GT : ชื่อวง Jazzkamikaze มีที่มาอย่างไร ?
Morten : จริงๆแล้วชื่อนี้มาจากส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มันเป็นชื่อของภาระกิจของนักบินในสงครามโลกครั้งที่สองที่ต้องยอมเสียสละตัวเองเพื่อทำลายศัตรู พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อจุกมุ่งหมายเดียวกัน ซึ่งมีพลังอย่างมหาศาล เราก็เลยดัดแปลงมันมาใช้กับดนตรีที่เราอยากแสดงออกมา และก็อยากให้คนฟังให้รับรู้ถึงดนตรีอีกหนึ่งสไตล์
GT : พวกคุณได้รับอิทธิพลจากนักดนตรีคนไหนบ้าง ?
Morten : ผมค่อนข้างจะมีหลายสไตล์ แต่ที่เป็นหลักเลยก็คือแจ็ส ผมชอบ Herbie Hancock และนอกนั้นก็มีพวกสไตล์ ร็อก ,เทคโน
Daniel : เริ่มจากตอนที่ผมเด็กๆ ผมเริ่มต้นฟัง Joe Satriani แต่ตอนนี้ก็ชอบทุกอย่างที่เป็นดนตรีครับ
Kristor : ผมชอบ Pino Palladino เป็นมือเบส เขามีวิธีการเล่นที่น่าทึ่งมาก และผมก็ศึกษาเรื่องของ จังหวะ ,ซาวด์ และก็มีการศึกษาจากพวกคลาสสิกเช่นกัน และก็หันมาศึกษาแจ็ส
Marius : ผมโตมากับการฟัง Michael Brecker ปัจจุบันผมพยายามฟังทุกอย่างที่เป็นดนตรี งานเพลงเก่าๆ ทั้งหมด และนอกจากฟังงานพวกแซ็กโซโฟนแล้ว ผมยังต้องฟังเครื่องดนตรีอื่นๆทั้งหมดอีกด้วย แล้วผมยังลองเลียนแบบเสียงกีต้าร์ของ The Edge วง U2 ด้วย ผมได้ลองใช้ Sax เล่นกับ เสียง Delay
Anton : ต้องบอกก่อนเลยว่าวงนี้เล่นตั้งแต่แจ็ส ยันร็อก ผมเป็นคนที่ชอบความหลากหลายทางดนตรี และผมก็เริ่มฟังมือกลองอย่าง Jeff Train Watt ,Steve Jordan หรือมือกลองแจ็สก็อย่าง Jeff Ballad

GT : มีวิธีแต่งเพลงอย่างไร ?
Morten : พวกเราเริ่มต้นจาก การแต่งเมโลดีและคอร์ดมาก่อน หลังจากนั้นเราก็เข้าห้องซ้อมเพื่อที่ลองแจมกัน เพื่อให้ได้ท่อนต่างๆ และความสมบูรณ์ของเพลง บางครั้งมันก็อาจจะใช้เวลานานกับเพลงหนึ่งเพลง หรืออาจจะได้เลยเดี๋ยวนั้น และในหนึ่งเพลงเราก็ได้ลองเล่นกันในหลายๆเวอร์ชั่น และอัดเอาไว้เป็น demo เยอะมากๆ และในที่สุดเราก็จะมาเลือกเอาแทร็คที่เราทั้งหมดชอบ เพื่อที่จะนำมาเล่นกันใหม่และอัด เพลงที่สมบูรณ์จริงๆ
Kristor : เพลงทั้งหมด พวกเราเป็นคนแต่งและเรียบเรียงมัน ดังนั้นมันจึงสามารถออกมาได้อย่างที่ต้องการจริงๆ และเราค่อนข้างเน้นถึงการทำงานเป็นทีม และสุดท้ายเพลงมันก็ออกมาคล้ายกับเป็นยี่ห้อ Jazzkamikaze พวกเราทำงานกันเยอะมากๆ แต่มันก็เป็นสิ่งที่ท้าทายมากด้วยเช่นกัน
GT : เมื่อสไตล์วงเป็นวงเน้นเรื่องอิมโพรไวส์ แล้วมีการกำหนดช่วงอิมโพรไวส์ของแต่ละคนอย่างไรว่าควรจะพอแล้วในแต่ละเพลง ?
Kristor : เราไม่เคยมีการจำกัดเลยว่าจะต้องอิมโพรไวส์นานแค่ไหน เราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เยี่ยมมาก แล้วเราไม่มีการดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น ทุกอย่างปล่อยไปอย่างที่ต้องการ
Marius : พวกเราพยายามทำงานให้แตกต่างจากแจ็สแบบเดิมที่ มีการผลัดกันอิมโพรไวส์ทั้งวง บางเพลงอาจจะให้เป็นคนเดียวโซโล่เลยก็ได้
Morten : มันคล้ายกับการเล่าเรื่องที่ต่อเนื่องระหว่างท่อน A มาต่อกับ ท่อน B เราอยากให้การเล่าเรื่องหนึ่งเรื่องออกมาเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ที่สุด และเราก็ไม่เคยกำหนดว่าเพลงหนึ่งเพลงจะมีความยาวขนาดไหน หากคุณฟังเพลงแจ็ส คุณก็จะรู้สึกเช่นนั้น ทุกอย่างปล่อยไปตามอารมณ์ แต่กับในอัลบั้มชุดใหม่เราอาจจะต้องมีการกำหนดเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

GT : แล้วแต่ละเพลงมีการกำหนดอย่างไรว่า เพลงนี้คนนี้ต้องโซโล่ ?
Morten : เราดูจากการเล่นที่อัดไว้จากครั้งแรก ว่าเพลงนี้น่าจะเหมาะกับใคร เราก็จะมาลงความเห็นร่วมกัน
GT : หลังจากที่คุณมีโครงเพลงแล้ว คุณมีการเตรียมตัวกันล่วงหน้าหรือเปล่า หรือว่าลุยกันในห้องอัดเลย ?
Kristor : เราไม่มีการซ้อมล่วงหน้าเลย เราจะใช้วิธีซ้อมกันในห้องอัด แล้วก็อัดมันเอาไว้ แล้วนำสิ่งที่เล่นออกไป มานั่งฟัง กัน แล้วค่อยแยกย้ายกันไปคิดต่อว่า แต่ละคนควรทำอะไรในหน้าที่ของตัวเอง เพื่อให้มันเป็นเพลงที่สมบูรณ์ขึ้นกว่าเก่า
Morten : อีกอย่างนึงเช่น Danial กลับไปทำไลน์กีต้าร์มา ผมก็ไปคิดไลน์เปียโนมา แล้วพอเรามาเล่น Marius ก็จะบอกเราว่า ควรจะเล่นมากกว่านี้อีกหน่อย หรือคนอื่นในวงก็เช่นกัน เราจะคอยดูและบอกกันตลอดเวลา
GT : ท้ายสุดแล้วเมื่อคุณคิดว่าการเรียบเรียงเพลงออกมาสมบูรณ์แล้ว คุณอัดสดพร้อมกันหรืออัดเจาะที่ละชิ้น มีการ Edit ที่หลังหรือเปล่า ?
Kristor : อย่างในอัลบั้ม Mission l และ Travelling At The Speed Of Sound เราทำออกมาให้เหมือนเพลงสไตล์แจ็สที่ได้ความสด แต่ในอัลบั้มชุดใหม่เราจะมีรายละเอียดของเครื่องดนตรีมากขึ้น จะมีเรื่องของการร้องเข้ามา และมันจะมีตั้งแต่ความเป็นป็อป,ร็อก,และแจ็ส และซาวด์ของงานชุดใหม่จะดูยิ่งใหญ่ และได้ยินรายละเอียดของเครื่องดนตรีหลายชิ้น เล่นพร้อมกัน ซึ่งบ้างครั้ง Marius อาจจะวางแซ็กแล้วก็มาเล่นกีต้าร์ หรือเคาะเครื่องเคาะต่างๆ ซึ่ง ฟังแล้ว อาจจะดูเหมือนเรามี สมาชิกถึง 6 คนเลยก็ได้ (หัวเราะ) แต่เราก็ยังคงอัดสดเหมือนเดิม
GT : ในอัลบั้มทั้ง 2 ชุดนั้น ค่อนข้างมีความแตกต่างเรื่องซาวด์ ในชุด 2 ดูเหมือนว่า จะฟังแล้วได้ความรู้สึกของการเล่นสดมากขึ้น พวกคุณมีวิธีการอัดอย่างไร ?
Kristor : จริงๆแล้วไม่ได้มีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อนเลย เพียงแต่เรา เปลี่ยนห้องอัด มาที่ New York แล้วเราก็จ่ายเงินค่อนข้างมาก เพื่อที่จะได้ใช้อุปกรณ์ที่ดีขึ้นกว่าห้องอัดที่เราใช้ในชุดแรก
Marius : แต่ในส่วนตัวผมแล้วนะ ผมคิดว่างานชุดแรกได้ความสดของการเล่นมากกว่า นั้นเพราะเป็นครั้งแรกของพวกเรา เมื่อเราคิดอะไรได้เราจะใส่ลงไปอย่างเต็มที่ แต่พอมาชุดที่ 2 เรามีการพัฒนาในหลายๆเรื่อง ทั้งการเล่นและก็สไตล์ที่เปลี่ยนไป
GT : แต่ละคนมีวิธีการซ้อมกันอย่างไร ?
Morten : วิธีฝึกของผมคือ ผมฟังงานของมือเปียโนเยอะมาก และก็แกะลูกโซโล่ ซาวด์ แต่มาจนถึงตอนนี้สิ่งที่ผมต้องทำคือ การแต่งเพลง ซึ่งต้องเรียนรู้ตรงนี้ให้มากกว่าเดิม การเล่นเปียโนของผม ในแต่ละครั้งนั้นคือการที่ต้องมีอะไรซักอย่างออกมา ไม่ว่าจะเป็น เมโลดีหรืออะไรก็ตาม
Daniel : ผมเรียนรู้จากเพลงคลาสสิกเยอะมาก มันสอนให้ผมรู้จักเรื่องของ ดนตรีมากขึ้น
Kristor : เครื่องเล่นของผมคือดับเบิ้ลเบส สิ่งที่ผมต้องฝึกคือ การฝึกซ้อมกับเพลงเร็วๆ มันเป็นเรื่องของสรีระที่ต้องพัฒนา เพราะวงเองก็เล่นกันค่อนข้างเร็วและหนัก ดังนั้นสิ่งที่ผมต้องฝึกคือเรื่องของกำลังและความเร็ว รวม ถึงเทคนิกต่างๆที่มาเป็นองค์ประกอบให้วงสมบูรณ์
Anton : ผมฝึกเพอคัสชั่นมากก่อน และผมก็ฝึกมานด้วยตัวเอง ประมาณ 7 ปีที่แล้วผมก็ได้เข้าร่วมเล่นและศึกษาการเล่นเพอคัสชั่นในวงคลาสสิก และมันก็ดูไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ที่ จะฝึกคนเดียว แต่พอได้เข้ามาร่วมเล่นในวงนี้ มันคือการเล่นที่ต้อง สื่อสารกันตลอดเวลา สิ่งนี้คือสิ่งที่ผมฝึกอยู่ และผมก็ฟังแจ็สมากขึ้น มันทำให้ผมเรียนรู้การที่จะเล่นร่วมกับผู้อื่น
Marius : เรื่องที่ผมฝึกคือเรื่องของซาวด์ และเทคนิค รองลงมา จังหวะด้วยผมพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่นำมาใช้กับการโซโล่กับคอร์ดต่างๆ เป็นเรื่องของการฟังมากขึ้น
GT : เมื่อเครื่องดนตรีคุณคือ sax ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทเมโลดี ซึ่งไม่สามารถเล่นคอร์ดได้ คุณมีวิธีการฝึก เสียงประเภทเท็นชั่น และได้ยินเสียงพวกนี้ได้อย่างไร ?
