7488
|
|
Hotshot:
Joe Satriani "Alway with me,Alway with you" 12/23/1999 อ.โจ้
|
Joe Satriani นักกีตาร์หัวก้าวหน้า ผู้เปิดประตูสู่ แนวทางใหม่ ๆของกีตาร์ในยุคอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเล่นด้วยเทคนิค และวิธีการประพันธ์เพลง ที่มีรูปแบบแนวคิดที่แปลกใหม่ เขาจึงถูกยอกย่องให้เทียบเท่ากับ เลส พอล และ ดวน เอ็ดดี้ ซึ่งทั้งคู่เป็นนักกีตาร์ที่คิดค้น และเปิดแนวทางใหม่ๆให้กับกีตาร์ ในยุคก่อน Joe จัดเป็นนักฟังเพลงที่หาตัวจับได้ยากคนหนึ่ง เขาฟังงานเพลงแทบทุกชนิด ตั้งแต่เพลงคลาสสิค จนถึงเพลงสมัยใหม่ และศึกษาทำความเข้าใจกับสีสัน และความงามของดนตรีนั้น ๆ ด้วยตัวเอง ตอนอยู่ High school ได้มีโอกาสเรียนดนตรีกับ Bill Wescott ซึ่งผู้เปิดมุมมอง และวางพื้นฐานแนวทางความคิดในด้านดนตรีให้กับเขา หลังจากนั้นไปศึกษาต่อที่ Berklee จนจบ จึงทำให้เขารอบรู้ในการใช้ด้านทฤษฎี และฮาโมนี่อย่างแท้จริง joe จัดเป็นนักกีตาร์ที่เลือก Melody ได้ไพเราะ และ ใช้ chord voice ได้สวยงาม นอกเหนือจากการสร้างเทคนิคอันลึกล่ำเขา วันนี้ผมจึงเลือกเอาเพลงบัลลาด จากอัลบั้มชุด 2 Surfing With the Aliien ซึ่งจัดเป็นผลงานระดับ 5 ดาวของ joe คือ เพลง Always With Me, Alway With You ที่มีใช้ chord voice และ melody ที่งดงาม ผมจะขอยกตัวอย่างสั้น ๆโดยวิเคราะห์เฉพาะแนว Intro Rhythm (12 bar) ซึ่งใช้ Chord voice นะครับ
Ex. Alway With Me , Alway With you


ใน Intro rhythm อยู่ใน key B major สร้างจาก progression chord พื้นฐาน คือ I - IV - V ( B - E - F#) และใช้ เสียงแบบใส ๆ ( Clean tone ) ในรูปแบบของ Chord arpeggio จุดสำคัญที่สร้างสีสันให้กับทางเดินคอร์ด ในเพลงนี้ คือ -Joe ใช้ไอเดียกับคอร์ดโดยเพิ่มโน้ต Tension ด้วยวิธีการ Extention คือการไล่ลำดับเสียงตัว tension ลงไปในคอร์ดหลัก ๆB-E-F# (I - IV - V) คือ B+ 11th(4th) = B add4 ( B D# E ) / Emajor7 + 13th (6th) = E major 7 /6 ( E G# C# D# ) / F# + 4th = F# sus4 ( F# B C#) F#sus4+ 9th = F#sus4/ G# ( G# B C F#) และทำการ Drop chord ในรูปแบบ jazz คือให้มี 4 เสียง และdrop เสียงที่ไม่ต้องการออกไป (สาย1 กับ 5 ) และจากนั้นทำการ voice เสียงให้เป็นทำนองที่ต้องการ -Joe สร้างเสียงให้เป็นจุดเด่นน่าสนใจด้วยการ ใช้เทคนิคการอุดเสียงด้วยมือขวา ยกเว้น line เสียงเบสที่เป็น root ของคอร์ด ( B B E F# G# E F# F# ) โดยใช้นิ้วโป้งมือซ้าย จึงทำให้ท่วงทำนองมีมิติ และไพเราะ มากขึ้น แต่ที่สำคัญคือมันกลมกลืนและส่งเสริมแนวทำนองของเพลงอย่างได้อย่างงดงาม จะเห็นว่าแนวคิดหลักเพลงนี้ของ Joe นั้นสร้างมาจากไอเดีย progression พื้นฐาน I -IV-V แต่เขาคิดขยายเพิ่มไอเดียจากจุดหลัก ย่อยลงไป ย่อยลงไป โดยนำไอเดียมาประยุกต์ใช้กับหลักการต่าง ๆทางทฎษฏี และ ปฎิบัติ ให้เกิดความลงตัว จึงทำให้เพลงของเขาฟังง่าย และมีสีสัน ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าเป็นจุดขายของ Joe เลยที่เดียว และอีกจุดหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญในเรื่องของการฟังเพลงหลากหลาย คือการฟังเพลงจำเป็นต้องเข้าใจในภาษาดนตรีของดนตรีนั้นบาง ซึ่งภาษาดนตรีคือฐานข้อมูลของคุณกับดนตรีแนวนั้น ๆ เพื่อนำไปสู่การตีความให้เกิดความงามด้วยสุนทรียรสของตัวเอง เพื่อนำแนวคิดกับความรู้สึกมาสร้างไอเดีย และผสมผสานกับจินตนาการจนเกิดงานดนตรีของตัวเอง ไม่ใช่ฟังเพลงมาก ๆแต่ไม่สามารถจับ?ได้เลย หรือไม่เข้าใจอะไรในดนตรีเลยนอกจากเสียงกีตาร์! คุณอาจเริ่มศึกษาเพลงโดยมีคนแนะนำ หรือหาข้อมูลศึกษาทำความเข้าใจด้วยตัวเองแบบค่อยเป็นค่อยไป จะศึกษาแนวเดียวก่อน หรือหลาย ๆแนวก็ได้ ซึ่งถ้าทำอย่างจริงจังจะเกิดผลกับ วิธีการเล่นและแนวคิดของคุณอย่างมหาศาลเลยที่เดียว
|
|
|
|