Main Menu
 Home หน้าแรก
 login / สมาชิก
 BuyerBook
 รายการ TV
  คอร์ด / เนื้อเพลง
  วีดีโอ คลิป
  Webboard
  Classifieds
  ข่าวสารดนตรี
  Review & ทดสอบ
  งานคอนเสิร์ต
  บทความดนตรี
  Cools Links
  Artist Gear
 
  About Us

15292


 Hotshot:     Lick ที่มาจากแนวคิด ที่หลายคนคุ้นหูกันอย่างดี Metal & Blues    7/21/2006    อ.โจ้ กีตาร์ไทย

เดียวนี้เทป เริ่มค่อย ๆหายไปจากตลาดบ้านเรา มาเป็น CD กันหมดแล้ว ผมเองก็ผูกพันกับเทปเพลงพวก classic rock เก่า ๆ ที่เก็บเอาไว้ในลังเป็น10-20ปี ว่าง ๆ เอามาฟังเล่น ฟังได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ที่เจอ จะเป็นเทปของนักกีตาร์ยุค 70-80 ซะเยอะ ผมลองเคยสังเกตเหมือนกันว่าเวลาฟังเพลงแบบส่วนตัว ทันทีที่เราได้ยินโน้ต หรือทำนองจากเพลงที่เราชอบเพียงนิดเดียว มันเพียงพอที่จะเปลี่ยนบรรยากาศ ในช่วงนั้นไปเป็นอีกแบบได้เลย มันคงเป็นเรื่องที่ลึกลับอย่างหนึ่งเลยทีเดียว คิด ๆแล้วก็แปลกดี ที่ทุก ๆคนสามารถสัมผัสพลังดนตรีทีเหมือนกันได้ แต่กลับสะท้อนความรู้สึกออกมาได้แตกต่างกัน และยังให้ความรู้สึกไม่เท่ากันทุกครั้งจากผู้ฟังคนเดียวกัน เป็นสิ่งอธิบายเป็นถ้อยคำที่ชัดเจนได้ยากซะด้วยซิ(ไม่มีด้วย) โดยส่วนตัว พลังดนตรีแบบนี้ผมจะรู้สึกได้กับดนตรียุค70 มากเป็นพิเศษ พวกเค้าจะเล่น และคิดจากสิ่งเรียบง่าย คล้าย ๆ กัน แต่สามารถสร้างสาระทางดนตรีที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน อย่างคราวนี้ ผมจะเอา Lick ที่มาจากแนวคิด ที่หลายคนคุ้นหูกันอย่างดี ( Blues sound ) ที่เรียกได้ว่าใคร ๆ ก็ใช้ได้ แต่จะใช้ให้ดีมีน้อยเหลือเกิน เราเลยจะลองมาดูวิธี การนำไปใช้จากนักกีตาร์ในสาย classic rock (ยุค70-80) ระดับเทพหลาย ๆคน จะเป็นแบบไหนกันบ้าง มาดูกันครับ


EX.1
Randy Rhoads : Blues scale : /Crazy Train/


สำหรับเพลงนี้คงไม่ต้องพูดกันมาก สำหรับใครที่ชอบเล่น ทั้ง Rhythm และ Solo ให้ลองหาชุด Ozzy Osbourne Randy Rhoads Tribute ( live ) มาฟังดูนะครับ แล้วจะรู้ว่าการทำหน้าของนักกีตาร์คนเดียวที่สมบรูณ์แบบ ในแนว Heavy metal ต้องทำอย่างไร ฟังเมื่อไร เสียงกีตาร์ของ Randy ยังคงงดงาม และร้อนแรง อยู่เสมอ ใน Ex.1 นี้จะแสดงให้เห็นการใช้ Lick ที่คิดจาก F# Blues scale ที่นักกีตาร์จะรู้จักเป็นอย่างดี ( 1 b3 #4 4 5 b7 ) F# A B# B C# E หรือมองจาก minor pentatonic + #4 เข้าไปก็ได้ Randy ใช้ Lick นี้เป็นจุดเด่น เพิ่มความร้อนแรง และโดดเด่นให้กับท่อน Chorus ของบทเพลงได้อย่างลงตัว เค้า เพิ่มโน้ต D เข้ามาใน beat ที่ 2 ทำให้มีเสียงของ chromatic เจือปนอยู่หน่อย ๆ ทำให้ฟังดูแปลกขึ้น ผสมกับเทคนิค pull off อีกที ร่วมทั้งใช้เทคนิค Trill ในแบบคลาสสิคที่ Randy ชอบใช้เป็นประจำ อยู่ใน beat 4 bar1 และ ฺ beat 3 (5พยางค์) bar 2 ใน beat ที่ 1-2 ของ bar 2 จะเป็นวลีที่ต่อเนื่องกัน ให้จับที่ beat. และระวังเรื่องน้ำหนักให้ดีนะครับ


Ex.2
Joe Perry :pentatonic minor : Amazing :

สำหรับนักกีตาร์ในแบบฉบับอเมริกัน Joe Perry ที่มีสำเนียง Riff ในแบบ blues rock ที่เทห์เหมือนตัวเค้า และลูก solo ที่มีพลังซ่อนเร้นอยู่ในความรเรียบง่ายของเค้า ที่ได้ยินที่ไรต้องหันกลับมาฟังทุกที Joe เป็นนักกีตาร์ที่รู้จักเลือก และคัดตัวโน้ต ให้เข้ากับอารมณ์ของบทเพลง ทางนิ้วของเค้าเป็นแบบอนุรักษ์ต้นฉบับดังเดิม แต่เต็มไปด้วยสีสันในแบบคลสสิคลิค ถ้าใครกำลังศึกษาเทคนิคดันสายอยู่ให้ลองศึกษางานของ solo ของ Joe ดู แล้วจะรู้ว่าการเล่น Pentatonic scale จริง ๆเค้าเล่นกันยังไง ใน Ex.2 นี้ เป็น lick ที่เอามาจาเพลง Amazing ของ Aerosmith ที่มี solo ที่สร้างการเคลื่อนที่ของเสียงกับอารมณ์ได้ดีมาก ใน Ex2 นี้ เป็นเทคนิคการดันสาย1-1/2 เสียงใน box from ของ C pentatonic minor ( 1 b3 4 5 b7 ) ที่เราคุ้นเคย บนทางเดิน chord ( C5 D5 E5 F5 ) เพียงแต่ วิธีเล่น และสำเนียงที่ Joe ใช้นั้นมันได้แสดงถึงความแตกต่าง บนเล่นในแบบดังเดิมให้ดูว่า พวกรุ่นใหญ่เค้าเล่นกันยังไง เค้าคัด และเน้นตัวโน้ตใน lick ได้เก๋า จริง ๆ ผมยากแนะนำให้เพื่อน ๆไปฟังเพลงนี้ดูก่อนทั้งเพลงจะดีมากครับ เพราะ มันเป็นความสวยงามของการเล่นกีตาร์ ไปสู่ climax แบบค่อยเป็นค่อยไป ที่เป็นจุดเด่นของ joe เวลาเค้าเล่น Line solo ยาว ๆ เค้าประคับประคอง Feeling ได้ยอดเยี่ยมมาก มันคืออารมณ์ร้อนแรงในแบบ Aerosmith ที่บันเจิดด้วยเสียงกีตาร์ของ Joe Perry นั้นเอง

 


Ex.3 Micheal Schenker


สำหรับนักกีตาร์จากแดนนาซีเหล็กกับธนูคู่ใจ ( Flying V ) Micheal Schenker ที่กำลังจะมา Live In Bongkok บ้านเราในเร็ววันนี้ เค้าถูกยกย่องให้อยู่เหนือนักกีตาร์ทั้งหลายในยุคเดียวกัน ด้วยความโดดเด่น และลื่นไหลในเชิง melodic ในแบบ classic rock ที่งดงาม ไรที่ติ ทำให้ Schenker ถูกจับตามองจากร็อคฝั่งอเมริกา และอังกฤษ ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากเล่นกีตาร์ Flying V ก็เพราะเค้านี้ละ และผมคิดว่าเด็กหลายคนในโลกดนตรีที่อยากเล่นกีตาร์ V คงคิดแบบเดียวกับผมนะ รวมทั้ง Kirk Hammett แห่ง Metallica ด้วย Schenker สะพาย Flying V ได้เทห์สุดแล้ว (ส่วนตัวครับ) โดยเฉพาะตอนที่เค้าพรมนิ้วลงบนคอกีตาร์ ยิ่งในตอน Top From ของเค้า( 1970 ) มันสวยงามเหมือนตัวโน้ตที่เค้าดีดออกมาจริง ๆ พูดซะยาวเลย ครับใน Ex.1 จะเอา Riff จากเพลง In to the Arena มาให้เพื่อนดูว่า วิธีคิดและวิธีเล่นนั้นมันสำคัญจริง ๆ สิ่งที่เพื่อน ๆเห็นใน Ex.1 นั้นเป็น E natural minor ( E F# G A B C D ) ธรรมดา แต่ Schenker ทำให้ระบบเสียงนี้กลายเป็น Riff ชั้นดี โดยเค้าใช้ triple note บน4/4 โดยใช้สายเปิด E เป็นตัวเชื่อมทำนอง ซึ่งดูเหมือนจะง่ายแต่ของให้เพื่อนลองเล่นดูก่อน แล้วจะรู้ว่า เราอาจกลายเป็นหมูได้ ต้อง Tap ให้ตรงนะครับ(3 note/1beat ) ลองที่ความเร็ว tempo 100-160 แล้วจะเข้าใจเองว่า ความยากกับความง่ายอยู่ใกล้กันนิดเดียวเอง เพราะใช้เคลื่อนที่นิ้วน้อยมาก(2 minor/Major ) (2 Pharse ) แต่ท่วงทำนองกลับเร่งเร้าและลงตัว ความรู้สึกเวลาเล่นจะรู้เหมือนขืนกับจังหวะหน่อย ๆ แต่เสียงทำนองที่ออกมากลับฟัง Smooth เป็นการใช้ Rhythmic กับ melodic ได้เหนือชั้นจริง ๆ ส่วนเรื่องของน้ำหนักและความรู้สึกให้เพื่อนไปจับกันเอาเองนะครับ




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket