Main Menu
 Home หน้าแรก
 login / สมาชิก
 BuyerBook
 รายการ TV
  คอร์ด / เนื้อเพลง
  วีดีโอ คลิป
  Webboard
  Classifieds
  ข่าวสารดนตรี
  Review & ทดสอบ
  งานคอนเสิร์ต
  บทความดนตรี
  Cools Links
  Artist Gear
 
  About Us

9321


 Hotshot:     Popular Lick , Paul Gilbert & Joe Satriani    6/1/2002    อ.โจ้
เพื่อน ๆ ที่เคยฝึก Lick ของนักกีตาร์ ที่เราชื่นชอบ เพื่อนอาจเคยลองสังเกต ว่าทำไม? เราจึงอยากเล่น Lick ของนักกีตาร์คนนั้นมากเป็นพิเศษมากกว่านักกีตาร์คนอื่น ๆ คือแค่ฟังก็อยากแกะเล่นแล้ว ซึ่งจุดนี้เพื่อน ๆ ลองมองข้าม เรื่องที่นอกเหนือจากความยากของเทคนิค ,ความหวือหวา หรือ Sound ออกไป จะเห็นว่าความน่าสนใจของ Lick ที่ดี หรือ ฟังง่ายและ น่าติดตามนั้น ในความคิดของผมนะครับ ส่วนใหญ่จะมี โครงสร้างพื้นฐานของท่วงทำนองที่ไพเราะ รวมทั้งไอเดียและการประยุกต์ที่เป็นรูปแบบของตัวเองอยู่ในตัว Lick นั้น จึงเป็นที่มาของ POP …Lick ในคราวนี้ ที่ผมเรียกอย่างนี้ก็เพราะว่า เวลาผมไปเดินเล่นตาม ร้าน ขายเครื่องดนตรี ผม จะได้ยิน pop Lick แบบนี้บ่อย ๆ เวลาคนมาลองกีตาร์เค้าจะลอง sound ด้วย pop Lick ของนักกีตาร์ดัง ๆ ซึ่งฟังเมื่อไหร่ก็เพราะดี และที่สำคัญคือรู้ว่าเป็น Lick ของใครทันที ผมเองก็ชอบเล่นpop lick แบบนี้เหมือนกัน จนบางที่ก็นึกขึ้นมาว่าถ้ามีคนมานั่งเล่น lick ของเรามั้ง แบบนี้ก็คงรู้สึกดีมาก ๆเลยครับ ก็เลยกลายเป็น ไอเดียสำหรับ shot ในคราวนี้ ซึ่งเพื่อน ๆสามารถเอาไอเดียจากการวิเคราะห์เป็นแนวทางหนึ่งเพื่อไปพัฒนา Lick ของตัวเองได้



Ex.1 Paul Gilbert (guitar solo)

สำหรับชื่อนี้ เพื่อน ๆนักกีตาร์ โดยเฉพาะ(ยุค1987 - 2000 ) น่าจะคุ้นเคยกับ Lick กีตาร์ ชุดนี้ของเขา นะครับ ใน Ex.1 นี้ เป็น character lick ที่ ชัดเจน อันหนึ่งของ Gilber ซึ่งผมคิดว่าเขาคิดได้ไพเราะและเยี่ยมมาก เป็น lick ซึ่ง เขาจะใช้ บ่อย ๆ ในตอนโชว์ , improvice .ในบทเพลง รวมทั้งใน V DO ม้วน 2 ของเขาด้วย (เมื่อก่อนยังไม่มี CD) ที่สำคัญคือ เป็นรู้แบบที่คิดจาก ไอเดียพื้นฐาน จากการ triad Arpeggios ใน chord progression ใน E Major key = E B C#m G#m AE AB ( I V Vi iii IV I IV V ) ซึ่งใช้โน้ต จาก triad chord (root , 3rd 5th ) โดยตลอด ผสมกับการใช้เทคนิค Skipping ข้ามในแบบ คู่สายในแนวตั้ง ที่เขาถนัด ซึ่งเป็นเทคนิคที่ต้องฝึกมาก ๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างมือ ซ้าย&ขวา และน้ำหนัก เพื่อที่จะเล่นได้ Clear และ smooth แต่ท่วงทำนองของ lickนี้ กับฟังดู รื่นหูเพราะเขาใช้ทางเดิน chord ปกติที่นิยมใช้ในเพลง Pop ทั่วไป เพียงแต่ใช้การ skip ข้ามคู่สาย (ซึ่งคนเล่นเครื่องสายจะรู้ดีว่าเทคนิคนี้ สนุกเค้าน้ำตาขนาดไหน ) และการ pull-off และ hummer - on กับน้ำหนักการดีดที่ช่วยให้ sound ฟังแปลกหู และน่าสนใจขึ้น ……. จากการสังเกตคราว ๆส่วนตัวของผมนะครับ Gilbert เป็นนักกีตาร์ที่นิยมใช้วิธีคิด lick จากโครงพื้นฐาน ของไอเดียในบทเพลงเป็นหลัก เพราะเขาจะเน้นการสร้างท่วงทำนองที่ต่อเนื่องฟังง่าย โดยประยุกต์ กับใช้เทคนิคที่เหนือชั้นของเขา มาสร้างความน่าสนใจ และแปลกใหม่ให้กับลูกsolo ของเขาเสมอ ๆ อาจจะพูดง่าย ๆ ว่า " ฟังง่ายแต่เล่นยาก" ลองเล่นดูแล้วกันนะครับ





EX.2 Joe Satriani

สำหรับ lick นี้ ผมเอามาจากเพลง Alway with me Always with you ซึ่งเป็น lick ที่ใช้เป็นท่อน Closing ของบทเพลงได้ยอดเยี่ยมมาก ผมคิดว่าถ้าเพื่อน ๆเคยฟังเพลงนี้มากกว่า 2 รอบ น่าจะจำ lick ท่อนนี้ได้ครับ เพราะฟังดู โดดเด่น แปลกหู และ มี เสนห์น่าติดตาม ตอนผมฟัง lick อันนี้แรก ๆ นึกว่าเขาใช้ mode หรือ Exotic scale ที่นอกเหนือจาก scale( Major & minor) ปกติโดยทั่วไปแต่จริง ๆแล้ว lick ท่อนนี้ใช่ Bmajor scale( B C# D# E F# G# A#) ซึ่งมาจาก โครงสร้างหลักของบทเพลงเพลง คือ key B Major ซึ่งความยอดเยี่ยมของ lick นี้ คือการเรียงเรียง ท่วงทำนองของ phasing ที่งดงาม ลงตัวกับบทเพลง เป็นการสร้าง Phasing จาก lick สั้น ๆ ที่แตกต่างนักกีตาร์ rock โดยทั่วไป จึงไม่แปลกใจ เลยว่า Joe ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้หนึ่งซึ่งเปิดประตูบานใหม่ให้กับยุค 90 (new rock) เพื่อนลองสังเกตดูนะครับว่า rhythmic ของท่วงทำนองนั้น ดูซับซ้อน ไม่เป็นรู้แบบ เหมือน Lick rock โดยทั่วไป ที่มี group note ที่ชัดเจน ตรงนี้คือความแตกต่างอันหนึ่งของวิธีคิด จากการสังเกตส่วนตัวของผม Line lick ของ Joe นี้ คล้าย ๆ กับrhythmic ของ Line เครื่องเป่า ที่มีการสร้างวรรคตอนของ ประโยค ในลักษณะนี้ (เพื่อนลองฮัมทำนอง Lick นี้ดู อาจจะนึกง่ายขึ้น) แต่ความยากของการสร้างก็คือ การสร้างความลงตัวกับท่วงทำนองหลักในบทเพลง และการนำไปใช้งานว่า จะต้องใช่เมื่อไร ถูกที่ ถูกเวลา ฯลฯ ซึ่งเรื่องตรงนี้พูดกันนาน …. ….. ….. เอาเป็นว่าเราดูของ joe เป็นตัวอย่างไปก่อนแล้วกันนะครับ เพื่อน ๆอาจ มองเหมือนผมว่า Lick สั้น ๆ 2 นั้น นั้นจากตัวอย่างที่ ผมยกมา มีวิธีคิดและการนำเสนอ ที่แตกต่างกัน แต่จุด สำคัญที่เหมือนกันก็คือ ความไพเราะ ที่ฟังง่ายและลงตัวของ Lick ซึ่ง ทั้ง joe และ Paul ต้องใช่เวลาในการคิดและทดลอง ไม่รู้กี่พัน กี่ ล้าน - รอบ เพื่อเป็น lick ออกมาให้เราเล่น เพียงไม่กี่ห้อง ซึ่งตรงนี้เรามองไม่เห็นว่าเขาต้องใช่ความพยามมากแค่ไหนเพื่อให้ได้ความชัดเจนในรูปแบบของตัวเองออกมา ซึ่งไม่ใช่การcopy แต่เป็นการสร้างสรรที่เขาคิดค้นขึ้นเอง (ต้องใช่ความอดทนมาก ๆ) จึงเป้นเหตุผลที่ว่าทำไหม เขาจึงสามารถ นำ ไอเดีย + sound + lick นี้ไปใช้ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ยืด หด ขยาย ฯลฯ ประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ได้ลงตัว และ ชัดเจน :ซึ่งเราไม่ สามารถสร้าง หรือ คิด lick แบบเขาได้ถ้าเราแค่ copy มาฝึก เราต้องยอมเสียเวลาทดลองทำดู เพราะ เราจะจำคำพูด ของ คนอื่น มาพูด(เล่น) ตลอดไปไม่ได้ ดีไม่ดีค่อยว่ากันที่หลัง ลองดูนะครับ ตัวผมเองก็พยายามทดลองทำอยู่ (ไม่ต้องคิดซับซ้อนมาก คิดง่าย ๆ ก่อน )

ป.ล. (เดี่ยวนี้ ไม่คอย Up Date เลย จะกลาย เป็น up dead อยู่แล้ว ขอโทษ เอาใว้ตรงนี้เลยก็แล้วกันนะครับ )

any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket