8754
|
|
Hotshot:
Lick by Yngwie (Far Beyong The Son) 10/8/1999 อ.โจ้
|
สวัสดีครับ สำหรับบทความในคอลัมน์นี้ จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนำเอา Lick, Riff หรือการใช้เทคนิคในการสร้าง ลูก Solo ของนักกีตาร์ดังๆ มาลงพร้อมกับการอธิบายแนวคิด และการประยุกต์เอามาใช้กับแนวคิดในการเล่นของคุณ หรือถ้า เพื่อน ๆ กำลังสนใจแนวคิด และ วิธีการเล่นของนักกีตาร์คนไหนก็แนะนำมาได้นะครับ เอาละครับ บทความแรกวันนี้เราจะเริ่มด้วย Lick ของ Yngwie Malmsteen มือกีตาร์ แนว Neo Classic (rock) ชาวสวีเดนที่มีชื่อเสียงในดนตรีแนว Rock ยุค 80 ซึ่งจัดว่าเป็นผู้บุกเบิกและเป็นแนวหน้า ของการเล่นกีตาร์ในสไตล์ Classic rock ที่เป็นที่รู้จัก และโด่งดังมากในแถบ เอ-เซียบ้านเรา เช่นใน ญี่ปุ่น ไทย เราเป็นต้น สำหรับวันนี้ จะเป็น Lick ที่นำมาจากเพลง "Far Beyong The Son" (1983) ซึ่งเป็นท่อนที่เป็น Theme (แนวทำนองที่เป็นจุดหลัก ๆ หรือ เนื้อหาหลัก ของบทเพลง) ที่ติดหูและน่าสนใจท่อนหนึ่ง
E ||--13-14-13-----------------------------||-------------|
B ||-----------15-14-12--------------------||-------------|
G ||--------------------14-13-11\10--------||-------------|
D ||--------------------------------12-11--||-9-----------|
A ||---------------------------------------||--12-11-9\8--|
E ||---------------------------------------||-------------|
ในการสร้าง Lick ท่อนนี้ได้คิดมาจาก F# Harmonic minor Scale (F# G# A B C# D# E#) ซึ่งสเกล ฮาโมนิคไมเนอร์ มีสำเนียงออกไปทางตะวันออกกลางนี้ เป็นสเกลที่ Yngwie ใช้กับงานทุกชุด จนกลางเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว ไปเลย เขาใช้ Sixteen note เป็นหลักในการสร้าง Theme นี้ โดยการจัดเรียงตัวโน้ต สายละ 3 กับ 4 ตัวโน้ตสลับกันไป 2 Octave จากสาย 1 จนถึงสาย 5 และจบด้วยโน้ตตัวที่สาม (E#) ของ Chord C# ซึ่งเป็น Chord ลำดับที่ V ใน Key F# minor ซึ่งเป็น Key หลักในเพลงนี้ มีการใช้ Time Sinature 4 และ 3 ผสมกันเพื่อทำให้การจัดกลุ่มของ Theme ได้ลงตัว และทำให้ได้ ความรู้สึกของท่วงทำนองที่คิดขึ้น
หน้าที่ของ Theme ในท่อนเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะท่วงทำนองของ Theme นี้เป็นเหมือนกับการไล่ สเกล F# Hamonic minor 2 octave ขาขึ้น (decending) ฉะนั้นการนำรูปแบบการเล่นของ Theme นี้ ไปใช้ในช่วง ใดของบทเพลงให้เหมาะสม น่าสนใจแค่ไหน เข้ากับเนื้อหาและความรู้สึกของบทเพลงหรือไม่ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการใช้ เทคนิคมาก Yngwie ได้เลือกใช้ Theme นี้ทำหน้าที่เป็นท่อน Climax ในการเปิดในท่อนบทนำ (Introduction) คล้ายๆ โหมโรง สั้นๆ แต่น่าสนใจ ก่อนที่จะเข้าท่อนทำนองหลักในบทเพลง
|
|
|
|