เจอกันอีกครั้งนะครับ ..อืม.. คราวเป็นเรื่องเกี่ยวกับมือกันบ้างดีกว่า บางที่ผมเคยเข้าใจว่าการดีดยังไงได้ หรือการปลดปล่อยทางเดินนิ้วให้เสียงโน้ตเป็นไปตามใจเราอย่างเดียว นั้น มันน่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น แต่ มันอาจจะถูกเพียงส่วนหนึ่ง แตไม่ใช่ทั้งหมดแน่นอน เมื่อผมเริ่มสังเกต และวิเคาระห์เสียงกีตาร์ ... อย่างYngwie . ที่สร้างเสียงโน้ตได้ลื่นไหล และ ต่อเนื่องอย่างไร้รอยต่อ ... ทำไม Eric Johnson ถึงได้มีน้ำหนักและความรู้สึกของโทนเสียงเสียง ที่อ่อนไหว ในแบบไวโอลิน หรือ Jim hall ที่สามารถสร้าง_โทนเสียงที่อบอุ่นได้ขนาดนี้ ฯลฯ ก็เห็นว่ามีหลาย ๆปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงที่เป็นแบบ นั้น ซึ่งผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่การฝึกตามความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ผมขอยกจุดที่พอมองเห็น ง่าย ๆก็คือ การจัดระบบตัวโน้ตของมือซ้าย และการดีดมือขวา ที่น่าจะส่งผลต่อทิศทางของ เสียงที่ออกมาอยู่ไม่น้อยทีเดียว ผมมองว่า เป็นการนำเอาแนวทางของเทคนิคเหล่านี้มาหล่อหลอมกับ Feeling และแนวคิดของตัวเอง เพื่อเกิดแนวทาง ในเชิงเทคนิคของเราออกมา ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการนำเอาเทคนิคมาช่วยเสริมสร้างแนวทางเสียงของตัวเอง นั้นเอง ใน shot คราวนี้ ผมเลยขอ scope ไปที่ hand for speed ที่เราจะ ลองมาดูกันว่า การจัดเทคนิคมือขวาและซ้ายในเรื่องของความเร็ว นั้น มีการจัดรูปแบบมือ กับการดีดที่แตกต่างกัน จะได้ผลลัพธ์ ของเสียงแบบไหน ในทางเล่นกันบ้าง นะครับ
Ex.1 Rising Force ( 1988 ) : solo : Yngwie j. Maimsteen
ผมจำได้ว่าเพลง rising force เป็นเพลงเปิดอัลบั้มชุด Oddyssey ที่เค้าพึ่งหายจากอาการบาดเจ็บ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรถยนต์ (เร็วทั้งในจอ-นอกจอเลย) ` เพลงนี้ ตอนแรก ที่ผมฟังท่อน solo นี้ผมลองใช้การดีดแบบ alternate แต่เสียงที่ออกมานั้น เหมือนเสียงทำนองโน้ต ในเพลงก็จริง แต่ความรู้สึกที่ได้ แตกต่างกันมาก เสียงในแบบของ Yngwie นั้น ลื่นและต่อเนื่องมาก แทบไม่ได้ยินเสียงปิคที่ดีดเลยเลย ส่วนของเสียงดีดผมนั้น จะฟังดูเสียงแข็ง และกระแทก ไม่ค่อย smooth อาจเพราะเป็นท่อน _ solo ที่มีความเร็ว และยาว ผมจึงคิดว่าจึงทำให้การใช้ _ aternate ในดีดแบบนี้นาน ๆเกินไป เหมือนกับการฝืนธรรมชาติของการดีด และเสียงที่ออกมาเกร็งเกินไป ที่สำคัญอาจ มีผลต่อกล้ามเนื้อ แต่ถ้าบ้าฝึกจริง ๆ ผมก็คิดว่าคงทำได้ เพียงแต่ผลที่ออกมา คงไม่ใช่เสียงและน้ำหนักเหมือนต้นแบบ แต่ก็ไม่ผิดอะไรถ้าเรามีเหตุผลที่จะเล่นแบบนั้น เพราะอะไร อยู่มุมมองครับ ....และผมก็เจอเฉลย ของ solo ท่อนนี้ Yngwie ในตอนเล่นสด เค้า ใช้การดีดแบบ Economy picking เป็นรูปแบบการ s weep แบบลดจำนวนการดีดลง โดยเฉพาะกับความเร็ว จะทำช่วยให้การเล่นของเรามีประสิทธิภาพในการเล่นต่อเนื่องมากขึ้น Maimsteen . ใช้โน้ตจาก 2สายเป็นหลัก ซึ่งเป็นรูปแบบที่เค้าใช้บ่อยมากๆ ในการสร้าง passing Lick ของเค้า จุดสำคัญของเทคนิคในเพลงนี้นี้ก็คือการใช้ โน้ตในสาย2 ตัวเดียวกัน 2 ตัว เป็นตัว center โดยใช้เทคนิคการ Econom y มากสร้างความสมดุลของเสียง กับการดีด โน้ตตัวเดียวกันในสาย 2 ต้องฝึกเรื่องการควบคุมน้ำหนักการดีดมือขวาให้ดี นะครับ สังเกตการเคลื่อนที่มือขวาของ Yngwie นั้นจะเคลื่อนที่น้อยมาก แต่เสียงที่ออกมานั้นมี shape และน้ำหนักที่ดีมาก ผมคิดว่าเทคนิคนี้คงเป็นเทคนิคหลักอันหนึ่งที่เค้านำมาประยุกต์ใช้ ได้อย่างลงตัวใน Phrase ของเค้า อีกคนหนึ่งที่เป็นหัวแถวของวิธีการพัฒนา แนวทางเล่น Economy แบบนี้ คือ Frank Gambale เพื่อน ๆลองศึกษาดูเองนะครับ
