|
|
Download:
พี่สงค์
(ประสงค์ โกละกะ)
โดย เปิ้ล |
สวัสดีครับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวกีตาร์ไทยทุกท่าน ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวแดดออก เดี๋ยวฝนตก ยังไงก็รักษาสุขภาพกันบ้างนะครับ วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับมือกีต้าร์ BLUES ที่เจ๋งมากคนนึง ของบ้านเราเท่าที่ผมเคยเห็นมา มือกีต้าร์ ท่านนี้คือพี่สงค์ BLUES MANนั่นเอง เรารีบไปทำความรู้จักกับพี่เค้าดีกว่านะครับ
|
GT : แนะนำตัวหน่อยครับ
พี่สงค์ : สวัสดีครับ ผมชื่อสมประสงค์ โกละกะ ผมก็เป็นนักดนตรีทั่วๆไปเหมือนกับคนอื่นเค้า ตอนนี้ก็มีงานเล่นประจำอยู่ที่ แกลลอรี่ ซอยวัดเสมียน วันพฤหัสกับศุกร์ แล้วก็มีที่ร้าน SHOCK PUB ที่พหลโยธิน 12 เล่นตั้งแต่วันพุธถึงเสาร์เลย ก็เล่นเพลงPOPทั่วไปแต่เราจะมาทำกันใหม่ ส่วนที่เล่นที่ แกลลอรี่ก็จะเป็น BLUES ซะส่วนใหญ่ นอกจากนั้นก็จะมีงาน BACK UP ให้แมว
จิระศักดิ์ ปานพุ่ม แล้วก็งานในห้องอัด ของแมวชุดใหม่ที่กำลังจะออกเร็วๆนี้
GT : แนวดนตรีที่ถนัดล่ะครับ?
พี่สงค์ : (เล่น LICK BLUES ให้เราฟัง) BLUESครับ ชอบแบบ WEST MONTGOMERY ชอบแบบพวกผิวดำตระกูล KING ทั้งหมด แล้วก็มือกีตาร์ที่อายุน้อยๆ KENNY WAYN SHEPPHERD แล้วก็มี RODNY JORDAN ออก ACID JAZZ หน่อย SOUND แบบ BE-BOPแต่มีการ SCRATCH แผ่นด้วย
GT : แล้วการศึกษาทางด้านดนตรีของพี่ล่ะครับ
พี่สงค์ : ก็เริ่มศึกษากับอาจารย์ วิชัย เทียงสุรินทร์ ซึ่ง เป็นครูที่ดีมากได้เปิดสมองตัวเอง แล้วก็วิธีการเล่นดนตรีในแบบที่เราชอบให้ถูกต้อง ให้เราเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ หรือเล่นอะไรอยู่สมมุติว่าเรามีความรู้อยู่แค่ 5 แต่เราเข้าใจในสิ่งที่เรามีอยู่แค่ 5 เท่านี้ก็พอแล้วเอาไปใช้งานได้เลย
ตอนที่พี่ไปเรียนนั้นยังไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็เหมือนเด็กๆบ้านเราที่โตมากับเพลงร็อค นั่นแหละพวก IRON MAIDAN ,OZZY, UFO ประมาณเนี้ย ก็เริ่มมาจากมือกีตาร์ของOZZY คือ RANDY RHODS คนนี้ชอบมาก แล้วก็มี JEFF BECK แต่มาได้ฟังตอนหลัง พอฟังก็ โอ้โฮ! ต้องย้อนกลับไปฟังชุดเก่าๆของเค้าเลย แต่เคยฟังงานของเค้าตอนที่อยู่ YARDBIRDS แต่ตอนนั้นงานBLUES กับเราเนี่ย มันเชยมากเลยนะ ดูแก่ๆน่ะ (หัวเราะ) คือความรู้สึกตอนนั้นของเด็กที่ไม่รู้นะทำให้เราคิดว่าใครๆก็เล่นได้ ไม่เห็นเร็วเลย พอมาช่วงหลังๆก็จะมี JOE SATRIANI , YNGWIE เราก็บ้าตามไปด้วยตามแฟชั่นเพราะตอนนั้นก็ยังหาตัวเองไม่เจอ แล้วก็มีมือกีต้าร์ของคณะ RUSH ที่มีอิทธิพลต่อการเล่นของเรามาก แต่ว่าก่อนหน้านั้นพี่เล่นดนตรีไทยอยู่ก็เล่นระนาดทุ้มเหล็ก กับระนาดทุ้มไม้ ส่วนใหญ่เราจะเล่นย่านเบส ช่วงนั้นเรียนกับอาจารย์ สำเนียง งซึ่งเป็นคุณแม่ของ โชคดี ฟักภู่
วง แกรนด์เอ็กซ์ แต่พอเรามาได้รับอิทธิพลจากพวกหรือเราก็เลยทิ้งดนตรีไทยไป เพิ่งมาช่วงหลังๆก็จะเริ่มเสียดาย
GT : ในยุคแรกๆใครที่มีอิทธิพลต่อพี่ในการเล่นกีต้าร์
พี่สงค์ : ก็คงจะเป็นเพื่อนชื่อแอร์ เขาจะเล่นดนตรีสากลกัน แอร์เนี่ยเขาจะเฟี้ยวฟ้าวมากในเด็กรุ่นเดียวกัน เขาจะ SOLO เพลง ROCK BOTTOM เพลงของ JUDAS PIECE มันทำให้เราเล่นได้อย่างนั้นบ้าง ก็เลยเริ่มฝึกเองจาก GUITAR โปร่ง ฝึกจากเพลงที่ชอบโดยการฟังและจำเอาอย่างเดียวเลยเพราะตอนนั้นไม่รู้โน๊ต รู้สึกว่าจะเป็นเพลง I CAN'T TELL YOU WHY แต่คนที่มีอิทธิพลที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องเล่นกีต้าร์ให้ได้ดีคือ Randy Rhods แล้วก็มีพี่คนนึงเอา WEST MONTGOMERY มาให้ฟังแล้วเราก็เริ่มชอบก็เริ่มลุยแกะ โดยไม่รู้อะไรเลยใช้ EAR TRAINNING อย่างเดียว CHORDที่เรารู้สึกว่าแปลกก็คือ CHORD ที่มันมีโน๊ตตัวที่ 7 น่ะ จนกระทั่งได้ไปเรียนกับอาจารย์วิชัย นั่นแหละถึงได้เปิดสมองตัวเอง ซึ่งที่นั่นก็จะมีอาจารย์ปราชญ์ กับอาจารย์มูซาเป็นศิษย์ก้นกุฎิอยู่ที่นั่น ซึ่งก่อนหน้าที่พี่จะได้มาเรียนกับอาจารย์วิชัย พี่ก็ได้ไปเล่นดนตรีอยู่ที่ซอย คาวบอยไปเจอฝรั่งชาวไอริชคนนึงมาขอแจมด้วย เล่นเพลง 12ห้อง เราก็ตามๆเค้าไป พอเพลงแรกผ่านไป ก็ OK. แต่พอเพลงที่สองเนี่ยเราตายเลยเล่นเป็น 10ห้องบ้าง 12ห้องบ้าง 16ห้องบ้าง(หัวเราะ) ฝรั่งคนนั้นเค้าชื่อ อแลง แต่เค้าเข้าใจนะเค้าไม่ซีเรียส เค้าเล่นจนเราปล่อยให้เค้าเล่นคนเดียวเลย พอเค้าเล่นคนเดียวเราก็โอ้โฮ เราก็เลยรู้สึกอยากเรียน BLUES บ้างเราก็เลยไปขอเขาเรียนเค้าก็บอกว่าเค้าจะอยู่เมืองไทย 1เดือน ให้ไปหาเค้าได้ทุกวันเราก็เลยไปเรียนกับเค้าทุกวันเลยเป็นเวลา 1เดือนเต็ม เค้าก็จะสอนเรื่องสเกล เรื่องเทคนิค การจำคู่สาย ขั้นคู่ ต่างๆ ซึ่งมันก็คือ อเปจิโอนั่นแหละ การHARMNIZE SCALE เค้าจะบอกเราคร่าวๆ แต่เค้าจะไม่ได้บอกเราถึงที่มาที่ไป บอกแต่เพียงแต่คราวๆ แล้วเค้าก็สอนพวก FORM 12 ห้องให้เรา
GT : พวกไส้ใน เพลงบูลส์12ห้อง พี่คิดได้ยังไงครับ
พี่สงค์ : มาจากการแกะอย่างเดียวเลย ตอนเริ่มไปเรียน บูลส์กับอาจารย์วิชัย แกก็บอกให้ไปแกะมาก่อน ซึ่งก่อนหน้าที่พี่จะไปเรียน กับอาจารย์วิชัยพี่ก็แกะ BB. KING มาค่อนอัลบั้มแล้ว ไอ้พวก MIXOLYDIANเนี่ย เพิ่งมารู้ตอนหลังว่าเป็น MODE ที่5 ส่วนมากเวลาSOLO ก็จะใช้ MODE นี้
GT : ถ้าอย่างเช่นเพลงนี้ KEY E ใช้อะไรได้บ้างครับในมุมมองของพี่
พี่สงค์ : ก็จะใช้ตัวที่ 5 ซึ่งเป็น MIXOLYDIAN แต่เริ่มแรกแนะนำให้ใช้ E BLUES SCALE อย่างเดียวเลย คิดตรงๆก่อน เรามามองภาพรวมก่อน ซึ่ง TWELVE BARS BLUES มันจะมีคอร์ดแค่ 1 4 5 เราไม่จำเป็นที่จะต้อง MOVE NOTE ไปตามคอร์ดที่ 4 หรือ 5 ในตอนเริ่มฝึก แต่ในบาร์ที่ 11 หรือ 12 เนี่ยคอร์ดมันจะส่งเข้าไปหา 1 หรือที่เรียกว่า TURN AROUND เนี่ย เราต้องมีโน๊ตส่งให้เค้าไปทุกครั้ง เพื่อให้รู้ว่ามันหมดชุดของ CHORUS นั้นๆ ซึ่งก่อนนั้น เราอาจเล่นแค่ SCALE เดียวก็ได้โน๊ตไม่ต้องเยอะ คิด LICK ขึ้นมา แต่ที่พี่ใช้เริ่มแรกเนี่ยใช้ LICK ของ BB.KING ใช้ LICK ของเค้าเยอะ และอีกคนนึงก็ของ ALBERT KING ซึ่งเต้าเป็นคนเล่นมือซ้าย และไม่กลับสายด้วย และใช้นิ้วแทนปิ๊ดด้วย ตนนี้ก็มีอิทธิพลกับพี่เยอะ วิธีการคิด LICK ก็อาจเริ่มต้นจาก SCALE ง่ายๆ ก่อนโดยคิด LICK ของเราขึ้นมาก่อน จากทุกๆคีย์ ไล่ BLUES SCALE ในทุกๆคีย์ รวมถึง MAJOR MINOR ด้วย
GT : แล้ววิธีการสร้าง LICK ล่ะครับ
พี่สงค์ : พี่ก็ไม่มีตำราอะไร แต่เท่าที่เรียนมาก็คือ Diggin Technic คือเป็นการเล่นแบบถามตอบ ซึ่งฟอร์มของดนตรี BLUES มันก็จะเป็นแบบถามตอบมาตั้งแต่ยุค ROBERT JOHNSON GT : แล้วความพอดีในการเล่นแบบถามตอบ เพราะโดยเริ่มแรกแล้วเราจะไม่ทราบว่ามันมากไปหรือเปล่า หรือน้อยไป
พี่สงค์ : มันเป็นเรื่องของธรรมชาติเหมือนกับเด็กๆ ตอนที่เริ่มหัดพูด ซึ่งมันเลอะเทอะก็จริงแต่มันก็จะมาจากหนึ่งเดียว ถ้าคุณสังเกตุดู มาจากคำเดียวสั้น
GT : หมายความว่าถ้ายังไม่ชัวร์เนี่ยให้เล่นให้น้อยที่สุด
พี่สงค์ : ใช่ ไม่ต้องไปรีบร้อนอะไรและอีกอย่างก็คือเราใส่อารมณ์ลงไปด้วย ซึ่งมันเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมอยู่กับบ้าน หรือเล่นจริงก็ตาม เพราะหัวใจของดนตรี มันไม่ใช่แค่คุณจะเรียนรู้ดนตรีมาจากสถาบันไหน ซึ่งแน่นอนทุกคนยอมรับหมดคนบางคนอาจจะรู้มากเลยว่าSCALE นี้ใช้กับอะไร MODE นี้ใช้กับ CHORDไหน รู้ไปหมด แต่พอขึ้นมาเล่นเนี่ยไม่ใช่ BLUES เลย ซึ่งในยุคปัจจุบันเนี่ยเด็กรุ่นใหม่ๆ สามารถจะไปเรียนรู้ กับโรงเรียนดนตรีที่เปิดขึ้นมาเยอะแยะแต่ว่าอย่าลืมเรื่องฟิลลิ่งดนตรีควรจะสอดใส่เข้าไปทุกครั้ง
GT : เวลาที่พี่สงค์คิด MELODYพี่คิดมาจากสมองแล้วมาที่ปากบ้างรึเปล่า
พี่สงค์ : นี่ก็เป็นอีกวิธีนึง ที่พี่ใช้บางครั้ง แต่นี่เคยดูวิธีฝึกแบบนี้จาก นาธาน อีส มือเบส ซึ่งใน VDO เค้าก็จะสอนเรื่องเหล่านี้ซึ่งเค้าบอกว่าเวลาที่เค้า INPROVISE เนี่ยเค้าจะไม่คิดถึงอะไรเลย ไม่คิดถึงโน๊ต หรือสเกลต่างๆ เค้าบอกว่า ผมตื่นมาตอนเช้าผมเปิดเพลงอะไรของใครก็ ได้พอถึงท่อนโซโลคุณก็ใช้ปากโซโล แล้วถ้าคุณมีเครื่องอัด 4 TRACK เนี่ยยิ่งดีใหญ่ซึ่งคุณอาจจะอัดเพลงในฟีลต่างๆ ทั้ง BLUES, ROCK, JAZZ, FUNK แล้วคุณก็เปิดให้มันRUN แล้วก็ใช้ปากเนี่ยแหละ SOLO แล้วก็มีอีกวิธีนึง ของ SCOTT HANDERSON ซึ่งหมอนี่คิดเป็น Rhythm เหมือนกับการที่เราเคาะ Rhythm แล้วมันจะมีสิ่งที่อาจารย์วิชัย เคยสอนคือ WAY UP กับ WAY DOWN. WAY UP เป็นการเล่นจากโน๊ตต่ำไปสูงมันจะให้พลังของการ push มาก WAY DOWN คือ สูงหาต่ำ สมมุติว่าลูก TURN AROUND ในคีย์ Aพี่จะpush จากโน๊ตBเลย ก็คือโน๊ต CHORMATICทีละครึ่งเสียงลากเข้ามาที่CHORD ที่ 5 ซึ่งวิธีเล่นแบบนี้ ALBERT KING ชอบใช้ แต่ตัวพี่เองจะใช้เยอะเวลาเล่นBLUES คือได้พวกนี้ มาจากเครื่องเป่าพวก JOHN COLTRANE พวก MILES DAVISเราก็พยายามเลียนแบบมา แม้แต่เสียงทุกอย่างรอบตัวเราขอให้มันมีเสียงผ่านหูเรามาฝนตกใบไม้ร่วงอะไรก็ได้แล้วตอนนี้พี่กำลังมาศึกษาเพื่อเลียนเสียงพวกปี่มอญ ซึ่งในดนตรีไทยจะใช้พวก MAJOR PENTATONIC เยอะซึ่งมันสามารถใช้ได้กับ BLUES แต่ว่าในบางครั้งเท่านั้นเอง ซึ่งในดนตรีไทยเดิมเนี่ยโน๊ตที่เราเล่นตกเนี่ยจะไม่ใช่โน๊ตตกจริงๆ ซึ่งตอนนี้พยายามฝึกอยู่เพื่อเอาสิ่งพวกนี้มาใช้ สำหรับหลายๆคนที่อยากเล่นเพลง BLUES พี่ก็แนะนำให้เข้าไปแจมเลย แจมกับใครก็ได้ ผิดถูกลุยไปก่อนเล่นตามความรู้สึกของเราเองจากนั้นเราก็มาดูว่ามันผิดมั๊ยถูกมั๊ย ถูกต้องกับสถานการณ์ตรงนั้นมั๊ย
GT : พูดถึงสถานการณ์อะไรคือสิ่งที่มาวัดว่าสิ่งไหนถูกต้องสถานการณ์ตรงนั้นครับ
พี่สงค์ : ดนตรีไม่มีสิ่งถูกหรือผิด คนดูก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง สมมุติ ว่าวงกำลังเล่นเพลง CROSS ROAD กัน แล้วมีคนมาขอแจม แล้วเค้าเอาเพลงวณิพกมาเล่น เนี่ยถ้าพูดว่าใช่หรือไม่ใช่อันเนี๊ยะไม่ใช่แล้วแหละ
GT : วิธี WARM UP ก่อนเล่นของพี่ล่ะครับ
พี่สงค์ : ก็จะคิดสลับขึ้นลง ทีละสาย โดยไม่ต้องใช้เมโทรโนม ซัก10นาทีอีก10นาทีก็มาเล่น SCALE โดยใช้เมโทรโนม โดยฝึกสัดส่วนสลับกันไปทั้ง EIGHT NOTE,SIXTEEN NOTE และ TRIPPRT NOTE แล้วก็มีวิธีฝึกโดยใน 1บาร์ บีทแรกเล่น EIGHT NOTE บีทสองเล่น TRIPPETบีทสามเล่น EIGHT NOTE พอบีทที่สี่ ซึ่งเป็นบีทส่งเราก็มาเล่น SIXTEEN NOTE ต้องฝึกกับ เมโทรโนม ด้วยนะ โดยฝึกกับ SCALE อะไรก็ได้ แล้วพยายามอย่าหลอกตัวเองว่าสิ่งที่ตัวเองทำไปน่ะมันได้แล้วใช่แล้ว ถ้าเราไม่ได้มันก็คือไม่ได้ ใครจะมาบอกเราว่า เฮ้ยได้แล้วแต่ตัวเราเองจะรู้
แล้วพี่ไม่อยากให้มีการแบ่งชั้นวรรณะว่าฉัน JAZZ นั่น BLUES นั่น ROCKนะ เพลงลาวดวงเดือน เพลงSO WHAT เพลงหมอลำ ในความรู้สึกพี่มันไม่ต่างกันเลยอย่าไปแบ่งแยกมันเพราะ ถ้าเราแบ่งแยกมันมันจะเกิด กำแพงกั้นความรู้สึกของเราเอง คุณเคยเห็นฝรั่งมาเล่นดนตรีหมอลำมั๊ย เค้าก็เหงื่อตก ในขณะเดียวกันเวลาเราไปเล่นเพลงอเมริกัน เราก็เหงื่อตกเหมือนกัน อย่าง ฝรั่งบางคนที่มาเล่นดนตรีในเมืองไทย แรกมาก็ ROCK N ROLL, CONNTRY อะไรเต็มไปหมด นี่ก็เหงื่อตกเหมือนกัน อาการเดียวกันเหมือนที่ตอนคนไทยไปเล่นเพลง JAZZ กับฝรั่ง ซึ่งพวกนี้เล่นอย่างไงก็ไม่ใช่ ซึ่งคนไทยบางคนไม่ต้องมีความรู้ทางด้านดนตรีเลยเล่นยังไงก็ใช่ มันมาโดยสัญชาติญาณ แล้วทำไมเราไม่อนุรักษ์สิ่งพวกนี้ไว้ไม่ให้มันหายไป พี่เคยไปเจอคนเป่าปี่มอญ แถวปทุม กินเนสต์บุ๊ค เคยบันทึกไว้ว่าKENNY G เป่าได้นานกี่นาทีพี่จำไม่ได้ แต่ลุงคนนี้แกเป่าได้เป็นชั่วโมงในลมเดียว แต่แกรู้วิธีโดยไม่ต้องมี EFFECT ที่ไมค์ SAX เหมือน KENNY G ด้วย ซึ่งลุงคนนี้แกเป็นศิลปินแห่งชาติด้วย
GT : มือกีต้าร์ที่ชอบครับ
พี่สงค์ : ชอบแมว จิระศักดิ์ ปานพุ่ม, ทองกราน ทานา แห่งคาราวานไอเดียดีมาก ทั้งสองคนนี่ ฝรั่งก็ตระกูล KING สำหรับ BLUES สไตล์ ROCK ก็ชอบ VERNON REID, RANDY RHODSแล้วก็STEVE VAI สาย JAZZ ก็ WEST MONTGOMERY , PAT METHENY, JOHN SCOFIELD, BILL FRIZELL
GT : วิธีการเล่น 2/4 ล่ะครับสำหรับคนที่ไม่ทราบจะเริ่มต้นยังไง
พี่สงค์ : สำหรับเริ่มต้นให้นับ 1 2 3 4 ก่อนเคาะเท้าไปด้วยฝึกจากช้าๆก่อน พอได้แล้วเราจะนับแค่ 2 กับ 4 พอเราเริ่มจากตรงนี้คล่องเราก็จะมาถึง BASIC RHYTHM แบบ FREDDIE GREEN STYLE นับเหมือนเดิมแต่ทีนี้คิดเป็น 2/4 แล้วโดยเน้นACCENTของ RHYTHM ที่ 2 กับ 4 โดยอาจจะเริ่มซ้อมจากเพลง NOW THE TIME ของ CHARLIE PARKER ก่อน โดย RHYTM PATLERN เป็น QUATERNOTE โดย ACCENT ที่ 2 หนักกว่า 4
GT : มีอะไรจะฝากถึงน้องๆไหมครับ
พี่สงค์ : ลุยต่อไปครับ เลียนแบบได้ไม่ผิดจำเค้ามาเล่นได้ไม่ผิด แต่อย่า COPY เค้ามาทั้งดุ้นและมาบอกว่าเนี่ยชั้นนะ วันนี้คุณอาจจะเล่นแบบ WEST MONTGOMERY พรุ่งนี้คุณเล่นแบบ BB.KING แต่วันนึงคุณก็ต้องมาเล่นแบบตัวคุณเอง คุณมีสิทธิ์ทดลองอะไรก็ได้เพราะดนตรีไม่มีผิดไม่มีถูก ตัวพี่เองก็ต้องเล่นแบบที่เป็นตัวพี่ เพื่อวันนึง คนอื่นจะได้บอกว่านี่คือสงค์เล่นนะ นี่คือแมวเล่นนะ นี่คือชัยนะ
GT : อุปกรณ์ที่ใช้ล่ะครับ
พี่สงค์ : ปกติตัวที่ใช้อยู่ตัวเก่งของพี่เลยก็ IBANEZ ASTAR มันจะให้เสียงที่มีมิติดีมาก เอฟเฟ็คที่ใช้เมื่อก่อนก็จะมี PRE-AMP PEDAL ของ MESA รุ่น V-TWIN แล้วก็ CHORUS กับ DIGITAL DELAY PITH SHIFT ของ BOSS โดยหน้าตู้จะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้แล้วก็ต่อผ่าน PRE-AMP ของ V-TWIN จากนั้น DELAY กับ CHORUS แต่ตอนนี้พี่เปลี่ยนมาใช้ KORG AX 1000 G มันจะเป็น
กึ่ง อนาล็อก กึ่ง ดิจิตอล ส่วนกีต้าร์ตอนนี้ที่ใช้ก็เป็น FENDER STRAT PLUS สีบรอนซ์ ปี89 ซึ่งเป็นของเพื่อน คือแมว จิรศักดิ์ ปานพุ่ม ซึ่งเป็นมือกีต้าร์ที่เก่งมาก และมีจิตใจที่ดีอีกด้วย
ผมขอแนะนำให้เพื่อนๆไปชมการแสดงสดของพี่สงค์ให้ได้นะครับเพราะเพื่อนๆทุกคน
จะเข้าใจในบทสัมภาษณ์นี้ดียิ่งขึ้น ผมขอการันตี ว่าคุณจะได้อะไรๆกลับบ้านไป หลังจากชม SHOW เสร็จ คุณสามารถเข้าไปพูดคุยกับพี่เค้าได้ เพราะพี่เค้าใจดีมาก ถามในสิ่งที่คุณอยากรู้
ผมขอขอบคุณ พี่สงค์และพี่ทศ มือกลอง คนเก่งมากๆครับ ขอให้ทุกคนสนุกสนานกับ การเล่น ฟัง และ ชม ดนตรีที่คุณชอบ ครับ
|
|
|
|