้ช้ามาก ผมเลยคิดว่าสงสัยเล่นไม่ได้แล้วมั้ง ผมแทบจะจำคอร์ดเคิร์ดของเพลงสแตนดาร์ดไม่ได้เลยนะ ใช้เวลาโกฏปีเลยนะ



"แต่ด้วยวิวัฒนาการทีละเล็กทีละน้อย ผมก็ค่อยๆ เรียนรูู้ๆ ปลาๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะผ่านพ้นสู่แจ๊ซ ผมว่ามันก็เหมือนกับการเรียนภาษานะ เบิร์กลีเป็นสถาบันที่ดีเยี่ยมในสายตาผมเพราะผมรู้ว่าผมต้องการอะไรจากพวกเขา คุณอาจจะหลงทางได้ถ้าไปเรียนแบบไร้จุดหมาย แต่ถ้าคุณมีจุดมุ่งหมายที่แท้จริง คุณก็จะสามารถจับจุด ทำตามสิ่งที่ครูสอนไป และเพ่ิมเติมความรู้ตามอย่างที่คุณต้องการ นั่นช่วยผมได้มากเลย เพราะผมเองก็ตกที่นั่งนั้นเหมือนกัน เหมือนอยากจะพูดภาษานั้นคล่องๆ แต่ผลสุดท้ายก็พบว่ามันไม่ใช่เรา ในตอนนั้นผมไม่รู้หรอกว่าเรียนจบมาแล้วจะเป็นอะไรต่อ....จริงๆ นะครับ ไม่ได้โม้ ผมเรียนรู้ไปอย่างช้าๆ แล้วผมก็ต่อสู้กับหลายสิ่งหลายอย่างรวมทั้งตัวเอง เพื่อในที่สุดจะได้มาซ่ึงวันนี้ มันคือการมุ่งมั่นแล้วก็ศรัทธา ถ้าคุณทำโน่นทำนี่พลาดไป มันอาจจะแย่ก็จริงนะ แต่คุณก็แค่ถอยหลังกลับแล้วเริ่มต้นใหม่"

สเติร์นสรุปท้ายในเรื่องเบิร์กลีว่า "หลักๆ ของผมก็คือการเล่นเพลงบรรเลง เรียนเรื่องกีตาร์ให้มากที่สุด ผมเรียนเรื่องการประพันธ์มานิดหน่อย ผมคงจะทำส่วนนี้ได้ดีเหลือหลายถ้าผมขยันทำอีกเยอะๆ แต่ยังไงก็ตามผมตั้งใจจะแต่งเพลงให้มากขึ้นต่อไปด้วยครับ"

ออกหมัดแรก

เมื่อสเติร์นอายุได้ยี่สิบสองปี เขาก็เริ่มเข้าร่วมวงครั้งแรกกับ บลัด สเว็ต แอนด์ เทียร์ส "ผมเรียนกับครูดีๆ สองสามคนในบอสตัน คนหน่ึงก็คือ มิก กู๊ดดริก และอีกคนคือ แพ็ต เม็ทธินี เชื่อไหม แพ็ตอายุสิบแปดแต่ผมอายุยี่สิบ เขามาสอนหนังสือแล้วแต่ผมยังเรียนอยู่ ผมไปพบเขา ถามเขาวว่าผมจะเรียนกับเขาสักหน่อยได้ไหม เขาบอก "เอาเลย มานี่ เล่นให้ผมดูซิ" ผมเล่น Autumn Leaves หรืออะไรประมาณเนี้ยกับเขา แล้วผมดันเล่นผิดโน้ต โคตรห่วยอ่ะ แต่เขากลับบอกว่าเยี่ยม เขารู้ตัวตนของผมจริงๆ ขนาดตัวผมเองยังไม่รู้เลยในตอนนั้น

"หลังจากนั้นสองปี เขาบอกให้ผมออกเล่นข้างนอกได้แล้ว แล้วบอกถึงสิ่งที่ผมต้องทำว่า ต้องเล่นให้มากขึ้นอีก พอเขาได้ยินเรื่องการออดิชันของวงบลัด สเว็ต แอนด์ เทียร์ส ก็ให้ผมไปออดิชัน บ็อบบี โคลัมบาย (มือกลอง) โทรมาบอกว่าอยากให้ผมไปลองทดสอบ แล้วบอกอีกว่าแพ็ตเป็นคนแนะนำผม ผมก็เลยไปลองดู ตอนนั้นเป็นช่วงที่ดีจริงๆ ทำให้รู้ว่ามันรู้สึกยังไงบ้าง ถึงแม้ผมแทบไม่อยากจะไปในตอนแรก แต่ก็ไปล่ะ และในที่สุดผมก็ได้รับโทรศัพท์จากพวกเขาบอกว่าผมผ่าน! ผมโคตรช็อคยังกะโดนเตะก้นแน่ะ คุณคิดดูนะ นักดนตรีเจ๋งๆ ทั้งนั้นน่ะ ทั้งบ็อบบีก็คนหน่ึงละ แล้วยังรอย แม็กเคอร์ดี ที่เคยเล่นกับแคนนอนบอล แอดเดอร์ลีย์ สารพัดเลยคุณ มาจากคนละที่คนละทางเลย



"ผมก็เลยเล่นอยู่นั่นราวๆ สองปีได้" สเติร์นเล่าต่ออย่างเมามันเลยทีนี้ "แล้วจาโค แพสโตเรียสก็เข้ามาร่วมวงด้วย นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมพบจาโคก่อนที่จะมาเจอกันที่เวเธอร์รีพอร์ตซะอีก บ็อบบีเป็นคนโปรดิวซ์งานชุดแรกให้จาโค และเมื่อรอน แม็กครัวร์ตัดสินใจลาออกจากวง จาโคก็เลยได้เข้าเสียบแทน ผมอายุยี่สิบสองในตอนนั้น ผมได้เรียนรู้อย่างมหาศาลเลย พวกเขาบอกว่าประสบการณ์ต้องเรียนรู้เอง นั่นให้อะไรหลายๆ อย่างกับผมทีเดียว

"หลังจากอยู่กับวงบลัด สเว็ต แอนด์ เทียร์สแล้ว ผมถึงกลับไปที่บอสตัน เล่นกิ๊กสไตล์บีบ็อปอยู่หลายที่กับเจอรี เบอร์กอนซี นักแซ็ก แล้วก็ไทเกอร์ โอโกชิ นักทรัมเป็ตที่เกินคำบรรยาย เขามีวงที่เล่นออกแนวฟิวชันและใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้ามากกว่านี้อยู่ด้วย บิล ฟริเซลก็เคยเล่นกับไทเกอร์เหมือนกัน ผมรู้จักกับบิลตอนที่ผมกลับมาบอสตัน รู้จักสโก (ชื่อที่เขาเรียกจอห์น สโกฟิลด์) นิดหน่อยด้วย เพราะเราเคยเรียนเบิร์กลีช่วงเดียวกัน แต่คนละชั้นปี เขาแก่กว่าผมปีสองปี"

ไมล์สสมัย

หลังจากเมามันส์กับกิ๊กทั่วบอสตันได้สักระยะ บิลลี ค็อบแฮม มือกลองชั้นนำคนหน่ึงของวงการ ก็โทรเรียกสเติร์นไปร่วมวงด้วยกัน เขาอยู่กับบิลลีได้ราวเก้าเดือน

"ผมได้ไปเดินสายกับบิล เอแวนส์ (นักแซ็กโซโฟน) ด้วย เขามาหาผมแล้วบอกว่า "นายรู้ไหม ฉันเล่นกับไมล์ส เดวิส" ผมก็ตอบกลับไปว่า "เออ ผมรู้สิ" แล้วเขาก็ตอบกลับมาทันทีว่า "ตอนนี้พวกเรากำลังทำอัลบัมกันอยู่ แล้วจะเริ่มออกทัวร์แล้ว ถ้ามือกีตาร์คนปัจจุบันเขาไม่ไหว ฉันจะแนะนำนายเข้าไป" แบรี ฟินเนอร์ตีคือมือกีตาร์ที่บิลกล่าวถึง ไม่ใช่ว่าเขาเล่นไม่ดีหรอกครับ แต่บางทีด้านความสัมพันธ์ส่วนตัวอาจจะไม่เวิร์ค มันไม่ “คลิก” กันไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แล้วบิลก็พาไมล์สมานิวยอร์ก ซ่ึงเป็นที่ที่ผมเล่นกับบิลลีอยู่ ไมล์สก็มาหาผมที่นี่ เขาตะโกนเรียกบิลลีตอนที่พวกเรากำลังเล่นอยู่นั่นแหละ และทันใดนั้นเอง มือกลองเราก็หายไปเฉยเลย แต่เราก็ยังเล่นต่อกันเฉย ไมล์สบอกบิลลีว่า "ช่วยบอกมือกีตาร์ให้ไปพบผมที่สตูดิโอบี ที่โคลัมเบีย พรุ่งนี้หกโมงนะ" นั่นล่ะครับที่มา"

แล้วอย่างสเติร์นน่ะรึจะไม่ไปตามคำขอของ The Prince Of Darkness??? "ผมก็เลยไปหาเขา แล้วเล่นเพลงเพลงหน่ึงที่พวกเขาไม่เคยเล่น แล้วอีกสัปดาห์หนึ่งเราก็เล่นอีกเพลงหน่ึงที่เป็นตอนจบเพลงในอัลบัม Man With The Horn ตอนนั้นเขายังไม่ได้ตั้งชื่อเพลงด้วยซ้ำ แต่ในเพลงนี้มีท่อนโซโลกีตาร์ที่ยาวสะบัด แล้วไมล์สก็ชอบมาก เขาเลยตั้งชื่อเพลงนี้ว่า Fat Time ซ่ึงเป็นชื่อเล่นที่เขาเรียกผม หน่ึงคือตอนนั้นผมอ้วนยังกะผู้หญิงท้องแน่ะ ก็คนมันดื่มจัดน่ะนะ หลังจากนั้นเป็นต้นมาผมเลยต้องจัดการกับการดื่มของตัวเองซะใหม่ ผมเลิกเหล้าไปราวยี่สิบปีได้มั้ง และสอง เขาก็ยังเรียกผมว่าแฟ็ต ไทม์อยู่ดี เพราะเขาบอกว่าก็ผมเคยอ้วนนี่นา....นั่นแหละครับ

"ผมว่าถ้าให้ผมบอกว่าตัวเองมีอะไรดีล่ะก็นะ....น่าจะเป็นเซ้นส์ในเรื่องจังหวะของผม ผมสามารถจับจังหวะและเล่นตามได้ดี มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องวิชาการอะไรหรอก แต่ผมหมายถึงการจับจังหวะที่ถูกต้องน่ะครับ สิ่งนี้แหละที่ทำให้ผมรักดนตรีแจ๊ซ มันคือจังหวะดนตรี เวลาเล่นแล้วผมมีความสุข หากเล่นมันส์ได้ที่ผมก็ยิ่งอินเข้าไปใหญ่ แล้วผมก็ดีใจที่เพลงของไมล์สทำให้ผมรู้สึกอย่างนั้นได้ เขานี่สุดยอดจริงๆ"



สเติร์นเล่าต่อว่า "พอเขาใช้ชื่อผมตั้งเป็นชื่อเพลง ผมก็เหวอสิครับ แต่เขาก็บอกว่า "เอาละ ออกไปเล่นโชว์ข้างนอกกันดีกว่า" ผมก็เลยบอกว่า "อ้าว แล้วใครจะเล่นคีย์บอร์ดส์ล่ะครับ?" เขาทำผมตะลึงอีกหนด้วยการบอกว่า "ไม่มีหรอกคีย์บอร์ดสน่ะ มีแต่นายเท่านั้นแหละ" ผมก็...แบบว่า โอ้โห เขาบอกว่า "ไม่ต้องกังวลไปหรอก" ผมได้ยินเท่านั้นแหละครับ สิ่งที่เขาต้องการคือไม่ต้องมีคอร์ดซับซ้อนมากมาย ซาวด์ไม่ต้องเต็มมากนัก แต่สิ่งที่ได้กลับมาคืออารมณ์ ผมเล่นอยู่กับไมล์ส, มาร์คัส มิลเลอร์, อัล ฟอสเตอร์, บิล เอแวนส์ และมิโน ชิเนลูประมาณสามปี แล้วก็ออกอีกสองอัลบัมคือ We Want Miles กับ Star People

เริ่มฉายเดี่ยว

ปี 1983 เป็นปีที่เขาเริ่มออกอัลบัมเดี่ยวชุดแรก Neesh สเติร์นเล่นกับ สเต็ปส์ อะเฮด และกลับมาเล่นช่วงสั้นๆ กับไมล์สอีกครั้งในปี 1985 เขาเซ็นสัญญากับค่ายแอตแลนติก ซ่ึงเป็นค่ายคู่บุญคู่บารมีกันมาตลอดสิบหกปีกับงานสิบอัลบัม โดยมากงานของเขามักจะเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ มีบ้างเหมือนกันที่เอางานสแตนดาร์ดมาทำ อย่างอัลบัม Standards and Other Songs (1992) และ Give And Take (1997) เขาเริ่มต้นค้นหารอยต่อระหว่างแจ๊ซกับร็อคอย่างจริงๆ จังๆ ในอัลบัมหลังนี้

งานชุด Jigsaw (1989), Is What It Is (1993) และ Play (1999) เห็นได้ชัดว่าเขาจับคู่ทั้งกับบิล ฟริเซลและจอห์น สโกฟิลด์ ทั้งยังมีพัฒนาการในการเขียนเพลงอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ประกอบกับธีมบีบ็อปกับจังหวะที่ร่าเริงขึ้น และลุ่มลึก ในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 เขายังร่วมเล่นกับบ็อบ เบิร์ก, ออกทัวร์กับไมเคิล เบร็กเกอร์ และร่วมฟื้นฟูวงเดอะ เบร็กเกอร์ บราเธอร์ส ในปี 1992 ด้วย งานโซโลอัลบัมของสเติร์นนั้นเรียกได้ว่า "เวิร์ก" พอๆ กับการเป็นแขกรับเชิญในอัลบัมของเพื่อนๆ เป็นร้อยอัลบัมทีเดียว

ในช่วงเวลาหลายปีที่สเติร์นได้ร่วมเล่นกับนักดนตรีติดอันดับแจ๊ซร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นไมเคิล เบร็กเกอร์, เดวิด แซนบอร์นและเคนนี การ์เร็ต ในสายนักเป่าแซ็กโซโฟน จาโค แพสโตเรียส, วิล ลี, วิกเตอร์ วูเต็นและริชาร์ด โบนา ในสายนักเบส ปีเตอร์ เอิร์สกีน, เดนนิส แชมเบอร์สและวินนี โคไลทา ในสายมือกลอง อีกหน่ึงคนที่ขาดไม่ได้ซ่ึงสเติร์นร่วมงานมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน นั่นก็คือมือคีย์บอร์ดและโปรดิวเซอร์คู่บุญ จิม เบิร์ด "ผมว่าเขาตลกนะ เป็นทั้งนักดนตรีทีื่เยี่ยมยอด แถมโปรดิวซ์เฉียบขาด เขารู้เสมอว่าตอนไหนต้องปล่อยไป ตอนไหนต้องเล่น เขารักษาระดับตรงนั้นได้ดีมาก"

สเติร์นไม่เหมือนกับแพ็ต เม็ทธินีตรงที่เขาจะมุ่งมั่นกับงานออกแสดงสด แต่แพ็ตจะมุ่งหาประสบการณ์อันแปลกใหม่จากการเข้าสตูดิโอบันทึกเสียงมากกว่า เขาพยายามจะทำงานสตูดิโอให้สดราวกับเล่นคอนเสิร์ตอยู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

"เพลงของผมส่วนมากจะบันทึกเสร็จภายในสามวัน ไม่รวมเวลาซ้อมอีกสี่วัน แล้วก็ค่อยมาโปรดิวซ์ทีหลัง แต่ไอเดียคือว่าคุณจะเหมือนได้อารมณ์ผสมผสานกันระหว่างทำงานอยู่ในห้องอัดกับแสดงสด ผมว่าตามธรรมดาแล้ว อะไรมันก็เหมือนเล่นสดอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าคุณจะไปแก้ไขซาวด์อีกหรือเปล่าเท่านั้น แต่ผมชอบอารมณ์แสดงสดนะ มันเป็นอะไรที่ไม่สามารถมาหลอกกันได้ อารมณ์ระหว่างนักดนตรีมันส่งถึงกัน ผมชอบตรงจุดนี้มาก"

ทีละก้าวกับก้าวกระโดด

ขณะท่ีสเติร์นได้แสดงฝีมือการเขียนเพลงและเล่นดนตรีอันมีพัฒนาการไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในช่วงระยะเวลายี่สิบปีที่ผันผ่าน ทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีเมื่อปี 2001 จากอัลบัม Voices ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของเขา ด้วยการร่วมงานกับนักพหุดนตรีชาวแคเมอรูนอย่าง ริชาร์ด โบนา เป็นครั้งแรก เขาได้รับอิทธิพลในด้านเวิลด์มิวสิค มาจากเลนนี ภรรยาของตัวเองเหมือนกันตัวเลนนีเองก็เป็นมือกีตาร์ที่ประสบความสำเร็จ เพียงแต่อยู่คนละสายกับสามี

สเติร์นกล่าวถึงเลนนีว่าเธอให้อะไรๆ กับเขามากมายทีเดียว "เธอชอบฟังเวิลด์มิวสิคทุกแขนงเลย ไม่ใช่แค่ฟังแต่แจ๊ซ พอตื่นเช้าขึ้นมา เธอก็จะมานั่งเคาะแทมบูราไปแล้วก็ร้องเพลง เธอเคยไปเรียนดนตรีอินเดียมาด้วยนะครับ ซ่ึงผมก็นั่งฟังเธอทุกเช้าเหมือนกัน เธอชอบมากครับ มีแผ่นของ Nusrat Fateh Ali Khan ด้วยนะ โคตรเจ๋งเลย

"บางทีผมก็เขียนเพลงได้จากการฮัมระหว่างที่นั่งเล่นกีตาร์ เนื้อร้องมักจะหลั่งไหลออกมาโดยธรรมชาติตอนนั้น จริงๆ แล้วผมก็ชอบในส่วนการร้องเหมือนกัน คิดเรื่องนี้มานานแล้วกว่าจะมาลงตัวได้ เมโลดีบางท่อนของผมก็เหมือนกับการร้องเพลงจริงๆ นะ มันติดดินดีนะ แล้วผมก็คิดมาเสมอว่าอยากจะทำงานกับนักร้องเก่งๆ สักวันหน่ึง แล้วริชาร์ด โบนาก็ทำให้ผมมั่นใจขึ้นมาได้ เขาช่วยผมอย่างมากเลยในภาคเสียงร้อง เพราะก็อย่างที่รู้ๆ ว่าผมไม่เคยทำ เขาบอกผมว่า "นายก็ลองดูเหมือนกับที่นายเขียนมันขึ้นมา ฉันจะร้องเอง แล้วก็หานักร้องมาเพิ่มอีกสักสองคน" นี่แหละครับผมก็เลยได้ทำงานอัลบัม Voices สมใจ"

These Times

ต่อเนื่องจากความสำเร็จของ Voices สเติร์นก็ต้องแปลกใจที่แอตแลนติกตัดสินใจหยุดการผลิตงานเพลงแจ๊ซทั้งหมด "ผมคุยกับโปรดิวเซอร์ อาห์เม็ต เอร์เตกัน เขาก็บอกผมตรงๆ ว่าผมเป็นศิลปินที่ดีสำหรับเขา แต่เขาไม่สามารถจะหาทางร่ำรวยจากอัลบัมของไมค์ สเติร์นได้เลย ยังไงก็ตามอาห์เม็ตก็เตรียมงบเล็กๆ ก้อนหน่ึงไว้ให้ผมเพื่อเป็นค่าอัดเสียงกับโปรโมชัน เขาบอกว่าเป็นเรื่องของ AOL ที่จะเข้าควบรวมกิจการกับไทม์วอร์เนอร์ ส่วนงานของแอตแลนติกถูกส่งผ่านมาจัดจำหน่ายผ่านวอร์เนอร์, อีเล็กตรา, อะไซลัม ถึงแม้ว่าตอนนี้วอร์เนอร์จะพยายามตีตัวออกห่างจากเอโอแอล แต่บอกได้เลยว่าตอนนี้แอตแลนติกไม่มีเพลงแจ๊ซแล้ว"



การทำงานกับค่ายเพลงใหม่เชื้อสายเยอรมัน ESC Records คราวนี้ สเติร์นเพิ่งได้่ทำงานออกมาอัลบัมเดียวคือ These Times ซึ่งมีส่วนต่อเนื่องกับ Voices ความเข้มข้นของภาคดนตรีจากฝีมือการเขียนของสเติร์นจะมีมากกว่า ถึงแม้ว่าเพลงร้องจะมีถึงครึ่งอัลบัมก็ตาม "ผมไม่อยากทำอัลบัม Voices อีก ผมจะได้บอกได้ว่า เออ นี่เป็นอัลบัมเพลงของผมที่มีเสียงร้องไง ตอนนี้ให้ผมกลับไปทำเพลงบรรเลงต่อละกัน ผมอยากทำอัลบัมร้องสักสองอัลบัมเป็นอย่างน้อย แต่ผมก็มีเพลงบรรเลงที่ต้องทำอีกเยอะเลยในชุดนี้ ผมคิดว่ามันออกมาดีกว่า เพราะผมได้ประสบการณ์ในการเล่นมาพัฒนางานอีก"

สเติร์นได้วิล ลี มือเบสกลับมาร่วมงานด้วยกันอีก เขาเป็นคนใส่ลวดลายมให้กับงาน Is What It Is "วิลนี่มันน่าท่ึงจริงๆ ผมรู้จักเขามาตั้งโกฏปีแล้ว เขาแทบไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองอะเมซซิงขนาดไหน เขาวาดลวดลายโคตรมันส์ ผมก็มันส์ตามไปด้วย เขาเป็นนักดนตรีที่เก่งรอบด้าน แล้วก็ไฟแรงอยู่ตลอดเวลาเลย"

ส่วนนักร้องเอลิซาเบธ คอนโตมานูก็เป็นนักร้องหลักในอัลบัมนี้ เช่นเดียวกันกับริชาร์ด โบนา ทั้งสองคนนี้ก็มาจากอัลบัม Voices "ผมว่าริชาร์ดเขาทำงานล้ำหน้าตลอด ผมจะมีไอเดียในหัวเลยว่าจะให้เขาร้องตอนไหน อย่างเช่นเพลง Silver Lining ผมว่ามันร้องโคตรยาก แต่เขากลับร้องออกมาได้สบายบรื๋อ แถมตรงกับที่ผมต้องการ ผมแค่ให้ไกด์เขาไปสั้นๆ ว่าอยากจะใช้เครื่องแปดแทร็คก็ได้นะ เสียงของเขาออกมาแปลกมากเลยครับ พอรวมกันครบทุกแทร็คแล้ว เจ๋งมาก เกินจะบรรยาย"

ส่วนศิลปินคนอื่นๆ ในอัลบัมรวมทั้งเบลา เฟล็ค นักแบนโจ และเพื่อนๆ วงเดอะ เฟล็คโทน, วิกเตอร์ วูเต็น มือเบส, วินนี โคไลลา ภาคริธึ่ม กับเดนนิส แชมเบอร์ส ที่มาร่วมบรรเลงด้วยในเพลง Remember ซ่ึงเพลงนี้อุทิศให้แก่บ็อบ เบิร์ก ส่วนทีมเครื่องเป่านั้นบรรเลงโดย เคนนี การ์เร็ต, บ็อบ มาแล็ค และ บ็อบ ฟรานเชสคีนี อันเป็นทีมประจำในการแสดงคอนเสิร์ตของสเติร์นอยู่แล้ว

ก้าวเดินด้วยลำแข้งของตัวเอง

สเติร์นเล่าเกี่ยวสไตล์การทำงานของตัวเองว่า "จริงๆ ผมไม่ใช่คนที่มีโปรเจ็กต์มากมาย เสร็จอันนี้ก็ทำอันนั้นต่อ ผมไม่ชอบทำอะไรลวกๆ ผมอยากจะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า แล้วผมจะได้มีความสุขในการทำงานด้วย แล้วก็มีเพื่อนร่วมงานที่ให้เวลากับผมเต็มที่ ไม่ใช่เข้าสตูดิโอสองชั่วโมงก็ต้องเผ่นซะแล้ว ผมทำงานชิ้นหน่ึงไปเมื่อปีกอน อัลบัม 4 Generations Of Miles ไม่ใช่งานของผมหรอก แต่ผมโคตรชอบ คือมันอัดสดเลยไง เราซ้อมกันด้วยนะ ซ้อมกันยี่สิบนาทีเอง แล้วก็ไปเล่นที่คลับ อัดกันที่นั่น ผมดีใจมากที่ได้เล่นกับรอน คาร์เตอร์ นักดนตรีที่ผมรัก แล้วก็มี จอร์จ โคล คนนี้เล่นเจ๋งแบบไม่น่าเชื่อเลย แล้วอีกคนก็จิมมี ค็อบ งานออกมาน่าพอใจมาก มันมีพลังในตัวเองจริงๆ การอัดแผ่นการแสดงสดเป็นสิ่งที่ผมชอบทำ