Ex.2 _ Cliffs of Dover (1990)ซ : introduction : Eric Johnson:
ตอนผมยังเรียนอยู่ โชคดีไปเปิด T V ดู น่าจะเป็นช่อง 11 ประมาณช่วง 5ทุ่ม นะครับ นั้นเป็นครั้งแรก ที่ทำให้ผมจำชื่อ Eric Johnson ได้ตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งยังดูเด็กมาก แต่งตัวคล้าย Hendrix ซะด้วย เป็นการแสดง Live ที่ยอดเยี่ยมมาก นับเป็นแนวทางการเล่นที่ ฉีกออกจากเสียงกีตาร์ในแบบ Heavy metal ในยุคที่ผมคุณเคยอย่างชัดเจน ทั้ง song, chord , melody , solo เทคนิค ฯลฯ ของ Eric ตอนนั้นผม เรียกได้ว่าเห็นแล้ว งงครับ ไม่เค้าใจว่าเค้าเล่น และ คิดได้ออกมาได้อย่างไร การมา Live in Bangkok ของ Eric ในครั้งนี้ถือว่าชาวกีตาร์อย่างเราโชคดีนะครับ ที่มีโอกาสได้สัมผัสกับ Feel การเล่นของเค้าจริง ๆ สำหรับเพลง Cliff of Dover ค งไม่ต้องพูดกันมากสำหรับเพลงที่กลายเป็น ตำนานไปแล้ว ผมเดาเอาว่าเพลงนี้ ผมและเพื่อน ๆ คงอยากฟังเค้าเล่นสดอยู่แล้ว ใน Ex2. นี้ ผมจะพูด ท่อนเปิด( introduction ) โดยเน้นไปที่เรื่องของมือซ้ายบ้าง เพลงนี้ผมจะลง transcriptions ให้ดู 2แบบ คือ ex.2a เป็นของ Dave Whitehill และทีมงาน ในส่วน Ex.2b จะเป็นทางนิ้วของเจ้าของเพลง ( Eric Johnson )
Ex.2a Cliff of Dover : Transcriptions by Dave whitehill &Team

สำหรับทางนิ้ว เป็นทางที่ผมรู้สึกว่า จะใช้กันเยอะมาก สำหรับคนที่เล่นเพลงนี้กัน เท่าที่ผมสังเกตนะครับ ผมจะตัดเอามาแค่กระบวนเดียวนะครับ (5 bar ) จุดที่ชัดเจนของ transcription ก็คือ เค้าจัดวางนิ้วของ E minor blues scale = E G Bb B A D ในรูปแบบของ box pattern ที่ทำให้การเคลื่อนที่ของเสียงเป็น step ฟังดูเป็นชุด ๆ ( 4 box ) ซึ่งผมคิดว่าเป็นทางนิ้วที่ จำ และเข้าใจง่าย ว่าคิดมาจากอะไร แต่ความต่อเนื่องของสาย และน้ำหนักของเสียงนั้นจะควบคุมได้ยากหน่อยเวลาเล่น เพราะต้องเล่นหลาย position จึงอาจมีผลทำให้ น้ำหนักการกดนิ้วมือซ้ายที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน แต่ทิศทางของ sound เหมือนเดิม ในช่วงเชื่อมทางนิ้ว ตรง bar 3ไป 4 การจัดทางนิ้วกับ phrase ของชุดนี้ จะฝืนหน่อย ๆ ...ผมอาจคิดไปเองก็ได้นะครับ...
Ex.2b Cliff of Dover :Transcription by Eric Johnson

ในส่วนทางนิ้วของ Eric นั้น( 6 bar ) เค้าใช้ E minor blues scale ใน box pattern ที่ 12 เป็นที่มั่น ผมคิดว่า เค้าต้องการกลุ่มเสียง และน้ำหนักของตัวโน้ตมีความต่อเนื่องในเชิงประโยค มากกว่า กลุ่มเสียงแบบ Pattern ซึ่งทำให้วิธีเล่นยากกว่าใน Ex.1 ทั้งการจำ และการเคลื่อนที่ของนิ้วต้องจัดดี ๆนะครับ และ เค้าใช้ D pentatonic major D E F# AB ซ้อนเข้าไปใน box เพื่อสร้างเสียงในแบบ Extension ขึ้น เพื่อนๆลองสังเกต กลุ่มเสียง ตัวโน้ตใน bar 4-5 นั้น แตกต่างกัน กับ ex.1 ทั้งในเรื่อง กลุ่มตัวโน้ต ความรู้สึก และทิศทางของเสียง อีกจุดที่แตกต่างกัน อย่างจัดเจน ก็คือ รูปแบบทางนิ้ว แต่เหตุผลที่แท้จริงนั้น ผมไม่แน่ใจนะครับ ต้องถาม Eric เอาเองว่า เค้าต้องการอะไร แต่ผมขอแสดงความเห็นคราว ๆว่า น่าจะเป็นเรื่องแนวทางของเสียง และอารมณ์ ที่เค้าต้องการสื่อออกมาให้เรารู้สึกถึง music ในแบบของเค้า ซึ่ง ผมคิดว่า เราคงมองได้อีกหลายแง่มุมมาก จะถูกบ้างหรือผิดบ้าง สำหรับผมมองว่าไม่เสียหาย อะไร เพราะอย่างน้อยเราก็แสดงว่า เราได้เริ่มคิดแล้วละครับ แล้วเจอกันใหม่ครับ