Main Menu
  Home
  login / Join member
  Edit your profile
  Artists Biography
  Webboard
  Review & Test
  Hot Shots & Lessons
  Interview
  Classifieds (OLD)
  Classifieds (New)
  Cools Links
  About Thinking
  About Us
  Finger Shot
  Download
  New Releases
  Music News

 Interview:    อ.ปราชญ์ (ปราถนา อรุณรังษี)                                                              โดย เปิ้ล
สวัสดีครับเพื่อนๆทุกๆท่าน และสวัสดีเดือนสิงหาคม เดือนแห่งเทศกาลวันแม่แห่งชาติ ผมอยากให้เพื่อนๆทุกคนให้ความสำคัญกับแม่ในทุกๆวัน ไม่ใช่แค่ในวันนี้วันเดียว เพราะแม่คือบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิต ของเพื่อนๆทุกๆคน ช่วงเดื่อนกรกฎาคมที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งในเรื่องของเทปลับหรือไม่ลับประโยคของนักการเมื่องท่านนึ่งที่พูดว่า "เสียงคล้ายผม" คงจะเป็น เป็นประโยคฮิตไปอีกนานซึ่งในขณะที่ทำต้นฉบับนี้ การวินิจฉัยคงเสร็จสิ้นไปแล้วนะครับ วันนี้ผมได้มีโอกาส บุกเข้าไปยังถ้ำเสือแห่งสำนัก OVERDRIVE MAGAZINE เพื่อเข้าไปพูดคุยกับเจ้าสำนัก ซึ่งเป็นมือกีต้าร์อีกท่านนึงที่เพื่อนๆรู้จักกันเป็นอย่างดี อาจารย์ ปรารถนา อรุณรังษี คือบุคคลที่เราจะไปพูดคุยด้วยครับ
GT:ตอนนี้อาจารย์ทำอะไรอยู่บ้างครับ
อ.ปราชญ์: ก็มีโรงเรียน หนังสือ,OVERTONE แล้วก็มี WORK SHOP ประจำปี มีงาน GUITAR CONTEST ซึ่งครั้งที่2 ,PRART MUSIC SCHOOL กำลังจะจัด ซึ่งกำลังจะลงข้างในOVERDRIVE เล่มหน้า แล้วก็มีโครงการทำ VDO. ม้วนใหม่เรื่องIMPROVISEซึ่งคงเป็น ADVANCE IMPROVISATION อย่างเช่นการใช้ ALTERED SOUNDแล้วเรื่องของ COLOUR TONE ซึ่งม้วนที่แล้วจะพูดถึง BASIC และกำลังทำผลงานของกลุ่ม OVERDRIVE GUITAR CONTEST ครั้งที่1
อยุ่ด้วยซึ่งกำลังจะเสร็จ

GT:
แล้วแนวดนตรีที่สนใจอยู่ในตอนนี้ล่ะครับ
อ.ปราชญ์:ค่อนข้างจะใหม่ๆหน่อยเป็น HIP HOP JAZZ จะออกไปทางนั้น
GT: ตอนนี้ฟังงานของใครอยู่ครับ

อ.ปราชญ์ :
เป็นCOMTEMPORARY JAZZ เป็นส่วนใหญ่
GT: ตอนนี้ศึกษาดนตรีอย่างไร

อ.ปราชญ์ :
ตอนนี้ก็จะดูเป็นหัวข้อ ว่าเราจะ เรียนรู้ เรื่องอะไร ซึ่งแต่ละหัวข้อเราพอจะเข้าใจมาระดับนึงแล้ว พอเราจะWORKเราก็ดึงหัวข้อนั้นขึ้นมาเสร็จแล้วจะนำมาขยายเพื่อมาปฏิบัติ
GT:แล้วตอนนี้ WORK เรื่องอะไรอยู่

อ.ปราชญ์ :
ล่าสุดก็จะเป็นเรื่องของ SUB ARPEGIOเช่นผมเล่นคอร์ด G7ผมก็จะเล่น G ARPEGIO ทับลงไป แล้วมันก็จะมีตัวที่เล่นได้อีก คือ Bb หรือ F เป็น UP MINOR THIRD มันก็เป็นหลักการเก่าแต่ก็ลองเอามาเล่นเพื่อสร้าง LICK สร้าง LINE สำหรับงานชุดใหม่ของผม

GT:
แล้วเวลา IMPROVISE อาจารย์มีวิธีการสร้างวลีอย่างไรครับ
อ.ปราชญ์: คงต้องเริ่มจากการที่เราได้ยินก่อน ได้ยินเสียง MELODY ที่อยู่ในตัวเรา 

GT:
ใช้วิธีแบบ NATHAN EAST บ้างรึเปล่าที่ร้องไปด้วย
อ.ปราชญ์: ผสมกันครับ บางครั้งก็ลืมร้อง ซึ่งการร้องเป็นสิ่งที่ดี ผมชอบมากซึ่งมันจะได้ยินได้ TONE เสียงและ RHYTHMIC ซึ่งผมมีนักเรียนที่บอกว่า IMPROVISEไม่ได้เนี่ย พอให้เค้าลองร้องดู สักพักเค้าก็ทำได้ ซึ่งตอนแรกอาจจะผิดคีย์บ้าง ก็ไม่เป็นไร ซึ่งจะทำให้เค้าก้าวไปเลย ซึ่งต่อไปเค้าก็จะทำให้คำพวกนั้นมันสละสลวยขึ้นได้

GT:
อย่างนี้แสดงว่า ตอนที่เราอ่านโน๊ตก็น่าจะฝึกร้องตามโน๊ตนั้นไปด้วย
อ.ปราชญ์ : ดีครับ คือเล่นโน๊ตหรือร้องได้ยินเพลงแล้วฮัมตามในทุกเรื่องใครที่ไม่เคยให้ลองดู เพราะมันช่วยได้เยอะ เพราะมันไม่มีอะไรซับซ้อนเลย

GT:
แล้ววิธีอื่นล่ะครับ
อ.ปราชญ์ : ก็มองโน๊ตครับ เล่น3เล่น7เล่น9 เช่นเริ่มที่9มาลงที่3 คือดูตัวต้นดูตัวท้าย IMPROVISE โดยเริ่มแรกควรจะเริ่มเล่น INSIDE ก่อน

GT:
แล้วตอนไหนถึงจะรู้ว่าตัวเองเริ่มจะOUT ได้
อ.ปราชญ์ : เมื่อเริ่มเบื่อ (หัวเราะ)ไม่รู้จะเล่นอะไรแล้ว

GT:
แล้วจะเริ่ม OUT ยังไง
อ.ปราชญ์: เริ่ม OUTแบบที่เป็นEXTENSION ก่อนจะดีกว่าเช่น CHORD CMAJ ลองเล่น ตัวที่3 ฟังจาก DIATONIC ก็จะเป็น Em เล่นEm ดู คือเอาตัวในคอร์ดมาเล่น คือการหัดเริ่ม OUT แบบนี้ SOUND มันจะไม่ยากเกินไป เห็น CคิดEm,GMAJ7,DMAJ7 ความยากก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ SOUND ก็จะยิ่งยากขึ้นอีก ขึ้นอยู่กับผู้เล่นด้วยว่าอยากเลือกระดับไหนมันเหมือนกับเป็นระดับความยากด้วย

GT:
แล้วสำหรับแนวทางอื่นในการIMPROVISE
อ.ปราชญ์ : ลองมองใน INTERVAL (ขั้นคู่) ดูก็จะได้ SOUND ใหม่แน่นอนเช่นในCMAJ เรามองคู่ 5 เลย คู่ 5 วิ่งลง เราต้องมอง TONAL ของมันด้วย คือ SOUND เปลี่ยนมุมมองมันก็เปลี่ยน

GT: แล้วในเรื่องของเล่นแบบข้ามสายนี่ทำให้ SOUND เปลี่ยนด้วย
อ.ปราชญ์: แน่นอนครับ เพราะว่าในสเกลเป็นสิ่งที่ต้องเน้น การเล่น ARPEGIOมันทำให้เกิด MELODIC ข้ามสาย คือต้องคิดว่าอยากได้ของใหม่ด้วยนะ ถ้าคิดว่าไม่เห็นเพราะเลยไม่มี MERODY เลยก็คือเค้ายังไม่อยากได้คือ คิดง่ายๆคือถ้าเราอยากได้ SOUND ใหม่แต่เราคิดเป็นระบบเดิมมันก็เป็นไปได้ยาก ซึ่งต่อไป มันก็ต้องมีคนคิดระบบอื่นขึ้นมาอีก ฝรั่งสิ่งที่เค้าต้องมีคือหนีสิ่งที่มันมีอยู่แล้วไม่งั้นมันไม่เกิดซึ่งมันเป็นข้อดี ทำให้ดนตรีมันไปได้เรื่อยๆ ซึ่งบางอย่างก็WORK บางอย่างไม่ WORK ก็เงียบไป

GT:
อะไรเป็นตัวตัดสินว่าอันไหน WORK หรือไม่ WORK 
อ.ปราชญ์: มันคงเป็นเรื่องเวลา และเรื่องการยอมรับ ซึ่งในเรื่องของการยอมรับเนี่ยบางทีเค้ามาเร็วไป เหมือนพวกแวนโก๊ะ คือมาเร็วไป ซึ่งหมายความว่าใน10ปีไอ้สิ่งที่เค้าเล่นอยู่มันเหมือนแต่พอเวลาผ่านไปกลับยิ่งใหญ่สุดๆ เป็นสิ่งไม่ดี มันมีเรื่องของเวลามากำหนดด้วยกับความคิดนั้นๆ

GT:
ตอนนี้งานชุดใหม่ไปถึงไหนแล้วครับ
อ.ปราชญ์: ประมาณ 30-40% ได้ ในแง่ของรูปงานเลยนะครับ ว่าจะทำให้เสร็จตั้งนานแล้ว (หัวเราะ)

GT:
รูปแบบของงานล่ะครับ
อ.ปราชญ์ : คงเป็นอะไรใหม่ๆ คงง่ายลง FREE ขึ้น

GT:
หมายถึงเป็น POP มากขึ้นรึเปล่า
อ.ปราชญ์ : ไม่ใช่ โครงสร้างCHORDก็คงไม่เยอะ อาจจะมีซับซ้อนอยู่ด้วยและไม่ซับซ้อนอยู่ด้วย แต่ RHYTHMIC คงไม่ซับซ้อนมากจะเล่นอะไรที่มันเล่นแล้ว ฟรีๆสนุกๆ เน้นไปที่ MELODY และมี RHYTHMIC ที่ชัดเจน ซึ่งตอนนี้ผมชอบแบบบี้เพราะว่างานมันไม่มีข้อแม้อยากทำอะไรก็ทำขึ้นมา

GT:
คำจำกัดความสำหรับงานชุดนี้ล่ะครับ
อ.ปราชญ์: น่าจะเป็น COMTEMPORARY ROCK JAZZ HIP HOP 

GT:
แสดงว่าต้องมี LOOP เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
อ.ปราชญ์: SOUND อาจจะ LOOP ทั้งALBUM เลยด้วยซ้ำ

GT:
อาจจะมีการ SCRATCH แผ่นด้วยรึเปล่าครับ
อ.ปราชญ์ : ไม่แน่อาจจะมี และตอนนี้ด้วยความที่อุปกรณ์มันก็เยอะขึ้น ด้วย SOUND จากที่ไม่ค่อยสนใจ ในยุคก่อนๆ มันก็เลยเริ่มซึมเข้ามา

GT:
ชุดนี้จะมีเพลงร้องรึเปล่าครับ
อ.ปราชญ์ : อาจจะมีหรือไม่มีก็ไม่รู้ เราไม่ได้ตั้งใจไว้ว่าต้องมีเพลงร้องขึ้นอยู่กับสถานะการณ์

GT:
มีการวางโครงร่างของงานไว้บ้างรึเปล่าเวลาจะแต่งเพลง
อ.ปราชญ์ : เวลาผมทำงานมันจะเกิดจาก เฮ้ยแบบที่มันเท่ ผมก็จะจดไอเดียไว้ เช่นผมจะเล่น BLUES 7/4 แล้วจดเก็บไว้ มันก็จะเป็นภาพเบลอๆในหัวเราแต่มันก็จะไม่ชัด แล้วเวลาผมดึงเอาไอเดียนั้นไว้มาสร้าง LICIK สร้าง CHORD VOICING แล้ว SET กลอง SET เสียงขึ้นมา

GT:
การทำงานมีความกดดันบ้างไม๊ครับ
อ.ปราชญ์ : ไม่มีไม่มีเลย มันเป็นเพียงแค่การตอบสนองตัณหาตัวเองเท่านั้น แม้กระทั่งการตลาดผมก็ไม่ได้มองมากเพราะถ้าอยากซื้อก็ซื้อไม่ซื้อก็ไม่ว่ากัน 

