Main Menu
 Home หน้าแรก
 login / สมาชิก
 BuyerBook
 รายการ TV
  คอร์ด / เนื้อเพลง
  วีดีโอ คลิป
  Webboard
  Classifieds
  ข่าวสารดนตรี
  Review & ทดสอบ
  งานคอนเสิร์ต
  บทความดนตรี
  Cools Links
  Artist Gear
 
  About Us

37147
 Finger Shot :     Somewhere out there (Acoustic Version)    5/4/2006    อ.โจ้ กีตาร์ไทย

เมื่อไม่นานมานี้ พอดีผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับ การเก็บความจำ ( Retention ) มาครับ เค้าให้เหตุผลเอาไว้ว่า สิ่งใดที่ผ่านหู , ตา หรือผ่านความคิด ไปก็ตามที ย่อมเข้าไปอยู่ในความจำ ถึงแม้ว่าจะไม่พยายามจำก็ยังเข้าไปอยู่ แต่ไม่สามารถระลึกได้เท่านั้น นอกจากถ้ามีจิตใจสงบอย่างอย่าง แท้จริง อาจจะทำได้ หรืออาจมาในรูปแบบความฝัน ฯลฯ ที่เราบังคับไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากการฝึกจำอย่างสม่ำเสมอ ก็เลยทำให้ผมคิดเล่น ๆว่า ถ้าเราฟังดนตรี แบบเปิดกว้าง ที่มีหลากหลาย มุมมอง และแนวคิด ก็น่าจะมีผลที่เป็นบวก ในเรื่องของความจำเหมือนกัน ถ้าเพียงแค่เคยผ่านหูผ่านตามาบ้างก็เรียกได้ว่ามีประโยชน์แล้ว เพียงแต่เราต้องใจกว้างกับสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย ผมคิดว่าเราไม่จำเป็นฝึกทุกสไตล์ก็ได้ แต่เราสามารถฟังความงามทุกอย่างที่เป็นดนตรีได้ ส่วนใครชอบแนวไหนจริง ๆค่อยลงลึกเอาเอง เพื่อเอามาประยุกต์ใช้ ตรงนั้นผมถือว่าถ้าเป็นคนดนตรี น่าจะต้องมองเห็น และรู้สึกได้เอง ว่าสิ่งนั้น เค้าเลือก เพราะอะไร ทำไม จุดเล็ก ๆจุดเดียว ก็อาจเป็นคำตอบที่ดีให้กับแนวคิดของเราได้ เพราะถ้าเราตามกระแส แฟชั่นการเล่น หรือ มองการตลาดในด้านดนตรีมากเกินไป เราอาจจะไม่มีโอกาสได้ยินเสียงเรียกจากดนตรีที่แท้จริงในตัวเองเลย คราวนี้ไหน ๆพูดถึงเรื่องความจำแล้ว ลองมาเปลี่ยนบรรยากาศ เล่นเป็นแนว Acoustic จากความทรงจำ กันบ้างดีกว่านะครับ เป็นเพลงชื่อ Somewhere out there ผมจำทำนองเพลง นี้ได้ดีเลยครับ เป็นเพลง soundtrack จากหนังเรื่อง An American Tale ซึ่งก็นานพอสมควรแล้วครับ อยู่ในแนว pop ( love song ) ที่ร้องคู่ ( Due ) มีท่วงทำนอง ไพเราะ น่าประทับใจ เหมือนกับเพลง Nothing ‘s gonna change my lover for you ที่เรียบเรียง โดย George Benson ในความรู้สึกของผมเองนะครับ เพื่อน ๆลองสังเกตดูตัวเองก็ได้ว่าเราสามารถฮัมเพลงอะไรด้วยปากเปล่าได้บ้าง นั้นแสดงว่าเราต้องมีความรู้สึกอะไรบ้างอย่างกับทำนองเพลงนี้ เราถึงจำได้

Click ที่นี่เพื่อ Download Movie Clip (972 kb)

