|
 |
"Non"Diatonic Functioning Chord Scales!!!!!!!!!!! :: Twelve Tone Music Part I
สวัสดีครับ เจอกันอีกแล้วกับ Diatonic Functioning Chord Scalesที่มาให้งงกันอยู่เนืองๆ 5555+ แต่วันนี้พิเศษหน่อยครับ เพราะเติมคำว่า"Non"เข้ามาด้วย ก็จะเป็นเรื่องที่ถือเป็นทางเลือกและวัตถุดิบที่น่าสนใจ ไม่แพ้Mode Scaleที่เราคุณเคย ซึ่งจะว่ากันจริงๆแล้ว เป็นอะไรที่เกือบจะฟรีมากๆเลย แต่ก็ดันมีกฎอยู่บ้าง เอาละคงเริ่มสงสัยแล้วว่ามันคืออะไร ไปพบกันเลยกับ......
"12 Tone Music"หรือ"Serial Music"นั่นเอง แล้วมันคืออะไรล่ะ? หลายๆคนคงสงสัย ผมก็จะเล่าประวัติคร่าวๆสักนิดละกัน(จริงๆแล้วจำไม่ค่อยได้แล้วต่างหาก555+) ระบบโน้ตแถว หรือ ระบบโน้ต12เสียง หรือระบบโน้ตตัวเลขทั้ง12 แล้วแต่จะเรียกหละกันครับ เป็นระบบใหม่ในโลกของดนตรี (จริงๆก็นานพอสมควรแล้วละครับ แต่ไม่เท่าดนตรีคลาสสิค)อยู่ในช่วงต้นของศตวรรษที่20 ถูกคิดค้นและริเริ่มโดย Composerทางดนตรีคลาสสิคท่านนึง ชื่อ Arnold Schoenberg เรื่อง มันเกิดจากความคิดง่ายๆที่ว่า ดนตรีมันไม่มีอะไรแปลกใหม่เลย คอร์ด เมโลดี ฮาร์โมนี ก็เดิมๆคาดเดาได้ง่ายเกินไป และสังเกตุเห็นว่าโน้ตมีทั้งหมด12เสียง 12 ตัว ทำไมเราถึงต้องไปแบ่งไปแยกว่า คีย์นั้น สเกลนั้น ต้องมีDiatonicอะไรบ้าง ตัวนั้นเป็นTonic ตัวนี้เป็นDominant ตัวนู้นเป็น...Blah Blah Blah...... และถ้าโน้ต ทุกๆตัวมีบทบาทและคุณค่าเท่าเทียมกันหมดล่ะ ? และถ้าไม่ต้องมีTonal Keyล่ะ? จะอิสระขนาดไหน?
นั่นแหละครับ คุณSchoenbergก็ได้รู้สึกตัวว่า งานเข้าแล้ว!!!!! ต้องทำอะไรสักอย่างแล้วเว้ยพักเพียก!!!!!!! เอาละครับ เรื่องมันเหมือนจะง่าย แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น แล้วจะทำยังไงดีล่ะพี่น้องค้าบบบบบบบ ว่าแล้วก็ลองผิดลองถูกอยู่นาน(ข้ามช็อทเลยละกันครับ 5555+) สรุปแล้วก็ได้วิธีการ"ระบบโน้ตแถว"ขึ้นมาได้สำเร็จ แต่ปัญหาใหม่ก็มาอีกแล้วครับ นั่นคือ ในเมื่อทุกตัวมันเท่ากันหมดแล้วเราจะเลือกตัวไหนขึ้นมาก่อน-หลังล่ะ เอาล่ะสิ! งานเข้าท่านSchoenbergอีกแระ ก็เลยแก้ปัญหาอย่างเหนือชั้นด้วยการ........."อยากเอาอะไรขึ้นก่อนก็เอาเห๊อะ!!!" 5555+ อ่านไม่ผิดครับ อันนี้นี้ก็แล้วแต่เลยว่าจะสุ่ม จะเสี่ยงทายยังไงก็ได้ครับ ให้มันครบ12ตัวละกัน(จะให้ดีอย่าให้มันเรียงกันเป็นStepครับ อิอิ) อ้อ! เอกลักษณ์ของแนวคิดนี้ก็คือ คาดเดาไม่ได้ครับ ขนาดคนแต่งยังไม่สามรถคาดการได้เลยครับคิดดูละกัน 555+ ทุกอย่างไม่สามารถรู้ผลได้ก่อน จะต้องคำนวณออกมาทีละตัวๆเหมือนคณิตศาสตร์ ดังนั้น ส่วนตัวแล้ว ผมถือว่ามันเป็นดนตรีแห่งโชคชะตาครับ ^_^
ตัวอย่าง(ผมคิดจากการนั่งทางในเอาครับ ถ้าทางนอกนี่จะยูเทิร์นไกล 5555+) C - F - Bb - B - F# - G# - C# - A - D - G - Eb - E ได้แถวแรกแล้วครับ เราเรียกว่า"Original"หรือ" O "ครับ เพราะจะคิดทุกอย่างจากโน้ตแถวนี้(ขออภัยด้วยนะครับ ไม่สามารถทำตารางได้ ^_^) *บางตำราอาจใช้เป็น"Prime"หรือ"P'
เมื่อได้แถวแรก"แนวนอน"หรือ"O"แล้ว เราลองมาคิดแถวแรก"แนวตั้ง"หรือ"Inversion"(ย่อว่า" I ")หรือพลิกกลับ กันบ้าง เพราะสำคัญไม่แพ้กัน ตัวอย่าง(จากด้านบน) วิธีการคิดมีดังนี้ จาก C - F - Bb - B - F# - G# - C# - A - D - G - Eb - E 1.ให้ดูตัวแรกของของOแล้วเทียบกับโน้ตตัวถัดไปเป็นคู่ๆ เช่น C - F, C - Bb, C - B, C - F# ........จนครบ 2.สังเกตุดูว่า แต่ละคู่มันเป็นIntervalหรือ ขั้นคู่อะไรกัน เช่น C - F เป็น Perfect 4th, C - Bb เป็น Minor 7th, C - B เป็น Major 7th.......จนครบ 3.ได้ข้อ2.แล้ว เมื่อเขียนในแนวตั้ง ก็เทียบจากขั้นคู่ในแนวนอน โดยให้คิดขั้นคู่แบบตรงข้ามทีละคู่(และผลบวกขั้นคู่ รวมกัน = 9) เช่น แนวนอนได้Perfect 4thแนวตั้งก็จะได้Perfect 5th, แนวนอนได้Major2แนวตั้งก็จะได้Minor7, แนวนอนได้Aug4แนวตั้งก็จะได้Dim5 เป็นต้น ลองดูตัวอย่างด้านล่าง C - F(แนวนอน)เป็น Perfect 4th G(แนวตั้ง)เป็น Perfect 5th ด้วยคุณสมบัติพลิกกลับ ขั้นคู่ Perfectพลิกกลับแล้วก็ยังได้Perfectอยู่ และบวกกันได้เท่ากับ 9(5+4=9)
ลองดูอีกสักตัวละกันครับ C - F - Bb <== เป็น Minor 7th(ของC) G D <== เป็นMajor 2nd(ของC) ซึ่งผลบวกรวมกัน 7+2=9
อีกสักตัวครับ เพื่อความชัวร์ C - F - Bb - B<== เป็น Major 7th(ของC) G D C# <== เป็นMinor 2nd(ของC) ซึ่งผลบวกรวมกัน 7+2=9 *จะเขียนเป็น C#หรือDbก็ได้ครับ เพราะบอกแล้วว่าอิสระ อิอิ
ทำแบบนี้จนครบ จะได้ C - F - Bb - B - F# - G# - C# - A - D - G - Eb - E G D C# F# E B Eb Bb F A Ab เราก็จะได้ แถว"O1" กับแถว"I1" (แถวละ12ตัว โดยใช้ตัวที่1ร่วมกัน) ***สิ่งที่ต้องจำนะครับ!!! - เราได้โน้ตมา12ตัวแล้วในแถวO1และI1ก็จริง แต่! เวลาอ่านแถวหรืออ่านลำดับโน้ต ให้อ่านหัวแถวเป็น 1 และ แถวที่2หรือโน้ตลำดับที่2ไม่ใช่ตัวถัดไป1นะครับ ให้อ่านไปที่โน้ต ที่เป็นโน้ต"โครมาติค" ลองดูตัวอย่างประกอบครับ จะเข้าใจง่ายกว่า 1 6 11 12 7 9 2 10 3 8 4 5 <=== ลำดับของโน้ต & แถว เช่น C - F - Bb - B - F# - G# - C# - A - D - G - Eb - E และจะเป็นลักษณะนี้ไปทุกๆแถวครับ(ทุกทิศทาง)
ทีนี้ก็ไม่ยากแล้วครับสำหรับ 11 แถวที่เหลือ ปัญหาจะมีอยู่อย่างเดียวคือเบลอเลยคิดผิด - เขียนผิด วิธีการก็ง่ายมากๆ คือ 1.เลือกเอาว่าจะเทียบแนวตั้งหรือแนวนอน ส่วนผมเลือกแนวตั้งครับเพราะผมถนัด ^_^ 2.เทียบขั้นคู่แถวI1ทีละตัว เหมือนตอนต้น 3.แล้วลอกขั้นคู่ที่สัมพันธ์กับตัวแรก ของแถวที่เหลือ เช่น C - F <=== นับตัวนี้เป็นตัวที่1ของแถว I6(แนวตั้ง) G - C <=== เป็นPerfect 5th(ของF) เหมือนกับ C - Gในแถว I1 D - G <=== เป็นMajor 2nd(ของF) เหมือนกับ C - Dในแถว I1
ทำจนครบจะได้โน้ตงงๆขึ้นมา 1 ชุดครับ 55555555555+ C F Bb B F# G# C# A D G Eb E G C F F# C# D# G# E A D Bb B D G C C# G# A# D# B E A F F# C# F# B C G A D Bb EbAb E F F# B E F C D G Eb Ab Db A Bb E A D Eb Bb C F Db Gb B G Ab B E A Bb F G C Ab Db F# D Eb Eb Ab Db D A B E C F Bb Gb G Bb Eb Ab A E F# B G C F Db D F Bb Eb E B C# F# D G C Ab A A D G G# D# F A# F# B E C C# Ab Db Gb G D E A F Bb Eb B C
เอาละครับ ได้ครบทั้ง12แถวแล้ว แต่อย่าเพิ่งดีใจไปครับ ยังไม่จบ 5555+ ยังเหลือแถวที่ต้องวิเคราะห์อีก2แถวด้วยกัน ตอนนี้ เราได้ O1 - O12 (แนวนอน) และI1 - I12แล้วนะครับ(แนวตั้ง)
แต่ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ เพราะไม่ต้องสร้างใหม่ และแถวที่เหลือคือ Retrograde หรือ"R" เข้าใจง่ายๆคือ อ่านจากหลังไปข้างหน้าในแนวนอน เช่น แถวO1 ก็อ่านจาก E ย้อนกลับไป C หรือเรียกว่า"R1" Retrograde Inversionหรือ"RI" เข้าใจง่ายๆคือ อ่านจากล่างขึ้นไปข้างบน เช่น แถวI1 ก็อ่านจาก Ab ย้อนกลับไป C หรือเรียกว่า"RI1"
ครับในที่สุดก็ได้มาครบทุกแถวแล้วจริงๆ ได้แก่ Original หรือ แถวแนวนอน(O) จำนวน 12 แถว Inversion หรือ แถวแนวตั้ง(I) จำนวน 12 แถว Retrograde หรือ แถวแนวนอนย้อนหลัง(R) จำนวน 12 แถว Retrograde Inversion หรือ แถวแนวตั้งย้อนหลัง(RI) จำนวน 12 แถว เบ็ดเสร็จแล้วทั้งหมดได้48แถวด้วยกัน
เอาล่ะครับ อ่านมาถึงตรงนี้ผมเชื่อเหลือเกินว่า คงจะงงได้ที่กันไปหลายคน อิอิ ก็อย่างที่บอกครับ มันเป็นดนตรีกึ่งอิสระจริงๆ แต่กว่าจะคิดออกนี่งงใช่เล่น สิ่งที่อยากจะย้ำเตือนก็คือ ลองคิดนอกกรอบดูบ้างครับ นั่นคือPointของบทความในครั้งนี้ แต่!!!!!!เพราะกว่า Mr.Schoenbergและอีกหลายๆคนที่พัฒนาแนวคิดใหม่ๆนี้ก็ผ่านเรื่องราวในกรอบมาอย่างสาหัสสากรรจ์ จึงอยากจะฝากให้ทุกๆท่านที่ได้อ่านบทความนี้ ลองถามตัวเองว่า มีกรอบให้แหกหรือยัง? ถ้ายัง ก็อยากให้อดทนสร้างกรอบให้ตัวเองก่อนครับ ไม่ใช่ว่าทฤษฎีเป็นพระเจ้านะครับ แต่มันสามารถเป็นหลักยึดให้ต่อยอดทางความคิดได้ ฝากไว้ครับ ****************************************************************** การบ้านครับ!!!!!!!!!!!! (ผมตั้งโจทย์ให้ละกันครับ จะได้ตรวจง่ายๆหน่อย) จงสร้างตารางTwelve Toneให้ครบทุกแถว(48แถว) โดยสร้างจากแถวO1ข้างล่างนี้ F - D - A - Bb - B - C - G# - D# - F# - C# - E - G ******************************************************************
ในตอนหน้าจะมาว่ากันถึง วิธีการนำไปใช้ครับ เพราะผมว่าหลายๆคนเริ่มจะสงสัยแล้วว่า"มันจะเป็นเพลงได้ยังไงฟระ?"555+ แล้วเจอกันครับ ^_^ Ford - LocalHero
ปล.โน้ตต่างๆ ในตารางสามารถเขียนเป็นEnharmonicได้นะครับ คิดว่าหลายคนอาจจะสงสัย งานนี้อิสระตามสะดวกเลยครับ แต่จริงๆจังตอนคิดนะ ^_^
LocalHero
5 ธ.ค. 51
เวลา 11:00:00
พิมพ์
แจ้งลบ IP = 117.47.59.70
|
|
|