5954
|
|
Hotshot:
Tremolo bar (experiment music) 5/21/1458 อ.โจ้
|
สำหรับ hot shot คราวนี้ เราลองเปลี่ยนมาดูในเรื่องเทคนิค ที่ใช้กับ electric guitar กันบ้างนะครับ ผมคิดว่าเพื่อน ๆที่เล่นกีตาร์ส่วนใหญ่จะต้องเคยเล่น เทคนิค คันโยก ( Tremolo bar) ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่สามารถสร้างเทคนิคให้กับกีตาร์ ได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะ กับแนว Rock ด้วยแล้ว เราอาจจะลองสังเกต เห็นการพัฒนาการการวิธีเล่น tremolo bar ตั้งแต่ Jimi Hendrix (1960-1970)…. Eddie Van Hanlen (1980) …. Joe Satriani (1985-1990 )…… Steve Vai (1990-2xxx) จะเห็นได้เลยว่า เทคนิคก็มีการพัฒนาไปตามยุคเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ได้เปลี่ยนที่อุปกรณ์ เทคโนโลยีเหมือน พวกเอฟเฟต แต่เป็นการทดลอง คิดค้น และ ประยุกต์ใช้ของนักดนตรีกับ Tremolo bar ซึ่งจุดนี้ผมคิดว่าเป็นความคิดสร้างสรร ในเชิงทดลอง(Experiment music) ซึ่งทั้งผม และเพื่อน ๆ อาจสามารถทดลองสร้างเทคนิคใหม่ ๆ จาก Tremolo bar ได้ ถ้าเราทดลองทำดู แต่ บางที่ บางทีการทำอะไรที่มาจาก มุมมอง หรือประสพการณ์ เดียวกัน อาจจะมองไม่เห็นสิ่งใหม่ ๆที่อยู่ใกล้ตัวเรา เช่น คนที่เล่น rock แต่อาจใช่เทคนิค Tremolo bar ที่ลาก เสียงแบบเครื่องเป่าก็ได้ แทนที่จะลากเสียงแบบ rock แสดงว่าเขาฟังดนตรี jazz ด้วย แล้วก็ได้ไอเดียจากตรงนี้ และจึงได้ทดลองทำประยุกต์เทคนิคแบบนี้ดู ซึ่งมันอาจจะไม่สมบรูณ์ที่เขา แต่คนรุ่นหลังสามารถสานต่อได้ ดูอย่างการเล่นเสียง Harmonic กับ tremolo bar ที่ Jimi Hendrix บุกเบิกไว้ก่อน เดียวนี้พัฒนาจน ไม่น่าเชื่อว่ามาจากเสียงกีตาร์ ลองฟังงานของ Joe sat.. หรือ steve vai ดูนะครับ ตัวอย่างใน shot คราวนี้ผมจะเน้นไปที่เทคนิคของการ tremolo bar นะครับ
EX.1 Are you experience : Jimi Hendrix ( album Are you Experienced / Reprise Record 1967)

จาก album ตำนาน ที่มีอะไรให้ค้นหาอยู่ตลอด จากตัวอย่างเพลงชื่อเดียวกับ album
เป็นใช้ เทคนิคการใช้ tremolo bar กับสลับเสียง Feedback กับหางเสียงตัวโน้ต โดยใช้ A pentatonic minor scale (A C D E G) สร้างลูก solo ที่มี phrasing สั้น ๆ แต่ใช้เทคนิค Feedback โน้ตA ที่มีการสั่นสายนำเข้ามา และจบประโยคด้วยโน้ต E โดยการใช้ Trem. bar ตรงนี้เป็นไอเดียที่สั้น ๆ แต่นาสนใจ เพื่อน ๆลองสังเกต วิธีการใช้ตัวโน้ต ที่ผสมผสานกับเทคนิค จะทำให้ทำนองมีความน่าสนใจขึ้นทันที ตรงนี้แสดงให้เราเห็นว่า บางทีการเลือกใช้สิ่งที่เราอาจนึกไม่ถึง ก็สามารถมาผสมกันได้อย่างลงตัว เพียง 2 bar ก็ได้ไอเดียแล้ว (ไม่ต้องมาก แต่ใช้ให้ เหมาะสม) จริง ๆ ในalbum ชุดนี้ (Are your Experience) มีเพลงที่ ใช้เทคนิค Tremolo แบบเต็ม ๆ คือในท่อน ending ของ เพลง I don't live to day (side two) เพื่อน ๆลองหาฟังดู นะครับ แล้วอาจจะรู้สึกสงสัยเหมือนผมว่า?? Jimi Hendrix เป็นมนุษย์ต่างดาว ? หรือเปล่าเนี้ย เพราะ สิ่งที่เขาสร้างสรรเอาไว้ เหมือนทำให้คนรุ่นหลัง ได้แต่วิ่งตาม แต่สำหรับผมแค่นี้ก็เหนื่อยแล้วครับ สนุก ๆ อย่าซีเรียสนะครับ เรามาดูใน Ex .2 กันต่อดีกว่า
Surfing With The Alien : Joe Satriani ( album surfing with the Alien 1984)
EX.2a Harmonic + Termoro bar

Ex.2b melodic Line + termoro bar

สำหรับ Joe sat.. นักกีตาร์หัวก้าวหน้า คนนี้ ก็เป็นคนหนึ่งที่เล่น Tremolo bar ได้อย่าง เหลือเชื่อ เพราะเสียงที่ออกมานั้น ไม่น่าจะมาจากเทคนิคของ tremolo bar ได้เลย แนวทางใหม่ของการพัฒนาเทคนิค ของ joe ถูกนำมาใช้ ในดนตรียุค 90 -ปัจจุบัน ใน ex.2a เป็นการใช้ เสียง Harmonic ในช่วงจบท่อนE ในบทเพลง โดยใช้โน้ต A ใน fret 14 สาย 3 ซึ่งกีตาร์ของ joe setup ให้เล่น Harmonic ได้ทุก fret อยู่แล้ว เขาจะกดคันโยกลงไปให้ต่ำก่อน แล้วดีด แล้วค่อย ๆดึงเสียงขึ้น ตรงนี้เป็นจังหวะ และช่วงปฎิบัติที่เร็วมาก เพื่อนต้องทดลองทำบ่อย ๆ ดู พอเริ่มได้เสียงที่ใก้ลเคียงแล้ว ค่อยมาฝึกที่ระดับเสียงอีกที เขาจะลากโน้ต A ขึ้น + 1 + 1/2+ 2.5 ( A -Bb + C +Eb + Ab)
ส่วนใน Ex.2b เป็นท่อนที่ผมชอบเป็นพิเศษ เป็นการเล่นแนวทำนองซ้ำ ในท่อน G ซึ่งเป็น section ที่3 เพลงนี้ ที่ผสมกับเทคนิค Tremolo bar ได้อย่างสวยงาม และลงตัว เป็นวีธีการเล่นที่ดีด ทำนองไปพร้อม ๆกับการเล่น tremolo ซึ่งควรจะฝึกที่แนวทำนองจน ได้สัดส่วนตามเพลงก่อน แล้วค่อยมาเก็บรายละเอียดตรง trem. barที่หลัง ก็จะช่วยทำให้เราเล่นได้แน่นอนขึ้น และควบคุมคันโยกได้ง่ายขึ้น เพราะการกดคันโยกท่อนนี้ ต้องเล่นสม่ำเสมอ ไม่อย่างนั้นโน้ตอาจเพี้ยนได้ Joe เลือกโน้ตมาใช้ได้ดีมาก ทั้งโดดเด่น และน่าสนใจ และที่สำคัญเขาเลือกใช้เทคนิค trem. bar กับทำนองได้อย่างลงตัว โดยเขาคิดจาก G Dorian mode (G A bB C D E F ) ซึ่งใช้เป็นหลัก หรือศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ(Pitch Axis)กับ mode & scale ในบทเพลงอยู่แล้ว
เพื่อน ๆลองสังเกตดูวิธีการใช้ termolo bar ของ steve vai ดู จะมีรูปแบบสมัยใหม่ที่คล้ายกันกับ joe แต่ไม่เหมือนกัน ในความรู้สึกส่วนตัวของผม รู้สึกว่า Steve vai พยายามจะพัฒนาเทคนิคนี้ ต่อจาก joe ขึ้นไปอีก อาจเรียกได้ว่าฟังอย่างเดียวก็พอ แทบไม่ต้องเล่นกันเลย เพราะsteve vai เชี่ยวชาญเรื่องการใช้ sound และการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ใหม่ ๆ มาก ผมคิดว่าเขาต้องทำการบ้านหนักมากทีเดียว เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ ๆตรงนี้(Termolo bar) ออกมา lสำหรับผมคิดว่าเราควรให้ความสำคัญกับเรื่อง หรือมุมมองอื่น ๆ บ้าง อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวดนตรี หรือเรื่องเทคนิคเพียง อย่างเดียวก็ได้ โดยส่วนตัวผมจะให้ความสำคัญระหว่างเรื่องของ Music กับเทคนิค ประมาณนี้ ครับ = เทคนิค 30-40 %, Music 60 - 80%
|
|
|
|
|