Ex.1 somewhere out there by J.Horner /B. mann /C. weil

ใน ex.1 นี้ เป็นการ transcription มาเป็น classic guitar โดย Penerbit Muzikal เพลงนี้มี 2 section อยู่ใน From AABA ผมขอเลือกลงท่อน A เพียงท่อนเดียวนะครับ จะได้ไม่ยาวเกินไป ท่อน A นี้จะเป็นทั้ง intro และ Verse ของเพลงด้วย เป็นเพลงที่อยู่ใน C Major key มี progression chord หลักคือ C Em FMaj7 G7 ( I iii iV M7 V7 ) สำหรับเพลงนี้เป็นแนวทางที่ดีสำหรับการเรียงร้อยแนวทำนอง ที่ฟังง่าย และการเลือกใช้โน้ตใน chord 3 ; 7 ได้อย่างสวยงาม จากมุมมองของผม โน้ตใน chord เวลาเล่น จะฟังดูกลมกลืน และเลือกเล่นได้ง่าย แต่เวลาสร้างให้โดดเด่น และสละสวย กลับคิดยาก เพลงนี้เป็นคำตอบได้ดีทีเดียว ถ้าสังเกตดี ๆ นะครับ จะเห็นว่า ทำนองเพลงนี้ เคลื่อนที่น้อยมาก ใช้เพียง half note และ Quarter note ก็สามารถ สร้างทำนอง ที่มี Bell shape contour ( intro climax end ) ที่สวยงามในแนวทำนองได้ ใน ex.1 ผมจะเล่นโน้ตต่อโน้ต ร่วมทั้งทางนิ้วของ คุณ Muzikal ซึ่งในห้องที่ 3-4 ทางนิ้วจะเคลื่อนที่แปลก ๆ หน่อย อาจเป็นเพราะเค้าอยากให้เสียงโน้ต2 ตัวนี้ ( C –A ) ต่อเนื่องกันก็เป็นไปได้ครับ


Click ที่นี่เพื่อ Download Movie Clip (933 kb)

Ex.2 somewhere out there ( new voicing )

Main chord
C Em / FM7 G / C Em/ FM7/ Dm7 G7/ Em Am / Dm FM7 /G7/

My chord
C G/
B / FM7 F/G G 13/ F / C Em / FM7 * / Dm7 G/F/ Em E/G# / F#m7-5 FM7 / G7 E/G#

* Harmonic right hand

  เอาละคราวนี้มาดูแบบของผมกันบ้าง เพื่อน ๆ คงเห็นแล้วว่าใน Ex.2 มี chord อยู่ 2 ชุด คือ main chord เป็นทางเดิน chord ในท่อน A ของเพลงนี้จริง ๆ ซึ่งมีตัวอย่างเต็มๆ ใน Ex.1 อยู่แล้ว ในส่วนของผม my chord นั้นเป็น การตบแต่ง และเพิ่มเติมบางอย่างลงไปโดยใช้ โครงสร้างจาก ทำนองเดิมเป็นหลัก แต่เปลี่ยนช่วงหลัง( bar7 )นิดหน่อยนะครับ ใน Ex.2 นี้ ผมคงไม่ได้ลงโน้ตให้ดูนะครับ เพราะคิดว่ายังค่อยไม่สมบรูณ์เท่าไรครับ เพื่อนลองดูเล่น ๆเป็นไอเดีย ก็แล้วกันนะครับ แต่ผมจะอธิบาย ในส่วนวิธี voice ของผมแทนแล้วกัน ผมได้ใช้การ Extensions และการ ใช้ inversion เป็นหลัก (ฺ basic substitution ) ผมเริ่มด้วยส่งเสริมที่แนวทำนองด้วยการ inversion ใน 2ห้องแรกก่อน จากนั้นมาที่ห้อง 3-4 ที่เป็น climax ของท่อนนี้ผมใช้เทคนิค การเล่น Harmonic จากมือขวา ใน chord F Major 7 มาเสริมเพื่อสร้างสีสัน ให้น่าสนใจขึ้น จากนั้นในห้อง5 ผมใช้ G/F เพื่อเชื่อมแนวทำนองกับ bass line ในแบบที่ผมชอบใช้บ่อย ๆ กับ mixolydian mode และต่อจากนี้ในห้องที่ 6-8 ผมได้ใช้ Chord ที่สร้างจาก relative ของ C major คือ A melodic minor ทำให้เราได้ AmM7 Bm7 CM7#5 D7 E7 F#m7-5 G#m7b5 ผมได้เลือกเอา E7 มา inversion และใช้แทน Am ส่วน F#m7-5 ผมก็มองเป็นการเคลื่อนที่ของเบสบน Am และคู่ 3 major ( F# ) บน Dm เพื่อส่งให้ เสียง FM7 นั้นเด่นชัดมากขึ้น ในส่วนตัวนั้นผมจะชอบใช้การฟัง และความรู้สึก เป็นตัวตัดสินใจจริง ๆ ว่าได้หรือยัง เพราะในส่วนของหลักการนั้น ผมจะใช้ช่วยหาเหตุผล เพื่อให้มองเห็นว่าอะไร เป็นอะไรจะได้ชัดเจนขึ้นครับ




any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket