Main Menu
 Home หน้าแรก
 login / สมาชิก
 BuyerBook
 รายการ TV
  คอร์ด / เนื้อเพลง
  วีดีโอ คลิป
  Webboard
  Classifieds
  ข่าวสารดนตรี
  Review & ทดสอบ
  งานคอนเสิร์ต
  บทความดนตรี
  Cools Links
  Artist Gear
 
  About Us

13456


 Hotshot:     Thai Rock Shot    12/24/2000    อ.โจ้
เจอกันเหมือนเคยนะครับ สำหรับ Hot shot คราวนี้ ผมอยากจะนำเสนอ shot เพลง rock จากนักกีตาร์ในบ้านเราบ้าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นจุดสำคัญที่เดียวที่เราจะได้มองเห็นแนวคิด กับ สร้างงานของคนไทย ที่การเชื่อมต่อ กับตลาดดนตรีในบ้านเราเอง(ตลาดเอเซีย) ซึ่งใน shot ก่อน ๆ นี้ จะเป็นรูปแบบแนวคิดในดนตรีแบบฝรั่ง ที่ขายในตลาดดนตรีของยุโรปเป็นหลัก ซึ่งอาจเรียกได้ว่าตลาดของกลุ่มคนฟัง หรือบริโภคเพลง มีผลต่อการทำงานเพลงของนักดนตรี ไม่มากก็น้อย อยู่ที่ว่าใครจะวาง concept ในงานอย่างไร แต่ที่ผมเขียนมานี่ ไม่ใช่ให้เพื่อน ๆ มาทำเพลงสูตรตลาดนะครับ เพราะผมไม่มีความสามารถขนาดนั้น เพียงแค่อยากให้เพื่อน ๆ ได้มีมุมมองหลาย ๆ แบบ เพื่อจะได้เห็นถึงวิธีคิด และการสร้างงานมีรูปแบบของตัวเอง ได้อย่างลงตัว

เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ สำหรับ Hot /shot ในวันนี้ ผมจะนำเอารูปแบบการเล่นกีตาร์เพลงไทยแนวrock หลาย ๆรูปแบบในยุคบุกเบิก มาวิเคราะห์ดูนะครับ

Ex.1 เลยตามเลย (introduction) / วสันต์ โชติกุล

เพลงนี้เป็นเพลงที่อยู่ในอัลบั้มเดียว (ปี 2531) ของพี่โต๊ะ(วสันต์ โชติกุล) กับ วง ISN'T เพลงเลยตามเลยนี้ พี่โต๊ะทั้งแต่งทำนอง เรียบเรียง และเล่นกีตาร์เอง produce เรวัต พุทธินันทน์ ใน intro ของเพลงนี้เป็นเพลงที่มีการผสมผสานกลิ่นอาย ของเสียง และthemeทำนองดนตรีพื้นบ้าน+soundของดนตรีRockได้อย่างงดงาม และมีชั้นเชิง เพลงนี้ทำ sound ของกีตาร์ให้คล้ายเสียงพิณ วิธีการนี้คิดมาจาก chord Am แต่ตัดคู่ 3 minor โดยการจูนสาย จากโน้ต B สายสอง ให้ต่ำลง 1 เสียงก็จะได้โน้ตสายเปิดสายสองเป็นโน้ต A และเสียงทีออกมาจากสาย 1 , 2, 3 ให้เสียงมีแค่ตัว 1 (A) กับตัว 5 (E) เป็น chord A5 ที่ให้เสียงซ้อนกับด้วยโน้ตตัว A สาย 2 และ 3 ซึ่งเป็นรูปแบบการตั้งสายของ พิณ งานเรียบเรียงดนตรี sound และ concept ของเพลงนี้ ยอดเยี่ยมมากนะครับ ผมอยากเพื่อนลองหามาฟังดูและลองวิเคราะห์ดูอีกที ใครที่ไม่เคยเห็นพี่โต๊ะ speed pick ลองฟังท่อน solo (Acoustic) นี้ดู เป็นท่อน climax ของบทเพลงนี้ด้วย



Ex.2 ดนตรี (music) / ธเนศ วรากุลนุเคราะห์


เพลงนี้เป็นเพลง ที่เขียนคำร้อง ทำนอง และร้อง โดย ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ produce อัสนี โชติกุล , LEA HART ในอัลบั้มชุดนี้ แดนศิวิไรซ์(1985) เป็นงานที่concept ของคนไทย แต่ใช้นักดนตรีฝรั่ง บันทึกเสียง ซึ่งจะเป็นอีกสีสันหนึ่งของโทนดนตรีที่ออกมา สำเนียงกีตาร์ อัลบั้มนี้ เป็นของ LEA HART , Ray Callcut เพื่อน ๆลองฟังความแตกต่างของความรู้สึก (Feel) ของการเล่นดนตรี ระหว่างคนไทย กับคนฝรั่ง ที่เล่นเพลงไทยดูนะครับ จุดประสงค์ของ Ex.2 ผมไม่อยากเพื่อน ๆ มาเปรียบเทียบว่า คนไทยหรือคนฝรั่งใครเล่นได้เก่งกว่ากัน นะครับ ในมุมมองของผมคิดว่าการมาเปรียบเทียบว่าใครเล่นเก่งกว่าใครเป็นเรื่องธรรมดาๆ มาก สำหรับการตั้งประเด็นถึงเรื่องนี้ในดนตรี เป็นแค่เพียงมุมมองของการเอาดนตรีมาเปรียบเทียบในเชิงกีฬา ซึ่งไม่ค่อยได้ประโยชน์ และเสียเวลาที่ต้องมานั่งหาเหตุผลว่าเก่งกว่าเพราะ? ลองนึกเปรียบเทียบง่าย ๆ ว่า ถ้าว่าคุณชอบสีแดง แล้วผมชอบสีขาว แล้วคุณจะแสดงให้ผมเห็นอย่างไรว่าสีแดงที่คุณชอบ ดีกว่าสีขาวที่ผมชอบ มันเป็นเหตุผลเฉพาะตัว ซึ่งดนตรีก็คล้าย ๆ แบบนี้ อยู่ที่ตัวของแต่ละคนที่จะรู้สึก และตัดสินเอง ว่าชอบมาก> น้อย < และ เข้าถึง ไม่เหมือนกัน งานดนตรีจึงถูกเป็น ศิลปะแขนงหนึ่ง ที่ไม่มีถูก หรือ ผิด "พยายามอย่าเอาดนตรีมาพูดในเชิงหักล้างกัน เพราะมันจะกลายเป็น Ego แทนที่จะเป็น Music" สำหรับใน Ex.2 นี้เป็นท่อน Theme หลัก ที่ใช่ในหลายช่วงของบทเพลง คิดจาก G major scale (G A BC D E F# G) แล้วเล่นเป็นคู่สาย ใน eight note โดยใช้สาย 3 (G) เป็นbackground สลับกับmelodie ที่เป็นแนวนอนในสาย2 ทำเสียงฟังดูรื่นไหลและ หนาแน่น ไพเราะ โดยเฉพาะการซ้ำโน้ตในbeat ที่1 ,2 ทำได้สวยงาม และลงตัวกับmelodic ไล่เสียงจาก ต่ำ ไปสูง กลับลงมาต่ำ เพื่อนๆลองฟัง และวิเคราะห์ในหลาย ๆมุมมองดูอีกที ตั้งแต่ เทคนิค ไอเดีย ไปจนถึง Music ของเขา ว่านำมาใช้กับเพลงไทยของเราในรูปแบบอย่างไรได้บ้าง

Ex.3 เหนือคำบรรยาย / The Olarn project


เพลงนี้อยู่ในอัลบั้มชุด หูเหล็ก โอฬาร พรหมใจ Guitar ,เรียบเรียงดนตรี และ produce เพลงนี้เป็นเพลง sound ออกไปทาง Heavy metal ที่ผสมผสานดนตรี โดยแบ่งเป็น 2 part ใหญ่ ๆ คือ ภาคบรรเลง ( Instrument ) ในช่วงเปิด กับ ภาคร้อง ในช่วงปิด ในEx.3 จะเป็น solo ที่คัดเอามาจาก Melodic หลักในบทเพลง ซึ่งผมยกมา 1 phrasing ที่มีเพียง 4 bar แต่สามารถสร้างแนวทำนองที่สวยงาม และมีพลังในsound แบบ metal ได้อย่างมีพลัง เทคนิคการรูปแบบสไลด์จากเพลงนี้ เป็นรูปแบบที่ พี่โอ๋ (โอฬาร พรหมใจ) ใช้เล่นกับmelodic ของเขาบ่อย ๆ ร่วมทั้งเล่นแนวทำนองในสายเดียวกัน ในโครงสร้างของเพลงนี้ มีการวาง chord minor และMajor ได้กลมกลืน รวมทั้งส่งเสริมแนวทำนองให้แข็งแรงมากขึ้น ( Em D Em G Am C D Em) Group ของโน้ตแต่ละห้อง มีใจความ และความต่อเนื่อง โดยใช้เทคนิคการ Hummer -on pull - off เกือบทุก ๆห้อง( 1, 3, 4 ) ในกลุ่มวลีเดียวกัน ทำให้แนวทำนองมีทิศทาง และ ฟังง่าย เพื่อนๆ ลองไปวิเคราะห์อีกทีนะครับ ยังมีเพลงไทยดี ๆที่น่านำมาศึกษาอีกมากมายเลยนะครับ เพื่อน ๆลองไปศึกษาดู ซึ่งบางที อาจเราอาจรู้สึกได้ว่า บางอย่างที่เราแสวงหา และอยากเรียนรู้ก็อยู่ใกล้ ๆตัวเรานี่เอง ถ้าเราไม่มองข้ามเลยไปซะก่อน

any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket