6968
|
|
Hotshot:
The Stone … The Rolling Stone 3/2/2002 อ.โจ้ คาไลโดสโคป
|
“
ผมไม่ใช่คนที่เล่นกีตาร์ที่เก่งกาจอะไร แต่ผมไม่เคยเห็นใคร ที่เล่นแบบผมเลยว่ะ”
เป็นคำพูดเก๋า ๆ ของ Keith Richard (18th December 1943)นักกีตาร์ผู้ยิ่งใหญ่
แห่งวง The Rolling Stone (best rock Band) ที่หนังเหนียวที่สุดในโลก
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น หัวเรือใหญ่ที่ สร้างรากฐาน และ ตำนาน
ให้กับดนตรีจนถึงปัจจุบันนี้ เฉกเช่นเดียวกับวง The Beatles ที่มีบทเพลงเยี่ยม
ๆ ที่อมตะเอาไว้ไห้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และเมื่อกล่าวถึงบทเพลงของ The Rolling
stone ก็ต้องพูดถึงบทเพลงของ The Beatles ซึ่งถือเป็นแม่เพลง หรือแม่แบบ
ที่ไม่มีคำว่าล้าสมัย ทั้งแนวคิด , คำร้อง และท่อนต่าง
ๆในบทเพลงสามารถใช้ศึกษาได้ตลอดทุกยุคสมัย เพื่อน ๆลองนึกภาพดูซิครับว่า
วงระดับโลกอย่าง stone ที่ยังเล่นกันมาเกือบครึ่งศตวรรษ
และยังเล่นกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ จะเป็นไปได้ยังไงที่ยังไม่หมดลมหายใจ
ซึ่งตรงกันข้ามยังมีคนคอยติดตามงานของเขาอยู่ตลอด บัตรconcert
ขายหมดก่อนเป็นเดือน ๆ ทั้งที่แพงหูฉี่ ในความคิดของผม มีเหตุผลเดียวคือ
เพลงที่เขาแต่งเป็นเพลงที่ไม่ตาย ซึ่งมันเป็นบทพิสูจน์จนถึงปัจจุบันนี้
จึงทำให้ Stone มีทั้งแฟนเก่าที่เหนี่ยวแน่น รุ่นลุงพวกเรา ประมาณ 40ขึ้น
และคนรุ่นใหม่ ๆ ชื่นชอบในบทเพลงที่มีเอกลักษณ์ที่เทห์
และไม่เหมือนใครของพวกเขา
ถ้าเพื่อน ๆได้ฟังเสียงกีตาร์ และ Riff ของ Keith Richard
อาจจะรู้สึกเหมือนกับผม ว่าประโยคที่เขาพูดไว้ตอนต้น นั้นไม่ใช่คำพูดที่เกินเลย
เขาเป็นนักกีตาร์ที่คิดทางเดินchord และ Riff ในบทเพลงได้หนักแน่นลงตัว เทห์
และมีเสนห์ มาก ๆ เพียงแค่เราหยิบกีตาร์โปร่งมาตี chord เพลง ของ Stone
ก็สนุกแล้ว ตรงนี้ผมคิดว่า เป็นมุมมอง วิธีคิด และความเข้าใจเล่น
ที่ผมขอเรียกว่า เป็นสัญชาติญาณ หรือ พรสวรรค์ ของแต่ละคนที่มีไม่เหมือนกัน แต่
Keith เข้าเจอสิ่งนี้ในตัวเขามาเกือบ 50 ปี แล้วมั้ง…. จริง ๆ
จะมีนักกีตาร์ที่ปิดทองหลังพระอีกคนที่เล่นคู่กับ Keith ในช่วงหลัง (1976)
ได้อย่างลงตัว ก็คือ Ron Wood มีการจัดไลน์กีตาร์ที่ยอดเยี่ยม
เราลองมาดูการเพลงของพวกเขากันดีกว่านะครับ
Ex.1 Riff / SATISFACTION (I can’t get no)

เพลงนี้เป็นเพลงที่ใช่ Riff ได้ยอดเยี่ยมและลึกล้ำมาก สามารถนำมาใช่เป็นท่อน
introduction และใช่เป็นท่อน Hook ได้อย่างกลมกลืน โดยฟังแล้วไม่เฟือ
และฟังง่าย Riff เพลงนี้คิดจาก E dominant 7 scale (E F# G# A B C# D E )
โดยใช้ quarter- note eight-note เป็นหลักในบทเพลง และสร้างความรู้สึก strong
beat ที่ 1 และ 2 โดยเฉพาะ beat2 นั้น จะหนักกว่าหน่อย
จากการศึกษาวิธีเล่นและคิดของเขา ผมคิดว่า Keith เป็นนักกีตาร์ ที่ใช้ตัวหยุด
rest เก่งคนหนึ่งของโลกเลยที่เดียว
แต่ส่วนใหญ่เราจะชอบพูดถึงนักกีตาร์ที่เล่นเร็ว ๆ และชัดเจน เพื่อน ๆสังเกตไลน์
chord Acoustic (steel- string) ให้ดี ๆนะครับ ตรงนี้ เป็นการเล่นที่
ไม่ยากแต่คิดได้ลงตัว อาจจะเรียกว่าเป็นไลน์ที่ส่งเสริมได้สวยงาม
ซึ่งบ้างที่ไม่ต้องคิดให้ยาก แต่มองหน้าที่และภาพรวมของเพลงให้ออก การตีchord
ในเพลงของ Stone นี้สำหรับผมถือว่าเป็นการบ้านที่ยากครับ
เพราะเราอาจคิดเราว่ากำลังเล่นในสิ่งที่ง่ายที่สุดของการเล่นกีตาร์ แต่จริง ๆ
แล้ว มันไม่ใช่แค่การเอากีตาร์มาสาด chord ไป ๆมา ๆ แล้วก็เลิก
เพราะผมคิดว่าการเล่น chord ให้ดี ให้ไพเราะนั้น ก็ต้องฝึกหนักเหมือนการ solo
เพียงแต่เราอาจจะมองข้ามมันไปแค่นั้นเอง การฝึกแรก ๆเพื่อนลอง
ทำความเข้าใจพื้นฐานของpart rhythm หลักในบทเพลงให้แตกก่อน ต้องค่อย ๆ ฝึกฟังไลน์ต่าง
ๆทั้งหมด โดยจับที่ melodie หลักในบทเพลงเป็นแกน พยายามฟังทั้งเพลงอย่าจับแต่ไลน์กีตาร์อย่างเดียว
เพราะเราจะไม่เข้าใจอะไรที่เกี่ยวกับ band เลย
และยังมีเรื่องของเทคนิคการเล่นอีกเช่น การใช้น้ำหนักในบทเพลง
และการควบคุมวิธีการเล่นเพื่อให้ได้เนื้อเสียง chord ทีเราต้องการ Push ออกไป
ฯลฯ สำหรับเพลง Satisfaction ถือเป็นเพลงครูเลยทีเดียวนะครับสำหรับการฝึก Riff
และ Rhythm ลองหาฟังเพลงนี้ดูนะครับ อย่างลืมนะครับอย่างมองเพลงแค่ผ่าน
ๆลองเก็บรายละเอียดส่วนอื่น ๆ ดูด้วยนะครับ
Ex.2 Five-string / Brown Sugar

ตอนนี้เป็นยุคของกีตาร์ 7 สายกำลังเป็นที่นิยม แต่ไอเดียนี้ Keith เคยใช้มาแล้ว
เพียงแต่เก๋ากว่า ตรงที่กลับกัน เป็นการเล่นกีตาร์เพียง 5 สาย (five-string
guitar) โดยเอาสาย 6 low E ออก ซึ่งมันน่าจะสวนทางกับดนตรี Rock n’roll
ที่เขาเล่นอยู่ แต่วิธีคิดของเขากลับเลือกใช่วิธีการ open -tuned 5
สายที่ลงตัวกับ sound ในบทเพลง และดนตรีในแบบ Stone อย่างเช่นในEx.2 เพลงBrown
Sugar เป็นเพลงที่Rhythm ที่ซับchordที่กระชับ และทางเดินchord ที่เทห์มาก
ในGtr.1( 5 string) ใช้การ open G tuning : D G D G B D ซึ่งทำให้ sound
และมิติของเสียงที่แตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะการเล่นสายเปิด ส่วนใน Gtr.2
ใช้การจูนปกติ (standard tuning) โดยเล่นการลูกรับในท้าย Riff ของ Gtr.1
ซึ่งเป็น Space ที่สวยงาม การใช้chord นั้น เขาใช้chond ในรูปแบบการ พลิกกลับ(inversion)
ที่มีการเปลี่ยนต่ำแหน่งของกลุ่มโน้ตในchord เพื่อการ voicing
ซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวของเสียงไปในทิศทางที่เขาต้องการ ใน Riff นี้เขาคิดจาก
progression Ic IVc V แต่มีการผลิกกลับ และนำมาเรียบเรียงในแบบของเขา
แต่ตรงนี้ยากนะครับ เพราะเป็นเรื่องของวิธีคิด และต้องหัดฝึกคิดเองบ่อย ๆ
ลองดูที่เขาทำเป็นตัวอย่าง ผมคิดว่าเขาใช้ตัวหยุด (rest) เยี่ยมมาก
รวมทั้งการวาง chord ที่สั้น ๆ(2bar) แต่ได้ใจความที่น่าติดตาม สำหรับ The
Rolling Stones พวกเขาเน้นความเป็นBand มากว่าการใช่เทคนิค
หรือความสามารถเฉพาะตัวมาโชว์ พวกเขาขายเพลง และดนตรีของStone จริง ๆ
โดยเฉพาะใครอยาก และตั้งใจจะเข้าใจ วิธีเล่นดนตรีแบบเป็น band จริง ๆ
ลองไปหาดนตรี และการแสดงสดของStone มาศึกษา ดูนะครับ
|
|
|
|