Main Menu
 Home หน้าแรก
 login / สมาชิก
 BuyerBook
 รายการ TV
  คอร์ด / เนื้อเพลง
  วีดีโอ คลิป
  Webboard
  Classifieds
  ข่าวสารดนตรี
  Review & ทดสอบ
  งานคอนเสิร์ต
  บทความดนตรี
  Cools Links
  Artist Gear
 
  About Us

18592


 Hotshot:     Jazz- rock ( fusion)    5/18/2007    อ.โจ้ กีตาร์ไทย

….ในช่วงประมาณปี 1967 ได้เริ่มมี การนำเอาดนตรี jazz ที่มีจุดเด่นในเรื่อง improvisation และ chord progression มาผสมผสานกับ Rhythm ของดนตรี Rock ทำให้เกิดสีสันใหม่ ๆ ที่เรียกว่า Jazz- rock ( fusion)ในช่วงแรก วงของ ไมค์ บลูมฟิลด์ และวง บลัด สเวท แอนด์ เทียร์ส นั้นเริ่มบุกเบิกมาก่อน ซึ่งนิยมใช้ทีมเครื่องเป่าหลายชิ้น และในปี 1969 อัลบั้มตำนาน Bitches Brew ของ Miles Davis ที่ได้ นักกีตาร์ชาวอังกฤษอย่าง John Mclaughiln มาร่วมงานด้วย เรียกได้ว่าเป็นงานที่มีความลงตัวระหว่าง ร็อค และแจ๊ส ระดับ5ดาวเลยที่เดียว Bitches Brew เป็นงานที่ใช้เครื่องดนตรีเน้นความเป็นอิเลคทริคมากขึ้น โครงสร้างของเพลงถูกจัดให้มี space ที่ไม่หนาแน่นเกินไป เพื่อช่วยส่งเสริมการ improvisation ให้มีอิสระและไม่จำกัดรูปแบบ หลังจากนั้น (1971)John Mclaughiln ก็ออกมาทำวง มหาวิษณุ ออร์เคสตร้า จากนั้น ออร์เน็ตต์ โคลแมน และ เวเธอร์ รีพอร์ท พัฒนาดนตรี jazz – rock ในแบบของตัวเองขึ้นมา ฯลฯ จนถึงปัจจุบันนี้พลังงาน jazz-rock ยังคงไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา เอาคราว ๆก็แล้วกันนะครับ
แต่ถ้าเราจะกล่าวถึงนักกีตาร์ ในแนว Jazz rock (fusion) ที่เป็นโดดเด่นมาก ในยุคนั้น ก็คือ John Mclaughiln

หลังจากทศวรรษที่ 60 ความหลากหลายของเส้นเสียงดนตรีนั้นได้ถูกขยายขอบเขตออกไปมากมาย ทั้งข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ การประพันธ์และเทคนิคฯลฯ แต่ก็มีเสียงสะท้อนกลับมาว่า จิตวิญาณทางดนตรีนั้นกลับลดลง เนื่องจากการพัฒนาดนตรีช่วงหลัง ๆเป็นพาณิชย์มากเกินไป จึงทำให้ขาดการสร้างสรรค์ที่ควรจะเป็น และขาดนักดนตรีที่ทุ่มเท ดนตรีด้วยใจจริง ผมยังจำคำพูดของ Allan Holdsworth (นักกีตาร์จากโลกอนาคต) ที่พอสรุปได้ว่า “ การมีจุดยืนกับงานดนตรีของตัวเองนั้น มันคนละเรื่องกับความลำบากในการดำเนินชีวิต เค้าสามารถหาเลี้ยงชีพได้อีกหลายร้อยวิธีโดยไม่ต้องเอาดนตรีที่เค้ารัก และทุ่มเทมาทำในสิ่งที่เค้าไม่อย่างทำ” ผมคิดว่าแก่นของ ศิลปะก็เริ่มเกิดขึ้นจากความคิดตรงนี้เหมือนกัน ซึ่งมันอาจจะสวนทางกับความเป็นจริงของชีวิตอยู่บ้าง แต่ผมคิดว่าทุกคนก็พอใจกับความสุขที่ได้มาไม่เหมือนกันอยู่แล้ว เพียงแต่จะเลือกความเพียงพอแบบไหน แค่นั้นเอง เอาละคราวนี้ ลองมาดู นักกีตาร์ยุคใหม่ ๆกันบ้างดีกว่านะครับ


Ex.1 Kurt Rosenwinkel : Heartcore :


Kurt Rosenwinkel คือ นักกีตาร์ และนักประพันธ์ในสาย jazz รุ่นใหม่ ที่เคยได้รางวัลชนะเลิศการประพันธ์ Composer's Award จาก the National Endowment for the Arts และยังเคยช่วยงานให้กับ Gary Burton จนได้รับการยอมรับว่า เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่พยายามพัฒนาดนตรี jazz ให้กว้างไกล ออกไปได้อีก Kurt ได้สร้างภาษาดนตรี เฉพาะตัวขึ้นมา โดยเริ่มออกจากขอบเขต และแนวคิดที่ผ่าน ๆมา โดยผสมผสานความร่วมสมัยจากแหล่ง พลังงานใหม่ ของดนตรี hip-hop , electronica ไปจนถึง rock ที่เรียกได้ว่าเป็นขบวนการสร้างสรรค์ sound ใหม่ ๆสำหรับเค้า และยังบ่งบอกเป็นนัยว่าพลังดนตรีของ เค้านั้นมาจากไหน สำหรับ lick นี้ มาจากเพลง All The Way To Rajasthan จาก อัลบั้ม Heartcore เป็นminor lick ที่ฟังเรียบๆ แต่ได้ใจความ lick นี้ เล่นอยู่บนchord Fm7 ( F Ab C Eb) เค้าเลือกใช่โน้ต b9 (Gb) มาสร้างสีสันให้กับของ lick นี้ +กับการใช้ เทคนิค Hammer on กับ Space ของตัวหยุดที่ช่วยทำให้ท่วงทำนองน่าสนใจ และร่วมสมัยมากขึ้น (2bar) แต่อาจต้องจัดทางนิ้วให้ลงตัวกับเทคนิคก็น่าจะ เล่นได้สนุกขึ้นครับ


Ex.2 Norman Brown : Third World :

สำหรับนักกีตาร์ Soul-jazz ที่ถูกจับตามองว่าจะเป็นผู้สานต่อแนวทางเหมือนที่ George Benson เคยได้รับแนวทางจาก Wes Montgomery...... จนถึงนักกีตาร์รุ่นหลังอย่าง Norman Brown ก็ถูกกล่าวถึงในสายนี้เช่นกัน เค้าเป็นนักกีตาร์ contemporary jazz และ standards รุ่นใหม่ที่พัฒนาแนวทาง Soul-jazz ในแบบดังเดิมและสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว แนวทางการเล่นกีตาร์ของเค้านั้น ได้รับอธิพลมาจาก George Benson และ Wes Montgomery อย่างชัดเจน เพียงแต่อารมณ์ตัวโน้ตจะเข้มข้น และดุดันกว่าของ George อาจเป็นเพราะเค้าชอบ Jimi Hendrix ก็เป็นไปได้(คิดเองครับ) บวกกับการประพันธ์ที่แตกต่างจากแนวทางเดิม Norman ยังเคยชนะ American Jazz Award for contemporary guitar 1997 สำหรับ Lick นี้มาจากเพลง Third World จาก อัลบั้ม Better Days Ahead เป็น lick ที่คิดจากD major scale ที่เน้นเสียงของ major 7 ค่อนข้างชัดเจน จุดเด่นอยู่ที่การเรียบเรียงตัวโน้ตที่สวยงาม และการเชื่อม แบบ half stepจาก arpeggio DM7 + A ( D F# A C# + A C# E) =DM9 หรือเราอาจจะมองซ้อนเป็นรูปแบบ arpeggio ง่าย ๆก็ได้ครับ ลองเล่นเป็น DM7 + GM7 + AM7 ก็ได้เหมือนกันแต่มันทื่อไปหน่อย(ในความคิดของผมนะ) ในส่วนของ Norman จะว่างตัวโน้ตได้อย่างมีชั้นเชิง และการเคลื่อนที่ smooth ซึ่ง George Benson ก็เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบการใช้แนวคิดแบบนี้กับการเล่นของเค้า ที่มีความสวยงามแต่ซับซ้อน ลองเล่นดูนะครับ




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket