Main Menu
 Home หน้าแรก
 login / สมาชิก
 BuyerBook
 รายการ TV
  คอร์ด / เนื้อเพลง
  วีดีโอ คลิป
  Webboard
  Classifieds
  ข่าวสารดนตรี
  Review & ทดสอบ
  งานคอนเสิร์ต
  บทความดนตรี
  Cools Links
  Artist Gear
 
  About Us

10670


 Hotshot:     Nuno Bettencourt รูปแบบการsolo และ rhythm ที่มีแนวคิดใหม่ ๆ     11/16/2002    อ.โจ้
เมื่อ 10กว่าปี (1988 -1998)ที่ผ่านมา นับว่าเป็นยุคของขุนขวาน ที่เรียกว่า Guitar Hero อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น Paul Gilbert , Richie Kotzen , Zakk Wylde ฯลฯ แต่มีกีตาร๋อีโร่อยู่คนหนึ่งที่ผมชอบวิธีการเล่น และคิดของเขา แต่กลับไม่ค่อยได้ข่าวคราวเท่าไร ความจริงน่าจะมีผลงานในเชิงกีตาร์ออกมาให้ฟังบ้าง Nuno Bettencourt กีตาร์ฮีโร่เชื่อสาย อินเดียน (ที่ได้ตำแหน่ง Player of the year / Guitar World) ในยุคนั้นเค้าถูกจับตามองมาก และถูกยกย่องว่าจะเป็นผู้มา สานต่อยุคจาก Steve Vai เลยทีเดียว ด้วยรูปแบบการเล่นกีตาร์แนว Metal Funky ที่ดุดัน และ การจัด รูปแบบการsolo และ rhythm ที่มีแนวคิดใหม่ ๆ ร่วมทั้งเทคนิคที่ยอดเยี่ยม ซึ่งถ้าใครเคยเล่นเพลงของ Extreme จะรู้ว่าเทคนิคกีตาร์ของ Nuno ต้องซ้อมหนักขนาดไหน โดยเฉพาะลูก String skipping ลูกข้ามสาย จากมือขวาที่รวดเร็วและดุดันปานพายุหมุนของเขา งั้นเราลองมาดูกันเลยก็แล้วกันนะครับ ผมจะใช้โน้ตจากชุด II Pornograffitti ที่ประสพความสำเร็จสูงสุด มากกว่า 3 ล้านcopy เป็นหลักก็แล้วกันนะครับ

Ex.1 Funky motive


ในEx.1 เป็น เทคนิคการสับchord ในแบบ Funky ที่ Nuno เอามาใช้ประยุกต์ในเพลง Get the Funk out เป็นการเทคนิคการอุดสาย( Mute) จากมือซ้าย และการเน้นใน up beat 3&4 ลองทำทีละบีทก่อนนะครับ เช่น ฝึกออกเสียงก่อน 1 2 3 4 / 1 beat โดยเน้นเสียงที่ 3 และนับ 4 เอาใว้ในใจ และลองพยายามฝึกกับเสียง Clean ก่อนใช้เสียง drive ความสม่ำเสมอของการดีดมือขวาเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนเทคนิคการ mute นั้น เราสามารถฝึกใช้ทั้งได้ทั้ง 2 มือ แต่เสียง และความรู้สึกจะต่างกัน สำหรับผมใน ex นี้ใช้มือซ้าย mute เพราะทำให้มือขวาสบัดได้อย่างอิสระ และลงตัวกับการดีด เพื่อน ๆ ควรจะฝึกกับมือกลองประจำตัว( Metronome) เริ่มจากช้า ๆ นะครับ …..อย่าลืม การหยุดเสียง และการควบคุมน้ำหนัก กับ space ของเสียงด้วยนะครับ

Ex. 2 String Skipping : Eminor Pentatonic


ใน ex.2 นี้เป็นการใช้เทคนิคเข้ามาเปลี่ยนสีสันของ scale โดยใช้วิธีการดีด แบบ ข้ามสายสลับไปมา เป็นชุดระหว่างสาย ใน Eminor pentatonic ( E G B C D) ในแนวตั้ง ซึ่ง Nuno จะเล่นด้วยความ เร็ว และแม่นยำมาก ทำให้ฟังดูน่าติดตาม และ น่าสนใจมากขึ้น สำหรับเทคนิคนี้ พยายามควบคุมเสียงที่ดีดออกมาให้ สม่ำเสมอ และ นิ่ง และเงียบ ที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งถ้าเพื่อนทดลองดีด ไล่เสียง ไปตามลำดับสายธรรมดา ใน scale เดียวกัน และกลับมาเล่นในแบบ String Skipping พยายามให้ต่อเนื่องกัน เราเห็นความแตกต่างของเสียงที่ออกมาได้ จาก scale ได้อย่างชัดเจน อันนี้เป็นไอเดียที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ กับการเล่น จาก scale เดิม แต่สร้างความแปลกใหม่จากเทคนิคการเล่น ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยให้ sound ของเรา smooth แข็งแรง และที่สำคัญ ไม่น่าเบื่อ งั้นลองดูไอเดีย ที่ผมนึกขึ้นมาได้พอดี ใน

Ex.2 a


ผมใช้ โครงสร้างเดียวกัน ex.2 โดยใช้ E minor pentatonic scale สำหรับไอเดียนี้ผมไม่ได้นึกถึง กฎเกณฑ์ อะไรมากนัก ผมแค่ทด ลองเล่นให้ เป็นรูป กากบาท x สลับไปมา โดยได้มุมมองมาจากการ ไม่เรียงลำดับตัวโน้ตจากscale และการกระโดดข้ามเสียงจากเทคนิคการ skipping เพียงแต่ผม มองการเล่นและไล่ scale ให้เป็นภาพง่าย ๆ .โดยมองให้โน้ตโยงกันรูป X ใน Eminor pentatonic scale เหมือนเราลากเส้น ใน Game O X เป็นใช้ได้ ไม่ซีเรียสว่าจะขึ้นตัวไหนก่อน (ลองฟังดูว่าชอบsound x แบบไหน) สำหรับผมไม่คิดมากครับ จะเริ่มที่โน้ตตัว D ไป โน้ต A ในสาย 6 และ5ก่อนเลย = , G - E ,B -A ,G -D ……. เพื่อน ๆลองคิดตอนไล่กลับต่อเองนะครับ

Ex. 3 Arpeggio + Sweep + Skipping = xiv


สำหรับ ในตัวอย่างที่ 3 เป็นการผสมกันของเทคนิค โดยโครงสร้างหลักอยู่ที่กลุ่มโน้ตของchord Arpeggio ที่แบ่งเป็น 2 ชุด(เหมือนกัน) / 4 beat แล้วค่อยเอาเทคนิคนิคอื่น ๆเข้ามาประยุกต์ ให้เกิดความแตกต่าง สำหรับ Nuno เขาใช้วิธีการ Skipping สาย มาใช้อีกเช่นเคย ** สงสัยต้องไปฝึกโดดเชือกบ่อย ๆ ซะแล้ว จะได้กระโดดข้ามสายเก่ง ๆ ครับ** มาเข้าเรื่องต่อนะครับ ใน Ex นี้ เป็นการใช้ E major Arpeggio ในกลุ่มแรก (7โน้ตแรก ) / 2 beat จะเป็นการ Sweep และจากนั้นเป็นการ Skipping ในกลุ่มเสียงโน้ตเดิมโดยมี note A เป็น center ในการเปลี่ยนนิ้ว และ การดีด แบบ Alternant จุดสำคัญของการเล่น Lick นี้ เป็นรูปแบบการขยายความต่อเนื่องในรูปแบบการซ้ำ โดยใช้โน้ต A เป็นจุดเปลี่ยน form มือซ้าย ทำได้ความรู้สึกใหม่ ๆของ กลุ่มเสียง Arpeggio ที่แปลกหูออกไป ทั้งที่ใช้ตัวโนัตเดิมทุกประการ ในมุมมองของผม พูดง่าย ๆก็คือ Nuno พยายาม จะสร้างความแตกต่างจากความเคยชินที่มือกีตาร์ทั่วไปนิยม เล่นกัน ในรูปแบบใหม่ ๆ เช่นถ้าผมเอา part ทั้ง 2 มาแยกเล่นความน่าสนใจจะลดลงทันที ถ้าคนที่เคยฝึกมาพอสมควร แล้ว จะรู้สึกว่า เป็นลูกที่ทุกคนต้องฝึกมาแล้ว แต่ถ้าเล่นเทคนิค 2 แบบ รวมกันในแบบของ Nuno จะเกิดเสียง Arpeggio ที่ฟังแปลกหู และน่าสนใจขึ้น ไอเดียตรงนี้ผมรู้สึกว่าอยู่ใกล้ตัวเรามาก ผมเองก็ ยังไม่เคยนึงถึงเลย เยี่ยมครับ สำหรับEx.3 นี้ ถ้าฝึกให้คล่อง ๆ เพื่อน อาจจะเห็นอะไรจากการ Apeggio เพิ่มขึ้นอีก ลองดูนะครับ

Ex.4 Skippin **Bonus


ความจริง ผมกะจะจบตั้งแต่ ใน Ex.3 แล้วละครับ พอดี ไปหยิบเทปชุดเดี่ยวของ Nuno ชุดแรก ชื่อ Schizophonic พอฟังเพลง Swollen Princess โดยเฉพาะRhythm & solo ยอดเยี่ยมมามันมีกลิ่นของ Nuno อย่างชัดเจน ผมก็เลยลองแกะเพลงนี้ดู ก็เลยเอาลูก solo เพลงนี้ มาให้เพื่อน ๆ ดู สัก 2 bar เพลงนี้เป็นลูกsolo สั้น (8bar) แต่ได้ใจความ และลงตัวกับบทเพลง ที่สำคัญ เทคนิคหินภูเขาเลยครับ เพราะ ใช้การดีดข้ามสาย 2- 4 - 6 กับ melodie ที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งตรงนี้ผมรู้สึกว่ายากมาก ๆ พูดง่าย ๆก็เราต้องผ่านการซ้อม การฝึก Skipping + Alternant เป็นล้าน ๆ ครั้ง จนควบคุมได้ก่อน แล้วค่อยมาเก็บ feeling ของทำนองให้smoothที่หลัง แต่เพื่อนควรลองฟัง และแกะเองดูก่อนก็ดีนะครับ เพราะเพื่อน ๆอาจจะจัดทางนิ้วได้ลงตัว และเล่นง่ายกว่าทางนิ้วของผม ใจเย็น ๆ ค่อย ๆซ้อม แล้วอย่าลืมซ้อมเรื่องอื่น ๆด้วยนะครับ .

" คุณควรพยายามแกะเพลงด้วยตัวเอง โดยปราศจากความช่วยเหลือจากทุกสิ่ง มันจะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาการเล่นและทางนิ้วในทางของของคุณ" Nuno Bettencourt



any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket