 |
|
 |
|
*** ทฤษฎีรายวัน ตอน 1-37 ครับ ^-^(รวมถึงตอนต่อๆมาด้วยครับ) |
|
|
|
|
|
 |
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่1
เริ่มแรก ขอเป็นเรื่อง สัญลักษณ์ ของโน๊ตดนตรี+ชื่อภาษาอังกฤษนะครับ เพราะมันจำเป็นที่ควรจำชื่อภาษาอังกฤษไว้ให้ได้ เพื่อการสื่อสารที่เป็นสากลน่ะครับ ลองดูนะครับ
ตัวกลม= WHOLE NOTE ตัวขาว= HALF NOTE ตัวดำ = QUARTER NOTE ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น= EIGHT NOTE ตัวเขบ็ตสองชั้น= SIXTEEN NOTE
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:03:00
พิมพ์
แจ้งลบ IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 1 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่2
มาต่อกันด้วยเรื่องของ ค่าโน๊ตของแต่ละตัวโน๊ตนะครับ(พื้นฐานนะครับ)
WHOLE NOTE = 4 HALF NOTE =2 QUARTER NOTE=1 EIGHT NOTE=1/2 SIXTEENTH NOTE=1/4 นี่ก็คือ ค่าโน๊ตพื้นฐานในอัตราจังหวะ 4 4 หรือ COMMON TIME
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:03:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 2 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่3
เมื่อกันก่อนถึงเรื่องนี้ครับ WHOLE NOTE = 4 HALF NOTE =2 QUARTER NOTE=1 EIGHT NOTE=1/2 SIXTEENTH NOTE=1/4 นี่ก็คือ ค่าโน๊ตพื้นฐานในอัตราจังหวะ 4 4 หรือ COMMON TIME นะครับ ไว้มาต่อกันนะครับ ขอบคุณครับ
วันนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับ KEY SIGNATURE ครับ เริ่มกันเลย เวลาคุณดูโน้ต คุณก็จะสังเกตเห็นเลขที่อยู่บรรทัดแรกนะครับ ตัวอย่างคือ 2 2,4 4, 6 8,2 4,3 4 เป็นต้นนะครับ(เลขมันจะเป็นบนล่างคล้ายเศษส่วนนะครับ ตัวแรกคือตวบน ตัวสองคือตัวล่างครับ) ตัวบน = จังหวะในเพลง เช่น 4 4 ก็แสดงว่า มี 4 จังหวะนะครับ ตัวล่าง= เลขที่เป็นตัวแทนของ หนึ่งจังหวะ อย่าเพิ่งงงนะครับดูข้างล่างนี้ก่อน WHOLE NOTE = 1 HALF NOTE =2 QUARTER NOTE=4 EIGHT NOTE=8 SIXTEENTH NOTE=16 ตัวเลขข้างบนเกิดมาจากอัตราจังหวะตามธรรมชาติของมันครับ(common time) ก็คือว่า WHOLE NOTE เป็นจังหวะที่มี 4 จังหวะ เราจะใช้ แทนด้วยเลข 1 ส่วนตัวอื่นนั้นอิงจาก WHOLE NOTE ทั้งสิ้น เช่น HALF NOTE มี 2 จังหวะในตัวมันเอง ถ้าเทียบกับตัวกลมแล้ว HALF NOTE 2 ตัวจะเท่ากับ WHOLE NOTE ตัวนึง เช่นเดียวกัน QUARTER NOTE มี 1 จังหวะในตัวมันเอง ถ้าเทียบกับตัวกลมแล้ว QUARTER NOTE 4 ตัวจะเท่ากับ WHOLE NOTE ตัวนึง เช่นเดียวกัน นี่คือที่มาของเลขที่ผมอ้างอิงไว้นะครับ ต่อมามาว่าถึงเรื่องเลขตัวล่าง กันต่อที่แทนด้วย 1,2,4,8,16 เป็นต้น สมมุติว่าเราเจอเพลงที่อัตราจังหวะเป็น 4 4 ก็จะมีค่าเท่ากับ เรามอง เลขตัวหลังก่อน(จริงๆคือล่าง แต่พิมในนี้ไม่ได้ขออภัยครับ) เราก็จะเห็นเลข4 ก็เท่ากับโนต ตัวดำหรือ QUARTER NOTE นั่นเอง ต่อมาเราก็มองที่ เลขข้างหน้าคือ 4 มันก็จะมีความหมายว่า ให้เล่น 4 จังหวะ 4 หวังในที่นี้ คือให้เล่นตัวดำเป็น 1 จังหวะ ดังนั้น 4 จังหวะในห้องนี้ก็เท่ากับ มีตัวดำเป็น 1 จังหวะ ดังนั้นต้องคัวดำ4ตัว จะได้ครบ 4 จังหวะ เข้าใจเปล่าครับ สมมุติอีกซักอันนะครับ เอาเป็นจังหวะ 4 2 ละกัน เราก็วิเคราะห์ซะ ก็คือเรามอง เลขตัวหลังก่อนเราก็จะเห็นเลข 2ก็เท่ากับโนต ตัวขาวหรือ HALF NOTE นั่นเอง ต่อมาเราก็มองที่ เลขข้างหน้าคือ 4 มันก็จะมีความหมายว่า ให้เล่น 4จังหวะ 4 หวังในที่นี้ คือให้เล่นตัวขาวเป็น 1 จังหวะ ดังนั้น 4 จังหวะในห้องนี้ก็เท่ากับ มีตัวขาวเป็น 1 จังหวะ ดังนั้นต้องเล่นคัวขาว4ตัว จะได้ครบ 4 จังหวะ เข้าใจเปล่าครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:03:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 3 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่4
วันนี้อยากจะพูดถึงเรื่องของ form(รูปแบบ) เพลงครับ พอดีมีรูปประกอบพอดีน่ะครับ ดังที่เห็นนั้นเรียกว่า Blues Form นะครับมี 12 Bar(ห้องเพลง) อย่าเพิ่งมอง chord ด้านบนนะครับ มาทวน Progression ของเพลง Blues กันก่อนดีกว่าก็คือ 1/1/1/1 4/4/1/1 5/4/1/5 ตัวเลขนั้นหมายถึงคอร์ดใน key นั้นๆนะครับเช่น เลข1 ถ้าสมมุติเป็น key C เลข1 ก็เป็น Chord C,4 เป็นคอร์ด F.5 เป็นคอร์ด G ลองฝึกเล่น progression นี้ไปก่อนนะครับ เดี๋ยวหรุ่งนี้มาดูต่อ ว่า แล้ว blues jazz มันต่างกันอย่างไร สวัสดีครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:04:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 4 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่5
มาว่ากันถึงเรื่องคอร์ดครับ คอร์ดพื้นฐานมีอยู่ 4 ชนิด ดังนี้ครับ 1.Major 2.minor 3.Dim 4.Aug เอกลักษณ์ของเสียงก็ต่างกันดังนี้ครับ อันนี้ตามที่ผมวิเคราะห์นะครับ Major จะสดใสครับ minor เศร้า dim น่ากลัว วังเวง Aug เต็มไปด้วยคำถาม สงสัย ประมาณนี้ล่ะนะครับ มาว่ากันต่อถึงโครงสร้างมันดีกว่านะครับ ดังนี้ Major= 1 3 5 minor= 1 b3 5 dim = 1 b3 b5 Aug = 1 3 #5 * b=ลดลงมาครึ่งเสียง เรียกว่า flat #=เพิ่มขึ้นครึ่งเสียง เรียกว่า sharp เลข 1 35 นั้นคือลำดับเลขที่นับจาก scale นะครับ เช่นถ้าเราอยากสร้าง chord C ก็ไล่ scale C major ก่อน คือ C D E F G A B C ขออธิบายเสริมว่าตัวอักษรพวกนี้คืออะไรนะครับ C=โด D=เร E=มี F=ฟา G= ซอล A=ลา B=ที ต่อนะครับ พอไล่ scale C major ได้แล้ว เราก็นำตัวโน๊ตใน scale ออกมา ถ้าอยากได้คอร์ด C Major ก็ ตาม progression เลยคือ 1 3 5 เอาล่ะก็มาดูว่าตัว 1 3 5 คือตัวอะไร ก็จะได้เป็น C E G เท่านี้เองครับการสร้างคอร์ด ต่อมาคอร์ด C minor เช่นกันดู Progression ก่อน คือ 1 b3 5 ก็จะได้เป็น C Eb G ต่อมาคอร์ด C dim เช่นกันดู Progression ก่อน คือ 1 b3 b5 ก็จะได้เป็น C Eb Gb ต่อมาคอร์ด C aug เช่นกันดู Progression ก่อน คือ 1 3 #5 ก็จะได้เป็น C E G# เท่านี้ล่ะนะครับ ลองไปสร้างกันดู พรุ่งนี้มาอธิบายถึง scale และ chord ต่อ สวัสดีครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:04:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 5 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่6
วันนี้มาย้อนพูดกันถึงเรื่อง scale ตั้งแต่ต้นเลยนะครับ อ้างอิงผังตรงนี้ก่อนนะครับ C=โด D=เร E=มี F=ฟา G= ซอล A=ลา B=ที ท่องจำกันให้แม่นนะครับ scale=บันไดเสียงนะครับ มีหลายประเภทแต่วันนี้จะมาเจาะกันที่ scale Major กับ netural minor กันก่อนนะครับ เริ่มที่ C Major ครับ ง่ายที่สุดดังนี้ครับ C D E F G A B C ผมอยากอธิบายถึงความห่างของตัว note ก่อนนะครับ ซึ่งก็จะมีทั้งเสียงเต็ม และครึ่งเสียงนะครับ มาดูกันเลย เสียงเต็ม=Whole step(ตัวย่อคือ w) ครึ่งเสียง=Half step(ตัวย่อคือ h)
ครึ่งเสียงตามธรรมชาติเลยนั้นจะอยู่ที่ E ไปหา F=h และ B ไปหา C =h นอกนั้น note จะห่างกันเสียงเต็มหมด คือ C ไป D=w.D ไป E=w.F ไป G=w.G ไป A=w.A ไป B=w ดังนั้นโครงสร้างของ Major Scale จึงเป็นดังนี้นะครับ w w h w w w h C D EF G A BC ในด้านของ minor scale นั้นให้เรา นำตัวที่ 6 ของ Major Scale มาแล้วเรียงใหม่ให้ root to root (root=โน๊ตตัวต้น เช่น C Major Scale มี root คือ C และไล่ไปจนจบที่ C )
ยกตัวอย่าง C Major Scale อีกแล้วดังนี้ C D E F G A B C 1 2 3 4 5 6 7 8 ตัวที่ 6 ก็คือ A ก็นำ A มาเรียงใหม่ root to root ก็จะได้เป็น A BC D EF G A เทานี้ก็ได้ A Natural minor แล้วครับ คราวนี้มาวิเคราะห์โครงสร้างของมันกันนะครับ ก็จะได้เป็น w h w w h w w A BC D E F G A วันนี้ก็อยากให้ทุกคนจำสูตรโครงสร้างไว้ก่อนแล้วพรุ่งนี้จะมาต่อที่ scale อื่นๆนะครับ Major Scale= w w h w w w h minor Scale= w h w w h w w ลองท่องกันดูนะครับ แล้วไว้มาต่อกันครับ สวัสดีครับ เป๋า
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:04:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 6 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่7
หลายท่านอาจจะงงว่า รู้โครงสร้างแล้ว แต่จะสร้าง Scale Major อันอื่นได้อย่างไรมาดูกันครับ วิธีก็คือ แบ่ง C Major Scale เป็น 2 ส่วน(เรียกว่า tetracord 1 และ 2)นะครับดังนี้ ส่วนที่ 1= C D EF =tetracord 1 ส่วนที่ 2= G A BC =tetracord 2 ถ้าสังเกตุดูดีจะเห็นว่า ระยะห่างของ note ในส่วน 1 จะเท่ากับส่วน 2 เลยคือ w w h มัน balance กันมาก จนเกิดเป็นสูตรขึ้นมานะครับ ก็คือ เมื่อเราต้องการจะสร้าง scale อีก scale ขึ้นมาใหม่ ให้เรานำ note ตัวแรก ของ tetracord 2 มาเป็นตัวตั้ง แล้วเรียง จาก root ถึง root ก็จะได้ดังนี้นะครับ G A BC D EF G เอาละคราวนี้เราได้ note ครบ root ถึง root แล้ว ต่อครับ ก็สร้าง tetracord 2ส่วนเหมือนเดิมจะเป็นดังนี้ครับ ส่วนที่ 1= G A BC =tetracord 1 ส่วนที่ 2= D EF G=tetracord 2 ถ้าสังเกตุดูดีๆจะเห็นอะไรทะแม่งๆขึ้นมาก็คือ ระยะห่างส่วน 1 กับ 2 ไม่เท่ากัน ตอนนี้มันเป็น ส่วนที่ 1= w w h แต่ ส่วนที่ 2= w h w ตอนต้นผมอธิบายแล้วว่ามันต้องเหมือนกันถึงจะเป็นโครงสร้าง Major Scale ที่ถูกต้อง ดังนั้นเราต้องแก้ตัวใดตัวหนึ่งแน่นอนเพื่อถูกโครงสร้าง มาดูกัน ในส่วน 1 นั้นถูกแล้ว w w h แต่ 2 ผิดสังเกตว่าตอนนี้เป็น w h w อยู่ ดังนั้นเราต้องทำให้มันเป็น w w h ตาม form โอเคมาดูกัน เราก็นำเครื่องหมาย #(sharp=ขึ้นครึ่งเสียง) ไปใส่ที่ตัว F ในส่วนที่ 2 ดังนี้ D E F#G เพียงเท่านี้ ก็จะกลายเป็นระยะห่างที่ถูกต้องแล้วนะครับ ดังนี้ ส่วนที่ 1= G A BC =tetracord 1 ส่วนที่ 2= D E F#G=tetracord 2 ดังนั้น Scale G Major จึงติด 1# คือ F# ก็จะเป็น G A BC D E F#G ง่ายไหมครับที่มาและวิธีการ ถ้าอยากจะสร้าง scale ต่อๆไปอีก ก็แบ่งเป็น 2 ส่วนจาก G Major Scale ต่อไป ดังนี้แบ่งก่อนได้ ส่วนที่ 1= G A BC =tetracord 1 ส่วนที่ 2= D E F#G=tetracord 2 แล้วนำตัวแรกส่วนที่ 2 ไปตั้งใหม่ ได้ ส่วนที่ 1= D E F#G ส่วนที่ 2= A BC D วิเคราะห์ดูว่าเป็น w w h หรือเปล่า เห็นว่าส่วน 2 ผิดดันเป็น w h w เราก็ดันตัว C ให้สูงขึ้นครึ่งเสียงโดยการใส่เครื่องหมาย # เข้าไปเท่านี้ล่ะครับ ได้ ส่วนที่ 1= D E F#G ส่วนที่ 2= A B C#D ดังนั้นScale D Major มี note ดังต่อไปนี้นะครับ D E F#G A B C#D ติด2#นั่นเอง เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ก็ลองไปทำต่อดูให้ครบ 7 sharp นะครับ ผมให้ไป 2 แล้ว สงสัยถามได้ที่ เป๋า peaceful_70@msn.com ขอให้ทุกคนสนุกกับสิ่งที่ผมให้นะครับ ผิดพลาด ประการใดขออภัยด้วยครับ ไว้เจอกันใหม่ครับ สวัสดี ป.ล. อย่าลืมไปลองทำดูนะครับ เพราะถ้าไม่ลองอาจจะไม่เข้าใจครับ ขอบคุณครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:04:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 7 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่8
ขอโทษด้วยที่เมื่อวานหายไปนะครับ พอดีนอนหอเพื่อนน่ะครับ มาต่อกันเลยวันนี้ผมจะเฉลย Scale Major ทาง #(sharp) ให้ทุกคนได้นำไปฝึกกันนะครับ เริ่มจาก Scale G 1#=G A BC D E F#G Scale D 2#=D E F#G A B C#D Scale A 3#=A B C#D E F# G#A Scale E 4#=E F# G#A B C# D#E Scale B 5#=B C# D# E F# G# A#B Scale F#6#=F# G# A#B C# D# E#F# Scale C#7#=C# D# E#F# G# A# B#C# อยากได้ Scale Natural minor ทาง # ก็เอาnoteตัวที่ 6 ของแต่ละ scale ไปเรียงใหม่ root ถึง rootนะครับ เช่น Scale G 1#=G A BC D E F#G ตัวที่ 6 คือ note E ก็นำเอา note E มาเรียง root to root ก็จะได้= E F#G A BC D E เท่านี้ก็ได้ Scale Natural minor 1#แล้วนะครับคือ Scale E natural minor สงสัยอะไรก็ถามนะครับ เพราะพรุ่งนี้จะไป scaleทาง b(flat) แล้วครับ สวัสดีครับ เจอกันใหม่นะครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:05:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 8 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่9
คราวนี้มาดูวิธีสร้างทาง b(flat) กันนะครับ ลุยเลยดีกว่า เริ่มจากแบ่ง C Major เป็น 2 ส่วนเหมือนเดิมนะครับ ดังนี้ ส่วนที่1= C D EF=w w h ส่วนที่2= G A BC=w w h แล้วคราวนี้เราจะนำตัวที่ 4 ของชุดที่1 มาสร้าง Root to root นะครับ แล้วแบ่งเป็น 2 ส่วนเช่นเดิมดังนี้ครับ ส่วนที่1= F G A B=w w w ส่วนที่2= C D EF=w w h สังเกตว่าส่วนที่ 1 ไม่เหมือนกัน ของScale C=wwh แต่ Scale F=www มาดูวิธีแก้กันนะครับ สังเกตดูให้ดีนะครับ ส่วนที่1= F G A B=w w w วิธีที่จะทำให้เป็น wwh มีเพียงวิธีเดียวก็คือ ลด note ตัว B ลงมาครึ่งเสียงด้วยการใส่เครื่องหมาย b ลองดูกันจะได้= F G ABb เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วนะครับ มาเรียง Scale F Major แบบ สมบูรณ์กันอีกครั้งนะครับ ดังนี้ F G ABb C D EF ก็เท่านี้แล้ครับ ลองทำScale อื่นกันดูนะครับไม่ยากเดี๋ยวพรุ่งนี้มาเฉลยครับ สวัสดีครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:05:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 9 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่10
ทาง b มีดังนี้นะครับ 1b=KEY F , 2b=KEY Bb, 3b=KEY Eb, 4b=KEY Ab, 5b=KEY Db, 6b=KEY Gb, 7b=KEY Cb จะรู้ได้ว่า กี่ b มีอะไรบ้างก็เรียงตามนี้เลยนะครับ B E A D G C F ที่เห็นเป็นจำนวนของ b (flat)ที่ติด เช่น5b=KEY Db, 5b=Bb Eb Ab Db Gb ลองทบทวนกันบ่อยๆนะครับ แล้วค่อยมาต่อกันนะครับ สวัสดีครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:05:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 10 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่11
วันนี้จะมาอธิบายเรื่อง minor scale นะครับ Minor Scale มี 4 ชนิดคือ 1.Natural minor=ตัวที่ 6 ของ major มาเรียง root to root ลองอ่านย้อนหลังเพื่อความเข้าใจมากขึ้นนะครับ 2.Harmonic minor=Natural minor #7 เช่น A Harmonic minor นะครับดังนี้ A BC D EF G#A 3.Melodic minor=อันนี้ไล่ขึ้นลงจะไม่เหมือนกันนะครับดังนี้ ขาขึ้น=Natural minor #6,#7=A BC D E F# G#A ขาลง=Natural minor ธรรมดา ถ้าไล่ขึ้นลงจะเป็นดังนี้นะครับ A BC D E F# G#A A G FE D C อันนี้3เข้าใจยากนิดหน่อยนะครับ ลองดูครับ ขาขึ้นขาลงจะคนละ feel กันเลยครับ 4.JAZZ Melodic minor=Natural minor #6,#7=A BC D E F# G#A ก็คือขาขึ้นของ Melodic minor นั่นเองนะครับ แต่ของ Jazz ขึ้นลงเหมือนกันครับ ทบทวนกันดูนะครับ ขอตัวก่อนโชคดีทุกคนครับ สวัสดีครับ...
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:06:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 11 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่12
วันนี้จะมาว่ากันถึง scale ชนิดต่อไปเลยนะครับนิยมมากๆเลยครับ ใช้กับดนตรีทุกแนว อีสานเราก็ใช้ครับ Blues Jazz Rock etc ใช้กันเป็นว่าเล่น ขนาด ดนตรี Classic ยุค Impression ยังใช้เลยครับคิดดู น่าสนใจเปล่าครับ มาดูกันเลย มันคือ Pentatonic Scale คงจะคุ้นหูทุกคนนะครับ ต่อ Pentatonic Scale มี 2 แบบคือ 1.Major Pentatonic 2.minor Pentatonic มาดูควมหมายของ Pentatonic กันหน่อยนะครับ อันนี้ไม่ได้เปิดตำราอาจเพี้ยนบ้าง ก็ขออภัยนะครับ Penta=5 tonic=เสียง ดังนั้น pentatonic ก็คือ scale 5 เสียงนั่นเอง มาดูกันเลยครับ 5 เสียงมีอะไรบ้าง ดังที่ผมให้ตัวเลขมานั้นคือลำดับที่อิงกับ Major Scale ของแต่ละ Scale ดังตัวอย่าง เอา Scale C major มา สงสัยเรื่อง Scale Major minor ลองค้นตอนเก่าๆนะครับ 1.Major Pentatonic = 1 2 3 5 6=C D E G A 2.minor Pentatonic = 1 b3 4 5 b7= C Eb F G Bb ลองไปไล่กันดูนะครับ ถ้าลองเล่นเร็วๆจะออกเป็นหมอลำ มันมากครับ แต่ลองใส่สำเนียง เรียง Phrasing ใหม่ ใส่ Swing feel เข้าไปก็ Jazz Blues นั่นเอง ดันสายซักหน่อยก็ไม่พ้นมือ Blues,Blues Rock นับเป็นอาวุธที่มือกีตาร์ทุกคนควรมีครับ ตะลุยยุทธภพได้สบายครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:06:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 12 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่13
เราได้รู้จัก Scale พื้นฐานกันไปหมดแล้ว มาว่ากันต่อเรื่อง ของ MODE ดีกว่าครับ(อันนี้ยากนิดนะครับ) MODE นั้น คือสิ่งที่นักดนตรียุคก่อนๆใช้กันมาตั้งนานนมแล้วนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักคุ้นเคยกับมันซักหน่อยก่อนนะครับ MODE มี 7 MODE ดังนี้นะครับ 1.Ionian = C D EF G A BC 2.Dorian = D EF G A BC D 3.Phrygian = EF G A BC D E 4.Lydian = F G A BC D EF 5.Mixolydian = G A BC D EF G 6.Aeolian = A BC D EF G A 7.Locrian = BC D EF G A B ถ้าสังเกตแล้ว ถ้าเรานำ note ใน scale C Major = C D EF G A B มาสร้าง root to root ในแต่ละตัว เราก็จะได้ mode แต่ละ mode ขึ้นมานะครับ ที่ชี้แจงขึ้นมาอย่างนี้เพราะจะให้เห็นว่า structure ของ mode แต่ละ mode นั้นแตกต่างกันดังนี้ 1.Ionian = C D EF G A BC = W W H W W W H 2.Dorian = D EF G A BC D = W H WWW H W 3.Phrygian = EF G A BC D E = H W W W H W 4.Lydian = F G A BC D EF = W W W H W W H 5.Mixolydian = G A BC D EF G = W W H W W H W 6.Aeolian = A BC D EF G A = W H W W H W W 7.Locrian = BC D EF G A B = H W W H W W W วันนี้ก็ลองศึกษา structure ของมัน แล้วลองนำไปใช้ฝังเสียงดูก่อนละกันนะครับ น่าจะเป็นอะไรที่แปลกใหม่นะครับ แล้วว่างๆ ผมจะนำวิธีใช้มาบอกกันอีกทีครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:06:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 13 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่14
งานยุ่งจริงๆครับโทษทีครับ มาต่อกัน 1.Ionian = C D EF G A BC = Major Scale 2.Dorian = D EF G A BC D = natural minor scale #6 3.Phrygian = EF G A BC D E = natural minor scale b2 4.Lydian = F G A BC D EF = Major Scale #4 5.Mixolydian = G A BC D EF G = Major Scale b7 6.Aeolian = A BC D EF G A = natural minor scale 7.Locrian = BC D EF G A B =natural minor b2 b5 วิธีใช้ขั้นพื้นๆ ก็ตามนั้นนะครับ หมวด Maj minor ลองเลือกใช้ดูครับ ส่วนที่มี b # คือสูตรลัดนะครับ...
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:06:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 14 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 15
วันนี้จะมานำเสนอเรื่อง mode นะครับ การคิด และ โครงสร้าง ขอแบ่งเป็น 2 วิธีละกันนะครับ 1.แบบสูตร 2.แบบลำดับที่
มาถึงวิธีแรกนะครับ เสนอเรื่อง การใช้ สูตรคิด mode อิอิ Ionian = Major Scale Dorian= natural minor #6 Phygian=natural minor b2( อันนี้เน้นๆๆๆ อิอิ) Lydian = Major Scale #4 Mixolydian= Major Scale b7 Locrian =natural minor b2,b5 ผมจะยกตัวอย่างโดยใช้ Mode A นะครับ ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า A Major Scale= A B C# D E F# G# A A Natural minor=A B C D E F G A ดังนั้น mode A ก็มีดังนี้ Ionian = Major Scale =A B C# D E F# G# A Dorian= natural minor #6 =A B C D E F# G A Phygian=natural minor #2 = A Bb C D E F G A Lydian = Major Scale #4 =A B C# D# E F# G# A Mixolydian= Major Scale b7 =A B C# D E F# G A Locrian =natural minor b2,b5 = A Bb C D Eb F G A ยังใงผิดพลาดประการใดขออภัย(คือแบบว่าพิมพ์ไปยาวๆ แล้วผมขี้เกียจทวน 55) ยังใงลองเอาวิธีผมไปใช้กันดูนะครับ ถ้าใช้วิธีนี้ควบคู่กับ วิธีลำดับที่ ที่พี่ Double Lock ได้นำเสนอ ด้านบน มันจะทำให้เกิดการเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ยังใงรบกวนไปดูคำตอบของพี่ Double Lock สำหรับวิธีลำดับที่ นะครับ เ พราะผมพิมพ์มาเยอะแล้วเดี๋ยวยาวไป 55 ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ หวังว่าคงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับผม ขอบคุณครับ
มาถึงวิธีที่ 2 นะครับ แบบใช้ลำดับที่
เรื่องนี้ผมขอเรียกว่าเรื่อง mode อิงลำดับที่ ดูจากชื่อกันก่อนนะครับ แล้วรบกวนทุกคนจำลำดับที่ของชื่อที่เรียงกันดังนี้นะครับผม Ionian = ลำดับที่ 1 Dorian = 2 Phygian = 3 Lydian = 4 Mixolydian = 5 Aeolian =6 Locrian = ลำดับที่ 7 ครบแล้วถูกมั้ยครับ เอาล่ะคราวนี้เราอยากรู้โหมดอะไรก็ลองยกตัวอย่างขึ้นมานะครับ เช่น C Locrian จะเห็นว่า Locrian คือลำดับที่ 7 ดังนั้น คำว่า C Locrian จึงแปลได้ว่า C เป็นลำดับที่ 7 ของอะไร?? อีกทีนะครับ C Locrian =C เป็นลำดับที่ 7 ของอะไร?? เอาล่ะครับเราได้คำถามในตัวเราแล้วนะครับ คราวนี้ก็มาหาคำตอบกันเลยครับ ^_^ C เป็นอันดับที่ 7 ของอะไร? เราก็ลองนับ C เป็น 7 แล้วนับถอยหลังดูนะครับ C=7 B=6 A=5 G=4 F=3 E=2 D=1 เห็นมั้ยครับ พอเรานับกลับมาถึง 1 แล้ว ก็จะพบว่าเราได้ คำตอบของ คำถามที่ว่า "C เป็นลำดับที่ 7 ของอะไร??" คำตอบก็คือ C เป็นลำดับที่ 7 ของ D แต่เอ๊ะ อย่าเพิ่งปักใจ เพราะ D มีหลายแบบมากๆเลย ทั้ง D,Db,D# etc. C อาจไม่ได้เป็นลำดับที่ 7 ของ D ปกติก็ได้ มาดูเลยครับ D Major Scale = D E F#G A B C# นั่นอย่างไรล่ะครับ ไม่ได้เห็นมั้ยครับ เพราะลำดับที่ 7 ของ D ไม่ใช่ C แต่เป็น C# เอาล่ะเราคงต้องวตัด scale D Major ทิ้งแล้ว มาลอง Db Major Scale ซิครับ Db Major Scale= Dd Eb F Gb Ab Bb C เอาล่ะครับ เราได้เจ้าตัวปัญหาแล้ว C แอบมาอยู่อันดับ 7 ใน scale Db Major Scale นี่เอง ดังนั้นคำตอบของคำถามที่ว่า C เป็นลำดับที่ 7 ของอะไร?? จึง = C เป็นอันดับที่ 7 ของ Db Major Scale(เราจะเทียบกับ scale Major เท่านั้น) ดังนั้น C Locrian เป็น mode ลำดับที่ 7 ใน Db Major Scale ดังนั้น C Locrian=Db Major Scale ดังนั้น C Locrian= ติด 5 b C Major= C D EF G A BC C Locrian= C Db Eb F Gb Ab Bb C Db Major Scale= Dd Eb F Gb Ab Bb C
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:07:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 15 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 16
เราจะมาเริ่มกันในเรื่องการวิเคราะห์ scale กันก่อนเลยดีกว่านะครับ เอาแบบ เบื้องต้นกันก่อนเลย แล้วค่อยว่ายาวๆกันไป เริ่มจาก scale C Major= C D EF G A BC ช่วงห่างของเสียง ผมจะใช้สัญลักษณ์ นี้แทนนะครับ W=เต็มเสียง(ห่างกัน 1 ช่องกีตาร์) H=ครึ่งเสียง(ช่องติดกัน) เอาล่ะครับคราวนี้กลับมาดูกันที่ scale C ของเราต่อ C D EF G A BC ระยะห่างของเสียงจะได้ = W W H W W H เอาล่ะครับ เจ้า W W H W W H เนี่ยมันเป็นโครงสร้างของ Major Scale นั่นเอง ไม่ว่าเราจะเริ่มต้นด้วย note อะไร ถ้าเรานำมาไล่โดยระยะห่าง เป็นดังที่ผมบอกไป แน่นอนครับ มันจะออกมาเป็น Major Scale แน่นอน อย่างน้อยตอนนี้ เราก็ไล่ C Major Scale กันได้แล้วนะครับ แล้วถามว่า เอ้า! แล้วงี้ scale อื่นล่ะเราจะดูอย่างไร? นั่นสิครับดูอย่างไร ^_^ เอาล่ะครับมาดูกันเลยครับผม ก่อนอื่นมาว่ากันถึง ทฤษฏีซักหน่อยก่อนเลยนะครับ(ที่ว่ามาทั้งหมดก็ ทฤษฎีนี่นา 55) เราจะแบ่ง scale C เป็น 2 กลุ่มเท่าๆกัน จะได้ออกมาเป็น C D EF กับ G A BC โดยการแบ่งกลุ่มแบบนี้เรียกว่า tetrachord 1 และ 2 Tetrachord 1= C D EF Tetrachord 2= G A BC สังเกตดูระยะห่างของเสียงนะครับ อะไรจะบังเอิญขนาดนี้ ทั้ง 2 tetrachord มีระยะห่างเท่ากันคือ W W H เอาล่ะครับ คราวนี้เราจะมาคำนวณหา scale ต่อๆไปกันเลยดีกว่า การหาก็ทำได้ดังนี้ครับ เอาตัวแรกของ tetrachord 2 มาสร้าง scale ใหม่ ตัวแรกของ tetrachord 2=G เราก็เอา G มาไล่ G-G โดยการลอก note จาก scale C มาเลยนะครับ จะได้เป็น G A BC D EF G เอาล่ะครับ คราวนี้เราก็มานั่งแบ่ง tetrachord ของ G กันเลยนะครับได้ดังนี้ Tetrachord 1= G A BC Tetrachord 2= D EF G เสร็จรึงยังน้า?? ยังครับ เราต้องมาดู ระยะห่างของเสียงกันก่อน เพราะผมได้กล่าวไปแล้วว่าระยะห่างของเสียงนั้นต้องเท่ากัน ระหว่าง tetrachord 1 กับ 2 มาดูกันเลย Tetrachord 1= W W H เยี่ยม ถูกต้อง Tetrachord 2= W H W ไหงมันแหม่งๆ ไม่ได้ล่ะ ใช้ไม่ได้ๆ ต้องแก้ไขกันล่ะได้ W W H ถึงจะถูกต้อง มาดูกัน Tetrachord 2= D EF G D กับ E ห่างกัน =W ถูกต้อง E กับ F ห่างกัน = H ผิด เอาล่ะเจอตัวเจ้าปัญหาแล้ว เราจึงต้องดันเจ้า F ให้ห่างจากเจ้า E เพื่อจะให้มันห่างกัน เป็น W วิธีดันก็ใส่ เครื่องหมายแปลงเสียงที่เรียกว่า Sharp=แปลงเสียงให้สูงขึ้น ครึ่งเสียง ใช้สัญลักษณ์ # =sharp เอาล่ะครับคราวนี้เราก็เอาเจ้า # มาแปลงเสียงของ F ให้สูงขึ้นครึ่งเสียงกันเพื่อที่มันจะได้ห่างจากเจ้า E=1 เสียง(W) จะได้ดังนี้นะครับ Tetrachord 2= D E F#G =W W H เรียบร้อยแล้วครับ เยี่ยมเลยมั้ยครับ?? เราได้ scale G มาอยู่ในครอบครองแล้ว คือ G A BC D E F#G ดังนั้น scale G ต้องติด 1# และนี่เองคือที่มาของมันนะครับ ^_^
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:07:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 16 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 17
คราวที่แล้วเราก็ได้ scale G กันมาแล้วนะครับ ดังนี้ G A BC D E F#G คราวนี้เราจะมาดู scale ต่อไปจาก G กันบ้างนะครับ โดยวิธคิดเราก็ต้องอิงจาก scale G เจ้าเก่าของเรานี่เองล่ะครับ มาสร้างกันต่อเลยดีกว่านะครับ (วิธีการสร้าง อ่านอันเก่าด้วยก็จะเข้าใจมากๆเลยครับ) ก็เหมือนเดิมเราก็เอา note ตัวแรกของ tetrachord 2 มาสร้าง scale ใหม่ ไล่ให้ครบ note โดยลอก note ทุกตัวจากโจทย์ของเรา ณ ที่นี้คือ scale G Tetrachord 1=G A BC Tetrachord 2=D E F#G เราก็จะได้ D มา ก็นำ D มาไล่ D ถึง D โดยลอก note ทุกตัวจาก scale G เลยนะครับ ย้ำๆๆๆๆ เข้าไป55 จะได้เป็น D E F#G A BC D แล้วนำมาแบ่ง tetrachord เป็น 1 กับ 2 ได้เป็น Tetrachord 1= D E F#G Tetrachord 2= A BC D แล้วแบ่ง ช่วงห่างของเสียงให้เท่ากับ W W H ทั้ง 2 tetrachord มาดู tetrachord 1 กันนะครับ D E F#G โอ้บังเอิญจริงๆ ใช่ W W H ถูกต้องนะคร้าบแล้ว ^_^ มาดู tetrachord 2 กันต่อเลยนะครับ A BC D อ้าว ไหง จึงเป็น W H W ผิดแล้วครับอย่างนี้มาแก้กันครับ A กับ B ห่างกัน W ถูกแล้ว B กับ C มันห่างกันอยู่เป็น H แต่เราต้องการเป็น W ดังนั้น ใส่ # ให้เจ้า C เพื่อที่มันจะเขยิบห่างจาก B อีกครึ่งเสียงดีกว่านครับ ได้เป็น B กับ C# ห่างกัน หนึ่งเสียงเต็ม(W) ใช้ได้แล้วครับ คราวนี้ก็ลองมาดูผลสำเร็จของเรากันครับ Tetrachord 1= D E F#G ถูกต้อง Tetrachord 2= A B C#D ถูกต้องอีกแล้ว ^_^ เอามาเรียงใหม่ให้เป็น scale D Major scale ที่สมบูรณ์นะครับ ได้เป็น D E F#G A B C#D ดังนั้น scale D จึงติด 2 # คือ F# และ C# เรียบร้อยแล้วครับ สบายไปเลย
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:07:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 17 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 18
มาต่อกันเลยดีกว่าครับ ลุยๆๆๆ เราได้ scale D จากตอนที่แล้ว D E F#G A B C#Dก็เฉกเช่นเคยครับ อย่าเพิ่งเบื่อครับ ^_^ แบ่ง scale D เป็น 2tetrachord ได้ดังนี้ tetrachord 1= D E F#G tetrachord 2= A B C#D แล้วมาลุย scale ใหม่กันโดยนำเอา ตัวแรกของ tetrachord 2 มาสร้าง ก็คือนำ A มาเรียง A ถึง A โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจากโจทย์ของเราคือ scale D นั่นเอง ก็จะได้เป็น A B C#D E F#G A แล้วเราก็แบ่ง A ถึง A ที่เราเรียงเป็น 2tetrachord อีกเช่นเคย ได้เป็น tetrachord 1=A B C#D tetrachord 2=E F#G A แล้วมาสำรวจระยะห่างของเสียงกันนะครับว่าถูกต้องแล้ว หรือยังคือ WWH ทั้ง 2tetrachord แต่ไม่ต้องเดาเลยครับ ยังใงต้องมีผิดล่ะครับ 55 ไม่งั้นไม่พูดขึ้นมาแน่ๆ อิอิเอาล่ะครับ มาดูกัน A B C#D W W H ถูกต้องแล้วคัรบ ^_^ ต่อมา E F#G A และแล้วก็เจอ ผิดอิอิ W H W ต้องแก้ครับ ต้องแก้ E กับ F# ห่างกัน = W ถูกต้องแล้วครับ F# กับ G ห่างกัน= H เอาแล้วครับต้อง W ไม่ใช่ฤา? มาแก้กันๆ อิอิ ก็ใส่เครื่องหมายแปลงเสียงขึ้นครึ่งเสียง ก็คือ # นั่นเองให้กับ G# ก็จะได้เป็น E F# G#A=W W H ถูกต้องนะคร้าบ ดังนั้น scale A ของเราก็สมบูรณ์ที่ A B C#D E F# G#A เป็นว่า scale A มีทั้งหมด 3 # คือ F# C# G# จบข่าวครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:07:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 18 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 19
มาต่อกันเลยดีกว่าครับ ลุยๆๆๆ เราได้ scale A จากตอนที่แล้ว A B C#D E F# G#A ก็เฉกเช่นเคยครับ อย่าเพิ่งเบื่อครับ ^_^ แบ่ง scale A เป็น 2tetrachord ได้ดังนี้ tetrachord 1= A B C#D tetrachord 2= E F# G#A แล้วมาลุย scale ใหม่กันโดยนำเอา ตัวแรกของ tetrachord 2 มาสร้าง ก็คือนำ E มาเรียง E ถึง E โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจากโจทย์ของเราคือ scale A นั่นเอง ก็จะได้เป็น E F# G#A B C#D E แล้วเราก็แบ่ง E ถึง E ที่เราเรียงเป็น 2tetrachord อีกเช่นเคย ได้เป็น tetrachord 1=E F# G#A tetrachord 2= B C#D E แล้วมาสำรวจระยะห่างของเสียงกันนะครับว่าถูกต้องแล้ว หรือยังคือ WWH ทั้ง 2tetrachord แต่ไม่ต้องเดาเลยครับ ยังใงต้องมีผิดล่ะครับ 55 ไม่งั้นไม่พูดขึ้นมาแน่ๆ อิอิ เอาล่ะครับ มาดูกัน E F# G#A W W H ถูกต้องแล้วคัรบ ^_^ ต่อมา B C#D Eและแล้วก็เจอ ผิดอิอิ W H W ต้องแก้ครับ ต้องแก้ B กับ C# ห่างกัน = W ถูกต้องแล้วครับ C# กับ D ห่างกัน= H เอาแล้วครับต้อง W ไม่ใช่ฤา? มาแก้กันๆ อิอิ ก็ใส่เครื่องหมายแปลงเสียงขึ้นครึ่งเสียง ก็คือ # นั่นเองให้กับ D# ก็จะได้เป็น B C# D#E=W W H ถูกต้องนะคร้าบ ดังนั้น scale E ของเราก็สมบูรณ์ที่ E F# G#A B C# D#E เป็นว่า scale A มีทั้งหมด 4 # คือ F# C# G# D# จบข่าวครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:08:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 19 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 20.
เราได้รู้ scale Major ทั้งหมด 6 Scale แล้วคือ C=ไม่มี # หรือ b G=1# คือ F# D=2# คือ F# C# A=3# คือ F# C# G# E=4# คือ F# C# G# D# B=5# คือ F# C# G# D# A# มาต่อกันเลยดีกว่าครับ ลุยๆๆๆ เราได้ scale B จากตอนที่แล้ว B C# D#E F# G# A#B ก็เฉกเช่นเคยครับ อย่าเพิ่งเบื่อครับ ^_^ แบ่ง scale B เป็น 2tetrachord ได้ดังนี้ tetrachord 1= B C# D#E tetrachord 2= F# G# A#B แล้วมาลุย scale ใหม่กันโดยนำเอา ตัวแรกของ tetrachord 2 มาสร้าง ก็คือนำ F# มาเรียง F# ถึง F# โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจากโจทย์ของเราคือ scale B นั่นเอง ก็จะได้เป็น F# G# A#B C# D#E F# แล้วเราก็แบ่ง F# ถึง F# ที่เราเรียงเป็น 2tetrachord อีกเช่นเคย ได้เป็น tetrachord 1=F# G# A#B tetrachord 2=C# D#E F# แล้วมาสำรวจระยะห่างของเสียงกันนะครับว่าถูกต้องแล้ว หรือยังคือ WWH ทั้ง 2tetrachord แต่ไม่ต้องเดาเลยครับ ยังใงต้องมีผิดล่ะครับ 55 ไม่งั้นไม่พูดขึ้นมาแน่ๆ อิอิ เอาล่ะครับ มาดูกัน F# G# A#B W W H ถูกต้องแล้วคัรบ ^_^ ต่อมา C# D#E F# และแล้วก็เจอ ผิดอิอิ W H W ต้องแก้ครับ ต้องแก้ C# กับ D# ห่างกัน = W ถูกต้องแล้วครับ D#กับ Eห่างกัน= H เอาแล้วครับต้อง W ไม่ใช่ฤา? มาแก้กันๆ อิอิ ก็ใส่เครื่องหมายแปลงเสียงขึ้นครึ่งเสียง ก็คือ # นั่นเองให้กับ E# ก็จะได้เป็น C# D# E#F#=W W H ถูกต้องนะคร้าบ ดังนั้น scale F# ของเราก็สมบูรณ์ที่ F# G# A#B C# D# E#F# เป็นว่า scale F# มีทั้งหมด 6 # คือ F# C# G# D# A# E#
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:08:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 20 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 21.
เราได้รู้ scale Major ทั้งหมด 7 Scale แล้วคือ C=ไม่มี # หรือ b G=1# คือ F# D=2# คือ F# C# A=3# คือ F# C# G# E=4# คือ F# C# G# D# B=5# คือ F# C# G# D# A# F#=6# คือ F# C# G# D# A# B# มาต่อกันเลยดีกว่าครับ ลุยๆๆๆ วันนี้เราจะมาสุดทาง # กันแล้วนะครับ นั่นก็คือ 7# ว้าว!!!! เราได้ scale F# จากตอนที่แล้ว F# G# A#B C# D# E#F# ก็เฉกเช่นเคยครับ อย่าเพิ่งเบื่อครับ ^_^ แบ่ง scale F# เป็น 2tetrachord ได้ดังนี้ tetrachord 1= F# G# A#B tetrachord 2= C# D# E#F# แล้วมาลุย scale ใหม่กันโดยนำเอา ตัวแรกของ tetrachord 2 มาสร้าง ก็คือนำ C# มาเรียง C# ถึง C# โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจากโจทย์ของเราคือ scale F# นั่นเอง ก็จะได้เป็น C# D# E#F# G# A#B C# แล้วเราก็แบ่ง C# ถึง C# ที่เราเรียงเป็น 2tetrachord อีกเช่นเคย ได้เป็น tetrachord 1=C# D# E#F# tetrachord 2=G# A#B C# แล้วมาสำรวจระยะห่างของเสียงกันนะครับว่าถูกต้องแล้ว หรือยังคือ WWH ทั้ง 2tetrachord แต่ไม่ต้องเดาเลยครับ ยังใงต้องมีผิดล่ะครับ 55 ไม่งั้นไม่พูดขึ้นมาแน่ๆ อิอิ เอาล่ะครับ มาดูกัน C# D# E#F# W W H ถูกต้องแล้วคัรบ ^_^ ต่อมา G# A#B C# และแล้วก็เจอ ผิดอิอิ W H W ต้องแก้ครับ ต้องแก้ G# กับ A# ห่างกัน = W ถูกต้องแล้วครับ A#กับ Bห่างกัน= H เอาแล้วครับต้อง W ไม่ใช่ฤา? มาแก้กันๆ อิอิ ก็ใส่เครื่องหมายแปลงเสียงขึ้นครึ่งเสียง ก็คือ # นั่นเองให้กับ B# ก็จะได้เป็น G# A# B#C#W W H ถูกต้องนะคร้าบ ดังนั้น scale C# ของเราก็สมบูรณ์ที่ C# D# E#F# G# A# B#C# เป็นว่า scale C# มีทั้งหมด 7 # คือ F# C# G# D# A# E# B#จบข่าวครับ ไว้มาลุยทาง b กันต่อนะครับ(แอมเฉลยว่าต่อไป b ครับ อิอิ)
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:08:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 21 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 22 flat กันต่อครับ
คราวที่แล้วเราได้ scale 1b มาแล้ว นั่นก็คือ F Major Scale นั่นเองนะครับ ดังนี้ F G ABb C D EF เราก็มาต่อกันเลยครับนำ scale F มาแบ่งเป็น 2 tetrachord ดังนี้ tetrachord 1 =F G ABb tetrachord 2 =C D EF กฎการสร้างทาง b ก็คือนำตัวที่ 4 ไปเริ่มใหม่ ก็เอาเลยครับ นั่นก็คือ ตัว Bb นั่นเอง ลุย โดยไล่ Bb ถึง Bb โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจาก scale โจทย์ของเราวันนี้นั่นก็คือ F Major นั่นเองนะครับ ได้เป็น Bb C D EF G ABb แล้วก็เหมือนเคย แบ่งมันเป็น 2 tetrachord ได้ดังนี้ครับ tetrachord 1 =Bb C D E tetrachord 2 =F G ABb แล้วกฎๆๆๆๆๆๆ อะไรกันนักกันหนา 55 ดึกแล้วฟุ้งเองครับ กฎต่อไปก็คือ ในแต่ละ tetrachord ต้องมีระยะห่างของเสียง =WWH เรามาจับจ้องกันเลยครับ tetrachord 1 =Bb C D E W W W ผิดนะครับ เจอเร็วจัง 55 tetrachord 2 =F G ABb W WH ถูกแล้ว เอาล่ะครับเราต้องมาวิเคราะห์ tetrachord 1 กันใหม่นะครับ ให้เป็น W W H Bb กับ C=W ถูกต้อง C กับ D=W ถุกต้อง D กับ E=W ถูกที่ผิด อิอิ มาแก้กันครับให้เป็น H ซะ โดยการดูดเจ้า E ให้เข้ามาใกล้กับเจ้า D มากกว่านี้ใส่ b เข้าไปครับ ป้างงง!! Eb ดังนั้น D กับ Eb ถูกต้องนะคร้าบ ฮิ้ววววๆๆๆ!!!! เอามาเรียงเพื่อดู scale ใหม่อันงดงามของเราดีกว่าครับ Bb C DEb F G ABb
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:08:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 22 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 23 flat กันต่อครับ
ณ ตอนนี้ scale Major ทาง b ของเราก้ได้ดำเนินมา 2 scale แล้วคือ F Major=F G ABb C D EF Bb Major=Bb C DEb F G ABb เราก็มาต่อกันเลยครับนำ scale Bbมาแบ่งเป็น 2 tetrachord ดังนี้ tetrachord 1 =Bb C DEb tetrachord 2 =F G ABb กฎการสร้างทาง b ก็คือนำตัวที่ 4 ไปเริ่มใหม่ ก็เอาเลยครับ นั่นก็คือ ตัว Eb นั่นเอง ลุย โดยไล่ Eb ถึง Eb โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจาก scale โจทย์ของเราวันนี้นั่นก็คือ Bb Major นั่นเองนะครับ ได้เป็น Eb F G ABb C DEb แล้วก็เหมือนเคย แบ่งมันเป็น 2 tetrachord ได้ดังนี้ครับ tetrachord 1 =Eb F G A tetrachord 2 =Bb C DEb แล้วกฎๆๆๆๆๆๆ อะไรกันนักกันหนา 55 ดึกแล้วฟุ้งเองครับ กฎต่อไปก็คือ ในแต่ละ tetrachord ต้องมีระยะห่างของเสียง =WWH เรามาจับจ้องกันเลยครับ tetrachord 1 =Eb F G A W W W ผิดนะครับ เจอเร็วจัง 55 tetrachord 2 =Bb C DEbW WH ถูกแล้ว เอาล่ะครับเราต้องมาวิเคราะห์ tetrachord 1 กันใหม่นะครับ ให้เป็น W W H Eb กับ F=W ถูกต้อง F กับ G=W ถุกต้อง G กับ A=W ถูกที่ผิด อิอิ มาแก้กันครับให้เป็น H ซะ โดยการดูดเจ้า A ให้เข้ามาใกล้กับเจ้า G มากกว่านี้ใส่ b เข้าไปครับ ป้างงง!! Ab ดังนั้น G กับ Ab ถูกต้องนะคร้าบ ฮิ้ววววๆๆๆ!!!! เอามาเรียงเพื่อดู scale ใหม่อันงดงามของเราดีกว่าครับ Eb F GAb Bb C DEb
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:09:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 23 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 24 flat กันต่อครับ
ณ ตอนนี้ scale Major ทาง b ของเราก้ได้ดำเนินมา 3 scale แล้วคือ F Major=F G ABb C D EF Bb Major=Bb C DEb F G ABb Eb Major=Eb F GAb Bb C DEb เราก็มาต่อกันเลยครับนำ scale Ebมาแบ่งเป็น 2 tetrachord ดังนี้ tetrachord 1 =Eb F GAb tetrachord 2 =Bb C DEb กฎการสร้างทาง b ก็คือนำตัวที่ 4 ไปเริ่มใหม่ ก็เอาเลยครับ นั่นก็คือ ตัว Ab นั่นเอง ลุย โดยไล่ Ab ถึง Ab โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจาก scale โจทย์ของเราวันนี้นั่นก็คือ Eb Major นั่นเองนะครับ ได้เป็น Ab Bb C DEb F GAb แล้วก็เหมือนเคย แบ่งมันเป็น 2 tetrachord ได้ดังนี้ครับ tetrachord 1 =Ab Bb C D tetrachord 2 =Eb F GAb แล้วกฎๆๆๆๆๆๆ อะไรกันนักกันหนา 55 ดึกแล้วฟุ้งเองครับ กฎต่อไปก็คือ ในแต่ละ tetrachord ต้องมีระยะห่างของเสียง =WWH เรามาจับจ้องกันเลยครับ tetrachord 1 =Ab Bb C D W W W ผิดนะครับ เจอเร็วจัง 55 tetrachord 2 =Eb F GAb WWH ถูกแล้ว เอาล่ะครับเราต้องมาวิเคราะห์ tetrachord 1 กันใหม่นะครับ ให้เป็น W W H Ab กับ Bb=W ถูกต้อง Bb กับ C=W ถุกต้อง C กับ D=W ถูกที่ผิด อิอิ มาแก้กันครับให้เป็น H ซะ โดยการดูดเจ้า D ให้เข้ามาใกล้กับเจ้า C มากกว่านี้ใส่ b เข้าไปครับ ป้างงง!! Db ดังนั้น C กับ Db ถูกต้องนะคร้าบ ฮิ้ววววๆๆๆ!!!! เอามาเรียงเพื่อดู scale ใหม่อันงดงามของเราดีกว่าครับ Ab Bb CDb EbF GAb
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:09:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 24 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่25
ณ ตอนนี้ scale Major ทาง b ของเราก้ได้ดำเนินมา 4 scale แล้วคือ F Major=F G ABb C D EF Bb Major=Bb C DEb F G ABb Eb Major=Eb F GAb Bb C DEb Ab Major=Ab Bb CDb EbF GAb เราก็มาต่อกันเลยครับนำ scale Abมาแบ่งเป็น 2 tetrachord ดังนี้ tetrachord 1 =Ab Bb CDb tetrachord 2 =EbF GAb กฎการสร้างทาง b ก็คือนำตัวที่ 4 ไปเริ่มใหม่ ก็เอาเลยครับ นั่นก็คือ ตัว Db นั่นเอง ลุย โดยไล่ Db ถึง Db โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจาก scale โจทย์ของเราวันนี้นั่นก็คือ Ab Major นั่นเองนะครับ ได้เป็น Db Eb F GAb Bb CDb แล้วก็เหมือนเคย แบ่งมันเป็น 2 tetrachord ได้ดังนี้ครับ tetrachord 1 =Db Eb F G tetrachord 2 =Ab Bb CDb แล้วกฎๆๆๆๆๆๆ อะไรกันนักกันหนา 55 ดึกแล้วฟุ้งเองครับ กฎต่อไปก็คือ ในแต่ละ tetrachord ต้องมีระยะห่างของเสียง =WWH เรามาจับจ้องกันเลยครับ tetrachord 1 =Db Eb F G W W W ผิดนะครับ เจอเร็วจัง 55 tetrachord 2 =Ab Bb CDbWWH ถูกแล้ว เอาล่ะครับเราต้องมาวิเคราะห์ tetrachord 1 กันใหม่นะครับ ให้เป็น W W H Db กับ Eb=W ถูกต้อง Eb กับ F=W ถุกต้อง F กับ G=W ถูกที่ผิด อิอิ มาแก้กันครับให้เป็น H ซะ โดยการดูดเจ้า G ให้เข้ามาใกล้กับเจ้า F มากกว่านี้ใส่ b เข้าไปครับ ป้างงง!! Gb ดังนั้น F กับ Gb ถูกต้องนะคร้าบ ฮิ้ววววๆๆๆ!!!! เอามาเรียงเพื่อดู scale ใหม่อันงดงามของเราดีกว่าครับ Db Eb FGb Ab Bb CDb
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:09:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 25 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่26
ณ ตอนนี้ scale Major ทาง b ของเราก้ได้ดำเนินมา 5 scale แล้วคือ F Major=F G ABb C D EF Bb Major=Bb C DEb F G ABb Eb Major=Eb F GAb Bb C DEb Ab Major=Ab Bb CDb EbF GAb Db Major=Db Eb FGb Ab Bb CDb เราก็มาต่อกันเลยครับนำ scale Dbมาแบ่งเป็น 2 tetrachord ดังนี้ tetrachord 1 =Db Eb FGb tetrachord 2 =Ab Bb CDb กฎการสร้างทาง b ก็คือนำตัวที่ 4 ไปเริ่มใหม่ ก็เอาเลยครับ นั่นก็คือ ตัว Gb นั่นเอง ลุย โดยไล่ Gb ถึง Gb โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจาก scale โจทย์ของเราวันนี้นั่นก็คือ Db Major นั่นเองนะครับ ได้เป็น Gb Ab Bb CDb Eb FGb แล้วก็เหมือนเคย แบ่งมันเป็น 2 tetrachord ได้ดังนี้ครับ tetrachord 1 =Gb Ab Bb C tetrachord 2 =Db Eb FGb
แล้วกฎๆๆๆๆๆๆ อะไรกันนักกันหนา 55 ดึกแล้วฟุ้งเองครับ กฎต่อไปก็คือ ในแต่ละ tetrachord ต้องมีระยะห่างของเสียง =WWH เรามาจับจ้องกันเลยครับ tetrachord 1 =Gb Ab Bb C W W W ผิดนะครับ เจอเร็วจัง 55 tetrachord 2 =Db Eb FGb WWH ถูกแล้ว เอาล่ะครับเราต้องมาวิเคราะห์ tetrachord 1 กันใหม่นะครับ ให้เป็น W W H Gb กับ Ab=W ถูกต้อง Ab กับ Bb=W ถุกต้อง Bb กับ C=W ถูกที่ผิด อิอิ มาแก้กันครับให้เป็น H ซะ โดยการดูดเจ้า C ให้เข้ามาใกล้กับเจ้า Bb มากกว่านี้ใส่ b เข้าไปครับ ป้างงง!! Cb ดังนั้น Bb กับ Cb ถูกต้องนะคร้าบ ฮิ้ววววๆๆๆ!!!! เอามาเรียงเพื่อดู scale ใหม่อันงดงามของเราดีกว่าครับ Gb Ab BbCb Db Eb FGb
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:09:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 26 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่27
ณ ตอนนี้ scale Major ทาง b ของเราก้ได้ดำเนินมา 6 scale แล้วคือ F Major=F G ABb C D EF Bb Major=Bb C DEb F G ABb Eb Major=Eb F GAb Bb C DEb Ab Major=Ab Bb CDb EbF GAb Db Major=Db Eb FGb Ab Bb CDb Gb Major=Gb Ab BbCb Db Eb FGb แทบไม่ต้องสงสัยเลยนะครับ ว่า scale ทาง b ตัวที่ 7 จะเป็นอะไร ^_^ ก็ต้องเป็น scale ที่ติดทุก b นั่นเอง ต่อกันเลยครับ เราก็มาต่อกันเลยครับนำ scale Gbมาแบ่งเป็น 2 tetrachord ดังนี้ tetrachord 1 =Gb Ab BbCb tetrachord 2 =Db Eb FGb กฎการสร้างทาง b ก็คือนำตัวที่ 4 ไปเริ่มใหม่ ก็เอาเลยครับ นั่นก็คือ ตัว Cb นั่นเอง ลุย โดยไล่ Cb ถึง Cb โดย note ทุกตัวก็ลอกมาจาก scale โจทย์ของเราวันนี้นั่นก็คือ Gb Major นั่นเองนะครับ ได้เป็น Cb Db Eb FGb Ab BbCb แล้วก็เหมือนเคย แบ่งมันเป็น 2 tetrachord ได้ดังนี้ครับ tetrachord 1 =Cb Db Eb F tetrachord 2 =Gb Ab BbCb
กฎต่อไปก็คือ ในแต่ละ tetrachord ต้องมีระยะห่างของเสียง =WWH เรามาจับจ้องกันเลยครับ tetrachord 1 =Cb Db Eb F W W W ผิดนะครับ เจอเร็วจัง 55 tetrachord 2 =Gb Ab BbCb WWH ถูกแล้ว เอาล่ะครับเราต้องมาวิเคราะห์ tetrachord 1 กันใหม่นะครับ ให้เป็น W W H Cb กับ Db=W ถูกต้อง Db กับ Eb=W ถุกต้อง Eb กับ F=W ถูกที่ผิด อิอิ มาแก้กันครับให้เป็น H ซะ โดยการดูดเจ้า F ให้เข้ามาใกล้กับเจ้า Eb มากกว่านี้ใส่ b เข้าไปครับ ป้างงง!! Fb ดังนั้น Eb กับ Fb ถูกต้องนะคร้าบ ฮิ้ววววๆๆๆ!!!! เอามาเรียงเพื่อดู scale ใหม่อันงดงามของเราดีกว่าครับ Cb Db EbFb Gb Ab BbCb ดูยิ่งใหญ่จริงๆครับ ติดทุก b เลย ถึงบนคอกีตาร์ จะเล่นเหมือน scale C แค่เลื่อนช่องก็ตาม แต่ในทฤษฎีแล้วไม่ได้หมายถึงแค่เลื่อนช่องนะครับ เห็นมั้ยครับ ว่าต่างกันมากๆเลย ระหว่าง Scale C กับ Scale Cb ลองสังเกตกันดูดีๆนะครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:10:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 27 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่28
วันนี้ก็ต่อมาที่ relative minor ครับ เรื่องที่แสนสนุกครับ สุ้มเสียงที่ได้ก็เพลิดเพลินเช่นเดียวกันนะครับ แต่ก่อนจะเจาะเข้าเรื่อง มาดูเหตุการณ์สมมุตินำเข้าเรื่องกันก่อนดีกว่านะครับ
วันหนึ่งคุณอาจจะนั่งเล่นกีตาร์ด้วยความเพลิดเพลิน สมมุติว่าเป็น Key C ละกันนะครับ ง่ายดี คุณก็เล่นคอร์ดที่คุ้นเคย และเป็นชุดคอร์ดที่งดงามยิ่งนัก คือ C Am F G (ชุดคอร์เดเริ่มเล่นกีตาร์ของผมเลย) ก็เล่นวนไป วนมาซัก 3-4 รอบ ชักตัน ใหนลองเล่นคอร์ดชุดอื่นขั้นซิ ก็เลยลองเล่น Am Em F G แทน อืม ฟังดูแปลกๆดีนะ ดูอารมณ์มันต่างไปจากเดิมมากๆเลย ไหงเป็นอย่างนั้น ถ้าสมมุติว่า มีเพื่อนนั่งเล่น solo ร่วมไปด้วยอย่างสนุกสนาน ตอนคอร์ดชุดที่ 1 ก็ลองเล่น Scale C Major ดูซิ พอดีได้อ่าน จากกีตาร์ไทยเรื่อง scale C จากไอ้เจ้า led zeppelin มัน555+ เพื่อนลองเล่น scale C กับคอร์ดชุดแรกดู อืมอารมณ์มันสนุกสนานดีจริงๆ ฟังสบายๆ เพลินๆ พอมาคอร์ด ชุดที่ 2 ก็คือ Am Em F G อารมณ์กลับแตกต่าง เอ๊ะมันยังใงกันเนี่ย!!! เพื่อนที่ solo บอกให้เพื่อนที่ตีคอร์ด หยุดทันที แล้วทั้งคู่ก็งงกันชุดใหญ่ เพื่อนที่ตีคอร์ดบอกว่า เฮ้ย!เราก็เล่นคอร์ด คล้ายๆเดิม นะ นาย solo ผิดเปล่า??ทำไมอารมณ์มันไม่เหมือนเดิม ล่ะ ตอนแรกยังหนุกๆอยู่เลย ทำไมกลายเป็นหม่นหมองขึ้นได้ล่ะเนี่ย (เพื่อน พูดจากันเพราะ ผิดปกตินะครับ 555+) เพื่อนที่ solo บอกว่า เอานี่ดูนะ...(แล้วก็เล่น scale C ไปกลับ สลับตัวนู้นตัวนี้อย่างสนุกสนาน) เนี่ย เราก็เล่นอยู่เท่านี้เนี่ย ยังไม่ได้เปลี่ยนไปใหนเลย แล้วอารมณ์เพลงมันจะเปลี่ยนได้อย่างไร? นายน่ะเล่นคอร์ดมั่ว พาอารมณ์เพลงเก่าหลุดเลย เซ็งๆๆๆ
555+ เรื่องนำก็ไม่ค่อยมีสาระนะครับ พอดีเขียนมาให้อ่านกันเล่นๆน่ะครับ ^_^ แต่ถ้าให้ผมสรุปแล้ว ทั้งคู่มีส่วนผิดในเรื่องนี้ครับ(เรื่องที่ทำให้อารมณ์เพลงเปลี่ยน) คนเล่นคอร์ด ผิดที่ เปลี่ยนคอร์ดไปเป็นเช่นนั้น(แต่ก็ไม่รู้นี่นาว่ามันจะทำให้อารมณ์เพลงเปลี่ยน ให้อภัยครับ) คน solo ผิดที่ไม่รู้อะไรเลย 555+ เอาจริงๆแล้วมือ solo ไม่ได้ทำไรเลยครับ เพราะในเหตุการณ์ก็เห็นอยู่แล้วนะครับ ว่า แค่scale C ไปกลับ สลับตัวนู้นตัวนี้อย่างสนุกสนาน เท่านั้นเอง ยังไม่ได้จงใจเปลี่ยนอารมณ์อะไรเลย ดังนั้น ทั้งคู่ที่ไม่รู้จึงไม่ผิดครับ ทั้งคู่ไม่ควรเถียงกันนะครับ 555+ ควรมาอ่านเรื่อง relative minor ดีกว่าครับ จะได้เข้าใจเหตุผลของอารมณ์ที่เปลี่ยน+ไม่ต้องตระหนกในครั้งต่อๆไปเมื่อเจอเหตุการณืดังกล่าว แถมยังสามารถ เตี๊ยม ที่จะเปลี่ยนอารมณ์ตามกันได้อย่างเท่าทันอีกด้วย
ร่ายมายาวเลยคงไม่เบื่อกันนะครับ เข้าเรื่องเลยดีกว่านะครับ
Scale Major ที่เราได้เรียนรู้กันไปแล้วทั้ง 15 Scale นั้น ล้วนแล้วแต่มี ญาติสนิทของมันทั้งสิ้น นั่นก็คือ Natural Minor นั่นเอง มาดูกันเลยดีกว่านะครับว่ามันเป็น ญาติกันอย่างไร เริ่มจาก Scale C ก่อนเลยดีกว่านะครับ Scale C = C D EF G A BC Scale Am= A BC D EF G A
เริ่มสังเกตเห็นความเป็น ญาติของทั้ง 2 Scale แล้วหรือยังครับ นั่นก็คือ 2 Scale นี้มี Note เหมือนกันแบบเป๊ะๆแยกกันไม่ออกเลยนะครับ แต่เมื่อไล่เสียง root ถึง root ของทั้ง 2 Scale กลับให้อารมณ์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Scale C Major ให้อารมณ์ โล่ง สบาย ปกติ Scale A minor ให้อารมณ์ที่เศร้า กินใจขึ้นมานิดนึง
เหตุที่มันให้อารมณ์แตกต่างกันนั้น เพราะ ลำดับการเรียง note และ ระยะห่างต่อ note ของมันนะครับ แตกต่างกันดังนี้ Scale Major= W W H W W W H Scale minor= W H W W H W W
และนี่ก็คือสาเหตุที่ note ของทั้ง 2 Scale เหมือนกันอย่างกับแกะ แต่กลับแตกต่างกันในเรื่องของอารมณ์
***เรามาขั้นด้วยเกร็ดความรู้เล็กน้อยนะครับ อันนี้ผมไม่แน่ใจในแหล่งที่มานะครับ แต่พอสรุปได้ว่าที่จริงๆแล้ว scale ที่ C นั้นเป็น ญาติของ Scale Am นะครับ คือประมาณว่า scale C มาทีหลัง เพราะถ้าตามอักขระ ตัวอักษรอังกฤษแล้ว ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่า Scale Am เรียงตามอันดับตัวอักษรอย่างชัดเจนเลยนะครับ (A BC D EF G) แถม ในเรื่องของความถี่เสียงใน note A=440 พอดีอีก จึงน่าจะเป็นข้อสรุปได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่า เสียง ลา(A) น่าจะเป็นต้นกำเนิดระบบของ scale ตั้งแต่บรรพการ
อาล่ะครับเราก็มาเข้าเรื่อง ญาติคู่นี้กันต่อนะครับ ถ้าเราต้องการที่จะหา ว่า relative minor ของ Scale Major ต่างๆนั้นคืออะไร มีวิธีการหาที่แสนเรียบง่ายมากครับ ก็นับจาก ตัว root ไป 6 ลำดับนะครับ เช่น scale C = C D EF G A BC ลำดับก็จะได้ดังนี้นะครับ C=1 D=2 E=3 F=4 G=5 A=6(อยู่นี่เอง) B=7 C=8(Octave)
เราก็จะได้คำตอบอย่างง่ายดายเลยนะครับ ว่า relative minor ของ Scale C Major ก็เท่ากับ Scale A Natural Minor นั่นเอง
ณ บรรทัดนี้ถ้าใครอยากฝึกตัวเองก็อย่าเพิ่งดูเฉลยนะครับ แล้วลองหา relative minor ของ scale Major อีกทั้ง 14 scale ให้ได้ด้วยตัวเอง ก่อนผมเฉลย ก็ จะเกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นนะครับ
สำหรับคนที่ได้ทำการฝึกฝนตนเองเป็นที่น่าพอใจแล้ว ผมก็ขอเฉลย เลยนะครับ C=Am G=Em 1#=F D=Bm 2#=FC A=F#m 3#=FCG E=C#m 4#=FCGD B=G#m 5#=FCGDA F#=D#m 6#=FCGDAE C#=A#m 7#=FCGDAEB
F=Dm 1b=B Bb=Gm 2b=BE Eb=Cm 3b=BEA Ab=Fm 4b=BEAD Db=Bbm 5b=BEADG Gb=Ebm 6b=BEADGC Cb=Abm 7b=BEADGCF
เอาล่ะครับ เฉลยครบแล้วนะครับผม สำหรับทั้ง 15 key **เลขที่อยู่ด้านข้างก็หมายถึง จำนวน+note ที่จะต้องติด # หรือ b ใน scale นั้นๆ
*** ณ เวลานี้ทุกคนคงกระจ่างชัดแล้วนะครับ แต่เพื่อนซี้ ทั้ง 2 คนที่ผมกล่าวอ้างในตอนต้นก็ยังคงเถียงกันยังไม่จบว่า เพื่อนที่ตีคอร์ดบอกว่า อ้าว led zeppelin ผมตีคอร์ด Key C นะ มันจะไปเป็น Key Am ได้ยังใง?? มั่วเปล่าเนี่ย?? เพื่อนที่ solo บอกว่า นั่นดิสงสัย led zeppelin มันมั่วแหงๆเลย นี่เราก็เล่น scale C นะไม่ได้เล่น Am ซะหน่อย อะไรกันเนี่ย??
^_^ ขอตอบคุณคนเล่นคอร์ดว่า ในคณะที่คุณเล่นอยู่นั้นคุณไม่รู้ตัวหรอกว่าคุณได้เล่นทั้ง 2 key ไปโดยไม่รู้ตัวแล้วนะ นั่นก็คือ คอร์ดชุดแรก C Am F G เท่ากับ คอร์ดลำดับที่ 1 6 4 5ของ scale C นั่นเอง ส่วนคอร์ดชุดที่ 2 Am Em F G ชุดนี้สามารถวิเคราะห์ได้หลายทาง เอาทางนี้ละกันนะครับ ดูกันง่ายๆ คอร์ด Am และ Em คุณได้เปลี่ยนไปเล่น Key Am โดยไม่รู้ตัวซะแล้ว นั่นก็คือคอร์ดลำดับที่ 1 และ 5 ของ scale Am นั่นเอง ส่วน F กับ G ก็โฉบกลับมา คอร์ดลำดับที่ 4 กับ 6 ของ scale C นั่นเอง (ที่จริงยังวิเคราะห์ได้หลายทางนะครับ ต้องดูที่ลำดับของ melody ด้วย แต่ ณ ที่นี้ผมขอ วิเคราะห์อย่างง่ายๆเท่านี้) ก็จบแล้วนะครับสำหรับข้อสงสัยของ เพื่อนที่ตีคอร์ด คุณไม่สามารถแยก relative minor ออกจาก Key Major ได้ง่ายๆ เพราะเค้าเป็นญาติที่กลมเกลียวกันมากๆ
และก็มาตอบคุณเพื่อนที่ solo ในคณะที่คุณ solo นั้น scale C ก็เป็นญาติของ Am เช่นเดียวกันดังนั้นถ้าเพื่อนคุณที่เล่นคอร์ด เค้าเปลี่ยนไปเป็น key minor แม้คุณจะยังเล่น scale C เหมือนเดิมก็ตามแต่คุณก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยง เสียงที่จะอิงไปทาง minor มากกว่าอยู่ดี ดังนี้ ในคอร์ดชุดแรก C Am F G คุณ solo ด้วย scale C Major โดยมีลำดับของ scale ดังนี้ C=1 D=2 E=3 F=4 G=5 A=6 B=7 ลำดับที่ว่าเป็น ลำดับของ scale C Major เวลาเล่นบนคอร์ด Key C นะครับ พอเพื่อนคุณเปลี่ยนทาง คอร์ดไปเป็นทาง minor ปุ๊บ ลำดับ scale C ธรรมดาๆของคุณจะเปลี่ยนไปโดยปริยายนะครับ ^_^ เป็น C=3 D=4 E=5 F=6 G=7 A=1 B=2 เห็นมั้ยครับ ว่าต่างกันเลยกับลำดับในตอนแรก โน็ตตัวที่ 1 กลายไปเป็น A แล้ว ดังนั้น Scale C Major ธรรมดาของคุณ ก็แปลงร่างไปเป็น Scale A minor โดยปริยาย ตามทางคอร์ดของเพื่อนคุณ สรุปแล้วตัวการที่ทำให้เพลงเปลี่ยนอารมณ์ไปก็คือเพื่อนที่เล่นคอร์ดนั่นเองครับ ^_^ คราวนี้ก็คงไม่ต้องโทษกันแล้วนะครับ อิอิ ปล.ในเรื่องต่อๆไปที่ผมจะมานำเสนอ เพื่อนคู่นี้ก็จะยังอยู่นะครับ แต่จะกลายร่างครับ เพื่อนที่ตีคอร์ด จะกลายเป็น Chord+Arpeggioes เพื่อนที่ solo จะกลายเป็น Scale+Arpeggioes อย่างไรผู้ที่จะติดตามตอนต่อๆไปก็อย่าลืมเพื่อนคู่นี้นะครับ เค้าจะยังคงอยู่เป็นคู่กัด หาเรื่อง+ข้อสงสัย มาให้ผมได้อธิบายให้ทุกคนได้ฟังกัน อย่างไรก็รอติดตามนะครับ
สุดท้ายนี้ วันนี้เป็นวันที่ผมพิมพ์เยอะมากๆเลย เวียนหัวมากเลยครับ 555+ ก็หวังว่า คงจะเกิดประโยชน์ไม่มาก็น้อยนะครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:10:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 28 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่29
วันนี้เรามาเริ่มเรื่องใหม่กันดีกว่าครับ คือเรื่องของ Mode นั่นเองนะครับ เท่าที่ผมพอจำประวัติมันได้เพียงเล็กน้อยนะครับ ชื่อของ Mode ทั้ง 7 ชนิดนั้นมีที่มา มาจากชื่อเมือง 7 เมื่อง ตั้งแต่สมัยกรีกแล้วน่ะนะครับ ก่อนที่จะมี scale Major,minor etc. ได้เกิด Mode ขึ้นมาก่อนเป็นลำดับแรกเลยนะครับ โหมดทั้ง 7 โหมด ถือว่าเป็นรากฐานทางดนตรี และบทเพลง ของตะวันตกโบราณเลยก็ว่าได้นะครับ ตั้งแต่สมัยเพลง ยังไม่มีเสียงประสาน(harmony) มีแค่ line melody อย่างเดียว ครับ เนี่ยที่มาผมก็ทราบคร่าวๆเท่านี้ล่ะนะครับ เรามารู้จักชื่อของ mode ทั้ง 7 โหมดกันก่อนเลยดีกว่านะครับ มีดังนี้ครับ 1.Ionian 2.Dorian 3.Phrygian 4.Lydian 5.Mixolydian 6.Aeolian 7.Locrian ชื่อแต่ละอันเพราะดีนะครับ ^_^ มาดูกันว่าเราจะจำแนก mode ได้อย่างไร ว่าอะไรเป็นอะไร แตกต่างกันอย่างไร เราจะลองยก scale C Major ขึ้นมาเป็นรากฐานนะครับ Scale C Major มีดังนี้ครับ C D EF G A BC ถ้าเราไล่ C-C ใน scale C Major(ก็คือไม่ติด #และb) นั่นก็คือว่าเราเผลอเล่นสุ้มเสียงของ mode Ionian เข้าให้แล้วนะคับ ยินดีด้วยครับ คุณผ่าน โหมดแรกได้แล้ว(สำหรับการไล่นะครับ ไม่ใช่การนำไปใช้)
ต่อมาเราลองนึกสนุก นำ note ลำดับที่ 2 ของ scale C มาไล่ดู นั่นก็คือนำ note ตัว D มาไล่ D-D ใน scale C Major(ก็คือไม่ติด #และb) ได้เป็น D EF G A BC D ไม่น่าเชื่อครับ ว่าสำเนียง Scale C ของเราเปลี่ยนไป เสียงมันดูแหม่งนิดๆ ทั้งๆที่เราก็ไล่ note ที่อยู่ใน scale C ไม่ได้เล่น note นอกเหนือเลย ทำไมกันล่ะ ทำไมเสียงมันถึงต่างกับการไล่ Scale C note C-C มาดูกันเลยครับ
เราต้องมาว่ากันถึงเรื่องของระยะห่างของเสียง ก็คือว่า Scale C ธรรมดานั้น มีระยะห่างของเสียงดังนี้ WWHWWWH ส่วน Scale C เช่นเดียวกันแต่เราเปลี่ยนวิธีการไล่ ก็คือเราไล่จาก note ลำดับที่ 2 ของ Scale นั่นเอง D-D ก็คือชุดนี้นะครับ D EF G A BC D ระยะห่างของมันเปลี่ยนไปครับ ดังนี้ WHWWWHW และจุดนี้เองครับ เป็นที่มีที่ทำให้เสียงใน scale C ธรรมดานั้นต่างกัน ถ้าเข้าใจเรื่องราวนี้แล้วผมก็ยินดีด้วยครับที่คุณได้ลองเล่น Mode Dorian ไปเรียบร้อยแล้วครับ โอ้ว!! เราก็จะได้มา 2 mode ที่อิงจาก Scale C แล้วนะครับคือ 1.Ionian=C D EF G A BC= WWHWWWH 2.Dorian=D EF G A BC D= WHWWWHW
ส่วน mode อื่นๆอีก 5 โหมด ก็เกิดขึ้นมาในลักษณะเดียวกันกับที่ผมได้กล่าวไปข้างต้นน่ะนะครับ ก็คือ ลำดับทั้ง 7 โหมด จะอิง จาก ลำดับทั้ง 7 ของ scale นั่นเอง ยกตัวอย่างอีกนิด อยากรู้ว่า โหมด Phrygian เป็นอย่างไร ก็ลองดูก่อนว่า Phrygian เป็น โหมดลำดับที่เท่าไร ตำตอบก็คือ Phrygian เป็น โหมดลำดับที่ 3 นั่นเอง แล้วอยากรู้ว่า Phrygian มี note อะไรบ้าง ในกรณีที่เราใช้ C MajorScale เป็นตัวตั้ง เราก็จะได้ว่า note ลำดับที่ 3 ก็คือ E นั่นเอง เป็น note เริ่มต้นของ โหมด Phrygian เราก็จะได้ลำดับของ mode ลำดับที่ 3 มาใช้แล้วนะครับ นั่นก็คือ 3.Phrygian=EF G A BC D E พอเรารูดังนี้ก็ไล่ให้ครบตามลำดับให้ผม 7 ก็จะได้เป็น 1.Ionian=C D EF G A BC= WWHWWWH 2.Dorian=D EF G A BC D= WHWWWHW 3.Phrygian=EF G A BC D E= HWWWHWW 4.Lydian= F G A BC D EF=WWWHWWH 5.Mixolydian= G A BC D EF G=WWHWWHW 6.Aeolian= A BC D EF G A=WHWWHWW 7.Locrian= BC D EF G A B =HWWHWWW ครบแล้วนะครับ ทั้ง 7 โหมด นี่ก็เป็นพื้นฐานแรก เบื่องต้น ของ Mode เลยนะครับ ณ วันนี้ ผู้ที่สนใจผมว่าควรจะลองนั่งฟังเสียงของ mode แต่ละโหมดดูให้ละเอียดก่อนเป็นอันดับแรกนะครับ ว่าง่ายๆคือลองนั่งเล่น mode ทั้ง 7 โหมดเล่นดูน่ะครับ ยังไม่ต้องสนว่าใช้อย่างไร แล้วไว้โอกาสหน้าผมจะมาอธิบายวิธีใช้อย่างละเอียดอีกทีนึง แต่ก่อนจะกลับมาเรื่อง mode อีกครั้ง คงต้องว่ากันถึงเรื่อง triad ของ chord ก่อนน่ะนะครับ สุดท้ายนี้ก็หวังเช่นเคยครับ หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ ^_^ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาชมครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:10:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 29 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่30 triad 1
ก่อนจะต่อเรื่อง โหมดต่อไป เราต้องมารู้จัก triad กันก่อนนะครับ Triad ก็มาจากคำว่า tri ที่แปลว่าสาม Triad ก็คือส่วนประกอบของคอร์ดที่มี 3 เสียงนั่นเองล่ะนะครับ ธรรมชาติของ Triad นั้น ก็กำเนิดมาจากการนับระยะห่าง ตัวเว้นตัว จาก Scale ที่เราอ้างอิงนั่นเอง สมมุติเราจะอ้างอิง ด้วย C MajorScale เราก็วางโครงสร้าง CMajor Scale ขึ้นมาก่อน ดังนี้ C D EF G A BC แล้วเราก็มาคำนวณตัวเว้นตัว ดังที่ผมได้บอกไปแล้วข้างต้นนะครับ ก็ได้เป็น C E G นั่นเอง โดยแต่ละตัวใน Triad มีชื่อเรื่องดังนี้ C=Root(รากของคอร์ด หรือ Scale etc.) E=Third(อันดับที่ 3 จาก scale อ้างอิง) G=Fifth(อันดับที่ 5 จาก Scale อ้างอิง) หรือถ้าเราจะเรียกแบบไทยๆของเราก็คือ หนึ่ง สาม ห้า นั่นเองนะครับ จะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่สถานการณ์เลยนะครับ เอาล่ะครับเราก็ได้ Triad ของ C มาแล้วคือ C E G เราจะสังเกตเห็นว่า note ชุดนี้เรานำมาจาก Scale C Major ดังนั้น C E G จึ่งเท่ากับ Chord C Major นั่นเอง (ใครยังงงเรื่อง scale ขอให้ย้อนกลับไปอ่านตอนก่อนๆโดยด่วยเลยนะครับ เพราะถัดจากนี้เราต้องแม่นยำแล้วนะครับ)
วันนี้ผมจะพูดถึง Triad ชนิดนี้ ชนิดเดียวน่ะนะครับ เอาแบบแตกฉานไปเลย ส่วนวิธีการที่เราจะหา triad ประเภทนี้ต่อไป เราก็จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ Circle Of Fifth ในทาง # และ Circle of Fourth ในทาง b
เรามาดูกันทีละอันดีกว่านะครับ อันแรก Circle Of Fifth แปลตรงตัว วงเวียน ของ ห้า 555+ (จะสอดคล้องกับเรื่อง tetrechord ของ scale ถ้าใครยังไม่เข้าใจ ย้อนกลับไปทบทวนแบบละเอียดจะเป็นการดีมากๆครับ) แต่ในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้นจริงๆครับ มันก็คือวงเวียนของห้าดังชื่อของมันจริงๆ เพราะมันจะเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆเป็นคู่ 5 มาลุยกันเลยครับ เรารู้ Triad ลำดับแรกแล้วคือ C Major Triad เราอยากได้ Triad ลำดับต่อไปเราก็ต้องเข้า กฎ Circle Of Fifth โดยกสรนับถัดไป 5 จาก C นั่นเอง ก็ได้ G(เพราะ G ห่างจาก C อยู่เป็นลำดับที่ 5) เอาล่ะครับ พอเราได้ Root มาแล้วคือ G ก็เช่นเดียวกับ ตอนแรกของการหา triad นะครับ คือต้องมี scale อ้างอิงขึ้นมาก่อน นั่นก็คือ Scale G นั่นเอง ดัวนี้ G A BC D E F#G ตัวเว้นตัว เอามาเฉพาะ root,third,fifth ก็จะได้ G B D ขึ้นมา ^_^ เห็นมั้ยครับ เท่านี้เราก็ได้ triad major chord มา 2 คอร์ดแล้วคือ C กับ G นั่นเองน่ะนะครับ ต่อไปเราก็ไปลุยวงเวียน จอง 5 กันต่อเลยดีกว่านะครับ จาก G ก็นับไปอีก 5(อย่าลืมนับตัวมันเองด้วยนะครับ) จะได้เป็น G1 A2 B3 C4 D=5 เราได้แล้วครับ D นั่นเอง เหยื่อ triad ตัวต่อไปของเรา ก็เช่นเคยครับ เอา scale อ้างอิงมาก่อน นั่นก็คือ D Major Scale นั่นเอง ดังนี้ D E F#G A B C#D ตัวเว้นตัว เอามาเฉพาะ root,third,fifth ก็จะได้เป็น D F# A นั่นเอง เจ้านี่ล่ะครับ คือ D Major Triad นั่นเอง จากนี้ผมจะรวบรัดแล้วนะครับ เราก็ต่อไปหาลำดับ 5 ถัดไปจาก D เป็น A ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad= A C# E เราก็ต่อไปหาลำดับ 5 ถัดไปจาก A เป็น E ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad= E G# B เราก็ต่อไปหาลำดับ 5 ถัดไปจาก E เป็น B ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad= B D# F# เราก็ต่อไปหาลำดับ 5 ถัดไปจาก B เป็น F# ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad=F# A# C# เราก็ต่อไปหาลำดับ 5 ถัดไปจาก F#เป็น C# ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad=C# E# G# เราก็ได้ครบวงจรของ Circle of Fifth ทาง # มาแล้วนะครับ ได้ Triad มาทั้งหมด 7 Triad คือ C =C E G G =G B D D =D F#A A =A C#E E =E G#B B =B D#F# F#=F#A#C# C#=C#E#G# Circle of Fifth ที่ผมอ้างอิงขึ้น อันที่จริงแล้วจะสามารถวนเสียนได้ทั้งหมด 12 คอร์ดครบ แต่จากตัวอย่างยังไม่ครบ ซึ่งผมจะมาพูดกันถึงเรื่อง Circle of Fifth แบบละเอียดในโอกาศถัดไปนะครับ ในโอกาศนี้ให้นำสิ่งนี้ไปฝึกให้คล่องเสียก่อน
สำหรับตอนหน้าผมก็จะมาต่อ Circle Of Fourth ทาง b กัน ^_^ อย่างไรรอติดตามละกันนะครับ สำหรับเรื่อง triad นี้ผมขอกล่าวย้ำอีกทีนะครับ ว่าต้องแม่นยำเรื่อง Major scale ในทุก Key เสียก่อนนะครับ ถึงจะ วิเคราห์ได้ เพราะ 1 3 5 ของ triad ก็มาจาก note ลำดับที่ 3 ของ Scale นั่นเอง ดังนั้น จึงต้องทบทวนเรื่อง scale ให้แตกฉานเป็นดีที่สุด อารมณ์ประมาณว่าผมถามคุณว่า Scale Major ที่มี 5# คืออะไร?? ถ้าคุณตอบว่า Scale B Major ผมยินดีด้วยครับ เรื่อง triad คงไม่เป็นปัญหาสำหรับคุณ แต่ถ้าคุณตอบไปเป็นอย่างอื่นล่ะก็ ผมว่าคุณก็ควรต้องศึกษาเรื่อง Scale เพิ่มเติมอีก ซึ่งแหล่งความรู้ก็ไม่ได้อยู่ที่ใหนไกลครับ รู้สึกว่าจะได้อยู่ในกระทู้ ทฤษฎีรายวันเนี่ยล่ะครับ น่าจะตอนที่ 20 เป็นต้นมาถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ สุดท้ายนี้วันเอาไว้แค่นี้ก่อนดีกว่าครับ อย่าลืมนำกลับไปซ้อมและวิเคราะห์นะครับผม ผมก็ได้แต่หวังว่าสิ่งที่ผมนั่งพิมพ์นี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:11:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 30 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่31 triad 2
ตอนที่แล้วเราจบกันที่ เราได้ผลลัพธ์คือ major triad ทาง # ทั้ง 7 คอร์ด คือ C =C E G G =G B D D =D F#A A =A C#E E =E G#B B =B D#F# F#=F#A#C# C#=C#E#G#
ส่วนวันนี้ก็จะมากล่าวถึงเรื่อง Circle Of Fourth ทาง b Circle of Fourth ก็คือ วงเวียนของ 4 ^_^ มาดูกันเลยดีกว่านะครับ เริ่มด้วย C Major Triad เช่นเดิม ก็คือ C E G เพราะ C นั้นถือเป็นต้นรากของตระกูล Majorเลยก็ว่าได้นะครับ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าวงเวียน 4(ไม่ใช่วงเวียน 22 ที่ไปตัด pickguard นะครับ 55+) เราก็ต้องนับไป 4 จาก C โดยนับตัวมันเองด้วย ก็จะได้เป็น C1 D2 E3 F4 เราก็จะได้ note ตัว F เป็น scale อ้างอิงของ triad ต่อไปนั่นเอง เราก็เริ่มกันเลยครับ ด้วยการเขียน scale อ้างอิงขึ้นมาก่อน นั่นก็คือ F Major Scale ดังนี้ F G ABb C D EF เสร็จแล้ววิธีการหา triad ก็เช่นเดิมคือดึงตัว 1 3 และ 5 ของ scale อ้างอิงออกมาได้เป็น F Major Triad= F A C นี่เองงงงง เอาล่ะครับ วงเวียน 4 ทาง flat ของเราเริ่มเข้มข้นแล้วนะครับ ได้มา 2 ตัวแล้วคือ C=C E G F=F A C ต่อเลยครับ อย่าให้ขาดช่วงกันเลยทีเดียวเชียว ไปกันตามกฎของ Circle Of Fourth เลยครับ นั่นก็คือนับต่อจาก F ไป4 โดยนับตัวของ F เองด้วย ได้ดังนี้ครับ F1 G2 A3 Bb4 เราก็จะได้ตัว Bb มานั่นเองนะครับ (ปล.จะสังเกตเห็นว่าเวลาเรานับถัดไป 4 นั้น ถ้า scale อ้างอิงติด b หรือ # ก็จะติดมาด้วย เวลาจะนำมาขึ้นเป็น scale อ้างอิงใหม่ สังเกตได้จาก Bb ที่เราเพิ่งหาได้จาก F เพราะ Scale F นั้นมี note Bb เป็นลำดับที่ 4 พอดี ในเมื่อเราต้องการลำดับที่ 4 ถัดจาก F มาสร้าง เป็นตัวอ้างอิงถัดมา B จึงต้องติด b เป็น Bb อย่างเลี่ยงไม่ได้ และกฎนี้จำต้องเคร่งครัด อย่าลืมนะครับ!!!)
พอเราได้ Bb มาแล้ว เราก็นำ Bb Major Scale มาเป็นตัวอ้างอิงถัดไป ได้เป็น Bb C DEb F G ABb เสร็จแล้ววิธีการหา triad ก็เช่นเดิมคือดึงตัว 1 3 และ 5 ของ scale อ้างอิงออกมาได้เป็น Bb Major Triad= Bb D F ^_^ ง่ายใช่มั้ยครับ
จากนี้เราก็ไปกันเร็วแล้วนะครับ เราก็ต่อไปหาลำดับ 4 ถัดไปจาก Bb เป็น Eb ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad= Eb G Bb เราก็ต่อไปหาลำดับ 4 ถัดไปจาก Eb เป็น Ab ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad= Ab C Eb เราก็ต่อไปหาลำดับ 4 ถัดไปจาก Ab เป็น Db ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad= Db F Ab เราก็ต่อไปหาลำดับ 4 ถัดไปจาก Db เป็น Gb ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad= Gb BbDb เราก็ต่อไปหาลำดับ 4 ถัดไปจาก Gb เป็น Cb ตัวเว้นตัวเป็น Major Triad= Cb EbGb เราก็ได้ครบวงจรของ Circle of Fourth ทาง b มาแล้วนะครับ ได้ Triad มาทั้งหมดอีก 7 Triad คือ C =C E G F =F A C Bb=Bb D F Eb=Eb G Bb Ab=Ab C Eb Db=Db F Ab Gb=Gb BbDb Cb=Cb EbGb
จะสังเกตว่า ทาง # มี triad 7 triad ทาง bก็มี triad 7 triad บวกกับ C ซึ่งไม่เป็นติด # หรือ b เลย คงสถานะเป็นกลางระหว่าง 2ฝ่าย # และ b ก็จะรวมได้เป็น 15 triad ครบถ้วนทั่วในทาง Major น่ะนะครับ จบแล้วครับสำหรับเรื่อง Major Triad เป็นอย่างไรบ้างครับ พอเกิดไอเดียสนุกๆเกี่ยวกับ triad ขึ้นมาบ้างมั้ยครับ ^_^ สนุกดีนะครับผมว่า ในวันนี้ผมอยากจะเล่าเรื่อง Circle of Fifth และ Circle of Fourth ให้ฟังเพิ่มซักหน่อยนะครับ (ลองย้อนกลับไปดูตอนที่แล้วที่ผมบอกไว้ว่า ."Circle of Fifth ที่ผมอ้างอิงขึ้น อันที่จริงแล้วจะสามารถวนเสียนได้ทั้งหมด 12 คอร์ดครบ ")
วันนี้ผมก็จะมาคำนวณให้ดูกันอย่างครบถ้วนไปเลยครับ ^_^ เริ่มด้วย Circle of Fifth ทาง # แล้วกันนะครับ ลุยเลยครับ มันจะเป็นวงเวียนคู่ 5 ไปเรื่อยๆดังนี้นะครับ ฐานคือ C ถัดไปคือ G(5ของC) ถัดไปคือ D(5ของG) ถัดไปคือ A(5ของD) ถัดไปคือ E(5ของA) ถัดไปคือ B(5ของE) ถัดไปคือ F#(5ของB) ถัดไปคือ C#(5ของF#) ถึงตรงนี้ ทุกคนก็คงสังเกตเห็นแล้วนะครับ ว่าคราวที่แล้วผมหยุด วงเวียน 5 ไว้ที่ตรงนี้น่ะนะครับ ที่ผมหยุดไว้แค่ตรงนี้ เพราะ มันสุดทางของทาง # แล้ว เพราะไม่สามารถ มี # มากไปกว่านี้ได้แล้ว คือจบที่ C# มีทั้งหมด 7# จบเท่านี้(ในเบื่องต้นนะครับ ถ้าตามหลักทฤษฎียังมีต่อแต่ทางการปฎิบัตพบเจอได้ยากผมจึงหยุดเท่านี้) แต่ถ้าเราจะฝืนวงเวียน 5 ไปต่อก็ได้ดังนี้น่ะนะครับ 5 ถัดจาก C# ก็คือ G# เห็นได้ว่า G# ก็คือ Ab ที่เราไม่ใช้ G# เพราะ Scale G# มันโอเว่อเกิน มันมี 8 ชาร์บ มี FDoubleSharp 1ตัว เราจึงยึดใช้เจ้า Ab เป็นหนึ่งในวงเวียน ของ 5 นั่นเอง และนี่ก็คือสาเหตุที่ผมไม่ไล่วงเวียน 5 จนครบในคราวที่แล้ว เพราะมันจะตีกันกับเรื่อง วงเวียน 4 ทางb นั่นเอง คงเข้าใจกันแล้วนะครับ มาต่อกันเลยครับ ถัดจาก C# ก็คือ Ab นั่นเอง ถัดไปคือ Eb(5ของAb) ถัดไปคือฺ Bb(5ของEb) ถัดไปคือ F (5ของBb) ถัดไปคือ C 5ของ F และก็ย้อนกลับมาที่เดิมด้วย ครบแล้วครับ ง่ายใช่มั้ยครับ สำหรับวงเวียน 5 เราก็จะได้ครบวงเวียน 5 มีทั้งหมด 12 ตัวครบทั้ง chromatic เลยคือ C,G,D,A,E,B,F#,C#,Ab,Eb,Bb,F
ต่อมาก็มาล่าเจ้า Circle of Fourth ทาง b ให้ครบกันบ้างดีกว่าครับ เช่นเคยมี C เป็นฐานถัดไปคือ F(4ของC) นั่นเอง ถัดไปคือ Bb(4ของF) ถัดไปคือ Eb(4ของBb) ถัดไปคือ Ab(4ของEb) ถัดไปคือ Db(4ของAb) ถัดไปคือ Gb(4ของDb) ถัดไปคือ Cb(4ของGb) และเราก็มาตันกันอยู่ตรงนี้อีกครั้ง ^_^ นั่นก็คือมาตันกันที่ เจ้า Cb นั่นเอง CbMajorScale ติดทั้งหมด 7b เราจึง นับ 4 ถัดไปจากมันไม่ได้แล้วเพราะถ้านับไปเราก็จะเจอกับ Fb ซึ่งแย่เลยทีนี้ มี 8b แถมมี B double b อีกยุ่งแน่ๆครับ เราเลยจะเลี่ยงโดยการใช้สิ่งที่มีค่าเท่ากันต่างกันแค่ Alphabet คือ E นั่นเองนะครับ เราก็จะได้ E มาเป็นตัวถัดมาต่อจาก Cb ใน Circle of Fourth ต่อไปเลยนะครับ ถัดไปคือ A (4ของE) ถัดไปคือ D (4ของA) ถัดไปคือ G (4ของD) ถัดไปคือ C (4ของG) เป็นอันปิดท้ายอย่างสวยงามนะครับ ^_^ ง่ายมากๆเลยนะครับ เจ้าวงเวียน 4 นี่ เราก็จะได้ครบวงเวียน 4 มีทั้งหมด 12 ตัวครบทั้ง chromatic เลยคือ C,F,Bb,Eb,Ab,Db,Gb,Cb,E,A,D,G
จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับเรื่อง Major Triad+Circle of 5,4 ผมหวังให้ทุกคนอ่านวนอ่านซ้ำมากๆนะครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจ เพราะผมอธิบายค่อนข้างเยอะทีเดียวอาจทให้เบื่ออ่านกันได้ ดังนั้น ใครต้องการความรู้ตรงนี้รบกวนอ่านอย่างตั้งใจมากๆเลยน่ะครับ ถึงจะเกิดผลที่ดีเยี่ยมน่ะครับ คราวหน้าเรามาต่อกันเรื่อง Relative minor triad กัน ^_^ รอติดตามชมนะครับ สุดท้ายนี้ขอบคุณมากๆครับที่ติดตามชมกันมา และผมก็หวังเช่นเคยครับ ว่าบทความพวกนี้น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ผู้ชมที่สนใจนะครับ สำหรับวันนี้พอเท่านี้ก่อนครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:11:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 31 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่32
ขอขั้น ด้วยเรื่องราวของ Key Signature นะครับ เผอิญผมได้ไปตามกระทู้ของท่าน i_boom ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=81806 จึงคิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากขึ้นถ้านำมารวมใน column ของ ทฤษฎีรายวันน่ะนะครับ ลุยกันเลยครับ เราจะสังเกตได้ว่า บนบรรทัด 5 เส้นนั้น จะมีกลุ่มกำหนด Key อยู่ ถัดจาก กุญแจประจำเสียง มีเครื่องหมาย # และ b เป็นตัวบ่งบอก Key ต่าง จำนวนของ # และ b ที่แสดงอยู่นั้น เป็นตัวบ่งบอกถึง Key ต่างๆกันไป ดังนี้ เริ่มต้นจากทาง # 1 # = G / Em 2 # = D / Bm 3 # = A / F#m 4 # = E / C#m 5 # = B / G#m 6 # = F#/D#m 7 # = C#/A#m ส่วนทาง b ก็มีดังนี้นะครับ Non # Non b = C / Am 1 b = F / Dm 2 b = Bb / Gm 3 b = Eb / Cm 4 b = Ab / Fm 5 b = Db / Bbm 6 b = Gb /Ebm 7 b = Cb /Abm
ส่วนเรื่อง KeySignature minor จะใช้อันเดียวกับ Major ครับ เรียกว่า Relative minor วิธีการหา minor ง่ายๆ ก็คือการนับระยะห่างลำดับที่ 6 ถัดจากตัว root ของ scale Major นั้นๆ เช่น AMajor ที่มี 3 # ถูกตั้งเป็นฐาน เราก็ต้องหาก่อนว่า Scale A Major นั้นมี note อะไรบ้างดังนี้ A B C#D E F# G#A จากนั้นถ้าต้องการจะรู้ว่า relative minor ของ A Major คืออะไรเราก็นำเอาลำดับที่ 6 จาก scale ที่เราอ้างอิงไว้ข้างต้นนั่นเอง คือ F# ก็ได้เป็นว่า F# natural minor scale=F# G#A B C#D E F# จะเห็นว่า ทุกตัวใน F# minor scale นั้น เหมือนกับ A Major Scale อย่างกับแกะเลยนะครับ ดังนั้น A Major Scale กับ F# minor Scale เป็นญาติกันนั้นเองนะครับ ส่วน relative minor ตัวอื่นก็ดูได้จากตารางด้านบนเลยนะครับ ^_^ ทั้งหมดด้านบนนั้นก็คือ การมอง Key Signature จากจำนวน # และ b ว่าเป็น key อะไร แต่ก็อย่างว่าล่ะนะครับ เราจะยังปักใจเชื่อไม่ได้เพราะว่า จำนวน # และ b ที่ปรากฎขึ้นที่ KeySignature นั้นไม่ได้บอกอะไรกับเราว่าเป็น Mjor หรือ minor ถูกมั้ยครับ? ดังนั้นขั้นตอนต่อไปเราก็ต้องเจาะลึกถึงด้านใน ตัวเพลงกันต่อน่ะนะครับ ถึงจะได้คำตอบที่แท้จริง ว่าเพลงนั้นๆเป็น major หรือ minor อันดับแรกลองสังเกตตัวเพลงดูดีๆนะครับ ว่าขึ้นด้วยคอร์ดอะไร(ในกรณีที่ notation นั้นมีคอร์ด กำกับ) อันนี้คือเบื่องต้นเลยนะครับในการวิเคราะห์ ดูคอร์ดแรกก่อน คอร์ดแรกส่วนใหญ่จะบอก Key เพลงนั้นๆน่ะนะครับ ส่วนรายละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นก็คือ note ที่บ่งบอกความเป็น minor สมมุติเพลงนั้น Key Signatue ไม่บ่งบอก # หรือ b ไว้ ความน่าจะเป็นคือ Key CMajor ไม่ก็ Aminor ถูกต้องมั้ยครับ? เอาล่ะคราวนี้เราก็ไล่ดูตาม note ถ้า ไล่ๆดูแล้วปรากฎว่าเจอ note G# ให้เดาไว้ก่อนเลยว่าเป็น Key Am แหงๆเลยครับ เพราะ G# เป็น note ที่บ่งบอกถึงความเป็น Harmonic minor ของ Am น่ะครับ ดังนี้ A Natural minor=A BC D EF G A(เหมือน C Major ทุกอย่าง) A Harmonic minor=A BC D EF G#A(ต่างกับ C Major ตรง G# เนี่ยล่ะนะครับ) ยังมี minor อีกชนิดนะครับ คือ A Melodic minor สำหรับ scalt นี้นั้น ขาขึ้นกับลงจะไม่เหมือนกันนะครับ ต้องสังเกตุดีๆ ขาขึ้นคือ A BC D E F# G#A ขาลงคือ A G FE D CB A ดังนั้น ถ้าเราเห็น ความผิดปกติบน บรรทัด 5 เส้น ไม่ว่าจะเป็น ตัว G ติด # หรือ ตัว FกับG ติด # แล้วถูกแปลงกลับเป็น Natural ใน Bar ต่อมา ให้เดาไว้ได้เลยครับ ว่านั่นก็คือลางบอกเหตุว่าเพลงนั้นๆคือ Key minor น่ะนะครับ
แต่อย่างไรสุดท้ายสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับดนตรีครับ ฟังและแยกแยะอารมณ์เอาเองน่ะนะครับ จะช่วยติดสินได้มากเลยมีเดียวครับ อย่างไรขอให้มีความสุขกับดนตรีมากๆนะครับทุกคน แล้วเจอกันใหม่ตอนหน้าเรื่อง triad ต่อครับ ^_^ สวัสดีครับ led zeppelin
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:11:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 32 |
|
|
ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 33 triad 3
ตอนที่แล้วเราจบลงที่ เราได้ผลลัพธ์คือ Major Triad ทั้ง ทาง # และ ทาง b ครบทั้ง 15 chord รวมถึง Circle of fifth 12 chord Circle of fourth 12 chord ดังนี้ Major triad ทาง # คือ C =C E G G =G B D D =D F#A A =A C#E E =E G#B B =B D#F# F#=F#A#C# C#=C#E#G#
Major triad ทาง b คือ C =C E G F =F A C Bb=Bb D F Eb=Eb G Bb Ab=Ab C Eb Db=Db F Ab Gb=Gb BbDb Cb=Cb EbGb
Circle of fifth 12 chord เลยคือ C,G,D,A,E,B,F#,C#,Ab,Eb,Bb,F Circle of fourth 12 chord เลยคือ C,F,Bb,Eb,Ab,Db,Gb,Cb,E,A,D,G
เอาล่ะครับ ทั้งหมดนั่นคือสาระที่เราควรจะจดจำ หรือ คำนวณให้ได้อย่างถูกต้องแล้วนะครับ สำหรับคนที่ยังไม่ได้ รบกวนค้นคว้าเพิ่มเติม จากสิ่งที่ผมเคยลงไป และค้นคว้าจากแหล่งอื่นให้ ได้ความเข้าใจมากขึ้น ถ้าด้านบนนั้นไม่เป็นปัญหาของเราอีกต่อไปแล้ว เราก็มาต่อเรื่องของวันนี้กันเลยครับ นั่นก็คือ Relative minor triad
คงจะจำกันได้นะครับ สำหรับ ทฤษฎีรายวันตอนที่ 28 ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=74494 ที่ผมได้กล่าวถึงเรื่อง Relative minorกันไปแล้ว
แต่วันนี้จะซับซ้อน และมากมายกว่านั้นเยอะครับ ดังนั้นเช่นเคย ย้อนกลับไปอ่านและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อนเป็นดีที่สุดเลยนะครับ ^_^ ถ้าได้แล้วเราก็มาลุยกันเลยครับ สรุปวิธีการหา relative minor อย่างสั้นก็คือ นับไป ลำดับที่ 6 โดยนับรวมตัวโจทย์ตั้ง(root) ที่เราจะหาด้วย เช่น CMajorTriad อยากได้ Relative minor ก็คือ ต้องนับล่ะครับ 1=C 2=D 3=E 4=F 5=G 6=A เจอแล้ว
จากนั้นก็เอา A มาตั้งเป็น Triad ใหม่ แต่นี่ล่ะครับปัญหา ก่อนจะตั้งเราก็ต้องรู้ก่อนจริงมั้ยครับ ว่า A natural minor นั้น มี note อะไรบ้าง? เพราะเราต้องนำ note ลำดับที่ 1 3 5 ของ scale นั้นๆมาสร้าง triad เราจึงจำเป็นต้องรู้ scale นั้นๆก่อน ที่จะสร้าง triad ใดๆขึ้นมาได้ ก็เป็นไปตามหลัก relative อยู่แล้วครับ นั่นก็คือ A natural minor Scale จะ note เหมือน C Major Scale อย่างกับแกะเลยนะครับ ดังนี้ CMaj=C D EF G A BC Am =A BC D EF G A
พอเราได้ A natural minor Scale มาแล้วดังนี้ A BC D EF G A ก็มาเข้าเรื่อง triad ต่อ หัวใจของมันก็คือ note ลำดับที่ 1 3 5 ของ Scale นั้นๆเราก็มาดูกันเลยครับ A=1 B=2 C=3 D=4 E=5 F=6 G=7 เราเอามาเฉพาะลำดับที่ 1 3 5 ก็จะได้เป็น A C E ดังนั้นเราก็ได้แล้วว่า Am triad= A C E ผู้นี้นี่เองงงง
เอาล่ะครับ ต่อมาก็คือ สูตรการหา triad ซึ่งตอนนี้จะเห็นว่าเรามี triad minor เพิ่มขึ้นมาแล้ว สูตรจึงต้องเปลี่ยนไปด้วย ถ้าเทียบกันด้วย Major Scale ยกตัวอย่างก่อนนะครับ A Major Scale= A B C#D E F# G#A พอสร้างเป็น Triad โดยใช้สูตร 1 3 5 จะได้เป็น A C# E A minor ก็เช่นกันครับ A BC D EF G A พอสร้างเป็น Triad โดยใช้สูตร 1 3 5 จะได้เป็น A C E
คงพอจะเห็นความยุ่งยากนะครับ นั่นก็คือ พอจะหา triad major ก็ต้องรู้ scale Major จนทะลุ พอจะหา Triad minor ก็ต้องคล่อง scale minor เช่นกัน ไม่งั้นก็ไม่สามารถหาลำดับที่ 1 3 5 ออกมาได้
แต่เรามีสูตรแก้ครับ ^_^ นั่นก็คือ Major Triad=1 3 5 อิงกับ scale Major นั้นๆ minor Triad=1b3 5 อิงกับ Scale Major นั้นๆเช่นเดียวกัน
เห็นมั้ยครับ เท่านี้ เราแค่รู้ Scale Major เราก็สามารถสร้างได้ทั้ง Major และ minor Triad แล้วน่ะนะครับ ง่ายดีใช่มั้ยครับ ^_^
มาดูตัวอย่างกันอีกซักอันดีกว่านะครับ ใน Scale C ก็แล้วกันง่ายดีน่ะนะครับ Scale C Major= C D EF G A BC Major Triad=1 3 5=C E G minor triad=1b3 5=C Eb G เห็นมั้ยครับ สะดวกสบายมากๆเลย เพราะณ ตอนนี้แม้เราไม่รู้ C natural minor scale แต่เราก็หา minor triad จากสูตร 1b3 5 ได้อย่างง่ายดายเลยนะครับ (แต่ในความเป็นจริงควรจะรู้ลำดับของ minor scale ได้อย่างสมบูรณ์ก่อนใช้สูตรลัดนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ดีกว่าน่ะครับ)
สำหรับวันนี้ขอพักเรื่องราว triad ไว้เท่านี้ก่อนดีกว่านะครับ คือผมคิดว่า หลายคนคงอยากหาเวลาทบทวนสิ่งที่ได้รู้ไปจากตอนนี้ก่อนน่ะครับ เพราะตอนนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญทีเดียวครับ ในโลกของ Triad ดังนั้น ตอนหน้าค่อยมาต่อกันนะครับ กับ relative minor triad ทาง # สำหรับวันนี้ ขอให้ทุกคนทบทวนให้เต็มที่ครับ สุดท้ายนี้ขอบคุณมากๆครับที่ติดตามชมกันมา และผมก็หวังเช่นเคยครับ ว่าบทความพวกนี้น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ผู้ชมที่สนใจนะครับ
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:12:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 33 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 34 ครับ ^_^ มาว่ากันด้วยเรื่อง Triad(4) กันต่อครับ
อันดับแรก ต้องขออภัยนะครับที่หายไปหลายวันเลยครับ(อีกแล้ว) คือไม่ค่อยได้แวะเวียนเข้ามาเลยน่ะครับ ก็เลยไม่ได้เขียนต่อ แต่ก็กลับมาแล้วนะครับ ใครอยากศึกษาต่อก็ลุยกันเลยนะครับ ^_^
วันนี้ก็มาว่ากันถึงเรื่อง triad ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=82845 สำหรับคราวที่แล้ว ผมก็ได้พูดถึงเรื่อง การrelative minor ของ triad ไปแล้วนะครับ ส่วนตอนนี้ก็จะมาขึ้นต่อกันในเรื่องของ minor triad ทาง # ให้จบสิ้นกันเสียสักทีนะครับ เรามาดู major triad ทาง # ทั้งหมดก่อนดีกว่านะครับ เพราะเราต้องอาศัยพวกมันในการตามหา minor triad ทาง # Major Triad ทาง # ทั้ง 7 ตัวมีดังนี้นะครับ C =C E G G =G B D D =D F#A A =A C#E E =E G#B B =B D#F# F#=F#A#C# C#=C#E#G#
พอเรารู้ดังนี้แล้วเราก็มาเริ่มหากันเลย จากตอนที่แล้วผมได้บอกไปแล้วว่ามีวิธีหา relative minor 2 วิธีด้วยกันคือ 1.หาโดยการนับลำดับที่ 6 จาก scale ที่ตั้ง แล้วใช้ note ใน scale major นั้นในการสร้าง เช่น realtive minor ของ C Major= A C E (ตอนแรกเรานับถัดจาก C ไป6ได้ ต่อมาเราก็นำ A มาตั้ง ใหม่โดย note ทุกตัวใน A จะเหมือนกับ C Major เปี๊ยบเลย เรียกว่า A Natural minor แล้วเลือก 1 3 5 จาก scale Am มาสร้าง triad) เป็นต้น
2.หาโดยการนับลำดับที่ 6 จาก scale ที่ตั้ง แล้วใช้สูตรนี้ Major Triad=1 3 5 minor triad=1b3 5 เช่น relative minor ของ C คือ A พอเราได้ note A ที่เป็นตัวตั้งใหม่มาแล้ว ก็ต้องหา ว่า A Major Scale มี note อะไรบ้างก่อน ดังนี้ A B C#D E F# G#A จากนั้นก็ใช้สูตร minor triad=1b3 5 ก็จะได้เป็น A minor triad=1b3 5=A C E เป็นต้น
เอาล่ะครับ เมื่อเรามี 2 วิธีในการหาอยู่ในกำมือแล้วก็ลงมือกันเลยนะครับ ณ ตอนนี้ผมจะนำเสนอโดยใช้วิธีแรกก่อนนะครับ
เราก็เริ่มจาก Relative minor ของ G กันเลย ซึ่งเราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า G Major Scale นั้น ติด 1# ดังนี้ G A BC D E F#G ขั้นตอนการหา relative ก็คือเราต้องนับไป 6 โดยนับตัว G(root)ด้วย ได้ดังนี้ G=1 A=2 B=3 C=4 D=5 E=6
เอาล่ะเราก็ได้แล้วว่า E คือ relative minor ของ G นั่นเอง ตามกฎเราก็รู้อยู่แล้วว่าเราได้ note ฐานของ relative มาแล้ว เราก็ต้องนำมันมาเรียงเป็น scale ที่ผมสมบูรณ์ก่อน โดย note จะเหมือนกับ scale Major ที่อ้างอิงเป๊ะๆ เราก็มาดูกันเลยครับ E F# G A BC D E ได้แล้วเห็นมั้ยครับ ^_^ สำหรับ E Natural minor ถัดมาเรากำลังพูดถึงเรื่อง triad กันอยู่ งานที่เราต้องทำต่อไปก็คือ จับ 1 3 5 ของ natural minor scale นั้นๆมาสร้างเป็น minor triad นั่นเองได้ดังนี้ E=1 F#=2 G=3 A=4 B=5
เราก็ได้แล้วนะครับ 1 3 5 คือ E G B ก็เท่านี้เองครับ เราก็ได้ Em triad มาอยู่ในครอบครองแล้วนะครับ
มาดูกันอีกซัก 1 ตัวอย่างนะครับ ถัดมาก็ต้องเป็น relative minor ของ D นั่นเอง ซึ่งเราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า D Major Scale นั้น ติด 2# ดังนี้ D E F#G A B C#D ขั้นตอนการหา relative ก็คือเราต้องนับไป 6 โดยนับตัว D(root)ด้วย ได้ดังนี้ D=1 E=2 F#=3 G=4 A=5 B=6 เอาล่ะเราก็ได้แล้วว่า B คือ relative minor ของ D นั่นเอง ตามกฎเราก็รู้อยู่แล้วว่าเราได้ note ฐานของ relative มาแล้ว เราก็ต้องนำมันมาเรียงเป็น scale ที่ผมสมบูรณ์ก่อน โดย note จะเหมือนกับ scale Major ที่อ้างอิงเป๊ะๆ เราก็มาดูกันเลยครับ B C#D E F#G A B ได้แล้วเห็นมั้ยครับ ^_^ สำหรับ B Natural minor ถัดมาเรากำลังพูดถึงเรื่อง triad กันอยู่ งานที่เราต้องทำต่อไปก็คือ จับ 1 3 5 ของ natural minor scale นั้นๆมาสร้างเป็น minor triad นั่นเองได้ดังนี้ B=1 C#=2 D=3 E=4 F#=5 เราก็ได้แล้วนะครับ 1 3 5 คือ B D F# ก็เท่านี้เองครับ เราก็ได้ Bm triad มาอยู่ในครอบครองแล้วนะครับ
ง่ายมากๆเลยนะครับ ต่อมาก็รวบลัดเลยละกันนะครับ ดังนี้
C =C E G - Am =A C E G =G B D - Em =E G B D =D F#A - Bm =B D F# A =A C#E - F#m=F#A C# E =E G#B - C#m=C#E G# B =B D#F# - G#m=G#B D# F#=F#A#C# - D#m=D#F#A# C#=C#E#G# - A#m=A#C#E#
เรียบร้อยแล้วนะครับครบถ้วนเลย ^_^ ก็ลองไปทบทวนกันดูนะครับ ลองใช้วิธีการหา relative minor กันดูทั้ง 2 วิธีเลยนะครับ เพื่อประโยชน์อันสูงสุดน่ะครับ แล้วก็จะสังเกตเห็นอีกอย่างนึงนะครับก็คือว่า การนั่งหา triad นี้มีประโยชน์มากมายมหาศาลทีเดียวนะครับ เพราะเราจะได้ทวนเรื่อง scale Major และ scale Natural minor ไปในตัวด้วยน่ะครับ (เดี๋ยวเรื่อง arpeggioes ก็ต้องมาทวนกันอีก ครับ 55+ ทางที่ดี ฝึกหา scale ให้คล่องๆวไเลยดีกว่านะครับ)
แล้วไว้คราวหน้าจะมาต่อกันเรื่อง Relative minor ทาง b กันต่อนะครับ สำหรับวันนี้ ขอให้ทุกคนทบทวนให้เต็มที่ครับ สุดท้ายนี้ขอบคุณมากๆครับที่ติดตามชมกันมา และผมก็หวังเช่นเคยครับ ว่าบทความพวกนี้น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ผู้ชมที่สนใจนะครับ
สวัสดีครับผม led zeppelin
ปล.สำหรับผู้ที่สนใจตอนก่อนหน้านี้ทั้ง 32 ตอนของผม สามารถติดตามได้แล้วนะครับ ขอบคุณ คุณ Fender_strat และ ทุกคนที่ร่วมกันค้นหาและติดตามจนได้ครบจนได้นะครับ ขอบคุณทุกคนากๆจากใจจริงครับ ติดตามได้ที่นี่นะครับ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=82501
ผมเองยังต้องตาม save งานย้อนหลังของตัวเองเลยครับ 555+
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:12:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 34 |
|
|
ขอบคุณครับ
lookpong
22 มี.ค. 50
เวลา 7:46:00 IP = 203.149.3.66
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 35 |
|
|
อิอิ มีบอร์ดใหม่แล้ว ทีนี้จะได้ไม่ต้องมาตามหากระทู้กันอีกแล้วอิอิ ดีใจแทนคุณเป๋าคับ
Fender_stat
22 มี.ค. 50
เวลา 10:05:00 IP = 125.27.5.222
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 36 |
|
|
ขอกราบขอบพระคุณอ.เป๋างามๆ สักทีครับ อิ อิ
sanjak
22 มี.ค. 50
เวลา 11:56:00 IP = 125.24.14.2
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 37 |
|
|
ขอบคุณจากใจจริงๆครับ
audyman
22 มี.ค. 50
เวลา 16:34:00 IP = 203.188.49.172
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 38 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 35 ครับ ^_^ มาว่ากันด้วยเรื่อง Triad(5) กันต่อครับ
อันดับแรก ต้องขออภัยนะครับที่หายไปเกือบเดือน(อีกแล้ว) คือไม่ค่อยสบาย ป่วย ความขี้เกียจเลยครอบงำครับ 555++ ก็เลยไม่ได้เขียนต่อ แต่ก็กลับมาแล้วนะครับ ใครอยากศึกษาต่อก็ลุยกันเลยนะครับ ^_^
วันนี้ก็มาว่ากันถึงเรื่อง triad ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=83436 สำหรับคราวที่แล้ว ผมก็ได้พูดถึงเรื่อง การrelative minor ของ triad ไปแล้วนะครับ ส่วนตอนนี้ก็จะมาขึ้นต่อกันในเรื่องของ minor triad ทาง b ให้จบสิ้นกันเสียสักทีนะครับ เรามาดู major triad ทาง b ทั้งหมดก่อนดีกว่านะครับ เพราะเราต้องอาศัยพวกมันในการตามหา minor triad ทาง b Major Triad ทาง b ทั้ง 7 ตัวมีดังนี้นะครับ C =C E G F =F A C Bb=Bb D F Eb=Eb G Bb Ab=Ab C Eb Db=Db F Ab Gb=Gb BbDb Cb=Cb EbGb
พอเรารู้ดังนี้แล้วเราก็มาเริ่มหากันเลย จากตอนที่แล้วผมได้บอกไปแล้วว่ามีวิธีหา relative minor 2 วิธีด้วยกันคือ 1.หาโดยการนับลำดับที่ 6 จาก scale ที่ตั้ง แล้วใช้ note ใน scale major นั้นในการสร้าง เช่น realtive minor ของ C Major= A C E (ตอนแรกเรานับถัดจาก C ไป6ได้ ต่อมาเราก็นำ A มาตั้ง ใหม่โดย note ทุกตัวใน A จะเหมือนกับ C Major เปี๊ยบเลย เรียกว่า A Natural minor แล้วเลือก 1 3 5 จาก scale Am มาสร้าง triad) เป็นต้น
2.หาโดยการนับลำดับที่ 6 จาก scale ที่ตั้ง แล้วใช้สูตรนี้ Major Triad=1 3 5 minor triad=1b3 5 เช่น relative minor ของ C คือ A พอเราได้ note A ที่เป็นตัวตั้งใหม่มาแล้ว ก็ต้องหา ว่า A Major Scale มี note อะไรบ้างก่อน ดังนี้ A B C#D E F# G#A จากนั้นก็ใช้สูตร minor triad=1b3 5 ก็จะได้เป็น A minor triad=1b3 5=A C E เป็นต้น
เอาล่ะครับ เมื่อเรามี 2 วิธีในการหาอยู่ในกำมือแล้วก็ลงมือกันเลยนะครับ ณ ตอนนี้ผมจะนำเสนอโดยใช้วิธีแรกก่อนนะครับ
เราก็เริ่มจาก Relative minor ของ F กันเลย ซึ่งเราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า F Major Scale นั้น ติด 1b ดังนี้ F G ABb C D EF ขั้นตอนการหา relative ก็คือเราต้องนับไป 6 โดยนับตัว F(root)ด้วย ได้ดังนี้ F=1 G=2 A=3 Bb=4 C=5 D=6
เอาล่ะเราก็ได้แล้วว่า D คือ relative minor ของ F นั่นเอง ตามกฎเราก็รู้อยู่แล้วว่าเราได้ note ฐานของ relative มาแล้ว เราก็ต้องนำมันมาเรียงเป็น scale ที่สมบูรณ์ก่อน โดย note จะเหมือนกับ scale Major ที่อ้างอิงเป๊ะๆ เราก็มาดูกันเลยครับ D EF G ABb C D ได้แล้วเห็นมั้ยครับ ^_^ สำหรับ D Natural minor ถัดมาเรากำลังพูดถึงเรื่อง triad กันอยู่ งานที่เราต้องทำต่อไปก็คือ จับ 1 3 5 ของ natural minor scale นั้นๆมาสร้างเป็น minor triad นั่นเองได้ดังนี้ D=1 E=2 F=3 G=4 A=5
เราก็ได้แล้วนะครับ 1 3 5 คือ D F A ก็เท่านี้เองครับ เราก็ได้ Dm triad มาอยู่ในครอบครองแล้วนะครับ
มาดูกันอีกซัก 1 ตัวอย่างนะครับ ถัดมาก็ต้องเป็น relative minor ของ Bb นั่นเอง ซึ่งเราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า Bb Major Scale นั้น ติด 2b ดังนี้ Bb C DEb F G ABb ขั้นตอนการหา relative ก็คือเราต้องนับไป 6 โดยนับตัว Bb(root)ด้วย ได้ดังนี้ Bb=1 C=2 D=3 Eb=4 F=5 G=6 เอาล่ะเราก็ได้แล้วว่า G คือ relative minor ของ Bb นั่นเอง ตามกฎเราก็รู้อยู่แล้วว่าเราได้ note ฐานของ relative มาแล้ว เราก็ต้องนำมันมาเรียงเป็น scale ที่ผมสมบูรณ์ก่อน โดย note จะเหมือนกับ scale Major ที่อ้างอิงเป๊ะๆ เราก็มาดูกันเลยครับ G ABb C DEb A G ได้แล้วเห็นมั้ยครับ ^_^ สำหรับ G Natural minor ถัดมาเรากำลังพูดถึงเรื่อง triad กันอยู่ งานที่เราต้องทำต่อไปก็คือ จับ 1 3 5 ของ natural minor scale นั้นๆมาสร้างเป็น minor triad นั่นเองได้ดังนี้ G=1 A=2 Bb=3 C=4 D=5 เราก็ได้แล้วนะครับ 1 3 5 คือ G Bb D ก็เท่านี้เองครับ เราก็ได้ Gm triad มาอยู่ในครอบครองแล้วนะครับ
ง่ายมากๆเลยนะครับ ต่อมาก็รวบลัดเลยละกันนะครับ ดังนี้
C =C E G - Am=A C E F =F A C - Dm=D F A Bb=Bb D F - Gm=G Bb D Eb=Eb G Bb - Cm=C Eb G Ab=Ab C Eb - Fm=F Ab C Db=Db F Ab - Bbm=Bb Db F Gb=Gb BbDb - Ebm=Eb Gb Bb Cb=Cb EbGb - Abm=Ab Cb Eb
เรียบร้อยแล้วนะครับครบถ้วนเลย ^_^ ก็ลองไปทบทวนกันดูนะครับ ลองใช้วิธีการหา relative minor กันดูทั้ง 2 วิธีเลยนะครับ เพื่อประโยชน์อันสูงสุดน่ะครับ แล้วก็จะสังเกตเห็นอีกอย่างนึงนะครับก็คือว่า การนั่งหา triad นี้มีประโยชน์มากมายมหาศาลทีเดียวนะครับ เพราะเราจะได้ทวนเรื่อง scale Major และ scale Natural minor ไปในตัวด้วยน่ะครับ (เดี๋ยวเรื่อง arpeggioes ก็ต้องมาทวนกันอีก ครับ 55+ ทางที่ดี ฝึกหา scale ให้คล่องๆวไเลยดีกว่านะครับ)
แล้วไว้คราวหน้าจะมาขึ้นเรื่อง Arpeggioes กันแล้วนะครับ(น่าสนุกที่สุดครับ) สำหรับวันนี้ ขอให้ทุกคนทบทวนให้เต็มที่ครับ สุดท้ายนี้ขอบคุณมากๆครับที่ติดตามชมกันมา และผมก็หวังเช่นเคยครับ ว่าบทความพวกนี้น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ผู้ชมที่สนใจนะครับ
สวัสดีครับผม led zeppelin
ปล.สำหรับผู้ที่สนใจตอนก่อนหน้านี้ทั้ง 33 ตอนของผม สามารถติดตามได้แล้วนะครับ ขอบคุณ คุณ Fender_strat และ ทุกคนที่ร่วมกันค้นหาและติดตามจนได้ครบจนได้นะครับ ขอบคุณทุกคนากๆจากใจจริงครับ ติดตามได้ที่นี่นะครับ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=82501
ผมเองยังต้องตาม save งานย้อนหลังของตัวเองเลยครับ 555+
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:12:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 39 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 36 ครับ ^_^ มาว่ากันด้วยเรื่อง Triad(6) กันต่อครับ
จากเมื่อวานที่ผมได้บอกว่าจะขึ้นเรื่อง Arpeggioes ต้องขออภัยที่เรื่อง triad ยังไม่หมดนะครับ ^_^ ยังมีรายละเอียดสำคัญอีกเยอะครับ เพราะผมยังไม่ได้บอกวิธีนำไปใช้เลยน่ะนะครับ 555+ ผมก็ลืมไป เอาล่ะครับ วันนี้เข้าเรื่องละเอียดต่อไปกันเลยครับ นั่นก็คือ triad chord ใน Key เพลง ต่างๆนั่นเอง triad=note ลำดับที่ 1 3 5 ของ scale นั้นๆ เรียงสลับอย่างไรก็ยังคงเป็น triad chord=note ที่เปล่งเสียงพร้อมกัน 3 ตัวขึ้นไป (ดังนั้น triad จะเป็น chord ได้ก็เมื่อถูกเปล่งเสียงพร้อมกันนั่นเอง) Key เพลง ก็ขึ้นอยู่กับ scale,chord ที่จะนำพาให้เราได้รู้ว่าเป็น Key อะไร
เอาล่ะครับเรื่องนี้ละเอียดนะครับ เรามาว่ากันด้วย scale ที่วิเคราะห์ง่ายที่สุดในโลก อย่าง C Major ดีกว่านะครับ เริ่มด้วยอันดับแรก เรียงลำดับ note ของ scale C Major ให้ได้ซะก่อน นั่นคือ C D EF G A BC ต่อไปก็หา triad ที่ขึ้นต้นโดย note ลำดับต่างๆของ scale ที่อ้างอิง ในที่นี้ก็คือ C Major นั่นเองนะครับ note ที่ใช้ขึ้นต้นก็จะมีทั้งสิ้น 7 note ดังนี้ C D E F G A B เรารู้ triad ของ C แน่ๆแล้วถูกมั้ยครับ นั่นก็คือ note ลำดับที่ 135 ของ scale C Major นั่นเอง ดังนั้น C=C E G
เอาล่ะครับ ปัญหามันมาอยู่ที่ note ตัวอื่นๆนี่สิครับ ^_^ เพราะเราจะรู้ได้อย่างไรว่า D,E,F,G,A,B นั้นเป็น scale อะไร? จำที่ผมบอกได้มั้ยครับว่า เราจะรู้ triad ใดได้ก็ต่อเมื่อเราต้องรู้ scale นั้นๆแล้วดึง note ตัวที่ 135 มาถูกมั้ยครับ? ดังนั้นเราก็เจอกับปัญหาแล้วสิครับ เพราะ เราไม่รู้ scale ของ D,E,F,G,A,B ผมขอเฉลยเลยละกันนะครับ เราต้องดูปัจจัยเหล่านี้เพื่อให้เข้าใจนะครับ 1.เรากำลังจะหา triad chord ใน scale C 2.Note ใน scale ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงแม้เริ่มด้วย note อื่นใน scale C เช่นเราเริ่มเล่น scale C ด้วย note D มันก็จะออกมาเป็น D EF G A BC D สังเกตมั้ยครับว่า note ที่เริ่มด้วย D ก็ยังคงไม่ติด #,b เช่นเดียวกับ scale C ปกติ เราเพียงแค่ไล่ scale C โดยเริ่มจาก D เท่านั้นเอง (เรื่องนี้คือ mode นะครับ เดี๋ยวไว้ค่อยมาว่ากัน ^-^) 3.เมื่อ พิจารณาจากข้อ 2 แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะจับ note ตัวใดมาเริ่มต้นใหม่ สิ่งสำคัญก็คือ note นั้นๆจะไม่เปลี่ยนแปลงเฉไฉ ไปจาก scale C เป็นแน่แท้ ต่อให้เป็น triad note ก็ยังคงต้องยึด note จาก scale C เชนกันไม่ว่าเริ่มจากตัวใหนใน scale C ก็ตาม
เอาล่ะครับ 3 ข้อข้างต้นอ่านแล้ววิเคราะห์ให้ดีนะครับ ก่อนจะไปต่อ
ไปต่อกันเลยครับ ถ้าเราอยากจะรู้ triad chord ทั้งหมด ใน Key C แน่นอนว่าเราต้องอ้างอิงจาก scale C นั่นเอง ผมอยากจะบอกไว้ว่า triad chord ใน Major Key นั้นมีทั้งหมด 7 chordนั่นเอง งงมั้ยครับทำไมถึงมี 7 chord? ก็เพราะว่า scale นั้นๆมีทั้ง 7 note น่ะสิครับ ^_^ เริ่มสนุกแล้วใช่มั้ยครับ triad chord ทั้ง 7 chord นั้นก็มีที่มาจากการที่เรานำ note ที่แตกต่างกัน 7 ตัวใน scale มาสร้าง chord โดยใช้หลัก ของ triad=135 นั่นเอง โดยเราจะนำทั้ง 7 note มาสร้าง triad กันครับ
วิธีการสร้าง triad chord ใน key C นั้นไม่ยากเลยครับ จำคำว่า "ตัวเว้นตัว" ไว้ให้ดีนะครับ เพราะเป็นพาหนะในการตะลุย โลกของ triad chord นั่นเองครับ สังเกตมั้ยครับว่า C Major Triad=135=C E G เห็นมั้ยครับ ว่า C(D)E(F)G นั้นเว้นกันแบบตัวเว้นตัวหมดเลย(ในวงเล็บคือตัวที่ถูกเว้นนั่นเอง) เอาล่ะครับทีนี้เราจะมาลุยกันต่อกับ note อีก 6 ตัวที่เหลือใน scale กันเพื่อสร้าง Key C ขึ้นมาดีมั้ยครับ ^_^ เริ่มด้วย D นั่นเองนะครับ ใช้คำเดิมที่เราจำได้ขึ้นใจครับคือ "ตัวเว้นตัว" นั่นเอง เราก็นำ D เป็นตัวหลักแล้วสร้าง ตัวเว้นตัวขึ้นมา โดย note เราจะใช้ชุด note ของ scaleC เป็นตัวอ้างอิงนะครับ นั่นคือไม่ติด #,b นั่นเอง
เริ่มกันเลยครับ D (E) F (G) A ตัว E กับ G ที่เราเว้นออกไปก็จะได้เป็น D F A ดังนั้น เราก้ได้ triad chord อันดับที่ 2 มาแล้วนะครับนั่นก็คือ Chord D=D F A นั่นเอง แต่เอ๊ะ ทำไมชื่อ Chord ถึงไม่มีนามสกุล ^_^ ณ ตรงนี้ผมคงต้องขอให้ทุกคน นึกถึงเรื่อง scale ขึ้นมาด่วนๆเลยนะครับ ผมเคยเตือนแล้วนะครับว่าควรจำ scale Major กันให้ขึ้นใจ เอาล่ะครับ ขอย้ำอีกที Chord D=D F A ที่ผมยังไม่ใส่ นามสกุล(M,m,d,A)ให้ ก็เพราะว่าเดี๋ยวทุกคนจะงงว่ามันมายังใง ผมจึงจะร่วมกันดำเนินไปพร้อมกันดีกว่า การที่เราจะรู้ว่า Chord D=D F A ที่เราหาได้นี่เป็น chord อะไรเราจำต้องนำไปอ้างอิงจาก scale Major นั้นๆ อย่างงเชียวนะครับ เรากำลังจะหา Chord D ดังนั้นสิ่งที่เราต้องนำมาอ้างอิงก็คือ scale D Major ถุกมั้ยครับ? เราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า scale D Major=D E F#G A B C#D นั่นเอง จากนั้นเราก็ลองเอา note triad 3 ตัวที่เรามีอยู่ไปเทียบกับลำดับที่ 1 3 5 ใน scale major ดูกันดีกว่านะครับ
D=D อืมตรงดี F=F# ไหงไม่ตรงหว่า? -_-" เซ็งๆๆๆ A=A อืมตรงดี เห็นมั้ยครับว่า triad ของ D ใน scale C นั้นจะเป็น D F A แต่ triad ของ D ใน scale D กลับเป็น D F# A ดังนั้นความแตกต่างที่ตัวที่ 3 เนี่ยล่ะครับจะเป็นตัวชี้บ่งว่า chord triad นั้นเป็น chord ชนิดใด Major หรือ minor,dim หรือ Aug โดยมีตารางเทียบดังนี้ครับ Major= 1 3 5 minor= 1b3 5 dim = 1b3b5 Aug = 1 3#5 (เครื่องหมาย b ในนัยยะนี้มีความหมายว่า note นั้นๆเสียงต่ำกว่า note scale Major นั้นๆ ครึ่งเสียง เครื่องหมาย # ในนัยยะนี้มีความหมายว่า note นั้นๆเสียงสูงกว่า note scale Major นั้นๆ ครึ่งเสียง ซึ่งว่าง่ายๆก็คือ สูตรดังกล่าวใช้อิงกับ scale Major นั่นเองนะครับ) พอเรารู้ดังนั้นแล้วเราก็ย้อนกลับไปดู triadของ D จาก Scale C ของเรานั่นก็คือ D F A นั่นเอง พอไปเทียบกับ scale D Major จะเห็นข้อแตกต่างตรงที่ว่า ใน scale D Major เป็น F# แต่สิ่งที่เราหาได้กลับเป็น F ซึ่งมีเสียง ต่ำกว่า F# อยู่ครึ่งเสียง จึงเข้าสูตรดังนี้ D F A=1b3 5 เมื่ออ้างอิงจาก scale D Major
ดังนั้น D triad chord=D F A จาก scale C ที่เราหาได้ จึงถูกเรียกว่า Dm Chord นั่นเอง!!!!! ^_^
-อย่าลืมนะครับ การหา triad chord จาก scale ใดๆ หาได้โดยการนับ "ตัวเว้นตัว" จากตัวเริ่มนั้นๆ โดย note ทั้งหมดจะอิงกับ scale หลัก ของ Key ที่เราต้องการจะหา -ต่อมาถ้าเราต้องการจะรู้ว่า triad chord ที่เราหาได้นั้นเป็น chord ชนิดใดเราต้องนำไปอิง กับ scale Major ของ chord นั้นๆ แล้วใช้สูตร Major= 1 3 5 minor= 1b3 5 dim = 1b3b5 Aug = 1 3#5 เพื่อหาชนิดของ chord นั่นเอง
เอาล่ะครับ วันนี้ผมล้ามากๆเลย รู้สึกว่าจะพิมพ์มายาวมากๆแล้ว ผมพิมพ์รวดเดียวทุกครั้งน่ะครับ ไม่มีการเขียน note ย่อหรืออะไร เรียกว่าเค้นกันสดๆ(เริ่มตาลายน่ะครับ 555+) ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนละกันนะครับ แล้วพรุ่งนี้ค่อยมาต่อกันใหม่นะครับ เราทิ้งท้ายดันไว้ด้วยผลสำเร็จของการหา triad chord ของ scale C ได้ 2 Chord แล้วดังนี้ CMaj=C E G Dmin=D F A
เรื่องที่ผมลองมาถึงตรงนี้ ถือว่ามาไกลกันพอสมควรแล้วนะครับ อย่าลืมทบทวนเรื่องเก่า -หา scale -หา triad เอาให้ขึ้นใจเลยนะครับ
สุดท้ายนี้ ผมต้องการให้ผู้ที่เพิ่งรู้เรื่องพวกนี้วันนี้วันแรก(ไม่เอาคนที่รู้อยู่แล้วนะครับ) ลองหาอีก 5 chord ที่เหลือนะครับ แล้ว post ไว้ในกระทู้นี้ ถ้าใครร่วมสนุกผมจักขอบพระคุณมากครับ ผลดีไม่ได้เกิดกับตัวผมนะครับ เกิดกับตัวคุณล้วนๆเลย เอาล่ะครับลองฝึกหา แล้ว post ไว้นะครับ แล้วผมจะเข้ามาตรวจ และแก้ไขข้อผิดพลาดให้ บวกกับเสริมสิ่งที่ควรรู้เพิ่มให้น่ะครับ
ขอบคุณผู้เค้าชม และผู้ที่หมั่นทบทวนทุกคนนะครับ ผิดพลาดประการใด ผมต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ(อาจเบลอพิทพ์ผิดน่ะครับ 555+) สวัสดีทุกคนครับ led zeppelin
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:13:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 40 |
|
|
++++++ ทฤษฎีรายวัน ตอนที่ 37 ครับ ^_^ มาว่ากันด้วยเรื่อง Triad(7) กันต่อครับ
ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วนะครับ ดังนี้ http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=86835
ที่ผมทิ้งการบ้านไว้ให้ก็ไม่มีใครร่วมสนุกเลยนะครับ -_-" งั้นไม่เป็นไรครับ เรามาต่อกันเลยดีกว่าครับ ว่า Key C Major มี Triad Chord อะไรแฝงอยู่บ้าง
จากตอนที่แล้วเราก้ได้ Triad Chord มา 2 อันแล้วนะครับคือ C กับ Dm นั่นเอง แต่เรายังเหลือ Note ใน scale ที่จะนำมาสร้างได้อีกตั้ง 5 ตัวดังนี้ E F G A B เรามาเริ่มจาก E เลยนะครับ น่าสนุกดี ทำตามขั้นตอนเลยครับ ไล่ "ตัวเว้นตัว" โดยเริ่มจาก E โดยอิง note จาก scale C Major จะได้เป็น E G B นำเอา Triad ของ E=E G B ไปเทียบกับ Scale E Majorเพื่อดูว่า triad ชุดนี้เป็น Triad Chord ประเภทใด E Major Scale= E F# G#A B C# D#E E triad Chord= E G B ต่อมาก็นำสูตรมาดู Major= 1 3 5 minor= 1b3 5 dim = 1b3b5 Aug = 1 3#5 เราก็จะเห็นว่า triad chord ที่เราหาได้นั้น ตัว G ซึ่งเป็นตัวที่ ต่ำกว่า ตัว G# ครึ่งเสียง ซึ่งตรงกับสูตร minor= 1b3 5 ดังนั้น triad chord ที่เราหาได้นั้น E= E G B ก็คือ triad chord Em นั่นเอง จบแล้วครับ ง่ายมั้ย ^_^
ต่อกันที่ note ลำดับต่อไปเลยนะครับ นั่นก็คือ F นั่นเอง ทำตามขั้นตอนเลยครับ ไล่ "ตัวเว้นตัว" โดยเริ่มจาก F โดยอิง note จาก scale C Major จะได้เป็น F A C นำเอา Triad ของ F=F A Cไปเทียบกับ Scale F Majorเพื่อดูว่า triad ชุดนี้เป็น Triad Chord ประเภทใด F Major Scale= F G ABb C D EF E triad Chord= F A C ต่อมาก็นำสูตรมาดู Major= 1 3 5 minor= 1b3 5 dim = 1b3b5 Aug = 1 3#5 เราก็จะเห็นว่า triad chord ที่เราหาได้นั้น เหมือนกับ scale ของมันเป๊ะๆเลยนะครับ ซึ่งตรงกับสูตร Major= 1 3 5 นั่นเอง ดังนั้น triad chord ที่เราหาได้นั้น F=F A C ก็คือ triad chord F Major นั่นเอง
ต่อกันที่ note ลำดับต่อไปเลยนะครับ นั่นก็คือ G นั่นเอง ทำตามขั้นตอนเลยครับ ไล่ "ตัวเว้นตัว" โดยเริ่มจาก G โดยอิง note จาก scale C Major จะได้เป็น G B D นำเอา Triad ของ G=G B Dไปเทียบกับ Scale G Majorเพื่อดูว่า triad ชุดนี้เป็น Triad Chord ประเภทใด G Major Scale= G A BC D E F#G E triad Chord= G B D ต่อมาก็นำสูตรมาดู Major= 1 3 5 minor= 1b3 5 dim = 1b3b5 Aug = 1 3#5 เราก็จะเห็นว่า triad chord ที่เราหาได้นั้น เหมือนกับ scale ของมันเป๊ะๆเลยนะครับ ซึ่งตรงกับสูตร Major= 1 3 5 นั่นเอง ดังนั้น triad chord ที่เราหาได้นั้น G=G B D ก็คือ triad chord G Major นั่นเอง
ต่อกันที่ note ลำดับต่อไปเลยนะครับ นั่นก็คือ A นั่นเอง
ทำตามขั้นตอนเลยครับ ไล่ "ตัวเว้นตัว" โดยเริ่มจาก A โดยอิง note จาก scale C Major จะได้เป็น A C E นำเอา Triad ของ A=A C E ไปเทียบกับ Scale A Majorเพื่อดูว่า triad ชุดนี้เป็น Triad Chord ประเภทใด A Major Scale= A B C#D E F# G#A A triad Chord= A C E ต่อมาก็นำสูตรมาดู Major= 1 3 5 minor= 1b3 5 dim = 1b3b5 Aug = 1 3#5 เราก็จะเห็นว่า triad chord ที่เราหาได้นั้น ตัว C ซึ่งเป็นตัวที่ ต่ำกว่า ตัว C# ครึ่งเสียง ซึ่งตรงกับสูตร minor= 1b3 5 ดังนั้น triad chord ที่เราหาได้นั้น A=A C E ก็คือ triad chord Am นั่นเอง
สุดท้ายแล้วครับ note ลำดับที่ 7 note B นั่นเอง ทำตามขั้นตอนเลยครับ ไล่ "ตัวเว้นตัว" โดยเริ่มจาก B โดยอิง note จาก scale C Major จะได้เป็น B D F นำเอา Triad ของ B=B D F ไปเทียบกับ Scale B Majorเพื่อดูว่า triad ชุดนี้เป็น Triad Chord ประเภทใด B Major Scale= B C# D#E F# G# A#B A triad Chord= B D F ต่อมาก็นำสูตรมาดู Major= 1 3 5 minor= 1b3 5 dim = 1b3b5 Aug = 1 3#5 เราก็จะเห็นว่า triad chord ที่เราหาได้นั้น ตัว D กับตัว F ซึ่งเป็นตัวที่ ต่ำกว่า ตัว D# และ F# ครึ่งเสียง ซึ่งตรงกับสูตร dim = 1b3b5 ดังนั้น triad chord ที่เราหาได้นั้น B=B D F ก็คือ triad chord Bdim นั่นเอง
หมดแล้วนะครับ คราวนี้เราจะมาทวนดูกันนะครับ ว่า Key C มี Chord อะไรบ้าง 1.C Major(C) 2.D minor(Dm) 3.E minor(Em) 4.F Major(F) 5.G Major(G) 6.A minor(Am) 7.B dim (Bdim)
ครบแล้วนะครับtriad chord 7 chord ของ Key C
คราวหน้าเราจะมาพูดถึง triad Chord 7 Chord ของ Relative minor ของ C กันครับ นั่นก็คือ Am นั่นเอง ^_^ รอติดตามนะครับ
สุดท้ายนี้ทบทวนมากๆนะครับ ผมหวังว่าสิ่งที่ผมพิมพ์คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ หรืออาจจะเป็นแค่กระทู้เปลืองๆกระทู้นึงก็ได้นะครับ 555+ แล้วแต่มุมมองครับ แต่อย่างน้อยผมก็หวังว่าจะมีประโยชน์น่ะนะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ led zeppelin
led zeppelin
22 มี.ค. 50
เวลา 2:13:00 IP = 203.156.69.204
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 41 |
|
|
ขยันจังบางอย่างผมลืมไปแล้วนะเนี้ย เพราะไม่ได้ใช้....
Mrpickเหล็ก
22 มี.ค. 50
เวลา 11:20:00 IP = 61.90.249.246
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 42 |
|
|
ขอบ คุน มากคับ จาตั้งใจ ศึกษา อิอิ
Z@\/\/a|\/|ur@
22 มี.ค. 50
เวลา 16:32:00 IP = 125.26.38.174
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 43 |
|
|
ยินดีด้วยครับ ที่มีหลักแหล่งถาวรรวมอยู่ในที่เดียว ง่ายต่อการค้นหา...
world
22 มี.ค. 50
เวลา 18:04:00 IP = 58.9.67.136
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 44 |
|
|
แหล่มเลยครับ ขอบคุณมาก
[-MusicMan-]
22 มี.ค. 50
เวลา 18:45:00 IP = 125.24.196.117
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 45 |
|
|
ขอบคุณมากครับ จะตั้งใจศึกษา ฝึกฝนกับเมโทนอมเป็นอย่างดี เลยครับ อีกไม่นานผมจะเก่งให้ดูครับ ^O^
November-Rain
22 มี.ค. 50
เวลา 19:47:00 IP = 58.9.111.250
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 46 |
|
|
ขอบคุนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
Free bird
22 มี.ค. 50
เวลา 17:33:00 IP = 203.188.30.86
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 47 |
|
|
มาเป็นกำลังใจให้ครับท่านเป๋า...อิอิ
ชูวิทย์
23 มี.ค. 50
เวลา 8:58:00 IP = 125.25.189.137
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 48 |
|
|
เอ๊ะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
M|x
23 มี.ค. 50
เวลา 22:29:00 IP = 210.203.178.168
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 49 |
|
|
เยี่ยมยอด
konam
24 มี.ค. 50
เวลา 9:37:00 IP = 58.9.82.98
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 50 |
|
|
เยี่ยมยอดมากครับพี่เป๋า
Zzest
25 มี.ค. 50
เวลา 23:40:00 IP = 202.44.135.34
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 52 |
|
|
ขอบคุณหลายๆ โปรดรับข้าน้อยเป็นศิษย์ด้วยเถิด
atom77
23 มี.ค. 50
เวลา 21:45:00 IP = 203.113.57.103
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 53 |
|
|
เมื่อไหร่ พี่เป๋าจะมาทบทวนกำลังภายในกันอีกคับฮะๆไว้ค่อยเล่นกันนะ บายคับ กระทู้มีความรู้จริงๆ!!^^ ไม่เคยลืม อยู่ในหัวใจ
M|x
23 มี.ค. 50
เวลา 22:31:00 IP = 210.203.178.132
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 54 |
|
|
สุดยอดตำราสากลทั้งไทยและเทศมาบรรจบกัน ไม่ต้องไปซื้อหนังสือให้เมื่อยตังค์ ที่เหลือก็คงต้องฝึกหาตัวตนของตนเอง อิ..อิ.. แต่ว่ากีตาร์มันเป็นงานอดิเรกของผมนะสิ ฝึกจนสิบปีก็ก้าวหน้าขึ้นแค่พอสมควร ฮ่า ฮ่า
tenspp
10 เม.ย. 50
เวลา 0:04:00 IP = 58.181.149.5
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 55 |
|
|
รบกวนส่งเข้า e maill jigado35 @hotmail.com ให้ด้วยครับ
jigado 35
21 พ.ค. 50
เวลา 19:05:00 IP = 58.9.126.158
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 56 |
|
|
ให้ความรู้เป็นทาน อานิสงค์แรงนะ ขอให้ อ. และครอบครัว อ. มีความสุขเยอะๆๆๆๆๆๆๆๆ เฮ่อออๆๆ
loveofwisdom
25 มิ.ย. 50
เวลา 14:59:00 IP = 202.28.27.6
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 57 |
|
|
(ขออีกหน่อย อิอิๆ) ขออภัยที่เรียกว่าอาจารย์โดยไม่โดยอนุญาติ
loveofwisdom
25 มิ.ย. 50
เวลา 15:04:00 IP = 202.28.27.6
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 58 |
|
|
นี่มันผลประโยชน์ของผมทั้งหมดเลยนี่ ?!?!
sanjak
18 ก.ค. 50
เวลา 17:17:00 IP = 125.24.19.77
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 59 |
|
|
ขอบคุณ อาจารย์ ยังไงก็ยังไม่แตกฉานอยู่ดี เล่นก็ยังไม่เก่งเลย มีคนบอกว่า เราแก่เกินแกง เละ...ซะอย่างนั้นเลย ตอนนี้ฝึกโซโลอยู่ ถ้าจะเล่นให้เก่งๆ ต้องใช้เวลานานไหม อ่า กี่ปี พวกนักดนตรีเขาเริ่มเล่นกันตั้งแต่เด็กๆเลยใช่ไหม
loveofwisdom
25 มิ.ย. 50
เวลา 13:48:00 IP = 202.28.27.6
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 60 |
|
|
 |
ดีมากๆครับ
หงอนไก่
7 พ.ค. 51
เวลา 1:42:00 IP = 125.24.22.163
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 61 |
|
|
เยี่ยมเลยคับ
Sharper
13 พ.ค. 51
เวลา 18:18:00 IP = 222.123.205.102
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 62 |
|
|
รบกวนส่งเข้า e maill jigado35 @hotmail.com ให้ด้วยครับ
jigado 35
21 พ.ค. 50
เวลา 19:05:00 IP = 58.9.126.158
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 63 |
|
|
สุดยอดครับ เปนกำลังใจให้
ryonard
24 พ.ย. 50
เวลา 13:15:00 IP = 124.120.153.206
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 64 |
|
|
สุดยอด ต้องจดบันทึกไว้เป็นความรู้
boyparadox
1 ต.ค. 51
เวลา 14:42:00 IP = 222.123.76.42
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 65 |
|
|
THK! A LOT
quiero
2 ต.ค. 52
เวลา 8:11:00 IP = 114.128.93.192
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 66 |
|
|
ขอบคุณมากครับ ช่วย คนโง่ๆอย่างผมได้เยอะ ขอให้พี่ๆ มี สุขภาพ + การงานที่ดีครับ
breezer
29 มี.ค. 53
เวลา 12:58:00 IP = 124.120.69.18
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 67 |
|
|
ขอบคุณค่ะ...
เป็นประโยชน์มากมายค่ะ...
Hamtara52
6 พ.ค. 53
เวลา 1:27:00 IP = 124.157.187.209
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 68 |
|
|
อัพไว้ก่อนครับ เยี่ยมเลย
witarn
20 มิ.ย. 53
เวลา 14:36:00 IP = 114.128.167.99
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 69 |
|
|
ขอบคุณมากครับ จะตั้งใจศึกษานะครับ
Lip Care
22 ส.ค. 53
เวลา 14:39:00 IP = 58.11.50.200
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 70 |
|
|
Thx
Stop2X
12 พ.ค. 54
เวลา 0:06:00 IP = 49.49.30.105
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 71 |
|
|
ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มากเลยครับ
boatza555
11 ก.ย. 54
เวลา 19:11:00 IP = 58.9.254.107
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 72 |
|
|
ขอบคุณครับ คึวามรู้เยอะเลย
certain
13 พ.ย. 54
เวลา 8:07:00 IP = 124.120.117.101
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 73 |
|
|
ขอบคุณครับ
กระชายแดง
7 ก.พ. 55
เวลา 20:39:00 IP = 110.169.165.171
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 74 |
|
|
ะะะะ
tuv
6 เม.ย. 56
เวลา 3:51:00 IP = 180.180.200.234
|
|
|
 |
|
 |
|
|