6570
|
|
Hotshot:
James Taylor 11/6/2000 อ.โจ้
|
คราวนี้ ผมลองเปลี่ยนสีสัน จาก Electric มาเป็น Acoustic บ้างนะครับ เริ่มที่ James Taylor นักร้อง และนักกีตาร์ แนวFolk ที่โด่งดังมากในยุค ปลาย 60 - 80 ที่เน้นรูปแบบ Fingerpicking บทเพลงหลาย ๆเพลงของเขา กลายเป็นเพลงอมตะที่นิยมเล่นกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ เช่นเพลง oh Susanna , Anywhere Like Heaven ฯลฯ คนส่วนใหญ่จะรู้จักชื่อของ James Taylor ในฐานะนักร้องเพลง Flok ที่มีลีลาการร้อง และการใช้คำที่ละเอียดอ่อน การใช้ท่วงทำนองที่ให้ความรู้สึก สบาย ๆ กับทางเดิน chord ที่เรียบง่ายแต่มีเสนห์ วิธีการแต่งเพลง ซึ่งลงตัวกับเสียงร้อง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเขา และสิ่งที่ทำให้เพลงของเขามีพลังอย่างเต็มเปี่ยมก็คือเสียงกีตาร์ของเขา ซึ่งมีวิธีคิด และรูปแบบการสร้างMelodic และchord ได้สวยงาม โดยเฉพาะในท่อน Introduction หรือ ท่อน riff ในบทเพลงของเขา ที่ถือเป็นจุดเด่น และทำให้บทเพลงของ Taylor มีความน่าสนใจ และไพเราะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน วันนี้เราลองมาศึกษา ท่อน Intro และ ท่อน riff ของ Fire and Rian (1969- 1970 )
Ex.1 Introduction (capo III)

EX.2 Riff

ในเพลง Fire and Rain นี้ อยู่ใน Key A Major ใน ถ้าเพื่อน ๆลอง เล่น และคาด Capo III ก็จะได้ เสียง progression chord ใน Introduction 4 bar =( A G / D A /A E / G(major 7) จะรู้สึกได้ว่า มีความต่อเนื่องของเสียงที่ลงตัว และให้ Sound ที่น่าสนใจด้วย รูปแบบที่ Taylor ใช้ ในทางเดินหลักของ chord ในintro นี้ก็คือ เขาใช้ dominant ( ตัวที่ 5 ของ chord) ให้เป็นตัวเชื่อมต่อกัน หรือ มองแบบ circle of fifths ก็ได้ ซึ่งJimi Hendrix ก็ชอบใช้ เช่นเพลง Hey joe ฯลฯ ลองสังเกตตั้งแต่ chord G ไป D =(G A B C D) , D ไป A =( D E F#m G A) และ A ไป E = (A B C# D E) ส่วนในห้องแรก A ไป G ใช้ Secondary dominent V / iv และใน bar 3 กับ 4 ที่มี chord E Major ไปchord G (Major 7) แสดงถึงไอเดียที่เขาใช้ ตัว Major 7 =F# ของchord G เชื่อมต่อกับchord E ได้อย่างสวยงาม เพราะ F# เป็นโน้ตตัว 9 ใน chord E major อยู่แล้ว คราวนี้ลองมาดูที่ ตัว Melodic ใน intro EX. 1 และ riff (Ex 2) เขาใช้เทคนิคการ Slide ที่ทำให้ท่วงทำนองดู มีเสนห์ โดยเฉพาะกับเสียงในแบบ Acoustic และการใช้ ส่วนโน้ต Sixteen note ในท่อน intro(EX.1 ) ที่เพิ่มสีสัน และเป็น climax ในbar 4 ได้อย่างสวยงาม โครงสร้างของเสียงที่เขาใช้อยู่ในกลุ่ม chord ด้วยรูปแบบการ fingerpicking ในรูปแบบการเน้นสายเปิด ส่วนใน riff EX.2 เขาเอาโครงมาจาก bar 3 ใน intro มาประยุกต์ให้เป็น riff สั้น ๆ ซึ่งให้ความรู้สึกเชื่อมต่อกับ feel ในท่อนintro เป็นอย่างดี โดยใช้ sixteen note และ ตัวหยุด (Rest) เป็นหลักในการสร้าง riff James Taylor เป็นนักกีตาร์ที่มีรูปแบบการเล่น และ ร้องที่ยอมเยี่ยม ที่มีรูปแบบการแต่งเพลง คำร้องและ เล่นกีตาร์ ที่เป็น Character ของตัวเองอย่างชัดเจน เขาสามารถขายเพลงที่แสดงความเป็นตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ เป็นรูปแบบที่ไม่ต้องเปรียบเทียบ มันเป็นความเฉพาะตัวของเขาเอง เหมือนกับประโยคผมเคยได้ยินว่า "ไม่มีใครร้องเพลงที่เราแต่ง ได้ไพเราะเท่าตัวเราเอง" มันเป็นความรู้สึกจริง ,ประสพการณ์และจิตนาการ ในความเข้าใจของแต่ละคน ที่ซึมซับมาไม่เหมือนกัน การเข้าใจตัวเอง และถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ภายในจิตวิญาณของตัวเองออกมา โดยไม่จำเป็นต้องไปเปรียบเทียบกับใคร คุณเพียงแต่ เล่น และร้องเพลงให้ไพเราะในแบบที่คุณต้องการ แค่นี้ก็พอแล้วละครับ
|
|
|
|