"มันก็ไม่ได้แตกต่างจากการทำอย่างอื่น แค่มีความพยายามหน่อย แล้วก็เวลาที่ได้รับแรงผลักดันอะไรมา ก็เขียนออกมา อย่าไปคิดว่าต้องดีหรือไม่ดี แค่ทำออกมาก่อนแล้วเดี๋ยวก็รู้ผลเอง นี่เป็นคำสอนที่มีค่ามากสำหรับผม หากคนฟังแล้วไม่ชอบ คุณก็เขียนใหม่ ดังนั้น ผมเลยคิดว่าต้องเล่นให้คนอื่นฟัง ไม่งั้นก็ไม่ได้รู้หรอก"

เป็นคติในการทำงานของสเติร์นที่น่ายกย่องโดยแท้

ในอนาคต

ส่วนเรื่องวันข้างหน้านั้น สเติร์นก็พอจะมีแผนกับเขาบ้างแล้ว "งานหน้าผมอยากจะทำกับเอลวิน โจนส ์ ผมเคยเล่นกับเขาตอนที่ทำอัลบัมของลิว โซลอฟ เป็นการทำงานที่สนุกมากสำหรับผม ชิงไหวชิงพริบกันตลอด เขาเป็นแบบอย่างมือกลองที่ผมชอบเลยนะ แนวทางของเขากว้างดี ผมก็เลยอยากจะร่วมงานดู ถ้าเขาเล่นให้ผม อืม..ไม่รู้สิ มันคงจะมันส์น่าดู"


เบลา เฟล็คเป็นอีกคนที่สเติร์นอยากจะทำงานด้วย "จากที่เขามาเล่นให้ผมเพลงหน่ึงในอัลบัมที่แล้ว เราก็เล่นกันไปเรื่อยเลยครับ แล้วเขาก็เกิดคิดได้ท่อนหน่ึง ซ่ึงมันแจ๋วจริง คุณคิดดูมันจะสุดยอดขนาดไหน ถ้าผมได้เอลวินกับเบลามาเล่นให้เนี่ย! อ้อ ผมยังมีอีกนะ เฮอร์บี แอนค็อกกับเวย์น ชอร์เตอร์ เป็นอีกสองคนที่ผมอยากจะเล่นด้วย"

ในขณะเดียวกับสเติร์นก็ยังคงใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม เขายังคงแกะท่อนโซโล แล้วยังเรียนทฤษฎีดนตรีกับชาร์ลี บานาคอส

"ผมว่าความรู้ผมมันชักถดถอย" โอ...พ่อหนุ่มสเติร์นนี่ช่างถ่อมตัวเสียจริงๆ "ก็ตลาดดนตรีปัจจุบันมันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คุณก็จะพบว่าตัวเองเป็นแค่เม็ดทรายเม็ดเดียวบนผืนหาด แต่ผมชอบครับ ถ้าไม่ยอมแพ้ซะอย่าง คุณก็จะตระหนักว่าดนตรีนั้นมันมหาศาล เรียนรู้แทบไม่หมด แม้จะเกิดมาสักสิบชาติก็ตาม ผมก็ได้แต่ตามมันให้ทัน ฝึกฝนพัฒนาตัวเองให้มีเอกลักษณ์ คุณอาจจะหลงทางไปบ้าง แต่ถ้าเป็นผม...ผมฝึกฝนทุกๆ วัน เล่นทุกวัน" ได้ยินอย่างนี้แล้ว นักดนตรีอีโก้คนไหนยังคิดว่าตัวเองเก่งล่ะก็.... แย่แน่ๆ

"ผมนับถือนักดนตรีทุกคนที่เล่นดนตรีด้วยจิตวิญญาณ ไม่ใช่แค่มาแยกแยะแนวเพลงนั้น แนวเพลงนี้ ดนตรีก็คือดนตรี ทำดนตรีให้จับจิตใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมได้จากการทำงานกับไมล์ส บางทีเราออกไปข้างนอกด้วยกัน เขาจะพูดถึงตอนที่เขาเล่นกับชาร์ลี พาร์เกอร์ ดูเขาตื่นเต้นที่ได้คุยเรื่องนี้ เสร็จแล้วเขาก็จะคุยเรื่องตอนที่เขาได้ดูจิมี เฮนดริกซ์เล่นเป็นครั้งแรกนั้น เขาเหวอขนาดไหน เขาไม่ได้คิดแค่ว่าเพลงเจ๋งๆ ต้องมีคอร์ดมึนๆ เยอะๆ เท่านั้นหรอก เขาก็เป็นของเขาอย่างนี้แหละ ผมว่ามันเป็นเรื่องทัศนคติและความรู้สึกมากกว่า ไมล์สเล่นดนตรีจากหัวใจ และเขาก็ใช้หัวใจฟังดนตรีเหมือนกัน"

ไมค์ สเติร์น ชายหนุ่มนักกีตาร์ที่มาพร้อมๆ กันทั้งแจ๊ซ, ร็อค และบลูส์ อันเป็นประสบการณ์ทางดนตรีชั่วชีวิตของเขา ซ่ึงได้แผ่นขยายกลายเป็นอิทธิพลให้กับมือกีตาร์รุ่นใหม่ๆ แต่ก็ยังไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาฝีมือและความสามารถในทุกๆ ด้านของตัวเอง แต่ไม่ว่าจะเรียนทฤษฎีมากมายแค่ไหน เขายังคงปักหลักยึดมั่นอยู่กับอารมณ์ของดนตรีมากที่สุด เรียกว่าเป็นนักดนตรีที่ใช้สมองทำงานรับใช้อารมณ์อย่างแท้จริง

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:03:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 3  
 
John Scofield ( คนนี้ผมชอบมาก อ่ะในที่สุดก็ได้ประวัติแกมาก )


จอห์น สโกฟิลด์ ชื่อนี้คงจะเป็นที่คุ้นหูคุ้นตานักฟังเพลงแจ๊สไม่ว่าจะมือใหม่มือเก๋ารุ่นไหนก็ตาม บนเว็บไซต์ของจอห์น มือกีตาร์ผู้เคี่ยวกรำฝีไม้ลายมือมากว่าสองทศวรรษนี้ได้เขียนข้อความสั้นๆไว้ถึงผลงานของเขาสองชุดหลังที่จัดจำหน่ายโดยเวิร์ฟ เรคคอร์ดส ซึ่งก็คือ En Route กับ Up All Night ใช้ชื่อว่า “704 คำง่ายๆ กับความเป็นมาของข้าพเจ้า” เขาบรรยายชีวิตการเป็นศิลปินของตัวเองเอาไว้ ตั้งแต่ครั้งยังทำงานเพลงฟิวชันแจ๊สกับบิลลี ค็อบแฮมและไมล์ส เดวิส ไปจนถึงการทำงานอันทรงพลังกับค่ายแกรมมาวิชัน, บลูโน้ต และเวิร์ฟในช่วงเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา เขาเล่าเรื่องราวอิทธิพลทางดนตรีที่ได้รับ ซึ่งมันได้ช่วยพัฒนาความสนใจทางดนตรีของตัวเองไปในหลากหลายรูปแบบ จากจิม ฮอลและแพ็ต เม็ทธินี ไปจนถึงอัลเบิร์ต คิง, คาร์ลอส ซานทานา และเมอเดสกี มาร์ตินแอนด์วู้ด

นี่คือข้อสรุปของจอห์น

“สองปีที่ผ่านมา ผมได้ยินได้ฟังเพลงมากมายจากศิลปินรุ่นใหม่ฝีมือดีๆ ที่ทำให้ผมนึกย้อนไปถึงเพลงอาร์แอนด์บียุคทศวรรษที่ 60 ซึ่งผมชื่นชอบมากๆ ตอนนี้ผมกำลังนำเอาเพลงอาร์แอนด์บีพวกนั้นมาทำในแบบของผมเอง แน่นอน...ก็ต้องเป็นแจ๊ส ผมรู้สึกสนุกมากในการทำงานคราวนี้ เหมือนผมได้เรียนกีตาร์อีก หลังจากที่ผมได้เล่นกับศิลปินในดวงใจหลายๆ คน ผมก็ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินรุ่นใหม่ๆ แล้วก็มีความสุขในการเขียนเพลงและเล่นดนตรีอย่างที่เคยเป็น”

บทสัมภาษณ์จอห์น สโกฟิลด์ต่อไปนี้ ดูเหมือนว่าเขาจะย้อนกลับไปมองหาแรงบันดาลใจเก่าๆ ของตัวเอง หยิบมันกลับมาผสมผสานให้เข้ากัน กลายเป็นทิศทางใหม่ๆ ทางดนตรี ซึ่งนำไปสู่ความเป็นผู้นำทางดนตรีที่เขาเป็นมาโดยตลอด

“หลังๆ มานี้ผมได้เปลี่ยนทิศทางในการทำงานมาตลอด ผมได้เล่นวงสามชิ้นกับสตีฟ สวอลโลว์ (เบส) และบิล สจวร์ต (กลอง) เมื่อปีที่แล้ว ที่ผมทำงานนี้ก็เพราะว่าเราได้ออกอัลบัมแสดงสดออกมา แล้วก็เพราะว่าผมชอบงานนี้มากๆ นอกจากนั้นพวกเราก็กำลังจะออกตระเวนเดินสายแสดงสดกันที่ยุโรปแบบวงสามชิ้นในช่วงใบไม้ร่วงนี้ ส่วนผมเองก็กำลังจะไปทัวร์ยุโรปเหมือนกันตอนหน้าร้อนนี้กับบิล แต่มือเบสเป็นเดนนิส เออร์วิน แล้วยังมีคริส พ็อตเตอร์มาเล่นแซ็กให้หลายๆ นัดด้วย

“ตอนนี้ผมก็กำลังทำงานออร์เคสตราด้วย ชื่อว่า Scorched มาร์ก แอนโทนี เทอร์เนจทำด้วยกันกับ เขาเป็นนักออร์เคสตราแล้วก็ประพันธ์ร่วมด้วย เป็นชิ้นงานที่ผมเขียนขึ้นเองทั้งหมด แต่มาร์กจะเป็นคนปรับเปลี่ยนมันให้มาเป็นชิ้นงานออร์เคสตราในแบบสตราวินสกี เราก็บันทึกเสียงไปบ้างแล้วกับค่ายดอยช์ แกรมโมโฟน ว่าจะไปแสดงสดในยุโรป ตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้าโน่น กับวงสก็อตติช เนชันแนล ออร์เคสตราครับ”

ดูความไฮเปอร์ของนายจอห์นเขาแล้ว ดูเหมือนว่าอะไรๆ ก็จะหยุดไม่อยู่เสียแล้ว เพราะทั้งออกทัวร์ แถมเขาก็ยังมีเวลามาอัดเสียงอีกด้วย

“จริงๆ แล้วผมก็เพิ่งจะทำอัลบัมเสร็จไปชุดหนึ่งกับเพื่อนนักดนตรีอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเพลงของเรย์ ชาร์ลส ชื่อชุด That’s What I’d Say มีนักร้องหลายคนมาร่วมงานด้วยครับ มีทั้งด็อกเตอร์จอห์น, เมวิส สเตเปิลส์, จอห์น เมเยอร์, เอรอน เนวิล ผมได้แลร์รี โกลดิงส์มาเล่นออร์แกนให้ด้วย วิลลี วีคส์เล่นเบส แล้วก็วอร์เรน เฮย์นสมาช่วยเล่นกีตาร์ด้วย แล้วก็ยังมีเดวิด แฟ็ตเฮด นิวแมน ซึ่งเป็นสมาชิกเก่าในวงของเรย์ ชาร์ลสมาเล่นด้วยอีกต่างหากในส่วนของเครื่องเป่า ชุดนี้มันเป็นงานอาร์แอนด์บีแจ๊สอัลบัมจริงๆ นะเนี่ย ออกไปแล้วในเดือนมิถุนายน แล้วชุดต่อไปของผมก็เดือนกันยายน ผมกำลังรวบรวมเพื่อนๆ มาเล่นด้วยกันอยู่ จริงๆ แล้วมันก็รวมตัวกันยากเหมือนกันนะ ตอนนี้ผมก็เลยหาพวกนักดนตรีรุ่นใหม่ๆ มาเล่นกัน ก็กำลังทำอยู่ครับ”

แน่นอนว่าจอห์นนั้นมักจะเป็นที่รู้จักในแง่การสรรค์สร้างงานเพลงมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการจังคู่เล่นกับแจ๊สเทรดิชันระดับตำนานอย่างเจอร์รี มัลลิแกน, เช็ต เบเกอร์, เจย์ แม็กแชนน์, ชาร์ลส มิงกัส และฟิล วู้ดส์ หรือว่าจะเป็นสายฟิวชันอย่างวงของบิลลี ค็อบแฮม, ไมล์ส เดวิสในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 ซึ่งตอนนั้นไมล์สเองก็กำลังพังกำแพงกั้นแบ่งแยกดนตรีอยู่ หรือการพัฒนาการเล่นแจมกับวงดนตรีอย่างเมอเดสกี, มาร์ติน แอนด์วู้ด และวอร์เรน เฮย์นส, กอฟต์ มัล

จอห์นบอกว่า “อืม... ผมเริ่มต้นมาจากเพลงร็อคกับบลูส์นะ ผมเป็นคอบลูส์ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมเลยแหละ ตอนอายุ 16 ก็เริ่มพยายามจะเล่นเพลงของบีบี คิงกับโอทิส รัชแล้ว บีบีกับฮาวลิง วูล์ฟนี่ผมชอบมากๆ แล้วก็เป็นประเภททุ่มเทเสียด้วยสิ แท้กระทั่งเลียนแบบด้วยการสวมแว่นดำก็เคยมาแล้ว พออายุสัก 17 ผมก็เริ่มหันเข้าหาบีบ็อป แล้วก็ชอบจริงจังขึ้นมา อยากจะเป็นมือกีตาร์แจ๊สตั้งแต่ตอนนั้น กีตาร์แจ๊สก็ซื้อตอนนั้น ตั้งหน้าตั้งตาเล่นบีบ็อปลูกเดียว แต่ผมเริ่มต้นมาจากเดอะ บีเทิลส์ แล้วผมเองก็ชอบเพลงโซลกับอาร์แอนด์บี หลังจากตกหลุมรักเพลงแจ๊สแล้ว ผมก็สนใจแต่เพลงเหล่านี้เท่านั้นเอง”

หลังจากเรียนจบมัธยมปลาย จอห์นก็เริ่มต้นการเรียนดนตรีอย่างจริงจังที่โรงเรียนดนตรีเบิร์กลีในบอสตัน ที่นั่นเป็นที่ที่เขาพบกับโจ โลวาโน ซึ่งกลายมาเป็นเพื่อนสนิทสุดๆ บนถนนสายดนตรีของจอห์นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากโจแล้ว อีกคนหนึ่งที่เขาได้พบ ณ ที่นี้ก็คือ สตีฟ สวอลโลว์ ซึ่งก็เป็นอีกคนที่เขาร่วมงานมาด้วยตลอด แล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของวงสามชิ้นของเขาตอนนี้ด้วย

“ผมพบสตีฟตอนปี 1973 เมื่อเขาเข้ามาสอนที่เบิร์กลี แล้วผมก็เรียนอยู่ที่นั่นด้วย แต่เขามาสอนแค่ปีเดียว เพราะจริงๆ แล้วเขาก็ไม่ได้อยากจะเป็นอาจารย์ เขาเป็นคนสำคัญในการเรียนรู้เรื่องดนตรีของผมอย่างมาก เราแจมกันมันส์สะบัด ผมบอกได้เลยว่าเขาคิดว่าผมเล่นใช้ได้ แต่ผมคิดว่าเขาน่ะสุดยอดเลย เราไม่ได้เล่นเป็นด้วยกันจริงๆ จังๆ ตอนนั้น จนผมพบกับแกรี เบอร์ตันเมื่อปี 1977 ซึ่งสตีฟเขาก็เป็นสมาชิกวงอยู่ด้วยเหมือนกัน แพ็ต เม็ทธินีลาออกจากวงของแกรีในตอนนั้น แล้วก็เริ่มทำวงของตัวเอง หลังจากนั้นสตีฟกับผมก็เริ่มเล่นวงสามชิ้นกับเขาในช่วงปี 1979 เริ่มจากตรงนั้นจนกระทั่งทุกวันนี้”

สตีฟก็เป็นนักสร้างสรรค์ที่ทำงานอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเสียงเบสให้กับวงของจอห์น และเขาเองก็เป็นหนึ่งในนักเบสที่หันมาเล่นเบสไฟฟ้า จอห์นพูดถึงสตีฟว่า “เขาเล่นอะคูสติกได้เสียงที่อบอุ่น และเมื่อเขาใช้ปิ๊กเล่น มันโคตรประหลาดเลยครับ ไม่มีใครเขาเล่นแบบนั้นกันน่ะ!! ที่มันเป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าเขาเริ่มเล่นเบสไฟฟ้าในสไตล์ล้ำหน้าไปก่อนที่คนอื่นจะเล่นเสียอีก ย้อนกลับมาที่ดนตรีแจ๊ส น้อยคนนักที่จะเล่นเบสไฟฟ้า สตีฟเลิกเล่นอะคูสติกเบสหันไปเล่นเบสไฟฟ้าเป็นคนแรกๆ เบสของเขาก็ไม่ธรรมดา เขาโมดิฟายด์มันจนออกมายากจะเปรียบกับของคนอื่นๆ และจริงๆ แล้วก็บอกได้ไม่เต็มปากนักว่าเขาทำเสียงของเบสไฟฟ้าเลียนเสียงอะคูสติกเบส หากแต่บอกได้ว่า เขาทำเสียงเบสเลียนเสียงอย่างอื่นได้หมดเลยดีกว่า แต่แจ๊สคือสิ่งที่เขานำเข้าร่วมด้วย เสียงแบบเทรดิชันของอะคูสติกเบสที่ใส่เข้าไป คือเสียงที่อบอุ่นแบบของเขานั่นแหละที่ทำให้แตกต่างจริงๆ

“ส่วนบิล สจวร์ต มือกลองนี่ ผมพบเขาเมื่อปี 1989 เขาเพิ่งเริ่มเข้ามาเล่นที่นิวยอร์กหลังจากเรียนจบคอลเลจ ตอนนั้นเขาเล่นกับโจ โลวาโน และโจก็กำลังจะมาร่วมเล่นกับผมเหมือนกัน ผมก็ได้ยินที่บิลเขาเล่น แล้วก็พลันคิดว่า โอ พระเจ้า มันเก่งเกินตัวจริงๆ ผมต้องเอาเข้ามาเล่นในวงให้ได้แล้วสิ นั่นเป็นสิ่งที่ผมคิดถึงแม้ว่าเขาจะอายุแค 24 เองก็เถอะ แต่อายุก็เป็นเพียงแค่ตัวเลข จริงไหมล่ะ พรสวรรค์ของเขานั้นไม่ต้องพูดถึงเลย มหัศจรรย์แค่ไหนเขาก็เล่นได้”

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกครั้งคราที่มีการสัมภาษณ์จอห์น ก็มักจะถูกถามถึงเมื่อครั้งที่เขาเล่นอยู่กับไมล์ส เดวิส แน่นอนว่ามันต้องเป็นประสบการณ์ล้ำเลิศของเขาอยู่แล้ว แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือการที่บิลลี ค็อบแฮม มือกลองในวงของไมล์สได้ลาออกจากวงและมาเริ่มต้นทำวงของตัวเอง แล้วจอห์นก็เป็นหนึ่งในวงนั้นเสียด้วยสิ

“ตอนนั้นเดือนมกราคม 1975 ที่ผมเล่นกับไมล์ส พอมองย้อนกลับไป ผมว่านั่นเป็นช่วงเวลาที่เปิดโลกของผมเข้าสู่อีกโลกที่แตกต่างเลยทีเดียว เป็นโลกของฟิวชันแจ๊ส ออกทัวร์คอนเสิร์ตตอนที่เล่นมหาวิษณุออร์เคสตรา, รีเทิร์น ทู ฟอร์เอฟเวอร์, เฮด ฮันเตอร์ของเฮอร์บี แฮนค็อก แล้วก็กับวงของบิลลีก็เป็นช่วงเวลาที่วิเศษสำหรับผมเหมือนกัน เราเล่นกันตามโรงมหรสพบ้าง งานโชว์ใหญ่ๆ บ้าง บางทีก็เล่นปะทะกับวงเก๋าๆ หลายๆ วง อย่างเวเธอร์ รีพอร์ตก็เคย วงของไมล์ส เดวิสกับเดฟ ลีบแมน และเรจจี ลูคัส แล้วช่วงนั้นมันก็เหมือนกับยุคสุดท้ายของพวกร็อคแอนด์โรล ฮิปปี กลิ่นอายของเลด เซพพลินก็ยังอบอวลอยู่ทั่ว ผมยังจำได้หลังจากที่จอร์จ ดุคมาร่วมวงกับบิลลี แฟรงค์ แซปปาก็มาวนเวียนด้วย เพราะว่าจอร์จลาออกจากวงของแฟรงค์นั่นเอง เราเคยเล่นกันบ่อยตอนอยู่แคลิฟอร์เนีย โดยเฉพาะแถวเบย์ แอเรีย ตอนที่เจอกับซานตานา แล้วก็ทาวเวอร์ ออฟ พาวเวอร์ ผมก็ยังจำได้เลย

“แต่ว่าในตอนปี 1974 ผมก็ยังไปๆ มาๆ อยู่ที่เบิร์กลี และก็ได้เพื่อนอย่างเดฟ ซามูเอลส์ มือไวเบรโฟน ตอนนั้นเขาสนิทกับเดฟ ฟรีดแมน นักไวเบรโฟนเหมือนกัน เขาอาศัยอยู่นิวยอร์กแล้วก็เพิ่งทำอัลบัมเสร็จสดๆ ร้อนๆ กับฮอเรซี อาร์โนลด์ อัลบัมชื่อว่า Tales Of The Exonerated Flea เขาก็เอาซามูเอลส์กับผมเข้าไปแจมด้วยในตอนที่เล่นกิ๊กเล็กๆ ตามคลับ กับฮอเรซีตอนที่ออกอัลบัมแล้ว เพราะว่าเขาเองก็มีงานรอเยอะแยะ เราก็ตื่นเต้นกันมากที่ได้เล่นกับนักดนตรีที่มีงานอัดเสียงด้วย ดังนั้น เราก็เลยขับรถไปเล่นกันที่บอสตันกับเขา แล้วมันก็โลกกลมจริงๆ ที่ว่าฮอเรซีเป็นเพื่อนกับบิลลี แล้วบิลลีเองก็เป็นคนดูแลการผลิตเดโมให้ฮอเรซีด้วย แล้วก็ยังช่วยเหลือให้ฮอเรซีต่อรองผลประโยชน์ทางธุรกิจอีก นั่นก็เป็นครั้งแรกที่บิลลีได้ยินเสียงกีตาร์ของผมเป็นหนแรก ผมก็เดาเอาว่าเขาคงชอบแหละ เพราะว่าพอตอนที่จอห์น แอเบอร์ครอมบี ลูกวงของเขาลาออกเพื่อไปเล่นกับแจ็ก ดิจอห์เน็ต บิลลีก็ให้ผมเล่นกิ๊กกับเขา ผมขับรถจากบอสตันไปนิวยอร์กเพื่อการฝึกซ้อมใหญ่ มีพี่น้องเบร็กเกอร์สมาทำหน้าที่ในส่วนของเครื่องเป่าด้วย ไมค์กับแรนดี (ไมเคิล และแรนดดี เบร็กเกอร์) เป็นฮีโรของผมเหมือนกัน ผมฟังพวกเขาเล่นในคลับกับฮอเรซ ซิลเวอร์ แถมยังมีแผ่นเสียงของพวกเขาครบทุกชุดด้วย ผมก็ได้เล่นกับพวกเขาโดยมีบิลลีเล่นกลอง มันช่างเป็นเรื่องมหัศจรรย์สำหรับผมจริงๆ นะ ผมได้เล่นกับเจอร์รี มัลลิแกน แต่เขาก็ไม่ได้ออกเล่นมากนักในช่วงนั้น บิลลีก็ยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลาเลยทีเดียว ดังนั้น พวกเราก็เลยมีปัญญาพอจะหาอพาร์ตเมนท์ในนิวยอร์กได้ เราออกทัวร์ยุโรปตอนแรกในช่วงใบไม้ร่วง เล่นกิ๊กที่ใหญ่หน่อย มันยอดเยี่ยมที่สุดแล้วครับ ผมยังคิดถึงตอนนั้นไม่หาย”

จอห์นพูดต่อเกี่ยวกับดนตรีของเขาว่า “ใครๆ ก็มักจะบอกว่าผมมักจะได้นักดนตรีหรือะไรดีๆ มาทำงานด้วยเสมอ ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมกลายเป็นคนที่คัดสรรแต่สิ่งที่ดีที่สุดเนี่ย ก็น่าจะเป็นเพราะว่าผมชอบดนตรีที่บิลลีทำ บางทีอาจจะไม่มากเท่าที่ผมชอบแผ่นของแจ็กกี แม็คลีนตอนนั้นก็ได้ แต่ผมก็ชอบจริงๆ นะ! มันเปิดโลกให้กับผมจริงๆ ทีเดียวเชียว มันทำให้ผมเจอะเจอกับทุกสิ่งทุกอย่างหลังจากนั้นเป็นต้นมา

“ผมมั่นใจแล้วก็อยากจะเล่นกับวงสามชิ้นวงนี้ต่อไปอีกเรื่อยๆ ล่ะครับ ผมก็ไม่แน่ใจว่าหลังจากแผ่นเพลงของเรย์ ชาร์ลสแล้ว ผมจะทำอะไรต่อไปอีก แต่ผมก็ยังอยากจะทำงานกับบิลและสตีฟต่อ ต้องลองมาดูกันต่อไปว่ากรอบต่อไปคืออะไรครับ”

แน่นอนว่าเราคงเป็นคนหนึ่งที่ติดตามผลงานของจอห์น สโกฟิลด์คนนี้ต่อไป และคงไม่ปฏิเสธว่าผลงานของจอห์นนั้นมีคุณภาพมาตรฐานที่คงเส้นคงวามาโดยตลอด แต่แค่นั้นยังไม่พอ เพราะด้วยความกระตือรือร้นอย่างที่เขาเป็นอยู่ เราคงจะได้ฟังผลงานที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:03:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 4  
 
งานของ Grant Green เล่นง่ายแต่แฝงด้วยอัจฉริยะทางเมโลดี้ ใครมีขอฟังบ้างน่ะ พอดีงาน jazz ผมมีเก็บ

แต่เทป หาเครื่องเสียงฟังยาก แต่สะสมไว้เยอะ ตอนนั้น เทป ม้วนล่ะ 80 บาท cd 1,200 บาท

( อ่านเสร็จ หลับตาสักครู่ อันตรายมาก การจ้องนานๆ ผมแสบตาหมดแล้ว )

แถมเซ็ทอัพของจอห์น สโคร์ ( แบบว่าชอบส่วนตัว )


Guitars

Ibanez AS200
John Scofield made this Gibson ES335 copy famous. It has been his main guitar since 1981 and has played it for over 2 decades. It's also the longest running guitar model in the Ibanez history. According to John the original Ibanez AS200 guitars from the early 80s were some of the best semi-acoustic electric guitars ever made. It's a very well made instrument and really balanced in tone from the highs to the lows. He uses the treble element with the highs rolled off.

John Scofield only uses D'Addario strings. The strings on his AS200 are a custom set: .013, .016, .022, .032, .042, .052.

John's signature guitars, the Ibanez JSM100 and JSM200, are based on the Ibanez As200. The JSM100 has a Prestige neck, a side output jack and super 58 pick ups.



Montalvo Flamenco Guitar


This nylon string flamenco guitar is especially designed by George Katechis Montalvo for Scofield's album Quiet.


Other Guitars

-a small-body 1941 Martin guitar (used on Groove Elation and I Can See Your House From Here)
-a Guild jumbo flattop
-Takamine NP 65-C



Guitar Amps

Sundown Amplifiers


John Scofield has got two old Sundown amps. Each one has a 12 inch speaker. Sundown amps were made by Dennis Kager, but are now out of production.



Mesa Boogie Mark I Reissue


A 100 watts guitar amp with a spring reverb and a 12 inch speaker.


Other Guitar Amps

-Vox AC3
-Mesa Boogie Mark III with E/V speakers


Guitar Effects


ProCo RAT Distortion Pedal
The RAT is a distortion pedal designed by Scott Richard Burnham who started ProCo in 1975. Scofield uses it to fatten up his sound. He uses just a little bit of distortion, but with the tone (filter) knob all the way up. He has 6 or 7 of the older RATs.

Bill Frisell also uses the RAT.

More information about the ProCo Rat reissue


Ibanez CS9 Analog Chorus
John uses this chorus pedal with both controls cranked open to get that typical Leslie effect.


Line 6 FM4 Filter Modeler
This modeler has got a collection of vintage filter and monophonic synth effects.

John uses the Line 6 expression pedal to control his line 6 gear.

More information about the Line 6 FM4 Filter Modeler


Line 6 DL4 Delay Modeler
A digital modeling pedal based on 15 vintage delay and echo effects.

This delay is also used by Bill Frisell.

More information about the Line 6 DL4 Delay Modeler


Other Guitar Effects

-Digitech XP100 Whammy/Wah
-Boss EQ Pedal
-Boss Loop Station
-Boomerang Phrase Sampler

Guitar Picks
John Scofield uses Dunlop Delrin 2mm picks.


   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:05:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 5  
 
แจ็สในรูปแบบใหม่นี้อาจเป็นเรื่องยากมากในการที่จะเข้าถึงมัน หลายๆคนก็ต่อต้านมันแต่อีกหลายคนก็ซึมซับมันอย่างอิ่มเอมราวกับเป็นงานศิลปะในแนว Abstract ชั้นเยี่ยม ทั้งนี้ทั้งนั้นแจ็สในแบบ Avant Garde – Free Jazz ผู้ฟังต้องอาจมีพื้นฐานทางดนตรีแจ็สหรือผ่านการฟังแจ็สมาพอสมควร เพื่อจะได้รับรู้กับอารมณ์ของผู้เล่น นักดนตรีที่โดเด่นในยุคนี้ก็คือ Ornette Coleman , John Coltrane , Albert Ayler ,Cecil Taylor เป็นต้น Fusion (1970) เมื่อย่างเข้าช่วงปลายยุค 60 กระแสดนตรีหลักที่มาแรงเป็นอย่างยิ่งเลยก็คือแนวเพลงร็อก ดนตรีร็อกถูกแพร่กระจายไปอย่างแพร่หลายหนุ่มสาวยุคบุปผาชนต้องการการแสดงออกถึงความอิสระเสรีทางความคิดของปัจเฉกบุคคล ทุกคนต่างใช้การแสดงออกผ่านเสียงเพลง นักดนตรีอย่าง Jimi Hendrix , The Who , The Beatles , Bob Dylan ต่างก้าวขึ้นมาเป็นแรงบัลดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ๆอย่างมากมาย แม้กระทั้งนักดนตรีแจ็สหัวก้าวหน้าอย่าง Miles Davis ที่กำลังต้องการหาแนวทางใหม่ๆให้กับดนตรีของเขา ซึ่งขณะนั้นเขากำลังสนใจดนตรีของ James Brown และดนตรีจังหวะร็อกต่างๆ ณ ช่วงเวลานั้นดูเหมือนว่า Miles กำลังสนใจในเสน่ห์ของเครื่องดนตรีไฟฟ้าเป็นอย่างมากและอีกทั้งเขายังได้มีโอกาสที่สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางดนตรีกับ Jimi Hendrix เลยทำให้เขาสนใจในดนตรีร็อกเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเห็นโอกาสที่จะทดลองเช่นนี้ Miles ไม่รอช้าแต่อย่างใด เขาตัดสินใจทิ้งเครื่องดนตรีอย่างดับเบิ้ลเบสหรือเปียโน เพื่อนำเอาเครื่องดนตรีอย่างเบสไฟฟ้าหรือคีย์บอร์ดและเขายังนำเอากีต้าร์ไฟฟ้าเข้ามาใช้ในงานด้วย ผลงานของ Miles ในครั้งนี้เขากลับมาพร้อมกลับการทิ้งจังหวะสวิงหรือเพลงที่ต้องมีคอร์ดที่เปลี่ยนอย่างมากมาย เขามาใช้คอร์ดเพียงไม่กี่คอร์ดและเปิดอิสระให้กับนักดนตรีอย่างเต็มที่โดยไม่ปิดกั้นแต่อย่างใด และเขาได้นำเอาจังหวะของร็อกมาใช้อย่างเต็มตัวจนทำให้เกิดอัลบัมชุดประวัติศาสตร์ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น In The Silent Way , Britches Brew เป็นต้น สองชุดนี้อาจเรียกว่าเป็นอัลบัมที่กำเนิดแนว Fusion Jazz อย่างแท้จริงก็ว่าได้ โดยครั้งนี้ Miles ได้รวบรวมลูกทีมขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจะเป็น Wayne Shorter , Joe Zawinul , Chick Corea ,John McLaughlin ,Herbie Hancock และ Michael Brecker และอีกมากมาย (ภายหลังนักดนตรีเหล่านี้เป็นผู้นำความคิดของ Miles ไปต่อยอดในแนวทางของตนอย่างมากมาย) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่ Miles ทำเช่นนี้ก็เกิดความไม่พอใจให้กับนักดนตรีหัวโบราณอีกมากมาย พวกเขาเหล่านั้นสาปแช่งและดูถูก Miles อย่างรังเกียจ ทุกคนต่างประณาม Miles ว่าเขาเป็นตัวทำลายความสวยงามของดนตรีแจ็สที่เคยมีอยู่ลงอย่างสิ้นเชิง แต่ทุกคนหารู้ไม่ว่ากระแสแนวเพลงหลักอีกหนึ่งสไตล์ของแจ็สกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว และแม้ว่าจะมีคนเกลียดมากเท่าไหร่ในทางกลับกันก็มีคนชอบมากขึ้นเท่านั้นเช่นกัน Fusion Jazz ของ Miles เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่นักศึกษาและเหล่าคนฟังเพลงร็อกและยังมีแฟนเพลงเก่าๆยังคงติดตามผลงานของเขาอย่างไม่ขาดสาย Smooth & Contemporary Jazz (1980) ในขณะที่ Miles กำลังประดิษฐ์คิดค้นเส้นทางเดินทางดนตรีในชั้นเชิงศิลปะของเขาอย่างไม่มีมีวันจบสิ้น ในมุมหนึ่งก็ยังมีนัดนตรีที่คิดว่าดนตรีแจ็สน่าจะถูกขยายฐานลงมาในวงกว้างขึ้นและแจ็สน่าจะเข้าไปถึงคนที่ฟังดนตรีป็อปต่างๆอีกด้วย โดยแจ็สในรูปแบบนี้ออกจะทำรายได้ในการขายทางการตลาดได้เป็นอย่างดี แจ็สแบบนี้เป็นดนตรีที่ฟังง่ายสบายๆมีการเรียบเรียงเพลงมาเป็นอย่างดี มีริทึ่มที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป บางครั้งมีการนำจังหวะของโซลและฟั้งกี้มาผสมและเมโลดีแบบเพลงป็อป แต่แจ็สในรูปแบบนี้ก็ยังคงได้รับแรงบัลดาลใจจากแนว Fusion Jazz อยู่ โดยความดีความชอบในครั้งนี้น่าจะยกผลประโยชน์ให้กับ Dave Grusin ผู้ซึ่งเป็นมือเปียโนฝีมือดีอีกคน เขาได้ร่วมกับ Larry Rosen ผู้ซึ่งมีความสนใจในด้านการบันทึกเสียงหรืออาจเรียกว่าซาวด์เอนจิเนียร์ก็ได้ โดยทั้งคู่ได้ก่อตั้งค่ายเพลงในแนว Smooth & Contemporary Jazz ขึ้น โดยตั้งชื่อว่า GRP นั่นเอง และยังมีค่ายเพลงในสไตล์นี้เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย แนวเพลงในสไตล์นี้เป็นที่นิยมกันนอย่างมากใน L.A และนักดนตรีที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลานี้ก็มี Chuck Mangione, John Klemmer, Earl Klugh, Spyro Gyra , George Benson , Lee Ritenour ,Larry Carlton , Bob James เป็นต้น Jazz In Present Day หากมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าแจ็สเป็นดนตรีที่มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับและต่อเนื่องและถูกแยกออกเป็นหลากหลายแขนง ปัจจุบันดนตรีแจ็สในแต่ละแนวก็ยังคงมีการพัฒนาการต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อนอีกทั้งยังมีนักดนตรีแจ็สหน้าใหม่ฝีมือดีเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย โดยแต่ละคนต่างก็กำลังคนหาแนวทางใหม่ๆของตนอยู่ แจ็สในแต่ละสไตล์ที่มีมาทั้งหมดในอดีตนั้น ในปัจจุบันก็มีนักดนตรีรุ่นใหม่ๆอนุรักษ์ไว้ และไม่ว่าในอนาคตจะผ่านไปอีกกี่สิบปีดนตรีแจ็สก็ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท้าจะสูญสิ้นผู้สืบต่อแต่อย่างใดและแจ็สยังคงที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองกับดนตรีแนวต่างๆได้ตลอดเวลา อย่างดนตรีในแนวดรัมแอนด์เบสหรือชิลเอาด์ที่ฮิตในปัจจุบันก็มีนักดนตรีอย่าง Miles เคยทำมาแล้วในยุค 80 ตอนปลายย่างเข้า 90 ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่าแจ็สสามารถเข้าไปอยู่ได้ทุกที่ อย่างไรก็ตามไม่ว่าแจ็สจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ก็คงไม่อาจมีผลต่อคนที่รักและชอบแจ็สแต่อย่างใดแน่นอน และไม่ว่าแจ็สในอนาคตจะออกมาเป็นอย่างใดเราก็คงต้องรอดูกันต่อไป

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:00:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 6  
 
John McLaughlin เทพแห่งกีตาร์แจ๊ซ

หากจะแบ่งแยกดนตรีของ จอห์น แม็กลอฟลิน แล้ว มันก็พูดได้ว่ายังกับการจับปูใส่กระด้ง เพราะตัวแม็กลอฟลินเองก็เป็นคนที่ไม่ค่อยนิยมจะนิยามคำว่าดนตรีอยู่แล้วด้วย เพราะดนตรีคือการเรียนรู้ ระยะเวลาเกินกว่า 40 ปีของการประพันธ์เพลงและแนวการเล่นกีตาร์ที่ค่อนข้างจะฉูดฉาดมีสีสัน ช่วยทำให้คนฟังเพลงอย่างพวกเราได้สดับฟังทั้งบลูส์, แจ๊ซ, ร็อค, แจ๊ซร็อค, ฟิวชัน หรอแม้แต่ดนตรีอินเดีย และคลาสสิก ดนตรีของเขานั้นเราอาจจะให้นิยามอะไรไม่ได้ แต่ก็เหมือนเทพเมอคิวรี มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก



มีภาษิตของฝรั่งมังค่าเกี่ยวกับการทำธุรกิจอยู่ภาษิตหนึ่ง เขาว่า “การทำธุรกิจนั้นต้องรู้จักสร้างบริษัท แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้นสำหรับนักธุรกิจก็คือการรู้จักแยกตัว” ในวันที่เศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ ภาษิตอาจจะถูกเปลี่ยนความหมายไปได้ง่ายๆ แต่ความหมายดั้งเดิมของมันนั้น หมายถึงว่าใครก็ตามที่รู้จักพลิกแพลง รู้จักการเล่นแร่แปรธาตุและปรับเปลี่ยน คนคนนั้นจะประสบความสำเร็จ อุปมานี้ก็เหมือนกับแม็กลอฟลินเองและดนตรีของเขา เขามีรากฐานที่แข็งแกร่งในแง่การเข้าถึงความง่ายงามของดนตรีอย่างลึกซึ้ง เขาได้ทลายกำแพงแห่งทฤษฎีและปฏิบัติของกีตาร์มาสร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นเยี่ยม เขาคือนักสร้างสรรค์ตัวจริง

แม็กลอฟลินทิ้งอดีตอันยิ่งใหญ่ที่ได้เข้าร่วมวงกับศิลปินระดับแม่เหล็กอย่าง แกรห์ม บอนด์ , จิงเจอร์ เบเคอร์ และ แจ็ก บรูซ เขาเดินเตาะแตะก้าวแรกของตัวเองด้วยการเข้าร่วมเป็นนักดนตรีนำกับโทนี วิลเลียมส์และไมล์ส เดวิส ส่วนมหาวิษณุ ออร์เคสตรา วงที่ยากจะหาที่เปรียบได้ของเขานั้น ก็ได้สร้างก้าวที่สองต่อมาด้วยการให้กำเนิดวงอินโดแจ๊ซอย่าง ศักติ และวงอะคูสติกนอกรอบ ที่เล่นกับ ปาโก ดิ ลูเชียและอัล ดิ มิโอรา ส่วนอีกปีกหนึ่งเขาก็ยังคงสยายออกกว้างเพื่อการทดลองเสียงกีตาร์ซินธ์ของเขา พร้อมด้วยการประพันธ์เพลงกีตาร์คอนแชร์โต ในไม่กี่ปีมานี้ เขาร่วมกับซาเกีย ฮัสซัน ได้ช่วยกันปรับปรุงบทเพลงในยุคก้าวที่สอง นั่นคือที่มาของอัลบัม Remember Shakti

แม็กลอฟลินได้สร้างสรรค์งานที่น่าจดจำขึ้นมาอีกอัลบัมหนึ่งภายใต้สังกัดเวิร์ฟ โดยให้ชื่อว่า Thieves and Poets ขณะที่มันแทบไม่มีกลิ่นอายของแจ๊ซที่แท้จริง การอิมโพไวส์ก็มีให้เห็นอย่างบางเบา เหมือนลมพัดผ่านคฤหาสน์แห่งดนตรีหลังใหม่ที่แม็กลอฟลินกำลังสร้างขึ้นมา เขาได้บันทึกเสียงอัลบัมใหม่นี้ด้วยอะคูสติกกีตาร์ตัวเดียวกับวงซิมโฟนี ออร์เคสตรา มันออกจะกว้างไปหน่อยแต่ใจความอยู่ที่ความเงียบสงบ และยังมีชิ้นงานที่เขาเล่นร่วมกับ Aighetta Guitar Quartet ผู้ได้รับอิทธิพลจากเขา สำหรับงานนี้ แม็กลอฟลินอุทิศให้กับนักเปียโนสี่คนและเพื่อนที่เป็นแรงบันดาลใจทั้งในด้านการงานและชีวิตส่วนตัว นักดนตรีผู้มีเกียรติเหล่านั้นคือ บิล เอแวนส์, เฮอร์บี แฮนค็อก, ชิก คอเรียและกอนซาโล รูบัลคาบา

สำหรับแฟนเพลงของแม็กลอฟลิน ก็ยังคงให้การสนับสนุนเหมือนเคย ไม่ว่าจะเป็นงานส่วนตัวของเขา หรืองานที่เขาไปเล่นให้กับเพื่อนมือเบสสายฟิวชันอย่าง มิรอสลาฟ วิตูส์ ร่วมกับ แจ็ก ดิจอห์นเน็ตและชิค คอเรีย นอกจากนั้นยังมีผลงานสมัยที่เขายังเป็นลูกหม้อของไมล์ส เดวิสนำมาออกวางจำหน่ายซ้ำ อย่าง Tribute To Jack Johnson ซึ่งได้บรรจุเอาเทคหลุดๆ ไว้มากมายหลายเพลงด้วยกัน ตามมาด้วยงานรีมาสเตอร์พร้อมเพลงพิเศษที่เขาเล่นกับเพื่อนรัก คาร์ลอส ซานตานาในอัลบัม Love Devotion and Surrender และถ้านี่ยังน้อยไปนะ เขาก็จะยังมีผลงานร่วมกับสหายเก่าซานตานาออกมาอีกเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะยังไม่รู้เวลาที่แน่นอนก็ตาม

ดูเหมือนแม็กลอฟลินก็จะดังไม่ใช่เล่น ขนาดผู้กำกับเงินล้านอย่างสตีเฟน สปีลเบิร์กยังไปชื่นชมเขาและไปร่วมชมคอนเสิร์ต Remember Shakti ทำให้เรานึกไปถึงงานเพลงประกอบภาพยนตร์ที่แม็กลอฟลินทำให้หนังสัญชาติยุโรปเรื่อง Molom เมื่อสองสามปีก่อน



“ครับ ตอนเล่นคอนเสิร์ตที่แวนคูเวอร์ ผมรู้สึกสนุกดีครับ แถมตอนนั้นก็มีคนทำหนังหลายๆ คนเลยที่เข้ามาพบผมหลังเวที บอกว่าอยากจะให้วงศักติไปทำไปทำเพลงให้กับหนังเรื่องใหม่ของพวกเขา ผมรู้สึกภูมิใจและยินดีมากครับที่พวกเขาไว้วางใจผมขนาดนี้ ก็มีหนังเรื่องอื่นที่คุยๆ กันอยู่เหมือนกันครับที่จะให้ทำงานให้ แต่ก็ยังไม่ได้ตกลงเป็นเรื่องเป็นราวอะไร แล้วตอนที่ผมเล่นที่ฮุสตัน ก็มีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งเข้ามาหาผม แล้วถามว่า “เพลงของคุณเยี่ยมมากเลยครับ คุณทำเพลงประกอบหนังรึเปล่า? ผมกำลังทำหนังเกี่ยวกับอนุภาคย่อยของปรมาณูอยู่” (หัวเราะ) ก็ดีครับ ผมก็อยากจะทำ ผมว่ามันเป็นสิ่งอัศจรรย์ แล้วก็จับใจผมจริงๆ”

แม็กลอฟลินเล่าเรื่องขำๆ ระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตให้ฟัง “แต่วงศักติทำให้ผมรู้สึกยอดเยี่ยมมากๆ เลยนะ มันแทบจะล้นออกมาเลย เหมือนกับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของผม แต่ตอนนี้มันก็ไม่ได้มีอยู่อีกแล้ว ผมไม่มีวันรับเสียงปรบมือขนาดนั้นจากคนดูแน่เลย”

แม็กลอฟลินยังคงพยายามจะไปฟังเพลงของมหาวิษณุ ออร์เคสตราที่มีวงรุ่นน้องๆ นำมาเล่นที่นิวยอร์ก แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ไปสักที คงไม่ต้องบอกว่าภาคภูมิใจขนาดไหนที่เพลงของเขา ซึ่งเขียนมานานหลายปียังคงได้รับความสนใจจากวงอย่าง มหาวิษณุ โปรเจ็กต์, โดฟส์ ออฟ ไฟร์, อิงก์แลนด์ส ไวลด์ สตริง ควอเต็ต, โกรนิงเก็น กีตาร์ ดูโอ, มือเบส ลูคัส พิกฟอร์ด และแกรี ฮัสบัน ที่กำลังทำงานทริบิวต์ให้มหาวิษณุ ออร์เคสตราอยู่

“แกรีเขาน่ารักดีครับ งานของคนเหล่านั้นเป็นเหมือนคำยกย่องให้กับผมทีเดียว ถ้าผมยังอายุน้อยกว่านี้ ผมคงพูดอะไรเยอะครับ แต่นี่ผมหกสิบกว่าแล้วนะ ผมภูมิใจครับ มันก็แปลกดีเพราะตอนนี้ในอเมริกาเนี่ย มีสารพัดรูปแบบของดนตรีฟิวชันกลายพันธุ์แล้ว แต่ผมในฐานะที่อยู่ในยุคเริ่มต้นของดนตรีฟิวชันเลย การที่ได้เห็นมันกำลังหายไปนี่มันก็เป็นการท้าทายดีนะ อะไรแบบนี้นี่มีแต่ในอเมริกาเท่านั้นล่ะครับ คุณจะไม่ได้เห็นการแปรธาตุในดนตรีฟิวชันของยุโรปหรอก สิ่งที่ผมต้องการจะบอกจริงๆ อย่างตรงๆ ก็คืออยากจะให้พวกเขาเป็นตัวของตัวเอง ผมเคยฟังมหาวิษณุ โปรเจ็กต์เล่นแล้วล่ะ ยอมรับว่าพวกเขาเล่นกันเก่งมาก แต่ก็อีกนั่นแหละครับ…ผมอยากรู้ว่าตัวตนจริงๆ ของพวกเขาคืออะไรกันแน่”



เอาล่ะ เราเดินหน้าคุยเรื่องอัลบัมใหม่ของเขากันดีกว่า

เมื่อเห็นปกอัลบัมใหม่ของแม็กลอฟลินแล้ว นั่นหมาของเขาหรือเปล่าเนี่ย? แล้วมันชอบฟิวชันไม่เนี่ย?

“ครับใช่ นั่นหมาของผมเองแหละ เจ้าสคิป แต่มันไม่ชอบฟิวชันหรอก (หัวเราะ) มันชอบนั่งบนเก้าอี้แล้วก็คุดคู้อยู่บนนั้นตลอดเวลาเลย แต่มันก็เป็นหมาร่าเริงนะ”

แล้วสิ่งที่อยู่บนปกอัลบัมของเขาก็คือกีตาร์ตัวหนึ่งมีนามว่า “Our Lady” ซึ่ง เอบี เว็กเตอร์ ประกอบขึ้นมาให้เขาเมื่อสิบปีที่แล้ว แล้วแฟนเพลงก็ตั้งหน้าตั้งตารอคอยที่จะฟังแม็กลอฟลินเล่นกีตาร์ตัวนี้บันทึกเสียง

“ครับ เสียงมันสุดยอดจริงๆ” แม็กลอฟลินบอกไว้เท่านั้น

งานในอัลบัม Thieves and Poets ได้นำเสนองานกีตาร์กับวงออร์เคสตรา (I Pommeriggi di Milano) ในสามองก์ด้วยกัน คือ The Old World, The New World และการรวมกันของโลกแห่งเสียงดนตรี แม็กลอฟลินได้จับรวมความคิดเหล่านี้ไว้ได้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะองก์ที่สาม นอกจากมันจะบอกว่าเขาเป็นอิทธิพลทางดนตรีของใครแล้ว มันยังบอกถึงอิทธิพลทางดนตรีที่เขาได้รับมาอีกด้วย บางคนบอกว่าเมื่อฟังอัลบัม Belo Horizonte กับ Shakti และผลงานดนตรีอื่นๆ ของแม็กลอฟลินแล้ว ทำให้นึกถึง West Side Story



“เหรอครับ? ผมก็ไม่ได้ตั้งใจนะ ไม่ได้ตั้งใจแน่นอน เลนนี เบิร์นสตีนเป็นนักประพันธ์ที่ยอดเยี่ยม แต่ก็มีงานท่อนหนึ่งที่ผมฟังแล้วผมก็บอกตัวเองว่า “เอ๊ะ ทำไมมันคล้ายของเลนนีนะ?” ผมไม่ได้อยากให้ออกมาเหมือนของเลนนีนะ แต่มันก็ออกมาเป็นแบบนี้เอง….

“งานชุดนี้ผมมีนักโซโลเก่งๆ มาเล่นให้เยอะ ผมก็รู้จักกับพวกเขามานานแล้วล่ะครับ น่าดีใจที่ผมก็เป็นคนที่พวกเขาชื่นชอบเหมือนกัน ผมยังจำได้เลยตอน 7-8 ปีก่อน ผมไปดูวิกตอเรีย มัลโลวา (นักไวโอลิน) เล่นคอนเสิร์ต เธอเล่นเก่งมาก”

นอกจากนี้ยังมีเพลงสแตนดาร์ดที่แม็กลอฟลินเล่นร่วมกับเอเก็ตตา กีตาร์ ควอเต็ต ซึ่งเขาเคยร่วมทำงานกันมาแล้วในอัลบัม Time Remembered : John McLaughlin Plays Bill Evans เมื่อสิบปีก่อน “ผมชอบ My Foolish Heart แล้วก็ชอบเวอร์ชันล่าสุดในอัลบัมนี้ด้วยนะ ผมใช้รีเวิร์บน้อยลงด้วย อาจะจะเป็นเพราะว่าผมแก่แล้วก็เป็นได้ ผมก็เลยอยากจะใช้มันน้อยๆ หน่อย”

เมื่อเร็วๆ นี้ยังมีข่าวลือเกี่ยวกับแม็กลอฟลินที่แพร่สะพัดทางอินเตอร์เน็ต บอกว่าเขาจะทำงานอัลบัมชุดหน้าแบบใต้ดิน แล้วยังบอกอีกว่าเขาเชื่อว่าอัลบัมชุดหน้าจะทำให้ผู้คน “เหวอ” รับประทานไปเลย ซึ่งแม็กลอฟลินก็ยอมรับว่าเป็นความจริง แถมยังคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 3-4 ปีแล้วด้วย “อัลบัมนี้แหละที่บรรดานักวิจารณ์จะสับผมเละ พวกเขามีสิทธิจะทำแหละนะ ผมเต็มใจ ผมไม่ซีเรียสเรื่องโดนด่าหรอกครับ แต่ผมซีเรียสเรื่องที่ผมอยากจะหลุดออกจากกรอบมากกว่า”

แถมยังมีข่าวลือเพื่อมาอีกว่า เขาจะกลับมาร่วมงานกับคาร์ลอส ซานตานาอีกครั้ง

“ยังหรอกครับ ยังไม่ใช่ชุดนี้แน่ จริงๆ ผมเขียนเพลงเผื่อเขาไว้ตามที่เขาต้องการแล้วล่ะ เมื่อปีที่แล้วเราก็ไปแจมกันที่สวิตเซอร์แลนด์ เดนนิส แชมเบอร์ก็มาด้วย คาร์ลอสเขาก็เชิญผมไปเล่นบนเวทีกับเขาผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ เขาขอร้องให้นักข่าวเขียนว่า “ได้โปรดเถอะ จอห์น มาเล่นกับผมนะ” เขาน่ารักจริงๆ แต่ตารางงานผมมันดันไม่ลงตัว ก็เลยไปเล่นกับเขาไม่ได้”



นอกจากอัลบัม Thieves and Poets แล้ว แม็กลอฟลินยังมีสองโปรเจ็กต์ที่ยังรอคอยวันลุล่วงอยู่ นั่นคือ โครงการออกแผ่นดีวีดีสอนกีตาร์ แม็กลอฟลินบอกว่า “เหตุผลที่ทำก็ไม่มีอะไรนะครับ อย่างแรกนี่คือผมเองก็จบหลักสูตรกีตาร์ชั้นนำมาแล้วหลายที่ เล่นกีตาร์มาก็ชั่วชีวิต ผมรู้ว่านักเรียนกีตาร์ประสบปัญหาอะไรบ้าง แล้วจะแก้ยังไง ผมเคยเห็นคนอื่นๆ ที่ออกสื่อแบบนี้มา ผมว่ามันกะพร่องกะแพร่งยังไงไม่รู้นะ บางอันก็สอนผิด….แต่ผมเห็นอันหนึ่งดี น่าจะเป็นของจอห์น สโกฟิลด์ ส่วนของคนอื่นที่ดีๆ ก็มีอย่างของเอริก จอห์นสันกับสก็อต เฮนเดอร์สัน หารทำงานของผมก็คือหาข้อแก้ไข โดยมากนักเรียนมักจะยังไม่รู้ว่าจะเล่นคนเดียวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ หากมีนาย ก.ในไอดาโฮอยากจะเรียนอิมโพรไวส์ ของผมเนี่ยแหละที่จะช่วยเขาได้ แต่คนที่อยู่นิวยอร์กหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็น่าจะได้ประโยชน์จากมันเหมือนกันแหละ ซึ่งผมรู้ว่าไม่ค่อยมีครูสอนวิชาแบบนี้ แล้วดีวีดีชุดนี้ก็มีจะภาษาถึงหกภาษาด้วยกัน



“ดีวีดีจะมีออกมาทั้งหมดสามแผ่นทีเดียว ออกราวเดือนมกราคม 2004 เรียกว่าสอนกันหมดไส้หมดพุง ตั้งแต่เริ่มต้น ก.ไก่ ข.ไข่ ไปจนถึงขั้นอภิมหาเซียน สองแช็ปเตอร์สุดท้ายมีชื่อว่า “Tough Tunes” ผมย้อนกลับไปวิเคราะห์การเล่นอิมโพรไวส์ของตัวเองในงานเพลงประกอบภาพยนตร์ แล้วผมก็อธิบาย แต่มีอยู่ตอนหนึ่ง คิดแล้วก็ตลกดีนะ พอผมนั่งสอนผ่านชั่วโมงอันแสนยาวนานกับคอร์ดต่อเนื่องหินๆ แล้วผมก็บอกว่า “เฮ้ เพื่อน ถ้าใครเข้าใจ ผมจะจ้างเขาเลย” แต่คุณเชื่อผมได้เลยว่า หลังจากคุณศึกษาดีวีดีนี้เรียบร้อย คุณจะเล่นได้”

นอกจากนี้แล้ว แม็กลอฟลินยังจะมีงานอัลบัมการแสดงสด Montreux Jazz Festival ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เขาบอกว่า “ว้าว เราไม่ได้มีอัลบัมแรกของมหาวิษณุ ออร์เคสตรา เพราะเราไม่ได้บันทึกเสียงกัน ออกมาก็เป็นชุดที่สองเลย มีอะไรที่ผมเล่นกับปาโก ดิ ลูเชีย เล่นกับชิค คอเรีย มีที่เล่นกับวง The One Truth Band ที่ซันชิปตีกลอง และที.เอ็ม. สตีเฟนส์เล่นเบส มันเป็นค่ำคืนที่พิเศษมากเลย

“ผมว่าอัลบัมนี้น่าจะเป็นบ็อกซ์เซ็ตสัก 20 แผ่น แหม…ก็ผมเล่นมาตั้งสามสิบปีแล้วนี่นา (หัวเราะ) ผมว่ามันก็เป็นราวกับผลไม้จากสรวงสวรรค์ให้กับแฟนเพลงของผม เหมือนที่เขาออกอัลบัม Tribute To Jack Johnson ของ ไมล์ส เดวิส มาเมื่อเร็วๆ นี้แหละ แล้วบทเพลงของไมล์สเนี่ยแหละที่กระพือไฟให้ผม แต่งานที่ออกมาใหม่นี่ผมยังไม่ได้ฟังนะ”

เป็นที่รู้กันว่า แม็กลอฟลินยังมีงานคอลเล็กชันส่วนตัวที่ยังไม่ได้วางจำหน่าย เราว่าหน้าปกอัลบัมใหม่ของเขาต้องมีงานแซมเปิลบางชิ้นวางโชว์อยู่แน่นอน

“อืม….ผมก็มีงานบางส่วนอย่างคอนเสิร์ตที่คลีฟแลนด์ ปี 1971 นะ มีงานของมหาวิษณุ ออร์เคสตรา 1 และ 2 แล้วก็ มหาวิษณุ ออร์เคสตรา 85-86 ผมยังมีวิดีโอของ แต่ก็ไม่รู้สินะ ไม่รู้ว่าผมมีสิทธิจะทำอะไรกับของพวกนี้รึเปล่า เพราะไม่รู้เหมือนกันว่าใครจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผมก็ยังสัญญิงสัญญาอะไรไม่ได้ว่าจะเอาออกมาจำหน่ายได้เมื่อไหร่ แต่ผมก็คงจะทำนะครับถ้ามันมีงานที่ดีถึงขั้นที่จะทำออกมาจริงๆ”

เราในฐานะคนฟังก็คงได้แต่ติดตามผลงานของเขาต่อไป และคิดว่านักดนตรีไฟแรงอย่างจอห์น แม็กลอฟลินคนนี้ คงไม่วันที่ไฟชีวิตจะมอดลงไปง่ายๆ

“ถึงแม้ว่าลาร์รี คอร์แยลจะออกแผ่นแจ๊ซร็อคระดับพระกาฬมาแล้วกับแกรี เบอร์ตัน ในปี 1967 จอห์นก็ยังคงเป็นนักกีตาร์คนแรกที่เล่นสเกลซับซ้อน โน้ตยากๆ ที่สร้างความจจดจำไม่ลืมเลือนให้กับแฟนเพลงและวงการกีตาร์ฟิวชันในยุค 70 จากอัลบัม Biches Brew และ In A Silent Way แล้วพอมาออกอัลบัม Inner Mounting Flame ในนามวงมหาวิษณุ ออร์เคสตรา เขาก็กลับกลายเป็นบิดาแห่งดนตรีสายนี้ไปในทันที” – จากนิตยสาร Guitar Player เดือนมกราคม 1992



John MaLaughlin / Thieves and Poets
1. Thieves and Poets Part 1 (12.32)
2. Thieves and Poets Part 2 (8.15)
3. Thieves and Poets Part 3 (5.38)
4. My Foolish Heart (5.03)
5. The Dolphin (4.16)
6. Stella By Starlight (4.27)
7. My Romance (4.09)

Selected works
1969 Extrapolations (Polydor)
1970 My Goal’s Beyond (Rykodisc)
1971 Where Fortunes Smile (BGO)
1982 Passion, Grace and Fire (Columbia)
1991 Que Alegria (Verve)
1994 After The Rain (Verve)
1997 The Heart Of Things (Verve)
1998 The Heart Of Things : Live In Paris (Verve)

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:02:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 7  
 
Pat Metheny กีตาร์แจ๊สผู้ไม่เคยสร่างฝัน



ย้อนหลังกลับไปสามสิบปี นับจากวันเวลาที่แพ็ต เมธินี มือกีตาร์แจ๊สกระเดื่องนามได้ก้าวเท้าออกมาสู่พิภพแห่งดนตรีแจ๊สแล้ว ก็กล่าวได้ว่าสีสันของของวงการก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากปี 1975 กับอัลบัมแรก Bright Size Life ดนตรีแจ๊สใสๆ ในแบบของแพ็ตและค่ายอีซีเอ็ม และเพลงพิเศษที่เขาเขียนให้กับหญิงสาวชาวไทย Sirabhorn หรือด็อกเตอร์กะทิ บราซิลเลียนแจ๊สนั่นเอง ก็เป็นก้าวแรกที่สร้างความประทับใจให้กับนักฟังพอสมควร จวบจนกระทั่งปี 2005 แพ็ตยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องนับสิบชุด รูปแบบในการนำเสนอผลงานของเขาไม่ได้ราบเรียบเป็นผืนน้ำนิ่ง หากแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเดี่ยว เล่นคู่ วงสามชิ้น วงสี่ชิ้น หรือกระทั่งเล่นฟรีแจ๊ส เขาก็เคยผ่านมาแล้วทั้งนั้น



เมื่อพูดถึงฟรีแจ๊ส Song X เป็นอัลบัมแนวฟรีแจ๊สที่แพ็ตมาทำกับออร์เน็ต โคลแมน ราชาแห่งฟรีแจ๊ส ซึ่งอัลบัมนี้จะมีการหยิบมาปรับปรุง แล้วนำมาออกใหม่อีกครั้ง อย่างที่เราเรียกกันแบบคุ้นๆ ปากว่า “รีอิชชู” (Reissue) นั่นเอง ดูเหมือนว่าแพ็ตจะภูมิใจในผลงานชุดนี้มากพอสมควร จากการที่เขาบอกว่า มันเป็นงานที่น่าตื่นเต้นที่ได้ทำออกมาในตอนนั้น

“เหมือนผมได้ย้อนกลับไปสำรวจตัวเองกับการทำงานในอัลบัม Song X สิ่งที่น่าแปลกใจสำหรับผมก็คือ จริงๆ งานนี้ผ่านมาตั้งยี่สิบปีแล้ว (อัลบัมนี้ออกวางครั้งแรกในปี 1985) แต่ผมบอกตรงๆ ว่ามันฟังดูไม่ล้าสมัยเลยจริงๆ นะ ทั้งๆ ที่ยุคนั้นเป็นยุคก่อนซีดีเสียอีก ดังนั้น ตอนที่เราบันทึกเสียงกัน ก็เลยมีข้อจำกัดเยอะแยะไปหมด อย่างข้อจำกัดที่คุณสามารถจะบันทึกลงแผ่นได้นานกี่นาที ทันทีที่อัดไป 43 นาทีแล้ว คุณก็จะไม่สามารถจะได้ทั้งเพลงที่ยาวขนาดนั้นพร้อมกับเสียงแจ่มๆ พร้อมกัน”



แพ็ตใช้เวลาสามสัปดาห์กับออร์เน็ตก่อนการบันทึกเสียงจริง ทำงานและเขียนเพลงด้วยกัน

“แทบจะทั้งหมดมาจากผมกับเขา หรือไม่ก็มีเดนาร์โดเข้ามาอีกคน” เดนาร์โดในที่นี้ก็คือ เดนาร์โด โคลแมน หนึ่งในสมาชิกที่ทำอัลบัมนี้ด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีแจ็ก ดิจอห์นเน็ตและชาร์ลี ฮาเดนอีกคน

“ผมหวังว่าจะรีอิชชูอัลบัมนี้ออกมาให้เจ๋งที่สุด อย่างน้อยที่สุด ผมก็ได้ทำมาสเตอร์ใหม่ มิกซ์เสียงใหม่แล้ว ยุคดิจิตอลเดี๋ยวนี้แก้เสียงกระด้างๆ ได้เยอะ เสียงมันก็เลยดีขึ้นมาก คิดว่าน่าจะวางขายได้ในเร็วๆ นี้ ยังไงก็น่าจะทันปีนี้”

งานดนตรีแจ๊สกับแพ็ตนั้น แทบจะมานั่งจำแนกแยกแยะกันไม่ได้เลยว่า เขาเล่นอะไร อย่างไร การก้าวข้ามกำแพงคำจำกัดความคือการเล่นของเขามากกว่า



ในปีนี้แพ็ตได้ย้ายมาเข้าสังกัด Nonesuch ซึ่งเป็นสังกัดลูกของวอร์เนอร์ บราเธอร์ส เนื่องจากวอร์เนอร์แจ๊สที่เขาสังกัดอยู่เดิมนั้น หยุดพักการผลิตงานไว้ชั่วคราว และด้วยความที่เพื่อนรักเก่าแก่ที่รู้จักกันตั้งแต่เขายังทำเพลงกับอีซีเอ็ม อย่าง บ็อบ เฮอร์วิทซ์ ได้มาทำงานอยู่ที่นันซัช จึงไม่เป็นการหนักใจกับแพ็ตที่จะย้ายตามมาอยู่กับเพื่อนแบบไม่ต้องคิดมาก

แพ็ตบอกไว้เกี่ยวกับตัวเองว่า “ยี่สิบปีหลังในชีวิตในการทำงานของผมนั้น ผมทำแต่สิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองอย่างชัดเจนจริงๆ ผมทำเฉพาะสิ่งที่ผมต้องการจะทำเท่านั้น”

เขายังพอใจที่จะทำอะไรแบบทั่วๆ ไป ไม่ต้องทำดนตรีหนักหน่วงอะไรมาก แต่ว่าทุกเพลงที่ทำออกมาได้ทำหน้าที่ในการแสดงความรักในดนตรีแจ๊สของเขาออกมาอย่างชัดเจนทั้งสิ้น



เขายังบอกอีกว่า “ผมไม่ค่อยกังวลเท่าไรนะเกี่ยวกับเรื่องหลักการทั้งหลายแหล่ อย่างที่พวกนักฟังเพลงแจ๊สเขามักจะเอามานั่งถกเถียงการในวงสนทนา สำหรับผมแล้ว ความงดงามตามแบบอย่างของแจ๊สก็คือการที่เราค้นพบบุคลิกที่แท้จริงของตัวเอง มีประสบการณ์กับมันอย่างแท้จริงเท่านั้น แล้วผมก็คิดว่าผมมีสิ่งเหล่านั้นชัดเจน

“ถ้าผมมามัวนั่งกังวลว่าใครจะพูดถึงเพลงของผมว่า เออ มันเป็นแจ๊สประเภทไหนนะ ซึ่งผมได้ยินมาเยอะมาก แต่นั่นก็คือสิ่งที่ผมมองว่าแจ๊สมันเป็นอย่างนั้นน่ะ ผมคิดว่ามันเป็นอะไรที่ลุ่มลึกกว่านั้น แล้วก็ละเอียดกว่านั้น ไม่ใช่ว่าฟังแป๊บๆ ก็พูดได้เป็นฉากๆ มันสละสลวยเกินกว่านั้นจริงๆ ผมพยายามที่จะนำเสนอมาตรฐานที่มันสูงขึ้นอีกระดับ”

กับงาน The Way Up ที่เพิ่งออกวางจำหน่ายตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น เป็นสตูดิโออัลบัมชุดที่สิบสองของพวกเขาในนามแพ็ท เมธินี กรุ๊ป อันนำเสนอผลงานการประพันธ์ยาวถึง 68 นาที โดยมีแพ็ตกับไลล์ เมย์สเป็นตัวจักรสำคัญในการทำงานกับประสบการณ์ร่วมทุกข์สุขที่ยาวนานมาถึงสามสิบปีตั้งแต่งานชุดแรกของแพ็ต



“เราบ่มเพาะตัวงานมานานเป็นปีๆ ความคิดความอ่านความสนใจของเราก็ออกจะลงลึกไปเรื่อยๆ แต่ตอนนี้ สำหรับผมและไลล์ในฐานะของคนเขียนเพลง มันก้ำกึ่งกับสิ่งที่ทำๆ มาทั้งหมด ตอนแรกที่เขียนเพลงนี้ขึ้นมา เราคิดว่ามันเป็นเพลงต่อต้าน อาจจะมองได้ว่างานของเราต่อต้านโลกที่ซึ่งความกลัวได้กลายมาเป็นอาวุธทางวัฒนธรรมและการเมืองไปแล้ว ต่อต้านโลกซึ่งนิยมความหยาบกระด้าง ต่อต้านสังคมวัตถุนิยม บริโภคนิยม

“เราอยากจะนำเสนอความแปลกใหม่ เป็นความใหม่ที่นำเอาเครื่องมือใหม่ๆ เทคนิกใหม่ๆ มารับใช้การทำงาน เพื่อให้เกิดมุมมองที่ต่างออกไป เราอยากจะลงลึกลงไปข้างในสิ่งต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เราคิดว่านักดนตรีกลุ่มนี้เขาสามารถจะนำพาเราเข้าไป ไปให้ไกลที่สุดที่พวกเขาไปกันได้ ยกระดับเพื่อให้เกิดทางเลือก เกิดมุมมองในแง่งาม ผมว่าแพ็ต เมธินี กรุ๊ปกำลังทำอะไรๆ ที่มันมากขึ้น จากจุดเริ่มต้นที่เรามองไปที่รูปแบบเปิดกว้าง มองไปที่การขยายองค์ประกอบด้วยภาคออร์เคสตราที่วงแจ๊สขนาดเล็กสามารถจะทำออกมาได้ เป็นความต่อเนื่องของทุกๆ อย่างที่เราทำกันใน The Way Up นั่นเป็นหลักปรัชญาที่ใช้ในอัลบัมชุดนี้ ผมคิดว่าเราเริ่มคิดที่จะทำอะไรอย่างนี้มาได้สักพักแล้ว”



เพื่อนร่วมวงใน The Way Up เป็นนักดนตรีชุดเดียวกับที่เล่นในอัลบัม Speaking Of Now ที่ออกมาเมื่อปี 2003 นอกจากแพ็ตแล้วก็ประกอบไปด้วย ไลล์ เมย์ส เล่นคีย์บอร์ดส สตีฟ ร็อดบี เล่นเบส อันโตนิโอ ซานเชซเล่นกลอง กวงวูเล่นทรัมเป็ตและร้อง หากแต่มีสมาชิกใหม่เพิ่มเติมเข้าด้วยอีกหนึ่งคน นั่นก็คือเกรกัวร์ มาร์เรต์ ลูกครึ่งชาวสวิสอเมริกัน นักเป่าฮาร์โมนิกา

“ตอนที่เรากำลังเขียนเพลงกันอยู่นั้น ผมก็นึกๆ อยู่ว่ามันมีเสียงอะไรนะที่ขาดหายไป มันเป็นเสียงลมหายใจนั่นเอง แต่มันไม่ใช่เสียงของกวง ผมว่ามันจะต้องไม่ใช่เสียงลมหายใจที่มาจากการร้องเพลง แล้วทันทีที่ผมได้ยินเพลงจากแผ่นของเกรกัวร์ กับการแสดงสดของเขากับคัสซานดรา วิลสัน ผมก็รู้สึกประทับใจเขามาก และก็เกิดความคิดว่าเขานี่แหละที่จะเติมเสียงที่ขาดหายไปก็ได้ ผมหาแผ่นทุกแผ่นที่เขาเล่นมาฟังจนหมด ลองให้สตีฟกับไลล์มาเล่นคลอไปกับแผ่น ซึ่งก็ออกมาเข้ากันได้เป็นอย่างดีเยี่ยม จริงๆ แล้วผมแทบไม่เคยคิดเลยว่าจะจ้างนักเป่าฮาร์โมนิกามาเล่นในวงจริงๆ นะนี่ จนกระทั่งผมได้ยินเสียงของเกรกัวร์นี่แหละ เขาเป็นหนึ่งในนักดนตรีน้อยคนที่สามารถแสดงจิตวิญญาณออกมาตามเสียงดนตรีที่ตัวเองเล่น เรารู้สึกเร้าใจจริงๆ ที่จะพาเขามาอัดเสียงชุดนี้ แล้วก็ออกทัวร์ด้วยกัน”

ผลของการหมักบ่มงานชุดนี้เป็นเวลาหลายปี สร้างให้ The Way Up กลายเป็นงานที่มีมาตรฐานสูงไปโดยปริยาย ก้าวข้ามไปสู่การไร้พรมแดนอย่างแท้จริง และอัลบัมนี้ยังจะเป็นอีกผลงานหนึ่งที่ระเบิดขีดความสามารถของแพ็ตออกมาอีกครั้ง หลังจากที่เขาได้เคยปลดปล่อยออกมาแล้วตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักรังสรรค์ดนตรีตั้งแต่วัยเยาว์เพียงแค่สิบเก้าปีในปี 1974 ด้วยฐานะลูกวงของแกรี เบอร์ตัน การเป็นแบนด์ลีดเดอร์ของเขาก็เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จสูงสุดในอาชีพนักดนตรีที่เขาทำมาตลอด ในตอนนี้นักดนตรีวัยห้าสิบกว่าคนนี้ก็จะได้ทำหน้าที่ของเขาอย่างต่อเนื่องในการนำเสนอผลงานที่สุดโต่งในทุกๆ เพลง ทุกๆ การโซโล และทุกๆ ตัวโน้ต



“ผมว่ามันเป็นงานที่เต็มไปด้วยพันธะแห่งความทะเยอทยานในแต่ละระดับของการเขียนเพลงจริงๆ ระดับในรายละเอียดที่เรากำลังมุ่งเข้าสู่จุดเริ่มต้น จากการเริ่มต้น สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่เป็นความเชื่อของพวกเราก็คืออยากจะหลีกหนีไปให้พ้นรูปแบบไปให้ได้มากที่สุดเมื่อไรก็ตามที่เราทำได้

“มีลูกเล่นเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสอดแทรกอยู่ในบทประพันธ์นี้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์ลูดหรือช่วงขึ้นต้น หรือแม้ว่าจะเป็นแก่นของบทเพลงนั้นๆ เราก็มีลูกเล่นแทรก ไม่ว่าจะเป็นการเรียบเรียงหรือการใส่เท็กซ์เจอร์ของเสียงเพิ่มเข้าไป เราเองก็มีอัลบัมที่มีฟิลลิ่งต่อเนื่องควบคู่กันไปอยู่สองอัลบัม แต่เมื่อเราเสร็จสิ้นการทัวร์อัลบัม Speaking Of Now แล้ว วงของเราก็เข้าที่เข้าทางที่ทำให้ผมรู้สึกสบายใจมากที่พวกเราจะได้ทำงานร่วมกันไปอีก ผมรู้สึกเหมือนกับว่าเราสามารถจะย้อนกลับไปตอนที่ทำอัลบัม Imaginary Day เชื่อมต่อการสำรวจของพวกเรา ตอนหมดทัวร์ ผมกับไลล์ก็เริ่มมาทำงานด้วยกันอีก อยู่เมืองเดียวกัน อยู่ห้องเดียวกันเป็นเวลาเดือนครึ่ง แล้วก็เขียนเพลงออกมา



แพ็ตยังคงเชื่อมั่นในตัวเพื่อนร่วมวง ทั้งยังรู้สึกว่าการทำงานกับกลุ่มคนกลุ่มนี้เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานด้วย

“การเขียนเพลงสำหรับผมเป็นรื่นรมย์อย่างหนึ่งในชีวิต แล้วผมก็รู้ว่าเพลงที่ผมเขียนขึ้นมานี่ เพื่อนๆ ของผมจะสามารถบรรเลงออกมาได้อย่างที่ผมอยากให้เป็น และพวกเราก็ภูมิใจมากครับกับงานที่ออกมา”

เชื่อได้เลยว่า แพ็ต เมธินีคนนี้จะยังคงมีผลงานดนตรีให้แฟนเพลงได้ฟังกันอย่างไม่หมดไฟฝัน ไม่ว่าถึงที่สุดแล้วเขาจะมีอายุเท่าไร แต่งานถ่ายทอดความคิดความฝันทางดนตรีดูท่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่เขาจะละทิ้ง



Pat Metheny Group / The Way Up (Nonesuch)
1. The Way Up : Opening (Mays, Metheny) 5.17
2. The Way Up, Pt.1 26.27
3. The Way Up, Pt.2 20.29
4. The Way Up, Pt.3 15.54
Musicians
Pat Metheny – Guitars
Lyle Mays – Piano, Keyboards, Toy Xylophone
Steve Rodby – Violin, Basses, Cello
Antonio Sanchez – Drums, Toy Xylophone
Cuong Vu – Trumpet, Voices
Gregoire Maret – Harmonica
Richard Bona – Guitar Percussion, Voices

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:03:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 8  
 
เนื้อหามาจากที่นีครับ มีรูปสมบูรณ์แบบครับ มาให้เครดิต ผู้เขียนครับ
http://www.guitarthai.com/jazz/jazzdetail.asp?paraID=1

   King of Bebop      14 ต.ค. 50   เวลา 3:21:00   IP = 58.8.152.17
 


  คำตอบที่ 9  
 
เมื่อมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของดนตรี ก็เริ่มมีการพัฒนาการของเรื่องจังหวะมากขึ้น ดังนั้นแนวดนตรีที่ถูกเรียกว่าแจ็สเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปี 1985 โดยเริ่มต้นนั้นก็ได้พัฒนาทางเดินคอร์ดมาจากบลูส์ และเริ่มมีการเขียนแบบฟอร์มหรือโครงสร้างของบทเพลง เริ่มแรกนั้นดนตรีสไตล์นี้ถูกเรียกว่า Ragtime โดยสไตล์เพลงแบบนี้จะเล่นโดยวงที่มักใช้คนเล่นจำนวนเยอะอย่างวงมาร์ชหรือวงออเคสตร้า เป็นต้น โดยบทเพลงที่เล่นมักจะมีการเตรียมตัวกันไว้ล่วงหน้า และไม่การอิมโพรไวส์เกิดขึ้นแต่อย่างใด โดยที่เพลงประเภทนี้มักจะมีการเล่นก็ต่อเมื่อมีงานรื่นเริงหรือว่างานศพ นักดนตรีคนสำคัญๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ก็คงจะหนีไม่พ้นชื่อของ Scott Joplin เขาผู้นี้ได้แต่งเพลงที่เป็นมรดกอันล้ำค่าแก่คนรุ่นหลังไว้อย่างมากมาย เพลงดังๆของเขาก็มี Maple Leaf Rag และ The Entertainer เป็นต้น ดนตรีจังหวะแร็กเริ่มเป็นที่นิยมอย่างสูง โดยเฉพาะทางตอนใต้ของเมริกาที่เรียกว่านิวออร์ลีน ( New Orleans ) เมื่อย่างเข้าสู่ต้นปี 1900 ที่นี่ก็เริ่มมีการพัฒนาการของดนตรีด้วยเช่นกัน เป็นที่รู้กันดีว่านิวออร์ลีนเป็นเมื่องที่รวมคนเอาไว้หลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนดำและพวกที่มีเชื้อสายผสมมากกว่า อีกทั้งคนดำบางคนก็เคยเป็นนักดนตรีในวงมาร์ชมาก่อน อีกทั้งในเมืองนี้มีสถานเริงรมอย่างมากมายและมีดนตรีให้เลือกฟังอย่างแพร่หลายจึงทำให้นิวออร์ลีนกลายเป็นแหล่งที่รวบรวมเอาวัฒนธรรมทางดนตรีไว้เป็นอย่างมาก หรืออาจจะเรียกเมืองนี้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดดนตรีแจ็สอย่างแท้จริงและเป็นทางการเลยก็ได้ ระยะแรกๆนั้นเรียกดนตรีชนิดนี้ว่า New Orleans Jazz ซึ่งเป็นสไตล์ที่ถูกพัฒนาจากนักดนตรีที่มีความรู้และเล่นสไตล์แร็กมาก่อนนั่นเอง แต่เป็นการนำมันมาพัฒนาเป็นสไตล์ที่ชัดเจนมากขึ้น สไตล์ดนตรีชนิดนี้มักจะเน้นไปที่วงที่เน้นเรื่องของริทึ่ม สมาชิกในวงก็จะประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่าง กลองชุด,เปียโน ,กีต้าร์,ดับเบิ้ลเบส และพวกเครื่องดนตรีที่ใช้โซโล่ก็มีพวกเครื่องเป่าอย่าง คาริเน็ต , ทรอมโบนหรือคอร์นเน็ตเป็นต้น โดยที่เหล่าบรรดาเครื่องเป่านั้นมีหน้าที่ในการอิมโพรไวส์แบบทีมเวิร์ค นั้นหมายถึงจะต้องเล่นให้ตรงตามกับโน็ตที่เจ้าของเพลงได้ประพันธ์ขึ้นมา ต่อมาเมื่อมีการแพร่หลายของดนตรีสไตล์นี้มากขึ้นจนเป็นที่นิยมในหมู่คนผิวขาว เหล่าบรรดาคนขาวทั้งหลายจึงได้มีการเรียกชื่อสไตล์นี้ขึ้นมาใหม่จากเดิมคือ New Orleans Jazz เป็น Dixieland อย่างที่รู้จักกันดี Swing Era & Big Band (1920 – 1940) ต่อมาหลังจากที่สไตล์ New Orleans Jazz ได้รับความนิยมอย่างสูง และช่วงเวลานี้ก็เริ่มมีการพัฒนาสไตล์และจังหวะของดนตรี จังหวะที่เรียกว่าสวิงถูกพัฒนาให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เริ่มมีการขืนจังหวะมากขึ้น (Syncopation) และการนับแบบ 2/4 เริ่มเป็นภาพเด่นชัด และวงดนตรีจะเริ่มมีการใช้สมาชิกเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะมีคนเล่นประมาณ 10 -12 คน หรือบางครั้งจะมีมากกว่านั้นก็ได้ โดยที่สมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นเครื่องเป่าซะมากกว่า ในส่วนของกีต้าร์นั้นแทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย นอกจากจะใช้ตีคอร์ดเพียงอย่างเดียว หน้าที่ของวง Big Band นั้นอาจแบ่งได้ดังนี้ ในส่วนของ RHYTHM คือ PIANO, BASS, DRUMS และ GUITAR และส่วนของ BRASS ก็มี TRUMPET กับ TROMBONE ส่วน SAXOPHONE ก็มี ALTO, TENOR และ BARITONE เสน่ห์ของวง Big Band นั่นอยู่ที่ส่วนของริทึ่มของเหล่าบรรดาเครื่องเป่าทั้งหลาย ที่คอยให้จังหวะรับส่ง เล่นทำนอง ที่เริ่มจากค่อย ๆ แล้วดังขึ้นเรื่อย ๆ สร้างอารมณ์ และจะมีคนโซโล่ออกมาเล่นเดี่ยว ซึ่งบุคคลผู้นั้นจะได้รับเกียรติ์อย่างยิ่งจากหัวหน้าวง ราวกับว่าตำแหน่งของเขาคือ มือโซโล่มือหนึ่งของวง วง Big Band เริ่มเป็นที่นิยมในวงกว้างขึ้น แต่ละวงเริ่มมีงานมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจในอเมริกากำลังเฟื่องฟู ตามเมืองต่างๆมีสถานท่องเที่ยวในยามค่ำคืนเกิดขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้นปี 1917 น่าจะเริ่มต้นเป็นปีทองของแจ็สยุคใหม่ที่เรียกว่า Swing New Orleans To Chicago & New York ขณะที่ชาวเมืองต่างๆเริ่มมีความสุขอย่างยิ่งกับการท่องเที่ยวและเสพดนตรี ช่วงเวลาในปีเดียวกันนั้น (1917) ก็ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้เองทำให้อะไรหลายๆอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง รวมไปถึงวงดนตรีอย่าง Big Band เมื่อเมืองสำคัญอย่าง New Orleans กลายเป็นเมืองแห่งจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ทำให้ผู้คนต่างพากันอพยพ โดยแยกย้ายกันไปอยู่ที่ต่างๆ และคนส่วนใหญ่ก็ได้ย้ายมาที่ Chicago และ New York นั้นก็หมายความว่าดนตรีแจ็สเริ่มที่จะผลิดอกและผลอีกครั้ง

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 15:58:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 10  
 
Cool & Hard Bop & Modal Jazz (1940 -1960) - Cool Jazz 1947 เมื่อยุคที่ Be Bop กำลังเจริญงอกงาม ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นของกลางปีทศวรรษที่ 40 – 50 ก็มีนักดนตรีกลุ่มหนึ่งที่เคยผ่านการเล่นฺ Bop มาแล้วและอยากหาแนวทางการเล่นใหม่ๆให้กับตนเอง ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นแนวที่ต่างจาก Be Bop อย่างสิ้นเชิง ขณะที่ Bop เล่นกันอย่างรวดเร็วราวกับไฟที่กำลังโหมขึ้นอย่างรุนแรง ดนตรีแนวใหม่นี้กลับเหมือนน้ำแข็งที่เย็นสุดขั่ว ดนตรีแนวใหม่นี้ถูกเรียกว่า Cool Jazz Cool Jazz เป็นสไตล์ที่เปิดช่องว่างให้กับนักดนตรีได้เล่นอย่างอิสระ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องรีบร้อนหรือดุดันอย่าง Be Bop ทางเดินของคอร์ดนั้นใช้คอร์ดได้น้อยมากและลดสปีดให้ช้าลง มีช่องว่างให้ผู้เล่นได้หายใจและมีเวลาคิดมากขึ้นในการอิมโพรไวส์ เป็นเพลงที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อน และมักใช้เครื่องดนตรีที่เข้ามาเสริมแตกต่างไปจากแจ๊สยุคก่อน ๆ เช่น ฟูเกิลฮอร์น ฟลุ๊ต และเชลโล ดนตรีแนวนี้นิยมเล่นกันในหมู่กว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบ West Coast และกลุ่มคนผิวขาวทั้งหลาย ศิลปินในยุคนี้ศิลปินก็มี LesterYoung, Stan Getz , Gerry Mulligan,Dave Brubeck,Chet Baker เป็นต้น และหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงที่พัฒนาสไตล์นี้ที่เห็นภาพเด่นชัดมากที่สุดก็คือ Miles Davis และเขาได้สร้างอัลบัมชุดประวัติศาสตร์ของดนตรีแนวนี้ขึ้นมาก็คือชุด Birth Of Cool นั้นเอง Hard Bop (1955) แม้ว่ากระแสของ Cool Jazz จะเข้ามาปกคลุมและเป็นที่นิยมเล่นสำหรับชาว West Cost ทั้งหลาย แต่ช่วงเวลาที่ไม่ทิ้งห่างกันมากนักก็ยังคงมีนักดนตรีใน New York ที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยมและศรัทธาในแนว Bop อยู่ ส่วนใหญ่มักจะเป็นเหล่าคนดำ พวกเขาไม่ได้ละทิ้งแต่อย่างใด แต่กลับนำมันไปพัฒนาขึ้นมาเป็นสไตล์ใหม่ พวกเขานำเอาสไตล์ของจังหวะที่แตกต่างกันม่ว่าจะเป็น R&B,Soul,Funky รวมไปถึง Gospel เป็นต้นมาผสมกับการเล่นแบบ Bop ดังนั้น Hard Bop จึงมีจังหวะที่หนักหน่วงและร้อนแรงแบบบ็อบผสมกับจังหวะที่แปลกใหม่ของดนตรีสไตล์ต่างๆ ทั้งผู้เล่นและผู้ฟังต่างก็มีความสุขและสนุกกับมันเป็นอย่างมาก นักดนตรีที่เล่นในสไตล์นี้ก็มี Art Blakey , Cannonball Adderley , Horace Silver, Wayne Shorter, Lee Morgan, Freddie Hubbard, Hank Mobley, Cedar Walton หรือแม้กระทั่งตัวของ Miles Davis เองก็มีงานชั้นยอดในแนวนี้ออกมาอย่างมากมายด้วย Modal Jazz เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงปลายของทศวรรษ 50 นักดนตรีทั้งหลายก็เริ่มต้นค้นหาเส้นทางใหม่ๆของแจ็ส เพราะด้วยแนวทางเดิมๆที่ได้มีอยู่นั้นเริ่มเป็นเรื่องที่ออกจะน่าเบื่อเกินไปซะแล้ว ดนตรีที่เคยอิมโพรไวส์กันเร็วจี๋อย่างบีบ็อบก็เป็นแค่การไล่ตามคอร์ดที่คอยเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาให้ทันเท่านั้น แม้จะดร็อปจังหวะลงมาเป็นคูลแล้วก็เป็นเพียงแค่การเล่นที่ให้ความรู้สึกสบายไม่ต้องรีบร้อนอะไรมาก เมื่อเห็นดังนั้นแล้วบุคคลที่เรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกดนตรีแจ็สก็คงจะหนีไม่พ้น Miles Davis อย่างแน่นอน เขาและ John Coltrane ได้รวมทีมในยุคใหม่ขึ้นมาซึ่งได้แกนนำตัวสำคัญที่เป็นฟันเฟืองที่ทำให้เกิดเป็นสไตล์ Modal Jazz ขึ้นมาได้ก็คือยอดนักเปียโนอย่าง Bill Evans Bill เป็นคนแจ็สที่ไม่ได้เล่นรวดเร็วหรือหวือหวาแต่อย่างใด แต่เขาเป็นคนที่เล่นรองรับและหนุ่นให้เครื่องดนตรีอื่นๆมีความโดดเด่นได้เป็นอย่างดี เมื่อเห็นเป็นดังนี้ Miles จึงได้ทำการทดลองโดยการที่ลดและตัดทอนคอร์ดที่เยอะเพื่อให้เกิดช่องงว่างสำหรับนักดนตรีที่อิมโพรไวส์และที่สำคัญเขาเล่มใช้เสียงประสานจากโหมดหรือบันไดเสียงจากเสกลต่างๆมาใช้ในงานเพลงเพื่อให้เกิดเสียงใหม่ๆขึ้นมาและเกิดความอิสระกับความคิดของผู้เล่นมากขึ้น ดังนั้นจึงเกิดมาเป็นผลลัพธ์ในอัลบัม Kind Of Blues ซึ่งจากวันนั้นจนวันนี้อัลบัมชุดนี้ยังคงเป็นอัลบัมที่นักดนตรีทั่วโลกยังคงศึกษากันเป็นอย่างมาก Bossa Nova ดนตรีในแนวบอสวาโนว่านั้นอาจจะผิดแปลกจากแจ็สที่เกิดขึ้นในอเมริกาที่มีมาทั้งหมด นั้นเพราะบอสวาโนไม่ได้เกิดขึ้นในอเมริกานั้นเอง แต่บอสวาโนเป็นดนตรีทางพื้นเมืองของชาว บลาซิล และบอสวาโนเป็นดนตรีที่มีอายุเก่าแก่มาก ในช่วงต้นๆของยุค 60 นั้น ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องการที่จะส่งนักดนตรีในประเทศไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะแถบละตินอเมริกา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และนักดนตรีที่ได้ชักนำเอาบอสซาโนว่าเข้ามาก็คือ Stan Getz นั้นเอง เพราะเขาได้ไปพบนักดนตรีชื่อดังอย่าง Joao Gilberto ,Antonio Carlos Jobim สองแกนนำที่คิดค้นดนตรีบอสซาโนว่าขึ้น ต่อทั้งในอเมริกาและตามแถบละตินอเมริกาต่างก็นิยมเล่นดนตรีแนวนี้เป็นอย่างมาก Third Stream ย้อนกลับมาช่วงยุค 50 อีกครั้ง ขณะที่แนวทางของแจ็สกำลังรุดหน้าออกไปหลายๆสาย ก็ยังมีนักดนตรีที่เติบโตมาจากการได้รับอิทธิพลและการฝึกฝนบทเพลงมาอย่างโชกโชน แต่ก็มีใจรักในดนตรีแจ็สเช่นกัน นักดนตรีกลุ่มนี้ต่างก็ได้ทำงานทดลองออกมาในแนวที่มีการผสมผสานดนตรีคลาสสิกและแจ็สเข้าไป ทำให้โลกของดนตรีแจ็สยิ่งเพิ่มสไตล์ที่หลากหลายมากขึ้นไปอีก นักดนตรีคนสำคัญของสไตล์นี้และอีกทั้งยังเป็นบุคลที่ชาวอเมริกันให้เกียรติ์ และยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของชาติอเมริกาไปแล้วนั่นคือ George Gershwin งานเพลงที่แต่งโดยเขานั้นสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจอย่างชัดเจนว่าแจ็สและคลาสสิกสามารถเข้ากันได้ จะเห็นได้จากเพลง Rhapsody in Blue ที่มีความหมายโดยนัยยะว่ามาจากคลาสสิกและแจ็ส และอีกคนที่ขาดไม่ได้เลยก็เห็นจะเป็น Miles Davis เช่นกัน Miles เองก็ได้ทำงานเพลงรวมกับนักแต่งเพลงและนักเรียบเรียงเพลงรวมไปถึงเป็นคอนดักเตอร์ในวงออเคสตร้าอย่าง Gil Evans อีกด้วย ผลงานที่ Miles ร่วมกับ Gil นั้นส่วนใหญ่จะเป็นงานที่มีวงออเคสตร้าขนาดใหญ่รองรับอยู่ของหลัง และยังถูกเรียบเรียงเสียงประสานเป็นอย่างดี Avant Garde – Free Jazz ( 1960 ) หลังจากที่เกิดสไตล์ Modal Jazz ขึ้นมาแล้ว จากเดิมที่ดนตรีจะต้องให้ความสนใจในเรื่องของ Tonal หรือว่าโทนรวมของเพลงที่ยังต้องยึดคีย์เพลงเป็นหลักแม้จะมีการเปลี่ยนคอร์ดที่พิสดารเพียงใดก็ตาม ก็ยังคงต้องอยู่ในกรอบและโครงสร้างของเพลงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ยังมีนักดนตรีอีกกลุ่มหนึ่งที่ผ่านพ้นจุดเหล่านี้มาอย่างโชกโชนก็เริ่มหาเส้นทางใหม่ๆให้กับตนเอง คนดนตรีเหล่านี้ไม่สนเรื่องของ Tonal แต่อย่างใดเพราะพวกเขาพุ่งความสนใจไปที่ Atonal หมายความว่า ดนตรีที่ไม่สนเรื่องของคีย์เพลงหรือเสียงที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของดนตรีแต่อย่างใด สิ่งที่เป็นความสนใจใหม่ที่เข้ามาก็คือเรื่องของ “ จังหวะ ” และ “ อารมณ์ ” อะไรก็ตามที่ขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นจังหวะที่มาจากทางตะวันออกหรือว่าจังหวะจากแอฟริกันหรือพวกเวิล์ดมิวสิก พวกเขาต่างก็นำมันมาเป็นสัดส่วนในการทดลองสไตล์เพลงแนวใหม่นี้ด้วย และสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขาเลยก็คือการเล่นที่ออกมาจากอารมณ์หรือจากจิตใต้สำนึกล้วนๆ หรือจะกล่าวว่าเป็นดนตรีเปิดทุกอย่างให้เป็นอิสระก็ได้เช่นกัน

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 15:59:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 11  
 
Gypsy jazz guitar

Django Reinhardt’s Gypsy Jazz
ต่อจากคราวที่แล้ว คราวนี้จะมาว่ากันถึงประวัติของ "Django" และการตั้งวง "The Quintet of the Hot Club of France"

Django Reingardt เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ.1910 ในชุมชุนยิปซีของเมือง Liberchies ประเทศเบลเยี่ยม พออายุได้ 4 ปี สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เกิดขึ้น พ่อแม่จึงพา Django อพยพหนีภัยสงครามลงไปทางใต้ของยุโรป รอจนกระทั่งสงครามโลกยุติลง ถึงปี ค.ศ.1919 ครอบครัวของ Django จึงเดินทางกลับมาปักหลักอยู่ทางตอนใต้ของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

Django เริ่มหัดเล่นดนตรีด้วยแบบโจตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยได้เข้าร่วมเล่นกับวงดนตรีของพ่อกับลุง และขยับขยายไปเล่นกับวงอื่นๆ ของฝรั่งเศสที่เล่นตามงานเต้นรำ

อุบัติเหตุไฟไหม้เกวียนที่พักของ Django เมื่อปี ค.ศ.1928 ทำให้ Django บาดเจ็บสาหัสที่ขาขวาและนิ้วมือซ้าย จึงจะต้องนอนพักฟื้นอยู่ 18 เดือน อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้นิ้วนางและนิ้วก้อยมือซ้ายของเขาพิการใช้งานไม่ได้ แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเล่นกีตาร์แต่อย่างใด Django ฝึกหัดใช้นิ้วมือซ้ายที่เหลือให้สามารถเล่นกีตาร์ได้อย่างมหัศจรรย์ยิ่งกว่าคนมีนิ้วดีครบห้านิ้ว หลังจากนั้นเขาจึงกลับไปใช้ชีวิตนักดนตรีอาชีพอีกครั้ง


วง The Quintet of the Hot Club of France วงดนตรีแจ๊สของ Django และผองเพื่อนอีก
4 คน กำเนิดขึ้นปี ค.ศ.1934 อีกหนึ่งปีต่อมาก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปถึงประเทศต้นฉบับดนตรีแจ๊สคือ อเมริกา วงดนตรีวงนี้ตระเวนเล่นไปทั่วยุโรป จนถึงปี ค.ศ.1939 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ก่อตัวขึ้นทำให้วง The Quintet of the Hot Club of France ต้องเลิกราไป เพราะการแยกตัวกันระหว่าง Stephane Grappelli มือไวโอลินและตัว Django เอง

ปีต่อมา Django ตั้งวง The Quintet of the Hot Club of France ขึ้นอีกครั้งที่ฝรั่งเศส โดยไม่มี Stephance มือไวโอลินแต่มี Hubert Rostaing มือคลาริเนต เข้ามาเล่นแทน

วงดนตรีของ Django ยังคงโด่งดังและมีงานแสดงตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีนักดนตรีแจ๊สจากอเมริกามาหากินในฝรั่งเศสมากมายทำให้ Django ได้มีโอกาสร่วมเล่นดนตรีแจ๊สกับนักดนตรีแจ๊สอเมริกันที่มีชื่อเสียงหลายคน ในที่สุด Django ก็ได้รับการติดต่อจาก Duke Ellingoton หัวหน้าวงดนตรี Big Band อเมริกัน ที่มีชื่อเสียงก้องโลก ให้เดินทางไปร่วมทัวร์คอนเสิร์ตในอเมริกา





ปี ค.ศ.1947 Django เดินทางกลับจากทัวร์คอนเสิร์ตในอเมริกาที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก เพราะในอเมริกาดนตรี Swing กำลังหมดยุคลงไปแล้ว อย่างไรก็ดี Django ได้นำความสนใจในดนตรีแจ๊สแนว Bebop ที่กำลังโด่งดังเป็นเป็นอย่างมากในอเมริกากลับมาด้วย Django ได้พยายามผสมผสานดนตรีแนว Swing ที่เคยเล่นอยู่กับแนว Bebop เข้าด้วยกันพร้อมกับหันมาหัดเล่นกีตาร์ไฟฟ้า แต่แนวทางของ Django ไปไกลเกินกว่าที่กลุ่มแฟนเพลงเดิมๆ ในฝรั่งเศสจะตามได้ทันทำให้ Django เริ่มหมดความนิยม

ปี ค.ศ.1953 Norman Granz นักดนตรีแจ๊สและโปรโมเตอร์ดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน พยายามที่จะดึงดนตรีแจ๊สกลับมาสู่ความนิยมด้วยการจัดโครงการทัวร์คอนเสิร์ต แจ๊สรอบโลกใช้ชื่อว่า Jazz at the Philharmonic และได้ติดต่อให้ Django เข้าร่วมคอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วย Django สนใจอย่างมาก แต่ยังไม่ทันที่ทัวร์ดังกล่าวจะเริ่มต้น เช้าตรู่ของวันที่ 15 พฤษภาคม ปีนั้นเอง Django ก็เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลันในโรงพยาบาลของเมือง Fontainebleau ใกล้เมือง Samois Sur Seine ซึ่งเป็นบ้านหลังสุดท้ายของเขา

Dizzy Gillesple นักเป่าทรัมเป็ตชาวอเมริกัน หัวหอกของดนตรีแนว Bebop ซึ่งเคยมีโอกาสได้ไปแสดงดนตรีที่กรุงปารีสในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กล่าวว่า หาก Django ไม่ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี ค.ศ.1953 แต่ยังคงมีชีวิตยืนยาวต่อมา ทฤษฎีดนตรีแจ๊สที่พวกเราเล่นกันอยู่ทุกวันนี้จะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน

ดนตรีที่ Django Reinhardt เล่นกับวง The Quintet of the hot club of France จนโด่งดังนั้นปัจจุบันเรียกกันว่า Gypsy Jazz สาเหตุเนื่องจาก พวกยิปซีที่นิยม Django หรืออาจเรียกว่าลูกหลานของ Django พากันเล่นเลียนแบบแนวที่ Django เคยเล่นไว้ ความหมายของ Gypsy Jazz
จึงหมายถึงดนตรีแจ๊สแนวที่ Django เคยเล่นไม่ใช่ดนตรีแจ๊สผสมกับดนตรียิปซีอย่างที่บางคนเข้าใจจริงจริงแล้ว

พวกยิปซีไม่เคยเรียกตัวเองว่า Gypsy คำว่า Gypsy มาจากคำที่คนยุโรปเรียกพวกที่อพยพมาจากอินเดียตอนเหนือผ่านตะวันออกกลางขึ้นมาสู่ยุโรปเมื่อราวพันปีก่อนนี้ เข้าใจว่าเพี้ยนมาจาก Egypt ซึ่งเป็นความเข้าใจในสมัยนั้นว่า พวกร่อนเร่หน้าตาคล้ายแขกพวกนี้คือพวกอียิปต์ พวกยิปซีแผ่กระจายไปสู่แถบต่างต่างของยุโรป พวกที่อยู่ในยุโรปตอนบน แถบฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ฮอลแลนด์ และเยอรมนี เรียกตัวเองว่า Manouche หรือ Sinti พวกนี้คือบรรพบุรุษของ Django ดังนั้น ดนตรีที่ Django เคยเล่นไว้ ปัจจุบันจึงมีผู้เรียกกันอีกอย่างว่า Jazz Manouche เพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า Gypsy ที่พวกยิปซีไม่ใช้เรียกตนเอง บางคนเรียกดนตรีแนวนี้ว่า Hot Club Music เพื่อให้ชัดเจนลงไปเลยว่า เป็นดนตรีแนวเดียวกับวง The Quintet of the Hot Club of France เคยเล่นไว้


ปัจจุบันมีวงดนตรีที่ตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์การเล่นดนตรีแนวนี้มากมายทั้งในยุโรป อเมริกา
และเอเชีย และหลายวงตั้งชื่อคำหน้าว่า Hot Club เพื่อประกาศแนวทางของวงอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น Gypsy Jazz หรือ Jazz Manouche หรือพวกอเมริกันยุคเก่าเรียกว่า Gypsy Swing นี่คือดนตรีที่ Django และ Stephane ให้กำเนิดไว้ตามคำพูดที่ Django เคยบอก
กับ Stephane ก่อนจะตัดสินใจตั้งวงว่า เรามาตั้งวงออร์เคสตร้าเล็กๆ กันเถอะ เล่นด้วยเครื่องสายอย่างเดียวไม่มีกลอง ไม่มีทรัมเป็ต

ทิ้งท้ายไว้แค่นี้ก่อน ยังไงต้องคอยติดตามตอนต่อไปว่าถนนสายดนตรีเส้นนี้
จะเป็นอย่างไร...


   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:06:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 12  
 
อันนี้จากเวปกีต้าร์ไทย ( ขุด)
Introduction – บทนำ
แจ็สเป็นดนตรีที่นับว่าสร้างความอิสระให้กับตัวผู้เล่นอย่างยิ่ง ดนตรีชนิดนี้ไม่เคยสร้างกฎตายให้กับตัวของเอง มันสามารถพลิกแพลงและเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา นับว่าเป็นดนตรีที่สามารถสร้างความแปลกประหลาดใจให้ทั้งตัวผู้ที่เล่นร่วมกันรวมไปถึงผู้ฟังด้วย และสิ่งพิเศษและแตกต่างอย่างเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ “ แจ็ส ” สามารถนำสไตล์ของตัวเองเข้าไปรวมกับดนตรีสไตล์อื่นๆที่มีอยู่ในโลกนี้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไม่ว่ากระแสดนตรีบนโลกนี้จะเปลี่ยนแปลงไปกี่ยุคกี่สมัย จะมีดนตรีแนวใหม่ๆขึ้นอีกซักกี่แนว และคนฟังเพลงจะเปลี่ยนแปลงความชอบไปอีกซักกี่ร้อยครั้ง จนทำให้สไตล์เพลงหลายๆสไตล์ได้ตกยุคตกสมัยไป แต่แจ็สก็ไม่เคยได้ตายตามไปด้วย กระแสของแจ็สยังคงไปได้อย่างเรื่อยๆนิ่งๆและสามารถแฝงตัวเข้าไปได้ทุกยุคทุกสมัยและทุกสไตล์และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดนิ่งแต่อย่างใด

สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสไตล์นี้และไม่มีทางแยกออกจากกันได้แต่อย่างใดคือ “ Syncopation ” การเล่นแบบขืนจังหวะ และ “ Improvisation ” หรือความหมายในภาษาไทยที่เรียกว่า “ การด้นสด ” หรือจะให้เข้าใจถึงความหมายนี้ให้ชัดเจนก็คือ “ การเล่นที่เกิดขึ้นโดยทันที ไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน ” สิ่งนี้นับว่าเป็นเสน่ห์ที่เกิดขึ้นมาคู่กับดนตรีแจ็สอย่างหนีไม่พ้น การเล่นแบบนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับนักดนตรี เพราะจะต้องมีความพร้อมในทุกเรื่อง นั่นคือผู้เล่นต้องมีทักษะและความรู้ทางเรื่องทฤษฏีเป็นอย่างมาก

ช่วงเวลาที่เกิดดนตรี แจ็ส ขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจนก็คงต้องย้อนกลับไปซักราวๆปี 1985 ซึ่งเกิดจากคนผิวดำหรือชาวแอฟริกาหรือที่เรียกว่านิโกรนั่นเอง และต้นกำเนิดดนตรีสไตล์นี้ที่แท้จริงนั้นต้องยกให้กับดนตรีสไตล์ “ Blues “



Blues

เมื่อแรกเริ่มนั้นนับตั้งแต่เหล่าบรรดานักโทษผิวดำชาวแอฟริกันนั้นย่างก้าวเข้ามาสู่ดินแดนเสรีภาพ พวกเข้าก็นำศิลปะ,วัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ด้วย เดิมทีเดียวดนตรีของพวกคนดำนั้นจะออกเป็นพวกเพลงร้องสวดหรือเพลงที่ใช้ร้องในทางศาสนาซะมากกว่าหรือที่เรียกว่า Gospel

ศิลปะชิ้นงานชิ้นนี้นั้นใช้วิธีสืบทอดต่อกันมาโดยวิธีการที่เล่าหรือว่าร้องให้ฟังแบบปากต่อปากรุ่นต่อรุ่น ดนตรีชนิดนี้นั้นส่วนใหญ่เนื้อหาก็เป็นเรื่องของการบรรยายถึงความลำบากลำบนของชีวิตนักโทษหรือทาสที่โดนกดขี่ข่มเหงอยู่ตลอดเวลา โดยที่พวกคนงานหรือแรงงานในไร่ทั้งหลายมักจะใช้เวลาหลังเลิกงานมานั่งร่วมกันร้องเพลงเพื่อระบายความเครียด โดยเครื่องดนตรีเบื้องต้นที่นำมาเล่นส่วนใหญ่ก็เป็นอะไรก็ได้ที่อยู่ใกล้ตัว หรือโดยมากจะเป็นเครื่องดนตรีราคาถูกซะมากกว่า และด้วยความที่ไม่มีการเรียนรู้ในเรื่องของทฤษฎีดนตรีอย่างถูกต้องและจริงจัง จึงทำให้สิ่งที่เล่นออกมานั้นเสียงและท่วงทำนองมักจะออกทางเพี้ยนๆและมั่วแต่มันกลับสร้างความสุขอย่างมหาศาล

และในเวลาต่อมาเมื่อยุคสมัยเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงไป อะไรหลายๆอย่างก็มีการพัฒนาเช่นเดียวกันกับบลูส์ที่พัฒนาไปเป็นดนตรีที่มีคนฟังนิยมไม่แพ้กันเลย อีกทั้งเมื่อเริ่มต้นมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาบลูส์ก็เริ่มเข้าสู่รูปร่างของการค้ามากขึ้น นั่นหมายความว่าเริ่มมีการอัดและบันทึกเสียงเพื่อการค้า และนักดนตรีบลูส์คนแรกที่ต่างก็มีคนเรียกว่าเป็น “ บิดาแห่งบลูส์ ” นั่นก็คือ W.C Handy เขาผู้นี้ได้แต่งเพลงเยี่ยมๆเอาไว้อย่างมากมาย โดยที่ปัจจุบันยังเป็นที่นิยมอยู่ไม่ว่าจะเป็นเพลง Beale Street Blues,Yellow Dog Blues หรือ ST.Louis Blues เป็นต้น

และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายๆปี 1920 ย่างเข้า 1930 ก็ได้ปรากฏนักดนตรีแนวบลูส์ที่น่าจะเรียกว่าเป็นคนบลูส์ที่หัวก้าวหน้ากว่าคนอื่นๆนั่นคือ Lonnie Johnson ซึ่งเขาเป็นมือกีต้าร์ที่มีแนวทางที่รับเอาไอเดียใหม่ๆมาใช้กับตนเองเสมอ และเขาผู้นี้ก็ได้เป็นแรงบัลดาลใจและมีอิทธิพลต่อมือกีต้าร์คนหนึ่งซึ่งปัจจุบันนั้น แม้ว่าตัวจะตายไปแล้วแต่ชื่อเสียงของเขาก็ยังคงอยู่และเป็นมือกีต้าร์ที่คนต่างยอมรับเข้าขั้นเทพอีกคนนั้นคือ Robert Johnson นั่นเอง และในสายของบูลส์นั้นก็ยังคงพัฒนาสืบต่อมาเรื่อยๆ จากคนผิวดำรุ่นต่อรุ่นจนส่งผลต่อคนผิวขาว ซึ่งดนตรีแนวนี้ก็สร้างนักดนตรีดังๆขึ้นมาหลายคนเช่น T – Bone Walker ,Albert King ,B.B King , Mudy Water ,Jimie Hendrix ,Eric Clapton ,Stevie Ray Vaughn , Robben Ford หรือจะเป็นรุ่นใหม่อย่าง Jonny Lang ,Kenny Wayne Shepherd

ดนตรีบลูส์เองนั้นก็มีการพัฒนาการสืบต่อกันมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังขึ้นชื่อว่าเป็นดนตรีที่นิยมกันในเฉพาะในหมู่คนดำ และในขณะเดียวกันนั้นก็ยังมีอีกมุมหนึ่งที่เป็นนักดนตรีผิวดำก็นำบลูส์ไปพัฒนาในเรื่องของจังหวะ โดยระยะแรกนักดนตรีกลุ่มนี้ต่างเรียกสไตล์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นว่า Ragtime



Ragtime & Dixieland

เมื่อมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของดนตรี ก็เริ่มมีการพัฒนาการของเรื่องจังหวะมากขึ้น ดังนั้นแนวดนตรีที่ถูกเรียกว่าแจ็สเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปี 1985 โดยเริ่มต้นนั้นก็ได้พัฒนาทางเดินคอร์ดมาจากบลูส์ และเริ่มมีการเขียนแบบฟอร์มหรือโครงสร้างของบทเพลง เริ่มแรกนั้นดนตรีสไตล์นี้ถูกเรียกว่า Ragtime โดยสไตล์เพลงแบบนี้จะเล่นโดยวงที่มักใช้คนเล่นจำนวนเยอะอย่างวงมาร์ชหรือวงออเคสตร้า เป็นต้น โดยบทเพลงที่เล่นมักจะมีการเตรียมตัวกันไว้ล่วงหน้า และไม่การอิมโพรไวส์เกิดขึ้นแต่อย่างใด โดยที่เพลงประเภทนี้มักจะมีการเล่นก็ต่อเมื่อมีงานรื่นเริงหรือว่างานศพ

นักดนตรีคนสำคัญๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ก็คงจะหนีไม่พ้นชื่อของ Scott Joplin เขาผู้นี้ได้แต่งเพลงที่เป็นมรดกอันล้ำค่าแก่คนรุ่นหลังไว้อย่างมากมาย เพลงดังๆของเขาก็มี Maple Leaf Rag และ The Entertainer เป็นต้น

ดนตรีจังหวะแร็กเริ่มเป็นที่นิยมอย่างสูง โดยเฉพาะทางตอนใต้ของเมริกาที่เรียกว่านิวออร์ลีน ( New Orleans ) เมื่อย่างเข้าสู่ต้นปี 1900 ที่นี่ก็เริ่มมีการพัฒนาการของดนตรีด้วยเช่นกัน เป็นที่รู้กันดีว่านิวออร์ลีนเป็นเมื่องที่รวมคนเอาไว้หลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนดำและพวกที่มีเชื้อสายผสมมากกว่า อีกทั้งคนดำบางคนก็เคยเป็นนักดนตรีในวงมาร์ชมาก่อน อีกทั้งในเมืองนี้มีสถานเริงรมอย่างมากมายและมีดนตรีให้เลือกฟังอย่างแพร่หลายจึงทำให้นิวออร์ลีนกลายเป็นแหล่งที่รวบรวมเอาวัฒนธรรมทางดนตรีไว้เป็นอย่างมาก หรืออาจจะเรียกเมืองนี้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดดนตรีแจ็สอย่างแท้จริงและเป็นทางการเลยก็ได้

ระยะแรกๆนั้นเรียกดนตรีชนิดนี้ว่า New Orleans Jazz ซึ่งเป็นสไตล์ที่ถูกพัฒนาจากนักดนตรีที่มีความรู้และเล่นสไตล์แร็กมาก่อนนั่นเอง แต่เป็นการนำมันมาพัฒนาเป็นสไตล์ที่ชัดเจนมากขึ้น สไตล์ดนตรีชนิดนี้มักจะเน้นไปที่วงที่เน้นเรื่องของริทึ่ม สมาชิกในวงก็จะประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่าง กลองชุด,เปียโน ,กีต้าร์,ดับเบิ้ลเบส และพวกเครื่องดนตรีที่ใช้โซโล่ก็มีพวกเครื่องเป่าอย่าง คาริเน็ต , ทรอมโบนหรือคอร์นเน็ตเป็นต้น โดยที่เหล่าบรรดาเครื่องเป่านั้นมีหน้าที่ในการอิมโพรไวส์แบบทีมเวิร์ค นั้นหมายถึงจะต้องเล่นให้ตรงตามกับโน็ตที่เจ้าของเพลงได้ประพันธ์ขึ้นมา ต่อมาเมื่อมีการแพร่หลายของดนตรีสไตล์นี้มากขึ้นจนเป็นที่นิยมในหมู่คนผิวขาว เหล่าบรรดาคนขาวทั้งหลายจึงได้มีการเรียกชื่อสไตล์นี้ขึ้นมาใหม่จากเดิมคือ New Orleans Jazz เป็น Dixieland อย่างที่รู้จักกันดี



Swing Era & Big Band (1920 – 1940)

ต่อมาหลังจากที่สไตล์ New Orleans Jazz ได้รับความนิยมอย่างสูง และช่วงเวลานี้ก็เริ่มมีการพัฒนาสไตล์และจังหวะของดนตรี จังหวะที่เรียกว่าสวิงถูกพัฒนาให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เริ่มมีการขืนจังหวะมากขึ้น (Syncopation) และการนับแบบ 2/4 เริ่มเป็นภาพเด่นชัด และวงดนตรีจะเริ่มมีการใช้สมาชิกเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะมีคนเล่นประมาณ 10 -12 คน หรือบางครั้งจะมีมากกว่านั้นก็ได้ โดยที่สมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นเครื่องเป่าซะมากกว่า ในส่วนของกีต้าร์นั้นแทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย นอกจากจะใช้ตีคอร์ดเพียงอย่างเดียว หน้าที่ของวง Big Band นั้นอาจแบ่งได้ดังนี้ ในส่วนของ RHYTHM คือ PIANO, BASS, DRUMS และ GUITAR และส่วนของ BRASS ก็มี TRUMPET กับ TROMBONE ส่วน SAXOPHONE ก็มี ALTO, TENOR และ BARITONE

เสน่ห์ของวง Big Band นั่นอยู่ที่ส่วนของริทึ่มของเหล่าบรรดาเครื่องเป่าทั้งหลาย ที่คอยให้จังหวะรับส่ง เล่นทำนอง ที่เริ่มจากค่อย ๆ แล้วดังขึ้นเรื่อย ๆ สร้างอารมณ์ และจะมีคนโซโล่ออกมาเล่นเดี่ยว ซึ่งบุคคลผู้นั้นจะได้รับเกียรติ์อย่างยิ่งจากหัวหน้าวง ราวกับว่าตำแหน่งของเขาคือ มือโซโล่มือหนึ่งของวง

วง Big Band เริ่มเป็นที่นิยมในวงกว้างขึ้น แต่ละวงเริ่มมีงานมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจในอเมริกากำลังเฟื่องฟู ตามเมืองต่างๆมีสถานท่องเที่ยวในยามค่ำคืนเกิดขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้นปี 1917 น่าจะเริ่มต้นเป็นปีทองของแจ็สยุคใหม่ที่เรียกว่า Swing



New Orleans To Chicago & New York

ขณะที่ชาวเมืองต่างๆเริ่มมีความสุขอย่างยิ่งกับการท่องเที่ยวและเสพดนตรี ช่วงเวลาในปีเดียวกันนั้น (1917) ก็ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้เองทำให้อะไรหลายๆอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง รวมไปถึงวงดนตรีอย่าง Big Band

เมื่อเมืองสำคัญอย่าง New Orleans กลายเป็นเมืองแห่งจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ทำให้ผู้คนต่างพากันอพยพ โดยแยกย้ายกันไปอยู่ที่ต่างๆ และคนส่วนใหญ่ก็ได้ย้ายมาที่ Chicago และ New York นั้นก็หมายความว่าดนตรีแจ็สเริ่มที่จะผลิดอกและผลอีกครั้ง



- Chicago

ในส่วนของ Chicago นั้นก็ได้เป็นเมืองที่มีสถานท่องเที่ยวยามค่ำคืนเกิดขึ้นมา

อย่างมากมาย และครั้งนี้ยังมีวง Big Band เยี่ยมๆที่อพยพตามมาเพื่อมาสร้างชื่อเสียงที่อีกทั้งยังมีนักดนตรีฝีมือดีๆมากมายเกิดขึ้น อีกทั้งยังรวมไปถึงนักร้องอีกด้วย วงดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ก็คงจะเป็น วงของ Benny Goodman , King Oliver และนักประพันธ์เพลงที่เป็นหัวหน้าวงอีกคนที่มีชื่อในยุคนี้ก็คงหนีไม่พ้น Ferdinan “ Jelly Roll ” Morton เขาเป็นนักดนตรีอีกท่านหนึ่งที่มาพร้อมกับพรสวรรค์ทางเสียงดนตรี

นักดนตรีที่เรียกว่าเป็นนักปฎิวัติการเล่นอีกคนคงจะต้องให้เครดิตกับเขาผู้นี้ Louis Armstorng เดิมทีเดียวเขาเป็นลูกวงของ King Oliver และเขาก็เป็นมือโซโล่ด้วยเช่นกัน และเมื่อความหน้าเบื่อของการโซโล่ที่ไม่เคยได้สร้างความอิสระให้กับเขา เพราะทุกครั้งจะต้องโซโล่ไปพร้อมกันกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น Louis จึงเปลี่ยนระบบใหม่เมื่อถึงท่อนกลางเขาจึงยืนขึ้นเพื่อโซโล่เดี่ยวแทน เมื่อเป็นเช่นนี้การอิมโพรไวส์จึงน่าจะเป็นการอิมโพรไวส์อย่างแท้จริง Louis Armstorng นับว่าเป็นบิดาคนสำคัญอีกหนึ่งท่านสำหรับคนแจ็ส



- New York New York

ย้อนกลับมาอีกทีหนึ่งที่เป็นแหล่งบ่มเพาะดนตรีแจ็สที่สำคัญ คนบางส่วนก็ได้ย้ายไปอยู่ Chicago บ้างก็ไป L.A ( Los Angeles ) แต่บางส่วนก็ขอสมัครใจที่มาสร้างเนื้อสร้างตัวปักหลักที่ New York เช่นกัน

จุดเริ่มต้นของกระแสดนตรีแจ็สที่นี่ก็ไม่ได้ต่างอะไรนักกับที่ Chicago แจ็สที่นี้ก็เริ่มต้นในสถานบันเทิงและตามย่านฮาร์เร็มทั้งหลาย นักดนตรีและเจ้าของวงชื่อดังใน New York คือ Duke Ellington นั่นเอง

ดนตรีทั้งสองฝั่งไม่ว่าจะเป็นทั้ง New York หรือ Chicago ก็ดีต่างก็กระจายรากฐานของดนตรีแจ็สออกไปในวงกว้าง แต่หากสถานที่ที่แจ็สเริ่มตั้งรากฐานได้อย่างมั่นคงก็คงจะต้องนกให้เป็น New York อย่างแน่นอน เพราะที่นี่เริ่มที่จะเป็นเมืองหลวงของอเมริกาไปเรียบร้อยแล้ว และช่วงเวลาที่เด่นชัดในการพัฒนาของสวิงนั่นคือปี 1930 – 1940 นั่นเอง



Be – Bop (1940 -1950)

เมื่อเวลาแห่งความสนุกและรื่นรมย์แห่งดนตรี Big Band กำลังดำเนินมาเรื่อยๆ และเป็นกระแสหลักแห่งดนตรีในยุคนั้น ปัญหาหนึ่งที่ค้างคามานานท่ามกลางในวงดนตรี Big Band ต่างๆ นั้นคือปัญหาเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันของคนดำและคนขาวที่ต้องเล่นร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินค่าจ้างที่คนดำได้น้อยกว่าหรือการบริการที่ให้กับคนขาวมากกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นก็มีนักดนตรีกลุ่มหนึ่งที่เริ่มเบื่อระบบการทำงานในกลุ่มคนหมู่มากเช่นนี้ มันจึงเป็นเหมือนกับปัญหาที่สะสมมานานเพื่อรอวันระเบิด

และเมื่อวันเวลาที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดอีกอย่างที่เริ่มแสดงให้เห็นถึงนัยยะว่าแนวดนตรี Big Band กำลังถึงจุดตกต่ำนั่นคือ สไตล์ของดนตรีนั่นเองที่เริ่มเป็นตัวทำลายตัวเอง เพราะทุกครั้งที่วง Big Band ขึ้นเล่นก็จะเล่นในรูปแบบและมีฟอร์มที่เตรียมตัวมาเป็นอย่างดีและเป็นประจำทุกครั้ง ก็เลยเป็นเรื่องที่ไม่น่าตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่สำหรับคนที่ดูมาเป็นประจำ ดังนั้นเมื่อย่างเข้าสู่ช่วงกลางปี 1940 ดนตรี Big Band ก็ก้าวมาถึงทางตัน

ในขณะเดียวกันนั้นมีคลับยามค่ำคืนหลายแห่งก็มักจะเปิดช่วงเวลาพิเศษที่เรียกว่า After Hours ขึ้นมา ช่วงเวลานี้จะเป็นที่รู้กันในระหว่างนักดนตรีที่หัวก้าวหน้าทั้งหลาย ที่เบื่อกับดนตรีแจ็สในยุคปัจจุบัน ทุกคนมักจะมารวมตัวพูดคุยถึงดนตรีแจ็สและมักจะหาแนวทางใหม่ๆในการเล่น จนกระทั้งมีการปรากฎตัวของชายหนุ่มไฟแรงทั้งคู่ นั่นคือ Charlie Parker และ Dizzy Gillespie ที่มาร่วมเล่นด้วย

และคลับหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ Milton 's Playhouse ซึ่งได้มีการจัด jam session ทุก ๆ วันจันทร์โดยจัดให้มีการแจมกันกับวงประจำของทางร้านซึ่งมีนักเปียโนประจำคือ Thelonious Monk และ มือกลองคือ Kenny Clarke นักดนตรีที่มาร่วมแจมเป็นประจำก็เป็นนักทรัมเป็ต Dizzy Gillespie และ มือแซ็ก Charlie Parker

ลีลาและสำเนียงของทั้งคู่นั้นต่างจากนักแซ็กโซโฟนหรือมือทรัมเป็ตทั้งหลาย ทั้งคู้เต็มไปด้วยสำเนียงที่เกรียวกราดและรวดเร็ว มีโน็ตหลายๆโน็ตที่เล่นออกมามีท่วงทำนองที่เเปร่งหู เรียกว่าหากใครได้ฟังต้องหันมองอย่างทึ่งทีเดียว

พวกเขาทั้งคู่มักจะชอบตั้งวงในขนาดเล็กที่ต่างจากวงอย่าง Big Band ราวฟ้ากับดิน วงดนตรีของทั้งคู่นั้นมักจะมีสมาชิกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยที่ตำแหน่งผู้เล่นจะมี แซ็กโซโฟน , ทรัมเป็ต ,เปียโน ,เบส และกลองเป็นเครื่องดนตรีหลัก ในส่วนของทางคอร์ดที่รองรับเพลงเหล่านี้ก็มักที่จะเป็นทางคอร์ดที่ซับซ้อนพอสมควรจนบางครั้งอาจจะมีการเปลี่ยนคีย์เพลงหลายคีย์ในเพลงเดียว และมักจะมีการเปลี่ยนคอร์ดที่ถี่มากๆ เช่นในหนึ่งหองมักจะมีคอร์ดที่เปลี่ยนอย่างน้อยสองคอร์ด อีกทั้งเมื่อถูกนำไปเล่นในสปีดที่ไม่ต่ำกว่า 180 – 200 ขึ้นไป (บางเพลงอาจจะถึง 240 -260 หรือมากกว่านั้นก็เป็นได้) จึงเป็นความยากที่น่าท้าทายอย่างยิ่งสำหรับนักดนตรีหัวก้าวหน้าทั้งหลาย แต่สำหรับนักดนตรีหัวโบราณต่างมองว่าเป็นดนตรีที่ไรสาระและแหกขนบธรรมเนียมอย่างยิ่ง แม้กระทั่ง Louis Armstrong เองก็เคยพูดถึงบีบ็อบว่าบีบ็อบนั้น “It had no melody to remember and no beat to dance to”

แต่ดนตรีสไตล์นี้กลับได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะนักดนตรีหัวก้าวหน้าทั้งหลายและพวกนักศึกษาที่เรียนดนตรีอย่างจริงจัง และชื่อเสียงของ Thelonious Monk ,Dizzy Gillespie และ Charlie Parker จึงเป็นที่รู้กันว่าพวกเขาทั้งสามได้ปฎิวัติแนวดนตรีขึ้นมาใหม่ขึ้นมาบนโลกแล้ว ซึ่งได้ถูกขนานนามว่า Be – Bop นั้นเอง

Cool & Hard Bop & Modal Jazz (1940 -1960)

- Cool Jazz 1947

เมื่อยุคที่ Be Bop กำลังเจริญงอกงาม ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นของกลางปีทศวรรษที่ 40 – 50 ก็มีนักดนตรีกลุ่มหนึ่งที่เคยผ่านการเล่นฺ Bop มาแล้วและอยากหาแนวทางการเล่นใหม่ๆให้กับตนเอง ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นแนวที่ต่างจาก Be Bop อย่างสิ้นเชิง ขณะที่ Bop เล่นกันอย่างรวดเร็วราวกับไฟที่กำลังโหมขึ้นอย่างรุนแรง ดนตรีแนวใหม่นี้กลับเหมือนน้ำแข็งที่เย็นสุดขั่ว ดนตรีแนวใหม่นี้ถูกเรียกว่า Cool Jazz

Cool Jazz เป็นสไตล์ที่เปิดช่องว่างให้กับนักดนตรีได้เล่นอย่างอิสระ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องรีบร้อนหรือดุดันอย่าง Be Bop ทางเดินของคอร์ดนั้นใช้คอร์ดได้น้อยมากและลดสปีดให้ช้าลง มีช่องว่างให้ผู้เล่นได้หายใจและมีเวลาคิดมากขึ้นในการอิมโพรไวส์ เป็นเพลงที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อน และมักใช้เครื่องดนตรีที่เข้ามาเสริมแตกต่างไปจากแจ๊สยุคก่อน ๆ เช่น ฟูเกิลฮอร์น ฟลุ๊ต และเชลโล ดนตรีแนวนี้นิยมเล่นกันในหมู่กว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบ West Coast และกลุ่มคนผิวขาวทั้งหลาย ศิลปินในยุคนี้ศิลปินก็มี LesterYoung, Stan Getz , Gerry Mulligan,Dave Brubeck,Chet Baker เป็นต้น และหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงที่พัฒนาสไตล์นี้ที่เห็นภาพเด่นชัดมากที่สุดก็คือ Miles Davis และเขาได้สร้างอัลบัมชุดประวัติศาสตร์ของดนตรีแนวนี้ขึ้นมาก็คือชุด Birth Of Cool นั้นเอง



Hard Bop (1955)

แม้ว่ากระแสของ Cool Jazz จะเข้ามาปกคลุมและเป็นที่นิยมเล่นสำหรับชาว West Cost ทั้งหลาย แต่ช่วงเวลาที่ไม่ทิ้งห่างกันมากนักก็ยังคงมีนักดนตรีใน New York ที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยมและศรัทธาในแนว Bop อยู่ ส่วนใหญ่มักจะเป็นเหล่าคนดำ พวกเขาไม่ได้ละทิ้งแต่อย่างใด แต่กลับนำมันไปพัฒนาขึ้นมาเป็นสไตล์ใหม่ พวกเขานำเอาสไตล์ของจังหวะที่แตกต่างกันม่ว่าจะเป็น R&B,Soul,Funky รวมไปถึง Gospel เป็นต้นมาผสมกับการเล่นแบบ Bop

ดังนั้น Hard Bop จึงมีจังหวะที่หนักหน่วงและร้อนแรงแบบบ็อบผสมกับจังหวะที่แปลกใหม่ของดนตรีสไตล์ต่างๆ ทั้งผู้เล่นและผู้ฟังต่างก็มีความสุขและสนุกกับมันเป็นอย่างมาก นักดนตรีที่เล่นในสไตล์นี้ก็มี Art Blakey , Cannonball Adderley , Horace Silver, Wayne Shorter, Lee Morgan, Freddie Hubbard, Hank Mobley, Cedar Walton หรือแม้กระทั่งตัวของ Miles Davis เองก็มีงานชั้นยอดในแนวนี้ออกมาอย่างมากมายด้วย



Modal Jazz

เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงปลายของทศวรรษ 50 นักดนตรีทั้งหลายก็เริ่มต้นค้นหาเส้นทางใหม่ๆของแจ็ส เพราะด้วยแนวทางเดิมๆที่ได้มีอยู่นั้นเริ่มเป็นเรื่องที่ออกจะน่าเบื่อเกินไปซะแล้ว ดนตรีที่เคยอิมโพรไวส์กันเร็วจี๋อย่างบีบ็อบก็เป็นแค่การไล่ตามคอร์ดที่คอยเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาให้ทันเท่านั้น แม้จะดร็อปจังหวะลงมาเป็นคูลแล้วก็เป็นเพียงแค่การเล่นที่ให้ความรู้สึกสบายไม่ต้องรีบร้อนอะไรมาก เมื่อเห็นดังนั้นแล้วบุคคลที่เรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกดนตรีแจ็สก็คงจะหนีไม่พ้น Miles Davis อย่างแน่นอน เขาและ John Coltrane ได้รวมทีมในยุคใหม่ขึ้นมาซึ่งได้แกนนำตัวสำคัญที่เป็นฟันเฟืองที่ทำให้เกิดเป็นสไตล์ Modal Jazz ขึ้นมาได้ก็คือยอดนักเปียโนอย่าง Bill Evans

Bill เป็นคนแจ็สที่ไม่ได้เล่นรวดเร็วหรือหวือหวาแต่อย่างใด แต่เขาเป็นคนที่เล่นรองรับและหนุ่นให้เครื่องดนตรีอื่นๆมีความโดดเด่นได้เป็นอย่างดี เมื่อเห็นเป็นดังนี้ Miles จึงได้ทำการทดลองโดยการที่ลดและตัดทอนคอร์ดที่เยอะเพื่อให้เกิดช่องงว่างสำหรับนักดนตรีที่อิมโพรไวส์และที่สำคัญเขาเล่มใช้เสียงประสานจากโหมดหรือบันไดเสียงจากเสกลต่างๆมาใช้ในงานเพลงเพื่อให้เกิดเสียงใหม่ๆขึ้นมาและเกิดความอิสระกับความคิดของผู้เล่นมากขึ้น ดังนั้นจึงเกิดมาเป็นผลลัพธ์ในอัลบัม Kind Of Blues ซึ่งจากวันนั้นจนวันนี้อัลบัมชุดนี้ยังคงเป็นอัลบัมที่นักดนตรีทั่วโลกยังคงศึกษากันเป็นอย่างมาก



Bossa Nova

ดนตรีในแนวบอสวาโนว่านั้นอาจจะผิดแปลกจากแจ็สที่เกิดขึ้นในอเมริกาที่มีมาทั้งหมด นั้นเพราะบอสวาโนไม่ได้เกิดขึ้นในอเมริกานั้นเอง แต่บอสวาโนเป็นดนตรีทางพื้นเมืองของชาว บลาซิล และบอสวาโนเป็นดนตรีที่มีอายุเก่าแก่มาก

ในช่วงต้นๆของยุค 60 นั้น ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องการที่จะส่งนักดนตรีในประเทศไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะแถบละตินอเมริกา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และนักดนตรีที่ได้ชักนำเอาบอสซาโนว่าเข้ามาก็คือ Stan Getz นั้นเอง เพราะเขาได้ไปพบนักดนตรีชื่อดังอย่าง Joao Gilberto ,Antonio Carlos Jobim สองแกนนำที่คิดค้นดนตรีบอสซาโนว่าขึ้น ต่อทั้งในอเมริกาและตามแถบละตินอเมริกาต่างก็นิยมเล่นดนตรีแนวนี้เป็นอย่างมาก



Third Stream

ย้อนกลับมาช่วงยุค 50 อีกครั้ง ขณะที่แนวทางของแจ็สกำลังรุดหน้าออกไปหลายๆสาย ก็ยังมีนักดนตรีที่เติบโตมาจากการได้รับอิทธิพลและการฝึกฝนบทเพลงมาอย่างโชกโชน แต่ก็มีใจรักในดนตรีแจ็สเช่นกัน นักดนตรีกลุ่มนี้ต่างก็ได้ทำงานทดลองออกมาในแนวที่มีการผสมผสานดนตรีคลาสสิกและแจ็สเข้าไป ทำให้โลกของดนตรีแจ็สยิ่งเพิ่มสไตล์ที่หลากหลายมากขึ้นไปอีก นักดนตรีคนสำคัญของสไตล์นี้และอีกทั้งยังเป็นบุคลที่ชาวอเมริกันให้เกียรติ์ และยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของชาติอเมริกาไปแล้วนั่นคือ George Gershwin

งานเพลงที่แต่งโดยเขานั้นสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจอย่างชัดเจนว่าแจ็สและคลาสสิกสามารถเข้ากันได้ จะเห็นได้จากเพลง Rhapsody in Blue ที่มีความหมายโดยนัยยะว่ามาจากคลาสสิกและแจ็ส และอีกคนที่ขาดไม่ได้เลยก็เห็นจะเป็น Miles Davis เช่นกัน

Miles เองก็ได้ทำงานเพลงรวมกับนักแต่งเพลงและนักเรียบเรียงเพลงรวมไปถึงเป็นคอนดักเตอร์ในวงออเคสตร้าอย่าง Gil Evans อีกด้วย ผลงานที่ Miles ร่วมกับ Gil นั้นส่วนใหญ่จะเป็นงานที่มีวงออเคสตร้าขนาดใหญ่รองรับอยู่ของหลัง และยังถูกเรียบเรียงเสียงประสานเป็นอย่างดี

Avant Garde – Free Jazz ( 1960 )

หลังจากที่เกิดสไตล์ Modal Jazz ขึ้นมาแล้ว จากเดิมที่ดนตรีจะต้องให้ความสนใจในเรื่องของ Tonal หรือว่าโทนรวมของเพลงที่ยังต้องยึดคีย์เพลงเป็นหลักแม้จะมีการเปลี่ยนคอร์ดที่พิสดารเพียงใดก็ตาม ก็ยังคงต้องอยู่ในกรอบและโครงสร้างของเพลงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ยังมีนักดนตรีอีกกลุ่มหนึ่งที่ผ่านพ้นจุดเหล่านี้มาอย่างโชกโชนก็เริ่มหาเส้นทางใหม่ๆให้กับตนเอง คนดนตรีเหล่านี้ไม่สนเรื่องของ Tonal แต่อย่างใดเพราะพวกเขาพุ่งความสนใจไปที่ Atonal หมายความว่า ดนตรีที่ไม่สนเรื่องของคีย์เพลงหรือเสียงที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของดนตรีแต่อย่างใด สิ่งที่เป็นความสนใจใหม่ที่เข้ามาก็คือเรื่องของ “ จังหวะ ” และ “ อารมณ์ ”

อะไรก็ตามที่ขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นจังหวะที่มาจากทางตะวันออกหรือว่าจังหวะจากแอฟริกันหรือพวกเวิล์ดมิวสิก พวกเขาต่างก็นำมันมาเป็นสัดส่วนในการทดลองสไตล์เพลงแนวใหม่นี้ด้วย และสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขาเลยก็คือการเล่นที่ออกมาจากอารมณ์หรือจากจิตใต้สำนึกล้วนๆ หรือจะกล่าวว่าเป็นดนตรีเปิดทุกอย่างให้เป็นอิสระก็ได้เช่นกัน

แจ็สในรูปแบบใหม่นี้อาจเป็นเรื่องยากมากในการที่จะเข้าถึงมัน หลายๆคนก็ต่อต้านมันแต่อีกหลายคนก็ซึมซับมันอย่างอิ่มเอมราวกับเป็นงานศิลปะในแนว Abstract ชั้นเยี่ยม ทั้งนี้ทั้งนั้นแจ็สในแบบ Avant Garde – Free Jazz ผู้ฟังต้องอาจมีพื้นฐานทางดนตรีแจ็สหรือผ่านการฟังแจ็สมาพอสมควร เพื่อจะได้รับรู้กับอารมณ์ของผู้เล่น

นักดนตรีที่โดเด่นในยุคนี้ก็คือ Ornette Coleman , John Coltrane , Albert Ayler ,Cecil Taylor เป็นต้น



Fusion (1970)

เมื่อย่างเข้าช่วงปลายยุค 60 กระแสดนตรีหลักที่มาแรงเป็นอย่างยิ่งเลยก็คือแนวเพลงร็อก ดนตรีร็อกถูกแพร่กระจายไปอย่างแพร่หลายหนุ่มสาวยุคบุปผาชนต้องการการแสดงออกถึงความอิสระเสรีทางความคิดของปัจเฉกบุคคล ทุกคนต่างใช้การแสดงออกผ่านเสียงเพลง นักดนตรีอย่าง Jimi Hendrix , The Who , The Beatles , Bob Dylan ต่างก้าวขึ้นมาเป็นแรงบัลดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ๆอย่างมากมาย แม้กระทั้งนักดนตรีแจ็สหัวก้าวหน้าอย่าง Miles Davis ที่กำลังต้องการหาแนวทางใหม่ๆให้กับดนตรีของเขา ซึ่งขณะนั้นเขากำลังสนใจดนตรีของ James Brown และดนตรีจังหวะร็อกต่างๆ

ณ ช่วงเวลานั้นดูเหมือนว่า Miles กำลังสนใจในเสน่ห์ของเครื่องดนตรีไฟฟ้าเป็นอย่างมากและอีกทั้งเขายังได้มีโอกาสที่สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางดนตรีกับ Jimi Hendrix เลยทำให้เขาสนใจในดนตรีร็อกเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเห็นโอกาสที่จะทดลองเช่นนี้ Miles ไม่รอช้าแต่อย่างใด เขาตัดสินใจทิ้งเครื่องดนตรีอย่างดับเบิ้ลเบสหรือเปียโน เพื่อนำเอาเครื่องดนตรีอย่างเบสไฟฟ้าหรือคีย์บอร์ดและเขายังนำเอากีต้าร์ไฟฟ้าเข้ามาใช้ในงานด้วย

ผลงานของ Miles ในครั้งนี้เขากลับมาพร้อมกลับการทิ้งจังหวะสวิงหรือเพลงที่ต้องมีคอร์ดที่เปลี่ยนอย่างมากมาย เขามาใช้คอร์ดเพียงไม่กี่คอร์ดและเปิดอิสระให้กับนักดนตรีอย่างเต็มที่โดยไม่ปิดกั้นแต่อย่างใด และเขาได้นำเอาจังหวะของร็อกมาใช้อย่างเต็มตัวจนทำให้เกิดอัลบัมชุดประวัติศาสตร์ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น In The Silent Way , Britches Brew เป็นต้น สองชุดนี้อาจเรียกว่าเป็นอัลบัมที่กำเนิดแนว Fusion Jazz อย่างแท้จริงก็ว่าได้ โดยครั้งนี้ Miles ได้รวบรวมลูกทีมขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจะเป็น Wayne Shorter , Joe Zawinul , Chick Corea ,John McLaughlin ,Herbie Hancock และ Michael Brecker และอีกมากมาย (ภายหลังนักดนตรีเหล่านี้เป็นผู้นำความคิดของ Miles ไปต่อยอดในแนวทางของตนอย่างมากมาย)

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่ Miles ทำเช่นนี้ก็เกิดความไม่พอใจให้กับนักดนตรีหัวโบราณอีกมากมาย พวกเขาเหล่านั้นสาปแช่งและดูถูก Miles อย่างรังเกียจ ทุกคนต่างประณาม Miles ว่าเขาเป็นตัวทำลายความสวยงามของดนตรีแจ็สที่เคยมีอยู่ลงอย่างสิ้นเชิง แต่ทุกคนหารู้ไม่ว่ากระแสแนวเพลงหลักอีกหนึ่งสไตล์ของแจ็สกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว และแม้ว่าจะมีคนเกลียดมากเท่าไหร่ในทางกลับกันก็มีคนชอบมากขึ้นเท่านั้นเช่นกัน Fusion Jazz ของ Miles เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่นักศึกษาและเหล่าคนฟังเพลงร็อกและยังมีแฟนเพลงเก่าๆยังคงติดตามผลงานของเขาอย่างไม่ขาดสาย



Smooth & Contemporary Jazz (1980)

ในขณะที่ Miles กำลังประดิษฐ์คิดค้นเส้นทางเดินทางดนตรีในชั้นเชิงศิลปะของเขาอย่างไม่มีมีวันจบสิ้น ในมุมหนึ่งก็ยังมีนัดนตรีที่คิดว่าดนตรีแจ็สน่าจะถูกขยายฐานลงมาในวงกว้างขึ้นและแจ็สน่าจะเข้าไปถึงคนที่ฟังดนตรีป็อปต่างๆอีกด้วย

โดยแจ็สในรูปแบบนี้ออกจะทำรายได้ในการขายทางการตลาดได้เป็นอย่างดี แจ็สแบบนี้เป็นดนตรีที่ฟังง่ายสบายๆมีการเรียบเรียงเพลงมาเป็นอย่างดี มีริทึ่มที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป บางครั้งมีการนำจังหวะของโซลและฟั้งกี้มาผสมและเมโลดีแบบเพลงป็อป แต่แจ็สในรูปแบบนี้ก็ยังคงได้รับแรงบัลดาลใจจากแนว Fusion Jazz อยู่

โดยความดีความชอบในครั้งนี้น่าจะยกผลประโยชน์ให้กับ Dave Grusin ผู้ซึ่งเป็นมือเปียโนฝีมือดีอีกคน เขาได้ร่วมกับ Larry Rosen ผู้ซึ่งมีความสนใจในด้านการบันทึกเสียงหรืออาจเรียกว่าซาวด์เอนจิเนียร์ก็ได้ โดยทั้งคู่ได้ก่อตั้งค่ายเพลงในแนว Smooth & Contemporary Jazz ขึ้น โดยตั้งชื่อว่า GRP นั่นเอง และยังมีค่ายเพลงในสไตล์นี้เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย

แนวเพลงในสไตล์นี้เป็นที่นิยมกันนอย่างมากใน L.A และนักดนตรีที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลานี้ก็มี Chuck Mangione, John Klemmer, Earl Klugh, Spyro Gyra , George Benson , Lee Ritenour ,Larry Carlton , Bob James เป็นต้น

Jazz In Present Day

หากมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าแจ็สเป็นดนตรีที่มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับและต่อเนื่องและถูกแยกออกเป็นหลากหลายแขนง ปัจจุบันดนตรีแจ็สในแต่ละแนวก็ยังคงมีการพัฒนาการต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อนอีกทั้งยังมีนักดนตรีแจ็สหน้าใหม่ฝีมือดีเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย โดยแต่ละคนต่างก็กำลังคนหาแนวทางใหม่ๆของตนอยู่ แจ็สในแต่ละสไตล์ที่มีมาทั้งหมดในอดีตนั้น ในปัจจุบันก็มีนักดนตรีรุ่นใหม่ๆอนุรักษ์ไว้

และไม่ว่าในอนาคตจะผ่านไปอีกกี่สิบปีดนตรีแจ็สก็ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท้าจะสูญสิ้นผู้สืบต่อแต่อย่างใดและแจ็สยังคงที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองกับดนตรีแนวต่างๆได้ตลอดเวลา อย่างดนตรีในแนวดรัมแอนด์เบสหรือชิลเอาด์ที่ฮิตในปัจจุบันก็มีนักดนตรีอย่าง Miles เคยทำมาแล้วในยุค 80 ตอนปลายย่างเข้า 90 ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่าแจ็สสามารถเข้าไปอยู่ได้ทุกที่

อย่างไรก็ตามไม่ว่าแจ็สจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ก็คงไม่อาจมีผลต่อคนที่รักและชอบแจ็สแต่อย่างใดแน่นอน และไม่ว่าแจ็สในอนาคตจะออกมาเป็นอย่างใดเราก็คงต้องรอดูกันต่อไป

อยากต่อด้วยอุปกรณ์ ของนักดนตรี แต่ว่าหมดแรงแล้ว 55555 เมื่อย


   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:09:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 13  
 
แจ็สเป็นดนตรีที่นับว่าสร้างความอิสระให้กับตัวผู้เล่นอย่างยิ่ง ดนตรีชนิดนี้ไม่เคยสร้างกฎตายให้กับตัวของเอง มันสามารถพลิกแพลงและเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา นับว่าเป็นดนตรีที่สามารถสร้างความแปลกประหลาดใจให้ทั้งตัวผู้ที่เล่นร่วมกันรวมไปถึงผู้ฟังด้วย และสิ่งพิเศษและแตกต่างอย่างเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ “ แจ็ส ” สามารถนำสไตล์ของตัวเองเข้าไปรวมกับดนตรีสไตล์อื่นๆที่มีอยู่ในโลกนี้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไม่ว่ากระแสดนตรีบนโลกนี้จะเปลี่ยนแปลงไปกี่ยุคกี่สมัย จะมีดนตรีแนวใหม่ๆขึ้นอีกซักกี่แนว และคนฟังเพลงจะเปลี่ยนแปลงความชอบไปอีกซักกี่ร้อยครั้ง จนทำให้สไตล์เพลงหลายๆสไตล์ได้ตกยุคตกสมัยไป แต่แจ็สก็ไม่เคยได้ตายตามไปด้วย กระแสของแจ็สยังคงไปได้อย่างเรื่อยๆนิ่งๆและสามารถแฝงตัวเข้าไปได้ทุกยุคทุกสมัยและทุกสไตล์และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดนิ่งแต่อย่างใด สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสไตล์นี้และไม่มีทางแยกออกจากกันได้แต่อย่างใดคือ “ Syncopation ” การเล่นแบบขืนจังหวะ และ “ Improvisation ” หรือความหมายในภาษาไทยที่เรียกว่า “ การด้นสด ” หรือจะให้เข้าใจถึงความหมายนี้ให้ชัดเจนก็คือ “ การเล่นที่เกิดขึ้นโดยทันที ไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน ” สิ่งนี้นับว่าเป็นเสน่ห์ที่เกิดขึ้นมาคู่กับดนตรีแจ็สอย่างหนีไม่พ้น การเล่นแบบนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับนักดนตรี เพราะจะต้องมีความพร้อมในทุกเรื่อง นั่นคือผู้เล่นต้องมีทักษะและความรู้ทางเรื่องทฤษฏีเป็นอย่างมาก ช่วงเวลาที่เกิดดนตรี แจ็ส ขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจนก็คงต้องย้อนกลับไปซักราวๆปี 1985 ซึ่งเกิดจากคนผิวดำหรือชาวแอฟริกาหรือที่เรียกว่านิโกรนั่นเอง และต้นกำเนิดดนตรีสไตล์นี้ที่แท้จริงนั้นต้องยกให้กับดนตรีสไตล์ “ Blues “ Blues เมื่อแรกเริ่มนั้นนับตั้งแต่เหล่าบรรดานักโทษผิวดำชาวแอฟริกันนั้นย่างก้าวเข้ามาสู่ดินแดนเสรีภาพ พวกเข้าก็นำศิลปะ,วัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ด้วย เดิมทีเดียวดนตรีของพวกคนดำนั้นจะออกเป็นพวกเพลงร้องสวดหรือเพลงที่ใช้ร้องในทางศาสนาซะมากกว่าหรือที่เรียกว่า Gospel ศิลปะชิ้นงานชิ้นนี้นั้นใช้วิธีสืบทอดต่อกันมาโดยวิธีการที่เล่าหรือว่าร้องให้ฟังแบบปากต่อปากรุ่นต่อรุ่น ดนตรีชนิดนี้นั้นส่วนใหญ่เนื้อหาก็เป็นเรื่องของการบรรยายถึงความลำบากลำบนของชีวิตนักโทษหรือทาสที่โดนกดขี่ข่มเหงอยู่ตลอดเวลา โดยที่พวกคนงานหรือแรงงานในไร่ทั้งหลายมักจะใช้เวลาหลังเลิกงานมานั่งร่วมกันร้องเพลงเพื่อระบายความเครียด โดยเครื่องดนตรีเบื้องต้นที่นำมาเล่นส่วนใหญ่ก็เป็นอะไรก็ได้ที่อยู่ใกล้ตัว หรือโดยมากจะเป็นเครื่องดนตรีราคาถูกซะมากกว่า และด้วยความที่ไม่มีการเรียนรู้ในเรื่องของทฤษฎีดนตรีอย่างถูกต้องและจริงจัง จึงทำให้สิ่งที่เล่นออกมานั้นเสียงและท่วงทำนองมักจะออกทางเพี้ยนๆและมั่วแต่มันกลับสร้างความสุขอย่างมหาศาล และในเวลาต่อมาเมื่อยุคสมัยเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงไป อะไรหลายๆอย่างก็มีการพัฒนาเช่นเดียวกันกับบลูส์ที่พัฒนาไปเป็นดนตรีที่มีคนฟังนิยมไม่แพ้กันเลย อีกทั้งเมื่อเริ่มต้นมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาบลูส์ก็เริ่มเข้าสู่รูปร่างของการค้ามากขึ้น นั่นหมายความว่าเริ่มมีการอัดและบันทึกเสียงเพื่อการค้า และนักดนตรีบลูส์คนแรกที่ต่างก็มีคนเรียกว่าเป็น “ บิดาแห่งบลูส์ ” นั่นก็คือ W.C Handy เขาผู้นี้ได้แต่งเพลงเยี่ยมๆเอาไว้อย่างมากมาย โดยที่ปัจจุบันยังเป็นที่นิยมอยู่ไม่ว่าจะเป็นเพลง Beale Street Blues,Yellow Dog Blues หรือ ST.Louis Blues เป็นต้น และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายๆปี 1920 ย่างเข้า 1930 ก็ได้ปรากฏนักดนตรีแนวบลูส์ที่น่าจะเรียกว่าเป็นคนบลูส์ที่หัวก้าวหน้ากว่าคนอื่นๆนั่นคือ Lonnie Johnson ซึ่งเขาเป็นมือกีต้าร์ที่มีแนวทางที่รับเอาไอเดียใหม่ๆมาใช้กับตนเองเสมอ และเขาผู้นี้ก็ได้เป็นแรงบัลดาลใจและมีอิทธิพลต่อมือกีต้าร์คนหนึ่งซึ่งปัจจุบันนั้น แม้ว่าตัวจะตายไปแล้วแต่ชื่อเสียงของเขาก็ยังคงอยู่และเป็นมือกีต้าร์ที่คนต่างยอมรับเข้าขั้นเทพอีกคนนั้นคือ Robert Johnson นั่นเอง และในสายของบูลส์นั้นก็ยังคงพัฒนาสืบต่อมาเรื่อยๆ จากคนผิวดำรุ่นต่อรุ่นจนส่งผลต่อคนผิวขาว ซึ่งดนตรีแนวนี้ก็สร้างนักดนตรีดังๆขึ้นมาหลายคนเช่น T – Bone Walker ,Albert King ,B.B King , Mudy Water ,Jimie Hendrix ,Eric Clapton ,Stevie Ray Vaughn , Robben Ford หรือจะเป็นรุ่นใหม่อย่าง Jonny Lang ,Kenny Wayne Shepherd ดนตรีบลูส์เองนั้นก็มีการพัฒนาการสืบต่อกันมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังขึ้นชื่อว่าเป็นดนตรีที่นิยมกันในเฉพาะในหมู่คนดำ และในขณะเดียวกันนั้นก็ยังมีอีกมุมหนึ่งที่เป็นนักดนตรีผิวดำก็นำบลูส์ไปพัฒนาในเรื่องของจังหวะ โดยระยะแรกนักดนตรีกลุ่มนี้ต่างเรียกสไตล์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นว่า Ragtime Ragtime & Dixieland



   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 15:57:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 14  
 
ที่สุดของมือกีตาร์เเจ๊ซซ์ที่คุณต้องหามาฟัง


ใครๆ ก็เล่นแต่กีตาร์ แล้วทำไมใครๆ ถึงได้เล่นแต่กีตาร์นะ?

ด้วยเหตุผลนานาประการทำให้กีตาร์เป็นอุปกรณ์ดนตรีสากลที่เข้าถึงง่ายที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหมด ทั้งหาซื้อง่าย ราคาไม่แพงมาก มีหลายระดับให้เลือก มีเงิน 600 บาทคุณก็ยังเป็นเจ้าของกีตาร์ป๊อกแป๊กสักตัวได้ พกพาไปไหนมาไหนสะดวก ฯลฯ อีกทั้งเป็นเครื่องดนตรีที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตนของผู้เล่นได้แบบไม่มีขีดจำกัด จากคนรักคลาสสิคไปจนกระทั่งคนรักเดธ เมทัล จึงทำให้ใครๆ ก็นิยมเล่นกีตาร์ แต่ใครจะเข้าถึงศาสตร์และศิลป์แห่งกีตาร์ได้มากกว่านั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

บางคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมมือกีตาร์แจ๊ซซ์ที่คุณโปรดปรานจึงไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ ผู้เขียนต้องออกตัวไว้ก่อนว่า บทความอัลบั้มของมือกีตาร์สุดยอดของวงการเเจ๊ซซ์นี้เป็นการรวบรวมแบบคร่าวๆ คัดและตัดตอนมาจาก Guitar Legends เราลองมาดูกันดีกว่าว่า พวกฝรั่งตาน้ำข้าวเขายกย่องและนับถือใครกันบ้าง

PAT METHENY
“หลังจากที่ผมได้ฟังเขาเล่น ผมต้องยอมรับเลยว่า เขาเล่นดีมากๆ” – Gary Burton



Pat Metheny ถือเป็นคลื่นลูกยักษ์ของวงการกีตาร์แจ๊ซซ์ นับตั้งแต่ที่เขาได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในกลุ่มนักดนตรีที่ถือว่ามีวิสัยทัศน์มากที่สุดของ Gary Burton ซึ่งเป็นนักตีระนาดฝรั่ง (Vibraphonist)

ขณะที่ Wes Montgomery และ Jim Hall เป็นแรงบันดาลใจส่งเสริมเขา ให้เขาขัดเกลาส่วนหยาบกระด้าง , ท่อนที่ยังไม่ประสานกันดี , ส่วนริธึ่ม เซคชั่นที่นุ่มนวลและอารมณ์บลูส์ลึกๆ ในบทเพลง Texan ของนักอัลโตแซ็ก Ornette Coleman จากอัลบั้ม New York is Now ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้แพ็ทค้นหาทิศทางของตัวเอง การเล่นของเเพ็ททั้ง Acoustic guitar และ Guitar synthesizer รุ่มรวยไปด้วยแนวประสาน และจังหวะจะโคนที่มีเสน่ห์ บ่งบอกถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้าในศิลปะสมัยใหม่

ในอัลบั้ม Zero Tolerance For Silence เขาร่วมงานกับ Joni Mitchell เพื่อทดลองสิ่งที่เขาอยากทำเกี่ยวกับกีตาร์ อัลบั้มนี้ถ้าใครไม่เข้าถึง ไม่มีความอดทนในการฟังหรือไม่รู้จักแพ็ทดีพอ คงส่ายหัวไปตามๆ กัน แพ็ทมักจะเปลี่ยนรสชาติให้หลากหลายในการทำงานเสมอ แต่ไม่ว่าอย่างไร เขาก็ยังจะต้องกลับเข้าสู่ Modern Jazz ไม่ช้าก็เร็ว

อัลบั้มแนะนำของ Pat Metheny
Song X (1985)
Trio 99>00 (2000)

เพลงเด่น“Missouri Uncompromised”
จากอัลบั้ม Bright Size Life

LENNY BREAU
“Lenny Breau ได้สร้างสรรค์คอนเซปต์ใหม่และทิศทางใหม่ๆ ให้กับการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า”– Johnny Smith



ถึงแม้ว่า Lenny Breau จะมีรากมาจากดนตรีเเจ๊ซซ์ แต่นักกีตาร์เจ้าของกีตาร์ไฟฟ้า 7 สายคนนี้ก็ไม่ได้ด้นดนตรีสดด้วยสีสันของบลูส์มากนัก ด้วยการปรับปรุงการเล่นกีตาร์สไตล์นิ้วกับวิธีการเล่นอันไร้ขีดจำกัดที่ได้มาจากนักดนตรีหลากหลายแนวตั้งแต่ Andres Segovia นักกีตาร์คลาสสิคระดับครูจนถึง Merle Travis นักกีตาร์สไตล์คันทรี่ เลนนี่ก็ยังกลับสู่ความธรรมดาสามัญที่จะเล่นตามแบบแผนดนตรีแจ๊ซซ์กับ George Van Eps และ Johnny Smith สองนักดนตรีที่เป็นต้นตำรับของการประสาน , การเล่นนิ้วที่นอกเหนือจากการใช้แต่เทคนิค

เขาเปิดตัวในยุค 60’s ด้วยสไตล์การเล่นดนตรีแนวผสมระหว่างเผ่าพันธุ์ประเภท Chet Atkins กับ Bill Evans เลนนี่คือ เจ้าของการเล่นเสียงคอร์ดที่คุณฟังดูแล้วเหมือนฟังคนเล่นคีย์บอร์ด , การเดินเบส , การประสานทำนองซ้อน อาจทำให้ไพล่ไปคิดถึง Stanley Jordan , Phil DeGruy และ Charlie Hunter แต่สิ่งที่เลนนี่เล่นออกมานั้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เขาจะเดินเบส เล่นแนวทำนองและแนวคอร์ดแบบเฉพาะตัวด้วยท่วงทีแบบไม่มีใครกล้าแหยมเลยทีเดียว

โศกนาฏกรรมแห่งชีวิตของเลนนี่ในปี 1984 ทำให้เราไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังผลงานและฝีมือของเขาอีกต่อไป แต่อย่างน้อยเราก็ยังจะได้ฟังงานของเขาที่อยู่ระหว่างการผลิตตอนนี้ และคิดว่าจะยังคงมีอัลบั้มของเขาที่จะออกอีกต่อไปในอนาคต

อัลบั้มแนะนำของ Lenny Breau
Live At Bourbon St. (1983)

เพลงเด่น
“If You Could See Me Now”
จากอัลบั้ม Lenny Breau with Dave Young

WES MONTGOMERY
“ผมพยายามหาคำตอบที่จะสามารถตอบคำถามที่ว่า ‘คุณทำอย่างนี้ได้ยังไง?’ ไอ้ “อย่างนี้” ที่ว่าก็คือ การอิมโพรไวซ์ที่มันไพเราะเสนาะโสต แนวเดี่ยวสู่แนวประสาน จากโน้ตเดี่ยวสู่โน้ตคู่แปด แล้วในที่สุดก็เป็นคอร์ด มันสวยงาม อบอุ่นและขรึม ซึ่งทั้งหมดนั้นเขาไม่ได้ใช้พิคเลย มีเพียงแค่นิ้วโป้งมหัศจรรย์ลุ่นๆ ของเวสเท่านั้นเอง รู้มั้ยคำตอบของเวสที่ตอบคำถามนี้มีแค่ ‘ไม่รู้สิ ผมก็แค่เล่นไปตามนั้น’” – Steve Khan



เหมือนทุกๆ อย่างที่ Wes Montgomery ทำ การใช้นิ้วโป้งเล่นกีตาร์ของเขานั้นก็เป็นสัญชาตญาณล้วนๆ ซึ่งมันมากไปกว่าการฝึกฝนตามธรรมดา เมื่อเวสนั่งฝึกกีตาร์ที่บ้าน เสียงแหลมของกีตาร์ (Treble) ของเขามักจะเป็นปัญหารบกวนโสตประสาทภรรยาที่บ้านเสมอ เขาจึงลองปรับโน่นปรับนี่ทุกอย่างทางเทคนิค แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งเขาวางพิคลงและเริ่มใช้หัวแม่โป้ง นั่นแหละภรรยาของเขาจึงได้พออกพอใจ

ด้วยการเล่นที่มีแบบแผนเฉพาะตัว เวสจึงปรารถนาที่จะออกสู่ยุทธจักรและเข้าไปร่วมงานกับพี่น้องของเขา Monk กับ Buddy ที่ Indianapolis เวสทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำขณะที่ยังไม่ชื่อเสียง จนกระทั่งเทพผู้ประทานโชคพาให้ Cannonball Adderley นำเขาไปเซ็นสัญญากับค่าย Riverside งานวง Big Band ของเขาที่ทำกับ Creed Taylor ยอด Producer และ Don Sebesky นัก Arranger ทำให้เขากลายเป็นดาวรุ่ง แต่ก็แค่ช่วงเดียว เพราะในที่สุดโรคหัวใจวายก็พรากเขาไป

ไม่มีมือกีตาร์คนใดในหน้าประวัติศาสตร์แจ๊ซซ์ที่จะรักษาความระดับความไพเราะของท่อนรับท่อนส่งในบทเพลงได้เหมือนเวส จาก Pat Martino และ Pat Metheny สู่ Stevie Ray Vaughan และ Steve Vai จาก George Benson สู่ Jimi Hendrix และ Eric Johnson เวสยังคงมีอิทธิพลต่อนักดนตรีเหล่านี้ และจะยังคงมีอิทธิพลต่อนักดนตรีรุ่นอื่นอีกต่อๆ ไป

อัลบั้มแนะนำของ Wes Montgomery
Complete Riverside Recordings (1992)
Incredible Jazz Guitar (1960)

เพลงเด่น
“S.O.S.” จากอัลบั้ม Full House

FREDDIE GREEN
“ผมไม่รู้เรื่องคอร์ดมากเท่า Freddie Green หัวผมคงหนักอึ้งหากรู้มากเท่าเขา ผมคงจะเข้าไปร่วมวงแล้วเล่นแต่ริธึ่ม เพราะเขาไม่ได้แค่เล่นคอร์ดอย่างเดียว แต่เขาเล่นทีหลายๆ คอร์ดเลย” - Wes Montgomery



เข้าสู่ยุคที่นักกีตาร์มักจะชอบเล่นโซโลโน้ตเดี่ยว และใส่เสียงเอฟเฟคต์แตกๆ ทำให้สไตล์การเล่นของ Freddie Green ออกจะโบราณไปบ้าง เพราะเขาไม่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าหรือเล่นโซโล แต่คุณจะเห็นลีลาจังหวะจะโคนที่สุดจะเร้าใจของเขา

จากเดิมเล่นที่เคย Banjo เฟรดดี้ไปโชว์ฟอร์มให้วง Count Basie Orchestra ติดใจ ที่ New York ในห้องบอลรูม Roseland เมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี 1937 จุดประกายให้เบซี่ได้รู้ทันทีเลยว่า เขาเจอคู่หูมือริธึ่มเข้าให้เเล้ว ร่วมกับ Jo Jones มือกลอง Walter Page มือเบสและเบซี่เล่นเปียโน เฟรดดี้เป็นเหมือนหางเสือเรือที่จะนำนาวาแห่ง Swing ล่องเข้าสู่มหรรณพดนตรีอเมริกัน และเฟรดดี้ก็ยังคงใช้กีตาร์เพื่อนคู่หูตัวเก่าตัวใหญ่ของเขามาตลอด 50 ปี

เฟรดดี้จะเล่นจังหวะ 4/4 แล้วก็คุมจังหวะไปเรื่อยๆ เปิดโอกาสให้ เบซี่และโจนส์ร่วมแจมดนตรี พร้อมๆ กับเพื่อนนักดนตรีฝีมือระดับพระกาฬอย่าง Lester Young , Herschel Evans และ Buck Clayton

ทีนี้ต่อไปทุกๆ ครั้งที่คุณเริ่มให้สัญญาณ “1-2-3-4!” อย่าลืมนึกถึงเฟรดดี้ กรีน

อัลบั้มแนะนำของ Freddie Green
Count Basie / The Best of The Roulette Years (1992)

เพลงเด่น
“Topsy” เล่นกับ Count Basie

JIM HALL
“Jim Hall เป็นคนดึงกีตาร์ไฟฟ้าเข้าสู่ยุคสมัยใหม่จริงๆ ลีลาของเขาโลดแล่นอยู่ระหว่างยุค 40s - 50s และขยายเข้าสู่แนวทำนองสมัยใหม่ ทุกวันนี้คงยากที่จะหามือกีตาร์คนไหนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของจิม ฮอลล์” - Tony Purrone



Jim Hall จบการศึกษามาจาก Cleveland Institute แล้วย้ายมา Los Angeles เป็นที่ซึ่งเขาได้พบ สมาชิกหลักคนหนึ่งในวงดนตรีของ Chico Hamilton สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นก็คือเขาได้เข้าร่วมวงกับนักดนตรีชื่อดังมากมายอย่าง Paul Desmond , Bill Evans และ Sonny Rollins ทำให้เขากลายเป็นฮีโร่ต่อนักดนตรีรุ่นใหม่ๆ ที่นิยมในความสามารถของเขาที่จะเล่นออกมานอกเหนือขีดจำกัดของกีตาร์ รวมทั้งความสามารถที่จะเล่นคลอทำนองอันรื่นรมย์ไปกับนักเป่าเครื่องลมด้วย คีตปฏิภาณของจิม , รสนิยมในการสร้างทำนอง การควบคุมแนวประสานและการพัฒนาอย่างลื่นไหล ทำให้เขาเปรียบเสมือนแสงไฟส่องนำทางให้นักกีตาร์หัวใหม่รุ่นปัจจุบันอย่าง Pat Metheny และ John Abercrombie ไปจนถึง John Scofield และ Bill Frisell

อัลบั้มแนะนำของ Jim Hall
Live At Town Hall (1990)
Dialogues (1995)
Textures (1996)

เพลงเด่น
“John S.”

JOHNNY SMITH
“เท่าที่ผมติดตาม ผมยังไม่เห็นมีใครที่เล่นได้แจ๋วกว่า Johnny Smith เลยนะ คนอื่นอาจจะเล่นแตกต่างกันไป แต่ยังไม่มีใครดีกว่า จอห์นนี่เล่นให้ดูโอเวอร์ไปก็ได้ เพราะว่าเขาเป็นนักดนตรีประเภทไม่มีขีดจำกัดเลย แต่รสนิยมทางดนตรีของเขาทำให้ไม่ใช่คนที่จะมาโม้อะไรเรื่อยเปื่อย แต่สิ่งที่เขาทำออกมาแล้วก็คือ ดนตรีที่ฟังแล้วมีความสุข” – Barney Kessel



งานของ Johnny Smith ในยุคกลางทศวรรษที่ 60 กับค่าย Verve ได้รับการยกระดับขึ้น จอห์นนี่ได้มีชัยชนะเหนือเครื่องดนตรีแล้ว เขาเป็นคนที่ควบคุมสิ่งที่เขาเล่นอยู่นั้นได้และใช้ประโยชน์จากมันอย่างคุ้มค่า ทั้งการคุมโทนเสียงอันเฉียบขาด , ละเอียดหรือหวานนุ่ม

นักดนตรีระดับปรมาจารย์ในรุ่นของจอห์นนี่นั้นก็มีอย่าง Pat Martino , Jack Wilkins และ Larry Carlton ตัวเขาเองเลือกที่จะนำเสนอตัวเองในด้าน Yin คือการเป็นฝ่ายศาสตร์ ต่างกับ Wes Montgomery ซึ่งเป็นฝ่ายศิลป์ที่อยู่ในด้าน Yang บทเพลง “Moonlight In Vermont” เป็นบทเพลงที่แสดงถึงการพัฒนาครั้งสำคัญของเขาในการเล่นกีตาร์และเป็นแม่แบบให้กับนักกีตาร์ทุกๆ คน

แม้ในผลงานช่วงหลังๆ ของเขา ก็แทบยากที่จะเชื่อว่า จะมีใครสามารถประพันธ์แนวการเล่นทำนองและคอร์ดให้สอดรับกันได้ขนาดนี้ด้วยการใช้พิค ถ้าจับเพลงของเขาแยกแนวทำนองเครื่องดนตรีออกมาเป็นชิ้นๆ บางคนอาจจะเอาเข้าไปโยงกับนักกีตาร์สายคลาสสิคอย่าง John Williams และ Michael Lorimer

บางทีการเล่นของจอห์นนี่อาจจะข้ามผ่านเส้นของความนุ่มนวลไปบ้าง แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า แนวทำนองของเขานั้นสวยงาม การเล่นคอร์ดที่รุ่มรวยไปด้วยความรู้สึก ความแม่นยำในการเล่นและเสียงสูงต่ำของทุกตัวโน้ตที่เขาเล่นมันสง่างามจริงๆ

อัลบั้มแนะนำของ Johnny Smith
Moonlight In Vermont

เพลงเด่น
“Jaguar” จากอัลบั้ม Moonlight In Vermont

โอ๊ย... อ่านมากเริ่มปวดตาแล้ว อ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์น่ะ เลยอยากรวมๆกันไว้อ่าน ไม่รู้ชอบกันหรือเปล่า

   โรม5:4-5      13 ต.ค. 50   เวลา 16:01:00   IP = 124.120.152.23
 


  คำตอบที่ 15  
 
ขอบคุณมากครับเยี่ยมมากเลย

   สมาชิกแบบพิเศษ      migrean   16 ต.ค. 50   เวลา 22:43:00   IP = 124.121.72.37
 


  คำตอบที่ 16  
 
ขอบคุณครับ สำหรับความเป็นมาของดนตรี jazz ผมกำลังหาอยู่พอดีครับ

   kitalica      16 ต.ค. 50   เวลา 9:21:00   IP = 58.137.81.212
 


  คำตอบที่ 17  
 
อะโห้ สุดยอดมากครับท่าน ขอบคุณครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      5 ต.ค. 51   เวลา 0:39:00   IP = 124.120.147.33
 


  คำตอบที่ 18  
 
+100

   สมาชิกแบบพิเศษ      slowhand13      6 ม.ค. 56   เวลา 9:04:00   IP = 180.183.53.213
 




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 1999 - 2005


Thailand Web Stat