เรามาต่อกันจากคราวที่แล้ว
นะครับ คราวนี้เป็นของ Joe Satriani บ้าง ช่วงนี้โรคไข้หวัด
sound ใหม่ ๆกำลังมาแรง และยังไม่รู้ว่าใช้เอฟเฟคอะไรด้วย
*+* ขนาดJoe ยังบายเลย…. ยังไงเพิ่อน ๆ ก็พยายามออกกำลังกายบ่อย
ๆ ให้ร่างแข็งแรงไว้ก่อนนะครับ ส่วนตัวผมก็กำลังพยายามทำอยู่ครับ
และยังช่วยทำให้เราเคลื่อนไหวบนเวทีได้คล่องตัวด้วย ครับในตอนที่แล้วผมเขียนถึงการใช้
chord และ Lick ของ Paul Gilbert ที่นี้เราลองมาดู ของ Joe
กันบ้าง
EX.1a Ice9 Interval Riff (Gtr. 1)

สำหรับเพลงนี้ เป็นเพลงหนึ่งที่โจ ชอบนำมาใช้เล่นสด ในการแสดงของเค้า
นอกเหนือจากท่วงทำนองกับ riff ที่โดดเด่นแล้ว ในความคิดของผม
ยังเป็นเพลงที่สามารถเล่น part Rhythm. และ solo ได้ลงตัวจากกีตาร์ตัวเดียวอีกด้วยครับ
จึงน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่โจ ชอบนำเพลงนี้มาเล่นสดบ่อย
ๆ สำหรับ เพลง Ice9 นี้ โจคิด จากคู่เสียง (Interval)
เพียง 2ตัว มาสร้าง riff ที่ยอดเยี่ยมได้ โดยใช้ sound
จากเสียง power chord หรือ คู่ 5 perfect (3เสียง1/2 )
และ คู่ 3 Major (2เสียง) เป็นหลักในriffเพลงนี้ โดยให้
C# 5 ( power chord ) ใน Emajor key เป็นตัวดำเนินทำนองหลักของ
Riff ในห้องที่ 1-8 จุดสำคัญ ที่เป็นสีสันของ Riff นี้
ก็คือการเคลื่อนที่ของ คู่เสียงจาก E5 (E B) ไปหา F# (F#
A#) และTie เสียง เพื่อไปลงที่ C#5 (C# G) ใน up beat
ซึ่งเป็นจุดลงสวยงาม และสำคัญมากสำหรับ riff นี้ ที่ทำให้ฟังดูสะดุดหู
แต่กลับมีการเคลื่อนที่ของคู่เสียงที่ต่อเนื่อง ในแบบ
Parallel motion (เคลื่อนที่ขนานไปในทิศทางเดียวกัน ลองสังเกตคู่เสียงโน้ตใน
E5 - F# - C#5 ) จึงช่วยทำให้ทำนองฟังดูกลมกลืน และต่อเนื่อง
.โดยใช้ eight - note / เป็น rhythmic หลัก และใช้ sixteen
note ใน Beat 1 4 ช่วยสร้างสีสัน ลองสังเกตบีทที่ 4 ห้องแรก
ในsixteen note โจ จะใช้ คู่ 7 minor (C# B) คือ dominant
sound จาก C#7 เป็นตัวส่งที่ลงตัวนั้นเอง
EX. 1b Ice chord (Ice9) Gtr.2
มากันต่อกันจากEx1a
นะครับ ในEe.1bนี้เป็นการเลือกใช้ sound ที่ต้องการ มาช่วยเพิ่มสีสันของบทเพลง
ซึ่งโจได้นำมาใช้เสริมใน part Rhythm ของGtr.1 โดยใช้
Gtr.2 เล่น ซึ่งเป็นsound โดดเด่นและ ฟังดูสมัยใหม่ โจใช้
ขั้นคู่ที่มีโน้ตซ้ำเสียงเดียวกัน unison คือโน้ตE กับโน้ต
F# ตัว9 = E E F# (tried ) ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของ ชื่อ
Ice9 =Eadd9(no3rd) ผมเดาเอาเองนะครับ เป็น ice sound
เย็น ๆ บน chord C#5 :ซึ่ง โจใช้ใน Beat ที่ 1ของหัว Riff
เลย ส่วนตัวSolo (melodie) เป็น Gtr.3ครับ เราจะเห็นเลยว่าวิเคราะห์การคิด
และการสร้างนั้นทำให้เห็นที่มาที่ไปมากขึ้นเหมือนกันนะครับ
แต่คงไม่ถูกทั้งหมด เพราะเราไม่สามารถคิดแทนคนแต่งจริง
ๆได้ทั้งหมด แต่……เราสามารถคิดและสร้างเองได้ ทั้งหมดแน่นอนครับ
เพราะที่มามาของวิธีคิดมาจากเรานั้นเอง
Ex.2
Arpeggio Extension : The Power cosmic 2000 Part II
ทีนี้เราลองมาดูการ Arpeggio จากเพลง พลังแห่งจักวาล 2000
ของโจ ชื่อเพลงฟังดูกว้างใหญ่มากเลยครับ เราลองมาดู sound
ของเค้าดูนะ ผมเลือกท่อน Intro part II มา นะครับ เพราะตรงกับเรื่องการ
Arpeggio พอดี แต่ควรจะฟัง Part I ก่อนจะดีมากเลยครับ
เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับConcept ของเพลงด้วย ท่อนนี้เป็นการใช่เทคนิค
Hammer on + แนวคิดใหม่ ๆ ในของวิธีการเล่นของโจ กับsound
ของ chord ซึ่งไอเดียนี้ที่เคยใช้มาแล้วจาก เพลง Midnight
จนเป็นกลายเป็นแนวทางใหม่ของวงการกีตาร์เลยทีเดียว แต่คราวนี้โจเอามาคิดใหม่
โดยใช้มือซ้ายเล่น Hammer on ในโน้ตทุกตัว ส่วนมือขวาใช้การ
Dampen String คือการใช้มือขวาอ้อมข้ามมือซ้าย ไป หุ้มปิดสายทั้ง
6 ด้วยมือขวา อันนี้ถือเป็นเทคนิค และ การทักษะการควบคุมจังหวะที่ยากครับ
ผมเลยเอามาแค่ 2chord /8bar = Cm11 (C Eb G Bb D F) กับ
Ebmajor9(#11) (Eb G Bb D F A) ซึ่งเป็น riff sound ที่เกิดขึ้นนี้เป็นการ
เอา chord Cm , Ebmajor มา Extension chord (ขยายขอบเขตของเสียง
จากโน้ตในสเกล) โจจะเน้น โน้ตตัว11 ของchord เป็นพิเศษ
(F และ A) เค้าจะจัดลำดับทิศทางของเสียงเป็นรูป chord
ในแนวตั้ง จากเสียงต่ำไปสูงและกลับมาต่ำ(root) เพื่อน
ๆลองสังเกตตัวโน้ตทุกตัวจะอยู่1ตัวต่อ1สายตลอด ช่วยทำให้เสียงการ
Hammer on ในรูปchord มีเสียง และสัดส่วนของโน้ตที่สม่ำเสมอ
กับจังหวะ แต่ก็ยากอยู่ดีครับ T T เพราะเราต้องเคาะนำหนักของนิ้วมือซ้ายได้แน่นนอนจริง
ๆ โดยเฉพาะตอนย้อนกลับ (ต้านแรงโน้มถ่วงจะยากมาก ๆ ) ควรจะเล่นช้า
ๆ เลยครับ หรือไม่ก็ท่อนค่าตัวโน้ตใหม่เป็น eight note
การใช้ตัวหยุด rest note โจใช้ได้เยี่ยมครับ สำหรับ The
power cosmic 2000 เป็น riff sound ที่ลงตัวกับ เสียง
loop ที่ฟังดูสมัยใหม่ และลึกลับน่าติดตาม ซึ่งเพื่อนต้องติดตาม
และค้นหากันต่อเองนะครับ !! ! .