จะว่าไปแล้ว
ถ้าเราจะศึกษาเสียงกีตาร์ Rock 'n' Roll ตั้งแต่ในอดีตมา
เราคงหลีกเหลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่รู้จัก ไม่ฟัง หรือไม่ศึกษาถึงทิศทางแห่งประวัติศาสตร์ของบุคคลเหล่านี้
อย่าง Chuck Berry, Jimi Hendrix , Jeff beck ,Edward
Van. Joe Sat.ฯลฯ ซึ่งเป็นผลและอธิพลต่อแนวทางการเล่นในโลกของนักกีตาร์
รวมทั้งตัวผมด้วย ผมเคยหยุดคิด.. และวิเคราะห์ถึงวิธีการเล่นของตัวเองดูนะครับ
.... ว่าบางที่เราอาจใช้แนวคิด และเทคนิคจากในอดีตมากเกินไป
จนทำให้เราไม่เคยทดลองหล่อหลอมแนวคิดเล็ก ๆของเราเองเข้าไปเองบ้าง
เพราะบ้างทีเราเล่นเพลงของคนอื่นจนช่ำมาก ๆก็อาจจะเกิดผลเป็น
อาการติด Lickฯลฯ หรือแนวคิดของคนอื่นมากเกินไป ในความรู้สึกของผมนะครับ
อีกจุดหนึ่งที่ผมสักเกต จากปัญหาของตัวผมเอง ก็คือ เราจะชอบมองจากกีตาร์ไปก่อนเสมอ
เช่น Riff มันส์มาก solo กันหูดับ หรือ เทคนิคแปลก ๆ ,
pattern scale ที่หลากหลาย ฯลฯ ผมรู้สึกว่ามันกลายเป็นภาพที่สะท้อนมุมมองจนกลายเป็นแนวคิดแบบเดียวกัน(โดยเฉพาะเทคนิคกีตาร์rock)
ที่ทำให้เรามองกีตาร์เป็น View ที่มีบรรทัดฐานเดียวกัน
เช่นต้องเล่นเร็วชัด เทคนิคแพรวพราว เล่นเหมือนแผ่น สุด
ฯลฯ ) ผมเรียกอย่างนี้ก็แล้วกันนะครับ จนลืมมองจุดอื่น
ๆ ว่าก็มีความน่าสนใจ โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับเสียงกีตาร์เลยก็ได้
ซึ่งมีความแตกต่างในเชิงแนวคิด ที่อยู่รอบ ๆตัวเราเต็มไปหมด
ผมคิดว่านักกีตาร์ส่วนใหญ่ มักจะให้ความสำคัญของเสียงกีตาร์เป็นจุดเด่นเสมอ
ในการพัฒนาวิธีคิดในการเล่น และการฟัง? เพื่อน ๆลองหันกลับหลังไปนับCD
หรือเทปที่บ้าน ดูซิว่ามีชุดไหนที่ไม่มีเสียงกีตาร์บ้าง
?? .... เมื่อก่อนผมก็ไม่เข้าใจว่า "ก็เราเล่นกีตาร์นิ
เราก็ต้องฟัง ศึกษางานกีตาร์ซิ " แต่นั้นเป็นจุดหนึ่งของการฝึกและศึกษาในสิ่งที่คนอื่นได้เริ่มทำไปแล้ว
ซึ่งบ้างทีอาจไม่ใช่จุดหลักของทิศทาง และแนวคิด ของเราก็เป็นได้
(ในความคิดของผมนะครับ) เราอาจต้องลองเปลี่ยนวิว อื่น
ๆดูบ้าง ..บางที่ view เก่า มันซ้ำซากจนเราไม่รู้ตัว แค่เพียงเราลองเริ่มก้าวออกมาจากView
เดิม ๆของเราบ้างก็ดีนะครับ อาจเจออะไรที่สนุกขึ้นได้
เช่นลองคิดลูกTapping จากเปียโน หรือลองเอาแบบฝึกของไวโอลินมาฝึก
ฯลฯ ซึ่งสิ่งที่ผมเล่ามานี้เพื่อน ๆไม่ต้องซีเรียส นะครับ
เป็นแค่มุมมองเล็ก ๆ เพื่อเพื่อน ๆจะได้ประโยชน์บ้าง วันนี้ผมเลยเอา
โน้ตเครื่องเป่าแนว jazz มาสร้าง Lick กันดูบ้างครับ เป็นแนวการเปลี่ยน
View lick ของคนกีตาร์ที่นิยมทำมาเนิ่นนานแล้วจ๊ะ

Ex.1 Sonny Rollins / Tune-up
Sonny Rollins ตำนาน Virtuoso saxophonist (tenor) ผู้นี้
ทั้ง แนวทางในการimprovise และงานเพลง ที่เต็มไปด้วยการสร้างท่วงทำนอง
และ space ที่งดงาม ฯลฯ ในEx.1นี้ผมเอา patternสั้น ๆ
(lick) จากการimprovise ในปี 1957 ในเพลง Tune-up ของ
Miles Davis Sonny .. ใช้ sound ของ G mixolydian มาสร้างทำนองด้น
บนทางเดิน chord Dm7 G7 CMajor7 ( ii7- V7- I) สำหรับแนวคิดการใช้
ทำนองเครื่องเป่าและมาประยุกต์ให้เป็น line guitar นั้น
เราควรจะฟัง และทำความเข้าใจในเรื่องของเสียงเครื่องเป่าให้คุ้นเคยก่อน
ในมุมมองของผมสำหรับเรื่องเทคนิค เครื่องเป่านั้นใช้ลมในการควบคุมเสียง
แต่กีตาร์ใช้ดีด ความแตกต่างในเรื่องสีสัน(tone color)
กับเทคนิคของเครื่อง จะมีผลต่ออารมณ์ของท่วงทำนองอย่างชัดเจน
ซึ่งเราต้องพยายามจับรายละเอียดตรงนี้เอาเองนะครับ โดยเฉพาะความต่อเนื่องของเสียง
และการสร้างประโยค สำหรับ ในห้องแรกเป็น Arpeggio Dm7
เค้าเลือกโน้ตตัว 9 มาแทนroot ผมเลย จัดเป็นรูป sweep
(pos.10) กับเทคนิค pull off พร้อมกับการทำเสียงสั้นที่
โน้ต D ผมได้จัดวีธีดีดคร่าว ๆไว้บ้างแล้ว เพื่อจะได้สัมพันธ์กับการดีดaccent
โดยเฉพาะใน beat ที่ &4
Ex.2
Miles Davis / So What