นิยามของคำว่า guitar hero เริ่มเรียกติดปากกันมาประมาณยุค 80 เป็นคำที่เปิดกว้างในเรื่องของ เทคนิค แนวทาง และไอเดีย ให้กับนักกีตาร์ร็อคโดยเฉพาะ ผมจำได้ว่า ในช่วงนั้นมีนักกีตาร์ออกผลงานบรรเลงกันมากมายให้ศึกษากัน จนตอนหลังกลายเป็นแฟชั่น ที่ขาดจุดยืนไป โดยส่วนตัว ผมคิดว่า คำว่า guitar hero นี้เป็นคำที่มีความสำคัญต่อ นักกีตาร์ชาติเดียวกันมาก เพราะการสร้างผลงาน และเทคนิคการเล่น ให้เป็นที่ยอมรับในชาติเดียวกันนั้น จะส่งผลต่อกลุ่มกีตาร์จนถึงสังคมคนดนตรี ได้มีการตื่นตัวมากขึ้น ผมเชื่อว่า guitar hero ที่ดี น่าจะมีการสร้างสรรค์ ทั้ง วิธีคิด และวิธีเล่น ออกมาตามแนวทาง หรือเป้าหมายในรูปแบบของตัวเองได้ จึงจะสามารถเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ว่าแนวทางกีตาร์ hero บ้านเรา มีวีธีคิดที่แตกต่างกับนักกีตาร์ชาติอื่นอย่างไร ว่าอะไรคือจุดเด่น และจุดที่แตกต่าง ฯลฯ อย่างอเมริกา ก็ถือเป็นต้นแบบ อย่าง Jimi สวีเดน ก็ Yngwie , นอร์เวย์ – Ronni le tekro ฯลฯ อย่างบ้านเราก็มี พี่โอม , พี่ โอ๋ O-larn และพี่ pop the sun และอีกหลาย ๆท่าน ที่สร้างแนวทางให้วงการนักเล่นกีตาร์บ้านเรา มีการพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน เพราะสามารถทำให้เราเห็น และสัมผัสของจริงได้ ทั้งวิธีคิด และเทคนิค ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำไมผมไม่ได้วิเคราะห์งานของพี่ ๆเค้าลงในกีตาร์ไทย เพราะเราโชคดีที่มีโอกาสได้เรียนรู้ กับตัวจริงเสียงจริง อยู่แล้ว...... และคราวนี้เราลองมาดูศึกษา Akira Takasaki ( guitar hero japan ) นักกีตาร์ที่ชาว ญี่ปุ่น ภูมิใจ และ ยกย่อง นับเป็นนักกีตาร์เอเชียคนแรก ๆ เลยที่เคย บุกตลาดยุโรป กับวง Loundness มาแล้ว ที่สำคัญ เค้าเป็นเอเชียเหมือนเรา มาดูกันนะคับว่าทำไม Akira จึงเป็น hero ของนักกีตาร์ญี่ปุ่น
Ex.1Riff - Loudness [Heavy metal hippies] Howling Rain:0'00''-17]

ผมรู้สึกว่า Riff นี้ ให้ความรู้สึกแบบชาตินิยมเลยทีเดียว ฟังแล้วดูมีเอกลักษณ์ ในแบบ Akira ซึ่งเค้าชอบ เอาระบบเสียงของตะวันตก มาสร้างเป็นสีสันในแบบ ตะวันออก ใน Riff นี้เค้าคิดจาก G mixolydian mode = G A BC D EF ผมคิดว่า ไอเดีย เค้าใช้การเลือกโน้ต 6 7 2 3 4 ( EF A BC ) 5 เสียงจาก บันไดเสียง มาสร้าง riff นี้ เพื่อได้ระยะขั้นคู่ที่น่าสนใจ ผมลองวิเคราะห์ดู ได้เป็น 1 b2 #4 #5 6 ซึ่งคล้ายกับ Enigmatic scale ( 1 b2 3 #4#5 #6 7 8 ) ซึ่งเป็น exotic scale คือพวก scale พื้นเมือง หรือ ตะวันออก ที่มีสุ้มเสียงเฉพาะตัว ในส่วนของสีสันนั้น เค้าสร้างความแข้งแรงจาก strong beat เป็นหลัก โดยจุดเด่นอยู่ตรงบีท3 และ4 ที่มีการ ดันสาย1/2เสียง และการ variation ใน bar 3 เป็น Riff heavy แบบสั้น ๆ แต่ฟังหนักแน่น มีเอกลักษณ์ดีครับ
Ex.2 solo album [ seven pepper] :0'13''-0'20''

อันนี้ก็เป็น r Riff ใน งานส่วนตัว ของเค้า ที่ผมเอามาให้เพื่อน ๆ ดูนะครับ เป็นการเล่น rhythm ในแบบ shuffle โดยใช้ D Lydian D E F# G# A B C# บน chord Bm เค้าใช้การ voice ในแบบขั้นคู่3 5 หรืออาจมอง 3 , b7 ( guide tone )ใน chord Bb7 ก็ได้ครับ โดยเล่นสลับกับการ mute และใช้ passing note ตัว A# ( #5 ) เพื่อกลับไปที่ root B น่าจะเป็น sound ในแบบ blues rock นะครับเพลงนี้
Ex.2a Jap gold cd 0'23-1'16”
อันนี้ก็เป็น riff จากงานส่วนตัวเค้าอีกเหมือนกัน จุดที่น่าสนใจก็คือเค้าพยายามสร้างเสียง และท่วงทำนองในแบบญี่ปุ่น ออกมาเป็น groove riff ของตัวเอง ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นอันหนึ่งของเค้าเลยที่เดียวครับ riff นี้เค้าคิดจาก chord F# ( b9 11 ) ผสมกับเสียงสายเปิด
Ex.3 Solo album Tapping “ waltz man ” cd :2'35”-2'40”

ตอนนั้น ใคร ๆ พยามจะสร้าง tapping แบบ Van Halan ในตอนนั้นผมจำได้ว่าได้ดู Akira Tapping ฟังเป็นเสียงที่รวดเร็ว รื่นไหล และมี sound ที่แตกต่างจาก Eddy ซึ่งใน Ex.3 นี้ เป็นการ tapping ใน E pentatonic minor from ทั้งหมด กับ โน้ต 6พยางค์ จุดเด่นอยู่ที่ไอเดียในการเรียบเรียงท่วงทำนองที่ฟังดูแล้วซับซ้อน แต่มีท่วงทำนอง ในการ Tapping ส่วนใหญ่เค้าจะเริ่มด้วยเคาะนำก่อน ซึ่งส่วนมากจะดีดแล้วเคาะ ในท่อนนี้เค้า tapping ลงโน้ตตัวที่ 1 ,4
Ex.4 improvisation: Loudness [Heavy metal hippies] : freedom :


เป็นการ improvisation บน chord Em แต่เค้าพยายามจะสร้าง solo จาก E major scale ซึ่งเสียงมันน่าจะกัดกันจากระยะคู่เสียง dissonant เค้าจะเล่นด้วยวิธีอะไร เพื่อน ๆลองมาดูกันเองละกันละครับ แล้วเจอกันใหม่ครับ