|
 |
|
 |
|
รู้ทัน โลกธรรม ๘ ประการ & vdo ภาพยนตร์เทิดพระเกียรติ : จากฟ้าสู่ดิน |
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 1
|
|
|
 |
รู้ทัน โลกธรรม ๘ ประการ
รู้ทันโลกธรรม คือ รู้จักพิจารณา รู้เท่าทัน ตั้งสติให้ถูกต้องต่อสภาวะอันหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในชีวิตที่อยู่ท่ามกลางโลก ซึ่งเรีอกว่า โลกธรรม (ธรรมดาของโลกหรือความเป็นไปตามคติธรรมดา ซึ่งหมุนเวียนมาหาชาวโลก และชาวโลกก็หมุ่นเวียนตามมันไป) ๘ ประการ คือ
ชื่นชม ขมขื่น ๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. ได้ยศ ๔ เสื่อมยศ ๕ สรรเสริญ ๖. นินทา ๗. สุข ๘ ทุกข์
โลกธรรม ๘ นี้ จัดเป็น ๒ ฝ่าย คือที่ชมน่าปรารนาน่าชอบใจคนทั่วไปอยากได้ เรียกว่า อิฏฐารมณ์ พวกหนึ่ง ที่ขมขื่น ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ คนทั่วไปเกลียนกลัว เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ พวกหนึ่ง แต่จะชอบใจอยากได้หรือไม่ก็ตาม โลกธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้แก่ทุกคน ทั้งแก่ปุถุชนผู้ไม่มีการศึกษา และแก่อริยสาวกผู้มีการศึกษา จะแตกต่าง กันก็แต่การวางใจและการปฏิบัติตนต่อสิ่งเหล่านี้กล่าวคือ
๑. ปุถุชนผู้ไม่มีการศึกษา ไม่รู้จักฝึกอบรมตน ย่อมไม่เข้าใจ ไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริง ลุ่มหลงลืมตน ยินดียินร้าย คราวได้หลงใหลมัวเมาหรือลำพองจนเหลิงลอย คราวเสียก็หงอยละเหี่ยหมดกำลังหรือถึงกับคลุ้มคลั่งไป ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไป ไม่พ้นจากทุกข์โศก
๒. ส่วนผู้มีการศึกษา เป็นอริยสาวก รู้จักพิจารณารู้เท่าทันตามความเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง ไม่คงทน ไม่สมบูรณ์ มีความแปรปรวนได้เป็นธรรมดา จึงไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมองคลุ้มคลั้งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ได้ วางตัววางใจพอดี ไม่เหลิงในสุขและไม่ถูกทุกข์ท่วมทับ
ยิ่งกว่านั้น อริยสาวกอาจใช้โลกธรรมเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น ใช้อนิฏฐารมณ์เป็นบทเรียน บททดสอบ หรือเป็นแบบฝึกหัดในการพัฒนาตน และใช้อิฏฐารมณ์เป็นโอกาสหรือเป็นอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ความดีงาม และบำเพ็ญคุณประโยชน์ให้ยิ่งขึ้นไป
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=33732&sid=c23677b058a3513f4f61543eac3f8520
rockonyou
17 พ.ค. 55
เวลา 3:36:00 IP = 98.14.37.3
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 3
|
|
|
 |
๙.เจริญพรหมวิหาร
พรหมวิหาร คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ หรือธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ การเจริญพรหมวิหาร ก็คือการบำเพ็ญให้มีคุณธรรมอยู่เป็นประจำ ๔ ประการ คือ
๑. เมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการเห็นผู้อื่นหรือสัตว์อื่นมีความสุข เมตตาเป็นปฏิปักข์กับความโกรธและพยาบาท
ผู้มีเมตตา จิตใจย่อมเย็น สงบ และมีความสุข ในเมตตาสูตร (๒๔/๓๖๑) ท่านแสดงอานิสงส์หรือผลของผู้ที่เจริญเมตตาไว้ ๑๑ ประการ คือ
๑. ย่อมหลับเป็นสุข ๒. ย่อมตื่นเป็นสุข ๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ ๖. เทวดาย่อมรักษา ๗. ปลอดภัยจากไฟ ยาพิษ หรืออาวุธ ๘. จิตตั้งมั่นได้เร็ว ๙. ใบหน้าย่อมผ่องใส ๑๐. ไม่หลงตาย ๑๑. เมื่อยังไม่บรรลุธรรมอันยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
๒. กรุณา คือ ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้อง หรือบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง มีความหวั่นไหวในจิต เมื่อเห็นผู้อื่นหรือสัตว์อื่นมีความทุกข์
๓. มุทิตา คือ ความเบิกบาน ความพลอยยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นหรือสัตว์อื่นมีความสุข หรือเห็นเขาประสบความสำเร็จ ก็พลอยยินดีและบันเทิงใจไปด้วย มุทิตาเป็นปฏิปักข์กับริษยา
๔. อุเบกขา คือ ความดีใจเป็นกลาง มองตามความเป็นจริง มีจิตราบเรียบสม่ำเสมอ เมื่อเห็นคนหรือสัตว์ ได้รับผลกรรมที่ตนประกอบ ไม่เอนเอียง วางตนเที่ยงธรรม
พรหมวิหาร ๔ ประการนี้ ผู้ใดหมั่นเจริญให้มีอยู่ในจิตเป็นนิจ ย่อมจะควบคุมไม่ให้จิตฟู ๆ แฟบ ๆ มีสภาพเย็นและสงบ ย่อมประสบความสุข
ดังนั้น ผู้หวังความสุขอันถาวร จึงควรหมั่นเจริญเมตตาและหมั่นเจริญพรหมวิหารไว้เป็นประจำ เพราะนอกจากตนเองจะได้พบกับความเย็น ความสงบและเป็นสุขแล้ว ยังพลอยให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับอานิสงส์ของความสงบตามไปด้วย.
http://www.dhammajak.net/book/sukha/sukha09.php
rockonyou
17 พ.ค. 55
เวลา 3:48:00 IP = 98.14.37.3
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 7
|
|
|
|
ภาพยนตร์เทิดพระเกียรติ : จากฟ้าสู่ดิน
@ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน @
rockonyou
17 พ.ค. 55
เวลา 3:57:00 IP = 98.14.37.3
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 8
|
|
|
ธรรมะวันละนิดจิตแจ่มใส
tong 2516
17 พ.ค. 55
เวลา 4:02:00 IP = 1.47.102.144
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 9
|
|
|
 |
ธรรมะอันทำให้งาม
ถ้าใจคุณวุ่นวายใช้ขันตี ( ตอนเเรก ผมนึกว่า ขันตี อันนี้เขียนผิด นึกว่าจะเป็น ขันติ สระอิ เเต่พอ search ดู อ้อ มีคําว่า ขันตี ใช้่สระอีจริง ๆ ด้วย ลองอ่านดูที่ข้างล่างเเล้วกันครับ อนุโมทนาครับ ) อดทนสิสงบได้ดังใจหมาย เชิญโสรัจจะ ( อ่านความหมายของ โสรัจจะ ได้ที่ข้างล่างครับ อนุโมทนาครับ ) ความเสงี่ยมเข้าเยี่ยมกราย จะสบายหายขุ่นไม่วุ่นวาย
* ขันตี * คำแปล
[n.] patience [syn.] ขันติ,ความอดทน,ความอดกลั้น
ตัวอย่างประโยค
อาจารย์ท่านมีขันตีสูงมาก ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งรอบข้างง่ายๆ
หมายเหตุ
ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ
* ขันตี * * ขันติ, ขันตี * ความหมาย
น. ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ, ความอดทน. (ป. ขนฺติ = ความอดทนเป็นบารมี ๑ ในบารมี ๑๐.
* ขันตี * คำแปล
[ขัน-ตี] (มค. ขนฺติ) น. ความอดทน ต่อสิ่งที่มากระทบ เช่น อดทนต่อความเย็น-ร้อนอดทนต่อการด่าว่า อดทนต่อทุกขเวทนา รวมความว่า ความอดทนที่ได้ประโยชน์ เรียกว่า ขันตี, ความอดทนที่จะสร้างสรรค์ความดีท่านจำแนกไว้ ๔ ลักษณะ คือ ๑. อดทนต่อความลำบาก ๒. อดทนต่อทุกขเวทนา ๓. อดทนต่อการล่วงเกินของคนอื่น ๔. อดทนต่ออำนาจกิเลส (เหมือน ขันติ).
ที่มา : http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?qID=&wi=&hnl=&ob=&asc=&q=%A2%D1%B9%B5%D5&select=1
* โสรัจจะ * คำแปล
(มค. สุ = ดี + รติ = ความยินดี) ก. ยินดีแต่พอดี คืออดทนความยินดีไว้, สงบเสงี่ยม หรือเสงี่ยมเจียมตัว, คู่กับ ขันติ ซึ่งหมายความว่า อดทนความยินร้ายไว้ เป็นธรรมที่ทำให้งาม.
ที่มา : http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?qID=&wi=&hnl=&ob=&asc=&q=%E2%CA%C3%D1%A8%A8%D0&select=1
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2405
rockonyou
17 พ.ค. 55
เวลา 4:08:00 IP = 98.14.37.3
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 12
|
|
|
|
vdo ด้วยจิตอาสา
ขออนุโมทนากับนายเเพทย์ทุกท่านด้วยครับ
rockonyou
17 พ.ค. 55
เวลา 4:13:00 IP = 98.14.37.3
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 13
|
|
|
 |
ขอบคุณครับ ....
gula101
17 พ.ค. 55
เวลา 4:39:00 IP = 110.49.232.97
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 16
|
|
|
โลกุตรธรรม
โลกุตรธรรม โลกุตรธรรม ธรรมหรือสิ่งอันมิใช่วิสัยทางโลกๆ, สภาวะพ้นจากทางโลกๆ หรือสภาวะเหนือโลก อันมี๙ ดังนี้ (พระอริยบุคคล มี๘ คือผู้ปฏิบัติได้ในข้อ๑-๘ - ฐานะแห่งตน)
๑.โสดาปัตติมรรค การปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อบรรลุผลความเป็นพระโสดาบัน หมายถึง กำลังปฏิบัติอย่างถูกต้องถูกทาง ที่ยังให้เกิดญาณ คือความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอันเป็นเหตุให้ละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้
๒.โสดาปัตติผล ผลคือการถึงกระแสนิพพาน จากการละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกด้วยโสดาปัตติมรรค ทําให้บุคลผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน , เข้ากระแสพระนิพพาน หมายถึงเข้าสู่กระแสแรงดึงดูดของพระนิพพานเสียแล้ว อันมิอาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ เพียงขึ้นอยู่กับระยะเวลา ตั้งแต่ภพชาติเดียว(เอกพีชี)จนถึงมากที่สุด ๗ ชาติ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเพียร สติ ปัญญา ตลอดจนเหตุปัจจัย
๓.สกิทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลความเป็นพระสกิทาคามี, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณรู้คือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ ๓ ข้อแรก และเบาบางลงในข้อ ๔ และ ๕ คือ กามราคะ และ ปฏิฆะ
๔.สกิทาคามิผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติอันสืบเนื่องจากสกิทาคามิมรรคในข้อ๓ ทําให้เป็น พระสกิทาคามี
๕.อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลคือความเป็นพระอนาคามี, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง๕ข้อแรกได้
๖.อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติอันสืบเนื่องจากอนาคามิมรรคในข้อ๕ ทําให้เป็นพระอนาคามี
๗.อรหัตตมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลเป็นพระอรหันต์, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง๑๐
๘.อรหันตผล ผลคือความสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด
๙.นิพพาน ผลการดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตรธรรมที่เป็นจุดหมายสูงสุดในพุทธศาสนา
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cycle-of-life...
p15
17 พ.ค. 55
เวลา 10:47:00 IP = 101.109.191.65
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
|
คำตอบที่ 17
|
|
|
++
พายุลูกเห็บ
17 พ.ค. 55
เวลา 19:46:00 IP = 124.121.110.50
|
|
|
 |
|
 |
|