Main Menu
  Home
  login / Join member
  Edit your profile
  Artists Biography
  Webboard
  Review & Test
  Hot Shots & Lessons
  Interview
  Classifieds (OLD)
  Classifieds (New)
  Cools Links
  About Thinking
  About Us
  Finger Shot
  Download
  New Releases
  Music News

 Interview:     พี่โปรด (ธนภัทร มัธยมจันทร์)                                                              โดย เปิ้ล
สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวกีตาร์ไทย ก็กลับมาพบกันอีกครั้งนึงนะครับสำหรับคอลัมภ์ INTERVIEW วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับมือกีตาร์คนนึง ซึ่งมีฝีมือเป็นที่ยอมรับกันมากในวงการดนตรีบ้านเรา ซึ่งถ้าพูดถึง มือกีตาร์สไตล์JAZZ แล้วต้องมีชื่อของมือกีตาร์ท่านนี้ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของเมืองไทยอย่างแน่นอน มือกีตาร์ที่ผมกล่าวถึงท่านนี้ คือ พี่โปรด (ธนภัทร มัธยมจันทร์) นั่นเองซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านดนตรี ทั้งในและต่างประเทศมาอย่างมากมาย และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาสัมผัสประสบการณ์และแนวความคิดของพี่โปรดกันได้เลยครับ

GT : การเล่นดนตรีของพี่เริ่มได้ยังไงครับ ?
พี่โปรด : ตอนเด็ก ๆ ผมเรียนที่สาธิตปทุมวัน พออายุ 13 ก็เริ่มหัดเล่นกีตาร์ พี่สาวผมเค้าจะมีกีตาร์ เราก็ไปแอบขโมยกีตาร์เค้าเล่น ก็หัดจากหนังสือพวก IS.SONG HITS ก็หัดจับคอร์ดก่อน C , Am ไปตามเรื่อง ตอนนั้นก็ฟังเพลงจากสถานีวิทยุ ซึ่งตอนนั้น FM. ของเรามันจะเป็นเพลงฝรั่งหมด ก็เริ่มหัดเล่นเพลงสากลง่าย พวก BEE GEE สมัย 70 พอเริ่มเล่นได้บ้างแล้วก็มาหัดเล่นร๊อค ก็ชอบพวก LED ZEPPLIN,BLACK SABBATH อะไรพวกนี้ ก็เริ่มทำวงร๊อค กับเพื่อนๆ ก็สนุกดี พอจบสาธิต ก็เข้าเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ พอปลายปี 1 นี่มีเพื่อนที่เค้าร้องเพลงอยู่ที่ CU.BAND เค้าก็เลยชวนไปที่ชมรม ไอ้เราก็อ่านโน๊ตก็ยังไม่ค่อยจะเป็นหรอกนะ CHORD ก็จับได้แต่พวก TRIADพวก MAJ 7 อะไรเนี่ยไม่รู้จักหรอก (หัวเราะ) พอไปที่ CU BAND เค้าก็นี่มีโน๊ตอย่างนี้นะ เอ! เราจะเล่นได้รึนี่ ! ก็หัดมาเรื่อย ๆ หลังจากนั้นพออยู่ CU. BAND ได้ซักปีนึงนี่ก็ได้เล่นตามงานต่าง ๆ พอดีมีพี่คนนึงชื่อพี่กะทิเค้าก็เพิ่งเรียนจบที่ Berklee มาเค้าก็มาเยี่ยมที่ CU. BAND ก็ขอไปเรียนกับแกได้ เดือน สองเดือน แต่แกยุ่งมากเพราะแกต้องวิ่งไปมาระหว่าง กรุงเทพ กับ บอสตัน แกก็แนะนำอาจารย์ โป๊ป ซึ่งจบจาก Berklee มาซึ่งแกไม่ค่อยรับลูกศิษย์เท่าไหร่ แต่ผมโชคดี ผมก็ได้เรียนกับแก ประมาณ 6 เดือน ก็เริ่มคิด จะไปเรียน Berklee แทน ซึ่งตอนแรกที่บ้านก็คัดค้าน แต่ในที่สุดก็ได้ไป ตอนนั้นไปเริ่มที่ Seven Weeks Program ก่อนเพราะตอนนั้นพวกโน๊ตอะไรก็ยังไม่ค่อยได้เท่าไหร่ เค้าก็จะสอนพวก Theory EAR TRAINNING , ARRANGING ที่เป็น BASIC ทั้งหมด เข้าไปใหม่ ๆ ลำบากเหมือนกันฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง ภาษาไม่ค่อยดี หลังจากนั้นก็เข้าในเทอมแรกประมาณปี 81 ได้ ตอนเรียนแรก ๆ เนี่ย แทบจะขว้างกีตาร์ทิ้งเลยนะ เพราะตอนนั้นเราเล่นกีตาร์ มา 8 ปีแล้ว พอไปเจอพวกเด็กอเมริกันที่เค้าเพิ่งเล่นมาปีสองปีนี่ เราสู้เค้าไม่ได้เลย เพราะเราเล่น 8 ปีนี่เราเล่นวันละ ชั่วโมงนึง ครึ่งชั่วโมงบ้าง เค้าเล่นมา 2 ปีเค้าเล่นวันละ 8 ชั่วโมง ตอนปี1นี่ เราก็เลยสู้ซะหน่อย ก็ทั้งเรียนทั้งซ้อม หามรุ่งหามค่ำเลย ตลอด 3 ปีแรก ที่ Berklee เช่นผมมีเรียน 9 โมง ผมจะตื่นประมาณ 6 โมงครึ่ง ผมจะซ้อมที่บ้านซักประมาณชั่วโมงนึงแล้วก็มาเรียน พักเที่ยงทานข้าวเสร็จก็อาจจะซ้อมได้ซักชั่วโมงนึง เป็น 2 ชั่ว มง กลับบ้านทานข้าว พอประมาณทุ่มนึงกลับมาโรงเรียนซ้อมกีตาร์อีกถึงประมาณเที่ยงคืน ตีหนึ่ง ทำอย่างนี้มาตลอด 3 ปีเลย ถ้าเสาร์ อาทิตย์ก็มีเวลาเล่นเยอะหน่อยไม่ใช่ weekend นี่จะไปเที่ยวแบบชาวบ้านเค้านะ ก็เลยพอสู้เค้าได้หน่อย อยู่ที่โน่นผมได้ดูคอนเสริท์มาก อย่าง PAT METHENY เนี่ย 13 ปีนี่โน่นผมดูปีละ 2 ครั้ง สำหรับคอนเสริท์ใหญ่ไม่นับคอนเสริท์เล็ก ตามคลับต่าง ๆ JOHN SCOFIELD ,MIKE STERN, GARY BURTON, MICHAEL BRECKER, JACO ฯลฯ พวกนี้จะได้เห็นหมดพวกมือกีตาร์ JAZZ อย่าง JOE PASS, JIM HALLพวกนี้มาทีไรก็ต้องดูนะพวกที่ไม่ค่อยได้ดูคือพวกที่อยู่ฝั่งตะวันตก พวก LARRY CARLTON ได้ดูหนหรือสองหนนี่ล่ะ พอดูคอนเสริท์จากศิลปินพวกนี้ แล้วทำให้เรามีไฟอยากกลับไปซ้อม เราเห็นพวกนี้ก็โอ้โฮ เค้าทำได้ไง คือพวกนี้เค้าเล่นกีตาร์วันละเป็น สิบๆ ชั่วโมงกว่าจะเล่นได้อย่างทุกวันนี้คือเค้าเล่นเหมือนกับเค้าหายใจน่ะ พอปี 4 ก็จะต้องออกไปเล่นจริง ๆ เพราะเราซ้อมมา 3 ปีแล้วซึ่งจะมี CONCERT ที่ต้องเล่น ซึ่ง นักเรียนก็จะตั้งวงกันขึ้นมาเล่นกันในโรงเรียนทำให้เรามีโอกาส ได้เล่นเยอะ ตรงนี้มันเป็นข้อดีมาก ทำให้หลังจากจบ ก็มีงานเข้ามา เป็นอาชีพ อยู่วงการ LOCAL ของ BOSTON หลังจากนั้นก็ได้ส่อนที่โน่นด้วย ตั้งแต่เด็กเล็ก ถึงผู้ใหญ่เลยนะ พอช่วงที่มีสงครามอ่าวเปอร์เชียเนี่ย งานที่เคยมีเยอะมันก็ลดลงไปก็เลยคิดจะกลับเมืองไทย IMAGERIES เปิดพอดี ทางพี่จิเค้าเลย มาชวนไปเล่นพวก BE BOP แต่ไม่ค่อยเวริค์คนไม่ค่อยชอบ ก็เลยเปลี่ยนเป็น วงที่เล่นหลายๆ Style เล่นอยู่ประมาณปีนึง ก็ไปเล่นที่เชอราตันแกรนด์อีกปีนึง ก็มาได้งาน จัดจำหน่ายอยู่ CVD เปลี่ยนจากนักดนตรี เป็น BUSINESS MAN พักนึงมาลองเรียนรู้ดูว่าเป็นอย่างไรจนถึงทุกวันนี้น่ะ แต่ทุกวันนี้ก็ยังเล่นดนตรีอยู่ที่ร้านอาหารข้าง ๆ IMAGERIES ด้วยนะ

GT : ทำไมถึงสนใจที่จะมาเล่น JAZZ ครับ 
พี่โปรด : เพราะว่าตอนก่อนไป อเมริกาเนี่ย มันมีรายการวิทยุที่เปิดเพลง POP JAZZ ประมาณBOB JAMES GEORGE BENSON อะไรประมาณนี้ ไอ้เราก็นึกว่าตรงนั้นน่ะมัน JAZZ แล้วนะ ก็เลยเริ่มซื้อแผ่นพวกนี้มาฟัง ทุกวันจนค่อย ๆ ซึมเข้าไว แล้วก็พยายามหัดเล่น จากนั้นก็เริ่มชอบ เพราะมันมีสีสันดีไม่ใช่แบบดนตรีร๊อคที่เราเคยเล่นผมจะชอบดนตรีที่ฟังแล้วเดาไม่ออกว่าเค้าจะเล่นอะไรต่อ ผมจะสนใจเป็นพิเศษน่ะ

GT : ตอนนี้ตารางการฝึกกีตาร์เป็นอย่างไรบ้างครับ
พี่โปรด : ผมเป็นนักดนตรีที่ตื่นเช้าน่ะ 6 โมงเช้าเลย (หัวเราะ) ถึงจะเล่นดนตรีกลับมาดึกก็จะตื่น 6 โมงเช้า จะซ้อมประมาณชั่วโมงนึงตอนเช้า อยู่ OFFICE ก็ซ้อมได้ประมาณชั่วโมงนึงเหมือนกัน กลับบ้านก็อีก 2 ชั่วโมง ถือว่าน้อยนะสำหรับผมที่เคยซ้อมวันละ 8 ชั่วโมง แต่มันโชคดีอย่างนึง คือถ้าไม่ซ้อมก็ได้ไปเล่น ก็บวกเข้าไปอีกหน่อย เป็น 6-8 ชั่วโมง ส่วนมากที่ผมจะซ้อมตอนนี้ก็จะเป็น TRANSCRIBE SOLO เพราะผมSUGGEST ว่าถ้าคนเรียนดนตรีซีเรียสเนี่ยควรจะเรียนทฤษฎีและScale ต่าง ที่ต้องใช้เนี่ยให้ได้ เหมือนกับตอนเด็ก ๆ ที่เราเรียน ก. ไก่ ข. ไข่ แล้วเราสามารถเอามาผสมเป็นประโยคได้ เราก็เรียนสเกลดนตรีScaleแล้วก็นำมาทำเป็นประโยคได้เหมือนกัน แล้วก็ลืมซะ เพราะตอนนี้ผมท่อง ก.ไก่ ข. ไข่ ไม่ได้แล้ว แต่ผมพูดภาษาไทยได้ เหมือนกันเลย เพราะที่ผมบอกจำมันให้ได้แล้วลืมมันให้หมดเนี่ยเพราะเวลาที่คุณเล่นอยู่บนเวทีคุณไม่มีเวลาคิดนะแต่มันอยู่
ในจิตใต้สำนึก

GT : หมายความว่าอย่างไรครับ กับการที่พี่บอกว่า "จำมันให้ได้ แล้วลืมมันให้หมด"
พี่โปรด : สมมติว่ามันมีเพลง JAZZ อยู่เพลงนึง เราเรียน CHORD FROM มัน SCALE VOICING ต่าง ๆ SOLO เราจะใช้ SCALE อะไร เล่นจนเราได้ยินเราก็เล่นได้เลยเราไม่ต้องคิด ว่ามาถึงตรงนี้ เราจะเล่น DORIAN, MIXOLYDIAN ถ้าไปคิดอย่างนี้มันคิดไม่ทัน เพราะเพลงมันเร็วมาก คุณต้องลืมมันให้หมด แล้วต้องให้มันออกมาจากข้างในไม่ใช่ คุณเล่นเพลง JAZZ แล้วถึงตาที่คุณ IMPROVISE นี่คุณคิด SCALE อย่างเดียว คุณจะไม่มี MELODIC LINE อยู่ในหัวเลย อย่างในสเกลนี่คุณรู้สเกลแล้ว คุณได้ยินเสียงคอร์ด พอเค้ากดคอร์ดเนี่ย คุณก็ต้องรู้ว่าเนี่ย DIMINISHED CHORD นี่ DOMINANT 7 FLAT 13 คุณต้องรู้ว่า MELODY ของเพลงเป็นอย่างไรตอนนี้ผมฟัง นักร้องเพลง JAZZ เยอะ ๆ คือเราจะได้ตรง MELODIC LINE MELORY สวย ๆ ตอนที่เค้า IMPROVISE แล้วก็ฟัง SAXOPHONE อย่าง CHARLIE PARKER JOHN COLTRANE มาสมัยนี้ก็ MICHALE BRECKER พยายามฟังหลาย ๆ เครื่องดนตรีเช่นอาทิตย์นี้เราอาจจะ TRANSCRIBE มือเปียโน เลือกมาคนนึงที่เราชอบ อาจจะเป็น HERBIE HANCOCK อาทิตย์หน้าอาจจะ TRANSCRISE แซกโซโฟน วีธี TRANSCRIBE ที่ผมแนะให้ลุกศิษย์ผมทำก็คือต้องร้อง SOLO เพลงนั้นให้ได้ก่อนเหมือนกับร้องเพลงชาติไทยได้น่ะ แต่ไม่ใช่ทั้งเพลงนะคุณตัดมาทีละ 4 บาร์ 8 บาร์ คุณเลือกฟังตรงที่คุณชอบPHRASINGตรงนั้นมากแล้วก็ร้องให้ได้ ร้องในใจก็ได้ ให้เสียงมันอยู่หัว จำจนขึ้นใจก่อนแล้วค่อยมาจับกับเครื่องดนตรีของเราอย่าเปิดทีละบาร์แล้วแกะเล่นเลยตรงนั้นน่ะ มันจะลืม ซึ่งทุกอย่างมันต้องทำงานหนัก ตอนนี้ผมก็ยังเรียนอยู่ ผมเรียนกับ CHARLIE BERNACUS โดยทางMail 

GT : วิธีพัฒนาการเล่นของพี่ล่ะครับ?
พี่โปรด : ตอนนี้ผมพยายาม TRANSCRIBE เพลงให้ได้มากที่สุด แล้วก็พยายามฟังเพลงสมัยใหม่ให้มากที่สุด เพราะทุกคนมีข้อดีของเค้าทั้งนั้น เราพยายามดึงข้อดีของเค้ามาใช้ประโยชน์แก่เราเองอย่าไปดูถูกสไตล์เพลงหมอลำ ผมก็ฟัง หมอลำนี่เก่งน่ะ IMPROVISE เลยละ เค้ามาจากใจ นี่แหละตัวอย่างที่มันเล่นมาจากข้างใน

GT : ตอนที่พี่ IMPROVISE เนี่ยพี่นึกถึงอะไรบ้างครับ?
พี่โปรด : เมนเลยนี่ก็ต้องจำ MELODY ของเพลง มันมี CONCEPT มาจาก JIM HALL คือ มันเหมือนกับการสร้างบ้านหรือการเขียนกราฟน่ะ คือค่อย ๆ ขึ้น แล้วก็ลงบ้าง แล้วก็ไปถึงจุด PEAK พอ PEAK แล้วก็ลงมาคือ อาจจะเล่น WHOLE NOTE บ้าง HALF NOTE บ้าง แล้วก็มี EIGHT NOTE SIXTEEN บ้างคือค่อย ๆ สร้างมันขึ้นมาแล้วค่อยจับจุดว่าเราจะไป PEAK ที่ คอรัส ที่เท่าไหร่ แต่ถ้ามาถึงคุณเล่น 3 ล้านโน๊ตต่อนาทีเนี่ย แป๊ปเดียวคุณก็เบื่อแล้ว ไม่รู้จะเล่นอะไรแล้วหมดพุงแล้ว (หัวเราะ)

GT : สังเกตว่าพี่เป็นคนที่ชอบ PAT METHENY มาก ใช้กีตาร์ก็ใช้รุ่น PAT วิธีการเล่นก็มีอิทธิพลของ PAT ทำไมถึงมีแรงบันดาลใจมากอย่างนี้ครับ ?
พี่โปรด : คือ PAT เค้าจะเป็นนักกีตาร์ JAZZ จริงๆ ที่ผมได้ TRANSCRIBE เป็นคนแรกเราเคยฟังพวก GREOGE BENSONS ในยุคที่เค้าเล่นเป็น POPแล้วพอมาเจอ PAT เล่น ก็ เฮ้ย มันเล่นอะไรของมัน คือมันเลยกลายเป็นเป็นคนนึงที่เราชอบแล้วเราก็เลยติดอยู่ที่โน่นดูคอนเสริท์เค้าเยอะมาก ฟังเพลงของเค้าเยอะด้วย ก็เลยชอบ PAT พอฟังเยอะๆ แล้วพอจะรู้ทางเค้านะแต่คนที่เดาทางไม่ได้มี 2 คน มี MILES DAVIS กับ COLTRANE แต่พอฟังสัก 2 BARS ก็จะรู้ว่านี่คือ MILES DAVIS นี่คือ COLTRANE 

GT : พี่คิดอย่างไรกับการที่มีโรงเรียนดนตรีบางแห่งที่นำดนตรี JAZZ มาสอนแบบไม่ถูกต้องซึ่งทำให้เกิดวิธีการAPPROACH แบบผิด ๆ เช่นการไม่เข้าใจ BASIC RHYTHM ของ JAZZ เช่น ACCENT ของดนตรี JAZZ (2/4) หรือ BOSSA, SAMBA(1/3)
พี่โปรด : ตรงนี้เนี่ย มันก็พูดลำบากเพราะดนตรี JAZZ มันไม่ใช่ดนตรีของประเทศเรา คำว่า JAZZ เนี่ยความหมายมันกว้างมากเค้าอาจจะเข้าใจว่าอย่างนี้ เราก็อาจเข้าใจอีกอย่างนึงที่อเมริกาว่าอีกอย่าง ญี่ปุ่นว่าอีกอย่างนึงไอ้ตรงนี้ก็เลยตีกันยุ่ง มันก็เลยมีความรู้สึกว่า เอ๊ะ ! มันไม่ใช่นะ อย่างมันมี NEW AGE มี JAZZ ตรงนี้มันก็เริ่มหลากหลาย มีแยกกันแล้ว คือผมไม่วิจารณ์ดีกว่าเพราะว่าจริง ๆ ผมก็ไม่เห็นไม่รู้เค้าสอนอะไรกันบ้างนะ (หัวเราะ)

GT : พี่คิดอย่างไรกับวิธีAPPROACH แบบแนวนอนของ PAT METHENY หรือ MICK GOODRICK ซึ่งพี่คิดว่าสามารถสร้าง MELODIC LINE ได้ดีกว่าแนวตั้งจริงหรือไม่
พี่โปรด : ก็อย่างการเล่น SCALE ทีละสาย คือทฤษฎีนี้ก็มาจาก MICK GOODRICK คือมันจะให้ฟิลของความต่อเนื่องน่ะ คือผมคิดว่า ในด้านการเล่นทีละสายเนี่ย มันเป็น SUSTAIN NOTE ซะเยอะ แต่ถ้า SKIP สาย หรือเล่นในแนวตั้งอย่างว่าเนี่ย มันก็จะมีช่วง SPACE ซึ่งมันก็นานาจิตฟัง แล้วแต่สไตล์นะ จริง ๆ ผมก็ชอบทั้ง 2 วิธี อย่าง ERIC JOHNSON เนี่ย เค้าจะเล่น SKIP STRING เยอะ เนี่ยก็เป็นวิธีการเล่นวิธีนึง ที่ผมให้ลูกศิษย์ผมซ้อม SCALE นะ เช่นลองเล่นสาย 6 แล้วข้ามไปสาย 4 ซิ สลับไปมา สาย 5 แล้วแล่นสาย 3 สาย 4 แล้วเล่นสาย 2 ตอนกลับก็เหมือนกันแค่นี้คนก็ไม่เบื่อแล้ว SOUND มันก็เป็นอีกเรื่องนึงเลย ซึ่งนี่ก็คือแนวตั้ง ถ้าแนวนอนคุณก็เล่นทีละสายมันก็เป็นอีกวิธีนึง อย่าง GREOGE BENSON เค้าก็ไม่ได้เล่น SKIP แต่เค้าก็มี LINE ของเค้า หรือ PAT MARTINO เนี่ย LINE เค้าจะเป็นแบบ ARPEGGIO และใช้ DIMINISHED APPROACH สมมติว่าเรามี G7 คอร์ดเนี่ย เค้าจะเล่น G ชาร์ป DIMINISHED ARPEGGIO OVER G7 คอร์ด เค้าจะเรียกว่า SUPER IMPOSE คือเค้าคิดมาอีก STEP นึง คือเค้าจะมองเพลงในภาพรวมว่าเพลงนี้เค้าอยากได้ SOUND DIMINISHED ทั้งเพลง คอร์ดที่สองอยากได้ DOMINANT ค่อย ๆ BUILD ไปอาจจะเริ่มจาก DOMINANT แล้วไป OUT เป็น DIMINISHED อะไรอย่างนี้เหมือนการเขียนกลอนนะเขียนหนังสือเหมือนกัน

GT : ทราบว่าพี่เคยทำงานเป็น PRODUCER มีความเป็นมาอย่างไรครับ 
พี่โปรด : เคยทำนะ แต่ว่าเค้าไล่ออก (หัวเราะ) ไล่ออกเพราะว่าผมทำคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยเป็นในสมัยโน้น เพราะเค้าต้องโปรแกรมเพลง ซึ่งพอทำไปสักพักเรารู้ว่ามันไม่ใช่เราไง ต้องถูกบังคับว่าต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ ประกอบกับงานก็ไม่เสร็จเค้าก็เลยบอกว่าเราหยุดกันตรงนี้ก่อนก็แล้วกัน ก็ไม่ว่ากัน ซึ่งผมก็เข้าใจว่ามันเป็นธุรกิจน่ะ

GT : พี่เคยอัดกีตาร์ให้กับงานของใครบ้างครับ? 
พี่โปรด : ก้อ…มีที่อัดหลาย ๆ เพลงและที่เค้า HAPPY กันก็คือ SOUL AFTER SIX ผมอัดไป 5 เพลง หลัง ๆ ก็มีเพื่อนฝูงกัน CU BAND อย่าง แจ๊ค (โดม ทิวทอง) รุ่นน้องนี่ หรืออย่างปึ่งที่ร้องเล่นเปียโนใน SOUL AFTER SIX เค้าก็ทำเพลงโฆษณากัน ผมก็ไปช่วยเค้าอัด คือต่างคนต่าง HAPPY ที่ได้ทำงานด้วยกัน

GT : แล้วเมื่อไหร่พวกเราจะได้ฟังงานส่วนตัวบ้างครับ
พี่โปรด : ตอนนี้กำลังเร่งอยู่นะ ผมเรียกมันว่าเป็น INSTRUMENTAL MUSIC มันจะเป็นเพลงที่ผมชอบโดยตัวเองทั้งหมด แต่เป็นอะไรที่ทำมานานแล้วแต่ยังไม่จบซักทีก็ต้องเร่งแล้วแหละ เสร็จไป 7 เพลงแล้ว ซึ่งผมว่าจะทำสัก 10 เพลงนะ แต่ว่าเพลงมันยาวประมาณ 5 นาทีขึ้นไปน่ะ

GT : พี่คิดยังไงกับพวกมือกีตาร์ฮีโร่ที่มีสปีดนิ้วเร็ว ๆบ้างครับ
พี่โปรด : คือถ้าผมฟังไปสักประมาณนาทีถึงสองนาทีแล้วผมเดาออกว่าเค้าเล่นอะไรเนี่ยผมก็จะรู้สึกว่ามันไม่ค่อยสนุกแล้ว มันได้แต่ ENERGY แต่อย่าง ALLAN HSLSWORTH นี่เค้าก็จะเล่นเร็ว เหมือนกันแต่ผมก็เดาไม่ได้ว่าเค้าจะเล่นอะไรคนนี้ก็เป็นคนนึงที่ผมชอบอยู่เหมือนกัน

GT : ความแตกต่างของเด็กไทยกับเด็กต่างประเทศในด้านทัศนคติหรือการศึกษาทางด้านดนตรีเนี่ยเป็นอย่างไรบ้างครับ?
พี่โปรด : ต่างกันนะคือเมืองไทยเนี่ยมันสบาย อากาศสบาย ลูกอยู่กับพ่อแม่คือทุกอย่างเด็กไทยมาได้ค่อนข้างง่าย เพราะประเทศเรามันในน้ำมีปลาในนามีข้าวว่างั้นเถอะไม่ต้องลำบากคือเด็กที่เมืองนอกมันก็จะมีช่วงที่ออกไปไหนไม่ได้ หิมะมันตกอยู่บ้าน ก็ซ้อมกีตาร์สมมติเป็นนักดนตรีก็จะซ้อมเครื่องดนตรีที่เล่น คือเค้าจะมีความตั้งใจสูง เนื่องจากอากาศเป็นส่วนหนึ่ง ที่มีผลอย่างยิ่งเลยนะ ยกตัวอย่าง อย่างนักดนตรี EAST COST กับ WEST COST ไม่เหมือนกันนะ นักดนตรี WEST COST อย่างที่ LA หรือ SAN FRAN นี่ เช่น LEE RITNOUR ,LARRY CARLTON มันจะเป็นอะไรที่ฟังสบาย ๆ แต่คุณไปดู EAST COST ซิ MICHAEL BRECKER, JOHN SCOFIELD, MIKE STERN มันจะTenseมากกว่า ทีนี้เราหันมาดูเด็กไทยบ้างคือเด็กทางเราจะสบาย ๆ จะไม่ค่อยซีเรียส แล้วก็ยังขาดการศึกษาทางดนตรี ในระดับตั้งแต่อนุบาลเลยนะ ซึ่งบ้านเรานี่คนที่จะเป็นครูนี่ คือคนที่เค้าเลือกอะไรไม่ได้แล้ว ตอน ENTRANCE คือมันต้องเปลี่ยนแล้วครูที่ ครูอนุบาลนี่เงินเดือนมันต้องเป็นหมื่นไม่ใช่เงินเดือนเป็นพัน เพราะว่าเค้าจะต้องสอนลูกเรามาตั้งแต่เด็ก เพราะว่าถ้าเด็กพวกนี้ได้ครูที่ดีมาตั้งแต่เด็ก ๆ นี่ คุณภาพของคนไทย มันจะดีขึ้นกว่านี้

GT : แล้วข้อแตกต่างระหว่างครูดนตรีคนไทยกับครูต่างชาติล่ะครับ?
พี่โปรด : คืออย่างเมืองนอกนี่เค้าจะพูดว่าคนที่ไม่ SUCCESSFUL นี่จะมาเป็นครูคือเราจะไม่เห็นว่า HERBIE HANDCOCK หรือ CHICK COREA ไปเป็นอาจารย์ที่ไหน พวกนี้เค้าไม่มีเวลามาสอน ต้องอาศัย อีก LEVEL หนึ่งมาสอน แต่จะให้ไปดึงดวงดาวนั่นคืออยู่ที่เด็กเองเค้าจะ GUIDE LINE ให้ซ้อมอย่างนี้ ๆ แต่จริง ๆ แล้วอยู่ที่ตัวเอง

GT : มือกีตาร์ที่ชอบทั้งไทยและเทศ
พี่โปรด : ชอบเยอะนะ แต่คนที่พิเศษก็ WES MONTGOMMERY, JIM HALL, PAT METHENY , JOHN SCOFIELD เมืองไทยนี่เมื่อก่อนผมชอบ พี่พร เภกะนันท์ เค้าเป็นคนไทยที่ไม่ใช่นักดนตรีอาชีพคนแรกที่เล่น JIMMIE HENDRIX คือเค้าไม่ต้องเล่นโน๊ตเยอะ แต่โทนของเค้ามันใช่คือเค้าเล่นมาจากข้างใน จริง ๆ มีอีกคนก็คือพี่กอ (เฉลิมเกียรติ อมรสิงห์)

GT : อัลบั้มที่คนเล่น JAZZ จะต้องฟังในความคิดของพี่ล่ะครับ ?
พี่โปรด : GIANT SIEP ของ JOHN COLTRANE , KIND OF BLUES ของ MILES DAVID และ CHARLIE PARKER ในทุกๆอัลบั้ม WEST MONTGOMERY, JIM HALL , BLL ELEVEN , HERBIE HANCOCK ชุดใดก็ได้ คือพวกนี้เป็น MASTER ต้องฟังถ้าย้อนยุคหน่อย ก็ DUKE ELLINGTON

GT : ตอนนี้พี่ฟังงานของใครอยู่ครับ
พี่โปรด : MICHAEL BRECKER ชุดใหม่ มี MIKE STERN ชุดใหม่ PAT METHENY ที่เป็น TRIO ชุดใหม่ BB. KING ที่เล่นกับ ERIC CLAPTON 

GT : พูดถึงอุปกรณ์ที่ใช้บ้างครับ
พี่โปรด : โอ้โฮ เมื่อก่อนใช้ EFFECT เยอะแยะไปหมด แต่เดี๋ยวนี้เหลือกีตาร์ตัวนึงกับแอมป์ เพราะผมอยากได้โทนคือ ถ้าใช้เอฟเฟ็คเยอะ ๆ แล้วคนดูก็จะไม่ได้โทนแอมป์ผมที่ใช้อยู่จะไม่มี REVERB เลยนะ จะแห้งมาก ผมต้องการเนื้อเสียงซึ่งจริง ๆ มันอยู่ที่มือเราและใจเรา ถ้าสังเกตนักกีตาร์ระดับโลกเนี่ย ไม่ว่าเค้าจะเล่นกีตาร์หรือแอมป์ ยี่ห้ออะไร พอเราฟังเราก็รู้ว่าเนี่ยคือ PAT,JIM HAL หรือใครต่อใคร ตอนนี้ผมมีกีตาร์ WARMOUTH STRAT CUSTOM 2 ตัว มี IBANEZ รุ่น PAT METHENY มี PHILLIP KUBICKY ซึ่งตอนนี้เค้าเลิกทำไปแล้ว มี GIBSON 335 สี SUNBURTS มีกีตาร์ญี่ปุ่น NYLON STRING ELECTRIC ตัวนึงเอฟเฟ็คก็จะมี LEXICON MPX2และMPXR1 กับ DBX COMPRESSOR 160X ส่วน DISTORTION ก็มาจากตู้ HOWARD DUMBLE มี MESA /BOOGIE MARK IV อีกตัวนึง ปิ๊คผมใช้ JIM DUNLOP 3.0 MMอันเล็ก สายกีตาร์ผมใช้ของ DR เบอร์ .11-.50 หรือ .12-.52

GT : พี่มีคำแนะนำสำหรับมือกีตาร์ที่กำลังฝึกฝนบ้างไม๊ครับ
พี่โปรด : ก็ให้เล่นกีตาร์ทุกวันให้มากกว่าที่เวลาเราดูทีวี และถ้าไม่ได้ไปเรียนกับใครนี่ ก็ฟังคนที่เราชอบแล้วก็ดูว่าคนนั้นนี่เค้าชอบใคร แล้วก็พยายามไปหางานนั้น ๆ มาฟัง แล้วพยายามฟังดนตรีให้หลายสไตล์อย่าฟังคนที่เราชอบคนเดียว
ก็จบกันไปแล้วนะครับผมคิดว่าเพื่อนๆคงได้ความรู้ และแนวทางการเล่นกีตาร์เพิ่มเติมขึ้นนะครับ หลายๆสิ่งที่โปรดได้กล่าวไว้ สามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาการเล่นของตนเองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องไม่หลงทาง
และผมขอให้ทุกคนสนุกสนานกับการเล่นดนตรีครับ

any comments, please e-mail   webmaster@guitarthai.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 2000

guitarlogo.gif (2893 bytes)