เรียนรู้เรื่องสเกลแบบว่าให้เข้าใจง่ายๆ (ตอนที่ 3)  
 
พบกันอีกครั้งนะครับ สองตอนที่แล้วเราพูดกันถึงเรื่อง “สเกล” และ “คีย์” ซึ่งเป็นสองเรื่องแรกของเรื่องหลักสำคัญๆ สามเรื่องครับ สำหรับในวันนี้จะเป็นเรื่องที่สาม เป็นเรื่อง “คีย์”

สามเรื่องนี้เมื่อประกอบเข้าด้วยกันทั้ง ก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีดนตรีสากล สามารถนำไปใช้ได้กับการเล่นดนตรีด้วยเครื่องมือต่างๆ หรือเป็นพื้นฐานที่ก้าวข้ามไปเรียนเรื่องอื่นๆ เช่น คอร์ด หรือเรียบเรียงเสียงประสาน

ก่อนที่เราจะเข้าสู่เรื่อง “คีย์” ขออนุญาตให้ย้อนขึ้นไปดูภาพประกอบ เป็น “วงกลมของชื่อของเสียง” ซึ่งมีชื่อทางตัวโน้ตและชื่อทางตัวอักษร ยกตัวอย่างเช่น “โด” เป็นชื่อทางตัวโน้ต ตรงกับ “C” ซึ่งเป็นชื่อทางตัวอักษร เป็นต้น

ที่จัดเรียงให้เป็นวงกลม ก็เพราะว่าชื่อทุกชื่อสามารถทำหน้าที่เป็น “Tonic” หรือ “ชื่อคีย์” หรือ “ประธาน” หรือ “หัวหน้า” อะไรก็ได้ในความหมายเดียวกันนี้น่ะครับ (เหมือนอัศวินโต๊ะกลมของอังกฤษไงครับ ทุกคนใหญ่เท่ากัน สุดแต่ว่าเวลาใดจะมอบให้ใครเป็นผู้พูด อะไรแบบนี้น่ะครับ) เมื่อเราวางลำดับที่ “1” ลงที่ชื่อใด ชื่อที่อยู่ถัดไปนับเรียงตามเข็มนาฬิกาไป ก็จะเป็นสมาชิก นับไปแบบว่า “Root To Root” (ขออนุญาตนำคำของสมาชิกท่านหนึ่งมาใช้นะครับ) ก็คือนับจากตัวมันไปจนชนตัวมันเอง ซึ่งจะได้เป็น 8 ลำดับด้วยกัน ก็จะจัดเป็นชื่อของเสียงสมาชิกของสเกลที่เราต้องการน่ะครับ

ต้องบอกกันก่อนว่านี่เป็นเพียงการเรียงลำดับตามชื่อเท่านั้น เช่น สมมุติว่าถ้าเราเลือก “ลา” เป็นลำดับที่หนึ่ง เราจะได้แถวของชื่อสมาชิกว่า A B C D E F G น่ะครับ เราจะยังไม่ได้เสียงที่ถูกต้อง เพราะถ้าเราจำได้ระยะห่างของเสียงหลัก เราจะพบว่า ที กับ โด นั้น มีระยะห่างกันแค่ 1 เซมิโทน ดังนั้น ถ้าเราวาง ลา เป็นลำดับที่หนึ่งแล้ว ระยะห่างระหว่างลำดับที่สองกับลำดับที่สาม คือระหว่าง ที กับ โด จะต้องห่าง 2 เซมิโทน นั่นหมายความว่าระยะห่างระหว่างสมาชิกคู่สองกับคู่สามในแถวนี้ยังไม่ถูกต้อง คือยังกว้างไม่พอ ถ้าจะให้กว้างพอ โด ที่ทำหน้าที่เป็นคู่สามนั้นจะต้องไม่ใช่ “โดเนเชอรั่ล” แต่จะต้องสูงกว่านั้น 1 เซมิโทน เป็น “โด#” จริงไหมครับ

เพราะฉะนั้น การจัดเรียงชื่อของเสียงตามลำดับในภาพข้างต้นนั้น มีไว้เพียงเพื่อเป็นตัวตั้งต้นเพื่อให้เราจัดเรียงชื่อสมาชิกได้ตามลำดับก่อนเท่านั้น จะยังไม่ได้เสียงที่ถูกต้องในทันที ก็เรากำลังจะเรียนรู้วิธีจัดเรียงระยะห่างของเสียงให้ถูกต้อง หรือจะเรียกอีกทีก็คือ เรากำลังเรียนรู้วิธีคัดกรองเอาเฉพาะเสียงที่ถูกต้องในคีย์ที่เราต้องการ จากเสียงที่มีอยู่ตามธรรมชาติน่ะครับ (กรองเอา 7 เสียง จาก 12 เสียงไงครับ)

ที่อธิบายมาเสียยืดยาว ก็เพื่อสำหรับให้ท่านที่ยังไม่รู้ได้อ่านอย่างละเอียดเพื่อความเข้าใจ ท่านที่รู้แล้วก็คงจะนึกรำคาญบ้าง ก็อย่าว่ากันเลยนะครับ

ท่านที่ยังไม่รู้ก็อย่าตระหนกตกใจว่าทำไมมันยาวยืดอย่างนี้เสียก่อนล่ะครับ ธรรมดาของหนทางที่เราไม่เคยไป ก็ใจจดใจจ่อว่าเมื่อไรจะถึงเสียที พอถึงที่หมายแล้ว คราวนี้กลับไปกี่ครั้งกี่หนก็กลายเป็นว่าใกล้นิดเดียวเอง จริงไหมครับ

แล้วเราก็เหนื่อยหนนี้หนเดียว ก็จะได้พื้นฐานทางดนตรีที่ดีติดตัวไปตลอด คุ้มนา.....

เมื่อเราเลือกเสียงที่เราต้องการได้ แล้วเรียงตามลำดับไว้แล้ว (ในกรณีนี้คือเลือก A B C D E F G )

ต่อไปก็จะเป็นการจัดระยะห่างให้กับสมาชิกในสเกลให้มีระยะห่างตามกฎของสเกลเมเจอร์ นั่นคือ 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ที่เกริ่นกล่าวไว้ในตอนที่แล้วไงครับ

เครื่องมือที่จะช่วยให้เราจัดระยะห่างให้กับสเกลที่เราต้องการได้นั้น จะเรียกว่า “ตารางบังคับคีย์” หรือ “สูตรคีย์” ก็ได้ คล้ายๆ กับตอนเรียนเลขเราก็มี “สูตรคูณ” พอเรียนวิทย์เราก็มี “ตารางธาตุ” ไงครับ เท่ห์ เก๋ ทันสมัยเหมือนกันนน์

ตารางบังคับคีย์นี้ ถ้าจะเอารูปมาวางให้เลยก็จะใช้กันไม่ถูกอีก วิธีที่จะทำให้ใช้ได้ถูกต้องก็น่าจะใช้วิธีการแนะนำหรือบอกให้ท่าน “สร้างด้วยตนเอง” เห็นจะดีกว่าการเอามาวางให้ท่องละน่า... (คล้ายๆ กับการวาดรูปแป้นคีย์เปียโน ถ้าเอามาวางให้ก็จะจำไม่ได้หรือไม่อยากจำว่าอะไรเป็นอะไร แต่พอบอกวิธีวาด ว่าเริ่มจากวางสเกล 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ลงก่อน แล้ววาง “เสียงหลัก” คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ลงไป จากนั้นก็วางเสียงคั่นลงในระหว่างเสียงหลักที่ต้องห่างกันสองเซมิโทน เช่น โด#/เรb เร#/มีb ฯลฯ ก็จะได้รูปเปียโนอย่างเข้าใจ จำได้ไม่มีวันลืม อะไรแบบนั้นน่ะครับ)

ก่อนจะเริ่มต้นวาดตารางบังคับคีย์กัน ก็จะเริ่มต้นด้วยการให้จำ “แก่น” ของตารางกันก่อน (แปลกนะ ตอนแรกไหงบอกว่าไม่ต้องท่องจำไงล่ะ เริ่มให้ท่องจำซะแล้ววว เอิ๊กกกก...) มีชื่อของเสียงเจ็ดชื่อที่เราจะต้องจำครับ เริ่มต้นด้วยตัว “ฟา” แล้วก็ไล่เอาเฉพาะชื่อเป็นคู่ห้าไปตามลำดับ (คล้ายกับ Circle of Fifth ของการไล่ความถี่เสียงที่เริ่มจากตัว “A” น่ะครับ ท่านเรียบเรียงไว้ดีมาก ผมพลอยได้ความรู้ไปด้วยเลย ขอบคุณท่านมากครับ)

เมื่อไล่คู่ห้าไปตามลำดับอย่างถูกต้องการจะได้ “แก่น” ของตารางบังคับคีย์ ดังนี้ครับ

ฟา โด ซอล เร ลา มี ที

ชื่อของเสียงเจ็ดตัวนี้ มีไว้สำหรับไล่ไปกลับครับ ถ้าไล่จากซ้ายไปขวา มีไว้บังคับเสียงของคีย์ทาง# กลับกันถ้าไล่จากขวาไปซ้าย มีไว้บังคับเสียงของคีย์ทางb

ไล่จากซ้ายไปขวาได้ ---> ฟา โด ซอล เร ลา มี ที
ไล่จากขวาไปซ้ายได้ ----> ที มี ลา เร ซอล โด ฟา
ถ้าจะให้จำง่ายๆ ก็ร้องแทนที่เพลง “ริมโบร้อค” ว่า “ฟา โด ซอล เร ลา มี ที... ที มี ลา เร ซอล โด ฟา” ร้องกลับไปกลับมา เดี๋ยวก็จำได้ (สำหรับคนไม่รู้จักเพลงนี้ก็หาวิธีจำกันเอาหน่อยนะครับ โธ่... เจ็ดตัวเอง....

หลังจากนี้แล้ว จะเป็นการตอบตัวของผมเอง เพื่อจะได้วางรูปทีละรูป อธิบายเป็นขั้นๆ ไป (คล้ายๆ กรณีการวางบล็อกสเกลบนคอกีตาร์ ของท่านสมาชิก LONGLIVE THE KING น่ะครับ) ซึ่งนอกจากจะเป็นการอธิบายถึงการวาดตารางบังคับคีย์แล้ว ก็จะได้อธิบายถึงวิธีการนำไปใช้ในการจัดการระยะห่างของสมาชิกในคีย์ต่างๆ ไปในตัวเลย

เนื้อหาที่จะวางรูปนั้นก็ประมาณ 17 – 18 รูปน่ะครับ ยาวหน่อยแต่ละเอียด

ท่านที่กำลังอ่าน อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ตกลงกันก่อนว่าจะยังไม่ถามอะไรแทรกเข้ามานะครับ จนกว่าผมจะกล่าวคำอำลา บอกว่าจบตอนแล้ว



   สมาชิกแบบพิเศษ   biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 18:28:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 125.27.220.21


 


  คำตอบที่ 1  
 
รูปแรกนี้เริ่มวาง "แก่น" ของตารางบังคับคีย์ แล้วเขียนป้ายประกอบ

จะสังเกตว่าเห็นว่า
"สีน้ำเงิน" ใช้ประกอบกับ คีย์ทาง #
"สีแดง" ใช้ประกอบกับ คีย์ทาง b

ภาพนี้คงจะชัดเจนในตัวมันเอง คงไม่ต้องอธิบายมากไปกว่านี้นะครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 18:37:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 2  
 
เริ่มกันที่คียทาง # คีย์แรกเลยนะครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 1 ได้แก่คีย์ G มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด # จำนวน 1 ตัว คือ F#"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก G มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย # ที่ตัว ฟา

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี ง่ายดีไหมครับ

ข้อสังเกต ที่ "แก่น" ตัวอักษร G เป็นสีน้ำเงิน แปลว่าเริ่มต้นชื่อคีย์ที่ตัวอักษรนั้น

ท่านที่เป็นนักเดา ก็เดาล่วงหน้าได้เลยครับว่า คีย์ทาง # ลำดับที่สอง จะมีชื่อว่าอะไรเอ่ย?

   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 18:43:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 3  
 
ต่อกันด้วยคีย์ทาง # คีย์ที่สองครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 2 ได้แก่คีย์ D มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด # จำนวน 2 ตัว คือ F# C#"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก D มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย # ที่ตัว ฟา โด

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี

ข้อสังเกต ที่ "แก่น" ตัวอักษร D เป็นตัวอักษร ตัวที่สอง ต่อจาก G

ลองเดาดูดิครับ คีย์ทาง # ลำดับต่อไป จะมีชื่อว่าอะไรเอ่ย?


   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 18:48:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 4  
 
ต่อกันด้วยคีย์ทาง # คีย์ที่สามครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 3 ได้แก่คีย์ A มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด # จำนวน 3 ตัว คือ F# C# G#"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก A มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย # ที่ตัว ฟา โด ซอล

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี

ข้อสังเกต ที่ "แก่น" ตัวอักษร D เป็นตัวอักษร ตัวที่สอง ต่อจาก G

ลองเดาดูดิครับ คีย์ทาง # ลำดับต่อไป จะมีชื่อว่าอะไรเอ่ย?


   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 18:51:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 5  
 
ต่อกันด้วยคีย์ทาง # คีย์ที่สี่ครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 4 ได้แก่คีย์ E มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด # จำนวน 4 ตัว คือ F# C# G# D#"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก E มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย # ที่ตัว ฟา โด ซอล เร

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี

   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 18:54:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 6  
 
ต่อกันด้วยคีย์ทาง # คีย์ที่ห้าครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 5 ได้แก่คีย์ B มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด # จำนวน 5 ตัว คือ F# C# G# D# A#"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก B มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย # ที่ตัว ฟา โด ซอล เร ลา

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี

   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 18:56:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 7  
 
ต่อกันด้วยคีย์ทาง # คีย์ที่หกครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 6 ได้แก่คีย์ F# มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด # จำนวน 6 ตัว คือ F# C# G# D# A# E#"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก F มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย # ที่ตัว ฟา โด ซอล เร ลา มี

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี


   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 18:59:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 8  
 
สู้ ๆ มาเป็นกำลังใจให้ ครับ

   LONG LIVE THEKING      21 พ.ค. 52   เวลา 19:00:00   IP = 112.143.9.184
 


  คำตอบที่ 9  
 
ต่อกันด้วยคีย์ทาง # คีย์ที่เจ็ด ครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 7 ได้แก่คีย์ C# มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด # จำนวน 7 ตัว คือ F# C# G# D# A# E# B#" (ติด # ทุกตัวนั่นแหละครับ)

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก C มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย # ที่ตัว ฟา โด ซอล เร ลา มี ที

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี

หมดคีย์ทาง # ครับ ต่อไปก็จะเป็นคีย์ทาง b (ด้านขวา สีแดง อ่านจากขวามาซ้าย)

   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 19:02:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 10  
 
คราวนี้มาเริ่มกันที่คีย์ทาง b ครับ อยู่ด้านขวา สีแดง อ่านจากขวามาซ้าย

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 1 ได้แก่คีย์ F มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด b จำนวน 1 ตัว คือ Bb"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก F มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย b ที่ตัว ทีb

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี ง่ายดีไหมครับ

ข้อสังเกต ที่ "แก่น" ตัวอักษร F เป็นสีแดง แปลว่าเริ่มต้นชื่อคีย์ทาง bที่ตัวอักษรนั้น

ท่านที่เป็นนักเดา ก็เดาล่วงหน้าได้เลยครับว่า คีย์ทาง b ลำดับที่สอง น่าจะมีชื่อว่าอะไรดีเอ่ย?

F น่ะอยู่ซ้ายสุด ถ้าอ่านจากขวาไปซ้าย ก็ต้องมาเริ่มต้นไปจากทางขวาใหม่ ใช่ไหมเอ่ย.....

   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 19:09:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 11  
 
ต่อกันด้วยคีย์ทาง b คีย์ที่สองครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 2 ได้แก่คีย์ Bb มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด b จำนวน 2 ตัว คือ Bb Eb"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก B มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย b ที่ตัว ที มี (ตัวหัวท้าย อย่าลืมกำกับนะครับ)

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี

ข้อสังเกต ที่ "แก่น" ตัวอักษร B เป็นตัวอักษร ตัวที่สอง ต่อจาก F

แต่เมื่อเป็นชื่อคีย์ทาง b แล้วตัวเองติด b ชื่อคีย์ก็ต้องติด b ด้วย จริงไหมครับ

ลองเดาดูดิครับ คีย์ทาง b ลำดับต่อไป จะมีชื่อว่าอะไรเอ่ย?

   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 19:14:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 12  
 
ต่อกันด้วยคีย์ทาง b คีย์ที่สามครับ

จากภาพ อ่านได้ว่า "คีย์ที่ 3 ได้แก่คีย์ Eb มีจำนวนเสียงที่จะต้องติด b จำนวน 3 ตัว คือ Bb Eb Ab"

ด้านล่างเป็นการนำสมาชิกที่เริ่มต้นจาก E มาวางเรียงจนครบ

จากนั้นกำกับเครื่องหมาย b ที่ตัว ที มี ลา (ตัวหัวท้าย อย่าลืมกำกับนะครับ)

เปรียบเทียบดูระยะห่างกับสเกลที่วางไว้ จะเห็นว่ามีระยะห่างเป็น 1 – 2 – 3 ^ 4 – 5 – 6 – 7 ^ 8 ตรงตามกฎของระยะห่างของสเกลเมเจอร์ พอดี


   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 19:18:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 13  
 
ท่านผู้มีเกียรติครับ เผอิญว่าภาพตั้งแต่คีย์ทาง b คีย์ที่ 4 เป็นต้นไปนั้นมีขนาดใหญ่มาก เกิน 60k. ผมจึงขออนุญาตนำ "ตารางบังคับคีย์" แบบเต็มตัวมาเสนอเลยก็แล้วกัน

เข้าใจว่าจากคำอธิบายของภาพต้นๆ เป็นต้นมา ท่านคงจะพอลำดับและใช้ตารางบังคับคีย์ได้ทุกคีย์อย่างเข้าใจแล้วนะครับ รวมทั้งน่าจะสามารถคัดกรองเอาสมาชิกในคีย์ที่เหลือออกมาได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

ที่เหลือขออนุญาตยกยอดไปสรุปรวมคราวต่อไปนะครับ

พบกันคราวหน้า แต่ฝากการบ้านอีก

ด้วยตัวเลขลำดับเดิมที่ให้การบ้านไว้ในตอนที่สอง ท่านสามารถออกเสียงในคีย์ต่างๆ ที่ท่านคัดกรองสมาชิกออกมาได้หรือไม่ครับ ลองดูให้ได้ทุกคีย์นะครับ วิธีเดียวกันนั่นแหละ ก็สเกลเมเจอร์เดียวกัน เพียงแต่ชื่อสมาชิกเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง

ขอให้มีความสุขกับการเรียนรู้นะครับ พบกันใหม่คราวหน้าครับ.....

   สมาชิกแบบพิเศษ      biospray   21 พ.ค. 52   เวลา 19:32:00   IP = 125.27.220.21
 


  คำตอบที่ 14  
 
ขอบคุณนะครับ

   nathsine      22 พ.ค. 52   เวลา 20:58:00   IP = 58.9.106.59
 


  คำตอบที่ 15  
 
ขอบคุณมากๆครับ

รู้จักทฤษฎีขึ้นเยอะเลย

   toky      28 พ.ค. 52   เวลา 23:45:00   IP = 125.24.219.122
 


  คำตอบที่ 16  
 
ขอบคุณมากครับ

ถ้าผมจะเรียกว่าครูก็คงไม่ผิด

จากที่ผมไม่เคยเข้าใจสเกลมาก่อน และอยากจะรู้มาก

จะไปเรียนก็ไม่ค่อยมีทุน ตอนี้ก็พอเข้าใจขึ้นมาบ้าง

อีกอย่างอ่านโน้ตก็ไม่เป็น บรรทัด5เส้นอะครับ

แบบนี้ช่วยให้ผมเข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลย

   Araidee      3 มิ.ย. 52   เวลา 19:39:00   IP = 125.27.54.141
 


  คำตอบที่ 17  
 
ขอบคุณมากครับ

ความรู้เต็มเปี่ยมครับ

   SoFarAway      17 เม.ย. 53   เวลา 1:52:00   IP = 183.89.124.130
 




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 1999 - 2005


Thailand Web Stat