10243
|
|
Hotshot:
Jam …Jimmy…. Page 5/1/1458 อ.โจ้
|
เมื่อไม่นานมานี่ ผมได้มีโอกาสแจม (Jam) กับเพื่อนๆนักดนตรี สนุกครับทำผมรู้สึกว่าผมได้ อะไร ใหม่ๆจากการแจม เสมอเลย มันเหมือนกับการได้คุย แลกเปลี่ยนมุมมอง ประสพ-การณ์ และความคิด ที่เราอาจจะไม่เคยนึกถึง แต่มาเห็น หรือได้ไอเดีย จากการแจมกับเพื่อน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเอากีตาร์มาเล่นก็ได้ สำหรับผมคิดว่าการได้พูด คุย เพื่อแลกเปลี่ยนประสพการณ์ทางดนตรีก็คือการแจม เหมือนกัน อย่างเช่นคราวนี้ผมได้คุยกับเพื่อนเก่า ที่หลงไหลกับดนตรียุค' 70 จนถอนตัวไม่ขึ้น เค้าบอกกับผมว่าถ้าย้อนเวลากลับไปได้ เค้าอยากกลับไปดู การแสดงสดของ วง Led Zeppelin วงที่เป็นต้นฉบับแห่งความเป็น Band (Heavy Metal) ที่กลายเป็นตำนาน และมีบทเพลงที่เป็น อมตะ มากมาย ( Black Dog , Stairway to Heaven , Whole Latta Love , Rock and Roll ฯลฯ) จุดนี้ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่าตอนเด็ก ๆ ผมเคยเห็นภาพนักกีตาร์ ที่ เหมือนกับ เจ้าชาย ผิวขาว สูงบาง ที่สะพาย Gibson ต่ำ ๆ ด้วยสำเนียงที่ดุดัน และอ่อนหวาน(classic) + Blues…… Jimmy page นักกีตาร์ผู้ใช้ ความเรียบง่าย แต่ ปราดเปรื่อง เขาสามารถเล่นกีตาร์ อะคูสติก & Electric ในรูปแบบต่าง ๆ ไปจนถึง การประยุกต์ใช้คันสีไวโอลินกับกีตาร์ในดนตรีร็อค โดยเฉพาะท่อน Riff & solo ที่ลงได้อย่างยอดเยี่ยมกับงานดนตรีของ Led Zeppelin เราลองมาดูกันนะครับ
Ex.1 Power chords of The Himalayas

สำหรับ ท่อน Riff ของเพลง The Himalayas เป็นจุดที่แสดงถึงความเรียบง่ายของ วิธีการเล่น แต่แฝงไว้ด้วยเสนห์ที่ชวนติดตาม ตรงนี้ละครับที่บงบอกถึงความเป็น Jimmy Page ได้เป็นอย่างดี เพียงเขาใช้ Power chord ( root + 5 perfect) และvoicing ของขั้นคู่เสียงที่เคลื่อนที่เข้าหา power chord (A5 F/A A5 G#4 G5) ที่สำคัญคือการสร้าง Rhythmic ของ riff นี้ จึงทำให้ท่วงทำนองมีสีสัน ความหนักแน่น ลงตัว และกระชับ มากขึ้น เพื่อน ๆลองสังเกตใน strong beat (จังหวะตก) ของแต่ละbar.. Page จะใช้ sixteen-note เป็นหลัก ผสมกับการใช้ตัวหยุด(rest) Eight - note เพื่อสร้าง Space ได้อย่างมีชั้นเชิง
Ex.2 solo : Stairway to Heaven

สำหรับลำนำสู่ สวรรค์บทนี้ ยังคงเป็นเพลงที่ไม่มีใครลบสถิต และถูกกล่าวขานถึงในแง่มุมต่างๆมากมาย โดยเฉพาะในแง่ของเนื้อหา และดนตรี ถึงขนาดที่ว่ามีนักวิเคราะห์ ทางจิตวิทยาบางคน บอกว่าถ้านำเพลงนี้มาเล่นย้อนหลัง เนื้อเพลง ๆ นี้จะบ่งชัดถึงการบูชาซาตาน (อะไรจะขนาดนั้น) ซึ่งผมคิดว่าการวิเคราะห์ก็คือการวิเคราะห์ เราต้อง พิจารณาด้วยความคิดของตัวเองด้วย เพราะงานที่เป็นศิลปะ ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ถูก หรือผิด … ใช่หรือไม่ใช่ มาดูท่อน solo กันดีกว่าครับ เพื่อน ๆ เชื่อไหมครับว่าท่อน Solo ที่ถูกยกย่องว่าเป็นท่อน solo ที่ยอดเยี่ยมในเพลงร็อคอมตะเพลงนี้ Jimmy Page ใช้วิธีการ solo โดย Improvise สดทั้งหมด 3 แทร็ก และเลือกแทร็กที่เขาชอบที่สุดมาใช้ มันจึงเต็มไปด้วยพลังแห่งความรู้สึก และความคิดสร้างสรร ที่เขาอาจจะทำอย่างนั้นได้เพียงครั้งเดียว (เพลง เห็นใจกันหน่อย ที่ พี่โอม (ชาตรี คงสุวรรณ) solo ก็ใช้วิธีการบันทึกแบบนี้เหมือนกัน ) เพื่อนลองไปหาฟังดูนะครับ เยี่ยมมากครับ ในEX.2 ที่ผมนำมาลงแค่ท่อน บทนำของ Solo ในเพลงนี้ เพราะในท่อนหัว solo นี้ผมคิด เป็นจุดสำคัญมาก จุดหนึ่งของการแต่งท่อน เพราะสามารถ ทำให้ผู้ฟังรู้สึก ดึงดูด แตกต่าง ไฟเราะน่าสนใจ หรือ แสดงไอเดีย ใหม่ ฯลฯ ใจจริง ผมอยากจะวิเคราะห์ ท่อน solo ทั้งหมดเลยเหมือนกัน เพราะเป็นท่อนที่มีครบเครื่องจริง ๆ ทั้ง Feeling บทนำ ท่วงทำนอง ใจความ และ Climax แต่ เอาไว้โอกาสหน้าแล้วกันครับ
สำหรับลูก solo ใน 4bar นี้ เป็นความสวยงามที่เรียบง่าย โดย เพจ ใช้ A pentatonic minor = A C D E G และใช่เชื่อมกับ F pentatonic major = F G A C D ลองสังเกตโน้ตร่วมที่เหมือนกัน ตรงนี้เป็นเสนห์แบบหนึ่งของการใช้ pentatonic scale ซึ่งอยู่ที่การเลือกโน้ต กับ chord ที่ใช้ ฉะนั้นการฟัง sound chord ในขณะsolo เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อน ๆลองสังเกตดูbar 1 & 2 เป็นการเล่นที่เลือกโน้ตได้สวย และน่าสนใจ โดยใช้ รูปแบบ ของ A pentatonic minor และจบ phrase ด้วยโน้ต F กับ chord F major7 ซึ่งมองโน้ต F เชื่อมจาก Pentatonic major ส่วนในฺ Bar ที่ 4 beat 1-3 เริ่มใช้ รูปแบบ F pentatonic major และใน ปลายBeat 3 วกกลับมาใช้รูปแบบ A pentatonic อีก จุดสำคัญ ของEx. นี้ คือการเลือกใช้โน้ตเพื่อสร้างหัว หรือบทนำของ ลูก solo ที่สวยงาม และ การใช้ Pentatonic Major& Minor ที่เรียงร้อยกันเป็นท่วงทำนองที่มี วรรคตอนที่กลมกลืนกัน ลองไปวิเคราห์ะดูอีกที่ก็แล้วกันนะครับ
Ex.3 Heartbreaker : Speed run

ใน ex.3นี้จะเป็นรูปแบบการSpeed run จาก Alvin lee's แห่ง Ten Years After ที่มีรูปแบบการ speed ในแนวทางเดียวกัน กับ เพจ ในเพลง Heartbreaker โดยคิดจาก A pentatonic Major b5 ( A B C# Eb E F#) ซึ่งทั้งสองคนนี้จะนิยมใช้เสมอ ๆ ในงานเพลงเขา อาจจะเป็นเพราะเป็นวงที่เกิดในยุคเดียวกัน '70 และชอบดนตรีBlues เหมือนกัน แต่ถ้าโดยรวมแล้ววิธีการเล่นของ Page และ Lee's แตกต่างกันมาก แต่มีลูก run ที่ใกล้เคียงกันเท่านั้นเอง ตรงนี้เพื่อน ๆอาจจะเห็นเหมือนผมหรือไม่ว่า การสร้างวิธีเล่นกีตาร์ที่ดี อาจไม่จำเป็นต้องสร้างสิ่งที่แปลก หรือ แสวงหาใหม่ ๆ เสมอไป เราอาจจะประยุกต์สิ่งที่เราชอบ และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับ ตัวเองได้ อาจจะได้มาจากการ copy เพลง หรือจากเพื่อน (Jam) แล้วลองเอามาคิดต่อ หรือ ทดลองประยุกต์ในมุมมองของเรา เราอาจจะได้อะไรที่นึกไม่ถึงก็ได้นะครับ สำหรับ Jimmy Page เขาไม่ใช่กีตาร์ Hero แต่ เขาคือส่วนหนึ่งในนาม Led Zeppelin วง Heavy ที่มีความเป็น Band เยี่ยมยอดที่สุดวงหนึ่งของโลก
|
|
|
|
|