GT: พี่เริ่มเรียนกีต้าร์จริงๆบ้างหรือเปล่า
พี่ตู่ : เริ่มเรียนเหรอ พี่ได้เรียนกีต้าร์จากคนผิวดำที่ชื่อ Smith เป็นคนเล่นดนตรีเปิดหมวก เป็นคนผิวดำ เขาเล่นแนวบลูส์สไตล์ ผมไปเจอเขาตอนผมเรียนอยู่ประมาณเกรด 5 เขาเล่นอยู่ที่ Central Park ที่ New York คือแบบเจอเขาก็จะซื้อเบอเกอร์ซื้ออะไรไปให้เขา แล้วก็ขอวิชาเขา เขาก็จะสอน open tuning แบบนี้นะ การเล่นสไลด์ เล่นฟิงเกอร์สไตล์แบบนี้นะ นิ้วโป้งต้องวางแบบนี้นะ ยูลองไปฝึกดู เขาก็สอนผมมา เนี๊ยะดนตรีมันก็เหมือนกับเด็ก เด็กที่พึ่งเกิด แล้วก็หัดพูดก่อน ก่อนที่จะมาหัดเขียนพูดได้แล้วเรารู้แล้วจึงมาหัดเขียน จึงเริ่มมาหัดเขียนโน็ต หัดที่จะพูดก่อน นั่นคือนิโกรที่สอนผมมา
GT: สอน open string อย่างเดียวเลยหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : ไม่ครับ พวกแสตนดาร์ด Tuning ด้วย เขาจะสอนคือ ใช้เวลาคุยส่วนใหญ่ คุยกันซักพักนึง ผมก็วิ่งไปซื้อน้ำซื้อเบอเกอร์มาให้เขา
GT: เหมือนกับพี่ เดินไปแล้วสะดุดตาเขา ที่เล่นเก่งมากๆ
พี่ตู่ : ใช่ เขาเก่งมาก เขานั่งเล่นอยู่คนเดียว คือมีทั้งดอลล่าห์และเงินเซ็นต์เต็มไปหมดเลย แล้วก็จะมีคนแก่คนนึงร้อง ร้องเป็นบลูส์สไตล์
GT: หลังจากที่พี่ได้เรียนกับเขามาแล้ว พี่มีการแบ่งเวลาซ้อมอย่างไรบ้างครับ
พี่ตู่ : สมัยก่อนเนี่ยะคือชั่วโมงการเรียนของฝรั่ง คล้ายๆกับของมหาลัยในปัจจุบัน มีในแต่ละวันเรียนมากน้อยไม่เท่ากัน แล้วช่วงเวลาที่ว่าเนี่ยะผมก็จะเขาไปใน music school เป็นส่วนหนึ่งของทางไฮสคูล คือเข้าไปนั่งเล่น หยิบกีต้าร์มาเล่น ถ้าว่างตัวไหนเราก็จะหยิบมาเล่น ก็คือชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตรงนั้นมากกว่า
GT: แล้วมีการซ้อมในส่วนของทฤษฎีด้วยหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : อ๋อ ไม่มีทฤษฎีเลย รูปแบบที่เขาสอนมา เป็นฟิงเกอร์สไตล์ที่เป็นเพลงๆไป เพลงนี้เขาเล่นแบบนี้นะ เราก็จะมานั่งดูว่ามีความเป็นมาเป็นยังไง
GT: พอได้เรียนรู้จากตรงนั้น แล้วพี่มีโอกาสได้เล่นดนตรีกลางคืนหรือว่าเล่นโชว์ไหมครับ
พี่ตู่ : ยังครับ ตอนนั้นยัง ที่แรกตอนผมโชว์จริงๆเลยคือตอนปริญญาตรี แบบโชว์ที่มหาลัย ก็เรียนที่นู้นเหมือนกัน
GT: เพลงที่พี่ได้เรียนรู้มานี่ เป็นเพลงของใครบ้างครับ
พี่ตู่ : Chet Attkins , Michael Hedges และก็พวกเพลงร้อง Jim Croce , John Denver และก็เพลงอะไรที่มันเกี่ยวกับอะคูสติกทั้งหลายแหล่ครับ แล้วก็มีหลงๆไปฝึกพวก Joe พวกแบบ sweep อยู่หลายปีเหมือนกัน เพราะว่ามันเป็นจุดเด่นของวัยรุ่นไง
GT: แต่เป็นการเล่นกีต้าร์ไฟฟ้า
พี่ตู่ : ใช่ ก็เล่นไฟฟ้าเหมือนกัน
GT: แต่เริ่มต้นจากกีต้าร์อะคูสติก
พี่ตู่ : ใช่ครับ
GT: ทำไมพี่ถึงหันมาสนใจกีต้าร์อะคูสติก ทั้งที่หลายๆคนชอบมองและสนใจกีต้าร์ไฟฟ้าก่อน
พี่ตู่ : มันเป็นอะไรที่ หนึ่ง หยิบฉวยได้ง่าน สองคือไม่มีอะไรวุ่นวาย สมัยก่อนเนี๊ยะ electric กีต้าร์เนี๊ยะ เรามองไปทางไหนแทบจะลำบากมาก นอกจากจะอยู่ในสเตจ หรือว่าอะไรก็ตาม สมัยก่อนกีต้าร์อะคูสติกเนี๊ยะ ไปไหนก็เล่นได้ แต่สมัยนี้ โอ้โห มีแอมป์เล็กๆ พกได้ Marshall อย่างเนี๊ยะ
GT: พี่ได้รับอิทธิพลการเล่นมาจากใครบ้างครับ
พี่ตู่ : เยอะมาก เลยครับ ผมเป็นคนที่ไม่เกี่ยงแนว คือทุกแนวผมฟังหมด เดธ , ฮาร์ดร็อก , สปีด , แจ็ส , เร็กเก้ , บลูส์ อะไรทุกอย่างที่เป็นดนตรี ก็พยายามจะเสพ และพยามยามจะถาม จะมีคำถามให้กับ แนวเพลงทุกแนวเพลงว่า มันมีต้นสายปลายเหตุมายังไง ว่าทำไมมันเป็นแนวนี้ อะไรอย่างนี้ คือแบบจะหาสาเหตุก่อน
GT: แต่ก็ยึด ฟิงเกอร์สไตล์เป็นหลัก
พี่ตู่ : ใช่ แล้วก็เอามันมาเล่นในแบบ ฟิงเกอร์สไตล์
GT: ปัจจุบันนี้พี่ทำอะไรบ้างครับ
พี่ตู่ : อ๋อ ผมเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล อยู่บริษัทนำเข้าเคมีภัณฑ์ ที่นำมา ประกอบเป็นพลาสติกต่างๆ จะเป็น พลาสติกจะแบ่งเป็นหลายเกรด อย่างคอลโซลรถเนี่ยะจะมีความยืดหยุ่นสูง เวลาเกิดอุบัติเหตุจะใช้ เคมีภัณฑ์ ระดับเกรดทริปเปิ้ลเอ ก็จะเป็นคนนำเข้า เพราะบ้านเรายังทำไม่ได้
GT: แล้วพอกลางวันต้องทำงาน กลางคืนต้องเล่นดนตรี พี่มีการซ้อมอย่างไรบ้างครับ เวลามันน้อยมากเลย
พี่ตู่ : พูดตรงๆเลยนะ เวลาซ้อมของผมคือ หนึ่ง เวลารถติด คือฟังเพลง คือฟังเยอะๆเลย ฟังเยอะๆ เพลงไหนที่เรารู้สึกว่าเล่นติดเล่นขัด ก็คือเราจะฟัง ฟังซ้ำๆมันอยู่อย่างนั้น จะ repeat มันอยู่อย่างนั้น แต่เวลาซ้อมจริงๆ อาจจะมีแค่วันเสาร์หรือวันอาทิตย์ เท่านั้นเอง ที่แบบเราจะเอาเพลงใหม่เข้ามา แต่คือมันจะใช้วิธีการฟัง ฟังเยอะๆเอา แล้วก็ขึ้นมาเล่นลองผิดลองถูกข้างบนนี้เลย มันก็เลยกลายเป็นว่า ผมจะเล่นไม่เหมือนชาวบ้าน โดยจะเล่นออกไปแตกต่าง เพราะบางทีเรื่องของเรื่อง “ มันลืม ” มันก็เลยอาศัยว่า เฮ้ย โน็ตตัวนี้มันน่าจะผ่านได้ ก็เลยเอาตรงนี้เข้ามาประกอบ ตรงนี้เข้ามาเล่น อะไรอย่างนี้
GT: เหมือนเป็นการใช้หูและความคุ้นเคย พอใช้บ่อยๆมันก็จำได้
พี่ตู่ : ใช่ครับ
GT: แล้วอย่างเสาร์อาทิตย์ที่พี่ซ้อม คือพี่ต้องทำหลายๆอย่างในวันนึงเวลาคิดอะไรใหม่ๆ พี่ต้องใช้สมาธิอย่างมาก
พี่ตู่ : ใช่ครับ สมาธิต้องเยอะ คือแบบใครอย่ามายุ่งกับผมเลย
GT: ใช้เวลากับมันอย่างมีวินัย
พี่ตู่ : ใช่ครับ คือผมจะแบ่งๆ อย่างชีวิตผมคือตื่นเช้ามาทำงาน เข้างานไม่เกิน แปดโมงครึ่ง เลิกงาน maximum สูงสุดคือไม่เกิน ห้าโมง แต่ปรกติ เวลาของบริษัทจริงๆคือ สี่โมง แต่ผมต้องมีการดูลูกน้องเทรนลูกน้องอะไรอย่างนี้ คือมาเริ่มสต๊าร์ดดนตรี ไม่เกินสองทุ่ม บางทีก่อนหน้านี้ในระหว่างที่เลิกงาน แบบช่วงที่ก่อนมาเล่นดนตรี ถ้ามีงานห้องอัด ถ้าผมว่างผมก็จะไปรับงานห้องอัด และถ้าเล่นดนตรีเสร็จถ้ามีงานห้องอัดค้างผมก็จะไปต่องานห้องอัด ซึ่งผมเป็นคนนอนน้อยอยู่แล้ว นอนแค่ 3 – 4 ชั่วโมงพอ ทำอย่างนี้มาหลายปีมาก แรกๆก็ไม่ไหวเหมือนกัน
GT : ที่ office รู้ไหมครับว่าพี่เล่นดนตรีด้วย
พี่ตู่ : มีครับ แต่น้อยคนมาก บางทีแบบลูกค้าที่มาติดต่องานกันเนี่ยะ เมื่อเช้าพึ่งติดต่อกัน ตอนเย็นก็มาเจอกันที่ร้าน Park เนี่ยะ เค้าก็บอก ผมคุ้นๆหน้าคุณนะ เขาไม่นึกว่าเราเป็นนักดนตรี ผมก็บอกว่าเมื่อเช้าเราพึ่งคุยเรื่องงานกันเรื่องเม็ดพลาสติก เค้าก็เลยจำได้
GT : พี่เริ่มเล่นดนตรีกลางคืนได้อย่างไรครับ หลังจากกลับมาจากเมืองนอก
พี่ตู่ : ตอนแรกผมไปเชียงใหม่ คือผมเป็นประเภท บ้าเรียน ไม่รู้เป็นอะไรอยากรู้อะไรต้องเรียน ผมพยายามจะเอ็นเข้า ม . ช . ไอ้คณะเกี่ยวกับงานศิลปะ ผมรักงานศิลปะ ก็ไม่ติดนะ ไม่ติดม . ช . แต่มาโอนเกรดเทียบกับเพาะช่าง ศิลปากรณ์ติด โอเคเราเรียน เรียนแล้วก็รู้สึกว่า เราพอแล้ว เราก็ออก ก็ยังไม่ได้แสดงอะไร จนช่วงนึงไปเชียงใหม่ ได้ไปที่ร้าน River Side ก็ไปเริ่มต้นที่นั่น
GT : ก็เดินเข้าไปขอออดิชั่นหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : ไม่ ไม่ มีรุ่นพี่เล่นอยู่แล้ว รุ่นพี่เค้าประสบอุบัติเหตุ ขาหัก เขายังปวดๆขาอยู่ก็เลยก็เลยให้ผมไปเล่นแทน นั่นคือครั้งแรกที่ผมเล่นบนเสตจ กับงานดนตรีที่เชียงใหม่
GT : แต่ว่าระหว่างเรียนก็ยังนั่งซ้อมอยู่ทุกวัน
พี่ตู่ : คือขาดมันไม่ได้ ผมมีคติอย่างนึงว่า เอ่อ “ มนุษย์เนี่ยะ โกหกเราได้ แต่ว่าเรายังโกหกตัวเราเองไม่ได้ ดนตรีมันไม่เคยโกหกเรา เพราะเราจะเล่นได้หรือไม่ได้เนี่ยะ มันจะออกมาจากเสียงดนตรีนั่นเอง ” เพราะฉะนั้นเนี่ยะผมจะไม่โกหกตัวเองเลยว่า เฮ้ยได้แล้ว ได้แล้ว พอแล้ว จะบอกตัวเองว่ายัง อีกนิดนึง คือเสียงมันฟ้องว่ายังไม่ได้ ก็จะนึกถึงคติจะเป็นตัวที่คอยกระตุ้นว่า เฮ้ยอย่าหยุดนะโว้ย หยุดก็คือแบบหลอกตัวเอง
GT : ทุกวันนี้ยังฝึกเรื่องเทคนิคอะไรหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : เอ่อเทคนิคเนี่ยะ บ้างครั้งผมจะหาเอาจากธรรมชาติ อย่างบางทีเสียงที่ได้ยินจากเพลงแนวต่างๆ เสียงสแครชแผ่น เสียงที่มันเป็นโทนที่สูงมากๆ ก็ยังหาเทคนิคเข้ามาเพิ่มเติมอยู่เสมอ บางทีเราจะเจอในเวลาที่เราเล่นซน เล่นซนบนเวที บางทีมันบังเอิญเกิดขึ้นมาเอง เราไม่ได้ตั้งใจ พวกนี้มันจะออกมาบ่อยมาก เทคนิคบางอย่างมันออกมาได้ยังไง มันเป็นความบังเอิญด้วยและก็กล้าทำบนเวที
GT : ย้อนกลับมาตอนที่พี่ได้กลับมาเมืองไทยแล้ว พี่ได้มีการเรียนกีต้าร์เพิ่มเติมที่ไหนหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : ไม่เคยเลย ไม่เคยเรียนวิชาดนตรี จากที่ไหนเลย เอ่อ .. มาเมืองไทย ร้าน REX เป็นอาจารย์ของผมตั้งแต่กลับมาเมืองไทยก็ว่าได้ เพราะมีเพื่อนผมแนะนำ สมัยนั้นจะมีวีดีโอน้อยมาก ผมก็จะบอกร้อนว่าช่วยสั่งมาหน่อยเจ๊ เนี่ยะไอ้แบบนี้ สไตล์นี้สั่งมาดิ เดี๋ยวมันต้องมีคนเล่นน่า เดี๋ยวก็มีคนฟัง ก็เริ่มสั่งเข้ามาเยอะขึ้น
GT : พูดง่าย อาจารย์พี่ก็คือ มือกีต้าร์ระดับโลก
พี่ตู่ : ( หัวเราะ ) ใช่ครับ ประมาณนั้นครับ แต่เขาไม่ได้มาสอนผมด้วยตัวเองนะ
GT : ในขณะที่พี่กลับมา เพลงอย่าง Tommy หรือ Michael Hedges ยังไม่บูมซักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นวิธีการฝึกมันย่อมเป็นเรื่องยาก พี่มีวิธีที่เล่นของพวกเขาได้อย่างไรครับ
พี่ตู่ : อ๋อ ! ตอนแรกเนี่ยะ สมัยที่เมืองไทยยังไม่มี Tommy เลย คนยังรู้จักน้อยมาก เอ่อ เพื่อนผมเนี่ยะสมัยที่เรียนอเมริกา เขาก็อยู่ที่ Sydney เขาก็ส่งพัสดุมา แล้วก็บอกว่ายูเอาเทปนี้ไปฟังนะ นี่คือ Tommy Emmanuel เขาเจ๋งมาก พอผมฟังผมก็รู้สึกว่าเขาเจ๋งกว่า Chett Attkins เจ๋งกว่าอะไรอีก แบบพยายามจะหาข้อมูลของเขาให้มากที่สุด ร้านเน็ตอะไรก็ยังไม่มี ก็เลยอาศัยเพื่อนคนนี้ ผมยังโชคดีไง มีเพื่อนที่อยู่ Sydney คอยคุยกันนะว่า เอ่อ เราอยากได้แบบนี้หาให้ได้ไหม สมัยก่อนโน๊ตก็ยังไม่มี หาได้แต่เทปและซีดี และซีดีสมัยก่อนแพงมาก และก็เป็น เลเซอร์ด้วย จำได้ตอนนั้นเป็นเลเซอร์ดิส
GT : พี่ก็แกะด้วยหูมาตลอด
พี่ตู่ : หูตลอดครับ พอตอนหลังมามีโน็ตกับแท็ปของ Tommy มา ผมมาเปิดดู ก็โฮ้ !! ผิดไปเยอะเลยนะเนี่ยะ คือเราได้แต่แค่ฟิล และก็โน็ตบางตัวมันหายไป บางเพลงโน็ตบางตัวมันซ่อนลึกมาก บางทีเราต้องแบบลักไก่เอาบ้างอะไรอย่างเนี๊ยะ ก็คือแบบตามความเป็นจริง
GT : ทุกวันนี้ยังเล่นโดยวิธีแกะด้วยตัวเองหรือว่าเล่นตามแท็ปครับ
พี่ตู่ : เอ่อ ตอนนี้นะครับ ตอนนี้คือ วิธีแกะเพลงของผมเนี่ยะ ถ้าผมได้แท็ปมา พร้อมกับแผ่น ผมจะปิด จะฟังจากหูก่อนคร่าวๆว่าเล่นประมาณนี้นะ น่าจะเป็นอย่างนี้นะ แล้วก็ลองเช็คดู เริ่มแกะเองจนจบแล้วก็มาเช็คดูว่าตรงไหนผิดหรือเปล่า นั้นคือวิธีการแกะของผม
GT : แล้วพี่มีวิธีการฟังอย่างไร กับเพลงเช่นนี้ เช่นต้องเป็นคอร์ดนี้ ตำแหน่งนี้
พี่ตู่ : ถ้าเป็นคอร์ดเลยผมไม่ชัวร์ ผมพูดตรงๆว่าไม่ชัวร์ แต่ถ้าฟังเป็นคีย์ แล้วก็ทรานโพสคีย์ไปแบบไหน ไอ้ช่วงนี้ไปยังไง เออฟังออก
GT : แล้วกับปัญหาในการเล่น open string ของพวกเขา พี่มีวิธีฟังอย่างไรว่ามันตั้งสายยังไง
พี่ตู่ : ทุกๆคนที่เล่นฟิงเกอร์สไตล์ ที่เป็น open tuning เนี่ยะ มันจะมีทริคของเขาอยู่อย่างหนึ่งคือ ทุกคนจะมีอยู่ในเพลงก็คือ เสียงฮาร์โมนิกเป็นสายเปิด คริ้ง .. ง ง ขึ้นมาปุ๊ป เสียงนั้นแหละผมจะจับเอา จับจากฮาร์โมนิก แล้วก็ถ้าเสียงเบส ผมจะเอาเสียงเบสที่ low ที่สุดในเพลงนั้น แปลว่า ถ้าเสียงบนสุดมัน low ที่สุดแล้ว สมมติว่าเป็นเสียง c ก็คือ เอ้ !! ทำไมเพลงนี้มันเป็น c เราก็จะไล่ตัดมาว่ามันจะเป็นอะไร แต่บางทีจะเจอปัญหาอย่าง Don Ross ศิลปินชาวแคนาดา Don Ross เนี่ยะเค้าจะมีกีต้าร์แบบ สั่งทำพิเศษคือเป็นกีต้าร์ 7 สาย สายข้างบนเป็น D อย่างเนี๊ยะ ต่ำมาก เฮ้ย !! มัน เล่นยังไง เป็นปัญหาตัวสุดท้าย ก็ไปดูในเน็ต อ๋อเขามีกีต้าร์ 7 สาย อย่าง Michael Hedges เงี๊ยะ ทำไมเสียงเยอะมาก ก็เป็นกีต้าร์สั่งทำ เป็นฮาร์ปอยู่ในตัว นี่คือปัญหาของการที่แกะเพลง คือจะไม่เเม่นเรื่องพวกนี้ จะเกิดความสงสัย แต่ถ้ามันยากมากๆ ผมจะตีความไว้ก่อนเลยว่า มันต้องสั่งทำมาพิเศษ
GT : พอแกะเพลงพวกนี้มากๆ แบบแกะไม่ได้ซักที ต้องเกิดอาการท้อบ้างแน่นอน พี่มีวิธีแก้ไขจุดตรงนี้อย่างไรครับ
พี่ตู่ : แกะไม่ได้ซักที ผมจะพักก่อนเลยครับ แล้วก็ฟังมันหลายๆรอบ ฟังมันซ้ำๆเลย ให้มันลืมไปก่อนเลยว่าเราจะแกะเพลงนี้ คือฟังให้มันเข้าไปข้างในก่อน แล้วค่อยมาเริ่มต้นใหม่ มันจะทำให้เราฟังได้ชัดเจนขึ้นแล้วก็ง่าย
GT : เพลงอย่างฟิงเกอร์สไตล์ มันค่อนข้างจะคาบเกี่ยวกับดนตรีสไตล์แจ็ส มีศิลปินสไตล์นี้ที่พี่ค่อนข้างสนใจ ที่อยากศึกษาและลองเล่นดู
พี่ตู่ : ถ้าเป็นแจ็สเนี่ยะ Martin Taylor แล้วก็ Truck Andress ซึ่งผมทึ่ง Andress มาก ส่วน Joe Pass ในภาคฟิงเกอร์สไตล์ของเค้า เค้าก็เจ๋งมาก ซึ่งผมก็เล่นพวกนี้อยู่เหมือนกัน ศึกษาพวกเขาอยู่เหมือนกัน แต่ ณ ด้วยการที่เราต้องมา on stage เราจะเล่นเพลงพวกนี้เยอะมากไม่ได้ คือผมจะคละๆกันไปในแต่ละวัน
GT : แต่ทุกวันนี้ก็ยังมีการนำมาเล่นอยู่
พี่ตู่ : ใช่ ยังมีการเล่นอยู่ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคัพเว่อร์ซะส่วนใหญ่
GT : ย้อนกลับไปตอนที่พี่ต้องกลับจากเชียงใหม่ มาที่กรุงเทพ พี่ก็กลับมาเล่นดนตรีหรือว่าทำงานครับ
พี่ตู่ : ช่วงนั้นก็ยัง เขวๆอยู่ ก็ทำทุกอย่าง เมสเซ็นเจอร์ เด็กเสริพ คือยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นกับชีวิต คือทุกคนจะต้องมีช่วงเวลานี้อยู่กับชีวิต ก็ลองไปทำอย่างนั้นอย่างนี้ดู ขับรถบ้างอะไรบ้าง สุดท้ายก็เอาไอ้สิ่งที่เรารักเนี่ยะมาทำมาหากิน
GT : พอคิดว่าจะเล่นดนตรีกลางคืน พี่ก็เริ่มเดินหาร้านออดิชั่นหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : อ๋อ ไม่ครับ พอดีมีเพื่อนตอนที่ผมไปเรียนเพาะช่างเนี่ยะ ในยุคๆนึงประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว เพลงเพื่อชีวิตจะดังมาก แล้วผมเป็นคนเล่นเพลงสากล แล้วก็แบบ หากินลำบากหากินยาก ก็เลยแบบ เออ ขอนะ ขอผมแค่ไปเล่นเฉยๆได้ไหม อย่างร้านตะวันแดง ร้านเปลือกไม้ไทย สมัยก่อน
GT : เล่นเพื่อชีวิตด้วย
พี่ตู่ : ไม่ๆ ผมจะเล่นเพลงบรรเลง แล้วถ้าเขาอยากจะให้มีคนร้อง เขาก็จะให้มาร้องด้วย ก็เล่นให้เขา
GT : แน่นอนครับพี่ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเพลงบรรเลงอย่างนี้กับคนฟัง พี่มีวิธีแก้ปัญหายังไงบ้างครับ เช่นบางคน แค่เพลงบรรเลงเพลงเดียวยังเบื่อแล้ว
พี่ตู่ : ผมจะเอาเพลงที่เขาติดหูมาคัพเว่อร์ สมมติว่าเพลงบรรเลง เอาง่ายๆ อย่างเพลงพระราชนิพนธ์ก่อน ก็เริ่มเป็นเพลงฮาๆ โดเรม่อน เพลงแบบอะไรที่คนเขาติดหู ให้เขาซึมซับว่าเราเล่นบรรเลง แล้วก็ร้องไปซักเพลงสองเพลงแล้วก็เล่นเพลงบรรเลงอีก สลับกันไป ให้เค้าซึบซับว่าในแต่ละเพลง ไม่ว่าจะเป็นเพลงร้องของเรา เราก็เอาท่อนร้องมาทำเป็นบรรเลงซักช่วงนึง คือเพลงร้องผมหนึ่งเพลงเนี่ยะมันจะยาวมาก ผมจะเอาไอ้ส่วนคัพเว่อร์เป็นบรรเลงเนี่ยะเข้าไปใส่ท่อนโซโล่แทนของเขา ซึ่งจะกลายเป็นว่าเพลงนั้นยาวแต่มีท่อนร้องให้เขาร้องตามได้ด้วย คนที่มาฟังผมเขาจะซึมซับเขาจะรู้ว่า เฮ้ยไอ้นี่เล่นเพลงบรรเลงด้วย และอีกอย่างคนที่เขาพามาก็จะสามารถร้องตามได้ด้วย อย่างเพลง อัสนี เพลงกบ ทรงสิทธิ์ เพลงอะไรอย่างเงี๊ยะผมก็เอามาทำเป็นบรรเลงหมดเลย แต่ก็ใส่เนื้อเพลงไปให้เขาร้องตามได้ซักท่อนหนึ่ง หรือว่าแบบ บรรเลงมาตั้งนานแล้วก็ร้องท่อนฮุคซักท่อนหนึ่ง แล้วก็จบ บรรเลงต่ออีกนิดนึง เขาก็แฮปปี้แล้ว เพราะได้ร้อง
GT : แต่ก็มีการนำเพลงอย่าง Chett Attkins มาเล่นอยู่
พี่ตู่ : ใช่ บางทีก็เอามาแทรกเพลงร้องนั้นเลย และผมก็ได้สนุกกับการได้เล่นแบบนั้น สนุกในการที่แบบทำให้คนฟังงง อะไรอย่างนี้ เฮ้ยมันจะมาไม้ไหน แต่ละวันจะเล่นไม่เหมือนกันเลย เพราะบางที จะมีอย่างเพลงของ สุเมธ & เดอะ ปั๋ง เพลง พรานล่อเนื้อ ท่อนกลางผมก็เอาเพลง Blue Moon เข้าไปใส่
GT : Tommy Emmanuel
พี่ตู่ : ใช่ Tommy Emmanuel บางทีก็จะเป็นแบบสวิงแจ็ส ซึ่งผมจะดูตามกลุ่มของเพลงว่ามันเป็นแนวไหน
GT : เพลงฟิงเกอร์สไตล์ เวลาก่อนพี่เล่นทุกครั้งต้องมีการทำสมาธิกับเองหรอเปล่า
พี่ตู่ : ไม่เลยครับ คือผมจะมีทริกสำหรับผมอย่างหนึ่ง เมื่อผมหยิบกีต้าร์ขึ้นมาบนเวทีแล้วได้เห็นคนเยอะแยะเนี่ยะ ผมจะบอกตัวเองว่า “ เฮ้ย มาพักผ่อน มาพักผ่อนนะโว้ย !!” เพราะเราเดินมาแล้วทั้งวัน เราอยากมาเล่นกีต้าร์ มาพักผ่อนแล้วทุกอย่างมันจะเป็น ธรรมชาติ ใหม่ๆเนี่ยะ เกร็ง โห !! เจอคนเยอะๆ เกร็ง อย่าง Yes Indeed เงี๊ยะ คนเต็มร้าน แล้วต้องเล่นคนเดียว เกร็ง แต่ตอนนี้อยู่ตัว มีวิธีคิด มีวิธีสะกดตัวเองมากกว่า
GT : ย้อนกลับไปงานประจำนิดนึง อย่างช่วงเวลาทำงานนี่ พี่คิดถึงเรื่องดนตรีบ้างไหมครับ
พี่ตู่ : มีครับ มี ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเบร็ค คือช่วงพักเที่ยง ก็คือในออฟฟิศผมจะมี Martin อยู่ตัวหนึ่ง ตัวเล็กๆ มันก็จะมีห้องผู้จัดการ ก็จะมิดชิดนิดนึง แล้วก็ใส่เฮดโฟนกับเครื่องแกะเพลง แล้วก็นั่งเล่น จะแบ่งอย่างชัดเจน บางวันผมจะไม่ยุ่งกับดนตรีเลย แล้วก็บางทีก็จะซึบซับเอาจากเพลงที่ในออฟฟิศเปิด จะมีเพลงตลาดอะไรหลายๆอย่าง สมัยนี้มันเล่นกันแบบนี้นะ เอ้ย คนเขาชอบกันแบบนี้นะ ทุกอย่างผมก็เลยว่ามันเป็นวงจร ชีวิตขาดดนตรีไม่ได้ ทุกอย่างมันลิ้งค์เข้าหากัน บางทีแม้กระทั่งเสียงโทรศัพท์ สมัยนี้ที่เป็นเพลง มันออกมาเป็นเพลงเลย เฮ้ย !! เพลงอะไรนะ ก็ไปถามลูกน้อง เพลงนี้เพลงนี้ !! อ๋อเหรอ !! ก็ไปหาฟัง ผมจะไม่หยุดในการที่จะศึกษาเพลงของใคร จะฟังเพลงของใคร เพราะฉะนั้นผมจะตามทันเพลงของน้องๆ หลายๆคน แบบเราเอาใจใส่มากกว่า
GT : พี่เป็นนักสะสมกีต้าร์หรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : สะสมครับ
GT : ตอนนี้มีซักกี่ตัวแล้วครับ
พี่ตู่ : ตอนนี้ที่มีอยู่ ก็เหลือเอาไว้เจ๋งๆ ก็พอแล้ว เมื่อก่อนมีประมาณซัก 20 ตัวได้ ทุกยี่ห้อที่อยากได้อะไรอย่างนี้ แต่ตอนหลังมาผมคิดว่า “ ถ้ามันมากองอยู่ที่บ้าน มันก็เป็นเเค่เศษไม้ ” มันเหมือนเศษไม้ คือผมจะเลือกเอาตัวที่ใช้ในห้องอัดบ่อยที่สุด เข้ามือที่สุด แล้วนอกนั้นก็ขาย จำหน่าย จ่ายแจก ล่าสุดผมพึ่งขาย Taylor ไป เพราะว่า Taylor เป็นกีต้าร์ที่ไม่เข้ามือผม แต่เป็นกีต้าร์ที่ดีก็เหลือ Maton มีสองตัว แล้วก็ Martin จะเหลือเยอะหน่อย Taylor ไม่เหลือแล้ว แล้วก็มี Santa Cruz แล้วก็ Lowden
GT : แล้วอย่าง Seagull หล่ะครับ
พี่ตู่ : ก็ขายไปแล้วเหมือนกันครับ คือเสียงดีนะ แต่ผมไม่ชอบตรงความกว้างของมัน คอมันกว้างมาก เวลาเล่นเทคนิกยากๆบางลูก มันเล่นไม่ได้ … ไม่ใช่มันเล่นไม่ได้ เล่นไม่ถนัดดีกว่า ถ้ามาเก็บที่บ้านเฉยๆ ก็เหมือนเศษไม้ เหมือนกองอะไรซักอย่าง
GT : ก็เหมือนกับที่ไม่ได้ดูแลมัน
พี่ตู่ : ใช่ ๆ
GT : ที่นี้เวลาก่อนเล่น พี่มีวิธีวอร์มนิ้วก่อนหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : เวลาวอร์มนิ้วของผมเนี่ยะ คือทำนิ้วอย่างนี้ ( ทำนิ้วกระดิกไปมา ) คือไล่ไปมา คือตั้งแต่ลงรถมา ผมจะทำอย่างนี้แล้ว เพราะรู้ว่าจะเริ่มเล่น แต่ถ้าสมมติว่าอากาศหนาว อย่างตอนที่ผมไปแคนาดา ตอนเรียนปริญญาโท ผมได้เล่นอยู่ร้านนึง ได้เล่นประมาณ 3 อาทิตย์ แล้วแคนานดาหนาวมาก !! หนาวแบบเล่นไม่ได้ เพลงแรกขนาดเราวอร์มมากแค่ไหนก็เล่นไม่ได้ มือแข็งไปหมด และก็ไปได้ทริคจากฝรั่งที่เล่นดนตรี เขาบอกว่า “ ยิ่งยูเอาความร้อนไปโดน มันก็ยิ่งจะทำให้นิ้วยูที่เจอความเย็นเนี่ยะ มันจะตรงกันข้าม มันจะล้า ยูก็ควรจะปล่อยมันเฉยๆ ” เพราะเมื่อก่อนผมจะเอามือไปแช่น้ำอุ่น เอ็นมันก็แข็งไปหมด คือเขาบอกว่าให้ปล่อยตามธรรมชาติเลย คือแบบธรรมชาติมันจะให้อะไรเราเอง
GT : เพลงสไตล์นี้บางทีต้องมีการที่กางนิ้วในการเล่นมากๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะผิดจากธรรมชาติ บางครั้งอาจเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ พี่มีวิธีดูแลและแก้ไขอย่างไรครับ
พี่ตู่ : ผมเป็นคนโชคดีอย่างหนึ่งที่ไม่เคยเจออาการอย่างนี้เลย
GT : พี่เป็นคนนิ้วยาว ?
พี่ตู่ : ใช่ ผมเป็นคนนิ้วยาว ( ขอยืนยันว่ายาวจริงๆ ) ขนาดคนสูง 180 กว่า ผมยังนิ้วยาวกว่าเขาเลย
GT : มันเลยเหมาะกับการเล่นฟิงเกอร์สไตล์จริงๆ
พี่ตู่ : แต่ .. ไม่รู้นะ เคยมีเพื่อนคนนึงที่จบดอกเตอร์ เขาบอกว่ามนุษย์เนี่ยะถ้าศึกษาหรือว่า ทำอะไรเกี่ยวกับสรีระหรืออะไรต่างๆในร่างกายเนี่ยะ เน้นในจุดนั้น ตั้งแต่วัยเด็ก ตั้งแต่ 5 ขวบ จนถึงเป็นวัยรุ่น จนร่างกายหยุดการพัฒนาเนี่ยะ จะมีการยืดหยุ่นของตัวกระดูกเอง กับกล้ามเนื้อโครงสร้างของเขาเอง อย่างเช่นคนวิ่งเนี่ยะ จะมีลักษณะสรีระตั้งแต่เด็กนะ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของเขามา อย่างนิ้วเนี่ยะเขาบอกว่าก็มีส่วน ในวัยเด็กที่คนเล่นกีต้าร์ตั้งแต่เด็ก ก็จะมีการเคลื่อน
GT : นิ้วพี่ยาวมากเลยนะ
พี่ตู่ : เออ ยาวแบบตกใจ คือในตระกูลผมไม่มีใครนิ้วยางอย่างนี้เลยนะ แล้วซึ่งดูจากตัวก็ไม่น่ายาวแบบนี้
GT : หลายเพลงที่ต้อง ถ่างนิ้วกว้างๆ คนนิ้วสั้นนี้หมดสิทธิ์เลย
พี่ตู่ : ใช่ แล้วที่นี้ผมขยับมาใช้สายเบอร์ใหญ่ ก็เลยไม่มีปัญหาเรื่องนิ้วล้า
GT : นิ้วพี่ค่อนข้างแข็งแรงมาก
พี่ตู่ : ประมาณนั้นนะครับ ถือว่าเป็นคนโชคดีมากกว่า นิ้วไม่เคยเจ็บเลยจากการเล่น นิ้วยากๆอะไรอย่างนี้ แต่ถ้าไปล้างจานซักผ้ามา ตรงด้านหน้านิ้วมันจะเจ็บ
GT : พี่ใช้สายเบอร์ อะไรครับ
พี่ตู่ : เบอร์ 13 แต่ตอนแรกใช้ 14 แล้วมันหาซื้อไม่ได้
GT : อย่างในกรณีที่พี่เล่นอยู่บนเวที กับเพลงสไตล์นี้ บางครั้งเกิดมีการลืมบ้าง เกิดมีการเล่นหลุด พี่มีวิธีแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าอย่างไรครับ
พี่ตู่ : คือผมจะเปลี่ยน สมติหลุดปั้บถ้ามันชัด ผมจะใส่ลูกเล่นต่างๆลงไปในนั้นเลยทันที แต่ให้มันอยู่ในจังหวะนั้น ใส่ลูกเล่นคือ พยายามหาตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับตรงนั้น เพื่อจะเข้าเพลงให้ได้ ก็เลยกลายเป็นว่าไอ้นี่มันลีลาเยอะ คนมักจะบอก เฮ้ย !! ไปเรื่อยเปื่อยเลย คือหลุด ลืม แล้วก็ไหลไปด้วย มันก็เกิดจากการที่เราฟังเพลงเยอะด้วย
GT : ทุกวันนี้ยังเล่นกีต้าร์ไฟ้ฟ้าบางหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : เล่นครับ บางทีก็ไปอัดเพลงให้น้องอะไรอย่างนี้
GT : เล่นไฟฟ้าพี่ก็ใช้ปิ๊กปรกติ
พี่ตู่ : ใช่ ใช้ปิ๊ก
GT : เทคนิคต่างๆก็พอได้หมดเลย
พี่ตู่ : ก็เคยฝึกมาตั้ง 5 ปี พวก sweep พวกอะไร แต่สุดท้ายก็มาเลิกเลย หยุด มาฝึกของ Al Di Meola แต่ก็หาคนเล่นด้วยไม่ได้ เล่น Al Di Meola ก็ใช้ปิ๊กแล้วก็ปั่นอย่างเดียวเลย จนเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว มาเจอคนที่ชื่อ โรเบิร์ตเล่น ฟลามิงโก้ คนนี้เล่นเก่งมาก แล้วผมก็แบบ เฮ้ย !! เจอแล้ว คนนี้ก็เล่น Paco อยู่ ผมเล่น Al Di Me แล้ววันนึงก็ได้ไปแจม ก็เลยหาเวลามาเล่นด้วยกันอาทิตย์ละวัน และก็มีร้านนี้ Parking Toys ( ทุกคืนวันเสาร์ มันส์มากรับประกันโดย Guitarthai) และก็ร้าน Connection Bar
GT : พี่เล่น Al Di Meola ใช้ปิ๊กอย่างเดียวเลย
พี่ตู่ : ใช้ปิ๊ก แต่ถ้าเล่น ฟิงเกอร์สไตล์จะใช้ thumb pick ผมจะมีสองภาค ก็คือเป็นภาคที่โซโล่ล้วนๆ กับภาคของอะคูสติก
GT : งั้นเพลงของ Al Di Meola พี่ก็ต้องแกะไลด์ของเขา
พี่ตู่ : เอ่อ ผมเริ่มต้นอย่างที่บอกนั้นแหละว่า เริ่มต้นจากร้าน REX แล้วมันจะมีวีดีโอของ Al Di Meola อยู่ม้วนนึงที่เป็นกีต้าร์ ovation สีขาว ก็ซื้อมาเล่นแบบนี้นะ อะไรแบบนี้ แต่ในตัวเพลงของเขาได้ฟังตั้งแต่สมัยอยู่อเมริกา คือแบบชอบเขามาตั้งนานแล้ว สุดท้ายก็ค้นพบตัวเองว่า เราไม่ใช่ Yngwie นะ เราไม่ใช่ Joe นะไม่ใช่ไอ้นู้นไอ้นี่ แต่เราเป็นคนชอบสายเหล็กนี่แหละ เป็นสายเหล็กแบบอะคูสติก ก็เลยแบบอีตานี่แหละมันส์มาก แต่ก็หาคนเล่นด้วยไม่ได้ แต่ก็มาเจอนี่แหละเลยมันส์
GT : แล้วอย่างพี่หันมาปั่น นี้มีปัญหากับการต้องเกร็งกล้ามเนื้อไหมครับ
พี่ตู่ : ไม่มีเลย ผมไม่รู้เป็นอะไร ไม่มีเลย
GT : แล้วการดีดแบบ alternate picking พี่ใช้ข้อนิ้วหรือข้อมือหรือทั้งแขนครับ
พี่ตู่ : ผมใช้ข้อ ปั่นขึ้นลงๆ ผมใช้ข้อตลอด
GT : มีปัญหากับพวกสายเส้นใหญ่ๆ อย่าง สาย 6 หรือ 5 หรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : ไม่มี
GT : เล่นลื่นเป็นปรกติ
พี่ตู่ : ใช่ครับเป็นปรกติ เพราะว่าเราไม่ซีเรียสกับมัน ผมว่าอะไรที่มันซีเรียสมากๆ มันจะเกร็ง อะไรที่มันสบายๆ อย่างเช่นถ้าเราคิดว่ามาพักผ่อน มันก็จะสบายๆ
GT : ถ้าเป็นปิ๊กปรกติที่ไม่ใช่ thumb pick พี่ใช้ปิ๊กหนาไหมครับ
พี่ตู่ : เอ่อ ใช้ปิ๊ก Jazz
GT : Jazz III
พี่ตู่ : ใช่
GT : พี่เป็นคนดีดแรง
พี่ตู่ : แรงครับ และอีกอย่างสายเหล็กที่ผมใช้มันเป็นสายใหญ่ แล้วพอมันเจออย่างนี้นานๆแล้วมันหักไง
GT : สายที่พี่ใช้
พี่ตู่ : เบอร์ 13 ครับ ตอนแรกใช้ 14 เป็นของ lobo ใช้เล่นสไลด์ แต่มันหาซื้อยากมาก แล้วก็มีปัญหาเรื่องคอยก เพราะกีต้าร์ส่วนใหญ่เขาใช้เบอร์ 13 แต่ผมจะตั้งแฟลตไว้ ตั้งไว้เพื่อเวลาผมเล่นแล้วหมุนสาย open tuning เนี่ยะมันจะไม่ขาด เป็นวิธีการเซพสายของผม
GT : ปัจจุบันนี้พี่ใช้อุปกรณ์อะไรบ้างครับ
พี่ตู่ : มีตัวเดียวเลย ของ Martin ตู้ของ Maton ใช้บนเวที
GT : พี่ก็หิ้วมาเอง
พี่ตู่ : ใช่ครับ ก็มาฝากไว้กับที่ร้าน แล้วอีกที่ผมก็จะเอา Trace Elliot ไว้ที่ร้าน
GT : มีใช้เอฟเฟคอะไรบ้างหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : Reverb กับ Delay
GT : เวลาพี่ซ้อม ซ้อมกับ เมโทรนอม
พี่ตู่ : เมื่อก่อน ซ้อมกับเมโทรนอมนะ เมื่อก่อนตอนยังเรียนอยู่ ถ้าวันไหนที่ไม่มีคาบเรียน ผมซ้อมวันนึงไม่ต่ำกว่า 8 ชม . ซ้อมอยู่อย่างนั้น แต่ตอนนี้มันเหมือนว่ามันอยู่ตัวแล้ว
GT : ลักษณะที่ซ้อมของพี่คือการเจาะเป็นเพลงๆ เลย
พี่ตู่ : ใช่ ทีละท่อน ที่ละนิด
GT : เทคนิคมาจากในเพลง
พี่ตู่ : ใช่จากในเพลง
GT : ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาซ้อเทคนิคเพียงอย่างเดียว
พี่ตู่ : ใช่ครับ เพราะบางทีหากนำมาใช้ บางทีมันจะโดด มันจะแข็งไป ในความคิดของผมนะครับ ก็เลยมาซ้อมเพลง แล้วก็ดึงเทคนิคนั้นออกมา มาใช้กับเพลงอื่น
GT : ปัจจุบันนี้ พี่เล่นที่ไหนบ้างครับ
พี่ตู่ : ที่ Parking Toys สี่ทุ่มถึงห้าทุ่มโดยประมาณ ยกเว้นวันอาทิตย์และวันอังคาร ที่ใบเมี่ยง จันทร์ อังคาร พุธ ศุกร์ ห้าทุ่มครึ่งถึงตีหนึ่ง แล้วก็ Connection Bar
GT : นอกจากการเล่นดนตรีตรงนี้พี่มีโปรเจ็ค จะทำผลงานออกมาอย่างอื่นไหมครับ
พี่ตู่ : ผมก็แจมกับคนโน้นคนนี้เรื่อยเปื่อยครับ แต่ตอนนี้กำลังทำ กับ Peace Maker เค้ากำลังจะเปิดค่ายที่ชื่อว่า Connection Record แล้วก็มีโปรเจ็คแน่นอนกับเขา ตอนแรกมีโปรเจ็คอยู่กับ Rum Paunch คือทำมาเป็นเดโมเสร็จแล้ว อัลบั้มของผมเนี่ยะจะมีเพลงร้องแผ่นนึงบรรเลงแผ่นนึง คือแบบให้เลือก target ฟังเอา ถ้าวันไหนอยากฟังเพลงบรรเลงก็ฟัง
GT : แล้วจะออกมาให้ฟังกันเมื่อไหร่ครับ
พี่ตู่ : ก็ .. คาดว่าคงเร็วๆนี้ครับ เพราะตอนนี้มันไปได้ส่วนนึงแล้ว แล้วก็จะมีแบบศิลปินรับเชิญเข้ามาในอัลบั้ม คนที่เราเคยไปช่วยงานเค้า
GT : พี่เคยอัดให้ใครมาบ้างครับ
พี่ตู่ : Acappella , มาลีวัลย์ … เยอะครับ เยอะมาก ส่วนใหญ่ที่เป็นไลด์กีต้าร์อะคูสติก
GT : ปรกติพี่สอนด้วยหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : เคยสอนครับ สอนให้หมด สอนแบบไม่เอาตังค์ตอนแรก แล้วก็ให้โน็ตให้อะไรไปด้วย แล้วก็ให้โน็ตให้อะไรไป คือเวลาเราสอนไม่เอาตั้งค์เนี่ยะ เขาจะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ คือเขาจะมามั่งไม่มามั่ง แล้วมีอยู่วันนึง คือน้อยใจที่สุดคือไปเที่ยวบ้านเขา ไอ้โน็ตชีทที่ให้ไปเนี่ยะ วางรองข้าวหมาอยู่ เราก็ โห !! น้อยใจมาก สิ่งที่เราให้ไป น้อยใจมาก เราก็ถามเขา เขาก็ไปโวยวายกับแฟนเขาใหญ่เลย ทำไมเอาไปรองข้าว เราก็บอกไม่เป็นไรอย่าทะเลาะกันเลย ซึ่งจริงๆแล้วควรจะรักษาให้ดีกว่านี้ คือคนให้มันน้อยใจ มันคือวิชาที่คุณต้องนำไปศึกษา
GT : พี่คิดจะทำวีซีดีสอนหรือเปล่าครับ
พี่ตู่ : คิดอยู่ครับกำลังจะทำ แต่ติดด้วยเรื่องสปอนเซอร์ อะไรหลายๆอย่าง
GT : แล้วพี่มีมุมมองอย่างไรบ้างครับกับดนตรีสไตล์นี้ในปัจจุบันกับคนที่มาฟังและคนที่จะหัดเล่น
พี่ตู่ : เฮ้ย ดีขึ้นเยอะ สมัยที่ผมเล่นแรกๆเนี่ยะ การฟังเพลงของคนที่มาฟัง เขาเข้าใจฟังมากขึ้น เขารู้ว่าอะไรสด อะไรจริง อะไรปลอม เขารู้มากขึ้น รู้ว่าแบบนี้เล่นเจ๋ง มีเยอะ
GT : เป็นเพราะได้เล่นในที่ที่มันใช่
พี่ตู่ : ใช่ด้วย ถูกต้อง เมื่อก่อนตรงนี้ (Parking Toys) เจอมาหลายรูปแบบ เฮ้ย !! น้อง มาช่าร้องได้หรือเปล่าอะไรอย่างนี้ มันก็อยู่ที่ว่าเราทำให้เขาสนใจแบบไหนมากกว่า ยิ่งเราไปปลูกฝังให้เขาฟังแบบนั้นเยอะ เพลงที่แบบเป็นแพทเทินร์เขาก็จะถูกปลูกฝัง
GT : อย่างกรณีที่พี่ถูกคนฟังกวนสมาธิในการเล่น พี่มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรครับ
พี่ตู่ : อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมาครับ นี่คือคติผมเลย นอกจากคือแบบไม่ไหวจริงๆแล้วนะ อย่างที่เคยบอก คือแบบเราเล่นดนตรีอยู่ แล้วเขาก็ร้องเพลงตาม แต่ไม่ได้ร้องตามเรานะ ตามพวกเขา !! เอ่อ เราเล่นอยู่หน้าเวที เขานั่งอยู่ข้างเวทีสิบกว่าคนอย่างนี้ แล้วเขาก็ร้องเพลงแบบของเขา คือผมไม่ไหวจริงๆ ผมต้องขอเชิญผมพูดออกไมค์เลย “ ผมขอเชิญ นั่งข้างบนดีกว่าครับ ” ก็เป็นอย่างนี้ ขอเชิญแบบดีๆ แต่เคยไปมีเรื่องในเว็ปทีนึง ก็นักร้องนั่นแหละดันแบบ ก็บอก Shut Up Shut Up!! F**king You !! ด่าแหลก เลยรุนแรง
GT : พี่ชอบมือกีต้าร์คนไหนบ้างครับ
พี่ตู่ : เอาเมืองนอกก่อน ผมชอบ Don Ross คือเขาเป็นอะไรที่แบบ ยุคใหม่ไฟแรง ของวงการอะคูสติก และก็หลักๆ Tommy มี Chett Attkins , Jerry Dolkie คนไทยที่ผมชอบก็มี ชีพชนก กับ ธีย์ ไชยเดช , อ , บุญชอบ อย่าง พี่โอ๋ ธีย์ ไชยเดช เขาเล่นด้วยฟิลจริงๆ คือเขาไม่ได้หวือหวา เขาเข้าใจอารมณ์ของเพลง แล้วก็เคลียร์คนนี้เล่นเคลียร์มาก ส่วนมือกีต้าร์ไฟฟ้าผมชอบ ต้น December ชอบเขาเพราะเขาคิดดี ทุกรายละเอียดความแรง ไดนามิกอะไรเขาดี
GT : เวลาที่พี่ต้องเล่นเพลงทุกครั้ง ถ้าเกิดความรู้สึกเบื่อพี่มีวิธีแก้ไขตรงจุดนี้อย่างไรครับ
พี่ตู่ : ผมจะเปลี่ยนสไตล์การเล่น เอาง่ายๆอย่างเพลง ถ้าเป็นเพลงไทย คนไม่มีวาสนา ปรกติจะเล่น G จะร้องอะไรธรรมดา ผมก็จะเปลี่ยนมันเป็นเร็กเก้ เปลี่ยนกรู๊ฟใหม่ ไม่ก็ open tuning เอาให้มันยานไปกว่าเดิมอีก เล่นใส่ลูกฮาร์โมนิกเยอะๆ ให้มันแปลกออกไป หรือบางทีก็เป็นบลูส์บ้าง ถ้าเป็นไปได้ ถ้าเพลงนั้นมันขยับได้ ก็จะไม่เบื่อ หรือบางทีเคยเห็นผมเล่นแบบเอฟเฟคหลอนๆ พวกดีเลย์ อย่างเพลงของวงพราวหรือของเบเกอรี่ต่างๆ ก็คือใส่เอฟเฟ็คแล้วก็ตั้ง open tuning
GT : สิ่งสำคัญในการเล่นสไตล์เหล่านี้ หัวใจหลักอยู่ที่อะไรครับ
พี่ตู่ : เอาใจใส่ครับ คือเราเล่นคนเดียว คือหลุดมันต้องมีอยู่แล้วไม่มีใครมาช่วยเราอยู่แล้ว เราต้องช่วยตัวเอง เอาใจใส่ในสิ่งที่จะหลุดด้วยเตรียมใจกับมัน ต้องเจอกับสิ่งที่เราจะหลุด แล้วก็ เล่นกับตัวเอง แล้วก็ทำใจให้สบาย
GT : พี่มีการทดลองอะไรใหม่ๆในการเล่นไหมครับ
พี่ตู่ : มีครับมีเรื่อยๆ บางทีก็เอาเทคนิคเสริมอย่าง Ebow มาใช้ แล้วก็เล่นเป็นกีต้าร์ตัวเดียว เอา Ebow มารูด มาเล่น มันก็จะมีเสียงเหมือนกับมีคนมาสีซอด้วย บางทีก็เอากีต้าร์ 12 สาย มาเล่นให้ซาวด์มันแปลกขึ้นไป
GT : มีอะไรที่คิดอยากจะทำแล้วยังไม่ได้ทำบ้างครับ
พี่ตู่ : ทำกีต้าร์แบบ Michael Hedges คิดอยากจะทำ ขนาดเอาเบสเท้ามาเล่นด้วยยังลองมาแล้ว แต่ไม่ชอบคือว่ามันไม่เป็นธรรมชาติ มันได้ความแปลกเฉยๆ
GT : สุดท้ายแล้วพี่มีอะไรอยากจะฝากน้องๆที่เล่นกีต้าร์บ้างครับ
พี่ตู่ : มันไม่มีอะไรเกินตัวเราหรอกครับ ผมว่านะ คนเก่งเนี่ยะผมไม่กลัว ผมกลัวคนขยัน แล้วก็หาตัวเองให้เจอ ให้เด็กรุ่นใหม่หาตัวเองให้เจอ บางคนเนี่ยะไปหลงทางกับอย่างอื่น จริงๆแล้วตัวเองอาจไปชอบอีกแบบก็ได้ พยายามหาตัวเองให้เจอแล้วไปให้ถูกทาง อย่างเพื่อนผมเนี่ยะกว่าจะมารู้ว่าชอบเบสเนี่ยะก็ปาเข้าไป 40 ไปแล้ว มานั่งเล่นเบสแบบ Stut Ham เลยตอนนี้ เร็วมาก เมื่อก่อนนั่งเล่นกีต้าร์ พยายามเล่นอยู่ได้ตั้งนาน เพราะถ้าหาตัวเองเจอตั้งแต่ต้น ทุกอย่างจะเร็วมาก ผมจะมีทริคกับตัวเองอีกอย่างคือ ถ้าเราอยู่กับเครื่องดนตรีอันไหนได้นานที่สุดแล้วเราไม่เบื่อ นั้นคือสิ่งที่เราชอบ แต่คำว่าใช่หรือไม่ใช่มันอาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