Main Menu
 Home หน้าแรก
 login / สมาชิก
 BuyerBook
 รายการ TV
  คอร์ด / เนื้อเพลง
  วีดีโอ คลิป
  Webboard
  Classifieds
  ข่าวสารดนตรี
  Review & ทดสอบ
  งานคอนเสิร์ต
  บทความดนตรี
  Cools Links
  Artist Gear
 
  About Us

7768


 Hotshot:     Secondary of licks    6/13/2006    อ. โจ้ กีตาร์ไทย

เมื่อกล่าวถึง New sound Jazz-guitar ยุคใหม่ (1970-2000) Pat Metheny , John Scofield , Bill Frisell ถูกขนานนามว่าเป็นสามทหารเสือแห่งวงการกีตาร์แจ๊สยุคใหม่เลยทีเดียว (อีกนัยหนึ่งคือ สมาคมศิษย์เก่า Burklee ) กลุ่มพวกเค้าเป็นแนวหน้าที่บุกเบิกพัฒนากีตาร์แจ๊ส ไปสู่จุดเปลี่ยน และ ทิศทางใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิม จากที่นักกีตาร์รุ่นก่อน ๆ เช่น Django Reinhardt, Wes Montgomery , Jim hall , Kenny Burrell ,Pat Martino ฯลฯ เคยนำทางเอาไว้ ในมุมมองของ ผมคิดว่า พวกเค้าพยายามใช้แจ๊สในการผสมผสานที่แตกต่างจากเดิม โดยมุมเน้นไปที่พลังงานดนตรีของตัวเองเป็นหลัก เพื่อใช้เป็นวิถีทางที่จะขยายขอบเขตดนตรีในแบบตัวเองให้ชัดเจน และเข้มข้นขึ้น จึงทำให้มีผู้ฟังหลาย ๆกลุ่ม ยอมรับผลงานของพวกเค้าในวงกว้างอย่างงดงาม ทั้งยอดขาย และคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ (ปกติจะจัดเล่นในร้านหรือ Hall ) เพราะดนตรีแจ๊สจะมีแฟนกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากนัก แต่อย่างคอนเสิร์ต Pat Metheny ที่จัดในบ้านเรามีคนดูเยอะมาก ๆเลยครับ นั้นคงบ่งบอกถึงการนำพาดนตรีแจ๊สในแบบของเค้าที่ประสพความสำเร็จในการสื่อสารและเข้าถึงผู้คนได้อย่างชัดเจน ในคราวนี้ลองเปลี่ยมมุมมองกันบ้าง เราลองมาดูแนวคิดจากบุคคล ที่มีอธิพลต่อวิธีเล่น และแนวคิด - ของสามทหารเสือกลุ่มนี้กันดูนะครับ hotshot คราวนี้ก็เลยใช้ชื่อว่า secondary of licks


Ex.1 Intervallic Lick { mick Brecker } by : John Scofield

ใน ex.1 นี้เป็น lick เป็นแนวคิดจาก Mick Brecker the Band ที่พัฒนามาจากการเคลื่อนที่ขั้นคู่เสียงมาใช้งานใน melodic และ chord ในเชิง Composed โดยนำเอาการเคลื่อนที่ของคู่5 Augmented มาเป็นแกน ซึ่งถ้าเพื่อน ๆมองดีจะเห็น major Tried เคลื่อนที่อยู่ข้างใน 2 bar มี F - Db ( C# )- A - F ( E# ) โดย Scofield ใช้การเชื่อมจาก คู่ 2 minor ( chromatic sond ) เป็นหลัก ใน แบบ Sequence pattern ที่จัดท่วงทำนองลื่นไหลต่อเนื่องในแบบของเค้า แต่มีทิศทางของเสียงที่แน่นอน เสียงที่ออกมาจะฟังอาจจะฟังแปลกหู ค่อนข้างซับซ้อนและ Out สักหน่อยนะครับ ถือว่าเป็น melodic line ชั้นเยี่ยมที่น่าศึกษาครับ

 


Ex
.2 Arpeggio octave { Steve Swallow } by : Pat metheny

อันนี้ ก็เป็นเทคนิคการเล่น Arpeggio ของ Steve Swallow ที่ทำให้เกิดความหลากหลายจากเสียงประสานเดิม ๆ มาจากการใช้ Octave + Arpeggio เข้าด้วยกัน ซึ่งใน Ex. 2 Pat ได้นำเอาแนวคิดนี้มาเล่นในแบบของเค้า โดยคิดจาก diatonic chord ใน GMajor key ที่เล่นต่อเนื่องกันในแบบ triplet note เพื่อน ๆสังเกตแนวล่างสุดจะเป็นตัวที่ช่วยสร้างความแตกต่างบน คู่ 5 Per. บน tried chord อีกที วิธีนี้ผมก็เห็น Eric Johnson ก็ ใช่บ่อย ๆ ในงานของเค้า และอีกหลายคน ในสาย Rock ยุคใหม่ ๆ ….. จุดนี้ทำให้ผมมองว่าเทคนิคหรือวิธีเล่นนั้นบางที่ไม่จำเป็นต้องซับซ้อน แต่ที่สำคัญว่าเราเห็นอะไรในนั้น และทำให้เกิดผลได้อย่างไร เป็นเทคนิคน่าจะได้ผลที่ชัดเจน ถ้าใช้กับพวกเครื่องสาย เพราะผมรู้สึกว่าระยะห่างของคู่เสียงในเครื่องสาย มักทำให้ผมประหลาดใจเสมอ ๆ



Ex.3 blues note & voice chord { Duke Ellington} by: Bill Frisell

Bill Frisell ผู้ที่ถูกกล่าวถึงว่า “ เล่นเสียงแนวนอน ได้อย่างไร้ที่ติ ” ในส่วนวิธีคิดและวิธีเล่นของเค้านั้นเรียกได้ว่าแตกต่างจาก Pat และ Scofield อย่างชัดเจน ผมขอเปรียบเทียบแบบง่าย ๆนะครับ ประมาณว่า... เหมือนกับสายน้ำที่มาจากแหล่งเดียวกันแต่ไหลสวนทางกัน... (เล่น ๆนะครับอย่าคิดมาก) frisell มีเอกลักษณ์การเล่น ที่ผสมผสานกับรูปแบบดังเดิม ในแบบที่ไม่เคยมีมา ใน ex.3 นี้เป็นการแสดงถึง การเติม blues note เข้าไปใน close –voiced chord ซึ่งเป็นบทเรียนจาก Duke Ellington ตอนที่เค้าเรียนอยู่ที่ Berklee ซึ่ง Bill ได้ใช้ 3 , b3 ( D, Db ) และ 5 ,b5 ( F ,Fb ) บน chord Bb7#9 ( Bb F D Ab C# ) เค้าให้เห็นแสดงถึงการใช้เสียงที่กัดกันแต่ ทำให้มันเข้ากันได้ซึ่งปกติจะนิยมใช้ คู่อ็อคเฟต มาช่วยลดความกระด้าง แต่ในการ voiced ของ Bill จะตรงกันข้าม คือระยะห่างของโน้ตที่ไม่เข้ากันให้อยู่ชิดกันมากที่สุด (คุ่2 mionor = C# D , E F ,G Ab , A# B ) เพื่อนเน้นเอกลักษณ์ของเสียง โดยใช้ minor Third ในการเคลื่อนที่ เพื่อลดแรงตึงของเสียง แต่มีทิศทางการเคลื่อนที่ชัดเจน แปลก และน่าติดตาม เพื่อน ๆจะเห็นว่าเค้าใช้การเยียดนิ้วค่อยข้างมาก และเป็นทางนิ้ว ที่ค่อนข้างจะฝืนธรรมชาติของนิ้วมือซ้าย ยิ่งถ้าไม่เคยฝึกกีตาร์ classic มาก่อนเลย จะต้องพยายามมากขึ้นอีกหน่อยนะครับ เค้าจะเน้นกลุ่มเสียงจากการเล่นแนวนอนเป็นพิเศษ sound ที่ออกมา โดยเฉพาะมิติเสียง การเคลื่อนที่ และ เสียงประสาน จึงแตกต่างจากที่เราได้ยินเสียง chord แบบมาตรฐานปกติที่เคยได้ยินกันในแนวตั้ง และที่สำคัญ มีคนพัฒนาวิธีนี้แบบเป็นเรื่องเป็นราว ไม่มากนัก ซึ่ง Bill ได้พัฒนาวิธีนี้จนชัดเจน โดนเด่น เรียกได้ว่าเค้าบุกเบิกจนประสพความสำเร็จ

 

สำหรับแนวทาง ของสามทหารเสือกลุ่มนี้ยังคงเป็นบรรทัดฐานในการศึกษาของนักดนตรีในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะวิธีคิด และวิธีฝึกที่พัฒนาไปไกลเกินยุค และที่น่าสนใจมากอีกจุดหนึ่ง ในความคิดของผมคือเรื่อง “ feel ” เพราะเป็นมันแกนที่สำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกได้ว่า พวกเค้าอยู่ตรงไหน ในส่วนลึกของตัวดนตรี.




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket