|
 |
Diatonic Functioning Chord Scales Part 6 :: Chord Scale - Blues!!!!!
สวัสดีครับ หายไปนานเลยทีเดียวกับบทความปวดสมองเป็นที่สุด คลิปตัวอย่างอะไรก็ไม่มี ปล่อยให้เดากันเอาเอง 5555+ สำหรับเรื่องราวในครั้งนี้ ก็ไม่มีอะไรมากครับ อยากจะนำเสนอมุมมองใหม่ๆ(มั้ง)เกี่ยวกับวัตถุดิบในการเล่นเพลงBlues อนึ่ง ปกติผมเล่นBluesแท้ๆ ไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่นะครับ อาจจะเป็นเพราะผมฝึกมาผิดวิธีก็ได้อ่ะนะ แหะๆ
เอาละครับ สิ่งต่างๆที่จะได้อ่านกันต่อไปนี้ จริงๆแล้วผมได้มาจากการเล่นเพลงประเภทJazz Bluesมากกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การจะได้SoundแบบBluesแท้ๆๆๆๆๆๆ เลยก็คงต้องตัวใครตัวมันละครับ อิอิ
โดยปกติFormเพลงBluesมาตรฐาน ที่เรารู้จักกันจะเป็น 12บาร์ เช่น (คีย์Fละกันครับ)
// F7 / F7 / F7 / F7 / / Bb7/ Bb7/ F7 / F7 / / C7 / Bb7/ F7 / F7 //
ประมาณนี้ แต่พอมาเป็นJazz Bluesจะเริ่มมีเรื่องราวเกี่ยวกับHarmonyเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น(เป็นเรื่องปกติของJazz) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ หรือ ผู้Arrangeนะครับ ว่าจะให้เป็นอย่างไร(แต่ที่มามักไม่ต่างกัน) เช่น (คีย์Fจากเมื่อกี้)
// F7 / Bb7 / F7 / Cm7 F7 / / Bb7/ Bdim7/ F7 / Am7b5 D7b9 / / Gm7 / C7 / F7 / F7 //
เห็นมั้ยครับ เริ่มมาแล้วครับ ความวุ่นวาย 555+ หลายๆคนเริ่มมีคำถาม ว่า"คอร์ดมันมาจากไหนจังฟระ"เอาเป็นว่า ให้กลับไปอ่านตอนที่แล้วๆมาละกันครับ เรื่องว่า คอร์ดนอกคีย์มันมายังมายังไงหว่า!!!! ***ขอติดการวิเคราะห์ไว้ก่อนละกันครับ หากใครสนใจ เดี๋ยวผมมาลุยต่อให้ครับ ^_^***
เข้าเรื่องเลยดีฝ่า อิอิ I7 : Mixolydian #9 Mixolydian (b9, #9, b13)โครงสร้าง 1– b9 – #9 - 3 – s4 – 5 – b13 – b7 - 1 *จะว่าไปจริงๆเวลาเราใช้Pentatonicก็จะโดน#9อยู่แล้วครับ และแน่นอนครับ Mixolydian(9)เพื่อนเก่ายังคงใช้งานได้ดีอยู่ครับ Blues Scaleยิ่งแน่นอนเป็นที่สุด (ก็แหงล่ะเพลงBluesนี่นา 555+)
I-7 : Dorian โครงสร้าง 1 - 2 - b3 - 4 - 5 - 6 - b7 - 1 *จะเห็นว่าเป็นคอร์ดIแต่เป็นminorเหตุเพราะว่า ถูกใช้ในในเพลงMinor Blues(หรือเพลงบลูส์ทางไมเนอร์นั่นเอง)
IV7 : Mixolydian โครงสร้าง 1– 9 – 3 – s4 – 5 – 13 – b7 – 1 *บนคอร์ดIV7ในเพลงBluesไม่นิยมใช้Tension b9(ซึ่งมันจะไปตรงb5หรือ#4ของBlues Melodic Scale) ซึ่งแม้เป็นBlues Noteแต่b9เป็นนัยของDominant Functionจึงควรหลีกเลี่ยง เพราะคอร์ดIV7มีบทบาทเป็นSubdominant Function
V7 : Mixolydian (อันนี้แบบดั้งเดิม) โครงสร้าง 1– 9 – 3 – s4 – 5 – 13 – b7 – 1 Mixolydian (b9) โครงสร้าง 1– b9 – 3 – s4 – 5 – 13 – b7 - 1 Mixolydian (b13) โครงสร้าง 1– 9 – 3 – s4 – 5 – b13 – b7 - 1 Altered (Super Locrian) โครงสร้าง 1– b9 – #9 - 3 – 5 – b13 – b7 - 1 *คอร์ดอื่นๆ ที่ปรากฎในBlues Progression ซึ่งปกติยืมมาจากMajorหรือMinor Key Harmony ใช้คอร์ดสเกลตามเดิมของแต่ละคอร์ด ยังไงก็ตาม อาจมีการปรับเปลี่ยนบ้าง เช่น V7/IIใช้Mixolydian b9,#9,b13(เจอกันข้างล่างเลยจ้ะ ^_^)
V7/II : Mixolydian (b9, #9, b13) โครงสร้าง 1– b9 – #9 - 3 – s4 – 5 – b13 – b7 - 1 *อ่าฮะ Secondary Dominantนั่นเอง ใครงงกลับไปอ่านตอน4 & 4.2นะครับ
III-7(b5) : Locrian (9)โครงสร้าง 1 - 9 - b3 - 4 - b5 - b13 - b7 - 1 Locrian b9 โครงสร้าง 1 - ฺb9 - b3 - 4 - b5 - b13 - b7 - 1 *อันนี้ก็ไม่มีอะไรมากครับ ค่อนข้างตรงตัว หากได้ติดตามเรื่องDiatonic Function Chord Scaleมาตลอด ก็่น่าจะเข้าใจดี เพราะIII-7b5มีคุณสมบัติเป็นApproach Chordที่ดำเนินเข้าหาIV7 อ้อ! 9บนLocrianในเพลงBluesเป็นBlues Noteเมื่อเทียบกับคอร์ดI7นะจ๊ะ ^_^
เอาละครับ ในครั้งนี้ก็มาสั้นๆง่ายๆ จริงๆมันก็ไม่ได้มีอะไรมากหรอกครับสำหรับในครั้งนี้ ซึ่งผมแค่ต้องการนำเสนอOptionที่เราสามารถใช้บนเพลงบลูส์ ให้มีสีสันไม่จำเจ อย่างไรก็ตาม อยากย้ำเตือนว่า "จงรู้จักตัวเองก่อนที่จะเล่น แล้วการเล่นจะเป็นไปด้วยดี"ครับ ไม่ต้องไปเปรียบกับใคร ดูไว้เป็นเยี่ยงก็พอ ไม่ต้องเอาอย่างก็ได้(ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ^_^)
ขาดตกบกพร่องอย่างไรก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ Ford LocalHero
ปล.ไม่ค่อยมีเนื้อหาสาระสักหน่อยนะครับ แหะๆ ปล2.ดูความเหมาะสม+สัญชาตญาณ+รสนิยม=Good Improvise ปล3.ตกหล่นอย่างไรท้วงติงได้เลยนะครับ เพราะผมเองก็มึนจะแย่แล้ว ^_^
LocalHero
11 ต.ค. 51
เวลา 4:52:00
พิมพ์
แจ้งลบ IP = 222.123.89.248
|
|
|