GT: ทุกวันนี้มีงานเยอะอย่างนี้แล้วมีเวลาแบ่งให้กับกีต้าร์อย่างไรครับ
อ.ปราชญ์ : การสอนก็คือว่าเป็นการซ้อมของผมอีกแบบหนึ่งบางทีสอนๆไปเนี่ยก็เฮ้ยอันนี้ดีนี่หว่า เพราะบางทีคิดเหมือนกันว่าเวลาซ้อมน้อยลง แต่ถ้าไม่ได้สอนเนี่ยมันก็จะมีเวลาใกล้ชิดกับกีต้าร์น้อยลงเช่นกัน เพราะเป็นเรื่องปกติของคน เวลาโตขึ้นเวลามันก็จะน้อยลงๆไปเรื่อย บางทีก็ไม่ได้จับเหมือนกันเวลามีงานเยอะๆ แต่ด้วยความที่เป็นมือกีต้าร์ เวลามีงานโฆษณา มาเราก็เล่นกีต้าร์เอง เราคงไม่มีเวลามาซ้อม 5-6ชั่วโมงแบบแต่ก่อนแล้ว เราก็ซ้อมกับการทำเพลงแต่งเพลงแต่ตอนนี้เราก็จะทำ BAND ทำอะไรเล่นๆกันที่ OVERTONE ชั้น 1 ของตึกพยัคฆ์ RCA นี่แหละ

GT:
มีใครเป็นสมาชิกบ้างครับ
อ.ปราชญ์: ก็อาจจะมี พี่ปุ้ม พงษ์พรหม บางครั้งก็มีพี่โอม ก็คงเป็นคนคุ้นๆหน้ากัน หรืออย่าง ต้น
SILLY FOOL ด้วย

GT:
เล่นแนวไหนครับ
อ.ปราชญ์: คงเล่นทุกแนวครับ เพราะต้องตามใจทุกคน (หัวเราะ) อยากเล่นอะไรก็เล่น แต่ถ้ามีใครที่ผลงานตัวเองแล้วส่งมาเทปมาออดิชั่น แล้วผ่าน ก็จะให้มาเล่น แล้วเราก็จะลงข่าวในOVERDRIVE ก่อนเล่น เพื่อให้มือใหม่ๆมีที่เล่น อาจจะมาเล่นแค่ครั้งเดียว ในวันนั้นก็อาจจะมีใครมาดูอยู่ด้วยเพราะเราไม่ได้เปิดทุกวันแล้วก็อาจจะเปิดเป็น JAM SESIONเป็นJAZZ NIGHT เป็นBLUES NIGHT ต้องแยกไม่งั้นเดี๋ยวมั่วแน่

GT:
จะเปิดเวลาไหนครับ
อ.ปราชญ์ : ก็คงจะประมาณปลายสิงหานี้ครับ ความจริงจะเปิดตั้งนานแล้วแต่พอดีมีงานเยอะ เพราะเรามีโครงการที่เราจะรวมเล่มหนังสือ OVERDRIVE เป็นการรวมแต่ละคอลัมน์เป็น POCKET BOOK เช่น คอลัมภ์ ของพี่ โอม ของคุณป๊อป ของพี่เขียว ฯลฯ เพราะตอนนี้หนังสือตั้งแต่เล่ม1 ถึง 22 มันหมดไปแล้ว แล้วมีการเรียกร้องกันเข้ามาเยอะด้วย เพื่อการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น

GT:
เมื่อสักครู่อาจารย์พูดถึง VOICING อยากให้พูดถึงเรื่องการเริ่มต้นเล่นINVERSION
อ.ปราชญ์ : โอเคครับ เช่นถ้าจะเล่น FIRST INVERSION ของCMAJ7 ก็ต้องตัว E ต่ำ เป็นตัวเบสส่วนไส้ข้างในพวก G B C ก็เรียงลำดับตามลงมาเดี๋ยวผมจะเขียนแบบฝึกหัดให้เป็น TABจะได้เข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งมันจะช่วยให้เราคล่องตัวขึ้นในการฝึกการ VOICING แบบนี้

GT:
เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ใน STUDIO ส่วนตัวมีอะไรบ้างครับ
อ.ปราชญ์ : ก็จะมีPENTIUM 3 1Ghz WINDOWS ME, SOUNDCARD ใช้ของ CREAM WAVE ซึ่งค่อนข้างดังแต่ไม่ดังในบ้านเรา คือ PULSAR 2 CARD แล้วก็มี PROTOOL 001 มาต่อ LINK เข้ากับ DIGITAL MIXER SPIRIT 328 ,SOUND ในคอมพิวเตอร์กับ MIXER จะเชื่อมต่อกันด้วย DIGITAL แล้วก็จะมีพวก TUBE MIC PRE ของ DBX 386 มี COMPRESSOR ของ ARTนอกนั้นก็จะมีพวก MODULE มี PROTIUS มี ALESIS QSR มีROLANDXV88 มี JV 1010 มี DM5 SOUND กลอง

GT:
แล้วอุปกรณ์กีต้าร์ล่ะครับ
อ.ปราชญ์ : มี POD มี J-STATION ของ JOHNSON มี SANSAMP ทั้ง RACK และPEPAL DIGITEC 2112 มี ROCKMAN HALFRACK, POWER ROCKTRON, CABINET ของCARVIN มีตู้ MARSMALL JCM900 แล้วก็มีตู้ YAMAHA DG60 เสียงดีมากแล้วก็มีพวก CRYBABY WAH ส่วนกีต้าร์ผมจะมี FENDER STRAT'72,GUILD STARFIRE III'62,GUILD STARFIVE IV, CARVIN FATBOY (ALLAN HOLDSWORTH),WASHBURN U.S.A. CUSTOMSHOP (PRART),CUSTOMSHOP (TOMANDERSON+WARMOUTH),GODIN LGX,GODIN MULTI (NYLON STRING),IBANEZ PM100 (PAT METHENY),IBANEZ S470 (2ตัว),FENDER THINLINE REISSUE'72,SEAGUL ACOUSTIC GRAND CONCERT



GT:
อยากถามความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับพวก DIGITAL AMP อย่าง POD หรือPSA-1 ในPROTOOL
อ.ปราชญ์ : เรื่องแรกก็คงสะดวก เรื่องเสียงก็ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์บางจังหวะมันเหมาะกับสิ่งที่เราใช้มันก็จะดีมากเลย บางจังหวะมันไม่เหมาะก็อย่าไปฝืนมันก็อย่าใช้ให้ใช้พวก ANALOG แต่ถ้าถามว่าชอบหรือไม่ชอบก็ OK นะเพราะผมใช้อยู่อย่าง POD บางทีผมใช้เล่นสด ถ้าเราปรับไม่เวอร์หรือเป็นเอฟเฟคมากเกิน คือให้เนื้อเสียงมันเยอะๆมันก็ WORK เหมือนกัน ส่วน PSA-1 ยังไม่ได้ลองแต่คิดว่าน่าจะ WORK นะ

GT:
ในเรื่องของหนังสือ OVERDRIVE จะมีอะไรใหม่ๆมาให้พวกเราได้อ่านกันบ้างครับ
อ.ปราชญ์: เราจะเน้นไปในเรื่องของอุปกรณ์ด้วย เช่น ตู้AMP โดยเราพยายามสร้าง STANDARD ของเราในการทดสอบแต่ละอุปกรณ์ด้วย เพราะคนไทย TEST กับฝรั่งTEST มันก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งเรากำลังจะ SET คอลัมน์นี้ขึ้นมา แล้วก็จะมีต้น SILLY FOOLL มาเขียนในสไตล์ของเขาด้วย แล้วก็อาจจะเอา TRIO ของ FRANK GAMBALE เข้ามากำลังคุยกับเขาอยู่ถ้าทำแล้วมันได้ดูของจริง พอ FRANK แล้วต่อไปเป็นคนอื่นได้ ซึ่งต่อครั้งอาจจะมีคนดูซัก 7-800คน ราคาบัตรที่พอซื้อกันไหว เค้ามาเรามีเงินจ่ายถ้าเราสามารถทำได้จนเป็นวงจรพอเข้ามาเสร็จ แถม WORKSHOP พอทุกอย่างมันอยู่ตัวก็จะปล่อยให้คนอื่นเค้าทำ เพราะตอนนี้เพิ่งรู้สึกว่าเราทำในสิ่งที่เราชอบ อาจจะเป็นคนที่โชคดีที่ได้มาในสิ่งที่ตัวเองชอบเกือบหมด

GT:
ถ้ามีเด็กคนนึงที่เค้ามีความตั้งใจที่จะเล่นดนตรีให้ได้ดีแต่เค้าไม่มีกำลังที่จะไปเรียนที่ไหนเค้าควรจะมีวิธีการฝึกฝนอย่างไรครับ
อ.ปราชญ์: ตอนนี้ผมว่าถ้าเค้าไขว่ขว้า อยากจะเล่นข้อมูลถูกๆ มีให้ค่อนข้างเยอะอาจจะเริ่มจากVDO ฝรั่งก็ได้ไทยก็ได้ของผมก็มีของ ANGELO ก็มีหรือ MAGAZINE ดนตรี ไม่ว่าจะ OVERDRIVE หรือ GUITAR TUTOR GUITARISTส่วนมากก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง หรือเลยไปเรื่องที่เป็นINTERNET ถ้าใช้เป็นมันจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มหาศาลมาก และสิ่งสำคัญคือต้องคิดเป็น คือต้องรู้ว่าทำไมเราต้องฝึกสเกล คือคนฝึกเองก็ตั้งเยอะแยะแต่เค้าต้องสอนตัวเองเป็นไม่งั้นก็แนะนำให้หัดสงสัย ก่อนที่จะเล่น เอ๊ะทำไมพี่คนนี้เค้าบอกให้เราฝึกตรงนี้ แต่ทำไมใน VDO บอกให้ฝึกตรงนี้แล้วมันได้อะไร พอได้คำตอบก็ค่อยลงมือฝึก

GT:
มือกีต้าร์ที่ชื่นชมทั้งไทยและเทศครับ
อ.ปราชญ์ : คนไทยชอบคุณป๊อบ เดอะซัน เพราะชัดเจนเล่นดี DYNAMIC ดีและมีความคิด คือคุณป๊อบก็เป็นตัวอย่างนึงที่ไม่ได้เรียนที่ไหน มือกีต้าร์ต่างประเทศหลังๆเนี่ยชอบ SCOTT HENDERSON อัลบั้มที่เป็น BLUES แล้วก็อีกเยอะมากเลย (หัวเราะ)

GT:
5อัลบั้มที่นึกถึงตอนนี้ที่ชอบครับ
อ.ปราชญ์ : BLUES AVENUE ของ JEFF GOLUB,STEVE VAI PASSION&WAREFARE,FRIDAY NIGHT SANFRANCISCO,ALDIMEDLA JOHN MCLAUGHINมี SCOTT HGNDERSON ชุดที่เป็น BLUES มี KAROLE KING ALBUM ลงตัว 

GT:
มีอะไรที่อยากทำแล้วยังไม่ได้ทำบ้างครับ
อ.ปราชญ์: ก็คงเป็นเรื่องของ RECORD COMPANY ที่เหมือน ECM คือคุณเป็นใครก็ได้แต่ขอให้เก่งก็OK และที่พยายามจะทำใหม่ก็ในเรื่องของรายการ TV. นี่ก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผม

GT: สุดท้ายอยากจะฝากอะไรบ้างครับสำหรับมือกีต้าร์ ทั้งเก่าและใหม่
อ.ปราชญ์ : ก่อนจะฝึกอะไรก็คิดก่อนว่าแบบฝึกหัดนั้นๆ ให้อะไรกับเราบ้าง อยากจะฝึก MORNING STAR ฝึกไปเล่นได้ แต่ไม่รู้อะไรเลย เพราะอย่าง MORNING STAR ก็เป็นแบบฝึกหัดอันนึงที่ดี ที่มีMELODY ด้วย เพราะถ้าเค้าเล่นได้ชัวร์กับ METRONOME มันก็เป็นแบบฝึกหัด SIXTEEN NOTE ที่ดี เพราะถ้าเค้าเอาความสามารถตรงนั้นไปใช้กับตรงอื่นมันก็จะง่าย อยากฝึก JAZZ ได้เรื่องอะไรบ้าง คิดคอร์ด คิดSCALE ออก ต้องใช้เวลากับการฝึกให้เป็นประโยชน์ที่สุด


EX. เพลง Input Output


Download เพลง Input - Output

ผมขอขอบคุณอ.ปราชญ์ เป็นอย่างมากที่เปิดใจให้เราได้พูดคุยอย่างเป็นกันเอง อย่างมากที่สละเวลาอันมีค่าของอาจารย์ กับการพูดคุยในครั้งนี้นะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ PRART MUSIC SCHOOL และเหล่าสส. OVERDRIVE ด้วยครับ เจอกันใหม่เดือนหน้าครับ

any comments, please e-mail   webmaster@guitarthai.com (นายดู๋ดี๋)
All Rights Reserved (C) Copyright 2000

guitarlogo.gif (2893 bytes)