Marius : นั้นก็เพราะผมสามารถเล่นเปียโนได้ ผมจึงได้ยินเสียงของคอร์ดหรือฮาร์โมนีใหม่ๆ ซึ่งบางครั้งผมเองก็มีการเล่นแซ็กกับ Delay เพื่อให้เกิดซาวด์ใหม่ๆด้วย

GT : คุณบอกว่าใช้ delayเข้ามาในเพลง คุณใช้เป็น Stomp Box ของ อะไร ?
Marius : Yamaha Magic Stomp และใช้กับ Volume Pedal
Morten : Magic Stomp ของผม เขายืมไป (หัวเราะทั้งวง)
Marius : เหตุผลที่ผมใช้อย่างนี้เพราะผมได้ไอเดียจาก The Edge วง U2 ผมพยายาม เลียนแบบการใช้เสียงเหล่านี้จากเขา
Morten : คุณจะได้ยินเสียงแซ็กของเขาที่ไม่ได้เป็นแค่เสียงโซโล่อย่างเดียว จะได้ยินแซ็กเล่นคอร์ดหรือฮาร์โมนีต่างๆ เขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งของ ทึ่มเซ็กชั่นของวงได้

GT : คุณใช้เสียงของ Delay เป็นหลัก ?
Marius : ใช่ ..ผมแยกเป็น 2 ชาแนล ใช้เป็นเสียงคลีน ของแซ็กโซโฟน และอีกหนึ่งชาแนลคือใช้สำหรับเสียงของ Delay
GT : ในส่วนของ การโซโล่ที่เป็นไลน์เอาด์ ของแซ็กโซโฟนและก็กีต้าร์นั้น คุณมีวิธีคิดอย่างไร ?
Danial : เราไม่เคยคิดอะไรมาก นอกจากเล่นมันอย่างเดียว อิมโพรไวส์ไปเรื่อยๆ มันคือการคิดและเล่นแบบแจ็ส
GT : พวกคุณมีมุมมองเกี่ยวกับวงการแจ็สทั้งในยุโรปและอเมริกา ?
Morten : ในมุมมองของพวกเราก็คือว่า แจ็สในฝั่งยุโรปนั้นจะมีความเป็นคลาสิกผสมอยู่มาก ส่วนในอเมริกานั้นก็มีมาตราฐานและแบบอย่างที่ดีดั้งเดิมสืบต่อกันมา
Kristor : แจ็สก็ยังเป็นดนตรีที่มีกลุ่มคนฟังน้อยกว่าดนตรีป็อปอยู่ แต่สำหรับนักดนตรีรุ่นใหม่ๆก็หันมาสนใจแจ็สกันมากขึ้น และเป็นเรื่องที่นักดนตรีควรจะสนใจด้วย ก็เพราะส่วนหนึ่งก็มาจากเรื่องของการเล่น และเทคนิคต่างๆ และเองของอิมโพรไวส์ เพราะมันจะสร้างความครีเอทในการเล่นของดนตรี หรือการคิดทำงานเพลงได้เป็นอย่างดี และในเวลาเดียวกันคุณก็ยังสามารถที่จะสนใจดนตรีๆต่างๆที่อยู่ใน MTV และยังสามารถมนำมันมาผสมรวมกันได้อีกด้วย อีกอย่างเช่นคุณไปเที่ยว คุณสามารถหาแจ็สที่ชั้นดีทั้งใน New York ซึ่งมีให้ฟังกันอยู่ตามคลับ ซึ่งมีนักดนตรีเก่งๆเยอะมาก รวมถึงในญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน เวลาอาจจะผ่านไปซัก 20 ปี แล้วแต่เพลงแสตนดาร์ดอย่างนี้ก็ยังมีให้ฟังกันตลอดเวลา แต่ในมุมของพวกเรา เราอยากนำเสนอมุมมองใหม่ๆให้กับคนฟังด้วยความเป็นโมเดิร์นแจ๊ส
Guitathai.com ขอขอบคุณ
พี่ตี๋,คุณปิ๊กและคุณษา แห่ง Hitman เป็นอย่างสูงที่ให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกทุกอย่าง
อ.ปราชญ์และพี่หล้า สำหรับ Overtone สถานที่ในการถ่าย Clip ครับ