ผมรู้สึกว่าดนตรีในแต่ละยุคสมัย
ร่วมทั้งการการเคลื่อนไหวของกระแสดนตรีฯลฯ จะมีอธิพลต่อรสนิยมทางดนตรี
(Taste )ต่อผู้ฟังและผู้เล่นดนตรี โดยตรงทีเดียว ไม่มากก็น้อย
(ผมรู้สึกอย่างนั้นนะครับ) โดยเฉพาะดนตรีที่อยู่ในยุคเดียวกับเรามันเหมือนกับเราสามารถดูดซึมพลังของดนตรีในยุคนั้นจริง
ๆ ได้ ไม่ใช่แค่ศึกษาข้อมูลประวัติจากหนังสือหรือ Vdo ,
CD…… แต่เป็นการสัมผัส และความประทับใจจากความรู้สึกจริง
ๆ มันน่าจะเป็นอารมณ์เดียวกับการดู Live นะครับ (ถ้าเปรียบเทียบง่าย
ๆ ก็เหมือนตอนที่การ์ตูน โดเรมอนมาฉายครั้งแรกในTV ตอนนั้นฮือหามาก
เด็กๆทุกคน(ผมด้วย)ต่างเฝ้ารอดูหน้าTV ความรู้สึกนั้นผมยังพอจำได้อยู่เลยครับ
(โดยเฉพาะตอนกลับมาอ่านการ์ตูนเรื่องนี้อีก) ซึ่งตอนนี้เราก็อยู่ในยุค
2000 ทั้งกระแสดนตรี และสังคม ที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วมาก(เร็วกว่าอิงวี่อีก)
นี่ผมมองจากปี 1983 นะครับ เพราะเป็นช่วงที่ผมเริ่มสนใจดนตรีRockจริง
ๆจัง ๆ และผูกพันกับดนตรี ในปีนี้(1983)มากเป็นพิเศษ ผมก็เลย
ขอเอามาเป็นหัวเรื่องของ Hot shot .ในคราวนี้ซะเลย ว่า Axe
Riff 1983 (Riff ของขุนขวานปี 1983) เราลองมาดูกันว่า Riff
>> 1983 ในยุคนั้นจะมีมุมมองที่แตกต่างจาก Riff 2000
ยุคนี้อย่างไรนะครับ

Ex.1 Rainbow in The Dark from Holy Diver (1983) :
Dio / Vivian Campbell
Vivian Campbell
เป็นชื่อนักกีตาร์หน้าใหม่ไฟแรง ที่ดังมากในตอนนั้น ด้วยสำเนียงกีตาร์ที่ดุเดือด
และRiff ที่ดุดัน ซึ่งผมรู้จักเค้าจากวง Dio ซึ่งเป็นดนตรีในแนว
Heavy metal ที่มีป๋า Ronnie James Dio นักร้องเป็นหัวเรือใหญ่
ซึ่งปัจจุบันนี้วง Dio ก็ยังอยู่แต่เปลี่ยนมือกีตาร์มากมายเหลือเกิน
และคนที่ลงตัวกับDioมากสุดในมุมมองของผมนะครับ ก็คือ Vivian
คนนี้ละ ปัจจุบันนี้อยู่กับDef Lef. ตัวอย่างเพลง Rainbow
in the Dark เป็น Riff ที่ยอดเยี่ยม ของ Dio เลยที่เดียว
Vivian ใช้ power chord A5 , F5, G5 กับ สัดส่วนของเสียง
riff ที่ใช้การ tie note และโน้ตประจุด ได้อย่างลงตัวกับบทเพลงมาก
เพียง 2barเท่านั้น ซึ่งผมรู้สึกว่ามันง่ายมากเลยที่จะเล่น
และจำ (เพื่อนลองเล่นดูซิครับ) แต่มันกลับยากที่จะพยายามคิดRiff
ดีดีที่เรียบง่าย ให้เข้าไปลงตัวอยู่ในบทเพลงได้.. ถ้าผมจำไม่ผิดนะ
ตอนนั้น Vivian ใช้เสียงแตกก้อน ของ Boss ชื่อ Heavy metal
ตัวสีดำ ปุ่มส้ม ๆ 4 ปุ่ม เจ้าตัวนี้ปรับยาก และเล่นยาก
เอาเรื่องเลยครับ เพราะsound มันรก และฟุ้งง่ายมาก มีอีกคนที่ผมชอบ
และเห็นเค้าใช้ตัวนี้อยู่ตลอด เหมือนกัน ชื่อ Dominic
Miller เป็นมือกีตาร์ และนักแต่งเพลง ใน Band ของ Sting
(police) แต่ไม่รู้ว่า เค้าใช้เสียงจากตัวนี้ทำหน้าที่อะไร
ไม่แน่ใจครับ ซึ่งมันให้ผมเห็นอีกมุมมองหนึ่งว่า การเลือกใช้เอฟเฟคนั้น
มันอยู่ที่คนใช้เป็นคนคิดเลือก และออกแบบเสียงในบทเพลงเอง
ว่าเราต้องการเสียงอะไรจากตัวนั้น เพราะอะไร ทำไมฯลฯ ซึ่งอย่างน้อย
ก็ช่วยทำให้เรามีมุมมองจากตัวเองออกไปมากขึ้น จนอาจพัฒนาsoundจนเป็นฉบับของตัวเองเลยก็เป็นได้ครับ

EX.2 Every Breath You Take From… (1983) : The police
/ Andy Summers
พอพูดถึง Sting
ก็อดไม่ได้ที่จะพูดถึงเพลงอมตะเพลงนี้ครับ เป็นเพลงฝรั่ง
pop rock เพลงแรก เลยที่ผมชอบมาก ๆ ท่วงทำนองของ riff
+เนื้อหาของบทเพลง ที่สุดเทห์ ในความรู้สึกตอนนั้นจนถึงตอนนี้
ยังฟังไม่เคยเบื่อเลยครับ The police เป็นวงร็อค Group
3 ชิ้นที่น่าศึกษาวงหนึ่งเลยครับ โดยเฉพาะวิธีการเขียนเพลงของ
String อดีต จนถึงปัจจุบัน สำหรับ Andy Summer นั้น ถือเป็นนักกีตาร์หัวก้าวหน้าที่หลากหลายในยุคนั้นที่เดียว
ทั้งในเรื่องการของใช้ Soundให้ลงตัวกับเทคนิคการเล่น
และการเอาเสียงจากกีตาร์ซินธ์มาใช้กับบทเพลงของ Police
ได้อย่างลงตัว (ตอนนั้นซินธ์..เป็นเรื่องที่ใหม่มาก) และ
Andy ยังเป็นนักกีตาร์ที่ได้ศึกษาดนตรีที่หลากหลายสาขา
(คลาสสิคจนถึงแจ๊ซ) และมาประยุกต์ใช้กับวิธีคิด และการเล่นของตัวเอง
ซึ่งเป็นจุดเด่นของเค้า ผมยังจำได้ว่าเค้าได้ขึ้นปก guitar
player บ่อย ๆ ในยุคนั้น ในมุมมองหนึ่งผมคิดว่า สิ่งที่เค้าพยายามทำในยุคนั้น
นักกีตาร์ส่วนใหญ่ในตอนนั้นยังไม่ค่อยทำกัน สำหรับ เพลงนี้ใช้ทางเดิน
chord ใน A Major Key I Vi IV V แต่มีการ extensions เข้าไป
= Amaj9 F#m(add9) Dsus4 Esus4 เป็นทางเดิน chord ที่เราได้ยินบ่อย
ๆในเพลงpop แต่ Andy ทำให้ฟังดูน่าสนใจ โดยการใส่เทคนิคการทำเสียงบอดจากมือขวา
palm muting (P.M.) กับ eight-note และจัดเรียงการ picking
ให้มีการvoice เป็นแนวทำนองใน sound ของ chord จุดที่สำคัญคือ
part Rhythm ของ Andy นั้นจะส่งเสริมบทเพลงร้อง3ชิ้นได้ลงตัวอย่างยอดเยี่ยม
โดยไม่เน้นเสียง Solo มากเกินไป ซึ่งในตอนนั้น guitar
จะsoloกันหลายนาที (โซโลกันเป็นไมล์) จึงไม่แปลกเลยที่เพลงนี้
เป็นเพลงอมตะที่ใคร ๆก็กล่าวถึงโดยเฉพาะ ความลงตัวในวิธีเล่นกับบทเพลง
ที่มีการนำเอาเทคนิคการP.M. มาใช้ในการ Voice บางทีผมรู้สึกเหมือนกันว่า
เวลาที่เราฟังอมตะที่เราชอบ มันให้รู้สึกลงตัวไปหมดทุกอย่าง
เหมือนเป็นเพลงที่คิดง่าย ๆ แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด..ครับ

Ex.3 Captain Nemo from ( Built to DESTROY) 1983 /
Michael Schenker Group

Riff จากเพลงบรรเลงเพลงนี้ผมได้ยินครั้งแรกในจากเทปการแสดงสด
Rock will Never Die ของ Michael Schenker Group ผมแทบไม่ยากเชื่อเลยว่าRiffนี้เล่นด้วยกีตาร์เพียงตัวเดียว
เพราะฟังดูซับซ้อนมาก ตอนนั้นผมพยายามแกะเท่าไรก็ยังไม่ครบทุกเสียงอยู่ดี
โดยเฉพาะมือขวาที่ยากมาก กว่าจะดีดโน้ตแต่ละตัวได้ ก็มึนแล้วครับ
สีสรรของ Riff เพลงนี้ ผมฟังแล้วรู้สึกว่า sound ใหม่
และแปลกหูมาก ในตอนนั้น (1983 ) เพราะ Michael ได้ใช้
sound ของ A Mixolydian mode (A B C# D E F# G) + เทคนิคการดีดข้ามสาย
เพื่อทำให้เกิดขั้นคู่เสียงที่ต่างระดับกัน โดยเฉพาะคู่8(octave)
และ ใช้โน้ต A , G เป็นตัวเชื่อมหลักของ Riff โดยตลอด
การจัดการเคลื่อนที่โน้ตวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความซับซ้อนของเสียงที่โดดข้ามไปมาในแนวตั้ง
ผมจำได้ว่าเทคนิค และไอเดียแบบนี้นำมาใช้ และพัฒนามากในยุค
ประมาณ ปี 1987 -19…. ครับ เป็นเทคนิคหนึ่งที่ต้องฝึกคิดบ่อย
ๆ เพราะจุดสำคัญก็คือความเหมาะสม ระหว่างท่วงทำนองที่ต้องลงตัวกับเทคนิค
และใช้ทำหน้าที่ในส่วนไหนของบทเพลง …… Captian Nemo จึงเป็นเพลงบรรเลงตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมเพลงหนึ่ง
ในความคิดของผมเลยทีเดียวครับ เพราะเพลงนี้มีครบเครื่องเลย
โดยเฉพาะคนที่ชอบกีตาร์ Rock ที่มีกลิ่นอาย Classic