Main Menu
 Home หน้าแรก
 login / สมาชิก
 BuyerBook
 รายการ TV
  คอร์ด / เนื้อเพลง
  วีดีโอ คลิป
  Webboard
  Classifieds
  ข่าวสารดนตรี
  Review & ทดสอบ
  งานคอนเสิร์ต
  บทความดนตรี
  Cools Links
  Artist Gear
 
  About Us

9007


 Hotshot:     Great shot แนวทางการเล่น Arpeggio ของ Eric Johnson กับ Frank Gambale     9/4/2001    อ.โจ้
สวัสดี ครับ … ก่อนอื่นต้องออกตัวขอโทษเพื่อน ๆก่อนนะครับ ที่มีการup date ช้าไปหน่อย เวลาผ่านไป ..ผ่านไป นอกจากผมรู้สึกว่าตัวเองอยู่กับกีตาร์มากขึ้นอีก1ปี บางทีผมก็รู้สึกว่าการใช้ชีวิตกับก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ทำให้อนาคตหมุนมาเร็ว.. เร็วเกินกว่าที่เราจะปรับสภาพความคิด และจิตใจให้ทันกับยุคสมัย (จริง ๆแล้วผมเป็นคนหัวโบราณด้วยละครับ) มาเข้าเรื่องกันดีกว่า สำหรับ Hot shot ผมจะนำเสนอ Great shot ที่ผม เลือกออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ลองมาศึกษากันดูนะครับ 

EX.1 Great theme 
Theme - เป็นแนวทำนองหลักหนึ่งที่อยู่ในบทเพลง ที่ผู้ฟังสามารถจดจำได้ โดยสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง หรืออาจนำมาจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น theme จากทำนองพื้นบ้าน ก็คือการเอา themeนี้ มาประพันธ์ หรือ เรียบเรียงใหม่ โดย ให้มาเป็นเนื้อหาหลัก หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบทเพลง ที่สามารถเชื่อมโยงกับ concept ในบทเพลง 

EX.1a Ode to joy / Ludwig van Beethoven (1770-1827)

เป็น theme เพลง Classic นำมาจากบทเพลง Symphony หมายเลข 9 (มีอายุมากกว่า 200ปี )ยังคงแสดงถึงความยิ่งใหญ่ ของบทเพลงจนถึงปัจจุบันได้อย่างชัดเจน รู้สึกว่า theme เพลงนี้ใช้ประกอบให้กับโฆษณาเบียร์ ด้วยนะครับเพื่อน ๆลองไปฟังดู theme นี้สร้างจากส่วนโน้ตที่ไม่สลับซับซ้อน โดยใช้เพียงโน้ตตัวดำ (quarter note) และโน้ตตัวขาว (half note) ซึ่งสามารถใช้ความเรียบง่าย ให้กลายเป็นบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ได้ จุดที่น่าสังเกตุคือ การเคลื่อนที่ของตัวโน้ต ลำดับจาก Waveเสียง ต่ำ สูง ต่ำ ที่ ต่อเนื่องกัน ในชุดละ 2 bar รวมทั้งการซ้ำโน้ต ทำให้แนวทำนองมีจุดพักเสียง ที่ทำให้จำได้ง่าย ด้วยแนวทำนองที่เน้น strong Beat / quarter note เป็นหลักเพื่อสร้างความแข็งแรง สง่างามให้ theme ได้อย่างลงตัว ตัวโน้ตในแต่ละ beat โดยควบคู่กับ Chord I(C) V7 (G7) เวลาผมได้ยิน theme เพลง Libaty ของSteve vai ที่ไร ผมจะนึกเพลง ode to joy ของ
Beethoven ทุกที คงเป็นเพราะเป็นเพลงทั้งคู่ แสดงพลังของตัวโน้ตที่ความรู้สึกที่ ยิ่งใหญ่ และสง่างาม เหมือนกัน เพื่อน ๆ ลองทดลองแต่ง theme เล่น ๆดูก็ดีนะครับ โดยใช้ concept ที่ไม่ซับซอ้นเช่นเดียวกันกับเพลง ode to joy ก็ได้ อาจได้ theme ดี ๆออกมาก็ๆได้ นะครับ 


Ex.2 Great - Arpeggio
Arpeggio - เป็นการกระจายเสียงตัวโน้ตที่อยู่ใน chord ออกมา เช่น chord c major Arpeggio = C(Root) E (3maj) G 5 (perf.) ซึ่งเป็นทั้งเทคนิค และรูปแบบที่ช่วยในการฝึกทักษะของการฟัง sound ของ chord ได้เป็นอย่างดี 


Ex.2a Pavilion / Eric johnson


เพลง pavilion จาก อัลบั้มชุด Venus IsLe จาก Ex 2a. จะเป็นท่อน solo Arpeggio ที่เป็นส่วนหนึ่งในเพลง pavilion ที่เป็นการใช้ Arpggio ที่Eric ได้นำมาประยุกต์ใช้ในบทเพลงของเขา ซึ่ง ในรูป major chord ที่เชื่อมต่อกัน โดยใช้ form นิ้วในรูปแบบเดียวกัน ใน 3 สาย โดยใช้การ Arpeggio เรียงลำดับจาก chord C# D E F G Ab B เพื่อน ๆลองสังเกตดูการเคลื่อนที่ในแนวนอนของ สาย 3 ที่มีการ Shift จะว่าเห็น เป็นการเคลื่อนที่ เป็น1เสียงครึ่ง โดยตลอด (root chord อยู่สาย 2) ใช้ Sixteen note กับเทคนิค การสไลด์ และpull off ในการ Arpeggio แบบนี้จะได้ยิน sound ของ Major chord ที่ วิ่งผ่านอย่างรวดเร็ว และ ต่อเนื่อง 



Ex. 2b Superimposing Arpeggio / Frank Gambale

เป็นการ Arpeggio ที่มีการ ซ้อนไอเดียเอาไว้ ลองมาดูกันนะครับ โดยการสร้าง Arpeggio จาก Minor 7 chord ( 1 b3 5 b7 ) จากEx.1 เขาใช้ chond Dm7 ( D F A C) เป็นพื้น ถ้าเราจะไล่ Arpeggio ตามsound Dm7 . ก็กระจายเสียงโน้ตในกลุ่มchord นั้น ก็จะได้เสียงที่กลมกลืนกันกับ chord แต่ สำหรับ Frank เขาใช้วิธีการที่เขาเรียกว่า Superimposing ซึ่งเป็นการมองซ้อน หรือ ทับลงไปในไอเดียเดิม คือเรามองในSound ของchord Dm7 เหมือนเดิม มองเป็นchord Vi ในkey F (tonic) แต่เรา Arpeggio F Major7 ( F A C E) ใน chord Dm7 เราจะได้ sound miner9 ( b3 5 b7 9)มา เพื่อนลองสังเกตดูดีๆ จะเห็นว่า ใน F maj7 มีโน้ตที่แตกต่างจาก Dm7 อยู่ตัวเดียวคือ E ซึ่งทั้ง 2 chordนี้ ( Dm7& Fmaj7 เป็น Relative ที่เชื่อมต่อมาจากโครงสร้างของ F major scale ( F G A Bb C D E) แต่จุดสำคัญอยู่ที่ ตัวโน้ต E ที่เป็นตัว 9 (the next note) ในchord Dm7 แต่ก็เป็นตัว major 7 ใน chord F major7 เช่น ผมเห็นchord Am7 แล้วผม Arpeggio C Major 7 = ได้sound Am9 เพื่อนลองค่อย ๆ ฝึกฟังเสียง chord แล้วค่อยคิด Arpeggio ดูนะครับ แต่ควรจะ Arpeggio ใน tone chord เดิมให้ได้ก่อน แล้วค่อยใช้ วิธีการ Superimposing จะเข้าใจง่ายขึ้น อวยพรซะหน่อยก็แล้วกัน ปี 2001 ขอให้เพื่อนเล่นกีตาร์ให้สนุก และมีความสุขขึ้นอีกเยอะ ๆเลยนะครับ



any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket